ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: การทำกุศลศพ ที่ยังสงสัยอยู่  (อ่าน 5177 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

fasai

  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +20/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 540
  • ทางสายกลาง
  • Respect: +1
    • ดูรายละเอียด
การทำกุศลศพ ที่ยังสงสัยอยู่
« เมื่อ: สิงหาคม 04, 2010, 06:03:20 pm »
0
วันก่อนได้ไปร่วมงาน ศพ ของเพื่อน

  ก็เห็น เพื่อน เดือดร้อน หาเด็ก หรือ บุคคล ที่จะมาบวชเป็น สามเณร เพื่อจูงศพ

  ที่สงสัย ก็ืืคือ 1. ในงานศพ จำเป็นต้องมีสามเณร จูงศพ ใช่ หรือ ไม่ คะ

                 2. การที่เอาบุคคล ไม่ใช่ ญาติ พี่ น้อง หรือ จ้างให้มาบวชให้ นั้น ผู้ตาย จะได้บุญกุศล จริง
หรือ คะ หรือ ว่า คนที่จ้าง จะได้บุญ

  ในช่วงที่ เลี้ยงอาหาร พระ เห็นเพื่อน ๆ นำอาหารใส่ถาด และ ไปเคาะข้างโลง บอกว่า พ่อ กิน ข้าว นะ

เอาข้าวมาแล้ว พ่อ กินเถอะ ส่วนอาหาร พอเก็บแล้ว ก็ทิ้งเลย ไม่มีใครนำมาบริโภค

   ที่สงสัย ก็คือ 1. ผู้ตาย จะได้กินอาหาร หรือป่าว ที่ทำอย่างนั้น สมมุติ ว่าผู้ตายมาจริง ๆ ด้วยวิญญาณ จะสามารถบริโภค อาหารนั้นได้หรือป่าว

                  2. ถ้าเราไม่ทำวิธี นี้ แค่จัดทำ สังฆทาน และกรวดน้ำ เท่านี้ พอหรือป่าวคะ


 :25: :25:

บันทึกการเข้า
ทุกสิ่งทุกอย่าง เป็นไปตามกรรม
ใครสร้างกรรมอย่างไร ก็รับผลกรรมอย่างนั้น

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28420
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: การทำกุศลศพ ที่ยังสงสัยอยู่
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: สิงหาคม 05, 2010, 03:58:27 pm »
0

คุณฟ้าใสครับ คุณฟ้าใสตั้งกระทู้หลายกระทู้

หากผมตอบทุกกระทู้ ฟ้าของผมคงไม่ใสแน่ๆ

วันนี้ ขอตอบเรื่อง ผู้ตายจะได้กินอาหาร รึเปล่า ?

ขอให้ไปฟังเทศน์เรื่อง "ตายแล้วฟื้น" ของหลวงพ่อเจ้าคุณวรญาณเมธี

ตามลิงค์ข้างล่างครับ ผมเคยฟังมาแล้วหลายรอบ น่าสนใจมากๆ



http://www.isarngointer.org/audio/taifun.mp3

ที่มา http://www.isarngointer.org/forums/พระธรรมเทศนา/3362-เทศน์ตายแล้วฟื้น-หลวงพ่อเจ้าคุณวรญาณเมธี.html
 :58: :25:
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28420
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: การทำกุศลศพ ที่ยังสงสัยอยู่
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: สิงหาคม 08, 2010, 08:05:22 am »
0


                  2. ถ้าเราไม่ทำวิธี นี้ แค่จัดทำ สังฆทาน และกรวดน้ำ เท่านี้ พอหรือป่าวคะ


 :25: :25:



ได้เวลาตอบครับ ขอออกตัวก่อนว่า นี่เป็นเพียงความคิดเห็นส่วน
เป็นเพียงการคุยเป็นเพื่อน

พีธีศพที่จัดโดยทั่วไป จัดตามประเพณีนิยมที่สืบทอดกันมาจากบรรพบุรุษ

ประเพณีเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรม วัฒนธรรมเป็นเครื่องหมายของความเจริญ

