ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
  • สนง.ส่งเสริมพระกรรมฐาน
แสดงกระทู้
This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.
    Messages   Topics Attachments  

  Messages - ปัญญสโก ภิกขุ
หน้า: [1] 2 3 ... 8
1  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / Re: คัมภีร์ มูลกัจจายน์ ฉบับไทย หาอ่านยากมาก ๆ แล้ว เมื่อ: กันยายน 19, 2023, 04:51:54 pm
มูลกัมมัฏฐาน​ ฉะบับโบราณสำนักวัดราชาธิวาส
ต้นฉะบับเป็นหนังสือลาน(ใบลาน)​เก่าแก่​ ถึงบัดนี้​ เป็นเวลา​ 362​ ปี​
ดาวน์โหลดหนังสือได้ที่ลิ้ง
https://drive.google.com/.../1GLjqmO0ZWQLrjJhUcuyVi.../view
2  พระไตรปิฏก / พระธรรมตามพระไตรปิฏก / Re: #การสอบบาลี ตั้งแต่แรกเริ่มในอดีตจนถึงปัจจุบัน เรามีการสอบกันอย่างไร เมื่อ: ตุลาคม 23, 2019, 12:57:08 pm
สาธุ   st11
3  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / Re: ใกล้เสร็จแล้ว “พุทธอุทยานแห่งแรกในอินเดีย” เมื่อ: เมษายน 02, 2017, 09:08:26 am
 st11 st12 st12
4  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / Re: แม่กองบาลีสนามหลวง ชี้ นร.ไม่มั่นใจ สาเหตุหลักขาดสอบบาลีกว่าหมื่น เมื่อ: เมษายน 02, 2017, 09:00:33 am
 st11 st12 st12
5  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / Re: ปัจจุบันเรื่องคุณไสย หรือการเล่นของ การโดนของ ยังมีอยู่จริงไหมคะ.? เมื่อ: พฤศจิกายน 03, 2016, 09:55:22 pm
 :25: :25: :25:

 st11
6  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / ผม/ดิฉัน เป็นชาวพุทธ แต่ผม/ดิฉัน ไม่ถือศีลได้ไหม ครับ/ค่ะ ! เมื่อ: พฤศจิกายน 03, 2016, 09:50:49 pm
 ask1

ชาวพุทธทั่วไป !
1.ผม/ดิฉัน เป็นชาวพุทธ แต่ผม/ดิฉัน ไม่ถือศีลได้ไหม ครับ/ค่ะ !
2.การกระทำตนเช่นไร จึงได้ชื่อว่า เป็นชาวพุทธ(พุทธมามกะ) ?

 :smiley_confused1:
7  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / การโกหก"ตัวเอง"ผิดศีล ๕ ใหมครับ ? เมื่อ: พฤศจิกายน 03, 2016, 09:48:40 pm
 ask1

 การโกหก"ตัวเอง"ผิดศีล ๕ ใหมครับ ?

 :smiley_confused1:
8  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / รักษาศีล จะมีบารมีอะไร ! (บ้าง) เมื่อ: พฤศจิกายน 03, 2016, 09:46:59 pm
 ask1

การสมาทานรักษาศีล
เป็น การสร้าง บารมี อะไรบ้าง ในบารมี 10 ทัศ ?
บารมีไหน อย่างไร !

 :smiley_confused1:
9  ธรรมะสาระ / ห้อง_ด า ว น์ โ ห ล ด / วารสาร สำนักวิปัสสนากรรมฐาน วัดภัททันตะอาสภาราม ฉบับที่ ๓๓ ปี ๕๗ เมื่อ: กรกฎาคม 30, 2016, 06:43:54 pm
วารสารรายสี่เดือน ปีที่ ๑๐ ฉบับที่ ๓๓ ประจำาเดือน มกราคม - เมษายน ๒๕๕๗

สำนักวิปัสสนากรรมฐาน วัดภัททันตะอาสภาราม

๑๑๘/๑ หมู่ ๑ บ.หนองปรือ ต.หนองไผ่แก้ว อ.บ้านบึง จ.ชลบุรี ๒๐๒๒๐

โทรศัพท์ ๐๓๘-๑๖๐-๕๐๙ ; ๐๘๖-๘๑๙–๘๓๕๘ โทรสาร ๐๓๘-๑๖๐-๕๑๒

Email : wat_asabha@yahoo.com, S_sorado@hotmail.com, bhaddanta@gmail.com

Website : www.bhaddanta.com




ดาวน์โหลดได้ที่ http://www.bhaddanta.com/TH/book/4

10  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / บาลีวันละคำ‬ สมบัติสาม คำที่ 1 มนุษยสมบัติ เมื่อ: กรกฎาคม 30, 2016, 06:00:46 pm
‪‎บาลีวันละคำ‬
สมบัติสาม คำที่ 1
มนุษยสมบัติ

.............................
คำชุดนี้ ในคัมภีร์ใช้ว่า -
(1) มนุสฺสสมฺปตฺติ (มะ-นุด-สะ-สำ-ปัด-ติ)
(2) ทิพฺพสมฺปตฺติ (ทิบ-พะ-สำ-ปัด-ติ, บางทีใช้ว่า เทวสมฺปตฺติ)
(3) นิพฺพานสมฺปตฺติ (นิบ-พา-นะ-สำ-ปัด-ติ)
.............................
“มนุษยสมบัติ” อ่านตามหลักภาษาว่า มะ-นุด-สะ-ยะ-สม-บัด
แต่มักอ่านตามสะดวกปากว่า มะ-นุด-สม-บัด
ประกอบด้วย มนุษย + สมบัติ
(๑) “มนุษย”
บาลีเป็น “มนุสฺส” อ่านว่า มะ-นุด-สะ รากศัพท์มาจาก -
(1) มน (ใจ) + อุสฺส (สูง) = มนุสฺส แปลตามศัพท์ว่า “ผู้มีใจสูง”
(2) มนฺ (ธาตุ = รู้) + อุสฺส ปัจจัย = มนุสฺส แปลตามศัพท์ว่า “ผู้รู้สิ่งที่เป็นประโยชน์และไม่เป็นประโยชน์”
(3) มนุ (มนู = มนุษย์คนแรก) + อุสฺส (แทนศัพท์ อปจฺจ = เหล่ากอ หรือ ปุตฺต = ลูก) = มนุสฺส แปลตามศัพท์ว่า “ผู้เป็นเหล่ากอของมนู” หรือ “ผู้เป็นลูกของมนู”
“มนุสฺส” อาจแปลตามศัพท์เป็นอย่างอื่นได้อีกตามแต่จะมีหลักฐานอ้างอิง แต่ความหมายก็คือ มนุษย์, คน (a human being, man)
“มนุสฺส” ในบาลี เป็น “มนุษฺย” ในสันสกฤต ไทยเขียนอิงสันสกฤตเป็น “มนุษย์”
สํสกฤต-ไท-อังกฤษ อภิธาน บอกไว้ว่า -
“มนุษฺย : (คำนาม) มนุษย์, มนุษยชาติ; man, mankind.”
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า -
“มนุษย-, มนุษย์ : (คำนาม) สัตว์ที่รู้จักใช้เหตุผล, สัตว์ที่มีจิตใจสูง, คน. (ส.; ป. มนุสฺส).”
ความหมายของคำว่า “มนุสฺส - มนุษย์” ที่ยอมรับกันมากที่สุดและเป็นความหมายตามตัวอักษรด้วย คือ “ผู้มีใจสูง”
ในภาษาไทย เมื่ออธิบายธรรมะ ผู้รู้บางท่านแยกความหมายว่า ถ้ามีใจสูงคือมีคุณธรรม จึงจะเรียกว่า “มนุษย์” ถ้าใจต่ำคือไร้คุณธรรมก็เป็นได้เพียง “คน”
โปรดทราบว่าการแยกความหมายอย่างนี้เป็นเพียงแนวคิดในวิธีสอนธรรมะเท่านั้น ไม่ใช่ความหมายในทางนิรุกติศาสตร์
(๒) “สมบัติ”
บาลีเป็น “สมฺปตฺติ” (สำ-ปัด-ติ) รากศัพท์มาจาก สํ (คำอุปสรรค = พร้อมกัน, ร่วมกัน) + ปทฺ (ธาตุ = ถึง, บรรลุ) + ติ ปัจจัย, แปลงนิคหิตที่ สํ เป็น มฺ (สํ > สมฺ), แปลง (ป)-ทฺ เป็น ตฺ
: สํ > สมฺ + ปทฺ = สมฺปทฺ + ติ = สมฺปทฺติ> สมฺปตฺติ (อิตถีลิงค์) แปลตามศัพท์ว่า “ความถึงพร้อม” (คือความสำเร็จ) “ภาวะที่ถึงพร้อม”
ขยายความว่า ถึงพร้อมด้วยสิ่งใด หรือบรรลุถึงสิ่งใด ก็เรียกสิ่งนั้นว่า “สมฺปตฺติ”
“สมฺปตฺติ” ในภาษาบาลีใช้ในความหมายว่า -
(1) ความสำเร็จ, การบรรลุ; ความสุข, ความสำราญ, สมบัติ (success, attainment; happiness, bliss, fortune)
(2) ความเลิศลอย, ความดีเด่นหรือสง่างาม(excellency, magnificence)
(3) เกียรติ (honour)
(4) ความรุ่งเรือง, ความสวยสดงดงาม (prosperity, splendor)
“สมฺปตฺติ” ในภาษาไทยใช้ว่า “สมบัติ”
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า -
“สมบัติ ๑ : (คำนาม) ความถึงพร้อม หมายถึง ทรัพย์สิน เงินทอง ของใช้ เป็นต้นที่มีอยู่ เช่น ถึงมีสมบัติมากมายก็ไม่พ้นความตายไป ทำงานมาเกือบ ๒๐ ปี มีสมบัติอย่างเดียวคือบ้าน. (ป., ส. สมฺปตฺติ).”
ในภาษาไทย ความหมายเด่นของ “สมบัติ” ก็คือ ทรัพย์สิน เงินทอง ของใช้ แต่ในภาษาบาลี “สมฺปตฺติ” มีความหมายมากกว่านั้น ดูคำแปลภาษาอังกฤษที่ตรงกับความเข้าใจในภาษาไทยมีเพียงคำว่า fortune เท่านั้น คำแปลอื่นๆ ไม่ได้หมายถึงทรัพย์สิน เงินทอง ของใช้โดยตรงแต่อย่างใด
มนุสฺส + สมฺปตฺติ = มนุสฺสสมฺปตฺติ > มนุษยสมบัติ แปลตามศัพท์ว่า “ความถึงพร้อมแห่งมนุษย์” (human prosperity) หมายถึง การได้เกิดเป็นมนุษย์เป็นพื้นฐานเบื้องต้น ส่วนการได้บรรลุสถานภาพต่างๆ ที่พึงปรารถนาเป็นเพียงผลพลอยได้ที่ตามมา
คนส่วนมากมักเข้าใจไปว่า “มนุษยสมบัติ” ก็คือเกิดมาแล้วมีสมบัติมาก ร่ำรวย มีทรัพย์สินเงินทองของใช้อุดมสมบูรณ์ เป็นเศรษฐีมหาเศรษฐี อย่างนี้จึงจะเรียกว่ามี “มนุษยสมบัติ” ถ้าเกิดมาเป็นคนจนยากไร้ ก็พูดว่า ไม่มีมนุษยสมบัติ คือไปเข้าใจว่า “สมบัติ” ในที่นี้คือทรัพย์สินเงินทอง
ความหมายที่ถูกต้องของ “มนุษยสมบัติ” ก็คือ “การได้เกิดเป็นมนุษย์” จะมีทรัพย์สินเงินทองของใช้มากน้อยแค่ไหนอย่างไรไม่เป็นประมาณ การได้เกิดมาเป็นมนุษย์นั่นแหละเรียกว่าได้ “มนุษยสมบัติ” แล้ว แม้จะเป็นขอทานก็เรียกได้ว่ามีมนุษยสมบัติครบถ้วนแล้ว
: ถ้ารักษาความเป็นมนุษย์ไว้ไม่ได้
: ถึงจะรวยเพียงไรก็ชื่อว่าจนแสนจน

นาวาเอก ทองย้อย แสงสิ้นชัย
11  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / ‪บาลีวันละคำ‬ อิสิปตนมฤคทายวัน [2] เมื่อ: กรกฎาคม 24, 2016, 09:41:08 pm
‪บาลีวันละคำ‬
อิสิปตนมฤคทายวัน [2]
“อิสิปตน” และ “มฤคทาย” แปลว่าอะไรได้อีก
“อิสิปตนมฤคทายวัน” ในบาลีท่านแบ่งคำเป็น 2 กลุ่ม คือ “อิสิปตน” และ “มิคทาย” ดังคำในธัมมจักกัปปวัตนสูตรว่า “อิสิปตเน มิคทาเย”
(๑) “อิสิปตน” (อิ-สิ-ปะ-ตะ-นะ)
แปลตามศัพท์ว่า “ที่เป็นที่ตกไปแห่งฤๅษี” หมายถึง สถานที่อันพวกฤๅษีมาชุมนุมกัน คือมาอยู่รวมกัน ถือเอาความว่า ที่อยู่ของฤๅษี
แต่บางท่านบอกว่า ศัพท์นี้มีความหมายตรงตัว โดยอธิบายว่า ฤๅษีเหาะมาจากป่าหิมพานต์ พอมาถึงตรงนั้นก็ตกลงมา จึงเรียกสถานที่ตรงนั้น “อิสิปตน” แปลว่า “ฤๅษีตก”
พอดีมีเรื่องในชาดกที่กล่าวถึงพระราชาทรงเลื่อมใสฤๅษีมีตบะตนหนึ่ง ทรงนิมนต์ให้ไปฉันในวังทุกวัน ฤๅษีก็เหาะไปเหาะกลับทุกวัน วันหนึ่ง เหาะผ่านตำหนักนางใน พระมเหสีกำลังนอนอาบแดดอยู่บนดาดฟ้า ฤๅษีเห็นรูปโฉมของพระมเหสีที่ไร้อาภรณ์ เกิดกามราคะ ก็เลยเป็นอย่างที่ภาษาปากพูดว่า “หล่นตุ้บลงมา” คราวนี้ฉันเสร็จแล้วต้องเดินกลับเพราะตบะเสื่อม
เรื่องทำนองนี้ก็ช่วยหนุนให้เชื่อสนิทว่า “อิสิปตน” แปลว่า “ฤๅษีตก”
แต่คัมภีร์มโนรถปูรณี (ภาค 2 หน้า 124) ยืนยันว่า -
“ปตเน สนฺนิปาตฏฺฐาเนติ อตฺโถ”
(คำว่า “ปตน” หมายถึง “สนฺนิปาตฐาน = ที่ประชุม”)
(๒) “มิคทาย > มฤคทาย”
บาลีวันละคำ (1,505) 18-7-59 : อิสิปตนมฤคทายวัน) แปลไว้ว่า “ป่าเป็นที่อยู่แห่งเนื้อ” และวงเล็บไว้ว่า คำนี้อาจแปลเป็นอย่างอื่นได้อีก
ที่แปลว่า “ป่าเป็นที่อยู่แห่งเนื้อ” ก็คือ : มิค = เนื้อ, ทาย = ป่า ทั้งนี้เป็นการแปลตามนัยแห่งพจนานุกรมบาลี-อังกฤษ ที่บอกความหมายของคำว่า “ทาย” ที่แปลว่า “ป่า” แล้วยกตัวอย่างคำว่า “มิคทาย” และแปลเป็นอังกฤษว่า deer park (สวนกวาง)
แต่คัมภีร์อรรถกถาหลายแห่งอธิบายคำว่า “ทาย” ในคำนี้ตรงกันว่า
“มิคานํ อภยตฺถาย ทินฺเน”
(ในป่าที่พระราชทานเพื่อให้เนื้อทั้งหลายอยู่อย่างปลอดภัย)
นั่นคือ “ทาย” แปลว่า “สิ่งอันเขาให้” ไม่ได้แปลว่า “ป่า” ซึ่งพจนานุกรมบาลี-อังกฤษ ก็แปล “ทาย” คำนี้ (คนละคำกับ “ทาย” ที่แปลว่า ป่า) ว่า a gift, donation; share, fee (ของขวัญ, ของบริจาค; ส่วนแบ่ง, ค่าธรรมเนียม)
เป็นอันว่า “มิคทาย > มฤคทาย” มีความหมายได้อีกอย่างหนึ่งว่า “ป่าเป็นที่ให้อภัยแก่เนื้อ” ซึ่งตรงกับความหมายของชื่อปัจจุบันว่า “สารนาถ” ที่ผู้รู้บอกว่ากลายเสียงมาจากคำว่า “สารังคนาถ” ซึ่งแปลว่า “ที่พึ่งของกวาง” (สารังค = กวาง, นาถ = ที่พึ่ง)
..........
ดูก่อนภราดา!
: อันใจคนก็เหมือนคำจำไว้เถิด
: ถึงพริ้งเพริศก็จงเผื่อเชื่อไฉน
: แต่ชื่อเดียวเจียวยังหมายเป็นหลายนัย
: เหมือนหนึ่งใจที่จะจริงจงกริ่งเกรง

