ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: วิปัสสนาฯ เมียนมาร์-ไทย เชื่อมใจชาวพุทธสู่อาเซียน  (อ่าน 1400 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28366
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0



วิปัสสนาฯ เมียนมาร์-ไทย เชื่อมใจชาวพุทธสู่อาเซียน

มีโอกาสได้กลับไปเยือน สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ หรือที่เราเรียกกันติดปากว่า ประเทศพม่า อีกครั้ง ครั้งนี้ได้ไปร่วมงานบุญใหญ่ทอดกฐินนำมาพัฒนาศูนย์วิปัสสนามหาสี ณ นครย่างกุ้ง โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (มจร.) พร้อมทั้งได้ร่วมพิธีถวายปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาวิปัสสนา แด่พระภัททันตะ ชฏิละ ประธานวิปัสสนาศูนย์วิปัสสนามหาสี

โดยมีสมเด็จพระพุทธชินวงศ์ กรรมการมหาเถรสมาคม (มส.) เจ้าคณะใหญ่หนกลาง ในฐานะรองอธิการบดี มจร. วิทยาเขตบาฬีศึกษาพุทธโฆส จ.นครปฐม เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ และพระธรรมโกศาจารย์ อธิการบดีมจร. พร้อม คณะสงฆ์ไทย-พม่าหลายร้อยรูป เข้าร่วมเป็นสักขีพยานในครั้งนี้
    การเชื่อมความสัมพันธ์กับคณะสงฆ์และชาวพุทธเมียนมาร์ ถือเป็นเรื่องที่ มจร. ได้ทำต่อเนื่องมานานพอสมควร
    ซึ่งพระครูปลัดสุวัฒนวชิรคุณ รองอธิการบดีฝ่ายกิจการต่างประเทศ มจร. เล่าให้ฟังว่า

    จากการที่ มจร. ได้มาถวายปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิปัสสนา แด่พระภัททันตะ ชฏิละ ประธานพระวิปัสสนาจารย์ ศูนย์วิปัสสนามหาสี นับเป็นการสานสัมพันธ์ที่ดีด้านพระพุทธศาสนากับพุทธศาสนิกชนชาวเมียนมาร์ และจากนี้ไปคณะสงฆ์ไทยและ มจร. จะส่งเสริมความสัมพันธ์กับคณะสงฆ์และหน่วยงานด้านพระพุทธศาสนาในประเทศกลุ่มอาเซียนมากขึ้น โดยเฉพาะด้านการศึกษา เพื่อรองรับการเปิดประชาคมอาเซียนในพ.ศ. 2558

    “ที่ผ่านมา มจร. รวมทั้งมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย (มมร.) ได้มีการทำงานเพื่อเชื่อมสัมพันธ์กับนานาชาติไว้แล้ว ซึ่งในกรณีของเมียนมาร์ ทาง มจร. ได้เชื่อมสัมพันธ์กันในด้านวิปัสสนากรรมฐาน โดยมีการแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างกันไม่ว่าจะเป็นพระวิปัสสนาจารย์ และนิสิต รวมทั้งมีการประชุมวิชาการร่วมกันระหว่างมหาวิทยาลัยสงฆ์ในเมียนมาร์ด้วย” พระครูปลัดสุวัฒนวชิรคุณ กล่าว



รองอธิการบดีฝ่ายกิจการต่างประเทศ ยังบอกอีกว่า ในปีงบประมาณ 2556 ในช่วงระหว่างประมาณเดือนเม.ย. ถึง พ.ค. 2556 มจร.จะมีการจัดประชุมผู้นำชาวพุทธอาเซียนขึ้น
    เพื่อประชุมร่วมกันหาความต้องการในการพัฒนาบุคลากรด้านศาสนทายาทว่า
    จะมีอะไรทำร่วมกันได้บ้าง เราจะมีการวางแผนร่วมกันก่อนที่จะเปิดประชาคมอาเซียน
    ซึ่งเราพบปัญหาว่า ในแต่ละประเทศยังมีการฝึกบุคลากรให้เป็นผู้ที่ทำงานระหว่างประเทศได้น้อยอยู่


