สนง.ส่งเสริมพระกรรมฐาน

ธรรมะสาระ => สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน => ข้อความที่เริ่มโดย: raponsan ที่ มกราคม 05, 2010, 04:40:39 pm



หัวข้อ: ธรรมนี้ ต้องให้เครดิตกับ อาจารย์สายทอง
เริ่มหัวข้อโดย: raponsan ที่ มกราคม 05, 2010, 04:40:39 pm
Re: ไร้รูปแบบ แล้วสำเร็จธรรมจริงหรือ ?
ที่จริงท่านอาจารย์เคยกล่าวกับดิฉันไว้ว่า ทุกชีวิตที่เกิดมาบนโลกนี้ ล้วนแล้วแต่มุ่งสู่พระนิพพาน
แตกต่างกันที่ว่าเวลา ว่าใครจะไปก่อนไปหลัง บางท่านอาจจะต้องใช้เวลาเป็นกัปป์ ๆ

แต่ดิฉัน ก็ไม่ได้รังเกียจคนไม่ดี แต่พยายามห่างคนไม่ดี ( อเสวนา จ พาลานัง )
ถ้า พอตักเตือน หรือชักนำได้ ก็จะช่วยตักเตือน หรือ ชักนำ ถ้าตักเตือนไม่ได้ หรือ ชักนำไม่ได้ ก็ไม่ควรเข้าไปยุ่งคะ เพราะตลอดดิฉันเป็นอาจารย์มา 28 ปีนี้ เข้าใจลูกศิษย์ดีคะเพราะอยู่กับเด็กวัยรุ่นมาตลอด
========================================================
และพยายามส่งเสริมคนดี ( ปณฺฑิตานญฺ จ เสวนัง )
ส่วนคนดี แล้ว ดิฉันจะส่งเสริมไม่ว่าจะเป็นการกล่าาวด้วยวาจา ให้รางวัล หรือเข้าไปช่วยเหลือ ยามตกยาก
========================================================

   เหตุจากการตอบกระทู้ของอาจารย์สายทอง(ข้างบน) ทำให้ผมนึกถึงธรรมข้อหนึ่งได้  ผมเคยฟังมาจากพระอาจารย์ปราโมช ปาโมชโช ฟังครั้งแรก รู้สึกประทับใจมาก
ประทับใจในความเป็นยอดอัจฉริยะของพระพุทธเจ้า เลยค้นรายละเอียดต่างๆมาให้อาจารย์สายทอง เก็บไว้เป็นข้อมูล เผื่อมีโอกาสนำไปสอนลูกศิษย์

   แต่ขอออกตัวก่อนว่า คำอธิบายความ เป็นผมที่เขียนขึ้นเองตามความเข้าใจ ที่ได้ฟังมาจากพระอาจารย์ปราโมทย์ อาจารย์ช่วยพิจารณา และคอมเม้นต์ให้ด้วย

เชิญสดับได้เลยครับ



(https://scontent.fbkk5-1.fna.fbcdn.net/hphotos-xap1/v/t1.0-9/10805814_762948900453233_4175153208465658982_n.jpg?oh=d0e836c3fce69cc5f3822c155de46878&oe=56A2D729)


ทารุขันธสูตรที่ ๑

       [๓๒๒] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่ฝั่งแม่น้ำคงคาแห่งหนึ่งพระผู้มีพระภาคได้ทอดพระเนตรเห็นท่อนไม้ใหญ่ท่อนหนึ่ง อันกระแสน้ำพัดลอยมาริมฝั่งแม่น้ำคงคา แล้วตรัสถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ท่านทั้งหลายเห็นหรือไม่ ท่อนไม้ใหญ่โน้นอันกระแสน้ำพัดลอยมาในแม่น้ำคงคา ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า เห็น พระเจ้าข้า ฯ

      พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย
          - ถ้าท่อนไม้จะไม่เข้ามาใกล้ฝั่งนี้หรือฝั่งโน้น
          - จักไม่จมเสียในท่ามกลาง
          - จักไม่เกยบก
          - ไม่ถูกมนุษย์หรืออมนุษย์จับเอาไว้
          - ไม่ถูกน้ำวนๆ ไว้
          - จักไม่เน่าในภายใน