นาวาเอก ทองย้อย แสงสินชัย
12  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / ‪บาลีวันละคำ‬ เจตนารมณ์ เมื่อ: กรกฎาคม 24, 2016, 09:37:16 pm
‪บาลีวันละคำ‬
เจตนารมณ์
อ่านว่า เจด-ตะ-นา-รม
ประกอบด้วย เจตนา + อารมณ์
(๑) “เจตนา”
บาลีอ่านว่า เจ-ตะ-นา รากศัพท์มาจาก จิตฺ (ธาตุ = คิด, รู้, จงใจ) + ยุ ปัจจัย, แผลง อิ ที่ จิ-(ตฺ) เป็น เอ (จิตฺ > เจต), แปลง ยุ เป็น อน, ลง อา ปัจจัยเครื่องหมายอิตถีลิงค์
: จิตฺ > เจต + ยุ > อน = เจตน + อา = เจตนา แปลตามศัพท์ว่า “สภาวะที่คิด” หมายถึง ความตั้งใจ, ความคิด, ความจงใจ, ความประสงค์, ความปรารถนา (state of mind in action, thinking as active thought, intention, purpose, will)
ในภาษาไทย พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า -
“เจตนา : (คำกริยา) ตั้งใจ, จงใจ, มุ่งหมาย. (คำนาม) ความตั้งใจ, ความจงใจ, ความมุ่งหมาย”
(ดูเพิ่มเติมที่ : “เจตนา” บาลีวันละคำ (704) 21-4-57)
(๒) “อารมณ์”
บาลีเป็น “อารมฺมณ” อ่านว่า อา-รำ-มะ-นะ รากศัพท์มาจาก อา (ทั่ว, ยิ่ง) + รมฺ (ธาตุ = ยินดี) + ยุ ปัจจัย, ซ้อน มฺ, แปลง ยุ เป็น อน, แปลง น ที่ (อ)-น เป็น ณ
: อา + รมุ = อารม + ม = อารมฺม + ยุ > อน = อารมฺมน > อารมฺมณ แปลตามศัพท์ว่า “อันเป็นที่มายินดี (แห่งจิตและเจตสิก)”
คำว่า “มายินดี” เป็นภาษาธรรม หมายถึงสิ่งที่จิตเข้าไปจับหรือรับรู้ คือเมื่อจิตจับอยู่กับสิ่งใด สิ่งนั้นก็เป็นที่ “มายินดี” ของจิต ไม่ว่าสิ่งนั้นจะเป็นที่น่ายินดี (ชอบ) ไม่น่ายินดี (ชัง) หรือเป็นกลางๆ (เฉย) ก็ตาม
“อารมฺมณ” หมายถึง เครื่องยึดหน่วงของจิต, สิ่งที่จิตยึดหน่วง, สิ่งที่ถูกรู้หรือถูกรับรู้ คือที่ได้เห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ลิ้มรส เย็นร้อนอ่อนแข็งตึงไหวที่กระทบกาย และเรื่องที่จิตคิดนึก
พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ แปลคำว่า “อารมฺมณ” ในเชิง “ตีความ” ไว้ว่า -
(1) support, help, footing, expedient, anything to be depended upon as a means of achieving what is desired, basis of operation, chance (การสนับสนุน, การช่วยเหลือ, ที่มั่น, ความสะดวก, สิ่งใดสิ่งหนึ่งที่พึ่งพิงได้เพื่อเป็นหนทางไปสู่เป้าหมาย, ฐานปฏิบัติการ, โอกาส)
(2) condition, ground, cause, means, a cause of desire or clinging to life (เงื่อนไข, พื้นฐาน, ต้นเหตุ, หนทาง, ต้นเหตุของความต้องการหรือความเกี่ยวเกาะอยู่กับชีวิต)
(3) a basis for the working of the mind & intellect (พื้นฐานสำหรับการทำงานของจิตและสติปัญญา. คือเมื่อจิตรับ “อารมฺมณ” เข้ามาแล้วก็ใช้สิ่งนั้นเป็นที่ทำงานต่อไป กล่าวคือชอบบ้าง ชังบ้าง เฉยบ้าง ตามแต่ระดับสติปัญญาจะพาไป)
“อารมฺมณ” ในภาษาไทยใช้ว่า “อารมณ์” พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกความหมายไว้ดังนี้ -
(1) (คำนาม) สิ่งที่ยึดหน่วงจิตโดยผ่านทางตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ เช่น รูปเป็นอารมณ์ของตา เสียงเป็นอารมณ์ของหู
(2) เครื่องยึดถือเป็นจริงเป็นจัง เช่น เรื่องนี้อย่าเอามาเป็นอารมณ์เลย
(3) ความรู้สึกทางใจที่เปลี่ยนแปลงไปตามสิ่งเร้า เช่น อารมณ์รัก อารมณ์โกรธ อารมณ์ดี อารมณ์ร้าย
(4) อัธยาศัย, ปรกตินิสัย, เช่น อารมณ์ขัน อารมณ์เยือกเย็น อารมณ์ร้อน
(5) ความรู้สึก เช่น อารมณ์ค้าง ใส่อารมณ์
(6) ความรู้สึกซึ่งมักใช้ไปในทางกามารมณ์ เช่น อารมณ์เปลี่ยว เกิดอารมณ์
(7) (คำวิเศษณ์) มีอัธยาศัย, มีปรกตินิสัย, เช่น เขาเป็นคนอารมณ์เยือกเย็น เขาเป็นคนอารมณ์ร้อน
เจตนา + อารมฺมณ = เจตนารมฺมณ > เจตนารมณ์
พจน.54 บอกไว้สั้นๆ ว่า -
“เจตนารมณ์ : (คำนาม) ความมุ่งหมาย.”
“เจตนารมณ์” เป็นคำที่บัญญัติเทียบคำอังกฤษว่า intention
พจนานุกรมอังกฤษ-บาลี แปล intention เป็นบาลีไว้ดังนี้ -
(1) parikappa ปริกปฺป (ปะ-ริ-กับ-ปะ) = ความคิดรอบด้าน
(2) adhippāya อธิปฺปาย (อะ-ทิบ-ปา-ยะ) = ความมุ่งหมาย, ความประสงค์
(3) sañcetanā สญฺเจตนา (สัน-เจ-ตะ-นา) = ความจงใจ, ความหมายใจไว้
“เจตนารมณ์” คือความหวังผลที่จะเกิดขึ้น คือคาดหวังว่าถ้าทำอย่างนี้ก็จะเกิดผลที่ต้องการอย่างนั้น หรืออีกนัยหนึ่ง การกำหนดให้ปฏิบัติเช่นนี้ๆ ก็เพราะต้องการจะให้เกิดผลเช่นนั้นๆ ซึ่งในหลายๆ กรณี การกระทำโดยหวังผลอย่างหนึ่งอาจก่อให้เกิดผลอีกอย่างหนึ่งที่ไม่ได้คาดหมายไว้ก็เป็นได้
มีเรื่องในชาดกเล่าว่า ช่างไม้ศีรษะล้านทำงานไม้อยู่กับลูกชาย ในระหว่างนั้นยุงกัดบนศีรษะพ่อ พ่อมือไม่ว่าง ขอให้ลูกช่วยตบยุง ลูกชายหวังดีตั้งใจจะฆ่ายุงให้ตายสนิท จึงคว้าขวานจามไปที่ตัวยุงเต็มแรง
ยุงบินหนีไปได้ แต่พ่อหัวแบะ
นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า เจตนารมณ์ดีอย่างเดียวยังไม่พอ
: มองแค่เจตนาดี ก็ยังมีทางผิดพลาด
: ต้องมองเลยไปที่ฉลาดหรือไม่ฉลาดในวิธีการที่ทำ

นาวาเอก ทองย้อย แสงสินชัย
13  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / บาลีวันละคำ‬ อาทิพรหมจรรย์ ศัพท์วิชาการที่ชาวพุทธควรรู้‪‎ เมื่อ: กรกฎาคม 24, 2016, 09:33:13 pm
บาลีวันละคำ‬
อาทิพรหมจรรย์
ศัพท์วิชาการที่ชาวพุทธควรรู้‪‎
อ่านว่า อา-ทิ-พฺรม-มะ-จัน
ประกอบด้วย อาทิ + พรหมจรรย์
(๑) “อาทิ” (อา-ทิ)
รากศัพท์มาจาก อา (คำอุปสรรค = กลับความ) + ทา (ธาตุ = ให้) + อิ ปัจจัย, ลบสระที่สุดธาตุ (ทา > ท)
: อา + ทา = อาทา > อาท + อิ = อาทิ (ปุงลิงค์) แปลตามศัพท์ว่า “ส่วนอันเขาถือเอาทีแรก”
กฎ : ทา ธาตุ = “ให้” แต่เมื่อมี “อา” (คำอุปสรรค = กลับความ) นำหน้า จึงกลับความหมายจาก “ให้” (give) กลายเป็น “เอา” (take)
“อาทิ” ในบาลีใช้ในความหมายดังนี้ -
(1) จุดเริ่มต้น, เบื้องแรก (starting-point, beginning)
(2) เบื้องต้น, ในชั้นแรก, อันที่หนึ่ง, ตัวการ, หัวหน้า (beginning, initially, first, principal, chief)
(3) เริ่มด้วย, เป็นที่หนึ่ง, ...และอื่น ๆ, ...และต่อๆ ไป (beginning with, being the first, and so on, so forth)
(๒) “พรหมจรรย์”
บาลีเป็น “พฺรหฺมจริย” ประกอบด้วย พฺรหฺม + จริย
(ก) “พฺรหฺม” (พฺระ-หฺมะ) รากศัพท์คือ พฺรหฺ (ธาตุ = เจริญ, ประเสริฐ) + ม ปัจจัย
: พฺรหฺ + ม = พฺรหฺม แปลตามศัพท์ว่า “ผู้เจริญด้วยคุณ”
“พฺรหฺม” ใช้ในความหมายหลายนัย เช่น ความดีประเสริฐสุด, เทพผู้ยิ่งใหญ่ในศาสนาพราหมณ์ ถือกันว่าเป็นผู้สร้างจักรวาล, เทวดาพวกหนึ่งที่อยู่บนสรวงสวรรค์ชั้นสูงที่เรียกว่า พรหมโลก, สิ่งศักดิ์สิทธิ์, คนศักดิ์สิทธิ์
(ดูเพิ่มเติมที่ : “พรหมจรรย์” บาลีวันละคำ (1,003) 15-2-58)
ในที่นี้ “พฺรหฺม” หมายถึง ความดีประเสริฐสุด (the supreme good)
(ข) “จริย” (จะ-ริ-ยะ)
รากศัพท์มาจาก จรฺ (ธาตุ = ประพฤติ, ดำเนินไป) + อิย ปัจจัย (บางท่านว่าลง ณฺย ปัจจัย ลบ ณ ลง อิ อาคม ไม่ทีฆะต้นธาตุตามอำนาจของปัจจัยเนื่องด้วย ณ)
(1) : จรฺ + อิย = จริย
(2): จรฺ + อิ = จริ + ณฺย > ย = จริย
“จริย” (นปุงสกลิงค์, ถ้าเป็น “จริยา” เป็นอิตถีลิงค์) เป็นคำนามแปลว่า “การประพฤติ” เป็นคุณศัพท์แปลว่า “-ที่ควรประพฤติ”
พฺรหฺม + จริย = พฺรหฺมจริย > พรหมจรรย์ แปลตามศัพท์ว่า “คำสอนเป็นเหตุให้ประพฤติสิ่งที่ประเสริฐ” หมายถึง การดำเนินชีวิตในทางดี, ความประพฤติอันเหมาะสม, การประพฤติพรหมจรรย์ (a good walk of life, proper conduct, chastity)
พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ ของท่าน ป.อ.ปยุตฺโต บอกความหมายของ “พรหมจรรย์” ไว้ว่า -
(๑) พรหมจรรย์ ความหมายตามศัพท์คือ “จริยะอันประเสริฐ”, “การครองชีวิตประเสริฐ”
(๒) ตามที่เข้าใจกันทั่วไป หมายถึงความประพฤติเว้นเมถุน หรือการครองชีวิตดังเช่นการบวชที่ละเว้นเมถุน กล่าวคือไม่ร่วมประเวณีเป็นหลักสำคัญ และตั้งหน้าขัดเกลาจิตให้บริสุทธิ์
(๓) “พรหมจรรย์” เป็นคำที่พระพุทธเจ้าตรัสเรียกหลักคำสอนของพระองค์เมื่อทรงเริ่มประกาศพระศาสนา พรหมจรรย์จึงหมายถึงตัวพระพุทธศาสนาทั้งหมดนั่นเอง
ในภาษาไทย พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า -
“พรหมจรรย์ : (คำนาม) การศึกษาปรมัตถ์, การศึกษาพระเวท; การถือพรตบางอย่าง เช่นเว้นเมถุนเป็นต้น, การบวชซึ่งเว้นเมถุนเป็นต้น. (ส.).”
อาทิ + พฺรหฺมจริย = อาทิพฺรหฺมจริย > อาทิพรหมจรรย์ แปลว่า “ข้อปฏิบัติอันเป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์” (belonging to the principles or fundaments of moral life)
พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ ของท่าน ป.อ.ปยุตฺโต บอกไว้ว่า -
อาทิพรหมจรรย์ : หลักเบื้องต้นของพรหมจรรย์, หลักการพื้นฐานของชีวิตที่ประเสริฐ.
“อาทิพรหมจรรย์” คำเดิมในคัมภีร์ท่านใช้ว่า “อาทิพฺรหฺมจริยก” (อา-ทิ-พฺระ-หฺมะ-จะ-ริ-ยะ-กะ)
คำว่า “อาทิพฺรหฺมจริยก” นั่นเองเมื่อนำไปขยายคำว่า “สิกฺขา” จึงเปลี่ยนรูปเป็น “อาทิพฺรหฺมจริยกา” และเรียกควบกันเป็น “อาทิพฺรหฺมจริยกาสิกฺขา” เขียนแบบไทยเป็น “อาทิพรหมจริยกาสิกขา”
พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ ของท่าน ป.อ.ปยุตฺโต บอกไว้ว่า -
อาทิพรหมจริยกาสิกขา : หลักการศึกษาอบรมในฝ่ายบทบัญญัติหรือข้อปฏิบัติเบื้องต้นของพรหมจรรย์ สำหรับป้องกันความประพฤติเสียหาย, ข้อศึกษาที่เป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ หมายถึง สิกขาบท ๒๒๗ ที่มาในพระปาฏิโมกข์.
............
“อาทิพรหมจรรย์” หรือ “อาทิพรหมจริยกาสิกขา” นั้น เป็นบันไดขั้นต้นแห่งการก้าวขึ้นสู่เพศบรรพชิต ถ้าก้าวไม่พ้น คือปฏิบัติไม่ได้ ก็เท่ากับขึ้นสู่เพศบรรพชิตไม่ได้นั่นเอง
“อาทิพรหมจรรย์” เป็นหลักที่ควบคู่ไปกับ “อภิสมาจาร” หรือ “อภิสมาจาริกาสิกขา” ซึ่งหมายถึง ความประพฤติดีงามที่ประณีตยิ่งขึ้นไป, ขนบธรรมเนียมเพื่อความประพฤติดีงามยิ่งขึ้นไปของพระภิกษุ และเพื่อความเรียบร้อยงดงามแห่งสงฆ์
หรืออาจจำไว้ง่ายๆ ว่า -
(1) “อาทิพรหมจรรย์” คือ ศีล 227 ข้อ
(2) กิริยามารยาทและแบบธรรมเนียมอื่นๆ นอกนี้ เรียกว่า “อภิสมาจาร”
ทั้งสองส่วนนี้บรรพชิตในพระพุทธศาสนาต้องประพฤติปฏิบัติด้วยความเอาใจใส่อย่างยิ่ง โดยเฉพาะ “อาทิพรหมจรรย์” คือ ศีล 227 เป็นพื้นฐานสำคัญของความเป็นบรรพชิต
ภิกษุผู้ประพฤติสำรวมในศีล 227 แม้บางเวลากิริยาวาจาจะรุ่มร่ามไปบ้าง ก็ยังนับว่าเป็นผู้งามแท้ในศีล
ตรงข้ามกับภิกษุที่ “อาทิพรหมจรรย์” ขาดรุ่งริ่ง แม้จะแต่งกิริยาวาจาให้เรียบร้อยอย่างไร ซึ่งจะนับว่างามแท้นั้นหามิได้เลย
อุปมา :
“อาทิพรหมจรรย์” เหมือนอาบน้ำให้เนื้อตัวสะอาด
“อภิสมาจาร” เหมือนประแป้งแต่งตัวให้สวยงาม
: ถ้าเรือนร่างยังไม่สะอาด
: ถึงอาภรณ์จะผุดผาด ก็อุจาดมากกว่าเจริญใจ
: ถ้าเรือนร่างสะอาด
: ถึงจะนุ่งผ้าขาดๆ ก็งามพิลาสเสียนี่กระไร