    มจร.จึงอาศัยการประชุมนี้หรือกลุ่มเล็กทำงานร่วมกันแล้ว
    ค่อยขยายการพัฒนาบุคลากรระหว่างประเทศไปยังกลุ่มใหญ่
    เช่น มหายานกับเถรวาท มีแนวปฏิบัติต่างกัน
    แต่ก็สามารถทำงานร่วมกันได้เพราะเข้าใจในความต่าง
    เพราะใช้หลักธรรมและนับถือพระพุทธองค์องค์เดียวกัน เป็นต้น 


    ทั้งนี้ในการประชุมดังกล่าว จะหารือใน 2 ประเด็นหลัก คือ
    1. แนวทางการเผยแผ่พระพุทธศาสนาว่าควรมีทิศทางอย่างไร และ
    2. แนวทางการส่งเสริมพระพุทธศาสนาในกลุ่มภูมิภาคอาเซียน ซึ่งหลังจากหารือแล้ว มจร.จะจัดทำแผนออกมาเพื่อใช้เป็นแนวทางสู่การปฏิบัติร่วมกันในการสร้างความเข้มแข็งด้านการศึกษาพระพุทธศาสนาของประชาคมอาเซียนต่อไป



     ในขณะที่พระภัททันตะ ชฏิละ ประธานวิปัสสนาศูนย์วิปัสสนามหาสี กล่าวว่า
     การที่ มจร. ให้เกียรติในการมาถวายปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาวิปัสสนา รู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ทาง มจร. และคณะสงฆ์ไทย เห็นความสำคัญของวิปัสสนากรรมฐาน
     นอกจากนี้ยังเป็นการเชื่อมความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างคณะสงฆ์เมียนมาร์และคณะสงฆ์ไทย รวมถึงพุทธศาสนิกชนชาวเมียนมาร์และชาวไทยให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น
     และนับจากนี้ไปก็เชื่อว่า ทาง มจร. และศูนย์วิปัสสนามหาสี
     จะมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางด้านวิชาการและบุคลากรด้านวิปัสสนากรรมฐานกันเพิ่มมากขึ้น


    นั่นเป็นความรู้สึกของพระอาจารย์ภัททันตะ ชฏิละ ประธานวิปัสสนาศูนย์วิปัสสนามหาสี
    ซึ่งการตั้งศูนย์วิปัสสนากรรมฐานในเมียนมาร์นั้น ส่วนใหญ่แล้วฆราวาสจะเป็นผู้จัดตั้ง
    ไม่เหมือนกับประเทศไทยที่มีพระสงฆ์เป็นผู้จัดตั้ง
    ส่วนพระของเมียนมาร์ก็จะทำหน้าที่เป็นพระวิปัสสนาจารย์เท่านั้น ไม่ได้ยุ่งเกี่ยวกับการบริหารศูนย์แต่อย่างใด
    โดยการบริหารศูนย์จะมีฆราวาสเป็นประธาน และมีการตั้งคณะกรรมการชุดหนึ่งขึ้นมาบริหาร



    นาย อู วิน เทียน ประธานองค์กรพุทธศาสนานุกกะ กล่าวถึงการจัดตั้งศูนย์วิปัสสนามหาสีว่า กลุ่มพุทธศาสนานุกกะก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 ผู้ก่อตั้งคือ ประธานาธิบดีเจ้าส่วยไต้ มีจุดประสงค์เพื่อให้การศึกษาพุทธศาสนาตามหลักคำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ารุ่งเรืองไปทั่วโลก

    โดยวิธีการสอนมหาสติปัฏฐานของศูนย์วิปัสสนามหาสี สามารถเข้าใจได้ง่ายสำหรับผู้มาปฏิบัติธรรม
    จึงมีชื่อเสียงไปทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทยด้วย
    โดยเมื่อ พ.ศ. 2551 ทางมจร. ได้ส่งนิสิตมหาบัณฑิตสาขาวิปัสสนาภาวนา
    เป็นพระสงฆ์ 18 รูป และฆราวาส 3 คน มาศึกษาวิปัสสนากัมมัฏฐานตามแนวสติปัฏฐานเป็นเวลา 7 เดือน
    เพราะเห็นว่าเป็นสถานที่ต้นกำเนิดวิปัสสนาที่เข้าไปเผยแผ่ในประเทศไทย


