ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: พุทธานุสสติ (แบบพิสดาร)  (อ่าน 8820 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

Admax

  • ผู้อุปถัมภ์
  • โยคาวจรผล
  • ****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 1063
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
พุทธานุสสติ (แบบพิสดาร)
« เมื่อ: มกราคม 22, 2014, 09:10:47 am »
0

พุทธานุสสติ (แบบพิสดาร)


ขอนอบน้อมแด่ พระพุทธเจ้า ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน
ขอนอบน้อมแด่พระธรรม ที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสไว้ดีแล้ว
ขอนอบน้อมแด่พระสงฆ์ ผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ พระเถระ พระอริยะเจ้าทั้งหลาย  ผู้เป็นสาวกของพระพุทธเจ้า ผู้ที่ควรแก่การเคารพนพน้อม

ธรรมทั้งหลายทั้งปวงที่ผมโพสท์กล่าวทั้งหมด เป็นธรรมที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้และตรัสไว้ดีแล้ว ประเสริฐแล้ว หาประมาณมิได้ พึงปฏิบัติและให้ผลได้ไม่จำกัดกาล เป็นธรรมเพื่อให้เราทั้งหลายได้เห็นทางพ้นทุกข์ จนถึงที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ผมได้นำธรรมอันประเสริฐทั้งหลายเหล่านั้นมาพิจารณาปฏิบัติ กรรมฐาน สมถะ และ วิปัสนา ทำให้ผมได้รู้เห็นและขยายความข้อธรรมและแนวปฏิบัติต่างๆตามจริต และ สติกำลังร่วมกับปัญญาของผมได้ดังนี้...หากธรรมที่ผมได้โพสท์กล่าวนั้นมีความผิดพลาด ผิดเพี้ยน ไม่เป็นจริงด้วยประการใดๆ ขอท่านทั้งหลายพึงรู้ว่าธรรมนั้นมาจากความคิดพิจารณาด้วยสติปัญญาอันน้อยนิดของผมแล้วกลั่นกรองออกมาเป็นแนวทางปฏิบัตินั้นๆ หากเป็นคุณประโยชน์แก่ท่านทั้งหลายให้พึงระลึกรู้โดยจริงว่า ธรรมอันประเสริฐทั้งหลายทั้งปวงเหล่านั้นแล เป็นธรรมที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้และตรัสสอน ไม่ใช่ธรรมของผมแต่อย่างใด

บัดนี้ข้าพเจ้าขอแสดงธรรมเรื่อง "พุทธานุสสติ (แบบพิสดาร)" ตามวิธีที่ผมศึกษาเรียนรู้ปฏิบัติมา เพื่อเป็นประโยชน์ในการดำเนินไปในธรรมดังนี้




บทนำ

พุทธานุสสตินั้นเป็นสิ่งที่สำคัญมากในการปฏิบัติในพระพุทธศาสนา
ด้วยเหตุให้เกิดอานิสงส์ปฏิบัติดังนี้คือ

1. ศรัทธา  คือ  ความเชื่อ  หมายถึงเฉพาะ  ศรัทธาที่เชื่อด้วยปัญญา  เชื่อในสิ่งที่ควรเชื่อ  เชื่อด้วยเหตุผล  ถ้าเชื่อโดยปราศจากปัญญา  เรียกว่า  อธิโมกข์ ( ความน้อมใจเชื่อ หรือ เชื่อตามเขา )
    ศรัทธานั้นมีเบื้องต้นดังนี้ คือ เชื่อเรื่องกรรมและผลของกรรม เชื่อในการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า เชื่อในธรรมอันจำแนกสั่งสอนสัตว์ของพระพุทธเจ้าเป็นต้น

    **ดังนั้นหากผู้ใดไม่ศรัทธาในพระพุทธเจ้า และ ธรรมที่พระพุทธเจ้าตรัสสอน จะไม่สามารถระลึกใน พุทธานุสสติได้เลย

2. สติ คือ ความระลึกรู้ หวนระลึกรู้ ความตามรู้ ความตรึก(นึกถึง) ตรอง(คำนึงถึง พิจารณาลงในธรรม)รู้ในสภาวะธรรมนั้นๆ คือ กาย เวทนา จิต ธรรม การเจริญในสติปัฏฐานสำคัญต้องเริ่มที่กายคตาสติก่อนจึงจะเกิด สัมปชัญญะ คือ ความรู้ตัวทั่วพร้อมในปัจจุบันขณะ อันก่อให้เกิดสัมมาสติอย่างแท้จริง และ จิตตั้งมั่นจดจ่อสิ่งใดสิ่งหนึ่งได้นานอันควรแก่งานพิจารณาในในสภาวะ เวทนา จิต ธรรม เรียกว่า สัมมาสมาธิ

3. สมาธิ คือ ความมีตั้งมั่นจดจ่อควรแก่งาน จดจ่อกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งได้นาน ซึ่งสมาธิแต่ละระดับจะมีองค์ของสมาธิต่างๆกันไป สมาธินี้เป็นตัวสำคัญในการเจริญสมถะภาวนา คือ อุบายเครื่องแห่งกุศล ขจัดซึ่งนิวรณ์ทั้งหลาย เอื้อต่อสติเป็นเหตุให้เกิดปัญญาซึ่งความรู้เห็นตามจริง

4. ปัญญา คือ ความรู้เห็นตามจริง ปัญญาแบ่งเป็นหลายระดับมีสภาพที่รู้เห็นและความเข้าถึงไตรลักษณ์ต่างๆกันไป

    พุทธานุสสตินั้นหลายคนจะคิดว่าได้แค่ปฐมฌาณบ้าง ไม่ก่อให้เกิดปัญญาบ้าง หรือ มีแต่พระอริยะเจ้าเท่านั้นระลึกกันบ้าง อันนี้เป็นความเห็นผิด พุทธานุสสตินั้น กุลบุตรผู้ฉลาดพึงเจริญตามสิ่งที่พระอริยะเจ้าทั้งหลายได้บรรลุบทอันกระทำแล้วดังนี้ และ พุทธานุสสติก็เป็นปัญญาด้วยเช่นกัน กรรมฐานทั้ง ๔๐ กอง เข้าสู่วิปัสนาได้หมด
    แต่เพราะเราเชื่อตามๆกันมาว่ากองนี้ให้ผลได้แค่นี้ กองนั้นให้ผลได้มาก กองโน้นให้ผลได้น้อย กองนี้ถึงจะเข้าวิปัสนาได้ จึงทำให้เกิดการเรียนอภิธรรมแล้วก็ท่องจดจำเอาด้วยเชื่อตามๆกันมาว่าเป็นสิ่งเดียวที่ทำให้หลุดพ้น จึงทำให้การเจริญใน ๔๐ กรรมฐานลดน้อยลง และ ค่อยๆเสื่อมลง จนหายไปในที่สุด


    ดังนั้นเพื่อให้ทุกคนเห็นตามจริงและศรัทธาในของพระพุทธเจ้า และ คุณของพระคุณเจ้า ผมจึงตั้งใจอยากจะบอกกล่าวด้วยปัญญาอันน้อยนิดในการเจริญพุทธานุสสติไปจนถึงวิปัสสนาญาณดังนี้ครับ หากผิดพลาดประการใดรบกวนติเตียนและชี้แนะด้วยครับ ขอบพระคุณอย่างสูง
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 29, 2014, 08:56:09 pm โดย Admax »
บันทึกการเข้า
ความติดข้องใจเสพย์อารมณ์ความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น สมุทัย
ผลของการดำเนินไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น ทุกข์
รู้สัจธรรมและปรมัตถ์ ดำรงอยู่ในกุศล สติ ศีล สมาธิ พรหมวิหาร๔ คิดดี พูดดี ทำดี เป็น มรรค
การดับไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี ถึง อัพยกตธรรม เป็น นิโรธ

Admax

  • ผู้อุปถัมภ์
  • โยคาวจรผล
  • ****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 1063
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: พุทธานุสสติ (แบบพิสดาร) **กำลังพิมพ์**
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: มกราคม 22, 2014, 09:32:47 am »
0


พุทธานุสสติแบบที่ ๑


คือ ความระลึกถึงกิตติศัพท์อันงาม ประกองด้วยคุณของพระพุทธเจ้า ด้วยจิต ศรัทธา เลื่อมใส ดังนี้ว่า
 
   ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ย่อมระลึกถึงพระตถาคตว่า
แม้เพราะเหตุนี้ ๆ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ
ทรงถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดีแล้ว ทรงรู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกบุรุษที่ควรฝึก
ไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็นผู้จำแนกธรรม
ภิกษุทั้งหลาย สมัยใด อริยสาวกย่อมระลึกถึงพระตถาคต
สมัยนั้น จิตของอริยสาวกนั้น เป็นจิตไม่ถูกราคะกลุ้มรุม ไม่ถูกโทสะกลุ้มรุม ไม่ถูกโมหะกลุ้มรุม
ย่อมเป็นจิตดำเนินไปตรงทีเดียว เป็นจิตออกไป พ้นไป หลุดไปจากความอยาก
ภิกษุทั้งหลาย คำว่า ความอยาก นี้ เป็นชื่อของเบญจกามคุณ
สัตว์บางพวกในโลกนี้ ทำพุทธานุสติแม้นี้ให้เป็นอารมณ์ ย่อมบริสุทธิ์ได้ด้วยประการฉะนี้.



