ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: “ตู้แลกบุญ” ความสุขที่ใครๆ ก็แลกได้  (อ่าน 406 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0



“ตู้แลกบุญ” ความสุขที่ใครๆ ก็แลกได้

ตู้แลกบุญ กิจกรรมดี ๆ ที่น่าสนใจ เพียงนำตู้จดหมายเก่า ๆ หรือประดิษฐ์ขึ้นมาเองจากของเหลือใช้ มาตั้งไว้หน้าบ้าน แล้วการแลกเปลี่ยนบุญก็เกิดขึ้น

ปัจจุบันแม้เทคโนโลยีจะสามารถร้อยรัดคนไกล ๆ ให้เข้ามาอยู่ใกล้ ๆ ได้อย่างง่ายดายด้วยการคลิกเมาส์เพียงไม่กี่ครั้ง แต่น่าแปลกที่สําหรับคนใกล้ตัวเรากลับมี “ระยะห่าง” เพิ่มขึ้นทุกที ๆ ยิ่งเพื่อนบ้านหรือคนในชุมชนต่างคนต่างกลายเป็นคนแปลกหน้าของกันและกันไปแล้ว

แน่นอนว่าปรากฏการณ์เหล่านี้ย่อมไม่เป็นผลดีต่อสังคมในระยะยาวแน่ ๆ แต่ใครกันล่ะที่จะยื่นมือเข้ามาช่วยแก้ไขหรือยับยั้งไม่ให้ลุกลามไปมากกว่านี้…

คดีที่ในที่สุด “ฮีโร่” ก็ปรากฏตัวขึ้นมา

@@@@@@

แดน เอเชอร์ (Dan Acher) นักกิจกรรมด้านศิลปะและวัฒนธรรม เป็นคนหนึ่งที่ไม่อยากเห็นผู้คนในสังคมต้องใช้ชีวิตอย่างโดดเดี่ยวไร้ซึ่งการปฏิสัมพันธ์ ลดการพึ่งพาอาศัยกัน และมัวแต่หลงอยู่ในโลกเสมือนจริง (เทคโนโลยี) ที่มโนภาพขึ้นมาเอง เอเชอร์จึงพยายามใช้ความรู้ความสามารถที่มีและประสบการณ์การเดินทางทั่วโลกนับ 7 ปีของตนเอง “ผุด” โปรเจ็กต์ Happy Cities – เมืองแห่งความสุขขึ้น เพื่อกระชับความสัมพันธ์คนในชุมชนให้เข้ามาใกล้กันอีกครั้ง

“Neighborhood Exchange Boxes – ตู้แลกเปลี่ยนระหว่างเพื่อนบ้าน หรือตู้แลกบุญ” เป็นกิจกรรมหนึ่งของโปรเจ็กต์ซึ่งเอเชอร์คิดค้นขึ้น เพราะต้องการให้คนในสังคมมีความเอื้ออาทรต่อกัน รู้จักการ “ให้” และ “แบ่งปัน” โดยมีตู้แลกเปลี่ยนเป็นสื่อกลางในการส่งผ่านความสุขของคนในชุมชน

คิดนี้มีที่มาจากประสบการณ์ในวัยหนุ่มของเขาเองเอเชอร์จําได้ว่า หลังจากนํากระเป๋าซีดี ไม้เบสบอล ฯลฯ ที่ไม่ใช้แล้วมากองทิ้งไว้ริมถนนหน้าบ้าน ไม่กี่นาทีก็จะมีคนมาหยุดดูสิ่งของเหล่านั้นด้วยความสนใจ ก่อนจะเลือกหยิบชิ้นที่ต้องการออกไปทีละชิ้นสองชิ้น จนกระทั่งหมดกองในที่สุดนั่นทําให้เขารู้ว่าแม้เขาจะไม่ต้องการสิ่งของเหล่านี้แล้ว แต่สิ่งของเหล่านี้ยังไม่หมดประโยชน์เสียทีเดียว เพราะมันอาจยังเป็นที่ต้องการของคนอื่น ๆ อยู่

@@@@@@

เอเชอร์จึงประดิษฐ์ตู้ไม้ที่มีลักษณะด้านหนึ่งทึบ อีกด้านหนึ่งติดกระจกใสทั้งบานขึ้นมาพร้อมกับขอความร่วมมือจากศิลปินมาแต่งแต้มตู้ไม้ทุกใบให้มีสีสัน และเอกลักษณ์เฉพาะตัวจากนั้นก็นําตู้ไม้ไปติดตั้งตามถนนสายสําคัญในกรุงเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ บ้านเกิดของเขาก่อนเป็นที่แรก พร้อมกับประชาสัมพันธ์กิจกรรมนี้ให้ชาวเมืองรู้ทั่วกัน

การใช้งานก็แสนง่ายดายเพียงแค่คุณนําสิ่งของที่ไม่ต้องการไปวางไว้ในตู้เท่านั้น ผู้ที่ต้องการสิ่งของมือสองก็สามารถเปิดตู้หยิบของที่ต้องการออกมาได้ฟรี ๆ ทันที หรือถ้าหยิบไปแล้ว จะนําสิ่งของที่ไม่ใช้แล้วของตัวเองมาวางไว้แทนที่ก็ยิ่งดีเข้าไปใหญ่ ไม่เพียงเท่านั้นเอเชอร์ยังวางระบบให้ผู้ใช้บริการทุกคนสามารถตรวจสอบตําแหน่งที่ตั้งตู้แลกของ และรายละเอียดสิ่งของที่ผู้คนนํามาใส่ตู้แลกเปลี่ยนได้จากเว็บไซต์ Tako-Les Boites-Location ก่อนเพื่อความสะดวกสบายของผู้คน

ล่าสุดมีข่าวว่า กระแสตอบรับจากกิจกรรมนี้ “ดี” ไม่น้อยเพราะทั้งผู้ให้และผู้รับต่างก็มีความสุข คนในชุมชนก็เริ่มมีปฏิสัมพันธ์กันมากขึ้น นับเป็นจุดเริ่มต้นเล็ก ๆ ที่จะเติบโตเป็นรากฐานของสังคมที่อบอุ่น
และมั่นคงในวันข้างหน้า



ที่มา : นิตยสาร Secret ปี 2557 ฉบับที่ 155 (10 ธ.ค. 57) หน้า 78-79
คอลัมน์ : inspiration
ผู้เขียน/แต่ง : ปาปิรัส
ภาพ : wikipedia.org
ขอบคุณ : https://goodlifeupdate.com/healthy-mind/96187.html
by nintara1991 , 12 June 2018
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