ของชาติพันธ์ุนั้นๆ หรือจะพูดให้กว้างๆก็คือ เป็นอารยธรรมนั่นเอง

ขอกล่าวถึงพีธีทางโลกก่อน

แนวคิดของพีธีศพส่วนหนึ่งเป็น การแสดงออกเชิงสัญญลักษณ์

เช่น แสดงความกตัญญู ให้เกียรติตามลาภ ยศ และสรรเสริญ

หรือ จัดตามชั้น วรรณะ และ ศักดินา เป็นต้น

ระหว่างไพร่ กับ เจ้า พีธีไม่เหมือนกันแน่นอน

อย่างไรก็ตาม พีธีทางโลก เป็นเพียงสิ่งสมมุติเท่านั้น ไม่ทำก็ได้

แต่สังคมจะเห็นด้วยหรือไม่ เป็นอีกเรื่องหนึ่ง

คราวนี้จะกล่าวถึงพีธีทางศาสนา

การสวดอภิธรรม ให้ไปดูที่ลิงค์นี้ครับ

พระผู้เป็นองค์แทน สังคายนาฝ่าย พระอภิธรรม คือใครครับ
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=541.0

การทำสังฆทาน การกรวดน้ำเพื่ออุทิศบุญ เป็นเรื่องจำเป็นมากๆ

สมควรทำอย่างยิ่ง แต่ปัญหามีอยู่ว่า คนตายจะได้รับบุญหรือไม่

ผมจะพูดถึงประเด็นนี้ในโอกาสต่อไป


ขอให็ธรรมคุ้มครอง
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28420
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
การอุทิศส่วนกุศลให้คนตาย
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: สิงหาคม 10, 2010, 08:11:12 am »
0
การอุทิศส่วนกุศลให้คนตาย
โดย หลวงพ่อพระราชพรหมยาน

"..การอุทิศส่วนกุศลในพระพุทธศาสนาไม่ต้องใช้นํ้า การที่ พระเจ้าพิมพิสารเป็น องค์แรกที่อุทิศส่วนกุศลโดยใช้นํ้า ก็เพราะท่านเพิ่งพบพระพุทธเจ้า

เนื่องจากศาสนาพราหมณ์เขาถือว่า ถ้าจะให้อะไรกับใคร ต้องให้คนนั้นแบมือแล้วเอานํ้าราดลงไป ท่านยังชินอยู่กับประเพณีของพราหมณ์ แต่พระพุทธเจ้าก็ไม่ได้ห้าม เพราะใจท่านตั้งตรงเวลาอุทิศส่วนกุศล

เรื่องการกรวดนํ้านี้ สมัยเมื่ออาตมาบวชได้วันที่สอง ขณะเจริญพระกรรมฐานได้มีผีตัวผอมก๋องเข้ามานั่งอยู่ข้างหน้า อาตมาก็สวด "อิมินา ปุญญกัมเมนะ อุปัชฌายา"

หมายถึงอุปัชฌาย์ แต่อุปัชฌาย์ก็ยังไม่ตาย "คุณุตตรา อาจาริยู"ให้คู่สวดอีก คู่สวดก็ยังไม่ตาย ว่าเรื่อยไปยังไม่ทันจะจบเหลืออีกตั้งครึ่งบท เห็นเดินมา ๒ คนเอาโซ่คล้องคอลากผีที่นั่งอยู่ข้างหน้าไปเลย ผลปรากฏว่ายังไม่ได้ให้ผีเลย

พอตอนเช้าไปบิณฑบาตกลับมาฉันข้าว พอฉันเสร็จล้างบาตรเช็ดเรียบร้อย ปกติฉันเสร็จหลวงพ่อปานท่านจะยถาฯแต่วันนี้ท่านไม่ยถาฯ ท่านนั่งเฉยมองหน้าถามว่า
"ไงพ่อคุณ พ่ออิมินาคล่อง สวดอย่างนั้นผีจะได้กินเหรอ"

ท่านให้แปลอิมินาแปลว่าอย่างไรบ้าง อุปัชฌาย์ก็ยังไม่ตาย คู่สวดญัตติคือท่านก็ยังไม่ตายมาให้ท่าน ผีที่อยู่ข้างหน้าทำไมไม่ให้

ท่าน ก็บอกว่า "ทีหลังผีมาละก็ ผีมันอยู่นานไม่ได้ บางทีก็หลบหน้าเขามานิดหนึ่ง ถ้ามานั่งใกล้เรา ทุกขเวทนาอย่างเปรตนี่ ไฟไหม้ทั้งตัว หอกดาบฟัน

