ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: บุญที่กระทำด้วยแรงกายแรงใจ กับการใช้สิ่งของ ผลบุญนั้นต่างกันอย่างไร คะ  (อ่าน 4569 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

sinjai

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 144
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
 ask1 ask1 ask1 ask1 ask1

บุญที่กระทำด้วยแรงกายแรงใจ กับการใช้สิ่งของ ผลบุญนั้นต่างกันอย่างไร คะ คือบางท่านกล่าวว่า ทำบุญด้วยทรัพย์ ยิ่งมากยิ่งได้บุญ แต่บางท่านกล่าวว่า ทำบุญด้วยแรงกายแรงใจ ได้บุญมากกว่า วัดกันได้อย่างไร คะในพระพุทธศาสนา ชี้ชัดเรื่องนี้อย่างไร คะ


  thk56
บันทึกการเข้า

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28444
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0

บุญกิริยาวัตถุ 10 (ที่ตั้งแห่งการทำบุญ, ทางทำความดี)
       1. ทานมัย (ทำบุญด้วยการให้ปันสิ่งของ)
       2. สีลมัย (ทำบุญด้วยการรักษาศีลหรือประพฤติดี)
       3. ภาวนามัย (ทำบุญด้วยการเจริญภาวนาคือฝึกอบรมจิตใจ)

       4. อปจายนมัย (ทำบุญด้วยการประพฤติอ่อนน้อม)
       5. เวยยาวัจจมัย (ทำบุญด้วยการช่วยขวนขวายรับใช้)

       6. ปัตติทานมัย (ทำบุญด้วยการเฉลี่ยส่วนแห่งความดีให้แก่ผู้อื่น)
       7. ปัตตานุโมทนามัย (ทำบุญด้วยการยินดีในความดีของผู้อื่น)

       8. ธัมมัสสวนมัย (ทำบุญด้วยการฟังธรรมศึกษาหาความรู้)
       9. ธัมมเทสนามัย (ทำบุญด้วยการสั่งสอนธรรมให้ความรู้)

       10. ทิฏฐุชุกัมม์ (ทำบุญด้วยการทำความเห็นให้ตรง)

       ข้อ 4 และข้อ 5 จัดเข้าในสีลมัย;
       6 และ 7 ในทานมัย;
       8 และ 9 ในภาวนามัย;
       ข้อ 10 ได้ทั้งทาน ศีล และภาวนา


อ้างอิง
ที.อ. 3/246; สังคหะ 29.
พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)



อรรถกถา ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค
สังคีติสูตร
   
     พึงทราบวินิจฉัยในบุญญกิริยาวัตถุต่อไป.
     ทานนั่นเอง ชื่อว่าทานมัย. การทำบุญนั้นด้วยวัตถุ (คือที่ตั้ง) แห่งบุญญานิสงส์เหล่านั้นด้วย
     ดังนั้น จึงชื่อบุญญกิริยาวัตถุ (ที่ตั้งแห่งการทำบุญ).
     แม้ในบุญญกิริยาวัตถุข้ออื่นๆ ก็มีนัยเช่นเดียวกันนี้.


     แต่โดยความหมาย พึงทราบบุญญกิริยาวัตถุ ๓ อย่างเหล่านี้
     พร้อมทั้งบุรพภาคเจตนา (ความตั้งใจก่อนแต่จะทำ) และอปรภาคเจตนา (ความตั้งใจภายหลังจากทำแล้ว)
     ด้วยอำนาจแห่งเจตนาที่สำเร็จด้วยทาน เป็นต้น ซึ่งได้กล่าวไว้แล้วข้างต้น.

     และในเรื่องนี้ บุคคลทำกรรมอย่างหนึ่งๆ ด้วยกาย นับตั้งแต่บุรพภาคเจตนา ก็จัดเป็นกายกรรม.
     เมื่อเปล่งวาจาอันมีความหมายอย่างนั้น จัดเป็นวจีกรรม.
     เมื่อไม่ได้ยังองค์แห่งกายและองค์แห่งวาจาให้ไหว คิดด้วยใจ (อย่างเดียว) ก็จัดเป็นมโนกรรม.


     อีกนัยหนึ่ง สำหรับผู้ให้ทานวัตถุมีข้าว เป็นต้น (ในเวลาที่กล่าวว่า) ข้าพเจ้าให้อันนทาน (ให้ข้าว) เป็นต้นก็ดี
     ในเวลาที่ระลึกถึงทานบารมีแล้วให้ก็ดี จัดเป็นบุญญกิริยาวัตถุสำเร็จด้วยทาน.
     ตั้งอยู่ในวัตรและศีลแล้วให้ จัดเป็นบุญญกิริยาวัตถุสำเร็จด้วยศีล.
     เริ่มตั้งความพิจารณาโดยความสิ้นไปเสื่อมไปแล้วให้ จัดเป็นบุญญกิริยาวัตถุสำเร็จด้วยภาวนา.