นาวาเอก ทองย้อย แสงสินชัย
14  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / บทพระพุทธพจน์ "สยํกตานิ ปุญฺญานิ ตํ มิตฺตํ สมฺปรายิกํ " บุญที่ทำแล้วด้วย....... เมื่อ: กรกฎาคม 24, 2016, 09:30:21 pm
สยํกตานิ ปุญฺญานิ ตํ มิตฺตํ สมฺปรายิกํ
บุญที่ทำแล้วด้วยตนเองนั้น จะเป็นมิตรติดตามไปถึงภพหน้า
พุทธพจน์นี้ อ่านดูแล้วจะว่าเข้าใจง่ายก็ใช่ น่าสงสัยก็มี
ที่ว่าเข้าใจง่าย ก็คือ คำว่า บุญที่ทำด้วยตนเอง ไม่น่าจะสงสัยอะไร เพราะบุญทุกชนิดก็ต้องทำด้วยตนเองทั้งนั้น จะให้คนอื่นทำได้อย่างไรกัน
ที่ว่า เข้าใจยาก คือ เมื่อมีวิเสสนะว่า สยํกตานิ บุญที่ทำด้วยตนเอง ก็ต้องสื่อได้ว่า จะต้องมีความแปลกกันอย่างหนึ่งเกิดขึ้น จึงจำต้องมีวิเสสนะเพื่อสื่อความแปลกกัน (อันนี้ออกแนวหลักภาษาหน่อยนะครับ) เพราะถ้าบุญเหมือนกัน ไม่จำเป็นต้องมีคำว่า สยํกตานิ มีแค่คำว่า บุญ อย่างเดียวก็น่าจะพอ.
อันนี้แสดงว่า จะต้องมีบุญอีกชนิดหนึ่งที่ต่างจากบุญชนิดที่ต้องทำเอง ซึงจะหมายถึง บุญที่ไม่ต้องทำเอง. คราวนี้แหละ มีปัญหาเกิดขึ้นว่า บุญชนิดหลังนี้ได้แก่บุญอะไรหรือ?
อันที่จริง เมื่อว่าโดยสภาวะบุญกิริยาทั้ง ๑๐ ชื่อว่า ต้องเป็นอันตนทำแล้วนั่นแหละหาได้มีผู้อื่นมาทำให้ไม่.
แต่ในที่นี้ เมื่อตีกรอบการใช้คำนี้ให้แคบลงมาตามเนื้อเรื่องที่กำลังแสดงอยู่. ด้วยคำว่า บุญที่ทำด้วยตนเอง เป็นอันพระพุทธองค์ตรัสถึง ชนิดที่ไม่ได้ทำเอง ไว้ด้วย ซึ่งสามารถสือได้โดยไม่ต้องระบุเลย (วิธีนี้ท่านเรียกว่า อวุตตสิทธินัย สำเร็จความหมายโดยไม่ต้องกล่าว บางทีก็เรียก อัตถาปัตตินัย เข้าถึงความหมายได้ทันที)
ดังนั้น คำว่า สยํกตานิ จึงหมายถึง บุญที่ทำไว้ด้วยตนเอง ได้แก่ บุญกิริยาวัตถุ ๑๐ ที่ทำไว้ในภพนี้นั่นเอง. คำนี้จึงถือว่ามีความหมายตรงตัว เพราะทานมัย ศีลมัย ภาวนามัยเป็นต้น ซึ่งเป็นบุญชนิดที่ต้องขวนขวายทำเอาเอง มิใช่บุญที่เกิดจากอนุูโมทนาบุญที่ผู้อื่นทำแล้วอุทิศให้.
ดังนั้น บุญทั้งหลายที่นอกจากจะแบ่งโดยบุญกิริยาแล้ว ยังสามารถแบ่งเป็น ๒ อีก คือ ชนิดที่ทำด้วยตนเอง (สยํกตํ) และ ชนิดที่มีผู้อื่นอุทิศให้ ซึ่งในบางแห่งเรียกว่า ทักขิณา บ้าง เรียกว่า ปัตติ บ้าง ที่อาจเรียกโดยนัยตรงข้ามกับ สยํกตว่า ปรทาน บ้าง.
เกี่ยวกับเรื่องนี้มีหลักฐานการใช้ ดังนี้ครับ
‘‘น มตฺถิ กมฺมานิ สยํกตานิ, ทตฺวาปิ เม นตฺถิ โย อาทิเสยฺย;
อจฺฉาทนํ สยนมถนฺนปานํ, เตนมฺหิ นคฺโค กสิรา จ วุตฺตี’’ติฯ .
(บาฬีเปตวัตถุ ๒๖/๕๔๖.อัมพสักกรเปตวัตถุ)
แปล ..ข้าพระองค์มิได้มีบุญกรรมที่ทำไว้ด้วยตนเอง ทั้งไม่มีผู้ที่จะพึงถวายผ้านุ่ง ผ้าห่ม ที่นอน ข้าวและน้ำ แล้วอุทิศให้ เหตุนั้นข้าพระองค์จึงเป็นเปรตเปลือยกาย มีความเป็นอยู่อย่างฝืดเคือง
พระอรรถกถาจารย์อธิบายไว้โดยสรุปว่า เพราะบุญที่เราทำไว้ด้วยตนเองในกาลก่อน ก็ไม่มี, แม้บุญที่เขาถวายทานแก่สมณพราหมณ์แล้วจะพึงอุทิศให้แก่เราว่า ขอบุญนี้จงมีแก่ท่านผู้โน้น ซึ่งล่วงลับไปแล้ว" ดังนี้ก็ไม่มี. ฉะนั้น เครื่องนุ่งห่มเป็นต้น ที่จะพึงได้เพราะบุญกรรมทั้งสองประเภทนั้น ก็ไม่มี ด้วยเหตุนี้แหละ เราจึงเปลือยกาย มีความเป็นอยู่อย่างลำบาก แร้นแค้น.
----
ยังมีอีกแห่งหนึ่ง คือ ในพระบาฬีเวสสันตรชาตก ก็กล่าวไว้โดยนัยเดียวกัน ดังนี้
‘‘น จาหเมตมิจฺฉามิ, ยํ ปรโต ทานปจฺจยา;
สยํกตานิ ปฺุญานิ, ตํ เม อาเวณิกํ ธนํฯ
(บาฬีเนมิรราชชาดก ๒/๕๘๖)
แปล...หม่อมฉันมิได้ประสงค์สิ่งที่ผู้อื่นให้ บุญทั้งหลายที่ตนได้ทำไว้เอง เป็นทรัพย์ส่วนเฉพาะของหม่อมฉัน
มีอธิบายโดยสังเขปที่เรียบเรียงจากอรรถกถาเนมิราชชาดกว่า
สิ่งใดที่ได้มาเพราะการให้แต่ผู้อื่น ย่อมเป็นเช่นกับของที่ยืมเขามา ฉะนั้น หม่อมฉันจึงไม่ปรารถนาสิ่งนั้น. ก็บุญทั้งหลายเหล่าใดที่หม่อมฉันกระทำไว้ด้วยตน การกระทำบุญเหล่านั้นของหม่อมฉันนั้นแหละไม่สาธารณะแก่คนเหล่าอื่น.ก็จะเป็นทรัพย์ที่ติดตามหม่อมฉันไปในทุกภพ.
---
ด้วยเหตุนี้ คำว่า สยํกตานิ ในพระบาฬีนี้จึงหมายถึง บุญที่ต้องขวนขวายทำด้วยตนเอง เท่านั้น คือ ทาน ศีล ภาวนา เป็นต้น แต่ว่าบุญที่ตนไม่ได้ทำด้วยตนเองถูกละไว้ไม่ได้กล่าว แม้จะมีอยู่จริง แต่ก็มิได้ทรงประสงค์เอาในที่นี้ เหตุที่ต้องรอให้ผู้อื่นมาอุทิศให้จึงจะสำเร็จประโยชน์แก่ตน ดังนั้น สยํกตานิ บุญที่ทำด้วยตนเองเท่านั้น จึงเป็นมิตรที่ติดตามไปในทุกภพชาติ ...
---
ขออนุโมทนาสาธุ
สมภพ สงวนพานิช
15  เรื่องทั่วไป / ข่าวสารเพื่อนถึงเพื่อน / ไตรปิฎกสากล ฉบับแรกในโลก (สัชฌายะ) เมื่อ: กรกฎาคม 23, 2016, 10:49:57 pm
ไตรปิฎกสากล ฉบับแรกในโลก (สัชฌายะ)



เปิดตัวพระไตรปิฎกสากลสัชฌายะฉบับ “พระปรมาภิไธย” ภ.ป.ร. และฉบับ “พระนามาภิไธย” ส.ก. เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงครองสิริราชสมบัติครบ 70 ปี ถือเป็นฉบับแรกของโลก

วันที่ 22 พฤษภาคมนี้ มูลนิธิพระไตรปิฎกสากล ในพระสังฆราชูปถัมภ์สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชฯ ได้เปิดตัวพระไตรปิฎกสากลสัชฌายะ ฉบับ “พระปรมาภิไธย” ภ.ป.ร. และฉบับ “พระนามาภิไธย” ส.ก. เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงครองสิริราชสมบัติครบ 70 ปี” จำนวน 40 คู่ ถือเป็นพระไตรปิฎกสากลฉบับแรกของโลกที่พิมพ์ด้วยสัททะ อักขระปาฬิ ตามหลักปาฬิภาสา ซึ่งเป็นภาษาที่พระพุทธองค์ทรงใช้ในสมัยพุทธกาล โดยมีตัวแทนจากประเทศรัสเซีย อินเดีย และจีน ได้มาร่วมแสดงเจตจำนงขอรับพระราชทานพระไตรปิฎก เพื่อเป็นคลังอริยธรรมทางปัญญาของประเทศตนสืบไป


<a href="http://www.youtube.com/watch?v=8TydGibYDFA" target="_blank">http://www.youtube.com/watch?v=8TydGibYDFA</a>

ท่านผู้หญิง ดร.ทัศนีย์ บุณยคุปต์ ประธานมูลนิธิพระไตรปิฎกสากลฯ กล่าวว่า พระไตรปิฎกสากลฉบับนี้จัดทำขึ้นตามรอยพระไตรปิฎก จ.ป.ร.อักษรสยาม สมัยรัชกาลที่ 5 พ.ศ.2436 โดยได้ถอดรหัสการออกเสียงในระบบดิจิตอลให้เป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ เรียกว่า “โน้ตเสียงปาฬิ” ถือเป็นครั้งแรกในโลกที่มีการนำเทคโนโลยีที่ดีที่สุดด้านอักษรเสียงมาใช้ในงานด้านพระพุทธศาสนา และได้มีการจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญาเรียบร้อยแล้ว โดยใช้เวลาถึง 16 ปีในการจัดทำพระไตรปิฎกสากลได้สำเร็จ สมบูรณ์ ตามหลักมาตรฐานสากล

นอกจากนี้ มูลนิธิพระไตรปิฎกสากลฯ ได้ร่วมมือกับผู้เชี่ยวชาญด้านคอมพิวเตอร์ และผู้เชี่ยวชาญดุริยางคศาสตร์ด้านเสียง จัดทำเป็น “แอปพลิเคชันปาฬิ (Pali)” หรือ “แอปพลิเคชันบันทึกเสียงคำสวดพระไตรปิฎกสากล” ครั้งแรกของโลก เพื่อให้พุทธศาสนิกชนทั่วโลกได้เข้าถึงคำสอนของพระพุทธศาสนา และนำไปสู่การปฏิบัติให้เกิดความสงบสุขจนเกิดปัญญาอย่างแท้จริง

พุทธศาสนิกชนที่สนใจสามารถดาวน์โหลดผ่านระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ได้ตั้งแต่วันที่ 23 พ.ค.นี้ เป็นต้นไป.