เวลาที่เราเจริญพระกรรมฐานอยู่ บุญของเรานี่สามารถจะช่วยให้เขามีความสุขได้ เพราะถ้ามานั่งข้างหน้าใกล้ๆเรานี่ ไฟจะดับ หอกดาบจะหลุดไป แต่ว่าจะอยู่นานไม่ได้ ต้องพูดให้เร็วเพราะเขาจะต้องไปรับโทษเวลาอุทิศส่วนกุศลให้ว่าเป็นภาษาไทย ชัดๆ และให้สั้นที่สุด"

ให้ บอกว่า "บุญใดที่ฉันบำเพ็ญมาแล้วตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน ผลบุญทั้งหมดนี้จะมีประโยชน์ ความสุขแก่ฉันเพียงใด ขอเธอจงโมทนาผลบุญนั้นและรับผลเช่นเดียวกับฉันตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป"

วัน หลังผีตัวใหม่มา ตัวก่อนที่ถูกลากคอไปมาไม่ได้แล้ว ผีตัวใหม่ผอมก๋องเอาทนายมาด้วย ยืนอยู่ข้างหลังนางฟ้าที่มีทรวดทรงสวย เป็นเทวดาใหญ่มากบอกว่า

"ท่านนั่งอยู่นี่ไงล่ะ จะให้ท่านช่วยอะไรก็บอกท่านสิ"

ผี ผอมก๋องพูดไม่ออกเพราะกรรมมันปิดปากอาตมานึกขึ้นมาได้ ถ้าขืนให้อยู่นานเดี๋ยวโซ่คล้องคอลากไปอีก จึงอุทิศส่วนกุศลให้ตามที่หลวงพ่อปานสอน จึงบอกว่า

"ตั้งใจโมทนาตาม ทีหลังมา ข้าไม่ให้พูดแล้วข้าให้เลย"

พอว่าจบผีผอมก๋องก็ก้มลงกราบ กราบไปครั้งแรกลุกขึ้นมาก็ผอมตามเดิม กราบครั้งที่สองลุกขึ้นมาก็ผอมตามเดิม พอกราบครั้งที่สามลุกขึ้นมา คราวนี้ชฎาแพรวพราวเช้งวับไปเลย การ ได้รับส่วนกุศลนี้ ขึ้นอยู่กับท่านนั้นมีโอกาสโมทนา ท่านก็ได้รับ แต่ถ้าท่านนั้นไม่มีโอกาสโมทนาก็ไม่ได้รับเปรียบเหมือนเราเอาสิ่งของไปให้
 
แต่ผู้รับเขาไม่รับ เขาก็จะไม่ได้ของ ถ้าพวกเขาอยู่ในนรก ไฟไหม้ทั้งวัน ถูกสรรพาวุธสับฟันทั้งวัน ถ้าเราเอาขนมไปให้กิน เขาก็ไม่มีโอกาสจะได้กินขนม ปรทัตตูปชีวีเปรตเป็นเปรตระดับที่ ๑๒ แบ่งเป็น ๒ พวกคือ

พวกที่มีกรรมบางอยู่ข้างหน้า เราอุทิศให้แผ่กระจายเขาโมทนาได้ แต่พวกที่มีกรรมหนาอยู่ข้างหลัง ให้แผ่กระจายนี่เขาโมทนาไม่ได้ ถึงแม้จะมีสิทธิ์โมทนาก็ตาม เขาก็ไม่มีโอกาส

พวกปรทัตตูปชีวีเปรตมายืนอยู่นานไม่ได้ ส่วนสัมภเวสีก็มีความหิวแต่อยู่นานได้ จึงต้องให้เจาะจงเฉพาะตรง ถ้าไม่ให้ตรงเฉพาะก็รับไม่ได้เพราะกรรมหนัก


ฉะนั้นการอุทิศส่วนกุศล เวลาจะให้ ให้ว่าเป็นภาษาไทยให้เรารู้เรื่องและให้สั้นที่สุด
การ อุทิศส่วนกุศลแก่บุคคลต่างๆ ที่ตายไปแล้ว ถ้านึกได้ออกชื่อเขาก็ดี เพราะถ้ากรรมหนาอยู่นิด ถ้าออกชื่อเจาะจงเขาก็ได้รับเลย


ถ้านึกไม่ออกก็ว่ารวมๆ "ญาติก็ดี ไม่ใช่ญาติก็ดี"ถ้าขืนไปนั่งไล่ชื่อน่ากลัวจะไม่หมด มีอยู่คราวหนึ่งนานมาแล้วไปเทศน์ด้วยกัน ๓ องค์ บังเอิญมีอารมณ์คล้ายคลึงกัน วันนั้นทายกนำอุทิศส่วนกุศลออกชื่อคนตายกับบรรดาญาติทั้งหลายที่ตายไปแล้ว ปรากฏว่าบรรดาผีทั้งหลายก็เข้ามาเป็นหมื่นล้อมรอบศาลา