     ดูกรภิกษุทั้งหลาย ด้วยประการดังกล่าวมานี้แล ท่อนไม้นั้นจักลอยไหลเลื่อนไปสู่สมุทรได้
     ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเหตุว่า กระแสน้ำแห่งแม่น้ำคงคาลุ่มลาดไหลไปสู่สมุทร ฉันใด

     ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าท่านทั้งหลายจะ
        - ไม่แวะเข้าฝั่งข้างนี้หรือฝั่งข้างโน้น
        - ไม่จมลงในท่ามกลาง
        - ไม่เกยบก
        - ไม่ถูกมนุษย์หรืออมนุษย์จับไว้
        - ไม่ถูกเกลียวน้ำวนๆ ไว้
        - จักไม่เป็นผู้เสียในภายในไซร้

      ด้วยประการดังกล่าวมานี้ ท่านทั้งหลายจักโน้มน้อมเอียงโอนไปสู่นิพพาน
      ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเหตุว่า สัมมาทิฐิย่อมโน้มน้อมเอียงโอนไปสู่นิพพาน ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ฯ

      [๓๒๓] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ภิกษุรูปหนึ่งได้ทูลถาม พระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
        - ฝั่งนี้ได้แก่อะไร ฝั่งโน้นได้แก่อะไร
        - การจมลงในท่ามกลางได้แก่อะไร
        - การเกยบนบกได้แก่อะไร
        - มนุษย์ผู้จับคืออะไร
        - อมนุษย์ผู้จับคืออะไร
        - เกลียวน้ำวนๆ ไว้คืออะไร
        - ความเป็นของเน่าในภายในคืออะไร

     พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุ
        - คำว่า ฝั่งนี้ เป็นชื่อแห่งอายตนะภายใน ๖
        - คำว่าฝั่งโน้น เป็นชื่อแห่งอายตนะภายนอก ๖
        - คำว่าจมในท่ามกลางเป็นชื่อแห่งนันทิราคะ
        - คำว่าเกยบก เป็นชื่อแห่งอัสมิมานะ

   - ดูกรภิกษุ ก็มนุษย์ผู้จับเป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้คลุกคลี เพลิดเพลิน โศกเศร้าอยู่กับพวกคฤหัสถ์ เมื่อเขาสุขก็สุขด้วย เมื่อเขาทุกข์ก็ทุกข์ด้วย ย่อมถึงการประกอบตนในกิจการอันบังเกิดขึ้นแล้วของเขา ดูกรภิกษุ นี้เรียกว่ามนุษย์ผู้จับ

   - ดูกรภิกษุ อมนุษย์ผู้จับเป็นไฉน ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ ย่อมประพฤติพรหมจรรย์ ปรารถนาเป็นเทพนิกายหมู่ใดหมู่หนึ่งว่า ด้วยศีล ด้วยวัตร ด้วยตบะ หรือด้วยพรหมจรรย์นี้ เราจักได้เป็นเทวดาหรือเทพยเจ้าองค์ใดองค์หนึ่ง ดูกรภิกษุ เรียกว่าอมนุษย์ผู้จับ

   - ดูกรภิกษุ คำว่าเกลียวน้ำวนๆ ไว้ เป็นชื่อแห่งกามคุณ ๕

   - ดูกรภิกษุ ความเป็นของเน่าในภายในเป็นไฉน ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ทุศีล มีธรรมอันลามก ไม่สะอาด มีความประพฤติน่ารังเกียจ มีการงานปกปิดไว้ไม่เป็นสมณะ ก็ปฏิญาณว่าเป็นสมณะ ไม่เป็นพรหมจารี ก็ปฏิญาณว่าเป็นพรหมจารีเป็นผู้เน่าในภายใน มีใจชุ่มด้วยกาม เป็นดุจขยะมูลฝอย ดูกรภิกษุ นี้เรียกว่าความเป็นผู้เน่าในภายใน ฯ

จาก พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๘  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๐ สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค
ที่มาhttp://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=18&A=4909&Z=4963&pagebreak=0



(https://scontent.fbkk5-1.fna.fbcdn.net/hphotos-xpf1/v/t1.0-9/10394776_765762813505175_3986354884778378277_n.jpg?oh=f7669f98ac0b0697e21bbfe5c00aa2c6&oe=565FAACB)


