ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: มีใครเห็นด้วย คะ ว่า นั่งกรรมฐาน ตอนเที่ยงคืน ถึง ตีหนึ่ง นี้ดีจริง  (อ่าน 3294 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

sinjai

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 144
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
มีใครเห็นด้วย คะ ว่า นั่งกรรมฐาน ตอนเที่ยงคืน ถึง ตีหนึ่ง นี้ดีจริง คือส่วนตัวก็จะปฏิบัติอย่างนี้ คืน ละ 1 ชม. คะเจริญกรรมฐาน ช่วงนี้แล้วดีจริง คะ สงัด สงบมาก และได้ ปีติธรรม ไวมากคะ ( รู้สึกไปเองหรือเปล่า ก้ไม่ทราบคะ ) แต่ก็ชอบช่วงเวลานี้มากคะ เวลาอื่นทำไม่ค่อยได้ คะ

   จะเหนื่อย อย่างไร จะเจ็บไข้ได้ป่วย อย่างไร ก็ต้องทำคะ ส่วนใหญ่ จะใช้ท่านั่ง คะ ท่านอน ท่ายืน และ เดินไม่ได้ใช้ เลยคะ

  ขอเสียงท่านที่ภาวนา ด้วยกัน ด้วยคะ มีความเห็นอย่างไร กับเวลานี้ คะ


   thk56 thk56 thk56 st11 st12
บันทึกการเข้า

ธุลีธวัช (chai173)

  • ปัญญา นัตถิ อฌายโต “ปัญญาไม่มีแก่ผู้ไม่พินิจ”
  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +35/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 2905
  • Respect: +2
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
มีใครเห็นด้วย คะ ว่า นั่งกรรมฐาน ตอนเที่ยงคืน ถึง ตีหนึ่ง นี้ดีจริง คือส่วนตัวก็จะปฏิบัติอย่างนี้ คืน ละ 1 ชม. คะ เจริญกรรมฐาน ช่วงนี้แล้วได้ ปีติธรรม ไวมากคะ จะเหนื่อยอย่างไร จะเจ็บไข้ได้ป่วยอย่างไร ก็ต้องทำคะ

ท่านที่ภาวนา ด้วยกัน มีความเห็นอย่างไร กับเวลานี้ คะ

 gd1 st12
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 25, 2013, 01:24:45 pm โดย THAWATCHAI173 »
บันทึกการเข้า
ศรัทธา, ศีล, พาหุสัจจะ, วิริยารัมภะ, ปัญญา

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28439
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๙ 
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๑ ขุททกนิกาย มหานิทเทส ตุวฏกสุตตนิทเทสที่ ๑๔

ว่าด้วยการแบ่งเวลา

    [๗๕๐] คำว่า ภิกษุไม่พึงทำความหลับให้มาก
    ความว่า ภิกษุพึงแบ่งกลางคืนและกลางวันให้เป็น ๖ ส่วน แล้วตื่นอยู่ ๕ ส่วน นอนหลับ ๑ ส่วน
    เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ภิกษุไม่พึงทำความหลับให้มาก.


    [๗๕๑] คำว่า พึงมีความเพียรซ่องเสพความเป็นผู้ตื่น ความว่า ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พึงชำระจิตให้บริสุทธิ์จากธรรมเป็นเครื่องกางกั้น ด้วยการเดินจงกรมและการนั่งตลอดวัน
    - พึงชำระจิตให้บริสุทธิ์จากธรรมเป็นเครื่องกางกั้น ด้วยการเดินจงกรมและการนั่ง ตลอดปฐมยามแห่งราตรี
    - พึงสำเร็จสีหไสยา(นอนเหมือนราชสีห์) โดยข้างเบื้องขวา ซ้อนเท้าเหลื่อมเท้า มีสติสัมปชัญญะ ทำสัญญาในการตื่นขึ้นไว้ในใจ ตลอดมัชฌิมยามแห่งราตรี
    - กลับตื่นขึ้นแล้ว พึงชำระจิตให้บริสุทธิ์จากธรรมเป็นเครื่องกางกั้น ด้วยการเดินจงกรมและการนั่งตลอดปัจฉิมยามแห่งราตรี.