คนที่เป็นญาติก็โมทนาแล้วผิวพรรณดีขึ้น
พวกที่มิใช่ญาติก็เดินร้องไห้กลับไป


ตอนท้ายมีคนถามถึงการอุทิศส่วนกุศลว่าทำอย่างไร
พระองค์หนึ่งท่านเลยบอกว่า "ญาติโยมที่นำอุทิศส่วนกุศล อย่าให้ใจแคบเกินไปนัก อย่าลืมว่าการทำบุญแต่ละคราว พวกปรทัตตูปชีวีเปรตก็ดี พวกสัมภเวสีก็ดี จะมายืนล้อมรอบคอยโมทนา แต่ถ้าเราให้แก่ญาติ ญาติก็จะได้ บุคคลอื่นที่ไม่ใช่ญาติก็จะไม่ได้ ฉะนั้นควรจะให้ทั้งหมดทั้งญาติและไม่ใช่ญาติ"

และ ตอนที่พระให้พร เจ้าภาพและทุกท่านที่บำเพ็ญกุศลแล้ว มีการถวายสังฆทานก็ดี การเจริญพระกรรมฐานก็ดี ควรตั้งจิตอธิษฐานตามความประสงค์ การตั้งจิตอธิษฐานเรียกว่า "อธิษฐานบารมี"

ถ้าท่านตั้งใจเพื่อพระนิพพานก็ต้องอธิษฐานเผื่อไว้ โดยอธิษฐานว่า

"ขอผลบุญทั้งหมดนี้จงเป็นปัจจัยให้ข้าพเจ้าเข้าถึงพระนิพพานในชาติปัจจุบันนี้ แต่ถ้าหากข้าพเจ้ายังไม่ถึงพระนิพพานเพียงใด จะไปเกิดใหม่ในชาติใดก็ตาม ขอคำว่า "ไม่มี" จงอย่าปรากฏแก่ข้าพเจ้า"

ถ้าเราต้องการอะไรให้มันมีทุกอย่าง จะไม่รวยมากก็ช่าง เท่านี้ก็พอแล้ว
การ ทำบุญไปแล้วครั้งหนึ่งสักกี่ปีๆ บุญก็ยังมีอยู่ ถ้าทำไปแล้วสัก ๓๐ ปีก็ยังอุทิศส่วนกุศลได้ บุญไม่หาย ไม่ใช่เราทำบุญแล้วเดี๋ยวเดียวบุญหายไป ไม่ใช่อย่างนั้น

ถ้าทำบุญแล้วไม่ได้อุทิศส่วนกุศล ผู้ทำเป็นผู้ได้บุญเต็มที่สมบูรณ์แบบอยู่แล้ว อยู่ที่ว่าเราจะให้เขาหรือไม่ให้ ถ้าเราไม่ให้เราก็กินคนเดียว ทีนี้ถ้าเราให้เขาบุญของเราก็ไม่หมด ส่วนที่เราให้ไปไม่ได้ยุบไปจากของเดิม

อย่างเรื่องของ พระอนุรุทธสมัยที่ท่านเกิดเป็นคนเกี่ยวหญ้าช้างของมหาเศรษฐี เวลาที่ท่านทำบุญแล้ว เจ้านายมาขอแบ่งบุญ ท่านก็สงสัยว่าการแบ่งบุญจะแบ่งได้ไหม จึงไปถามพระปัจเจกพุทธเจ้าที่ท่านรับบาตร

ท่านก็เปรียบเทียบให้ฟังว่า
" สมมติว่าโยมมีคบและก็มีไฟด้วย แต่คนอื่นเขามีแต่คบไม่มีไฟ ทุกคนต้องการแสงสว่างก็มาขอต่อไฟที่คบของโยม แล้วคบของทุกคนก็สว่างไสวหมด อยากทราบว่าไฟของโยมจะยุบไปไหม"

ท่านพระอนุรุทธก็ตอบว่า "ไม่ยุบ"
แล้วพระปัจเจกพุทธเจ้าท่านก็บอกว่า

"การอุทิศส่วนกุศลก็เหมือนกัน เราให้เขา เขาก็โมทนา แต่บุญของเราก็ยังอยู่เต็ม ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ ไม่ได้หายไป"