อิติปิ โส ภะคะวา ( เพราะเหตุอย่างนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น )

อะระหัง ( เป็นผู้ไกลกิเลส เป็นผู้ควรกราบไหว้ควรบูชา )
(ทรงเป็นพระอรหันต์ หมายถึง ทรงเป็นผู้บริสุทธิ์ ปราศจากกิเลสที่เป็นเหตุให้เศร้าหมอง ทรงละเว้นการทำความชั่วทั้งหมด จึงทรงหมดสิ้นความทุกข์ ความเดือดร้อนทั้งปวง)

สัมมาสัมพุทโธ ( เป็นผู้ตรัสรู้ชอบโดยพระองค์เอง )
(ทรงเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า หมายถึง ผู้ตรัสรู้ ทรงรู้แจ้งทุกข์ เหตุเกิดทุกข์ ความดับทุกข์ และมีวิธีให้ถึงความดับทุกข์ ซึ่งเรียกว่า อริยสัจ 4 ด้วยพระองค์เอง โดยไม่มีใครเป็นครูอาจารย์สั่งสอน แม้พระองค์ทรงมีความรู้อันเป็นพื้นฐานเบื้องต้นจากครูอาจารย์หลายสำนัก แต่ความรู้ที่ทรงรับนั้นไม่ใช่ความรู้เพื่อพ้นจากทุกข์ พระองค์ทรงบรรลุความรู้ด้วยการปฏิบัติด้วยพระองค์เอง)

วิชชาจะระณะสัมปันโน ( เป็นผู้ถึงพร้อมบริบูรณ์แล้วด้วยวิชชาและจรณะ )
(ผู้ทรงเพียบพร้อมด้วยความรู้แจ้งและความประพฤติปฏิบัติดี หมายถึง ความรู้ก็สมบูรณ์ดีเยี่ยมและความประพฤติดีงาม ทรงสั่งสอนผู้อื่นในสิ่งที่ทรงรู้และปฏิบัติ ทรงสั่งสอนชาวโลกอย่างใดก็ทรงปฏิบัติอย่างนั้น ทั้งความรู้และความประพฤติสมดุลกัน พระพุทธเจ้าทรงมีความรู้และความประพฤติดีจนทำพระองค์ทรงพ้นจากกิเลสและความทุกข์ได้ แล้วทรงสั่งสอนให้ผู้อื่นประพฤติปฏิบัติตามพระองค์จนได้บรรลุถึงความสุขในที่สุด)

สุคะโต ( เป็นพระสุคตผู้เสด็จไปดีแล้ว )
(หมายถึง วิถีทางที่เสด็จไปดีงาม พระองค์เสด็จไปสู่อริยมรรคที่ดีงาม คือ ทางประเสริฐสู่พระนิพพานนั่นเอง พระองค์เสด็จไปด้วยดีโดยชอบ ทรงดำเนินรุดหน้าไม่หวนกลับมาสู่กิเลสที่ทรงละได้แล้ว ทรงดำเนินไปสู่ผลสำร็จไม่ถอยหลัง ไม่ถอยกลับตกจากฐานะที่บรรลุถึง ทรงดำเนินไปในทางอันถูกต้อง ได้แก่ มัชฌิมาปฏิปทา (ทางสายกลาง) ไม่หลงไปในทางที่ผิด นี้เป็นความหมายของ สุคะโต หรือพระตถาคต ผู้เสด็จไปดีแล้ว และยังหมายถึง เสด็จไปดีเพื่อผู้อื่น คือ เสด็จไปที่ใดก็ทรงทำประโยชน์ให้แก่มหาชนในที่นั้น เสด็จไปโดยสวัสดีและนำให้เกิดสวัสดี เช่น เสด็จไปกลับใจโจรองคุลิมาลให้เป็นคนดี เป็นต้น)

โลกะวิทู ( เป็นผู้รู้โลกอย่างแจ่มแจ้ง )
(ทรงรู้แจ้งโลก หมายถึง ทรงรู้แจ้งความจริงของโลก โลกในที่นี้ ได้แก่ สังขารทั้งหลาย พระองค์ทรงทราบอัธยาศัยของสัตว์ที่เป็นไปต่างๆ ได้ทรงแนะนำสั่งสอนได้ตรงตามที่เขาต้องการ เป็นเหตุให้เขาปฏิบัติตามแล้วได้รับผลสำเร็จ)

อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ ( เป็นผู้สามารถฝึกบุรุษที่สมควรฝึก ได้อย่างไม่มีใครยิ่งกว่า )
(ทรงเป็นผู้สามารถฝึกบุรุษที่สมควรฝึกได้อย่างไม่มีใครยิ่งกว่า หมายถึง ทรงรู้จักใช้อุบายให้เหมาะสมแก่บุคคล ทรงสอนเขาได้โดยไม่ต้องใช้อาชญาและทำให้เขาบรรลุที่พึงได้เต็มตามกำลังความสามารถของเขา)

สัตถา เทวะมนุสสานัง ( เป็นครูผู้สอนของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย )
(ทรงเป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ทรงเป็นครูของบุคคลทั้งชั้นสูงและชั้นต่ำ ทรงประกอบด้วยคุณสมบัติของครู และทรงทำหน้าที่ครูได้ดียอดเยี่ยม ทรงแนะนำพร่ำสอนชาวโลกด้วยพระกรุณาคุณ หวังให้ผู้อื่นได้ความรู้อย่างแท้จริง ทรงสอนมุ่งความจริงและประโยชน์เป็นหลัก ทั้งประโยชน์ในปัจจุบันคือชาตินี้ ประโยชน์ในชาติหน้าและประโยชน์สูงสุดคือพระนิพพาน)

พุทโธ ( เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานด้วยธรรม )
(ทรงเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น หมายถึง ไม่ทรงหลง ไม่ทรงงมงาย และทรงปลุกผู้อื่นให้ตื่นจากความหลงงมงาย และทรงเป็นผู้เบิกบาน หมายถึง มีพระทัยผ่องใส บำเพ็ญพุทธกิจได้ครบถ้วนบริบูรณ์)

ภะคะวาติ. ( เป็นผู้มีความจำเริญจำแนกธรรมสั่งสอนสัตว์ ดังนี้ )
(ทรงเป็นผู้มีโชค หมายถึง ทรงหวังพระโพธิญาณก็ได้สมหวัง ทรงประกาศพระศาสนาก็ชักจูงผู้คนให้ได้บรรลุธรรมสมปรารถนา แม้มีผู้คิดร้ายก็ไม่อาจทำร้ายพระองค์ได้ และทรงเป็นผู้จำแนกแจกธรรม หมายถึง ทรงอธิบายธรรมโดยนัยต่างๆ เหมาะสมแก่อุปนิสัยของผู้ฟัง จนได้รับผลสำเร็จตามสมควรแก่การประพฤติปฏิบัติของเขา)



(แม้พระอริยะสาวก คือ พระโสดาบันขึ้นไปก็ยังระลึกถึงพระตถาคตเช่นนี้ๆ เราผู้ไหว้อยู่ก็ควรยิ่งที่จะระลึกถึงคุณของพระตถาคตเช่นนี้ๆ เป็น "พุทธานุสสติ" ดั่งที่พระตถาคตตรัสไว้ว่า "กิจอันใด อันพระอริยเจ้าบรรลุบทอันกระทำแล้ว กิจอันนั้นกุลบุตรผู้ฉลาดในประโยชน์พึงกระทำ" เพื่อที่จิตของเรานั้นไม่ถูกราคะกลุ้มรุม ไม่ถูกโทสะกลุ้มรุม ไม่ถูกโมหะกลุ้มรุม ย่อมเป็นจิตดำเนินไปตรงทีเดียว เป็นจิตออกไป พ้นไป หลุดไปจากความอยาก)