    คำว่า ซ่องเสพความเป็นผู้ตื่น คือ พึงซ่องเสพ ซ่องเสพพร้อม ซ่องเสพเฉพาะ ซึ่งความเป็นผู้ตื่น
    เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พึงซ่องเสพความเป็นผู้ตื่น.

    คำว่า มีความเพียร ความว่า วิริยะเรียกว่าความเพียร ได้แก่การปรารภความเพียร ความก้าวออก ความก้าวหน้า ความย่างขึ้นไป ความพยายาม ความอุตสาหะ ความขยัน ความมั่นคง ความทรงไว้ ความก้าวหน้ามิได้ย่อหย่อน ความไม่ปลงฉันทะ ความไม่ทอดธุระ ความประคองธุระไว้

     วิริยะ วิริยินทรีย์ วิริยพละ สัมมาวายามะ อันเป็นไปทางจิต ภิกษุเป็นผู้เข้าถึงเข้าถึงพร้อม เข้าไป เข้าไปพร้อม เข้าไปถึง เข้าไปถึงพร้อม ประกอบแล้วด้วยความเพียรนี้ ภิกษุนั้นเรียกว่า มีความเพียร
     เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พึงมีความเพียรซ่องเสพความเป็นผู้ตื่น.


อ้างอิง
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๙ บรรทัดที่ ๗๖๓๙ - ๙๐๙๓. หน้าที่ ๓๒๑ - ๓๘๒.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=29&A=7639&Z=9093&pagebreak=0             
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :- http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=29&i=699
ขอบคุณภาพจาก http://trang82.files.wordpress.com/



ปลิโพธ เครื่องผูกพันหรือหน่วงเหนี่ยวเป็นเหตุให้ใจพะวักพะวนห่วงกังวล, เหตุกังวล, ข้อติดข้อง ; ปลิโพธที่ผู้จะเจริญกรรมฐานพึงตัดเสียให้ได้ เพื่อให้เกิดความปลอดโปร่งพร้อมที่จะเจริญกรรมฐานให้ก้าวหน้าไปได้ดี มี ๑๐ อย่าง คือ
           ๑. อาวาสปลิโพธ ความกังวลเกี่ยวกับวัดหรือที่อยู่
           ๒. กุลปลิโพธ ความกังวลเกี่ยวกับตระกูลญาติหรืออุปัฏฐาก
           ๓. ลาภปลิโพธ ความกังวลเกี่ยวกับลาภ
           ๔. คณปลิโพธ ความกังวลเกี่ยวกับคณะศิษย์หรือหมู่ชนที่ตนต้องรับผิดชอบ
           ๕. กรรมปลิโพธ ความกังวลเกี่ยวกับการงาน เช่น การก่อสร้าง
           ๖. อัทธานปลิโพธ ความกังวลเกี่ยวกับการเดินทางไกลเนื่องด้วยกิจธุระ
           ๗. ญาติปลิโพธ ความกังวลเกี่ยวกับญาติหรือคนใกล้ชิดที่จะต้องเป็นห่วงซึ่งกำลังเจ็บป่วยเป็นต้น
           ๘. อาพาธปลิโพธ ความกังวลเกี่ยวกับความเจ็บไข้ของตนเอง
           ๙. คันถปลิโพธ ความกังวลเกี่ยวกับการศึกษาเล่าเรียน
           ๑๐. อิทธิปลิโพธ ความกังวลเกี่ยวกับฤทธิ์ของปุถุชนที่จะต้องคอยรักษาไม่ให้เสื่อม
               (ข้อท้ายนี้เป็นปลิโพธสำหรับผู้จะเจริญวิปัสสนาเท่านั้น)


นิวรณ์, นิวรณธรรม ธรรมที่กั้นจิตไม่ให้บรรลุความดี, สิ่งที่ขัดขวางจิตไม่ให้ก้าวหน้าในคุณธรรม มี ๕ อย่าง คือ
           ๑. กามฉันท์ พอใจในกามคุณ
           ๒. พยาบาท คิดร้ายผู้อื่น
           ๓. ถีนมิทธะ ความหดหู่ซึมเซา
           ๔. อุทธัจจกุกกุจจะ ความฟุ้งซ่านและรำคาญ
           ๕. วิจิกิจฉา ความลังเลสงสัย


