ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ปรากฏหลักฐานชัดเจนว่า "ตำแหน่งพระสังฆราช" มีมาตั้งแต่ "กรุงสุโขทัย"  (อ่าน 2444 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0
วัดมหาธาตุ วัดขนาดใหญ่ที่สำคัญที่สุดแห่ง(อดีต)อาณาจักรสุโขทัย
ที่วันนี้ถือเป็นสถานที่ท่องเที่ยวไฮไลท์แห่งมรดกโลก เมืองเก่าสุโขทัย


พระสังฆราชาในแผ่นดินสุโขทัย

แม้ว่าก่อนหน้าอาณาจักรสุโขทัยจะเจริญรุ่งเรืองขึ้น พุทธศาสนาฝ่ายเถรวาท ก็เป็นที่นิยมนับถือกันทั่วไปในดินแดนใกล้เคียงอยู่แล้วไม่ว่าจะเป็นอาณาจักรพุกาม อาณาจักรมอญทวารวดี และหริภุญชัย ทว่าโดยส่วนใหญ่เป็นเถรวาทแบบพุกาม ต่อมาเมื่ออาณาจักรสุโขทัยตั้งมั่นดีแล้ว กษัตริย์ราชวงศ์พระร่วงแห่งสุโขทัยก็ได้ปลูกฝังศรัทธาอันมั่นคงที่มีต่อพุทธศาสนาเถรวาทแบบลังกาวงศ์ให้หยั่งรากลึกในหมู่ชนคนไทย จนกระทั่งสุโขทัยและศรีสัชนาลัยกลายเป็นแผ่นดินธรรมแผ่นดินทอง ดังปรากฏหลักฐานอันเรืองรอง เป็นโบราณศาสนสถาน และศาสนวัตถุ ให้คนรุ่นหลังได้ชื่นชมกันอยู่จนทุกวันนี้

ชาวสุโขทัยเป็นผู้ยึดมั่นเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา ตั้งตนอยู่ในศีลในธรรม หมั่นเข้าวัด ฟังเทศน์ ฟังธรรม รักษาศีล และทำบุญให้ทานอยู่เป็นประจำ และนิยมสร้างวัดวาอาราม สะท้อนจิตวิญาณของคนไทยที่แนบแน่นในพุทธศาสนา สร้างวังที่ไหนก็สร้างวัดขึ้นที่นั่น มีชุมชนหมู่บ้านที่ไหนก็มีวัดอยู่ที่นั่น



ไหว้พระอจนะ วัดศรีชุม


พ่อขุนรามคำแหงฯ อาราธนาพระสงฆ์ลังกาวงศ์ มาจากนครศรีธรรมราช

การประดิษฐานพระพุทธศาสนาแบบลังกาวงศ์ให้มั่นคงในกรุงสุโขทัย เกิดขึ้นราวสมัยขุนรามราช หรือพ่อขุนรามคำแหงฯ โดยทรงอาราธนาพระสงฆ์ลังกาวงศ์ขึ้นมาจากนครศรีธรรมราช จนเกิดการตั้งสังฆมณฑลใหม่ มีการอุปสมบทคณะสงฆ์เดิมให้เป็นพระสงฆ์แบบลังกาวงศ์ ซึ่งได้รับความนิยมเลื่อมใสมาก ทั้งจากพระเจ้าแผ่นดิน ตลอดจนขุนนางและเหล่าราษฎร ทำให้พุทธศาสนาลัทธิมหายานและเถรวาทแบบดั้งเดิมที่เคยแพร่หลายอยู่ก่อนหน้าเสื่อมสูญลง คงเหลือแต่คณะสงฆ์ลังกาวงศ์ เป็นสังฆมณฑลใหม่ที่ตั้งมั่นอยู่ในสุโขทัยแต่นั้นมา

สมัยพ่อขุนรามคำแหงฯ ตรงกับรัชกาลที่ 3 ของกรุงสุโขทัย การดูแลไพร่ฟ้าประชาชน มีพระราชาเป็นผู้ดูแลทุกข์สุขของราษฎร ในขณะที่การดูแลภิกษุสงฆ์ที่บรรพชาเข้ามาสู่สังฆมณฑลแห่งราชอาณาจักร ต้องยกให้พระสงฆ์ท่านปกครองดูแลกันเอง ฆราวาสจะเข้าไปก้าวก่ายมิได้ พ่อขุนรามคำแหงฯ ทรงให้ความสำคัญกับการฟังธรรมในวันธรรมสวนะ โปรดฯให้ใช้ดงตาลเป็นสถานที่ฟังธรรม มีพระแท่นมนังศิลาบาตรตั้งไว้สำหรับประทับปรึกษาราชการบ้านเมืองกับเหล่าขุนนาง ส่วนในวันธรรมสวนะ พระองค์โปรดฯให้อาราธนาพระสงฆ์ผู้ใหญ่ขึ้นแสดงธรรมถวายบนพระแท่นมนังศิลาบาตร โดยที่พระองค์เอง เจ้านาย และขุนนาง ตลอดจนราษฎรก็ได้มีโอกาสรักษาศีล ฟังธรรมด้วย