ท่านพระยายมราชได้มาบอกอาตมา เรื่องการอุทิศส่วนกุศลให้คนตาย เมื่อวันปวารณาออกพรรษาปีพ.ศ. ๒๕๓๑ ว่า

"ที่สำนักท่านพระยายมราชจะหยุดทำงาน เรียกว่า "หยุดนรกการ ๓ วัน" คือ วันออกพรรษา วันปวารณา และวันรุ่งขึ้น รวมเป็น ๓ วัน

วันมหาปวารณาเป็นวันสำคัญท่านไม่สอบสวน พวกที่คอยการสอบสวน ตามปกติเขามีอิสระอยู่แล้วจะไปไหนก็ได้ แต่ถึงเวลาสอบสวนก็จะมาเองเพราะกฏของกรรมบังคับ คนที่มาคอยอยู่ที่นี่จะมีโอกาสพ้นนรกหรือไม่ก็ยังไม่แน่

ถ้าบรรดาญาติฉลาด หมายถึงทำบุญแล้วอุทิศส่วนกุศลเจาะจงให้ตรงเฉพาะคนเดียว โดยเอ่ยชื่อ นามสกุล อย่าให้คนอื่น เพราะเวลานั้นยังเป็นเวลาปลอดอยู่ มีสภาพคล้ายสัมภเวสี"

อาตมาจึงถามว่า "ทำบุญอะไร พวกนี้จึงจะไปสวรรค์ชั้นสูงและมีความสุขมาก"
ท่าน ตอบว่า "แดนใดที่ไม่มีบุญทำแล้วก็ไม่ได้รับเหมือนกัน หมายความว่าพระสงฆ์ที่เราไปทำบุญนั้น เป็นพระแค่ศีรษะกับห่มผ้าเหลือง ไม่ปฏิบัติในศีล สมาธิ ปัญญาให้ครบถ้วนเรียกว่า "สมมติสงฆ์"อย่างนี้ทำไปเท่าไรก็ไม่มีผล อุทิศส่วนกุศลให้คนตายเขาก็ไม่ได้รับ

ถ้าทำบุญในเขตที่มีบุญน้อย ผู้รับก็มีอานิสงส์น้อยมีความสุขน้อย
ทำบุญในเขตที่มีอานิสงส์ใหญ่ ผู้รับก็มีอานิสงส์มากได้รับผลบุญมากก็มีความสุขมาก และการสร้างบุญเต็มร้อยเปอร์เซ็นต์ก็ขึ้นอยู่กับสร้างดีก็ได้บุญ ถ้าสร้างไม่ดีก็ได้บาป


หมายถึงก่อนจะทำบุญก็กินเหล้าก่อน พอพระกลับก็กินเหล้ากันอีก แต่ถ้าหากตั้งใจทำบุญโดยมีเจตนาบริสุทธิ์ ไม่มีบาปมีแต่บุญ อย่างนี้ผู้สร้างบุญก็ได้บุญเต็มร้อยเปอร์เซ็นต์ คือบุญนี่จะต้องได้แก่ผู้สร้างบุญก่อน แล้วผู้สร้างจึงจะอุทิศส่วนกุศลให้คนอื่นได้"

ท่านจึงบอกว่า "สังฆทานดีที่สุด" โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนที่ท่านจะช่วยได้จริงๆ ต้องเฉพาะคนที่ไปคอยการสอบสวนที่สำนักท่านเท่านั้น อย่างสัมภเวสี เปรต อสุรกาย ไม่ผ่านท่าน ท่านช่วยไม่ได้ และคนที่ตายแล้วลงนรกทันที ท่านก็ช่วยไม่ได้เพราะไม่ได้ผ่านสำนักท่าน


อาตมาจึงถามท่านว่า "ทำอย่างไรความแน่นอนจึงจะปรากฏ ท่านจึงจะช่วยได้"

ท่านก็เลยบอกว่า "เอาอย่างนี้ก็แล้วกัน ลูกหลานอาตมาคือลูกหลานของผม"
ให้บอกลูกหลานว่า "เวลาทำบุญเสร็จแล้วอุทิศส่วนกุศลให้คนตาย"


ถ้ายังไม่มั่นใจให้บอกท่านว่า
"ถ้าบุคคลนั้นยังไม่มีโอกาสโมทนาเพียงใด ขอท่านพระยายมราชเป็นพยานด้วย หากว่าพบเธอผู้นั้นเมื่อใด ขอให้บอกเธอโมทนาเมื่อนั้น"