สัปปายะ สิ่ง สถาน หรือบุคคล ซึ่งเป็นที่สบาย เหมาะกัน เกื้อกูล หรือเอื้ออำนวย
โดยเฉพาะที่ช่วยเกื้อกูลแก่การบำเพ็ญและประคับประคองรักษาสมาธิ
       ท่านแสดงไว้ ๗ อย่าง คือ
           ๑. อาวาส (ที่อยู่)
           ๒. โคจร (ที่บิณฑบาตหรือแหล่งอาหาร)
           ๓. ภัสสะ (เรื่องพูดคุยที่เสริมการปฏิบัติ)
           ๔. บุคคล (ผู้ที่เกี่ยวข้องด้วยแล้วช่วยให้จิตผ่องใสสงบมั่นคง)
           ๕. โภชนะ (อาหาร)
           ๖. อุตุ (สภาพแวดล้อมและอุณหภูมิ)
           ๗. อิริยาบถ
       ทั้ง ๗ นี้ที่เหมาะกันเป็นสัปปายะ ที่ไม่สบายเป็นอสัปปายะ


อ้างอิง  พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)
ขอบคุณภาพจาก http://www.sangthipnipparn.com/

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 29, 2013, 07:10:31 pm โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28439
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0
มีใครเห็นด้วย คะ ว่า นั่งกรรมฐาน ตอนเที่ยงคืน ถึง ตีหนึ่ง นี้ดีจริง คือส่วนตัวก็จะปฏิบัติอย่างนี้ คืน ละ 1 ชม. คะเจริญกรรมฐาน ช่วงนี้แล้วดีจริง คะ สงัด สงบมาก และได้ ปีติธรรม ไวมากคะ ( รู้สึกไปเองหรือเปล่า ก้ไม่ทราบคะ ) แต่ก็ชอบช่วงเวลานี้มากคะ เวลาอื่นทำไม่ค่อยได้ คะ

   จะเหนื่อย อย่างไร จะเจ็บไข้ได้ป่วย อย่างไร ก็ต้องทำคะ ส่วนใหญ่ จะใช้ท่านั่ง คะ ท่านอน ท่ายืน และ เดินไม่ได้ใช้ เลยคะ

  ขอเสียงท่านที่ภาวนา ด้วยกัน ด้วยคะ มีความเห็นอย่างไร กับเวลานี้ คะ


   thk56 thk56 thk56 st11 st12


 ans1 ans1 ans1
   
    ขออนุโมทนากับคุณสินจัยด้วยครับ
    การที่บุคคลใดบุคคลหนึ่งจะชอบปฏิบัติกรรมฐานที่ใดเวลาใดนั้น คงเป็นเรื่องของจริตเฉพาะตนมากกว่า
    และแน่นอน ทุกคนต่างมีจริตที่ไม่เหมือนกัน สัปปายะต่างๆก็ต่างกัน


    ในเบื้องต้น โดยทั่วไปแล้ว อุปสรรคของการปฏิบัติกรรมฐาน คือ ปลิโพธและนิวรณ์
    หากเรากำจัดปลิโพธและข่มนิวรณ์ลงได้ การปฏิบัติก็จะราบรื่น


    อย่างไรก็ตามหากนำพระสูตรมาพิจารณา
    พระพุทธองค์ไม่ได้แนะนำให้ปฏิบัติในช่วงเวลาเที่ยงคืนถึงตีหนึ่ง ตามที่คุณสินจัยทำอยู่เป็นประจำ
    ตรงกันข้ามท่านให้นอนครับ และให้ปฏิบัติในช่วงหกโมงย็นถึงสี่ทุ่มและช่วงตีสองถึงหกโมงเช้า
   

   

ขอบคุณภาพจาก http://www.tong9.com/

ผมขออธิบายข้อธรรมในพระสูตร "ว่าด้วยการแบ่งเวลา" ดังนี้

     ๑. ตามความเข้าใจของผม สมัยพุทธกาลน่าแบ่งกลางคืนออกเป็น ๓ ยาม แบบนี้ครับ
     ปฐมยาม คือ ๖ โมงเย็น ถึง สี่ทุ่ม
     มัชฌิมยาม คือ สี่ทุ่ม ถึง ตีสอง
     ปัจฉิมยาม คือ ตีสอง ถึง ๖ โมงเช้า
     กลางวันก็เช่นกัน คือ
     ยามแรก ๖ โมงเช้า ถึง ๑๐ โมงเช้า
     ยามที่สอง ๑๐ โมงเช้า ถึง บ่ายสองโมง
     ยามที่สาม บ่ายสองโมง ถึง ๖ โมงเย็น