    บุญกิริยาวัตถุอย่างอื่นมีอีก ๗ อย่าง คือ บุญญกิริยาวัตถุ
      - อันประกอบด้วยความเคารพยำเกรง
      - ประกอบด้วยการขวนขวาย (ช่วยทำกิจของผู้อื่น)
      - การให้ส่วนบุญ
      - การอนุโมทนาส่วนบุญ
      - อันสำเร็จด้วยการแสดงธรรม
      - อันสำเร็จด้วยการฟังธรรม
      - บุญกิริยาวัตถุคือการทำความเห็นให้ตรง ดังนี้.


    บรรดาบุญญกิริยาวัตถุทั้ง ๗ นั้น
    ความเคารพยำเกรง พึงทราบโดยอาการ เช่นเห็นพระผู้เฒ่าแล้ว ลุกรับ รับบาตรจีวร กราบไหว้ หลีกทางให้เป็นต้น.
    การขวนขวาย พึงทราบด้วยการทำวัตร ปฏิบัติแก่พระภิกษุผู้แก่กว่าตน ด้วยการที่เห็นภิกษุเข้าบ้านเพื่อบิณฑบาต แล้วถือบาตรไปชักชวน รวบรวมภิกษาในบ้าน และด้วยการได้ฟังว่า ไปเอาบาตรของพวกภิกษุมา ดังนี้แล้วเร่งรีบไปนำบาตรมา เป็นต้น.
    การให้ส่วนบุญ พึงทราบด้วยการที่ถวายปัจจัย ๔ แล้ว (ตั้งจิตอุทิศ) ให้เป็นไปว่าส่วนบุญจงมีแก่สรรพสัตว์.
    การอนุโมทนาส่วนบุญ พึงทราบด้วยการอนุโมทนาส่วนบุญที่ผู้อื่นให้ว่า สาธุ ถูกดีนักแล้ว
.

    ภิกษุรูปหนึ่งตั้งอยู่ในความปรารถนาว่า คนทั้งหลายจักรู้จักเราว่าเป็นธรรมกถึกด้วยอุบายอย่างนี้. เป็นผู้หนักในลาภแสดงธรรม ข้อนั้นไม่มีผลมาก.
    ภิกษุรูปหนึ่งแสดงธรรมที่ตนคล่องแก่ชนอื่นๆ โดยไม่ได้หวังผลตอบแทน นี้ชื่อว่า บุญกิริยาวัตถุสำเร็จด้วยการแสดงธรรม.
   บุคคลผู้หนึ่ง เมื่อจะฟังธรรมก็ฟังด้วยความมุ่งหมายว่า คนทั้งหลายจักได้รู้จักเราว่ามีศรัทธาด้วยอาการอย่างนี้ ข้อนั้นไม่มีผลมาก.
   บุคคลผู้หนึ่งฟังธรรมด้วยจิตที่อ่อนโยนแผ่ประโยชน์ว่าจักมีผลมากแก่เราด้วยอาการอย่างนี้ นี้ชื่อว่า บุญกิริยาวัตถุสำเร็จด้วยการฟังธรรม.


   ส่วนการทำความเห็นให้ตรงเป็นลักษณะกำหนดสำหรับบุญญกิริยาวัตถุทุกอย่าง.
   ที่จริง คนทำบุญอย่างใดๆ ก็ตาม มีผลมากได้ ก็ด้วยความเห็นตรงนั่นเอง.


   
    บุญญกิริยาวัตถุ ๗ อย่างเหล่านี้ พึงทราบว่ารวมเข้าได้กับบุญญกิริยาวัตถุ ๓ อย่างข้างต้นนั่นเองด้วยประการดังนี้.
    ในที่นี้ ความเคารพยำเกรงและการขวนขวาย (ช่วยทำกิจของผู้อื่น) รวมลงได้ในสีลมัยบุญญกิริยาวัตถุ.
    การให้ส่วนบุญและการอนุโมทนาส่วนบุญ รวมลงได้ในทานมัยบุญญกิริยาวัตถุ,
    การแสดงธรรมและการฟังธรรม รวมลงได้ในภาวนามัยบุญญกิริยาวัตถุ,
    การทำความเห็นให้ตรง รวมลงได้ทั้ง ๓ อย่าง.


ที่มา http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=11&i=221&p=3
ขอบคุณภาพจาก http://images.voicetv.co.th/,http://www.dmc.tv/,http://www.banmuang.co.th/ , http://61.19.248.52/
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กุมภาพันธ์ 19, 2013, 08:56:55 am โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28444
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0
ask1 ask1 ask1 ask1 ask1