    นาย อู วิน เทียน กล่าวต่อไปว่า ต่อมา พ.ศ. 2553 ได้มีการทำความร่วมมือขอพระวิปัสสนาจารย์ไปสอนยัง มจร. ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา และด้วยเหตุผลดังกล่าวทั้งหมด
     ทาง มจร.จึงมีมติถวายปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาวิปัสสนา แด่พระภัททันตะ ชฏิละ ประธานวิปัสสนาศูนย์วิปัสสนามหาสี
     ซึ่งเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในครั้งนี้นับได้ว่าเป็นประวัติศาสตร์ที่เกิดขึ้นกับพระพุทธศาสนาในประเทศเมียนมาร์
     ทั้งยังเป็นการส่งเสริมให้แนวทางการปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐานเป็นที่ยอมรับของคนทั่วโลกด้วย


     ไม่เพียงจะได้ไปร่วมงานบุญครั้งนี้แล้ว เรายังได้เห็นว่า สถานที่แห่งนี้เป็นสถานที่ที่พุทธศาสนิกชนสร้างขึ้นด้วยความศรัทธาต่อพระพุทธศาสนา คนที่นี่ตั้งแต่เด็กจนถึงคนชรา ต่างเวียนเข้ามาฝึกจิตฝึกใจกันอย่างต่อเนื่อง แม้แต่ชาวต่างชาติก็มีให้เห็น



นางปภัสรา เตชะไพบูลย์ ดารานักแสดง ในฐานะนักศึกษาปริญญาเอก มจร. บอกว่า ได้มาเรียนรู้การฝึกวิปัสสนากรรมฐานที่นี่ 3 วันได้เห็นถึงการฝึกที่มีความเข้มข้น ที่สำคัญหากเรารู้ภาษาพม่าและภาษาอังกฤษจะช่วยได้มากในการฝึก
      ซึ่งแนวทางก็คล้ายคลึงกับประเทศไทยมาก ถึงแม้เครื่องอำนวยความสะดวกจะไม่มากเหมือนบ้านเรา
      แต่ก็จะทำให้เราได้ฝึกความอดทน ฝึกความเป็นอยู่แบบเรียบง่ายได้อีกทางหนึ่ง
      ทั้งนี้เชื่อว่าการฝึกวิปัสสนากรรมฐานจะช่วยพัฒนาจิตใจของเราได้มากขึ้น และอยากให้คนรุ่นใหม่เข้ามาศึกษากันให้มาก ๆ


นี่เป็นเพียงเสียงสะท้อนหนึ่งของผู้ได้มีโอกาสฝึกวิปัสสนากรรมฐาน หากใครอยากรู้สึกถึงความพิเศษของหลักปฏิบัติของพระพุทธองค์ต้องมาลองด้วยตนเอง การใช้หลักธรรมในการเชื่อมใจชาวพุทธในกลุ่มอาเชียนก็ถือเป็นยุทธศาสตร์หนึ่งที่ไม่ควรมองข้าม เพราะชาวพุทธยึดหลักธรรมเดียวกัน ไม่แบ่งด้วยเชื้อชาติ และเส้นเขตประเทศมาขวางกั้น ก็จะไม่เกิดความแปลกแยก
      อย่างไรก็ตาม หากคนไทย และรัฐบาลไทย ใช้ยุทธศาสตร์ด้านศาสนาและวัฒนธรรม เชื่อมใจถึงใจ
      เชื่อว่า ความเข้มแข็งในหมู่ประชาคมอาเซียนคงจะเกิดได้จริง.


      มนตรี ประทุม


ขอบคุณภาพข่าวจาก
http://www.dailynews.co.th/education/172127
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

hiso

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 63
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
โดยความเป็นจริง เนื้อหาแก่นธรรม ของพระพุทธศาสนา นั้นไม่ได้แบ่งชนชาติ ชั้น วรรณะ เพราะไม่ว่าใคร ก็ตาม ถ้าปฏิบัติเจริญรอยตาม มรรคมีองค์ 8 แล้ว ก็มีที่เดียวเท่านั้นที่จะไปคือ พระนิพพาน

  :s_hi: :c017:
บันทึกการเข้า