   ** พระพุทธเจ้าตรัสสอนไว้เพื่อเป็นการเจริญสมาธิ เพื่อดับ กาม ราคะ โทสะ โมหะ ระงับความระแวง ตื่นกลัว
(ดู ตำนานธชัคสูตร พระพุทธเจ้าตรัสสอนให้ภิกษุผู้ยังเป็นปุถุชนอยู่เจริญเพื่อดับระงับความกลัวใดๆ เมื่อต้องธุดงค์เข้าป่าเพื่อปฏิบัติธรรมกัมมัฏฐาน ตาม Link นี้ครับ http://group.wunjun.com/ungpao/topic/538746-23343)

   ** เมื่อเจริญภาวนามีจิตน้อมระลึกถึงพระพุทธเจ้า และ คุณของพระพุทธเจ้าอย่างนี้ๆ ซึ่งคุณของพระพุทธเจ้า และ กิตติศัพท์อันงามของพระพุทธเจ้าได้ฟุ้งไปแล้วอย่างนี้ว่า พระพุทธเจ้า เป็นพระอรหันต์ซึ่งเป็นผู้ไกลจากกิเลส คือ กิเลสตัณหาเหล่านั้นดับสูญไปไม่มีอีกในพระพุทธเจ้าองค์พระบรมศาสดาแห่งเรา พระพุทธเจ้าตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง ฯลฯ(ระลึกตามพุทธานุสสติด้านบน) ด้วยเดชแห่งบุญนั้น ด้วยอนุภาพแห่งพระพุทธคุณจงขจัดไปซึ่ง กิเลสกาม ราคะ โทสะ โมหะ ความหวาดระแวงตื่นกลัวเหล่านี้ให้สิ้นไป
จิตก็จะจดจ่อตั้งมั่น กาม ราคะ โทสะ โมหะ ระงับความระแวง ปราศจากความตื่นกลัว และ นิวรณ์ทั้งหลาย ก็จะเข้าถึงอุปจาระสมาธิได้เป็นเบื้องต้น
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มีนาคม 06, 2014, 03:52:31 pm โดย Admax »
บันทึกการเข้า
ความติดข้องใจเสพย์อารมณ์ความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น สมุทัย
ผลของการดำเนินไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น ทุกข์
รู้สัจธรรมและปรมัตถ์ ดำรงอยู่ในกุศล สติ ศีล สมาธิ พรหมวิหาร๔ คิดดี พูดดี ทำดี เป็น มรรค
การดับไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี ถึง อัพยกตธรรม เป็น นิโรธ

Admax

  • ผู้อุปถัมภ์
  • โยคาวจรผล
  • ****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 1063
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: พุทธานุสสติ (แบบพิสดาร) **กำลังพิมพ์**
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: มกราคม 22, 2014, 11:48:56 am »
0


พุทธานุสสติแบบที่ ๒


คือ ความระลึกถึงคุณของพระพุทธเจ้า ด้วยจิต ศรัทธา เลื่อมใส ทุกลมหายใจเข้า-ออก ดังนี้ว่า

๑. เมื่อหายใจเข้ายาวหรือสั้น ก็รู้ว่าหายใจเข้ายาวหรือสั้น โดยกำหนดจิตระลึกถึงพระพุทธเจ้าแล้วตรึกนึกบริกรรมว่า "พุท" ลากยาวหรือสั้นไปตามลมหายใจนั้น พึงระลึกถึงพระพุทธเจ้า พระบรมศาสดาซึ่งเป็นผู้ไกลจากกิเลส ตรัสรู้ชอบโดยพระองค์เอง เป็นผู้ประกอลด้วยวิชาและจรณะ ฯ ตามลมหายใจเข้านั้น

๒. เมื่อหายใจออกยาวหรือสั้น ก็รู้ว่าหายใจออกยาวหรือสั้น โดยกำหนดจิตระลึกถึงพระพุทธเจ้าแล้วตรึกนึกบริกรรมว่า "โธ" ลากยาวหรือสั้นไปตามลมหายใจนั้น พึงระลึกถึงพระพุทธเจ้า พระบรมศาสดาซึ่งเป็นผู้ไกลจากกิเลส ตรัสรู้ชอบโดยพระองค์เอง เป็นผู้ประกอลด้วยวิชาและจรณะ ฯ ตามลมหายใจเข้านั้น

๓. เจริญปฏิบัติแบบนี้ๆ จน พุท-โธ นั้นเป็นลมหายใจเข้า-ออก มีพระพุทธเจ้าเป็นลมหายใจอันหล่อเลี้ยงชิวิตให้มีจิตตั้งมั่นควรแก่งานสะงัดดับไปซึ่งกิสตัณหาอกุศลธรรมอันลามกใดๆทั้งปวง นี่แสดงว่ามีจิตตั้งมั่นดำเนินไปสู่อัปปนาสมาธิแล้ว

๔ เจริญไปจนเมื่อจิตของเราสงบรำงับไม่สัดส่าย สบายกายใจดีแล้ว ลมหายใจละเอียดขึ้น ทำให้คำบริกรรมว่า พุท-โธ นั้นหายไป จิตเราก็จะจดจ่อควรแก่งานเป็นอัปปนาสมาธิทีมีกำลังมากขั้นแล้ว

๕. เมื่อเจริญไปเรื่อยๆจะพบเจอสภาวะธรรมใดๆก็ไม่ตกใจ ไม่สะดุ้งกลัว หรือ ไม่ลังเลสงสัย ปล่อยระลึกรู้ตามสภาพของมันไป จนเข้าสู่สภาวะเหมือนไม่รับรู้หรือใส่ใจกับสิ่งภายนอก เกิดความสุขอันเกิดแต่ความสงบรำงับจากความปรุงแต่งใดๆ ซึ่งเราไม่เคยได้พบได้เจอมาเลยในชีวิตนี้ตั้งแต่เกิดมา อันเป็นการดำเนินไปสู่ อัปปนาสมาธิอันมีกำลังมากขึ้นไปอีก

๖. เมื่อเจริญไปเรื่อยๆ จิตของเราก็จะเข้าสู่สภาพที่สงบรำงับมีความนิ่งว่างไม่มีความตรึกนึกคิดใดๆ ไม่รับรู้สภาวะธรรมจากภายนอก เมื่อเจริญไปจนเกิดความว่างอันมีแต่สภาพรู้ที่แลดูอยู่เท่านั้น ไปเรื่อยๆอันเป็นเหตุให้จิตดำเนินไปสู่สภาวะ เอกัคคตาจิต

๗. เมื่อสามารถทรงสภาวะจากข้อ ๑-๖ จนชำนาญแล้วทรงอยู่ได้นานตามใจปารถนาแล้ว ทีนี้ก็ให้เราพิจารณาดูว่า กิตติศัพท์ของพระพุทธเจ้านั้น คือ เป็นผู้ไกลจากกิเลส เหมือนเรือนที่ว่างจากอุปกิเลส ตัณหา กาม ราคะ โทสะ โมหะ ใดๆทั้งปวง
    จิตพระพุทธเจ้านั้น มีแต่ความสะอาด สว่างไสว ผ่องใสว่างอยู่ เข้าถึงความสูญไปแล้วซึ่งกุศลธรรมใดๆทั้งปวง เป็นเหมือนอากาศที่ไมติดใจใดๆในรูปธรรม นามธรรมใดๆ มีแต่ความว่างอยู่ไม่ยินดียินร้ายในสิ่งไรๆ มีแต่ความรู้เห็นตามจริงในธรรมทั้งปวง
    ก็ให้เราระลึกเอาถึงสภาพจิต อันเป็นเรือนว่างจากกิเลส ซึ่งเป็นกิตติศัพท์อันงามของพระพุทธเจ้านั้น ด้วยความสะอาดหมดจดด้วย กาม ราคะ โทสะ โมหะ และ อุปกิเลสทั้งปวงดับสูญไปแล้ว
    ให้จับพิจารณาในความว่างเปล่าอันไม่มีที่ยัดมั่นถือมั่นหรือตั้งอยู่ของสังขารธรรมทั้งปวงของพระพุทธเจ้านั้นเป็นอารมณ์
    หรือ เอากิตติศัพท์อันงามของพระพุทธเจ้าที่ว่า อรหัง คือ เป็นผู้ไกลจากกิเลส คือ วางจากกิเลส ไม่มมีกิเลสอาศัยอยู่ได้อีก ก็ระลึกเอาความเป็น อรหัง คือ ว่างจากกิเลสอันหาประมาณมิได้นั้นของพระพุทธเจ้า
    หรือ เอากิตติศัพท์ของพระพุทธเจ้าว่าเป็นผู้ปรินิพพานนานแล้ว นิพพาน แปลว่า สูญ คือ ความสูญสิ้นจากกิเลสตัณหามีแต่ความสูญ เป็นสุญญตา เป็นเรือนว่างอันดับสูญจากกิเลสตัณหาทั้งปวงแล้ว เป็นเรือนว่างกว้างไปอันหาประมาณมิได้ ก็ให้เราระลึกถึงพระพุทธเจ้าโดยเอาสภาพอันเป็นเรือนว่างจากกิเลสตัณหากว้างไปหาประมาณมิได้นั้น
    หรือ เมื่อพระพุทธเจ้าปรินิพพานนานแล้ว บางท่านกล่าวว่า พระพุทธเจ้าเมื่อพระปรินิพพานไปแล้วก็คงอยู่เป็นดั่งอากาศ อันที่แต่ความว่างกว้างไปไม่มีตัวตนบุคคลใดๆหรือสิ่งใดๆ มีแต่ความว่างดั่งอากาศ ก็ให้ระลึกถึงพระพุทธเจ้าว่าเป็นดั่งอากาศนั้นคือมีสภาพว่างกว้างออกไปอย่างหาประมาณไม่ได้
    เมื่อเราทรงสภาพนี้ไปเรื่อยๆก็จะเข้าถึงอรูปฌาณได้ จนเข้าถึง ฌาณ๘ ดังนี้