บุญที่กระทำด้วยแรงกายแรงใจ กับการใช้สิ่งของ ผลบุญนั้นต่างกันอย่างไร คะ คือบางท่านกล่าวว่า ทำบุญด้วยทรัพย์ ยิ่งมากยิ่งได้บุญ แต่บางท่านกล่าวว่า ทำบุญด้วยแรงกายแรงใจ ได้บุญมากกว่า วัดกันได้อย่างไร คะในพระพุทธศาสนา ชี้ชัดเรื่องนี้อย่างไร คะ


  thk56


     ans1 ans1 ans1
     
     การทำบุญ แบ่งเป็นสามส่วน คือ ทาน ศีล ภาวนา
     เป็นที่ทราบกันโดยทั่วไปว่า อานิสงส์ของศีลสูงกว่าทาน และอานิสงส์ของภาวนาสูงกว่าศีล

     จากหนังสือ การสร้างบุญบารมี(ทาน,ศีล,ภาวนา)
     โดย สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
     ได้เปรียบเทียบอานิสงส์ของทาน ศีล ภาวนา ไว้ว่า
     - การให้อภัยทานแม้จะมากเพียงใด แม้จะชนะการให้ทานอื่นๆ ทั้งมวล ผลบุญนั้นก็ยังอยู่ในระดับที่ต่ำกว่า "ฝ่ายศีล" เพราะเป็นการบำเพ็ญบารมีคนละขั้นต่างกัน ฯลฯ
     - อานิสงส์ของศีล ๕ มีดังกล่าวข้างต้น สำหรับศีล ๘ ศีล ๑๐ และศีล ๒๒๗ ก็ย่อมมีอานิสงส์เพิ่มพูนมากยิ่ง ๆ ขึ้นตามระดับและประเภทของศีลที่รักษา แต่ศีลนั้นแม้นจะมีอานิสงส์เพียงไรก็ยังเป็นแต่เพียงการบำเพ็ญบุญบารมีในชั้นกลาง ๆ ในพระพุทธศาสนาเท่านั้น เพราะเป็นแต่เพียงระเบียบหรือกติกาที่จะรักษากายและวาจาให้สงบ ไม่ให้ก่อให้เกิดทุกข์โทษขึ้นทางกายและวาจาเท่านั้น ส่วนทางจิตใจนั้นศีลยังไม่สามารถที่จะควบคุมหรือทำให้สะอาดบริสุทธิ์ได้
      ฉะนั้น การรักษาศีลจึงยังได้บุญน้อยกว่า การภาวนา
      เพราะการภาวนานั้น เป็นการรักษาใจ รักษาจิต และซักฟอกจิตให้เบาบางหรือจนหมดกิเลสคือ ความโลภ ความโกรธ และความหลง อันเป็นเครื่องร้อยรัดให้บรรดาสรรพสัตว์ทั้งหลายต้องเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในสงสารวัฏ
     การภาวนาจึงเป็นการบำเพ็ญบุญบารมีที่สูงสุด ประเสริฐที่สุด ได้บุญมากที่สุดเป็นกรรมดีอันยิ่งใหญ่เรียกว่า "มหัคคตกรรม" อันเป็นมหัคคตกุศล ฯลฯ


      ans1 ans1 ans1
     
      มาถึงประเด็นที่ถาม "บุญที่กระทำด้วยแรงกายแรงใจ กับการใช้สิ่งของ ผลบุญนั้นต่างกันอย่างไร"
      จากอรรถกถา บุญกิริยาวัตถุ ได้อธิบายไว้ว่า

      บรรดาบุญญกิริยาวัตถุทั้ง ๗ นั้น
      ความเคารพยำเกรง พึงทราบโดยอาการ เช่นเห็นพระผู้เฒ่าแล้ว ลุกรับ รับบาตรจีวร กราบไหว้ หลีกทางให้เป็นต้น.
      การขวนขวาย พึงทราบด้วยการทำวัตร ปฏิบัติแก่พระภิกษุผู้แก่กว่าตน ด้วยการที่เห็นภิกษุเข้าบ้านเพื่อบิณฑบาต แล้วถือบาตรไปชักชวน รวบรวมภิกษาในบ้าน และด้วยการได้ฟังว่า ไปเอาบาตรของพวกภิกษุมา ดังนี้แล้วเร่งรีบไปนำบาตรมา เป็นต้น.


   จะเห็นว่า ความเคารพยำเกรงและการขวนขวาย ซึ่งพจนานุกรมพุทธศาสน์ กำหนดไว้เป็นข้อ ๔ และ ๕
         4. อปจายนมัย (ทำบุญด้วยการประพฤติอ่อนน้อม)
         5. เวยยาวัจจมัย (ทำบุญด้วยการช่วยขวนขวายรับใช้)
      ทั้งสองข้อเป็นการใช้แรงใจแรงกายทั้งสิ้น และยังชี้ว่า สองข้อนี้เป็น สีลมัย
      ส่วนกรณีการใช้สิ่งของนั้น จัดเป็น ทานมัย
      เป็นที่รู้กันว่า "อานิสงส์ของศีลมีมากกว่าการให้ทาน"
      ถึงตรงนี้เราได้คำตอบแล้วว่า "การใช้แรงใจแรงกายได้บุญมากกว่าการใช้สิ่งของ"
      ขอคุยเท่านี้ครับ

       :25:
     
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