ที่มา http://www.thaipost.net/?q=%E0%B9%84%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%9B%E0%B8%B4%E0%B8%8E%E0%B8%81%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%A5-%E0%B8%89%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B9%81%E0%B8%A3%E0%B8%81%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B9%82%E0%B8%A5%E0%B8%81
16  เรื่องทั่วไป / ข่าวสารเพื่อนถึงเพื่อน / สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ เสด็จฯ แทนพระองค์ ทรงเปลี่ยนเครื่องทรงพระแก้วมรกต เมื่อ: กรกฎาคม 21, 2016, 12:28:31 pm
สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ เสด็จฯ แทนพระองค์ ทรงเปลี่ยนเครื่องทรงพระแก้วมรกต



พิธีการเปลี่ยนเครื่องทรงองค์พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร(พระแก้วมรกต)   ที่ประดิษฐานอยู่ที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม(วัดพระแก้ว)  มี ๓ ฤดู  คือฤดูร้อน ฤดูฝน ฤดูหนาว

พิธีการเปลี่ยนเครื่องทรงจากฤดูร้อน มาเป็นฤดูฝน จะเปลี่ยนช่วงข้างแรม๑ ค่ำ เดือน ๘  (ในปีนี้มี เดือน๘ สองหนจะเปลี่ยนช่วงวันเข้าพรรษา แรม๑ ค่ำ เดือน ๘ หลัง ซึ่งตรงกับวันอังคารที่ ๓๐ กรกฎาคม ๒๕๕๐  ในพิธี พระมหากษัตริย์ ทรงเป็นพระองค์ ทรงมาเปลี่ยนเครื่องทรงองค์พระแก้วมรกตด้วยพระองค์ หากในช่วงใดทรงไม่ว่างจะมอบให้ผู้แทนพระองค์มาเป็นผู้ทรงมาเปลี่ยนเครืองทรงองค์พระแก้วมรกต ที่พระองค์ทรงโปรดเกล้าฯให้มาเป็นผู้ทรงเปลี่ยนในปีนี้องค์พระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯมาเป็นผู้ทรงเปลี่ยนเครื่องทรงจากฤดูร้อน มาเป็นฤดูฝน

การเปลี่ยนเครื่องทรงฤดูฝนจะอยู่ไป ๓ -๔เดือน จะเปลี่ยนเครื่องทรงฤดูฝนมาเป็นฤดูหนาว แรม๑ ค่ำ เดือน๑๒  แล้วจากฤดูหนาวทรงเครืองฤดูหนาวไปจนถึง ๓ -๔ เดือน  เมื่อกาลเวลาไปถึงแรม๑ค่ำ เดือน ๔ จะทรงเปลี่ยนเครื่องทรงฤดูหนาวมาเป็นฤดูร้อน และในรอบหนึ่ง ปีก็เวียนไปตามกาลเวลาไปเป็นวัฎจักรจากเครื่องทรงฤดูร้อน ก็มาเป็นฤดูฝนอีกครั้งในแรม๑ ค่ำ เดือน ๘ ในปีนี้มีเดือน ๘ สองหนจะมาเปลี่ยนแรม๑ ค่ำ เดือน ๘ หลังซึ่งตรงกับวันเข้าพรรษา  องค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ฯ เสด็จมาเปลี่ยนเครืองทรงพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร(พระแก้วมรกต) เป็นเครื่องทรงฤดูฝน

<a href="http://www.youtube.com/watch?v=VzajXWPGi4U" target="_blank">http://www.youtube.com/watch?v=VzajXWPGi4U</a>


17  เรื่องทั่วไป / ข่าวสารเพื่อนถึงเพื่อน / เชิญร่วมปฏิบัติธรรม ณ วัดราชสิทธาราม วันสิงหาราชินีศุกร์ที่ ๑๒ ถึง ๑๔ สิงหาคม เมื่อ: กรกฎาคม 20, 2016, 09:09:13 pm
ปฏิบัติธรรมวัน สิงหาราชินี
วันศุกร์ที่ ๑๒ สิงหาคม ๒๕๕๙ ขึ้น ๙ ค่ำ เดือน ๙
เวลา 09.30น.- 10.00น. ลงทะเบียน รับอาหารเช้า- สวดมนต์เช้า-ขึ้นกรรมฐาน
เวลา 10.30 น -16.30น. นั่งสมาธิ- สวดมนต์เย็น
วันเสาร์ที่ ๑๓ สิงหาคม ๒๕๕๙ ขึ้น ๑๐ ค่ำ เดือน ๙
เวลา 06.00น.- 08.00 น รับประทานอาหารเช้า- สวดมนต์ในพระอุโบสถ
เวลา 10.30 น -16.30น. นั่งกรรมฐาน สวดมนต์เย็นในอุโบสถ
วันอาทิตย์ที่ ๑๔ สิงหาคม ๒๕๕๙ ขึ้น ๑๑ ค่ำ เดือน ๙
เวลา 06.00น.- 08.00 น รับประทานอาหารเช้า- สวดมนต์ในพระอุโบสถ
เวลา 10.30 น -16.30น. นั่งกรรมฐาน สวดมนต์เย็นในพระอุโบสถ

<a href="http://www.youtube.com/watch?v=J4BLgN-4uNQ" target="_blank">http://www.youtube.com/watch?v=J4BLgN-4uNQ</a>

<a href="http://www.youtube.com/watch?v=cascWRNCSdY" target="_blank">http://www.youtube.com/watch?v=cascWRNCSdY</a>
18  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / บาลีภาษาน่ารู้ อชฺช วสฺสูปนายิกทิวโส ...วันนี้ วันเข้าพรรษา เมื่อ: กรกฎาคม 20, 2016, 10:02:01 am
อชฺช วสฺสูปนายิกทิวโส
...วันนี้ วันเข้าพรรษา
...แปลยกศัพท์ : อชฺช อ.วันนี้ วสฺสูปนายิกทิวโส เป็นวันคือดิถีเป็นที่น้อมเข้าไปซึ่งกาลฝน (โหติ) ย่อมเป็น

-------------------------------------[อธิบายคำศัพท์]
1. วสฺสูปนายิกทิวส(ปุํ.,นปุํ.) = วันคือดิถีเป็นที่น้อมเข้าไปซึ่งกาลฝน วันเข้าพรรษา
...มาจาก วสฺสูปนายิกา(อิต.)=ดิถีเป็นที่น้อมเข้าไปซึ่งกาลฝน, ทิวส(ปุํ.,นปุํ.)=วัน ; สำเร็จรูปด้วยวิธีสมาสท้อง คือ เป็นอวธารณบุพพบท กัมมธารยสมาส มีทุติยาตัปปุริสสมาส เป็นท้อง
...1. ทุ. ตัป. ---วิ. วสฺสํ อุปนายิกา วสฺสูปนายิกา(ดิถี). ---ดิถีเป็นที่น้อมไป ซึ่งการฝน ชื่อว่า วัสสูปนายิกา
...2. อว. บุพ. กัม. ---วิ. วสฺสูปนายิกา เอว ทิวโส วสฺสูปนายิกทิวโส.
อ.ดิถีเป็นที่น้อมเข้าไปซึ่งกาลฝนนั่นเทียว เป็นวัน ชื่อว่า วัสสูปนายิกทิวสะ [วันคือดิถีเป็นที่น้อมเข้าไปซึ่งกาลฝน]
2.วสฺสูปนายิกา(อิต.) = ดิถีเป็นที่น้อมเข้าไปซึ่งกาลฝน
...มาจาก วสฺส(ปุํ.) = หน้าฝน กาลฝน ฤดูฝน, อุป(อัพ.อุป.) = เข้าไป ใกล้ มั่น เป็นบทหน้า, นี ธาตุในการนำไป ลง ณฺวุ ปัจจัยในนามกิตก์---พฤทธิ์ อี ของธาตุเป็น เอ แปลง เอ เป็น อาย, แปลง ณฺวุ เป็น อก ลง อิ อาคมและ อา ปัจจัยอิตถีลิงค์



...วิ. วสฺสํ อุปเนนฺติ อุปคจฺฉนฺติ เอตฺถาติ วสฺสูปนายิกา.
(อ.พระภิกษุ ท.) ย่อมน้อมเข้าไป คือว่า ย่อมเข้าถึง ซึ่งกาลฝน ใน(ดิถี)นั่น เพราะเหตุนั้น (อ.ดิถีนั้น) ชื่อว่า วัสสูปนายิกา [ดิถีเป็นที่น้อมเข้าไปซึ่งกาลฝน(ของภิกษุ)]
19  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / บาลีภาษาน่ารู้ วสฺสิกสาฏิกา วสฺสิกสาฏก ผ้าอาบน้ำฝน เมื่อ: กรกฎาคม 20, 2016, 09:51:36 am
วสฺสิกสาฏิกา(อิตถีลิงค์) วสฺสิกสาฏก (นปุํงสกลิงค์,ปุํลิงค์ )
...ความหมาย : ผ้าอาบน้ำฝน
...แปลตามศัพท์ : ผ้าที่พระศาสดาทรงอนุญาตให้ภิกษุใช้นุ่งอาบในฤดูฝน
...รูปวิเคราะห์ : วสฺสิกา สาฏิกา วสฺสิกสาฏิกา.
......คำแปลรูปวิเคราะห์ : สาฏิกา อ.ผ้า วสฺสิกา อันอันพระศาสดาทรงอนุญาตแล้วแก่ภิกษุเพื่ออันนุ่งแล้วจึงอาบในฤดูฝน วสฺสิกสาฏิกา ชื่อว่า วัสสิกสาฏิกา [ผ้าอันพระศาสดาทรงอนุญาตแล้วแก่ภิกษุเพื่ออันนุ่งแล้วจึงอาบในฤดูฝน]



......สัมพันธ์รูปวิเคราะห์(แบบสนามหลวง) : วสฺสิกา วิเสสน ของ สาฏิกา ๆ ลิงคตฺถ วสฺสิกสาฏิกา สญฺญาวิเสสน ของ สาฏิกา [หรือ วสฺสิกา ก็ดี วสฺสิกสาฏิกา ก็ดี วิเสสน ของ สาฏิกา ๆ ลิงคตฺถ]
...มาจาก วสฺสิกา*(วิเสสนะ) = อันพระศาสดาทรงอนุญาตแล้วแก่ภิกษุเพื่ออันนุ่งแล้วจึงอาบในฤดูฝน, สาฏิกา(อิตถีลิงค์) = ผ้า ผ้าสาฎก สำเร็จรูปด้วยวิธีสมาส คือ เป็นวิเสสนบุพพบท กัมมธารยสมาส
*ศัพท์ว่า "วสฺสิกา" มีความหมายดังข้างต้น เฉพาะในบริบทนี้ มาจาก วสฺส(ปุํลิงค์) = ฤดูฝน ลง ณิก ปัจจัยในตรัตยาทิตัทธิต มีรูปวิเคราะห์ว่า วสฺเส สตฺถารา ภิกฺขูนํ นิวาเสตฺวา นฺหานาย อนุญฺญาตา วสฺสิกา(สาฏิกา).
หมายเหตุ :
---พระภิกษุจะแสวงหาได้ในระยะเวลา ๑ เดือน ตั้งแต่แรม ๑ ค่ำ เดือน ๗ ถึงขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๘ จะทำนุ่งได้ในเวลากึ่งเดือน ตั้งแต่ขึ้น ๑ ถึง ๑๕ ค่ำเดือน ๘ และอธิษฐานใช้สอยได้ ๔ เดือน ตั้งแต่แรม ๑ ค่ำ เดือน ๘ ถึงขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๑๒ (ที่มา : ปัตตวรรค สิกขาบทที่ ๔ แห่งนิสสัคคิยปาจิตตีย์)
---ขนาดผ้าอาบน้ำฝน พึงทำให้ไดประมาณ คือ โดยความยาว ๖ คืบพระสุคต โดยความกว้าง ๒ คืบพระสุคตครึ่ง (ที่มา : รตนวรรคที่ ๙ สิกขาบทที่ ๙ แห่งปาจิตตีย์)
***๑ คืบพระสุคตเท่ากับ ๒๕ เซนติเมตร (ที่มา : พจนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสน์ ชุด คำวัด : พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช) ป.ธ. ๙ )
20  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / ภาษาบาลีน่ารู้ การใช้คำพูดอนุโมทนา‬ เมื่อ: กรกฎาคม 19, 2016, 01:58:16 pm
การใช้คำพูดอนุโมทนา‬
เมื่อเราเห็นใครทำสิ่งที่ดี หากเราต้องการแสดงความชื่นชมในการทำความดีของเขา ที่ถูก ควรใช้คำว่า
"สาธุ สาธุ" (หรือใช้ ๓ ครั้งว่า สาธุ สาธุ สาธุ)
หรือ "อนุโมทนา สาธุ สาธุ"
หรือ "สาธุ สาธุ อนุโมทามิ"



***การอนุโมทนาว่า สาธุ ครั้งเดียว ไม่ถูกตามหลักการใช้และไม่สอดคล้องกับตัวอย่างในพระบาฬีเป็นต้น เพราะถ้าจะอนุโมทนา ต้องใช้ สาธุ ๒-๓ ครั้ง เรียกว่า ‪‎อาเมฑิตะ‬ (สาธุ ครั้งเดียวใช้ในการรับคำเป็นต้น)
(ส่วนคำว่า อนุโมทนามิ ไม่ถูกหลักไวยากรณ์บาฬีนะ ^^)
‪‎อนุโมทามิ‬ แปลว่า ผมอนุโมทนาด้วยครับ / ดิฉันอนุโมทนาด้วยค่ะ / อาตมาอนุโมทนาด้วยนะ / โยมอนุโมทนาด้วยเจ้าค่ะ (แปลให้เหมาะสมต่อเพศและฐานะ)
‪‎อนุโมทนา‬ หมายถึง การชื่นชมยินดีในบุญที่ผู้อื่นทำ ต่างจาก ‪‎มุทิตา‬ ซึ่งหมายถึงการชื่นชมยินดีในผลหรือในลาภที่ผู้อื่นได้ (อนุโมทนา = ยินดีในเหตุ, มุทิตา = ยินดีในผล)



***การอนุโมทนาบุญที่ผู้อื่นทำ เป็นการทำบุญอย่างหนึ่งเรียกว่า ‪‎ปัตตานุโมทนามัย‬ การที่เราฝึกตนให้เป็นผู้มีใจมุทิตาและอนุโมทนาได้บ่อยๆ จะช่วยให้เราห่างไกลจากใจที่อิจฉาริษยาผู้อื่น เป็นความจริงว่า ความอิจฉาริษยาผู้อื่นนั้นทำให้เกิดทุกข์ ดังนั้น ผู้ที่มีใจดีไม่อิจฉาริษยาใคร มีแต่จะพลอยยินดีด้วยย่อมเป็นผู้มีความสุขได้ง่ายและมีความสุขอยู่เป็นประจำ
จิรํ ติฏฺฐตุ สทฺธมฺโม
ขอพระสัทธรรมจงดำรงมั่นตลอดกาลนาน