อธิบายศัพท์และธรรม

อายตนะ   ที่ต่อ, เครื่องติดต่อ, แดนต่อความรู้, เครื่องรู้และสิ่งที่รู้ เช่น ตา เป็นเครื่องรู้ รูปเป็นสิ่งที่รู้, หูเป็นเครื่องรู้ เสียงเป็นสิ่งที่รู้ เป็นต้น, จัดเป็น ๒ ประเภท คือ อายตนะภายใน ๖ อายตนะภายนอก ๖

สัมผัส ความกระทบ,การถูกต้องที่ให้เกิดความรู้สึก,ความประจวบกันแห่งอายตนะภายใน อายตนะภายนอกและวิญญาณ มี ๖ เริ่มแต่จักขุสัมผัส สัมผัสทางตา เป็นต้น จนถึง มโนสัมผัส สัมผัสทางใจ (เรียงตามอายตนะภายใน ๖); ผัสสะ ก็เรียก

อายตนะภายใน ๖ (ที่เชื่อมต่อให้เกิดความรู้, แดนต่อความรู้ฝ่ายภายใน — internal sense-fields) บาลีเรียก อัชฌัตติกายตนะ
๑. จักขุ (จักษุ, ตา — the eye)
๒. โสตะ (หู — the ear)
๓. ฆานะ (จมูก — the nose)
๔. ชิวหา (ลิ้น — the tongue)
๕. กาย (กาย — the body)
๖. มโน (ใจ — the mind)

ทั้ง ๖ นี้ เรียกอีกอย่างว่า อินทรีย์ ๖ เพราะเป็นใหญ่ในหน้าที่ของตนแต่ละอย่าง เช่น จักษุเป็นเจ้าการในการเห็น เป็นต้น

___________________________________
อ้างอิง : ที.ปา.๑๑/๓๐๔/๒๕๕; อภิ.วิ.๓๕/๙๙/๘๕.


อายตนะภายนอก ๖ (ที่เชื่อมต่อให้เกิดความรู้, แดนต่อความรู้ฝ่ายภายนอก) บาลีเรียก พาหิรายตนะ
๑. รูปะ (รูป, สิ่งที่เห็น หรือ วัณณะ คือสี)
๒. สัททะ (เสียง)
๓. คันธะ (กลิ่น)
๔. รสะ (รส)
๕. โผฏฐัพพะ (สัมผัสทางกาย, สิ่งที่ถูกต้องกาย)
๖. ธรรม หรือ ธรรมารมณ์ (อารมณ์ที่เกิดกับใจ, สิ่งที่ใจนึกคิด)
ทั้ง ๖ นี้ เรียกทัวไปว่า อารมณ์ ๖ คือ เป็นสิ่งสำหรับให้จิตยึดหน่วง

__________________________________________________
อ้างอิง : ที.ปา.๑๑/๓๐๕/๒๕๕; ม.อุ.๑๔/๖๒๐/๔๐๐; อภิ.วิ.๓๕/๙๙/๘๕.


นันท[นันทะ-] น. ความสนุก, ความยินดี, ความรื่นเริง. (ป.).

ราคะ ความกำหนัด, ความยินดีในกาม, ความติดใจหรือความย้อมใจติดอยู่ในอารมณ์

อัสมิมานะ การถือตัวว่านี่ฉัน นี่กู กูเป็นนั่นเป็นนี่, การถือเราถือเขา
กามคุณ ส่วนที่น่าปรารถนาน่าใคร่ มี ๕ อย่าง คือ รูป เสียง กลิ่น รส และโผฏฐัพพะ (สัมผัสทางกาย) ที่น่าใคร่ น่าพอใจ

กามคุณ ๕ (ส่วนที่น่าใคร่น่าปรารถนา, ส่วนที่ดีหรือส่วนอร่อยของกาม)
๑. รูปะ (รูป)
๒. สัททะ (เสียง)
๓. คันธะ (กลิ่น)
๔. รสะ (รส)
๕. โผฏฐัพพะ (สัมผัสทางกาย)
๕ อย่างนี้ เฉพาะส่วนที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ เรียกว่า กามคุณ