เพราะ ไม่แน่นัก เนื่องจากขณะที่มีชีวิตอยู่คนเราทำทั้งบุญทั้งบาป เวลาตายไปแล้ว ถ้าไปอยู่ที่สำนักท่านพระยายามราช บางทีกรรมบางอย่างมันปิดปาก เวลาถามถึงเรื่องบุญทำให้นึกไม่ออกตอบไม่ได้ หากว่าท่านถามถึง ๓ ครั้งยังนึกไม่ออกอีก ก็ต้องปล่อยให้ลงนรกไป แต่ถ้าเวลาอุทิศส่วนกุศลขอให้ท่านเป็นพยาน เพียงแค่นี้

พอโผล่หน้าเข้าไปท่านก็จะประกาศว่า
ที่เคยขอให้ท่านเป็นสักขีพยาน และท่านก็จะประกาศกุศลนั้นบอกให้โมทนา ก็จะไปสวรรค์เลยโดยไม่ต้องมีการสอบสวน.."


คำอุทิศส่วนกุศล

" อิทัง ปุญญะผะลัง" ผลบุญใดที่ข้าพเจ้าทั้งหลายได้บำเพ็ญแล้ว ณ โอกาสนี้ ข้าพเจ้าทั้งหลายขออุทิศส่วนกุศลนี้ให้แก่เจ้ากรรมนายเวรทั้งหลาย ที่เคยล่วงเกินมาแล้ว แต่ชาติก่อนก็ดี ชาตินี้ก็ดี ขอเจ้ากรรมนายเวรทั้งหลายจงโมทนาส่วนกุศลนี้ ขอจงอโหสิกรรมให้แก่ข้าพเจ้าตั้งแต่วันนี้ตราบเท่าเข้าสู่พระนิพพาน

บทอุทิศส่วนกุศลท่อนแรกนี้ ให้แก่เจ้ากรรมนายเวร หลวงปู่โตท่านมาบอก และบทอุทิศส่วนกุศลอีก ๓ ท่อน ท่านพระยายมราชท่านมาบอกมีดังนี้

ท่อนที่สอง
และ ข้าพเจ้าทั้งหลายขออุทิศส่วนกุศลนี้ ให้แก่เทพเจ้าทั้งหลายที่ปกปักรักษาข้าพเจ้า และเทพเจ้าทั้งหลายทั่วสากลพิภพ และพระยายมราช ขอเทพเจ้าทั้งหลายและพระยายมราชจงโมทนาส่วนกุศลนี้ ขอจงเป็นสักขีพยานในการบำเพ็ญกุศลของข้าพเจ้าในครั้งนี้ด้วยเถิด

ท่อนที่สาม

และ ขออุทิศส่วนกุศลนี้ให้แก่ท่านทั้งหลายที่ล่วงลับไปแล้ว ที่เสวยความสุขอยู่ก็ดี เสวยความทุกข์อยู่ก็ดี เป็นญาติก็ดี มิใช่ญาติก็ดี ขอท่านทั้งหลายจงโมทนาส่วนกุศลนี้ พึงได้รับประโยชน์ ความสุข เช่นเดียวกับข้าพเจ้าจะพึงได้รับ ณ กาลบัดเดี๋ยวนี้เถิด

ท่อนที่สี่

ผล บุญใดที่ข้าพเจ้าทั้งหลายได้บำเพ็ญมาแล้ว ณ โอกาสนี้ ขอผลบุญนี้จงเป็นปัจจัยให้ข้าพเจ้าทั้งหลายได้เข้าถึงซึ่งพระนิพพานในชาติ ปัจจุบันนี้เถิด.

ที่มา เว็บพลังจิต




บทความนี้ น่าจะตอบคำถามคุณฟ้าใสที่ถามว่า

  2. ถ้าเราไม่ทำวิธี นี้ แค่จัดทำ สังฆทาน และกรวดน้ำ เท่านี้ พอหรือป่าวคะ

ได้อย่างชัดเจนนะครับ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 10, 2010, 09:25:25 am โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28420
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
"8 ปริศนาธรรม" ของการปลงศพ
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: สิงหาคม 10, 2010, 09:21:50 am »
0
8 ปริศนาธรรมการปลงศพ

