ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: การประนาม ศิษย์ เป็นสิ่งที่ควรทำ เพราะให้ศิษย์มีจิตสำนึก  (อ่าน 1849 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
วันนี้นำแม่บท เกี่ยวกับครูและศิษย์ที่มีเรื่องการขอขมาตรง ๆ เป็นบัญญัติวินัยด้วยเป็นข้อแนะนำด้วย ตรวจสอบแล้วตรงกับ พระวินัยปิฏก เล่มที่ ๔ ปฌามิตกถา

อุปัชฌาย์ไม่รับการขอขมา
สมัยนั้น อุปัชฌาย์ทั้งหลายถูกสัทธิวิหาริกขอขมา ก็ยังไม่ยอมให้ขมา
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้อุปัชฌาย์รับการ
ขอขมา”
อุปัชฌาย์ทั้งหลายก็ยังไม่ยอมให้ขมาอยู่เช่นเดิม พวกสัทธิวิหาริกพากันหลีก
ไปเสียบ้าง สึกเสียบ้าง ไปเข้ารีตเดียรถีย์เสียบ้าง ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไป
กราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย อุปัชฌาย์ผู้ที่สัทธิวิหาริกขอขมา
จะไม่รับการขอขมาไม่ได้ รูปใดไม่รับการขอขมา ต้องอาบัติทุกกฏ”


ทรงปรับทุกกฏเมื่อประณามไม่ถูกต้อง

สมัยนั้น อุปัชฌาย์ทั้งหลายประณามสัทธิวิหาริกผู้ประพฤติชอบ ไม่ประณาม
สัทธิวิหาริกผู้ประพฤติมิชอบ ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาค
ให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย สัทธิวิหาริกผู้ประพฤติชอบ
อุปัชฌาย์ไม่พึงประณาม รูปใดประณาม ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุทั้งหลาย สัทธิวิหาริก
ผู้ไม่ประพฤติชอบ อุปัชฌาย์จะไม่ประณามไม่ได้ รูปใดไม่ประณาม ต้องอาบัติทุกกฏ”

ภิกษุทั้งหลาย สัทธิวิหาริกผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ ควรที่จะถูกประณาม คือ
๑. ไม่มีความรักอย่างยิ่งในอุปัชฌาย์
๒. ไม่มีความเลื่อมใสอย่างยิ่งในอุปัชฌาย์
๓. ไม่มีความละอายอย่างยิ่งในอุปัชฌาย์
๔. ไม่มีความเคารพอย่างยิ่งในอุปัชฌาย์
๕. ไม่มีความหวังดีอย่างยิ่งในอุปัชฌาย์
ภิกษุทั้งหลาย สัทธิวิหาริกผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ เหล่านี้ ควรที่จะถูกประณาม


บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

Admax

  • ผู้อุปถัมภ์
  • โยคาวจรผล
  • ****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 1063
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
บันทึกการเข้า
ความติดข้องใจเสพย์อารมณ์ความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น สมุทัย
ผลของการดำเนินไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น ทุกข์
รู้สัจธรรมและปรมัตถ์ ดำรงอยู่ในกุศล สติ ศีล สมาธิ พรหมวิหาร๔ คิดดี พูดดี ทำดี เป็น มรรค
การดับไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี ถึง อัพยกตธรรม เป็น นิโรธ