____________________________________________________________________
อ้างอิง : พจนานุกรมพุทธศาสน์ ประมวลศัพท์และประมวลธรรม โดย พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตโต)


(https://scontent.fbkk5-1.fna.fbcdn.net/hphotos-xpf1/v/t1.0-9/1947744_767901496624640_6626174071245193153_n.jpg?oh=33a1e77dc13df0297b5cc99293a0f671&oe=56A9030F)


อธิบายความโดยย่อ

ธรรมชาติของแม่น้ำส่วนใหญ่จะไหลออกสู่ทะเล ด้วยเหตุนี้ พระพุทธเจ้าจึงได้กล่าวถึงท่อนไม้ที่ลอยไปตามแม่น้ำจะออกสู่ทะเลได้นั้น ต้องมีเหตุ ๘ ประการ

- ถ้าท่อนไม้จะไม่เข้ามาใกล้ฝั่งนี้หรือฝั่งโน้น
- จักไม่จมเสียในท่ามกลาง
- จักไม่เกยบก
- ไม่ถูกมนุษย์หรืออมนุษย์จับเอาไว้
- ไม่ถูกน้ำวนๆ ไว้
- จักไม่เน่าในภายใน

แล้วได้เปรียบมนุษย์เป็นดั่งท่อนไม้ เปรียบทะเลเป็นพระนิพพาน โดยกล่าวถึงเหตุที่มนุษย์จะเข้าสู่พระนิพพานไว้ ๘ ประการ

- ถ้าท่านทั้งหลายจะไม่แวะเข้าฝั่งข้างนี้หรือฝั่งข้างโน้น
- ไม่จมลงในท่ามกลาง
- ไม่เกยบก
- ไม่ถูกมนุษย์หรืออมนุษย์จับไว้
- ไม่ถูกเกลียวน้ำวนๆ ไว้
- จักไม่เป็นผู้เสียในภายในไซร้ (เน่าใน)

ในตอนท้ายได้อธิบายเหตุ ๘ ประการว่า คืออะไร

   - คำว่า ฝั่งนี้ เป็นชื่อแห่งอายตนะภายใน ๖ คำว่าฝั่งโน้น เป็นชื่อแห่งอายตนะภายนอก ๖  สองข้อนี้หมายถึง การยึดติดกับสัมผัสทางกายและใจ ไม่สามารถวางเฉยกับสัมผัสต่างๆที่เข้ามากระทบได้

   - คำว่าจมในท่ามกลางเป็นชื่อแห่งนันทิราคะ  หมายถึง  การเผลอเพลิน ไปตามกิเลสต่างๆ คำว่านันทิราคะ ยังใช้กับเทวดา ที่ใช้ชีวิตอย่างสนุกสนาน ไม่เจอความทุกข์

   - คำว่าเกยบก เป็นชื่อแห่งอัสมิมานะ  หมายถึง ยึดมั่นในตัวกูของกู แบ่งเขาแบ่งเรา

   - ถูกมนุษย์จับไว้ หมายถึง คลุกคลีกับคนหมู่มาก ยุ่งเกี่ยวกับทางโลกมากเกินไป ทำให้เดือดร้อน จนไม่มีเวลาปฏิบัติธรรม

   - ถูก อมนุษย์จับไป  การเอาแต่ทำทาน ถือศีล ทำสมาธิ แต่ไม่เจริญวิปัสสนา
ติดสมถะกรรมฐาน ตายไปอย่างมากก็ไปเป็นเทวดา หรือพรหม (ยังเวียนว่ายตายเกิดอยู่)

   - คำว่าเกลียวน้ำวนๆ ไว้ เป็นชื่อแห่งกามคุณ หมายถึง การติดอยู่ในความอยาก และความพอใจใน รูป  รส กลิ่น เสียง สัมผัส

   - ความเป็นผู้เสียในภายใน(เน่าใน) หมายถึง การละเมิดศีล ไม่มีศีล



(https://scontent.fbkk5-1.fna.fbcdn.net/hphotos-xpf1/v/t1.0-9/10957743_770775703003886_7926467048015515203_n.jpg?oh=329e04c29be748f593487704d1468911&oe=56A36C02)