พระมหาภาคภูมิ สีลานนฺโท
21  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / บาลีวันละคำ‬ เอ้เต เมื่อ: กรกฎาคม 19, 2016, 01:48:59 pm
‪บาลีวันละคำ‬
เอ้เต
อ่านตรงตัวว่า เอ้-เต
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า -
“เอ้เต : (คำวิเศษณ์) นั่งหรือนอนปล่อยตัวตามสบายมีท่าสง่าผ่าเผย.”
พจน.54 ไม่ได้บอกที่ไปที่มาของคำนี้ แต่ผู้เขียนบาลีวันละคำได้ยินมาว่า คำว่า “เอ้เต” มีที่มาจากบทสวดมนต์ชื่อ “อาฏานาฏิยปริตร” ที่ขึ้นต้นว่า “วิปสฺสิสฺส นมตฺถุ จกฺขุมนฺตสฺส สิรีมโต” (วิปัสสิสสะ นะมัตถุ จักขุมันตัสสะ สิรีมะโต)
ท่อนที่ ๒ ของพระปริตรบทนี้ขึ้นต้นว่า “เอเต จญฺเญ จ สมฺพุทฺธา” (เอเต จัญเญ จะ สัมพุทธา) เวลาพระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์ในงานมงคลต่างๆ ท่านมักตัดลัดมาขึ้นตรงท่อนที่ ๒ นี้
พระภิกษุสมัยก่อนมีอัธยาศัยในการท่องบ่นบทสวดมนต์ให้จำขึ้นใจ (สมัยนี้กางหนังสือสวด) เมื่อมีเวลาว่างท่านก็มักจะทบทวนบทสวดมนต์อยู่เสมอ
ตามปกติเวลาสวดมนต์ต้องครองผ้าเรียบร้อยและนั่งสวดด้วยกิริยาเคารพ แต่ในเวลาทบทวนหรือซ้อมสวดอนุโลมให้ทำตัวตามสบายได้ พระท่านจึงมักนั่งสวดในอิริยาบถผ่อนคลาย บางทีก็กึ่งนั่งกึ่งนอนลักษณะอย่างที่เรียกว่า “นั่งเอกเขนก”
เมื่อนั่งเอกเขนกซ้อมสวดบท “เอเต จัญเญ...” ใครเห็นหรือได้ยินก็พูดกันว่า “นั่งเอ้เต” (เอ- ออกเสียงเป็น เอ้- แบบเดียวกับ เอกา- พูดเป็น เอ้กา-) คือนั่งสวดเอเต แล้วความหมายก็กลายเป็น “นั่งหรือนอนปล่อยตัวตามสบายมีท่าสง่าผ่าเผย” ดังที่ พจน.54 ให้คำจำกัดความไว้
ผู้เขียนบาลีวันละคำยังได้ยิน “นิทานชาววัด” เล่าเสริมเพื่อความครึกครื้นสืบกันมาว่า พระรูปหนึ่งกุฏิอยู่ใกล้สระน้ำ ตอนเย็นๆ ท่านก็ซ้อมบท “เอเต จัญเญ...” ด้วยเสียงอันดังอยู่ในกุฏิ สวดซ้ำอยู่แต่ เอเต จัญเญ ๆ ๆ เพื่อให้คล่องปาก
สีกาคนหนึ่ง ชื่อจัน มาตักน้ำในวัด ได้ยินแต่ เอเต จัญเญ ๆ ๆ ก็เข้าใจว่าพระล้อชื่อตน ล้อไม่หยุดสักที ขัดใจขึ้นมาจึงตะโกนขึ้นว่า “จันพ่อจันแม่นะสิ”
นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า ทำความดี บางทีก็ขัดใจคน
..........
ขออัญเชิญบท “อาฏานาฏิยปริตร” ท่อนที่ขึ้นต้นว่า เอเต จัญเญ บางส่วน ทั้งคำบาลี คำอ่าน และคำแปล มาเสนอไว้ที่นี้เพื่อเป็นการเจริญพุทธานุสติ
อ่านแล้วจะรู้สึกได้ว่านักปราชญ์ท่านพรรณนาคุณของพระพุทธเจ้าไว้ไพเราะเพราะพริ้งยิ่งนัก เพราะเกิดจากน้ำใจที่ผ่องใสอันมีพระพุทธคุณเป็นอารมณ์
ขอชาวเราจงเกิดสติเต็มเปี่ยมในหัวใจเช่นนั้นโดยทั่วกัน เทอญ
..........
เอเต จญฺเญ จ สมฺพุทฺธา.....อเนกสตโกฏโย
(เอเต จัญเญ จะ สัมพุทธา อะเนกะสะตะโกฏะโย)
-พระพุทธเจ้าเหล่านี้ก็ดี เหล่าอื่นก็ดี
ซึ่งนับจำนวนได้หลายร้อยโกฏิ
สพฺเพ พุทฺธา อสมสมา.....สพฺเพ พุทฺธา มหิทฺธิกา
(สัพเพ พุทธา อะสะมะสะมา สัพเพ พุทธา มะหิทธิกา)
-พระพุทธเจ้าเหล่านั้นทั้งหมดเป็นผู้ทรงเสมอกันกับพระพุทธเจ้า
ผู้ทรงหาใครเสมอมิได้ พระพุทธเจ้าทุกๆ พระองค์ทรงมีมหิทธิฤทธิ์
สพฺเพ ทสพลูเปตา.....เวสารัชเชหุปาคตา
(สัพเพ ทะสะพะลูเปตา เวสารัชเชหุปาคะตา)
-ทุกๆ พระองค์ทรงประกอบด้วยทศพลญาณ
ทรงประกอบด้วยเวสารัชญาณ
สพฺเพ เต ปฏิชานนฺติ.....อาสภณฺฐานมุตฺตมํ
(สัพเพ เต ปะฏิชานันติ อาสะภัณฐานะมุตตะมัง)
-ทุกๆ พระองค์ทรงปฏิญญาพระองค์ในฐานะผู้มีคุณธรรมอันสูงสุด
สีหนาทํ นทนฺเต เต.....ปริสาสุ วิสารทา
(สีหะนาทัง นะทันเต เต ปะริสาสุ วิสาระทา)
-ทรงเป็นผู้องอาจ บันลือกระแสธรรมท่ามกลางพุทธบริษัท
ดุจราชสีห์บันลือสีหนาท
พฺรหฺมจกฺกํ ปวตฺเตนฺติ.....โลเก อปฺปฏิวตฺติยํ
(พ๎รัห๎มะจักกัง ปะวัตเตนติ โลเก อัปปะฏิวัตติยัง)
-ยังพรหมจักรให้เป็นไป ไม่มีใครคัดค้านได้ในโลก
อุเปตา พุทฺธธมฺเมหิ.....อฏฺฐารสหิ นายกา
(อุเปตา พุทธะธัมเมหิ อัฏฐาระสะหิ นายะกา)
-ทรงประกอบด้วยพุทธธรรม ๑๘ ประการ
ทรงเป็นผู้นำแห่งชาวโลก
ทฺวตฺตึสลกฺขณูเปตา-.....สีตฺยานุพฺยญฺชนาธรา
(ท๎วัตติงสะลักขะณูเปตา สีต๎ยานุพ๎ยัญชะนาธะรา)
-ทรงประกอบด้วยมหาบุรุษลักษณะ ๓๒ ประการ
และอนุพยัญชนะ ๘๐ ประการ
พฺยามปฺปภาย สุปฺปภา.....สพฺเพ เต มุนิกุญฺชรา
(พ๎ยามัปปะภายะ สุปปะภา สัพเพ เต มุนิกุญชะรา)
-ทรงมีพระรัศมีอันงดงาม แผ่ออกจากพระวรกายโดยรอบข้างละวา
ทุกๆ พระองค์ทรงเป็นพระมุนีผู้ประเสริฐ
พุทฺธา สพฺพญฺญุโน เอเต.....สพฺเพ ขีณาสวา ชินา
(พุทธา สัพพัญญุโน เอเต สัพเพ ขีณาสะวา ชินา)
-ทุกๆ พระองค์ทรงเป็นพระสัพพัญญู
เป็นพระชีณาสพ เป็นผู้ชำนะซึ่งพญามาร
มหปฺปภา มหาเตชา.....มหาปญฺญา มหพฺพลา
(มะหัปปะภา มะหะเตชา มะหาปัญญา มะหัพพะลา)
-ทรงมีพระรัศมีและทรงมีพระเดชมาก
ทรงมีพระปัญญาและพระกำลังมาก
มหาการุณิกา ธีรา.....สพฺเพสานํ สุขาวหา
(มะหาการุณิกา ธีรา สัพเพสานัง สุขาวะหา)
-ทรงมีพระมหากรุณา และทรงเป็นจอมปราชญ์
ทรงนำความสุขมาให้แก่สัตว์ทั้งปวง
ทีปา นาถา ปติฏฺฐา จ.....ตาณา เลณา จ ปาณินํ
(ทีปา นาถา ปะติฏฐา จะ ตาณา เลณา จะ ปาณินัง)
-ทรงเป็นดุจเกาะ เป็นดุจที่พึ่ง และเป็นดุจที่พำนักอาศัย
ทรงเป็นดุจที่ต้านทานซึ่งภัยทั้งปวง เป็นดุจที่หลีกเร้นของสัตว์ทั้งหลาย
คตี พนฺธู มหสฺสาสา.....สรณา จ หิเตสิโน
(คะตี พันธู มะหัสสาสา สะระณา จะ หิเตสิโน)
-ทรงเป็นที่ส่งใจถึง ทรงเป็นพวกพ้อง ทรงเป็นที่อุ่นใจอย่างยิ่ง
ทรงเป็นสรณะและเป็นผู้แสวงสิ่งเอื้อเกื้อกูล
สเทวกสฺส โลกสฺส.....สพฺเพ เอเต ปรายนา
(สะเทวะกัสสะ โลกัสสะ สัพเพ เอเต ปะรายะนา)
-ทุกๆ พระองค์ทรงเป็นที่มุ่งหวังในเบื้องหน้า
แก่ประชาชาวโลกพร้อมทั้งเทวดา
เตสาหํ สิรสา ปาเท.....วนฺทามิ ปุริสุตฺตเม
(เตสาหัง สิระสา ปาเท วันทามิ ปุริสุตตะเม)
-ข้าพระองค์ขอถวายอภิวาทพระบาทยุคล
ของพระพุทธเจ้าทั้งหลายเหล่านั้น ด้วยเศียรเกล้า
วจสา มนสา เจว.....วนฺทาเมเต ตถาคเต
(วะจะสา มะนะสา เจวะ วันทาเมเต ตะถาคะเต)
-พร้อมทั้งวาจาและด้วยดวงใจ ขอถวายอภิวาท -
ซึ่งพระตถาคตเจ้าทั้งหลายเหล่านั้นผู้ทรงเป็นอุดมบุรุษ
สยเน อาสเน ฐาเน.....คมเน จาปิ สพฺพทา
(สะยะเน อาสะเน ฐาเน คะมะเน จาปิ สัพพะทา)
-ขอถวายอภิวาทในกาลทุกเมื่อ
ทั้งยามนอน ยามนั่ง ยามยืน และแม้ในยามเดิน
สทา สุเขน รกฺขนฺตุ.....พุทฺธา สนฺติกรา ตุวํ
(สะทา สุเขนะ รักขันตุ พุทธา สันติกะรา ตุวัง)
-ขอพระพุทธเจ้าผู้ทรงสร้างสันติจงรักษาท่านให้มีความสุข
ตลอดกาลทุกเมื่อเถิด
เตหิ ตฺวํ รกฺขิโต สนฺโต.....มุตฺโต สพฺพภเยน จ
(เตหิ ต๎วัง รักขิโต สันโต มุตโต สัพพะภะเยนะ จะ)
-ท่านเป็นผู้ที่พระพุทธเจ้าทั้งหลายทรงรักษาแล้ว
จงเป็นผู้พ้นจากภัยทั้งปวง
สพฺพโรควินิมุตฺโต.....สพฺพสนฺตาปวชฺชิโต
(สัพพะโรคะวินิมุตโต สัพพะสันตาปะวัชชิโต)
-พ้นจากโรคทั้งปวง
หายจากความเดือดร้อนทั้งปวง
สพฺพเวรมติกฺกนฺโต.....นิพพฺโต จ ตุวํ ภว.
(สัพพะเวระมะติกกันโต นิพพุโต จะ ตุวัง ภะวะ)
-ล่วงเสียซึ่งเวรทั้งปวง
และดับทุกข์ทั้งปวงได้ เทอญ.
..........
หมายเหตุ : บทสวดและคำแปลคัดมาจาก -http://www.watpamahachai.net/watpamahachai-68_11.htm
คำแปลนั้นไม่ทราบว่าเป็นสำนวนแปลของท่านผู้ใด ผู้เขียนบาลีวันละคำขออนุญาตปรับแต่งบ้างเล็กน้อยเพื่อให้กะทัดรัดชัดเจนขึ้น ผู้ต้องการอ่านบทเต็มๆ เชิญตามไปอ่านได้ตามอัธยาศัย
........
ดูก่อนภราดา!
นอนสวดมนต์เป็นกิริยาที่ผู้หนักในธรรมไม่พึงกระทำ
แต่กระนั้น -
: นอนสวดมนต์
: ก็ยังดีกว่าลุกขึ้นไปปล้นเขากิน

นาวาเอก ทองย้อย แสงสินชัย
22  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / บาลีวันละคำ‬ ถือเอ้กา เมื่อ: กรกฎาคม 19, 2016, 01:46:54 pm
‪บาลีวันละคำ‬
ถือเอ้กา
ถืออะไร?
“ถือเอ้กา” อ่านว่า ถือ-เอ้-กา
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า -
“เอกา, เอ้กา : (คำวิเศษณ์) หนึ่ง, คนเดียว, โดดเดี่ยว; ถือกินข้าวหนเดียวในเวลาระหว่างเช้าถึงเที่ยงเป็นกิจวัตร เรียกว่า ถือเอ้กา.”
“เอ้กา” ตัดมาจากคำเต็มว่า “เอกาสนิกังคะ” (เอ-กา-สะ-นิ-กัง-คะ) บาลีเขียน “เอกาสนิกงฺค”
“เอกาสนิกงฺค” แยกศัพท์เป็น เอก + อาสนิก + องฺค
(๑) “เอก”
บาลีอ่านว่า เอ-กะ รากศัพท์มาจาก อิ (ธาตุ = ไป, เป็นไป, ตั้งอยู่) + ณฺวุ ปัจจัย, แผลง อิ เป็น เอ, แปลง ณฺวุ เป็น อก
: อิ > เอ + ณฺวุ > อก = เอก แปลตามศัพท์ว่า (1) “ไปตามลำพัง” (คือไม่มีเพื่อนไปด้วย) (2) “ดำรงอยู่ในความเป็นหนึ่งเดียวเพราะไร้ผู้เหมือนกัน”
“เอก” หมายถึง “หนึ่ง” ใช้ใน 2 สถานะ คือ -
(1) เป็นสังขยา (คำบอกจำนวน) เช่น “ชายหนึ่งคน” เน้นที่จำนวน 1 คน = มุ่งจะกล่าวว่าชายที่เอ่ยถึงนี้มีเพียง “หนึ่งคน”
(2) เป็นคุณศัพท์ เช่น “ชายคนหนึ่ง” ไม่เน้นที่จำนวน = มุ่งจะกล่าวถึงชายคนใดคนหนึ่งเท่านั้น
(๒) “อาสนิก” (อา-สะ-นิ-กะ) ประกอบด้วย อาสน + อิก ปัจจัย
๑) “อาสน” (อา-สะ-นะ) รากศัพท์มาจาก -
(1) อาสฺ (ธาตุ = นั่ง; ตั้งไว้) + ยุ ปัจจัย, แปลง ยุ เป็น อน (อะ-นะ)
: อาสฺ + ยุ > อน = อาสน แปลตามศัพท์ว่า (1) “การนั่ง” “ที่นั่ง” (2) “ที่เป็นที่ตั้ง”
(2) อา (แทนศัพท์ “อาคนฺตฺวา” = มาแล้ว) + สิ (ธาตุ = นอน), ยุ ปัจจัย, แปลง ยุ เป็น อน (อะ-นะ), ลบ อิ ที่ สิ (สิ > ส, ภาษาไวยากรณ์ว่า “ลบสระหน้า”)
: อา + สิ = อาสิ > อาส + ยุ > อน = อาสน แปลตามศัพท์ว่า “ที่เป็นที่มานอน” (คือแท่นหรือเตียงนอน)
“อาสน” หมายถึง การนั่ง, การนั่งลง, ที่นั่ง, บัลลังก์ (sitting, sitting down; a seat, throne)
อาสน + อิก = อาสนิก แปลตามศัพท์ว่า “ผู้อยู่ ณ อาสนะ” คือผู้นั่งอยู่ ณ ที่นั่ง
(๓) “องฺค” (อัง-คะ) รากศัพท์มาจาก องฺคฺ (ธาตุ = ไป, ถึง, เป็นไป; รู้) + อ ปัจจัย
: องฺคฺ + อ = องค แปลตามศัพท์ว่า (1) “ร่างที่เดินได้” (2) “เหตุเป็นเครื่องรู้ที่เกิด” คือทำให้รู้ต้นกำเนิด (3) “ส่วนอันเขารู้ว่าเป็นอวัยวะ”
“องฺค” ในบาลีหมายถึง ส่วนของร่างกาย, แขนขา, ชิ้นส่วน, ส่วนประกอบ, เหตุ, เครื่องหมาย (part of the body, a limb, part, member, cause, reason, status symbol); ส่วนประกอบของทั้งหมด หรือของระบบ หรือขององค์ (a constituent part of a whole or system or collection)
: เอก + อาสนิก = เอกาสนิก แปลว่า “ผู้อยู่ ณ อาสนะเดียว”
พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ แปลคำนี้ว่า one who keeps to himself
: เอกาสนิก + องฺค = เอกาสนิกงฺค แปลว่า “องค์แห่งผู้อยู่ ณ อาสนะเดียว” หมายถึง ภิกษุผู้ถือนั่งฉัน ณ อาสนะเดียวเป็นวัตร คือฉันวันละมื้อเดียว ลุกจากที่แล้วไม่ฉันอีก (one-sessioner’s Practice)
เอกาสนิกงฺค > เอกาสนิกังคะ เป็นธุดงค์ข้อหนึ่งในบรรดาธุดงค์ 13 ข้อ (ดูเพิ่มเติมที่ “ธุดงค์” บาลีวันละคำ (993) 5-2-58)
เอกาสนิกังคะ (เอ-กา-สะ-นิ-กัง-คะ) เรียกไปเรียกมา ตัดเหลือแค่ “เอกา” แล้วออกเสียงแบบคนเก่าเป็น “เอ้กา”
พระรูปไหน (หรือแม้แต่คนวัดๆ ทั่วไป) ถือฉันมื้อเดียว เรียกว่า “ถือเอ้กา” ก็เป็นอันเข้าใจกัน
: คนส่วนมากไม่ได้ตายเพราะไม่มีจะกิน
: แต่ตายเพราะไม่รู้จักกิน