หมายเหตุ

สมาธิ แปลว่า ความมีจิตจดจ่อกับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง
ฌาณ แปลว่า ความมีจิตแนบแน่น ไม่สัดส่าย ทำให้ที่จดจ่อกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งได้นานไม่หลุดตกไป (เป็นคุณสมบัติองค์ประกอบอันเกิดกับสมาธิ เป็น สัมมาสมาธิ)
ญาณ แปลว่า ปัญญา ที่ทำให้รู้เห็นตามความเป็นจริง (เป็นผลอันเกิดจาก สัมมาสมาธิ)

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 29, 2014, 09:04:32 pm โดย Admax »
บันทึกการเข้า
ความติดข้องใจเสพย์อารมณ์ความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น สมุทัย
ผลของการดำเนินไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น ทุกข์
รู้สัจธรรมและปรมัตถ์ ดำรงอยู่ในกุศล สติ ศีล สมาธิ พรหมวิหาร๔ คิดดี พูดดี ทำดี เป็น มรรค
การดับไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี ถึง อัพยกตธรรม เป็น นิโรธ

Admax

  • ผู้อุปถัมภ์
  • โยคาวจรผล
  • ****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 1063
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: พุทธานุสสติ (แบบพิสดาร) **กำลังพิมพ์**
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: มกราคม 22, 2014, 12:37:55 pm »
0


พุทธานุสสติแบบที่ ๓


คือ ความระลึกถึงคุณของพระพุทธเจ้าเป็นกสิน ทุกลมหายใจเข้า-ออก ดังนี้ว่า

จากหนังสือ ๔๐ กรรมฐาน ของพระราชพรหมญาณ(หลวงพ่อฤๅษีฯ)


๑. กำหนดจิตระลึกถึงรูปพระพุทธเจ้า หรือ พระพุทธรูปองค์ใดๆที่เราชอบและศรัทธา เมื่อหายใจเข้ายาวหรือสั้น ก็รู้ว่าหายใจเข้ายาวหรือสั้น โดยกำหนดจิตระลึกถึงพระพุทธเจ้าแล้วตรึกนึกบริกรรมว่า "พุท" ลากยาวหรือสั้นไปตามลมหายใจนั้น พึงระลึกถึงพระพุทธเจ้า พระบรมศาสดาซึ่งเป็นผู้ไกลจากกิเลส ตรัสรู้ชอบโดยพระองค์เอง เป็นผู้ประกอลด้วยวิชาและจรณะ ฯ ตามลมหายใจเข้านั้น

๒. กำหนดจิตระลึกถึงรูปพระพุทธเจ้า หรือ พระพุทธรูปองค์ใดๆที่เราชอบและศรัทธา เมื่อหายใจออกยาวหรือสั้น ก็รู้ว่าหายใจออกยาวหรือสั้น โดยกำหนดจิตระลึกถึงพระพุทธเจ้าแล้วตรึกนึกบริกรรมว่า "โธ" ลากยาวหรือสั้นไปตามลมหายใจนั้น พึงระลึกถึงพระพุทธเจ้า พระบรมศาสดาซึ่งเป็นผู้ไกลจากกิเลส ตรัสรู้ชอบโดยพระองค์เอง เป็นผู้ประกอลด้วยวิชาและจรณะ ฯ ตามลมหายใจเข้านั้น

๓. เจริญปฏิบัติแบบนี้ๆ จน พุท-โธ นั้นเป็นลมหายใจเข้า-ออก กำหนดตั้งนิมิตเป็นรูปพระพุทธเจ้า หรือ พระพุทธรูป เพ่งอยู่ในนิมิตพระพุทธเจ้านั้นจนเกิดเป็นดวงกสินมีสมาธิตั้งมั่น คือมีจิตจดจ่อควรแก่งาน ทางนี้เข้าถึงฌาณ๘ ได้เลยครับ


หมายเหตุ

กสิน แปลว่า การเพ่ง เป็นการเพ่งจดจ่ออยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่งจนเกิดเป็นนิมิต


อ่านเพิ่มเติมที่นี่ http://group.wunjun.com/ungpao/topic/550092-24023


โดยส่วนตัวของผม เมื่อนั่งเพ่งดูรูปพระพุทธเ้จ้าจนจำติดตาได้แม้หลับตาก็เห็น ลืมตาก็เห็น แล้วหลับตาระลึกพุทโธทุกลมหายใจเข้าออกพร้อมกำหนดเอารูปขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้นเป็นนิมิตเพ่งอยู่ เมื่อถึงจุดๆหนึ่งอยากจะระลึกเอาเป็นอาโลกกสินเพราะว่าถูกจริตตน ผมก็จะดึงเอารูปเข้าเป็นเหมือนอยู่ในถ้ำ แล้วมีช่องวงกลมพอประมาณอยู่ภายในถ้ำนั้น แล้วระลึกถึงพระพุทธเจ้าซึ่งพระพุทธเจ้าทรงยืนโปรดเราอยู่ถภายนอกถ้ำนั้นให้เราเห็นทางออก แล้วที่ช่องว่างนั้นเราก็เห็นประกายฉัพพรรณรังสีของพระพุทธเจ้าอันสว่างไสว งดงามหาประมาณมิได้ อันเกิดแต่พระบารมีและความดับสิ้นไปซึ่งกิเลสตัณหานั้น มีแสดงสว่างจ้าขาวนวลเป็นประกายบ้าง เป็นประกาย 7 สีส่องลอดแผ่ขยายเป็นวงกลมรอบแสงอันขาวนวลนั้นบ้าง ซึ่งส่องผ่านทะลุมาที่ช่องถ้ำนั้นให้เราเห็นในทางออกอันเป็นประกายแสง ได้เราได้ยลพระบารมีจากฉัพพรรณรังสีนั้นดังนี้
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 29, 2014, 08:53:12 pm โดย Admax »
บันทึกการเข้า
ความติดข้องใจเสพย์อารมณ์ความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น สมุทัย
ผลของการดำเนินไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น ทุกข์
รู้สัจธรรมและปรมัตถ์ ดำรงอยู่ในกุศล สติ ศีล สมาธิ พรหมวิหาร๔ คิดดี พูดดี ทำดี เป็น มรรค
การดับไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี ถึง อัพยกตธรรม เป็น นิโรธ

Admax

  • ผู้อุปถัมภ์
  • โยคาวจรผล
  • ****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 1063
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: พุทธานุสสติ (แบบพิสดาร) **กำลังพิมพ์**
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: มกราคม 22, 2014, 03:27:06 pm »
0


พุทธานุสสติแบบที่ ๔


คือ ความระลึกถึงคุณของพระพุทธเจ้าเป็นวิปัสสนา ทุกลมหายใจเข้า-ออก ดังนี้ว่า

๑. พระตถาคตเจ้าของเรานี้ ก็ประกอบไปด้วยขันธ์ทั้ง ๕ คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ

    ๑.๑. พิจารณาให้เห็นดังนี้ว่า กายขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านี้ เมื่อได้อุบัติขึ้นบนโลกนี้ ก็เป็นทารกอยู่ เมื่อเวลาผันไปตามกาลอันควรก็เติบโตขึ้น เมื่อพระองค์ได้ทรงออกบวชแล้วทรมานตน เหมือนดังภาพที่เราเห็นว่าความเปลี่ยนแปลงเสื่อมไปในกายของพระองค์ก็เกิดขึ้น แห้งเหี่ยว ซูบผอม ไม่มีแม้เรี่ยวแรง จนเกิดเป็นทุกขเวทนาทางกาย เพราะไม่ได้ดื่ม-ไม่ได้กิน
           นี่คือความเปลี่ยนแปลงและเสื่อมไปของรูปขันธ์ ซึ่งรูปขันธ์นี้มีการเปลี่ยนแปลง และ ความเสื่อมโทรมไปในทุกขณะเวลา  ไม่ดื่ม-ไม่กินก็ไม่ได้ ไม่ขับถ่ายก็ไม่ได้ แม้แต่กายของพระพุทธเจ้าผู้เป็นใหญ่ใน 3 โลก เป็นผู้รู้แจ้งโลกก็ยังเสื่อมโทรมไป ดังนั้นกายนี้จึงเป็นสิ่งที่ควรเอามายึดมั่นถือมั่นหรือไม่ เมื่อเราเข้าไปยึดมั่นถือมั่นว่ากายนี้ๆเป็นเรา เป็นของเรา ก็หากรูปขันธ์ คือ กายนี้ เป็นเราเป็นของเราแล้วเราสามารถบังคับให้มันเป็นไปดั่งใจได้หรือไม่ ทำให้มันคงสภาพไม่เปลี่ยนแปลงไปได้หรือไม่ บังคับไม่ให้แปรสภาพได้ไหม บังคับให้มันไม่เสื่อมโทรมได้ไหม บังคับให้มันไม่หิวได้ไหม บังคับให้มันไม่ขับถ่ายได้ไหม ทั้งหมดนี้ย่อมเป็นไปไม่ได้ดั่งใจเราปารถนาใช่ไหม
           เพราะรูปขันธ์ คือ กายนี้ ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา ไม่เที่ยง ไม่มีตัวตนดังนี้ สักแต่มีไว้ให้ระลึกรู้เท่านั้น ระลึกรู้ถึงความเปลี่ยนแปรงไป และ เสื่อมโทรมไป ไม่สามารถคงสภาพได้นาน ไม่ดื่ม ไม่กิน ไม่ขับถ่ายก็ไม่ได้
           แม้ให้ดื่ม ให้กิน ให้ขับถ่าย มาอย่างดีแล้ว รูปขันธ์ คือ กายนี้ ก็ไม่สามารถทรงสภาพอยู่ได้นาน คงให้ผ่านไปได้แค่ชั่วระยะเวลาหายใจเข้า และ หายใจออกเท่านั้น สุดท้ายก็ยังต้องผันแปร เปลี่ยนแปลง เสื่อมโทรมไปตามกาล
           รูปขันธ์ คือ กายนี้ สักแต่เป็นเพียงอาการทั้ง 32 ประกอบกันอันมีหนังหุ้มไว้เป้นที่สุดรอบ ซึ่งอาการทั้ง 32 นั้นสักแต่เป็นเพียง ธาตุดิน น้ำ ลม ไฟ อากาศที่กอปรรวมกันเข้ามาให้เกิดเป็นสภาพเคล้าโครงร่างต่างๆกันไป
     ๑.๒ แม้แต่กายของพระพุทธเจ้านี้ ก็ไม่สามารถบังคับไม่ให้เจ็บ ไม่ให้แก่ และ ไม่ให้ตายดับสูญสลายไปก็ไม่ได้ แม้ถูกเศษหินที่พระเทวทัตกลิ้งลงมาหวังปลงพระชนน์พระตถาคตทัยนิ้วแม้เท้า นิ้งแม่เท้าของพระตถาคตก็ยังห้อเลือดเลย บังคับไม่ให้ห้อเลือดก็ไม่ได้ ไม่ให้เจ็บก็ไม่ได้
           ขนาดเป็นรูปขันธ์ของพระพุทธเจ้าผู้เป็นครูของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ผู้จำแนกธรรมสั่งสอนสัตว์ก็ยังเจ็บและป่วยไข้ ก็ต้องอาศัยยารักษาโรคที่ท่านหมอชีวกปรุงรักษาพระองค์เลย เมื่อกาลเวลาเปลี่ยนไปพระองค์ก็ต้องแก่ชรา ไม่สามารถทรงสภาพให้ยังหนุ่มอยู่ได้ เมื่อถึงกาลอันควรพระพุทธเจ้าก็ทรงดับขันธ์สู่ปรินิพพาน ไม่สามารถคงรูปขันธ์อยู่ได้นาน แม้พระพุทธเจ้ามีพระเดชอิทธิปาฏฺหาริย์สูงส่งเพียงใด เป็นผู้แสดงธรรมเผยแพร่ให้สัตว์โลก มนุษย์และเทวดาทั้งหลายถึงที่สุดแห่งกองทุกข์ได้ พระองค์ก็ยังไม่สามารถบังคับให้รูปขันธ์นี้คงอยู่ได้ แม้พระพุทธเจ้าเองก็ยังหนีไม่พ้น ความเจ็บ ความแก่ และ ความตายได้
           เพราะรูปขันธ์ คือ กายนี้ ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา ไม่เที่ยง ไม่มีตัวตนดังนี้ สักแต่มีไว้ให้ระลึกรู้เท่านั้น ระลึกรู้ถึงความเปลี่ยนแปรงไป และ เสื่อมโทรมไป จนถึงความดับสูญสลายไปในที่สุด ไม่ดูแล ไม่รักษาก็ไม่ได้
           แม้ดูแล รักษามาอย่างดีแล้ว รูปขันธ์ คือ กายนี้ ก็ไม่สามารถทรงสภาพอยู่ได้นาน คงให้ผ่านไปได้แค่ชั่วระยะเวลาหายใจเข้า และ หายใจออกเท่านั้น สุดท้ายก็ยังต้องผันแปร เปลี่ยนแปลง เสื่อมโทรมไป และ ดับสูญสลายไป