     ๒. คำตรัสที่ว่า "ภิกษุพึงแบ่งกลางคืนและกลางวันให้เป็น ๖ ส่วนแล้ว ตื่นอยู่ ๕ ส่วน นอนหลับ ๑ ส่วน"
     ก็น่าจะเป็น แบ่งเวลากลางวัน ๓ ส่วน กลางคืน ๓ ส่วน รวมเป็น ๖ ส่วน


     ๓. คำตรัสที่ว่า
     "พึงชำระจิตให้บริสุทธิ์จากธรรมเป็นเครื่องกางกั้น ด้วยการเดินจงกรมและการนั่ง ตลอดปฐมยามแห่งราตรี
     ก็น่าจะหมายถึง ช่วงเวลา หกโมงเย็น ถึง สี่ทุ่ม ให้ทำกรรมฐานด้วยการนั่งและเดิน


     ๔. คำตรัสที่ว่า
     "พึงสำเร็จสีหไสยา (นอนเหมือนราชสีห์) โดยข้างเบื้องขวา ซ้อนเท้าเหลื่อมเท้า
     มีสติสัมปชัญญะ ทำสัญญาในการตื่นขึ้นไว้ในใจ ตลอดมัชฌิมยามแห่งราตรี"
     ก็น่าจะหมายถึง ตั้งแต่สี่ทุ่ม ถึง ตีสอง ให้นอน


     ๕. คำตรัสที่ว่า
     "กลับตื่นขึ้นแล้ว พึงชำระจิตให้บริสุทธิ์จากธรรมเป็นเครื่องกางกั้น ด้วยการเดินจงกรมและการนั่งตลอดปัจฉิมยามแห่งราตรี."
     ก็น่าจะหมายถึง ตีสองให้ตื่นมา เดินจงกรม และนั่งกรรมฐาน จนถึงหกโมงเช้า


     ในเวลากลางวันที่เหลืออีก ๓ ส่วน ก็น่าจะให้เดินจงกรมและนั่งกรรมฐาน
     ขอคุยเท่านี้ครับ

      :25: :25: :25:
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 29, 2013, 07:35:08 pm โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

montra

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 76
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
 st11 st12

    กับทุกท่านที่ประกอบความเพียร  กันอยู่ครับ สังคมทุกวันนี้ เอาคนทำงานอย่างเรา ๆ มีเวลาภาวนาแล้ว ผมว่าไม่ใช่เรืีองง่าย ๆ นะครับ อาจจะเป็น 1 ในพัน ที่ยัง คงเส้นภาวนาในการปฏิบัติกรรมฐาน นะครับ

    ดังนั้นจะเวลาไหน ๆ ก็ดูความเหมาะสม สำหรับผมเอง ก็ไม่แน่นอนครับ ไม่ได้ปฏิบัติกรรมฐาน ทุกวัน แต่อาศัยว่าวันไหน อยากจะภาวนา ก็ทำครับ คิดว่า ทำนั้นดีกว่าไม่ทำ แต่ก็ไม่ได้ทำทุกวัน แต่ก็ไม่ได้ขาดจนเกินไป ครับ

    เป็นไปตามสภาพความเหมาะสมของงาน ในประจำวันครับ

    st12 st12 st12
บันทึกการเข้า

PRAMOTE(aaaa)

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 3598
  • ความศรัทธาคือเชื่อเรื่องการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ภาวนาไว้เป็นเรื่องดี กว่าไม่ได้ภาวนาเลย
  แม้เราๆทั้งหลายที่ยัง มิได้ปราถนา พระนิพพาน อันเกษม
      ชาติต่อๆไปเราก็ไปต่อยอด ตรงของเก่า ที่เราเคยทําไว้จากอดีตชาติ

