ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ผู้ภาวนา หวังผลเบื้องสูง ไม่พึงอาลัยในอดีต หรือพะวงในอนาคต  (อ่าน 2459 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0


ผู้ภาวนา หวังผลเบื้องสูง ไม่พึงอาลัยในอดีต หรือพะวงในอนาคต

     วันนี้ให้หัวข้อจากคำถาม มากหลายท่าน จนไม่อยากไปดูว่าเป็นคำถามใครแล้ว เพราะถามกันเป็นการส่วนตัวกันเยอะมาก พิมพ์ไม่ทัน เอาเป็นว่าพอเห็นว่า มาลงตรงนี้ได้ ก็เข้ามาอ่านกันนะ

     ผู้ภาวนา ก็คือ ผู้มีความปรารถนาในคุณธรรม ของพระพุทธศาสนา ตั้งแต่ พระโสดาบัน เป็นต้นไป ดังนั้นผู้ภาวนา เมื่อที่จะภาวนา ก็ควรจะต้องเรียน ปริยัติ(แบบแผนการภาวนา )และปฏิบัติ (กระทำภาระกิจตามแบบแผน)เพื่อให้ได้ ปฏิเวธ(ผลตั้งแต่พระโสดาบัน เป็นต้นไป )

     แต่สิ่งที่เป็นปัญหาของผู้ภาวนา ส่วนมาก 80 เปอร์เซ็นต์ ก็คือการ ยึดติด ยึดมั่น ถือมั่น อาลัย อาวรณ์ ต่ออดิต ดังนั้นพอเริ่มเจริญภาวนา ก็จะมีภาพอดีต ผุดคือมาในท่านกลางใจ เสมอ ๆ ทำให้ไม่สามารถรวมลง ในอารมณ์ อันเป็นองค์แห่งสมาธิ เมื่อจิตรวมลงไปในสมาธิไม่ได้ การรู้เห็นตามความเป็นจริงมีไม่ได้ หลายคนก้เลยไปใช้ความคิด พิจารณาความเป็นจริงแทน เรียกว่า มองสัจจะแบบชาวโลก

      การมองสัจจะแบบชาวโลก เช่น ท่านมอง อสุภะกรรมฐาน ซากศพคนตาย ท่านก็แค่หยั่งว่า เขาตาย เราตาย เขาเน่า เราเน่า ประมาณนี้ ทั้งหมดนี้ ไม่ใช่ ยถาภูตญาณทัศนะ เพราะปรุงแต่งด้วยความคิดว่า เป็นอย่างนั้น อย่างนี้ ตามการอนุมาน หรือจดจำ หรือเห็นมากับตาอย่างนั้น

      ยถาภูตญาณทัศศนะ เมื่อเห็น จะเห็นความเกิด ความดับ ไม่ได้เห็น แบบเน่า เแบบธาตุ แบบสี แต่การเห็นจะเป็นการเห็นการสะท้อน ของปฏิกูล ( เน่า ) ธาตุ และ วรรณะ  (สี ) การสะท้อนจะมองเห็น ยถาภูตญาณทัศศนะ ส่วนการมองเห็น นิมิตร ทั้ง 3 เรียกว่าการเห็นเพียงเปลือก
   
     ถ้าท่านทั้งหลายอ่านเข้าใจตรงนี้ แล้ว ก็ต้องให้ความสำคัญกับวิธีแก้ไม่ให้อารมณ์ หน่วงไปใน อดีต

    การแก้อารมณ์ ไม่ให้หน่วงไปใน อดีต ต้องอาศัย บริกรรม
   
    บริกรรม ที่ใช้ ก็คือ พุทโธ ใช่แล้ว ถ้าผู้ใด มีจิตตั้งมั่นอยู่ในบริกรรม ก็เท่ากับพ้นจาก อำนาจของอดีต อดีตไม่สามารถกัดกิน ใจท่านได้ ถ้าท่านตั้งมั่นใน พุทโธ

 

   ( ข้อความยังมีอีก แต่รอก่อน )
         