นาวาเอก ทองย้อย แสงสินชัย
23  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / ‪บาลีวันละคำ‬ ชุมนุม เมื่อ: กรกฎาคม 19, 2016, 01:44:38 pm
‪บาลีวันละคำ‬
ชุมนุม
บาลีว่าอย่างไร
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า -
“ชุมนุม : (คำนาม) กอง, หมู่, พวก. (คำกริยา) ประชุม, รวมกัน.”
“ชุมนุม” ถ้าเป็นคำนาม ภาษาบาลีมีคำใช้หลายคำ เช่น เช่น สมูห สนฺนิปาต สโมสรณ สโมธาน
(๑) “สมูห” (สะ-มู-หะ) รากศัพท์มาจาก สํ (แทนศัพท์ว่า “สมฺมา” = โดยชอบ, โดยพิเศษ; รวมกัน) อูหฺ (ธาตุ = นับ; ตั้งอยู่; รู้) + ณ ปัจจัย, ลบ ณ, แปลงนิคหิตที่ สํ เป็น มฺ (สํ > สม)
: สํ > สม + อูหฺ = สมูห + ณ = สมูหณ > สมูห (ปุงลิงค์) แปลตามศัพท์ว่า (1) “หมู่ที่นับกันโดยชอบและโดยพิเศษ” (2) “หมู่ที่ดำรงอยู่กับส่วนย่อย” (3) “หมู่อันเขารู้กันดีว่าเป็นส่วนเดียวกัน” หมายถึง กอง, กลุ่ม, การรวมกัน (multitude, mass, aggregation)
(๒) “สนฺนิปาต” (สัน-นิ-ปา-ตะ) รากศัพท์มาจาก สํ (คำอุปสรรค = พร้อมกัน) + นิ (คำอุปสรรค = ลง) + ปตฺ (ธาตุ = ตก) + ณ ปัจจัย, ลบ ณ, แปลงนิคหิตที่ สํ เป็น น (สํ > สนฺ), ยืดเสียง อะ ที่ ป-(ตฺ) เป็น อา ( ปตฺ > ปาต)
: สํ > สนฺ + นิ = สนฺนิ + ปตฺ = สนฺนิปตฺ + ณ = สนฺนิปตณ > สนฺนิปต > สนฺนิปาต (ปุงลิงค์) แปลตามศัพท์ว่า “การตกลงพร้อมกันโดยไม่เหลือ” หมายถึง การรวมกัน, การมาบรรจบกัน, การประชุม, การชุมนุมกัน, ที่ประชุม. เรียกทับศัพท์ว่า การสันนิบาต (union, coincidence, assemblage, assembly, congregation)
“สนฺนิปาต” คือที่ใช้ในภาษาไทยว่า “สันนิบาต”
(๓) “สโมสรณ” (สะ-โม-สะ-ระ-นะ) รากศัพท์มาจาก สํ (ร่วมกัน, พร้อมกัน) + โอ (ลง) + สรฺ (ธาตุ = ไป, เป็นไป) + ยุ ปัจจัย, แปลงนิคหิตที่ สํ เป็น ม (สํ > สม), แปลง ยุ เป็น อน (อะ-นะ), แปลง น เป็น ณ (อน > อณ)
: สํ > สม + โอ = สโม + สรฺ = สโมสร + ยุ > อน = สโมสรน > สโมสรณ (นปุงสกลิงค์) แปลตามศัพท์ว่า “การไปรวมกัน”
“สโมสรณ” มีรากศัพท์เดียวกับคำว่า “สโมสร” ที่ใช้ในภาษาไทย
(๔) “สโมธาน” (สะ-โม-ทา-นะ) รากศัพท์มาจาก สํ (สมฺมา = ด้วยดี) + โอ (ลง) + ธา (ธาตุ = ทรงไว้) + ยุ ปัจจัย, แปลงนิคหิตที่ สํ เป็น ม (สํ > สม), แปลง ยุ เป็น อน (อะ-นะ)
: สํ > สม + โอ = สโม + ธา = สโมธา + ยุ > อน = สโมธาน (นปุงสกลิงค์) แปลตามศัพท์ว่า “การรวมกันด้วยดี”
“สโมสรณ” และ “สโมธาน” มีความหมายเหมือนกัน คือ การประชุม, การชุมนุม, การรวมกัน (coming together, meeting, union, junction)
คำนามเหล่านี้ ถ้าเป็นคำกริยา (ปฐมบุรุษ เอกพจน์) รูปจะเปลี่ยนเป็นดังนี้ -
สมูห = สมูหติ (สะ-มู-หะ-ติ)
สนฺนิปาต = สนฺนิปตติ (สัน-นิ-ปะ-ตะ-ติ)
สโมสรณ = สโมสรติ (สะ-โม-สะ-ระ-ติ)
สโมธาน = สโมธาเนติ (สะ-โม-ทา-เน-ติ)
การชุมนุมบางเหตุการณ์ เราคุ้นคำอังกฤษว่า mob (ม็อบ)
พจนานุกรมอังกฤษ-บาลี แปล mob เป็นบาลีว่า -
(1) janasamūha ชนสมูห (ชะ-นะ-สะ-มู-หะ) = หมู่คน
(2) kalahakārī parisā กลหการี ปริสา (กะ-ละ-หะ-กา-รี ปะ-ริ-สา) = กลุ่มคนที่ก่อความวุ่นวาย
ในเมืองไทย นอกจากประชาชนธรรมดาจะออกมาชุมนุมกันแล้ว บางกรณีพระสงฆ์ก็ออกมาชุมนุมด้วย ซึ่งเป็นที่ถกเถียงกันเสมอมาว่า เหมาะสมหรือไม่เหมาะสม
: ชุมนุมกันทำบุญ แม้เทวดาก็ยังมากราบ
: ชุมนุมกันทำบาป แม้แต่สัตว์นรกก็เมิน

นาวาเอก ทองย้อย แสงสินชัย
24  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / บาลีวันละคำ‬ บวชเนกขัมมะ เมื่อ: กรกฎาคม 19, 2016, 01:42:18 pm
‪บาลีวันละคำ‬
บวชเนกขัมมะ
“เนกขัมมะ” คืออะไร
“เนกขัมมะ” บาลีเขียน “เนกฺขมฺม” (เนก-ขำ-มะ) รากศัพท์มาจาก นิ (คำอุปสรรค = ออก) + กมฺ (ธาตุ = ก้าวไป) + ณฺย ปัจจัย, ซ้อน กฺ ระหว่างอุปสรรคกับธาตุ (นิ + กฺ + กมฺ), แปลง ก ต้นธาตุเป็น ข, แผลง อิ ที่ นิ เป็น เอ (นิ > เน), ลบ ณฺ ที่ ณฺ-(ย) ปัจจัย (ณฺย > ย),แปลง มฺ ที่สุดธาตุกับ ย เป็น มฺม
: นิ + กฺ + กมฺ = นิกฺกมฺ + ณฺย = นิกฺกมณฺย > นิกฺขมณฺย > เนกฺขมณฺย > เนกฺขมฺย > เนกฺขมฺม (นปุงสกลิงค์) แปลตามศัพท์ว่า “การก้าวออกไปเพื่อคุณอันวิเศษ”
“เนกฺขมฺม” หมายถึง การละโลกและไปสู่ชีวิตอันบริสุทธิ์, การออกบวช, การปลดเปลื้องจากโลกิยวิสัย, ความปลอดจากราคะ ความกระหาย และตัณหา, ความไม่มีกามกิเลส, การสลัดจากตนของตน, นิพพาน (giving up the world & leading a holy life, renunciation of, or emancipation from worldliness, freedom from lust, craving & desires, dispassionateness, self-abnegation, Nibbāna)
“เนกฺขมฺม” ในภาษาไทยใช้เป็น “เนกขัม” (เนก-ขำ) และ “เนกขัมมะ” (เนก-ขำ-มะ)
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า -
“เนกขัม, เนกขัมมะ : (คำแบบ คือคำที่ใช้เฉพาะในหนังสือ ไม่ใช่คำพูดทั่วไป) (คำนาม) การออก, การออกจากกาม, การออกบวช. (ป. เนกฺขมฺม).”
พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ ของท่าน ป.อ.ปยุตฺโต ที่คำว่า “เนกขัมมะ” บอกไว้ว่า -
“เนกขัมมะ : การออกจากกาม, การออกบวช, ความปลอดโปร่งจากสิ่งล้อเร้าเย้ายวน (ข้อ 3 ในบารมี 10).”
และที่คำว่า “บารมี” จำกัดความ “เนกขัมมะ” ไว้ว่า “ความปลีกออกจากกามได้ ไม่เห็นแก่การเสพบำเรอ, การออกบวช”
พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม ของท่าน ป.อ.ปยุตฺโต ข้อ [325] บารมี 10 หรือ ทศบารมี (ปฏิปทาอันยวดยิ่ง, คุณธรรมที่ประพฤติปฏิบัติอย่างยิ่งยวด คือ ความดีที่บำเพ็ญอย่างพิเศษ เพื่อบรรลุซึ่งจุดหมายอันสูง เช่น ความเป็นพระพุทธเจ้าและความเป็นมหาสาวก เป็นต้น) บารมีข้อ 3 “เนกขัมมะ” ขยายความไว้ว่า -
“เนกขัมมะ : การออกบวช, ความปลีกตัวปลีกใจจากกาม — Nekkhamma: renunciation”
.......
ปัจจุบันนี้ชาวพุทธนิยมจัดกิจกรรมปฏิบัติธรรม คือไปอยู่ที่วัดหรือสำนักแห่งใดแห่งหนึ่ง นุ่งขาวห่มขาว ถือศีล 8 เป็นเวลา 3 วัน 7 วัน หรือนานกว่านั้น เรียกกิจกรรมนี้ว่า “บวชเนกขัมมะ” บางทีก็เรียกว่า “บวชศีลจาริณี” (ดูเพิ่มเติม : “บวชศีลจาริณี” บาลีวันละคำ (1,035) 19-3-58)
ในช่วงเทศกาลเข้าพรรษ พระสงฆ์อยู่จำพรรษา ชาวบ้านบวชเนกขัมมะ ถ้าขยายเวลาไปให้ได้ 3 เดือนเท่ากับพระ จะยิ่งน่าอนุโมทนา
เป็นความจริงแท้ที่บัณฑิตไว้กล่าวว่า -
อยู่ครองเรือน เหมือนชามเล็ก จุของได้น้อย
ออกบวช เหมือนชามใหญ่ จุของได้มาก
.......
ดูก่อนภราดา!
: ชามเล็กที่เต็มด้วยบุญ
: ยังดวงใจให้อิ่มและอบอุ่นยิ่งกว่าชามใหญ่ที่ว่างเปล่า

นาวาเอก ทองย้อย แสงสินชัย
25  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / บาลีวันละคำ‬ อัญชลี วันทา อภิวาท เมื่อ: กรกฎาคม 19, 2016, 01:40:52 pm
บาลีวันละคำ‬
อัญชลี วันทา อภิวาท
คือทำกิริยาอย่างไร
(๑) “อัญชลี” (อัน-ชะ-ลี)
บาลีเป็น “อญฺชลิ” (อัน-ชะ-ลิ) รากศัพท์มาจาก อญฺชฺ (ธาต = ประกาศ, เปิดเผย; ไป, เป็นไป) + อลิ ปัจจัย
: อญฺชฺ + อลิ = อญฺชลิ (ปุงลิงค์) แปลตามศัพท์ว่า (1) “กิริยาเป็นเครื่องประกาศความภักดี” (2) “กิริยาที่ประกาศความแจ่มแจ้ง” (คือประกาศความฉลาด) (3) “กิริยาที่เป็นไปเพื่อเชื่อมประสานเป็นอันเดียวกัน”
ศัพท์นี้ในบาลีเป็น “อญฺชลี” (-ลี เสียงยาว) เหมือนในภาษาไทยก็มี
“อญฺชลิ - อญฺชลี” หมายถึง การไหว้, ประคองอัญชลี, ยกมือขึ้นประนมซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของการนับถือกัน, บรรจงสิบนิ้วรวมกันเข้าและยกขึ้นถึงศีรษะ (extending, stretching forth, gesture of lifting up the hands as a token of reverence, putting the ten fingers together and raising them to the head)
(๒) “วันทา” (วัน-ทา)
บาลีเป็น “วนฺทนา” (วัน-ทะ-นา) รากศัพท์มาจาก วนฺทฺ (ธาตุ = ไหว้) + ยุ ปัจจัย, แปลง ยุ เป็น อน (อะ-นะ) + อา ปัจจัยเครื่องหมายอิตถีลิงค์
: วนฺทฺ + ยุ > อน = วนฺทน + อา > วนฺทนา แปลตามศัพท์ว่า “การไหว้” หมายถึง การสดุดี, การเคารพ, การไหว้; การยกย่อง, การบูชา (salutation, respect, paying homage; veneration, adoration)
ศัพท์นี้ในบาลีเป็น “วนฺทน” (วัน-ทะ-นะ) (นปุงสกลิงค์) ก็มี
(๓) “อภิวาท” (อะ-พิ-วาด)
บาลีเป็น “อภิวาทน” (อะ-พิ-วา-ทะ-นะ) รากศัพท์มาจาก อภิ (คำอุปสรรค = อย่างยิ่ง) + วนฺทฺ (ธาตุ = ไหว้) + ยุ ปัจจัย, ลบ นฺ ที่ วนฺท (วนฺท > วท), ทีฆะ อะ ที่ ว-(ทฺ < วนฺท) เป็น อา (วนฺท > วทฺ > วาท), แปลง ยุ เป็น อน (อะ-นะ)
: อภิ + วนฺทฺ = อภิวนฺทฺ + ยุ > อน = อภิวนฺทน > อภิวทน > อภิวาทน (นปุงสกลิงค์) แปลตามศัพท์ว่า “วิธีเป็นเครื่องไหว้อย่างยิ่ง”
พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ แปล “อภิวาทน” ว่า respectful greeting, salutation, giving welcome, showing respect or devotion (การอภิวาท, การสดุดี, การต้อนรับ, การแสดงความเคารพหรือจงรักภักดี)
ทั้ง 3 คำนี้ ในภาษาไทย พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า -
(1) อัญชลี : (คำนาม) การประนมมือ, การไหว้, บางทีใช้เป็น อัญชุลี หรือ ใช้ละว่า ชุลี ก็มี. (ป., ส. อญฺชลิ).
(2) วันทา : (คำกริยา) ไหว้, แสดงอาการเคารพ. (ป. วนฺท).
(3) อภิวาท, อภิวาทน์ : (คำนาม) การกราบไหว้. (ส., ป.).
อภิปราย :
๑ “วันทา” บาลีมีแต่ “วนฺทนา” และ “วนฺทน” ไม่พบที่เป็น “วนฺทา” ตรวจดูใน สํสกฤต-ไท-อังกฤษ อภิธาน ก็ไม่พบศัพท์ว่า “วนฺทา”
สันนิษฐานว่าไทยเราคงคุ้นกับคำกริยา “วนฺทามิ” (วัน-ทา-มิ) ซึ่งแปลว่า “ข้าพเจ้าขอไหว้” แล้วเลยเอาเสียง วัน-ทา-- มาใช้เป็น “วันทา”
๒ “อภิวาท” ศัพท์นี้บาลีเป็น “อภิวาทน” แต่ใน สํสกฤต-ไท-อังกฤษ อภิธาน มีศัพท์ว่า “อภิวาท” บอกไว้ว่า -
“อภิวาท, อภิวาทน : (คำนาม) การกราบไหว้; reverential salutation.”
๓ ในทางปฏิบัติ มีผู้แสดงความแตกต่างไว้ว่า -
1) อัญชลี คือ ประนมมือระหว่างอก (แต่ในบาลีพบว่า ประนมมือไว้บนศีรษะก็มี) (อยู่ในอิริยาบถยืนหรือนั่งก็ได้)
2) วันทา คือ ยกมือที่ประนมอยู่ขึ้นเสมอหน้าผาก ให้หัวแม่มืออยู่ระหว่างคิ้ว (อยู่ในอิริยาบถยืนหรือนั่งก็ได้)
3) อภิวาท ต้องอยู่ในอิริยาบถนั่ง คือ ประนมมือ (อัญชลี) ยกขึ้นเสมอหน้าผาก (วันทา) แล้วก้มตัวลงให้มือถึงพื้น (ตั้งสันมือหรือคว่ำฝ่ามือกับพื้นแล้วแต่กรณี)
๔ ถ้าดูคำแปลเป็นภาษาอังกฤษ จะเห็นว่าทั้ง 3 คำนี้มีคำแปลไปในทำนองเดียวกัน และไม่ได้แสดงความแตกต่างในอาการที่กระทำ คงได้ความแต่เพียงว่าเป็นกิริยาแสดงความเคารพ
นั่นย่อมหมายความว่า กิริยาแสดงความเคารพของมนุษย์ย่อมแตกต่างกันไปตามวัฒนธรรมของแต่ละชาติ
อนึ่ง กิริยาแสดงความเคารพนั้นไม่พึงตีความไปว่าเป็นกิริยาแสดงความกลัวหรือการยอมจำนน ยอมอยู่ในอำนาจ เพราะมนุษย์ที่เจริญแล้วย่อมเคารพนับถือกันด้วยคุณธรรม มิใช่ด้วยความกลัวเยี่ยงสัตว์ต่อสัตว์
อัญชลี วันทา อภิวาท
: ไม่ใช่วัฒนธรรมทาส
: แต่เป็นมารยาทของอารยชน