           แม้ผู้ใดอธิฐานขอพระนิพพานชาตินี้แล้วก็ดี
              เพราะวิปัสสนาญาณจะได้เกิด ตามที่ขอ

          แต่ผู้ที่ยังไม่ได้ขอ วิปัสสนาญาณก็ยังไม่เกิด เพราะยังไม่ได้ขอ

             แต่รวมแล้ว ผู้ที่เกิดในพุทธศาสนา ก็ต้องบําเพ็ญไปตามขั้นตอน ในทาน ศิล ภาวนา ศิล สมาธิ ปัญญา อยู่แล้ว แม้จะรู้ตัวหรือไม่รู้ตัว

          ก็ต้องอยู่บนกฏเกณของกฏไตรลักษณ์ เพราะกฏนี้มีอยู่คู่โลก

            อย่าง ยุคนี้เป็นยุค สุข ตามที่พระพุทธองค์ ตรัสไว้

             เมื่อสุขแรง ทุกข์ก็มาแรง ตามกันไป เพราะกลัวเสียสุข ความระวังเสียสุข

             นิพพิทาในความเป็นจริงทั้งหลาย ก่อตัวได้มาก เกิดได้มาก
         
               เป็นเหมือนเงาตามกันไป

               ทุกชีวิตต้องอยู่ไปตามปีติ ที่ตัวเองมีอยู่

               เรียกง่ายๆว่าไม่ต้องเร่งไม่ต้องเร้า

               อยากได้ หรือไม่อยากได้   ทุกข์ยังต้องเกิด

               จนก็เจอทุกข์ รวยยิ่งเจอมาก เพราะกลัวเสียสุข

               เวลาเสียสุขไปอย่างใดๆ ก็คล้ายๆ จะขาดใจตาย ทนไม่ได้ นั่นแหละทุกข์ในสุข  (และเป็นมรณานุสสติ) ของจริงที่สัมผัสได้ เห็นได้

      บางทีความทุกข์เล่นงานเราไม่ได้ แต่กลับไปเล่นคนที่อยู่รอบข้างที่เรารักเราห่วงใย ตรงนั้นแรงกว่า

       เราเสียสุข เศร้าใจ มีพิไลรําพันทันที

         ทุกข์ในสุข ทุกข์ในของรักของหวง เป็นมรณานุสสติทันที

          เกิดเป็นมนุษย์ หลบความทุกข์เอาแต่สุขไม่ได้หรอก

          เพราะตอนที่กลัวเสียสุขนั่นแหละทุกข์ก้อนใหญ่

         ถ้ามีใครมาทําร้ายคนที่เรารัก
         ถ้ามีใครมาเอาเปรียบมาแย่งรายได้เราไป

         โทสะ
ทุกเกิด

        ถ้าเสียไป หรือเศร้าใจ เพราะคนอื่นทําได้ เค้าแย่งไปได้ เศร้าใจ

        เห็นมรณานุสสติ ของจริงหรือยัง ถ้าใครยังไม่รู่จักมรณานุสสติ(แทบอยากตาย)เมื่อถูกแย่งสุข
ก็ดูไว้

         สมัยนี้ยุคโมหะ ไปนั่งดูคนตาย หรือพิจราณาความตายจิตมันไม่เศร้าหรอก

        เครื่องอยู่ในนามสุขมันมีเยอะ นามสุขของเรามันพาหลบให้ไม่เศร้า

        แต่เรื่อต้องถูกแย่งสุขนี้คงเป็นตัวอย่างเล็กใน มรณานุสติได้
       เพราะ โลภะ โทสะ โมหะ มันเกิดหมด เอาเราเข้าปีติได้ร้อน แต่ออกไม่ได้ เพราะออกไม่เก่ง ไม่ได้เป็นพระอริยะ

       พระอริยะท่านออกได้ เพราะท่าน รู้เห็น ตามความเป็นจริง

       ก็ว่ากันไปเล่าสู่กันฟัง
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 30, 2013, 09:11:02 pm โดย aaaa »
บันทึกการเข้า
การมีกัลยาณมิตร ครูบาอาจารย์ ที่สั่งสอนธรรม เป็นเรื่องที่ดี
..เชื่อเรื่องการตรัสรู้ธรรม ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
...และเชื่อในพระธรรมที่เป็นตัวแทนของพระศาสดา