   
   
 
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤศจิกายน 13, 2015, 12:06:38 pm โดย ธัมมะวังโส »
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
อดีต อนาคต ถ้าส่งใจไปหา และหมกหมุ่น ภาวนาไม่ก้าวหน้า
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: พฤศจิกายน 13, 2015, 11:55:25 am »
0
อดีต อนาคต ถ้าส่งใจไปหา และหมกหมุ่น ภาวนาไม่ก้าวหน้า

   ( มาต่อตอนต่อไป เวลาพิมพ์มีน้อย มาก )

   จากข้อความด้านบน แสดงให้เห็นถึง ปัญหาของผู้ปฏิบัติส่วนใหญ่ 80 เปอร์เซ้นต์ มักจะยึดติด ในอดีต ซึ่งอดีต อาศัยเพียงเรื่องเดียว ก็คือ สัญญา ( ความจำ ) ดังนั้น ถ้าสัญญาใครไม่ดี จำไม่ได้ อดีตก็ไม่มีผลกับคนนั้นมาก แต่ปัญหาเรื่องอดีต พระพุทธเจ้า ให้ใช้วิธีการปฏิบัติ เบื้องต้น ด้วยการตามดู อารมณ์ปัจจุบัน เนื่องด้วยอารมณ์ที่แล่นไปในอดีต เป็นอารมณ์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ดังนั้นการฝึกควบคุมใจ ไม่ให้ไปอดีต ที่ได้ผลมากที่สุด นั่นก็คือ การเจริญสติ

     แล้วการเจริญสติ ที่ได้ผลมากที่สุด ก็คือ การเจริญในอิริยาบท ด้วยการปลูกฝังการระลึก ในอารมณ์ปัจจุบัน ที่มันเกิดขึ้นในระหว่าง การเดิน การยืน การนั่ง และ การนอน
 
     ดังนั้น ในหลาย ๆ สำนักที่ใช้วิธีการนี้ เมื่อนำผู้ปฏิบัติเจริญสติ ในอิริยาบถ ก็ทำให้ผู้ปฏิบัติภาวนา ละความฟุ้งซ่านที่แส่สร้านออกไปยังอดีต ระงับ ลงชั่วคราว ทำให้สติ ตื่น ขึ้นมาในปัจจุบัน

     ผู้ที่สัมผัสอารมณ์ในปัจจุบัน ด้วยการฝึกสติอย่างนี้ มักจะมีความสุขเขาก็เลยคิดว่า สติของเขาบรรลุไปแล้ว ก็มี แต่พระพุทธเจ้า พระองค์ทรงรู้ยิ่งกว่า ด้วยเหตุนี้พระองค์จึงให้ฝึกซ้อนฝึกเข้าไปอีก เรียกกว่า การดึงสัมปชัญญญะ ด้วยการเพิ่ม อิริยาบถย่อย เช่น การห่มจีวร การฉัน การคู้แขนเข้า เหยียดแขนออก ทั้งหมดนี้เป็นการเจริญ สัมปชัญญะ เพื่อไม่ให้จิตหลง คนมีสติ มีความเจริญ แต่ สติ มีมากก็ไม่ดี มีโทษเหมือนกัน บางคนมีสติมาก เวลาหลับ ก็ไม่ยอมหลับ ไปหลับตอนที่ไม่ควรจะหลับ กลายเป็นโรคนอนไม่หลับไปก็มี สังเกตดูอารมณ์ตอนที่มันต้องหลับแล้วมันไม่หลับ ในเวลาที่เหมือนชาวบ้าน แต่ไปหลับในเวลาที่ตรงข้ามกับชาวบ้าน ถ้าเป็นพระก็โดนตำหนิแน่ ๆ เพราะเขาทำวัตรกัน แต่ตัวเองนอนหลับ เขาออกบิณฑบาตรกัน แต่ตัวเองก็นอนหลับ เขาทำกิจอื่น ๆ อยู่ แต่ตัวเองก็นอนหลับ แต่พอครั้นได้เวลานอนของคนอื่น ตัวเองดันมาตื่น นี่เขาเรียกว่า ผิดธรรมชาติ การฝึกสติ มากเกินจำเป็นก็เคยเป็นปัญหา กับพระอาจารย์ เช่นกันอย่างนี้เพียงแต่ว่า พระอาจารย์ จะไม่นอนเลยถ้ามันไม่หลับ ก็ไปเดินจงกรม เขียนหนังสือ แทนและถึงเวลาเขาทำงานเราจะหลับ ก็มาทำ เนสัชชิกธุดงค์ ทำอย่างนี้ 1 อาทิตย์ (สัปดาห์ ) เดี๋ยวก้เข้าที่