  ** แม้ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ก็เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และ ดับไป ไม่เที่ยง ไม่คงอยู่ได้นาน ไม่มีตัวตนอันที่เราจะไปบังคับจับต้องให้มันเป็นไปดังใจได้ เพราะไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา ความเข้าไปยึดมั่นถือมั่นในสิ่งที่ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา ไม่เที่ยง ไม่มีตัวตน คือ ขันธ์ทั้ง ๕ นี้ จึงเป็นทุกข์ ทุกข์เพราะไม่เป็นไปตามปารถนา ทุกข์เพราะต้องพบเจอในสิ่งอันไม่เป็นที่รักที่พอใจ ทุกข์เพราะความพรัดพรากเป็นที่สุดดังนี้
     ฉะนั้นเราจึงควรถอนความยึดมั่นถือมั่นจากสิ่งที่ ไม่เที่ยง ไม่มีตัวตน ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา คือ ขันธ์ทั้ง ๕ นั้นออกไปเสีย พระบรมศาสดาทรงมีขันธ์ ๕ ไว้สักแต่เพียงระลึกรู้ เราผู้เป็นสาวกผู้กราบไหว้ปฏิบัติตามอยู่ ก็ควรปฏิบัติตามพระองค์ คือ มีขันธ์ ๕ ไว้สักแต่ระลึกรู้ ที่ไม่เข้าไปร่วมเสพย์อารมณ์ใดๆกับขันธ์ทั้งปวงเหล่านั้น
    - เมื่อสุขกาย-ใจ ก็รู้ว่าสุขกาย-ใจเกิด เมื่อทุกข์กาย-ใจ ก็รู้ว่าทุกข์กาย-ใจเกิด แต่ไม่เข้าไปร่วมเสพย์เสวยอารมณ์ใดๆกับเวทนาขันธ์ สักแต่มีไว้ระลึกรู้เท่านั้น ไม่ได้มีไว้เสพย์เสวยอารมณ์ความรู้สึก เมื่อเราเข้าไปเสพย์เวทนาใดๆ ธรรมชาติของจิตย่อมเข้าไปยึดมั่นถือมั่นเอาเวทนานั้นๆมาเป็นที่ตั้งแห่งจิตว่า อย่างนี้หนอทำให้เราเป็นสุข อย่างนี้หนอทำให้เราเป็นทุกข์
      เมื่อทำให้กาย-ใจเป็นสุขก็ดิ้นรนทะยานอยากปารถนาใคร่ได้ที่จะเสพย์ในอารมณ์นั้น ดิ้นรนแสวงหาเพื่อให้ได้มา
      เมือทำให้กาย-ใจเป็นทุกข์ ก็ทะยานอยากจะผลักหนีไปให้ไกลตน ไม่อยากพบเจอ ไม่อยากมี ไม่อยากเป็น ผลสุดท้ายก็มีแต่ทุกข์จากความทะยานอยากนั้น
    - เมื่อความจดจำ ความสำคัญมั่นหมายใดๆของใจเราเกิดขึ้น หรือ เข้าไปรู้ในความจดจำสัญคัญมั่นหมายของใจใดๆ ก็สักแต่รู้ว่า นี่คือความจดจำ สำคัญมั่นหมายของใจได้เกิดขึ้นแล้ว เราเข้าไปหวนระลึกตรึกนึกถึงจากการให้ความสำคัญมั่นหมายของใจไว้บ้าง เป็นสิ่งที่ล่วงเลยมาแล้วบ้าง ไม่เข้าไปเสพย์แล้วปรุงแต่งเรื่องราวต่อเติมให้เสพย์อารมณ์ใดๆ สักแต่มีไว้ระลึกรู้เท่านั้น ไม่ได้มีไว้เสพย์ เมื่อเสพย์เอาความจดจำสำคัญมั่นหมายใดๆของใจ ธรรมชาติของจิตย่อมเข้าไปยึดมั่นถือมั่นในความจดจำสำคัญมั่นหมายนั้น มันจึงเป็นทุกข์
    - เมื่อมีความ รัก โลภ โกรธ หลง ใดๆเกิดขึ้นแก่จิต ก็รู้ว่า รัก โลภ โกรธ หลง เกิดขึ้นแต่จิต สิ่งเหล่านี้สักแต่มีไว้ระลึกรู้ ไม่ได้มีไว้เสพย์ เมื่อเสพย์เอาความปรุงแต่งประกอบจิตใดๆ ธรรมชาติของจิตย่อมเข้าไปยึดมั่นถือมั่นในความปรุงแต่งนั้นๆทันที มันจึงเป็นทุกข์
    - เมื่อรับรู้ผัสสะการกระทบสัมผัสใดๆ ก็สักแต่ว่ารู้ ความรู้อารมณ์ใดๆมีไว้สักแต่ให้ระลึกรู้เท่านั้น ไม่ได้มีไว้เสพย์ ก็เมื่อรู้อารมณ์ใดๆแล้วเสพย์เสวยเข้าไปเราก็จะเข้าไปยึดเอาความรู้อารมณ์ที่เสพย์นั้นทันที มันจึงเป็นทุกข์

 
๑. เมื่อระลึกถึงพระพุทธเจ้าทุกลมหายใจเข้าออกแล้ว พิจารณาอย่างนี้เป็นเบื้องต้นแล้ว ทุกครั้งที่ระลึกถึงพระพุทธเจ้า ก็ระลึกถึงว่า แม้แต่พระตถาคตเองก็ไม่อาจจะหนีพ้นความ เกิด แก่ เจ็บ ตาย ไม่มีสิ่งใดๆที่เราควรติดข้องใจเอามาเสพย์เสวยอารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งจิต เพราะสิ่งใดๆเหล่านี้ ไม่เที่ยง ไม่มีตัวตน ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา ความเข้าไปยึดมั่นถือมั่นมันมีแต่ทุกข์ ไม่มีประโยชน์สุขใดๆเลย สิ่งเหล่านี้มีไว้ให้สักแต่ว่าระลึกรู้เท่านั้น**

๒. องค์พระบรมศาสดาของผมและท่านทั้งหลายนี้ เห็นความจริงรู้แจ้งโลกโดยปรมัตถธรรมว่า สิ่งใดๆบนโลกนี้สักแต่เป็นเพียง รูปธรรม และ นามธรรม  ไม่มีตัวตน สิ่งใด บุคคลใด
    - รูปธรรม คือ ธรรมชาติที่ถูกรู้ สามารถรับรู้ได้ทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย อันได้แก่ สี เสียง กลิ่น รส และ โผฐฐัพพะ(สิ่งที่สามารถรับรู้สัมผัสได้ด้วยกาย) รูปขันธ์ มหาภูตรูป ๔ มหาภูตรูป 4 และ อุปาทายรูป 24
    - นามธรรม คือ ธรรมชาติที รู้ได้ทางใจ รู้แจ้งได้ด้วยใจ คือ จิต เจตสิก หรือ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ และ วิญญาณขันธ์
   