นาวาเอก ทองย้อย แสงสินชัย
26  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / บาลีวันละคำ‬ อิสิปตนมฤคทายวัน เมื่อ: กรกฎาคม 19, 2016, 01:37:47 pm
‪‎บาลีวันละคำ‬
อิสิปตนมฤคทายวัน
อ่านว่า อิ-สิ-ปะ-ตะ-นะ-มะ-รึก-คะ-ทา-ยะ-วัน
ประกอบด้วย อิสิ + ปตน + มฤค + ทาย + วัน
(๑) “อิสิ”
รากศัพท์มาจาก อิสฺ (ธาตุ = แสวงหา; ปรารถนา; ไป) + อิ ปัจจัย
: อิสฺ + อิ = อิสิ (ปุงลิงค์) แปลตามศัพท์ว่า (1) “ผู้แสวงหาคุณธรรม” (2) “ผู้ปรารถนาสิวะคือพระนิพพาน” (3) “ผู้ไปสู่สุคติ”
พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ แปล “อิสิ” ว่า a holy man, one gifted with special powers of insight & inspiration, an anchoret, a Seer, Sage, Saint (คนศักดิ์สิทธิ์, ผู้มีพรสวรรค์เกี่ยวกับกำลังภายใน และผู้มีตาทิพย์, โยคี, ฤๅษี, มุนี, นักบุญ)
(๒) “ปตน” (ปะ-ตะ-นะ)
รากศัพท์มาจาก ปตฺ (ธาตุ = ตก) + ยุ ปัจจัย, แปลง ยุ เป็น อน (อะ-นะ)
: ปตฺ + ยุ > อน = ปตน แปลตามศัพท์ว่า “การตกไป” “ที่เป็นที่ตกไป” ในที่นี้หมายถึง สถานที่ชุมนุม, สถานที่มารวมกัน
(๓) “มฤค” (มะ-รึก)
บาลีเป็น “มิค” (มิ-คะ) รากศัพท์มาจาก มิ (ธาตุ = เบียดเบียน) + ค ปัจจัย
: มิ + ค = มิค (ปุงลิงค์) แปลตามศัพท์ว่า “สัตว์อันมนุษย์ที่กินเนื้อและสัตว์ที่แข็งแรงกว่าเบียดเบียน”
“มิค” ในบาลี หมายถึง -
(1) สัตว์ป่า, สัตว์ที่อยู่ตามธรรมชาติ (a wild animal, an animal in its natural state)
(2) กวาง, เลียงผา, เนื้อทราย (a deer, antelope, gazelle)
“มิค” ในบาลี เป็น “มฺฤค” ในสันสกฤต ในที่นี้ใช้ตามสันสกฤต
(๔) “ทาย” (ทา-ยะ)
รากศัพท์มาจาก ทา (ธาตุ = ตัด) + ณ ปัจจัย, ลบ ณ, แปลง อา ที่ ทา เป็น อาย (ทา > ทาย)
: ทา + ณ = ทาณ > ทา > ทาย แปลตามศัพท์ว่า “ที่เป็นที่ตัดต้นไม้” หมายถึง ป่าไม้; ป่า; ละเมาะ (wood; jungle, forest; a grove)
“อิสิปตนมฤคทายวัน” ในบาลีท่านแบ่งคำเป็น 2 กลุ่ม คือ “อิสิปตน” และ “มิคทาย” ดังคำในธัมมจักกัปปวัตนสูตรว่า “อิสิปตเน มิคทาเย”
“อิสิปตน” (อิ-สิ-ปะ-ตะ-นะ) แปลตามศัพท์ว่า “ที่เป็นที่ตกไปแห่งฤๅษี” หมายถึง สถานที่อันพวกฤๅษีมาชุมนุมกัน คือมาอยู่รวมกัน ถือเอาความว่า ที่อยู่ของฤๅษี
“มิคทาย” (มิ-คะ-ทา-ยะ) แปลตามศัพท์ว่า “ป่าเป็นที่อยู่แห่งเนื้อ” (คำนี้อาจแปลเป็นอย่างอื่นได้อีก)
“อิสิปตนมฤคทาย” แปลเอาความว่า ป่าเนื้ออันเป็นอยู่ของฤๅษี
ในภาษาไทยนิยมเติม “วัน” ที่มาจาก “วน” (วะ-นะ) ซึ่งแปลว่า “ป่า” เข้าไปอีกคำหนึ่ง เป็น “อิสิปตนมฤคทายวัน”
พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ ของท่าน ป.อ.ปยุตฺโต บอกไว้ว่า –
........
“อิสิปตนมฤคทายวัน : ป่าเป็นที่ให้อภัยแก่เนื้อ ชื่ออิสิปตนะ อยู่ใกล้เมืองพาราณสี เป็นสถานที่ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงปฐมเทศนา ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร โปรดพระปัญจวัคคีย์ บัดนี้เรียก สารนาถ”
........
ดูก่อนภราดา!
อิสิปตนมฤคทายวันไปไม่ยากเลย
เมื่อใด -
: ชาววัดทำวัดให้เป็นอารามอันร่มรื่นประดุจป่า
: ชาวบ้านเจริญเมตตาให้เต็มในหัวใจ
เมื่อนั้น เมืองไทยก็เป็นอิสิปตนมฤคทายวันทันที

<a href="http://www.youtube.com/watch?v=dxHX9kdCSEg" target="_blank">http://www.youtube.com/watch?v=dxHX9kdCSEg</a>


นาวาเอก ทองย้อย แสงสินชัย
27  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / พระรัตนตรัย‬ หรือพระไตรรัตน์ หมายถึง แก้วสามประการอันประเสริฐสุด เมื่อ: กรกฎาคม 14, 2016, 08:21:34 am
‪พระรัตนตรัย‬ หรือพระไตรรัตน์ หมายถึง แก้วสามประการอันประเสริฐสุดของพุทธศาสนิกชนที่เรียกว่า รัตน (แก้ว)
เพราะว่าเป็นสิ่งที่ประเสริฐ มีค่าสูง และหาได้ยาก เทียบด้วยดวงแก้วมณี
บาฬีวิเคราะห์ความหมายของ ติรตน ว่า
วิ. ตีณิ รตนานิ ติรตนํ. (ติ + รตน)
อ.แก้ว ท. สาม ชื่อว่าติรตน. (แก้วสาม)
พระรัตนตรัย คือ พระพุทธเจ้า, พระธรรม และพระสงฆ์ ซึ่งเรียกเต็มว่าพุทธรัตนะ, ธรรมรัตนะ, สังฆรัตนะ ซึ่งได้แก่
‪พระพุทธ‬ คือ ท่านผู้ตรัสรู้ธรรมด้วยพระองค์เอง แล้วสอนประชุมชนให้ประพฤติชอบด้วยกาย, วาจา, ใจ ตามพระธรรมวินัย
‪พระธรรม‬ คือ พระธรรมวินัยอันเป็นคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า
‎พระสงฆ์‬ คือ หมู่ชนที่ฟังคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าแล้วปฏิบัติชอบตามพระธรรมวินัย
‪ไตรสรณคมน‬
ไตรสรณคมน์ แปลว่า การถึงพระรัตนตรัยว่าเป็นที่พึ่งที่ระลึก ได้แก่การเปล่งวาจาขอถึงพระพุทธ, พระธรรม และพระสงฆ์ ว่าเป็นสรณะที่พึ่งพิงที่ระลึกว่า
พุทฺธัง สรณัง คัจฺฉามิ
ธมฺมัง สรณัง คัจฺฉามิ
สงฺฆัง สรณัง คัจฺฉามิ
ทุติยมฺปิ....
ตติยมฺปิ....
ไตรสรณคมน์เป็นการน้อมกาย, วาจา, ใจ นำพระรัตนตรัยเข้าไปไว้ในตน เพื่อแสดงว่าตนมีพระรัตนตรัยเป็นที่ระลึกยึกถึงและเป็นที่พึ่งตลอดไป และแสดงตนเป็นพุทธมามกะ เป็นผู้รับนับถือพระพุทธศาสนา



คำเรียกในภาษาต่าง‬ ๆ
บาลี ติรตน
ติสรณ
สันสกฤต त्रिरत्न (triratna, ตฺริรตฺน),
रत्नत्रय (ratna-traya, รตฺนตรฺย)
ไทย ไตรรัตน์,
รัตนตรัย
ลาว ໄຕແກ້ວ (ไตแก้ว) / ໄຕລັດ (ไตลัด)
สิงหล තෙරුවන් (teruwan)
พม่า ရတနာသုံးပါး
(เสียงอ่านภาษาพม่า: [jadanà θóuɴ bá])
จีน 三宝, 三寶 (sānbǎo, ซานเป่า)
เวียดนาม Tam bảo
เขมร ព្រះរតនត្រ័យ (เปรี๊ยะฮ์รัตนะเตร็ย)
เกาหลี 삼보 (ซัมโบ)
ญี่ปุ่น 三宝 (ซัมโบ, ซัมโป)
มองโกล ɣurban erdeni
ทิเบต དཀོན་མཆོག་གསུམ,
(dkon mchog gsum)
อังกฤษ Three Jewels, Three Refuges,
Three Treasures, Triple Gem
มราฐี त्रिशरण (trisharan)
อ้างอิง
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
--------------
ขอบคุณข้อมูลรูปภาพจากเว็บ
Buddha : พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
<a href="http://www.youtube.com/watch?v=kcPH1ktCWrY" target="_blank">http://www.youtube.com/watch?v=kcPH1ktCWrY</a>

ขอบคุณข้อมูลจาหเฟสบุ๊ค พระบาฬี pra pali
28  เรื่องทั่วไป / ข่าวสารเพื่อนถึงเพื่อน / ชมรมผู้สูงอายุแต่ละหมู่บ้าน ถวายเทียนพรรษษา วัดต่างๆ ในตำบลโป่งงาม เมื่อ: กรกฎาคม 13, 2016, 08:59:16 pm
ประชาสัมพันธ์งานถวายเทียนพรรษษา....



ในวันที่ 16 ก.ค.2559...ชมรมผู้สูงอายุแต่ละหมู่บ้านจะได้เทียนพรรษา ไปจัดเตรียมและตกแต่งต้นเทียนของแต่ละหมู่บ้าน....วันที่ 17 ก.ค.2559 เวลา 12.00 น.ขบวนแห่ต้นเทียนมาพร้อมกัน ณ วัดโป่งผา เพื่อจะได้ร่วมกันแห่ชบวนต้นเทียนไปถวายทานแต่ละวัด เริ่มเคลื่อนขบวนในเวลา 13.00 น.โดยจะไปถวายวัดต่างๆ ในตำบลโป่งงาม............



.....จึงเชิญชวนคณะศรัทธาสาธุชนทุกท่านได้ร่วมขบวนแห่เทียนพรรษามหามงคล 9 เล่ม ถวายวัดในตำบลโป่งงาม จำนวน 9 วัด ในวันที่ 17 ก.ค.2559 เริ่มเวลา 13.09 น.เป็นต้นไป........

29  เรื่องทั่วไป / ข่าวสารเพื่อนถึงเพื่อน / ร่วมอนุโมทนา บวชอุปสมบทหมู่-เข้าพรรษา ณ วัดชลประทานรังสฤษดิ์ ๑๘ กรกฏาคม เมื่อ: กรกฎาคม 13, 2016, 08:42:25 pm
บวชอุปสมบทหมู่-เข้าพรรษา วันจันทร์ที่๑๘ กรกฏาคม
ขอเชิญชวนพุทธศาสนิกชนร่วมอนุโมทนาในกิจกรรมบวชอุปสมบทหมู่-เข้าพรรษา ณ วัดชลประทานรังสฤษดิ์ พระอารามหลวง ในวันจันทร์ที่๑๘ กรกฏาคม







ที่มา เฟสบุ๊ค วัดชลประทานรังสฤษดิ์ พระอารามหลวง นนทบุรี
30  เรื่องทั่วไป / สอบถามปัญหาชีวิต เปิดใจคุยกัน / การตัดสินใจไม่ใส่เครื่องช่วยหายใจไม่ปั๊มหัวใจแก่มารดาบิดาจัดเป็นอนันตริยกรรมไหม? เมื่อ: กรกฎาคม 13, 2016, 08:15:08 pm
 ask1

การตัดสินใจไม่ใส่เครื่องช่วยหายใจ
หรือไม่ปั๊มหัวใจแก่มารดาบิดา
เพราะไม่อยากให้ท่านทรมาน
จัดเป็นอนันตริยกรรมไหมครับ
ถ้าเป็นภิกษุจะปาราชิกไหมครับ

 :25:
31  เรื่องทั่วไป / ข่าวสารเพื่อนถึงเพื่อน / เตรียมเสนอครม.ผลักดันให้วันอาสาฬหบูชาเป็น วันแห่งการเผยแผ่พุทธศาสนาแห่งชาติ เมื่อ: กรกฎาคม 13, 2016, 07:03:41 pm
เสนอครม.ผลักดันอาสาฬหบูชาเป็นวันเผยแผ่พุทธศาสนาแห่งชาติ
สมัชชาเผยแพร่พุทธศาสนาแห่งชาติ ประกาศปฏิญญาร่วมกัน 6 ข้อ เตรียมเสนอครม.ผลักดันให้วันอาสาฬหบูชาเป็น วันแห่งการเผยแพร่พุทธศาสนาแห่งชาติ
           เมื่อวันที่ 13 ก.ค. ที่ห้องประชุมวายุภักษ์ โรงแรมเซนทรา ศูนย์ราชการ แจ้งวัฒนะ มหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย(มมร.) รัฐบาลและองค์กรภาคีเครือข่าย จัดงานสมัชชาการเผยแผ่พระพุทธศาสนาแห่งชาติครั้งที่ 1 เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในโอกาสครองราชย์ครบ 70 ปี สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ  7 รอบ และเนื่องในโอกาสวันสำคัญของชาติและศาสนา วันอาสาฬหบูชา ประจำปี 2559   โดยมีสมเด็จพระมหามุนีวงศ์ กรรมการมหาเถรสมาคม(มส.) เป็นประธานเปิดงาน