สรุปให้สั้น

แวะเข้าฝั่ง    คือ หลงสัมผัส
จมน้ำ       คือ เผลอเพลิน
เกยตื้น      คือ ตัวกูของกู
มนุษย์จับ     คือ ชอบเข้าสังคม
อมนุษย์จับ    คือ ไม่เจริญวิปัสสนา
น้ำวน        คือ ติดกามคุณ
เน่าใน    คือ ไม่มีศีล

   “ท่อนไม้ที่ลอยไปตามแม่น้ำ มีแนวโน้มที่จะไหลออกสู่มหาสมุทร ฉันใด จิตมนุษย์นี้ไซร์ ย่อมมีแนวโน้มที่จะไหลสู่พระนิพพาน ฉันนั้น”

 :25: :25: :25: :25: :25:

พระอาจารย์ปราโมช ปาโมชโช กล่าวไว้ว่า

มนุษย์แปลว่า ผู้มีใจสูง เหมาะสำหรับการเจริญวิปัสสนาเพื่อนิพพาน
เทวดานั้น เอาแต่ เผลอเพลินในความเป็นทิพย์
พรหม ก็มีแต่ พรหมวิหารสี่ ยากที่จะเข้านิพพาน
ใจมนุษย์ เหมาะสมที่สุด จึงได้ชื่อว่า เป็นผู้มีใจสูง

การที่จะเกิดเป็นมนุษย์ได้นั้น เป็นเรื่องที่แสนยาก
ดังนั้นการได้เกิดเป็นมนุษย์ จึงเป็นเรื่องที่วิเศษที่สุด
อย่ามัวหลงอยู่ในกิเลส ขอให้เร่งปฏิบัติ


 :welcome: :49: :25: :s_good:


หัวข้อ: Re: ธรรมนี้ ต้องให้เครดิตกับ อาจารย์สายทอง
เริ่มหัวข้อโดย: saithong ที่ มกราคม 12, 2010, 06:28:26 am
ขอบคุณ คะคุณ ณัฐพลสันต์ ให้เครดิต เป็นหน้าเลย :D :D :D :D

อนุโมทามิ


หัวข้อ: Re: ธรรมนี้ ต้องให้เครดิตกับ อาจารย์สายทอง
เริ่มหัวข้อโดย: ธรรมะ ปุจฉา ที่ ตุลาคม 21, 2010, 01:28:42 am
 :25:


หัวข้อ: การระวังตนของผู้มุ่งนิพพาน
เริ่มหัวข้อโดย: raponsan ที่ กันยายน 19, 2015, 10:08:52 am
(https://scontent.fbkk5-1.fna.fbcdn.net/hphotos-xaf1/v/t1.0-9/10350429_741426275938829_8971572173481735956_n.jpg?oh=1e2d8e0bc5d0989249f42cfde738402d&oe=56A61C50)


การระวังตนของผู้มุ่งนิพพาน

ปัญหา : ผู้ประพฤติพรหมจรรย์ เพื่อบรรลุถึงพระนิพพาน ควรจะระมัดระวังตนอย่างไร.?
คำตอบ : มีคำอธิบายอยู่ใน ทารุขันธสูตรที่ ๑ (อยู่ด้านบน)

นอกจากกระทู้นี้แล้ว ขอแนะนำกระทู้อื่นๆตามนี้ :-
“ท่อนไม้ลอยไหลสู่ทะเลได้ฉันใด จิตก็โน้มเอียงสู่นิพพานได้ฉันนั้น”
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=3234.0 (http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=3234.0)
ทำไม พรหม และ เทวดา ไม่ปรารถนาความเป็นพระอรหันต์
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=3277.msg11673#msg11673 (http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=3277.msg11673#msg11673)


หัวข้อ: Re: ธรรมนี้ ต้องให้เครดิตกับ อาจารย์สายทอง
เริ่มหัวข้อโดย: PRAMOTE(aaaa) ที่ กันยายน 19, 2015, 08:14:43 pm
 gd1 like1 st11 st12 :035: :035: :035:
      ขออนุโมทนาสาธุ


หัวข้อ: Re: ธรรมนี้ ต้องให้เครดิตกับ อาจารย์สายทอง
เริ่มหัวข้อโดย: Admax ที่ ตุลาคม 03, 2015, 11:10:47 pm
 st12 st12 st12