ทีนี้เรามาหวนระลึกรู้ ตรึกตรองดูสิว่า วันๆหนึ่งเราได้รับรู้กระทบสัมผัสอะไรบ้าง
    - เมื่อเรารับรู้อารมณ์ทางตา มันก็เป็นแค่สีๆ มีโครงสร้างรูปร่างต่างๆ เวลามองเห็นเพศตรงข้ามก็ลองดูสิว่าเขานั้นมีผิวสี ขาว ดำ เหลือง แดง น้ำตาม เมื่อมองดูผมเขา เขามีผมสีอะไร ดำ ขาว เหลือง ทอง เสื่อผ้าสีอะไร รถที่วิ่งไปมาอยู่นี้ มันเป็นสีอะไร เมื่ออยู่ไกลก็มีสีเค้าโครงอย่างนึง เมื่ออยู่ใกล้ก็มีสีเคล้าโครงอย่างหนึ่ง เห็นต้นไม้ ต้นไม้นั้นดูแล้วมันมีสีอะไรบ้าง เขียว เหลือง น้ำตาล มีโครงร่างต่างๆกันไป สิ่งที่เราเห็นนั้นเป็นสิ่งที่มีอยู่จริงไหมก็มีอยู่จริง แต่ที่เรารับรู้ทางตามันก็เป็นแค่สีๆเท่านั้นไม่ได้มีตัวตนบุคคลใดเลย เข้าไปหมายเอาความจดจำสำคัญมั่นหมายที่เป็นสมมติบัญญัติว่านั้น รถ นั่นคน นั่นผู้หญิง ผู้ชาย สัตว์ ต้นไม้ สิ่งของใดๆ พระสุคตเจ้าเมื่อพระองค์มองเห็นทางตา พระองค์ก็เห็นเป็นแต่เพียงสีๆตามสภาพจริงดังนี้  เมื่อระลึกถึงพระตถาคตแล้วก็พึงรับรู้ทางตาเช่นนี้ๆดั่งพระตถาคตนั้น
    - เมื่อเรารับรู้อารมณ์ทางหู มันก็เป็นแค่เสียง เป็นเสียงแหลมบ้าง เสียงทุ้มบ้าง เสียงดังบ้าง เสียงเบาบ้าง ไม่มีตัวตนบุคคลใดๆ สัตว์ใดๆ สิ่งใดๆ เสียงนั้นมีอยู่จริงฉะนี้ แต่เพราะเราเข้าไปยึดเอาสมมติบัญญัติใดๆ เมื่อได้ยินเสียงก็เข้าไปสำคัญมั่นหมายว่านี่เสียงคนบ้าง เสียงสัตว์บ้าง เสียงผู้หญิงบ้าง เสียงผู้ชายบ้ารง เสียงนกบ้าง เสียงไก่บ้าง เสียงม้าบ้าง เป็นต้น ทั้งๆที่บางที่ไม่ได้เห็นด้วยซ้ำว่าเป็นเสียงของอะไร นั่นเพราะเมือได้ยินเสียงแล้วก็เข้าไปหมายเอาความจดจำสำคัญมั่นหมายที่เป็นสมมติบัญญัติปรุงแต่งตรึกนึกแทน พระสุคตเจ้าเมื่อพระองค์ได้ยินทางหู พระองค์ก็ได้ยินแค่เสียงแหลมบ้าง เสียงทุ้มบ้าง เสียงดังบ้าง เสียงเบาบ้างตามสภาพจริงๆดังนี้ เมื่อเราระลึกถึงพระตถาคตแล้วก็พึงรับรู้ทางหูเช่นนี้ๆดั่งพระตถาคตนั้น
    - เมื่อเรารับรู้อารมณ์ทางจมูก คือ กลิ่น กลิ่นนั้นมันก็สักแต่เป็นเพียงลมที่เราหายใจเข้า ลมที่เราหายใจออก ซึ่งลมที่เราหายใจเข้า-ออกนั้นเพียงแต่มีธาตุใดๆรูปใดๆเข้ามาประกอบเพิ่มเติมแตกต่างกันไป ทำให้ลมหายใจที่เข้ามากระทบให้เรารับรู้ทางจมูกของเรานั้นมีสภาพต่างๆกันไปตามเหตุปัจจัยนั้นๆ ไม่มีตัวตน บุคคลใด ไม่มีว่านี่เหม็น-นี่หอม ก็เมื่อได้รู้กลิ่นไรๆที่ว่าหอมว่าเหม็นที่ฟุ้งไปนั้นแก่เรานั่นก็เพราะเมือเราได้สูดเอาลมหายใจเข้าไปแล้วได้ประสบกับสภาพที่ตนเองเพลินเพลินยินดีก็เข้าไปหมายเอาความจดจำสำคัญมั่นหมายที่เป็นสมมติบัญญัติปรุงแต่งว่านี้กลิ่นหอมเป็นสุขผ่อนคลาย พอเมื่อได้เจอสภาพลมหายใจที่ยังความขุ่นข้อง-ไม่พอใจยินดี-อึดอัดใจให้เกิดขึ้นแก่จิตก็ว่ากลิ่นนี้เหม็นอยากจะผลักหนีไปให้ไกลตน ก็เมื่อเราได้กลิ่นไรๆก็ระลึกรู้ทางจมูกอย่างนี้ๆ เมื่อเราระลึกถึงพระตถาคตก็ให้พึงระลึกรู้ว่า สูดลมหายใจเข้า-ออกได้กลิ่นด้วยจมูกแล้ว พึงตั้งจิตไว้กลางๆแลพึงระลึกว่ากลิ่นนั้นสักแต่มีไว้เพียงระลึกรู้เท่านั้น พร้อมไม่ตั้งเอาความพอใจยินดีและไม่ตั้งเอาความไม่พอใจยินดี เป็นผู้วางเฉยมีสติสัมปชัญญะตั้งอยู่ เป็นสิ่งที่พระพุทธเจ้าเจริญปฏิบัติและตรัสสอนดังนี้
    - เมื่อเรารับรู้อารมณ์ทางลิ้น คือ สภาพที่เป็นรสชาติใดๆอันเป็นเอกลัษณ์ที่รู้ได้เฉพาะลิ้นเท่านั้น ซึ่งสภาพที่รับรู้จริงๆแล้วมีอาการต่างๆกันไปตามแต่รูปธาตุใดๆที่เกิดประกอบกันนั้นๆ เช่น เมื่อมีสภาพอาการรสฝา-เฝื่อนลิ้น เราก็เข้าไปตั้งความสำคัญมั่นหมายสมมติขึ้นว่าเป็นรสขม เมื่อมีสภาพอาการมีขืนชาลิ้นก็สมมติว่ารสเค็มบ้าง เมื่อมีสภาพอาการที่เหมือนเสียดจี๊ดเข้าไปในลิ้นก็สมมติว่ารสเปรี้ยว เมื่อมีสภาพอาการที่แสบร้อนกัอเข้าไปในลิ้นก็สมมติว่ารสเผ็ดบ้าง เมื่อมรสภาพอาการที่นุ่มลื่นลิ้น ไม่ฝาดลิ้นไม่ขืนชาลิ้นไม่เสียดกัดจี๊ดเข้าไปในลิ้นไม่แสบร้อนลิ้นก็สมมติว่ารสหวานบ้าง
       ก็เมื่อเราเข้าไปรับรู้อารมณ์ ความปรุงแต่งใดๆทางลิ้นอย่างนี้ๆแล้วก็เข้าไปยึดมั่นถือมั่นตั้งความสำคัญมั่นหมายเอาไว้ว่าสภาพนี้ๆเราพอใจยินดีเพลิดเพลิน สภาพแบบนี้ขัดเคืองใจ ไม่ชอบใจ ไม่พอใจยินดี ก็เมื่อเข้าไปตั้งเอาความพอใจยินดี ไม่พอใจยินดีในรสนี้ย่อมกอปรไปด้วยทุกข์ เมื่อรับรู้ทางลิ้นใดๆก็ให้พิจารณาเข้าไปรู้ทางลิ้นอย่างนี้ๆ เมื่อเราระลึกถึงพระตถาคตก็ให้พึงระลึกรู้ว่า เมื่อรับรู้สภาพรูปธาตุปรุงแต่งใดๆทางลิ้นแล้ว พึงตั้งจิตไว้กลางๆ แลพึงระลึกว่ารสนั้นสักแต่มีไว้เพียงระลึกรู้เท่านั้น พร้อมไม่ตั้งเอาความพอใจยินดีและไม่ตั้งเอาความไม่พอใจยินดี เป็นผู้วางเฉยมีสติสัมปชัญญะตั้งอยู่ เป็นสิ่งที่พระพุทธเจ้าเจริญปฏิบัติและตรัสสอนดังนี้
    - เมื่อเรารับรู้อารมณ์ทางกาย ก็รับรู้ได้แต่เพียง แข็ง อ่อน ร้อน เย็น สภาพที่พัดผันเคลื่อนไป พัดขึ้น พัดลงเคลื่อนไป ซึมซาบ ซายซ่าน เป็นต้น วันๆหนึ่งเราได้รับรู้เพียงแต่เท่านี้แค่นั้น ไม่ว่าทั้งภายในรูปขันธ์ หรือ ภายนอกสักแต่มีเพียงเท่านี้ไม่มีตัวตนบุคคลใดเลย มีแต่เราที่เข้าไปสมมติเอาว่าสภาพต่างๆเหล่านี้ที่ได้รู้กระทบสัมผัสนั้นคืออะไร เป็นคนบ้าง สัตว์บ้าง สิ่งของต่างๆบ้าง  พระสุคตเจ้าเมื่อพระองค์รับรู้การกระทบผัสสะใดๆทางกาย พระองค์ก็รับรู้แต่เพียงสภาพที่ แข็ง อ่อน ร้อน เย็น สภาพที่พัดผันเคลื่อนไป พัดขึ้น พัดลงเคลื่อนไป ซึมซาบ ซายซ่าน เป็นต้นดังนี้  เมื่อเราระลึกถึงพระตถาคตแล้วก็พึงรับรู้ทางกายเช่นนี้ๆดั่งพระตถาคตนั้น
    - เมื่อเรามีสภาพที่รู้ รู้ในผัสสะจากอารมณ์ใดๆความปรุงแต่งนึกคิดใดๆรู้ว่า สุข ทุกข์ เฉยๆ ความตรึกนึกคิด ที่จิตเข้าไปหวนระลึกเอาสิ่งที่ล่วงมาแล้วบ้าง ความที่ไปปรุงแต่เรื่องราวในสิ่งที่มาไม่ถึงบ้าง ความเพลิดเพลินยินดี โกรธ เกลียด กำหนัดใคร่ได้ปารถนาที่จะเสพย์อารมณ์ใดๆอันเนื่องมาจากความเพลิดเพลิน ความลุ่มหลง ความนิ่งเฉยไม่รู้ ความหลงไปในจิต สิ่งทั้งหลายเหล่านี้สักแต่มีไว้รู้ เมื่อรู้สภาพที่เกิดขึ้นแล้วสิ่งเหล่านี้มีทั้งภายในตนและภายนอก เมื่อเข้าไปรู้สภาพความปรุงแต่งจิต ความนึกคิด อารมณ์ความรู้สึกใดๆ ก็ให้เราเข้าไปรู้ในสภาพอาการของจิตในขณะนั้นๆว่าเป้นอย่างไร รู้สึกยังไง เช่น เมื่อรู้ว่าสุข ก็เข้าไปรู้ว่ามันมีสภาพความรู้สึกและอาการมันเป็นไฉน มันใจฟู มันซาบซ่าน มันมีความรู้สึกอาการเพลิดเพลินยินดีไหม หรือ มันเปรมปรีย์ผ่องใส มันอิ่มเอมใจ เวลาโกรธมันมีสภาพความรู้สึกและอาการของจิตเป็นยังไงมันขุ่นมัวหมองใจไหม มันอัดอั้นคับแค้นกายใจไหม มันอึดอัดใจไหมเป็นต้น เมื่อเข้าไปรู้ในสภาพอย่างนี้ๆมันเกิดขึ้นทั้งในเราและคนอื่น สัตว์อื่นไหม วันๆมันก็รู้วกวน วนเวียนอยู่นี่ๆ ไม่มีความหมายจากอาการใดๆ ความเป็นเรา เป็นของเรา เป็นบุคลคล สัตว์ สิ่งของก็ไม่มี ความรักไม่มี ความโกรธไม่มี ความสุข ไม่มี ความทุกข์ไม่มี สักแต่เป็นเพียงสภาพอาการความรู้สึกหนี่งๆของจิตเท่านั้น ไม่มีสิ่งใดเลย แม้ตัวเรา ตัวเขาก็มีความรู้สึกภายในอยู่แค่นี้ๆเท่านั้น หรือสิ่งนี้ๆมีในเรา ไม่มีในผู้อื่น พระสุคตเจ้าเมื่อพระองค์เมื่อเข้าไปรู้สิ่งที่ใจรู้ สิ่งที่รู้ได้ทางใจตามสภาพตรึกนึกใดๆ อารมณ์ความรู้สึกใดๆ สภาพอาการของจิตใดๆอย่างนี้ๆเท่านั้นดังนี้ เมื่อเราระลึกถึงพระตถาคตแล้วก็พึงรับรู้ทางใจเช่นนี้ๆดั่งพระตถาคตนั้น
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 29, 2014, 08:51:35 pm โดย Admax »
บันทึกการเข้า
ความติดข้องใจเสพย์อารมณ์ความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น สมุทัย
ผลของการดำเนินไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น ทุกข์
รู้สัจธรรมและปรมัตถ์ ดำรงอยู่ในกุศล สติ ศีล สมาธิ พรหมวิหาร๔ คิดดี พูดดี ทำดี เป็น มรรค
การดับไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี ถึง อัพยกตธรรม เป็น นิโรธ