วัดช้างล้อม หนึ่งในจุดท่องเที่ยวต้องห้ามพลาดแห่งอุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย


ข้อความในศิลาจารึกระบุว่า ในสมัยสุโขทัยมีพระสังฆราช

มีหลักฐานว่าตำแหน่ง สมเด็จพระสังฆราชา นั้น มีมาตั้งแต่ครั้งกรุงสุโขทัย ดังปรากฏในศิลาจารึกหลักที่ 1 ว่า "กลางเมืองสุโขไทนี้มีพระพิหาร มีพระพุทธรูปทอง มีพระอัฏฐารศ มีพระพุทธรูป มีพระพุทธรูปอันใหญ่ มีพระพุทธรูปอันราม มีพระพิหารอันใหญ่ มีพระพิหารอันราม มีปู่ครู มีสังฆราช มีเถร มีมหาเถร เบื้องตะวันตกเมืองสุโขไทยนี้ มีอรัญญิก พ่อขุนรามคำแหง กระทำอวยทานแก่มหาเถร สังฆราช ปราชญ์เรียนจบปิฎกไตร หลวก (รู้) กว่าปู่ครูในเมืองนี้ ทุกคนลุกแต่เมืองศรีธรรมราชมา"

จากข้อความในศิลาจารึก เป็นที่เชื่อกันว่า ในยุคนั้นน่าจะมีพระสังฆราชมากกว่าหนึ่งองค์ขึ้นไป เพราะในราชอาณาจักร มีทั้งเมืองในปกครองโดยตรง และเมืองประเทศราชที่มีเจ้าปกครอง ซึ่งคาดว่าน่าจะมีสังฆราชของตนเองด้วย และตำแหน่งสูงสุดก็น่าจะเป็นสังฆราช ที่หมายถึงสังฆนายกผู้ปกครองสงฆ์ทั้งหมดของกรุงสุโขทัย ตำแหน่งรองลงมาก็คือ ปู่ครูที่น่าจะเป็นเช่นพระครูในทุกวันนี้ แต่ปู่ครูในครั้งสุโขทัย เทียบได้กับตำแหน่งสังฆนายก ปกครองคณะสงฆ์รองจากพระสังฆราชองค์เดียวเท่านั้น ส่วนมหาเถระ และเถระ คาดกันว่าคงจะหมายถึง พระภิกษุซึ่งมีพรรษาอายุและคุณธรรมในทางพระศาสนา เป็นมหาเถระ และเถระตามวินัยบัญญัติ แต่คงไม่ใช่สมณศักดิ์ที่กษัตริย์ทรงแต่งตั้ง



วัดเจดีย์ 7 แถว อีกหนึ่งวัดสำคัญในอุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย


สมณศักดิ์เกิดขึ้นในสมัยพระมหาธรรมราชาลิไท

มาในสมัยพระมหาธรรมราชาลิไท เป็นที่คาดกันว่าระบบสมณศักดิ์ของพระสงฆ์ไทย คงจะเริ่มขึ้นในรัชสมัยนี้ โดยพระองค์ทรงอาราธนาพระเถระจากลังกาเข้ามาสู่สุโขทัย จึงเกิดระบบบริหารคณะสงฆ์ขึ้นใหม่ที่ปกครองตามแบบลังกา มีพระมหาสามีสังฆราชเป็นประธาน แบ่งสงฆ์ออกเป็น 2 คณะ คือ คณะคามวาสี ที่มุ่งศึกษาเล่าเรียนจากพระไตรปิฎก จำพรรษาอยู่ในเขตเมือง และคณะอรัญวาสี มุ่งไปทางปฏิบัติสมถะและวิปัสสนากรรมฐาน จำพรรษาอยู่ตามเขตป่านอกตัวเมือง


ขอบคุณบทความจาก :-
"19 รัตนสังฆราชา แห่งสังฆมณฑลไทย"
ตอน 1. สายธารธรรมจากชมพูทวีปสู่แผ่นดินสยาม
สดุดี 100 พระชันษาสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช
http://yingthai-mag.com/magazine/reader/8653
ขอบคุณภาพจาก :-
http://www.manager.co.th/Travel/ViewNews.aspx?NewsID=9590000017133
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มีนาคม 02, 2016, 08:57:25 pm โดย raponsan »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

ฟ้าใหม่แจ่มใส

  • พอพึ่งพาได้
  • ***
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 226
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
บันทึกการเข้า
เครดิต ยายกบ ถ้าไม่ถูกใจก็ต้องว่า ยายกบ เพราะชวนมาศึกษาธรรมะ

prachabeodee

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 135
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
สาธุ.....อยากทราบเรื่องเกี่ยวกับพระร่วงจร้า....
บันทึกการเข้า