พิธีศพของคนไทยความหมายมาก
มีหลายหลากปริศนาธรรมพึงจำไว้
แต่เริ่มต้นมัดตราสังยังร่างกาย
จวบสุดท้ายเผาเป็นขี้เถ้าเล่าบอกธรรม

1. มัดตราสังเป็นสามเปราะเคาะความหมาย
เมื่อวางวายมัดคอไว้ความหมายล้ำ
การผูกมัดหมายถึงบ่วงห่วงให้จำ
ที่คอนั้นบ่วงรักลูกผูกมัดใจ
มัดที่มือคือบ่วงรักภักดิ์ผัว-เมีย
เมื่อตายเสียยังห่วงหาอาทรไห้
ส่วนสมบัติและทรัพย์สินนั้นกินใจ
มัดติดไว้ที่ข้อเท้าให้เศร้าตรม
สามบ่วงนี้ผูกติดจิตติดนิสัย
เมื่อบรรรลัยนิพพานไปไม่ได้สม
ต้องเวียนว่ายในวัฏฏะสังคคม
เป็นอารมย์ที่ยึดติดจิตอุปไมย

2. ยามพระสงฆ์นั่งสวดพร้อมน้อมรับศีล
ศพไม่ได้ยินบุตรหลานก็เคาะโลงให้
แท้จริงใบ้แขกรับศีลผินประไพ
เป็นความหมายบอกผู้คนยลพระธรรม
อย่าทำตัวให้ประมาทขาดสติ
ไม่ทิฏฐิละทิ้งไปในคำสอน
หมดโอกาสได้กระทำยามม้วยมรณ์
จะอ้อนวอนเคาะโลงไงไม่ได้ฟัง


3. ยามพระสงฆ์สวดภาษาว่าบาลี
หมู่คนดีฟังไม่รู้อยู่หน้าหลัง
เข้าใจว่าพระสวดให้คนตายฟัง
อโธ่ถัง! พระสวดสอนคนตอนเป็น
หวังให้คนเอาไปใช้ปฏิบัติ
ใช้ยืนหยัดดำรงตนพ้นทุกข์เข็ญ
หากฟังแล้วไม่เข้าใจไม่จำเป็น
ขอให้เน้นสำรวมจิตคิดสิ่งดี


4. บวชหน้าไฟมักเข้าใจกันให้ผิด
ต่างก็คิด"จูงคนตาย"ไปวิถี
พ้นนรกสู่สวรรค์ชั้นที่ดี
จึงบางทีแย่งกันบวชผนวชกัน
แท้ที่จริงเป็นการลงปลงสังเวช
ถึงสาเหตุเกิดเจ็บตายไม่เหหัน
เกิดมาแล้วไม่แคล้ววายตายด้วยกัน
เพียงเท่านั้นมนุษย์นี้มีอะไร
เมื่อปลงได้ก็อยากได้หนีไปบวช
ไปผนวชหนีแสงสีโลกีย์วิสัย
ประพฤติธรรมเพื่อหลุดล้นให้พ้นไป
เพื่อจะได้สู่มรรคผลหนนิพพาน


5. การนิมนต์พระจูงศพพบแห่งเหตุ
เป็นจิตเจตให้คนคิดจิตสันนิษฐาน
ใช้พระธรรมองค์สัมมาฯมีมานาน
ดำรงการดำรงตนเป็นคนดี
ยามมีชีพดำรงตามพระธรรมสอน
ตามขั้นตอนองค์สัมมาหาวิถี
เอาคนตายให้พระนำตามวิธี
สังวรนี้ไว้สอนคนสนใจทำ


6. การเวียนศพซ้าย 3 รอบชอบความหมาย
การเวียนว่ายเกิดตายในภพสาม
มีกามภพ,รูปภพ,อรูปภพ ประสบตาม
ทุกเมื่อยามอยู่วนเวียนกรรมเกวียนกง
เมาตัณหาอุปทานการกิเลส
น่าสังเวชเป็นทุกข์ใจให้ลุ่มหลง
ไม่จบสิ้นมัวเวียนว่ายตายอยู่ยง
ต้องละหลงทวนกระแสแห่ศพเวียน


7. น้ำมะพร้าวล้างหน้าศพลบกิเลส
เป็นจิตเจตน์ความสะอาดไม่พลาดเปลี่ยน
ดั่งน้ำทิพย์อันบริสุทธิ์ดุจกระเษียร
ชำระเปลี่ยนให้จิตใจใส่ดวงธรรม


8. เผาศพแล้วเหลือขี้เถ้าเคล้าเศษอัฐิ
เขาเขี่ยคัดเถ้าไปมาน่าสอบถาม
จัดเป็นรูปร่างคนจนสวยงาม
คือหมายความกลับชาติใหม่ใช้กรรมเวร


ปริศนาธรรมคนเก่าก่อนสอนให้คิด
แฝงนิมิตบอกความนัยให้คนเห็น
เป็นข้อคิดก่อเกิดธรรมความจำเป็น
และฝากเน้นถึงกรรมดีที่พึงทำ.....