     ดังนั้นท่านทั้งหลายที่ ต้องการภาวนา แล้วภาพอดีตมันเกิดขึ้นในระหว่างที่ภาวนา ถ้าท่านพยายาม ข่มด้วยอำนาจสมาธิ ก็ต้อง ยึดวิตก คือ คำ ภาวนา เช่น พุทโธ ธัมโม สังโฆ อย่างนี้เป็นต้น

     แต่ถ้าท่าน สมาธิ ยังอ่อน ก็ให้ไปเดินจงกรม พัฒนา สติ เสียก่อน เดินจากธรรมดา ไปเป็นช้า เรียกว่า สติ จับทัน จนกระทั่งจับได้ยิบย่อย ถึง ฉากการยกเท้า เดินเท้า หยุดยืน ต่าง ๆ เหล่านี้เรียกว่า พอกพูนสติ เพื่อไม่ให้อดีต มาเข้าอารมณื ในการฝึก สมาธิ

     เมื่อจิตมีสติ เต็มแล้ว ก็กลับมานั่งสมาธิ อาศัย วิตก ถ้าใครทำแบบนี้ประจำ ๆ ทุกวัน มันต้องได้แน่นอน แต่ที่ไม่ได้ เพราะไม่ได้ ทำ ไม่ได้ฝึก และไม่ทำให้บ่อย บางคน 3 วันทำครั้ง 1 เดือนทำที แล้วบอกอาจารย์ว่า ภาวนาทุกวัน รอมาหลายปี ไม่ก้าวหน้า ก็เพราะว่า ไม่ทำ ไม่ภาวนาจริง นั่นเอง

     แต่ครั้นจะไปว่า มาก ๆ ก็ไม่ดี เพราะว่า การภาวนา มันเป็นเรื่องของใครของมัน ใครภาวนา คนนั้นก็ได้ผลภาวนา ใครไม่ได้ภาวนา มันก็ไม่ได้ผลภาวนา ก็ตามนั้น

     ดังนั้นท่านทั้งหลาย ถ้าท่านตกฟากฝ่าย จิตแล่นไปในอดีต ก็แสดง สติ ท่านยังไม่พอ ให้มาพัฒนาสติก่อน เพื่อล้างภาพอดีต ที่มันอาลัยอาวรณ์ มันฝังด้วยการปรุงแต่ง เพราะสิ่งนั้นเป็น นิวรณ์ อุทธัจจะกุกุกจะ ( ฟุ้งสร้านรำคาญ ) ส่วนหนึ่งที่ขวางคุณธรรม ตั้งแต่ อุปจาระสมาธิ จนถึง ญาณขั้นสูง


      ( ข้อความยังมีต่อ รอก่อน )
 
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

นิรตา ป้อมนาวิน

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +20/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 1212
  • อย่างน้อยชาตินี้ขอปิดอบายภูมิ
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

PRAMOTE(aaaa)

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 3598
  • ความศรัทธาคือเชื่อเรื่องการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0

     ขออนุโมทนาสาธุ ครับ
บันทึกการเข้า
การมีกัลยาณมิตร ครูบาอาจารย์ ที่สั่งสอนธรรม เป็นเรื่องที่ดี
..เชื่อเรื่องการตรัสรู้ธรรม ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
...และเชื่อในพระธรรมที่เป็นตัวแทนของพระศาสดา