lomtong

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 48
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: พุทธานุสสติ (แบบพิสดาร) **กำลังพิมพ์**
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: มกราคม 22, 2014, 05:16:41 pm »
0
กำลังจัดพิมพ์ หมายถึง พิมพ์เป็นหนังสือ หรือ กำลัง พิมพ์ ไว้ในเว็บ

 st11 st12
บันทึกการเข้า

Admax

  • ผู้อุปถัมภ์
  • โยคาวจรผล
  • ****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 1063
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: พุทธานุสสติ (แบบพิสดาร) **กำลังพิมพ์**
« ตอบกลับ #6 เมื่อ: มกราคม 26, 2014, 02:59:29 pm »
0
    พุทธานุสสติ แบบพิสดารนี้ ผมตั้งใจปฏิบัติศึกษาแล้วกลั่นกรองเขียนออกมาเพื่อให้ทุกคนท่านผู้รู้ผู้ปฏิบัติทั้งหลายได้เห็นว่าสำคัญเพียงไร ควรแก่การน้อมนำมาปฏิบัติแค่ได้ หากไม่มีศรัทธาในพระพุทธเจ้า พระธรรมที่พระพุทธเจ้าสอน ย่อมปฏิบัติไม่ได้เป็นแน่นอน และ พุทธานุสสตินี้สามารถเข้าถึงวิปัสนาญาณได้ตามจริงด้วยเหตุ ปัจจัย และ ปัญญาอันที่จะสื่อไปถึง

    ผมกล่าวแนวทางไว้โดยย่อเพียงเท่านี้ เป็นสิ่งที่ปฏิบัติได้ให้ผลได้ตามจริงครับ ผู้ปฏิบัติดูพึงรู้ได้ด้วยตนเองตามจริง ส่วนรู้แล้วเห็นแล้วจะบรรลุไหม มันก็อยู่ที่บารมีทีสะสมกันมา หรือ ความเพียรและความเข้าถึงของเราแต่ละคนด้วยครับ แต่ความเพียรทำไปก็ไม่สูญเปล่าแน่นอนครับ



ขอขอบคุณ ท่าน LOMTONG และ ทุกท่านที่แวะเข้ามาติชมครับ ผมจะนำคำติชมนั้นไว้ปรับปรุงแก้ไขเพื่อความถูกต้องดีงามและถึงพร้อมครับ

ขอบคุณพระอาจารย์สนธยา ธัมมวังโส ที่คอยชี้แนะสั่งสอนธรรมปฏิบัติแก่ผม ผมจะเพียรปฏิบัติให้เห็นแจ้งตามจริง แลดำเนินรอยตามท่านผู้เป็นครูอุปัชฌาย์อาจารย์ เพื่อการเผยแพร่พระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าที่เป็นทางเพื่อออกจากทุกข์ทั้งสิ้นนี้ มีทั้งไพเราะในเบื้องต้น ท่ามกลาง และ ที่สุด และ เผยแพร่ ๔๐ กรรมฐาน ไปตลอดชีวิตจนกว่าจะไม่มีปัญญากระทำ

ขอบคุณครับ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 29, 2014, 02:53:49 pm โดย patra »
บันทึกการเข้า
ความติดข้องใจเสพย์อารมณ์ความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น สมุทัย
ผลของการดำเนินไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น ทุกข์
รู้สัจธรรมและปรมัตถ์ ดำรงอยู่ในกุศล สติ ศีล สมาธิ พรหมวิหาร๔ คิดดี พูดดี ทำดี เป็น มรรค
การดับไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี ถึง อัพยกตธรรม เป็น นิโรธ

drift-999

  • ศิษย์ตรง
  • พอพึ่งพาได้
  • *****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 239
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: พุทธานุสสติ (แบบพิสดาร)
« ตอบกลับ #7 เมื่อ: มกราคม 27, 2014, 02:24:30 pm »
0
เพิ่มขนาดอักษร ได้หรือ ไม่ ครับ ผมอ่านแทบไม่เห็น ครับ ต้องกดซูม ทุกครั้งที่ตั้งใจ จะอ่าน นะครับ

 thk56 st11 st12
บันทึกการเข้า

Admax

  • ผู้อุปถัมภ์
  • โยคาวจรผล
  • ****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 1063
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: พุทธานุสสติ (แบบพิสดาร)
« ตอบกลับ #8 เมื่อ: มกราคม 29, 2014, 01:50:08 pm »
0
ผมปรับ Size แล้วครับ ใันปรับไม่ได้ ครับ ขออภัยอย่างสูง ลองกดปุ่ม Ctrl ที่ KeyBoard ค้าง แล้วเลื่อนปุ่มที่เมาส์ ที่ปุ่มตรงกลางโดยกดปุ่ม Ctrl ค้างแล้วเลื่อนเข้าออกดูครับ มันเป็นการ Zoom in / Zoom out โดยไม่ต้องไปคลิกนั่งปรับครับ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 29, 2014, 01:54:19 pm โดย Admax »
บันทึกการเข้า
ความติดข้องใจเสพย์อารมณ์ความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น สมุทัย
ผลของการดำเนินไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น ทุกข์
รู้สัจธรรมและปรมัตถ์ ดำรงอยู่ในกุศล สติ ศีล สมาธิ พรหมวิหาร๔ คิดดี พูดดี ทำดี เป็น มรรค
การดับไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี ถึง อัพยกตธรรม เป็น นิโรธ

patra

  • RDNpromote
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรมรรค
  • *
  • ผลบุญ: +100/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 971
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: พุทธานุสสติ (แบบพิสดาร)
« ตอบกลับ #9 เมื่อ: มกราคม 29, 2014, 03:02:01 pm »
0
ได้ลองปรับขนาด เป็นตัวอย่างบ้างแล้ว
การปรับขนาดด้วยการ ใช้ Crtl + นั้นมีผลกระทบกับหน้าเว็บอื่น ๆ ด้วย ซึ่งผู้ใช้ต้องคอยปรับ ขนาดทุกเว็บ ถ้าใช้ คีย์ลัด ดังนั้นไม่แนะนำ

   :49:
บันทึกการเข้า
ข้าพจ้า สนับสนุนการเผยแผ่ พระกรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ

Admax

  • ผู้อุปถัมภ์
  • โยคาวจรผล
  • ****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 1063
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: พุทธานุสสติ (แบบพิสดาร)
« ตอบกลับ #10 เมื่อ: มกราคม 29, 2014, 08:18:53 pm »
0
ครับขอบคุณคุณ PATRA มากครับ ผมนั่งแก้ SIZE ให้แล้วครับ ที่ไม่ได้ตอนแรก ผมลืมดูไปว่ามัีนติด Code Center อยู่

ขอบพระคุณมากครับ

 :c017: :c017:
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 29, 2014, 09:06:59 pm โดย Admax »
บันทึกการเข้า
ความติดข้องใจเสพย์อารมณ์ความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น สมุทัย
ผลของการดำเนินไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น ทุกข์
รู้สัจธรรมและปรมัตถ์ ดำรงอยู่ในกุศล สติ ศีล สมาธิ พรหมวิหาร๔ คิดดี พูดดี ทำดี เป็น มรรค
การดับไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี ถึง อัพยกตธรรม เป็น นิโรธ