*************************

นพกรณ์ กุลตวนิช ผู้ประพันธ์
ที่มา  http://board.palungjit.com/showthread.php?p=1433682#post1433682




จากหนังสือ “เคล็ดไม่ลับในการเข้าวัด” ของพระพยอม กัลยาโณ ได้กล่าวถึง ประเพณีบวชหน้าไฟ ไว้ว่า

        โดยเข้าใจว่า เป็นการจูงผู้ตายขึ้น จากนรก ความจริงจูงไม่ได้ เพราะบาปบุญ ใครทำใครได้ เหมือนกับว่าเราทำผิดศาลตัดสินจำคุกไปแล้ว เราช่วยเหลืออะไรไม่ได้ ผู้ทำผิดต้องได้รับโทษฑัณฑ์นั้นๆ
   
   การบวชหน้าไฟ เป็นการปลงสังเวช เบื่อหน่ายต่อชีวิต ในสายโลกีย์วิสัย ไม่ประสงค์อยู่ในเพศฆราวาส ออกบวชเพื่อมุ่งปฏิบัติธรรม เพื่อความหลุดพ้น

   ฉะนั้นการบวชหน้าศพที่ไท่ทราบวัตถุประสงค์  จึงผิดพุทธประสงค์เดิม




ตอบคำถามครับ

1. ในงานศพ จำเป็นต้องมีสามเณร จูงศพ ใช่ หรือ ไม่ คะ

ตอบว่า จากบทความที่นำเสนอ เป็นเพียงการแสดงปริศนาธรรมเท่านั้น

เป็นแค่สัญญลักษณ์ จึงไม่จำเป็น การได้ธรรมะที่แท้จริง ต้องได้จากการปฏิบัติเท่านั้น


2. การที่เอาบุคคล ไม่ใช่ ญาติ พี่ น้อง หรือ จ้างให้มาบวชให้ นั้น ผู้ตาย จะได้บุญกุศล จริงหรือ คะ หรือ ว่า คนที่จ้าง จะได้บุญ

ตอบว่า บุญบาป เป็นเรื่องอจินไตย ผมตอบให้กระจ่างไม่ได้ แต่ผู้รับจ้างบวช

มีเจตนาไม่บริสุทธิ์  ในกรณีที่ได้บุญ ก็อาจจะไม่เต็มร้อย

ส่วนผู้ตายจะได้บุญหรือไม่ ขอให้ไปดูเรื่องการอุทิศส่วนกุศลให้คนตาย

ของหลวงพ่อฤาษีลิงดำ ที่ผมโพสต์ไว้ข้างบน


  ในช่วงที่ เลี้ยงอาหาร พระ เห็นเพื่อน ๆ นำอาหารใส่ถาด และ ไปเคาะข้างโลง บอกว่า พ่อ กิน ข้าว นะ เอาข้าวมาแล้ว พ่อ กินเถอะ ส่วนอาหาร พอเก็บแล้ว ก็ทิ้งเลย ไม่มีใครนำมาบริโภค

ตอบว่า ให้ไปฟังคำเทศน์ที่ผมโพสต์เอาไว้ และอ่านบทความ 8 ปริศนา

ธรรมฯ ที่ผมโพสต์ไว้ข้างบน




ขอให้คุณฟ้าใสอ่านและฟังบทความที่ผมนำเสนอไปให้ครบนะครับ

ผมตอบคำถามคุณฟ้าใสแบบออมๆ เพราะอยากให้คุณฟ้าใสใช้

"โยนิโสมนสิการ" หรือพิจารณาอย่างแยบคาย เอาเอง

ผมใช้เวลาตอบกระทู้ของคุณฟ้าใสทั้งหมด ๓ วัน

ตอนนี้ฟ้าของผม ไม่ค่อยใสเท่าใดนัก


:41: :33: :67: :34: :bedtime2: :25:

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 10, 2010, 09:39:27 am โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