           สมเด็จพระมหามุนีวงศ์ กล่าวว่า การจัดงานสมัชชาในครั้งนี้เป็นการน้อมนำคำสอนของพระพุทธเจ้ามาใช้ในชีวิตของเราเอง  พระพุทธศาสนาจะอยู่ได้เพราะพุทธบริษัท 4    ต้องร่วมกันพูดคุยกันประสานงานกันบ่อยๆ ตามหลักอปริหานิยธรรม




            พระเมธาวินัยรส รองอธิการบดีฝ่ายบริหารมมร. กล่าวว่า สมัชชาการเผยแผ่พระพุทธศาสนาแห่งชาติทั้ง 4 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มองค์กรเครือข่ายชาวพุทธ กลุ่มพระสงฆ์ กลุ่มส่วนราชการ และกลุ่มสื่อมวลชน ได้ประชุมร่วมกันแล้วมีมติประกาศปฏิญญาร่วมกัน  6 ข้อ ดังนี้ 1.ผลักดันให้จัดงานสมัชชาฯต่อเนื่องทุกปี โดยกำหนดให้วันอาสาฬหบูชา เป็นวันเผยแผ่พระพุทธศาสนาแห่งชาติ 2.กำหนดยุทธศาสตร์ ระดมทรัพยากรปกป้อง สนับสนุนเผยแผ่พระพุทธศาสนา 3. ผลักดันให้มีกฎหมาย กลไกแกนกลางประสานงานให้เป็นเอกภาพ 4. พุทธสถานทุกแห่งร่วมกันพัฒนาศักยภาพการเผยแผ่ทุกมิติทั้งเชิงรุก(พระธรรมทูต) และเชิงรับ(พระธรรมกถึก หรือพระนักเทศน์) 5.หน่วยราชการ ภาครัฐ ร่วมกันเสริมศักยภาพพุทธบริษัทเผยแผ่ให้ถูกต้อง ทันสมัย ทันเหตุการณ์ โดยใช้การมีส่วนร่วมทุกภาคส่วนช่วยขับเคลื่อนอย่างเป็นระบบ 6.ให้รัฐเปิดพื้นที่สื่อมวลชนทุกแขนง เพื่อเป็นสื่อกลางเผยแผ่พระพุทธศาสนาโดยพิจารณาจัดสรรคลื่นความถี่ทางวิทยุและโทรทัศน์เป็นการเฉพาะ

           พระเมธาวินัยรส กล่าวอีกว่า นอกจากนี้ สมัชชาฯยังมีข้อเสนอต่อรัฐบาล 5 ข้อ ดังนี้ 1. ให้คณะรัฐมนตรี(ครม.) ประกาศให้วันอาสาฬหบูชาเป็นวันแห่งการเผยแผ่พระพุทธศาสนาแห่งชาติ  2. รัฐสนับสนุนกลไกให้เกิดระบบการเผยแผ่พระพุทธศาสนาอย่างจริงจังเป็นระบบและต่อเนื่อง 3. รับรองสถานะสมัชชาฯและมีกลไกรับผิดชอบจัดงานทุกปี  4.ผลักดันกฎหมายที่เอื้อต่อการเผยแผ่พระพุทธศาสนา มีจัดสรรงบประมาณที่เหมาะสม 5.บรรจุวิชาพระพุทธศาสนาในหลักสูตรที่ถูกต้องสอดคล้องตามพระไตรปิฎกในทุกระดับชั้น โดยสมัชชาได้ส่งมอบปฏิญญาและข้อเสนอรัฐบาลให้แก่นายฐากูร ดิษฐอำนาจ ที่ปรึกษารัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เพื่อนำเสนอต่อรัฐบาล และทางฝ่ายสมัชชาฯจะจัดทำเป็นแผนยุทธศาสตร์เพื่อทำให้เกิดผลเป็นรูปธรรมต่อไป ที่สำคัญหากเผยแผ่นอกกรอบไป ต่อไปจะมีกฎหมายและมีสมัชชาฯ ทำหน้าที่ดูแลด้วย

           พระราชธรรมนิเทศ เจ้าอาวาสวัดสวนแก้ว กล่าวว่า  ตอนนี้คนไทยตกงานเยอะ ทำบุญต้องให้เกิดปัญญาอย่าทำบุญให้DSI ทำงานหนัก อาตมาทำบ้านพักคนชรา เพื่อช่วยคน เพราะอยู่ใกล้พระช่วยสั่งสอน กล่อมเกลาจิตใจของคน มีการสื่อหนังสือ คือ มีรัก มีรู้ มีลูก

           พระราชญาณกวี ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดพระราม 9 กาญจนาภิเษก กล่าวว่า   วัดควรมีการปลูกพุทธเกษตร เป็นเกษตรเผื่อแผ่กันและกัน เป็นการปลูกผักปลอดสารพิษ ศาสนาต้องกินได้ ถ้าศาสนากินไม่ได้ลำบากมาก ฉะนั้น ทำให้วัด บ้าน โรงเรียน เป็นวิถีชีวิตและสามารถกินได้

           นายอนุสรณ์ ฟูเจริญ ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวว่า โรงเรียนที่ขึ้นต้นด้วยคำว่า"วัด"มีอยู่ 2 หมื่นกว่าโรงเรียน ต้องมีภาคีร่วมกันเพื่อการขับเคลื่อนไปด้วนกัน ทำอย่างไรจะทำให้เกิดการพูดคุยกันมากขึ้น และสิ่งสำคัญคือ เราต้องสื่อสาระธรรมให้ตรงกัน อะไรคือแก่นของพระพุทธศาสนาที่แท้จริง

           ด้านพล.อ.ธงชัย เกื้อสกุล ประธานองค์กรเครือข่ายชาวพุทธ กล่าวว่า เครื่องมือสำคัญที่พระพุทธศาสนายังขาดในการเผยแผ่ คือ สถานีโทรทัศน์ และสถานีวิทยุ เพื่อพระพุทธศาสนา ซึ่งที่ผ่านมาคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.)มีแผนที่จะเปิดช่องทีวีสาธารณะจำนวน 12 ช่อง โดยขอให้พระพุทธศาสนา 1 ช่องได้หรือไม่ โดยรัฐอุดหนุนงบให้ส่วนหนึ่ง ส่วนสถานีวิทยุ กสทช. มีแผนแม่บท 5 ปี เกี่ยวกับความจำเป็นในการใช้คลื่น หรือจัดระบบคลื่นความถี่ ก็จะมีคลื่นที่ว่างอยู่ขอให้จัดสรรให้สถานีวิทยุเพื่อพระพุทธศาสนา 2 ช่องได้หรือไม่ ซึ่งที่ผ่านมาเครือข่ายชาวพุทธได้ร้องขอไปแต่ก็ไม่เป็นผล จึงขอความเมตตาจากนายกรัฐมนตรี ใช้มาตรา 44 ออกประกาศ กสทช.จัดตั้งสถานีโทรทัศน์และวิทยุ เพื่อพระพุทธศาสนา ก็จะเป็นประโยชน์ต่อการเผยแผ่พระพุทธศาสนาได้กว้างขวางยิ่งขึ้น




           ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เริ่มด้วยจากการชมวิดีทัศน์ ซึ่งมีเนื้อหาสาระว่า...พระพุทธศาสนาเริ่มตั้งประกาศธรรมครั้งแรกเป็นหมุนวงล้อแห่งธรรม ณ ป่าอิสิปนตนมฤคทายวัน อินเดีย โดยพระพุทธเจ้า ศาสดาเอกของโลก ทำให้พระพุทธศาสนาเผยแผ่เข้าสู่ประเทศไทยเป็นดินแดนสุวรรณภูมิ โดยมีพระมหากษัตริย์เป็นพุทธมามกะอุปถัมภ์พระพุทธศาสนามาโดยตลอด จนมาถึง รัชกาลปัจจุบันซึ่งเป็นรัชกาลที่ 9  พระองค์ทรงประกาศปฐมบรมราชองค์การว่า "เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม" ซึ่งเป็นการประกาศในการปกครองเพื่อเกิดสันติสุขในประเทศชาวสยาม สถานการณ์ปัจจุบันทำบ้าน วัด โรงเรียน เกิดภาวะความอ่อนแอจึงผลึกกำลังกันขับเคลื่อนพลังของ บวร ในการกำหนดแนวทางเผยแผ่พระพุทธศาสนาอย่างถูกต้อง

           จากนั้นมีการแสดงวัฒนธรรม " วงล้อธรรมนำพุทธจักรพิทักษ์ไทย " แสดงถึงความยิ่งใหญ่ของพระพุทธศาสนา แสดงถึงว่าสถาบันพระมหากษัตริย์ทำนุบำรุงพระพุทธศาสนามาโดยตลอด พวกเราชาวพุทธจะปกป้องพระพุทธศาสนาชั่วชีวิต ด้วยการเผยแผ่พระพุทธศาสนา ด้วยกระบวนการที่ทันต่อโลกต่อการเปลี่ยนแปลง ทุกภาคีทุกเครือข่ายจึงร่วมมือกัน เพื่อความสงบสุขร่มเย็นของชีวิต สังคม และประเทศชาติต่อไป

ข่าวจาก http://www.komchadluek.net/
32  เรื่องทั่วไป / ข่าวสารเพื่อนถึงเพื่อน / ปั่นไอติม ชิมความสุข กิจกรรมเรียนรู้ธรรมะ อย่างง่าย ๆ กิจกรรมสวนโมกข์กรุงเทพ เมื่อ: กรกฎาคม 13, 2016, 06:31:25 pm
ปั่นไอติม ชิมความสุข กิจกรรมเรียนรู้ธรรมะ อย่างง่ายๆ รู้จักตนเอง รู้จักคนที่รัก และรู้จักเพื่อนใหม่ ผ่านเกมส์ และความสนุก

วันเสาร์ที่ ๑๖ กรกฎาคมนี้ เปิดลงทะเบียน ๒ รอบ

รอบเด็กและครอบครัว ๑๐.๐๐ - ๑๒.๐๐ น.

รอบบุคคลทั่วไป ๑๓.๐๐ - ๑๕.๐๐ น.

ณ โถงกิจกรรม ชั้น ๑ สวนโมกข์กรุงเทพ



สมัครเลยวันนี้ที่ register.bia.or.th

**การสมัครจะสมบูรณ์เมื่อท่านได้รับอีเมลยืนยันจากทางทีมงาน**

ติดต่อสอบถาม ฝ่ายกิจกรรม ๐ ๒๙๓๖ ๒๘๐๐ ต่อ ๗๑๐๑
33  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / บาลีภาษาน่ารู้ "สังเกต" เขียนแบบนี้ ไม่ต้องเติมสระอุ เมื่อ: กรกฎาคม 13, 2016, 06:01:34 pm
สงฺเกต(ปุ.,นปุํ.) แปลว่า การกำหนด การหมาย การรู้ การใส่ใจ ***แต่ในภาษาไทยนำมาใช้เป็นกิริยา ในความหมายว่า หมายไว้
...มาจาก สํ บทหน้า กิตฺ ธาตุในความรู้ ลง อ หรือ ณ ปัจจัยในนามกิตก์---พฤทธิ์สระ อิ ที่ กฺ เป็น เอ
...มีวิเคราะห์ว่า สงฺเกตนํ สงฺเกตํ,สงฺเกโต วา ---การกำหนด ชื่อว่า สังเกต



สังเกต เขียนแบบนี้ ไม่ต้องเติมสระอุ

สังเกต แปลว่า ก. กําหนดไว้ หมายไว้ เช่น ทำเครื่องหมายไว้เป็นที่สังเกต ตั้งใจดู จับตาดู เช่น ไม่ได้สังเกตว่าวันนี้เขาแต่งตัวสีอะไร สังเกตกิริยาท่าทางเขาไว้ว่าเป็นคนดีหรือคนร้าย. (ป. ส.).
34  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / บาลีภาษาน่ารู้ "มัคทายก" เมื่อ: กรกฎาคม 13, 2016, 05:57:26 pm
มคฺคนายก (ปุํลิงค์)
...ความหมาย : มัคนายก*
...แปลตามศัพท์ : บุคคลผู้นำทาง
...รูปวิเคราะห์ : มคฺคํ เนตีติ มคฺคนายโก.
...มาจาก มคฺค(ปุํ) แปลว่า ทาง เป็นบทหน้า, นี ธาตุในการนำไป ลง ณฺวุ ปัจจัยในนามกิตก์, พฤทธิ์ อี เป็น เอ แปลง เอ เป็น อาย, แล้วแปลง ณฺวุ เป็น อก
*มัคนายก ใช้เรียกคฤหัสถ์ผู้ประสานติดต่อระหว่างวัดกับชาวบ้านในกิจการต่างๆ ของวัด หรือผู้เป็นหัวหน้าในพิธีทำบุญในวัด มักเรียกเพี้ยนเป็น มัคทายก



ความหมายของ "มัคนายก" กับคำว่า "มัคทายก"

คำว่า "มัคนายก" เป็นคำที่คนส่วนใหญ่ไม่ค่อยจะได้ยิน ไม่ค่อยได้ใช้ แต่มักจะได้ยินคำว่า"มัคทายก" มากกว่า และคิดว่าคำๆ นี้เป็นคำที่ใช้เรียก คนแก่ๆ ที่คอยนำกล่าวคำบูชา คำอาราธนาพระ และพิธีการทางสงฆ์ต่างๆ ในวัดเป็นประจำ ซึ่งเป็นความเข้าใจผิดมานาน

"มัคทายก" เป็นคำสมาส มาจากภาษาบาลี ๒ คำ คือ "มัคค" (แปลลว่า ทาง) + "ทายก" (แปลว่า ผู้ถวายจตุปัจจัยแด่ภิกษุสงฆ์ ผู้นับถือศาสนา ) รวมความแล้ว จึงหมายถึง ทางของผู้นับถือศาสนา

ส่วน "มัคนายก" เป็นคำสมาสเช่นกัน มาจากภาษาบาลี ๒ คำ คือ "มัคค" (แปลว่า ทาง) + "นายก" (แปลว่า ผู้นำ ) รวมความแล้ว จึงหมายถึง ผู้นำทาง

ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน ฉบับ พ.ศ. ๒๕๒๕ ได้ให้ความหมายของคำว่า "มัคนายก" ว่าหมายถึง ผู้จัดการทางกุศล ผู้ชี้แจงทางบุญ แต่ไม่มีการให้ความหมายของ "มัคทายก" ไว้ดังนั้น ถ้าจะใช้คำเพื่อเรียก คนแก่ๆ ที่คอยนำเรากล่าวคำบูชา คำอาราธนา คำถวายสิ่งของให้พระที่วัดแล้ว คำว่า "มัคนายก" จึงเป็นคำที่ถูกต้องมากกว่า "มัคทายก"
35  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / บาลีภาษาน่ารู้ "สัทธา" (ศรัทธา) เมื่อ: กรกฎาคม 13, 2016, 05:55:45 pm
สทฺธา (อิต.) แปลว่า ความเชื่อ ธรรมชาติเป็นเหตุตั้งลงโดยชอบแห่งจิต
...มาจาก สํ = พร้อม กับ ดี เป็นบทหน้า ธา ธาตุ ในการทรงไว้ อ ปัจจัย ในนามกิตก์
...มีวิเคราะห์ว่า สมฺมา จิตฺตํ นิเธติ เอตายาติ สทฺธา.
...จิต ย่อมตั้งลงโดยชอบ ด้วยธรรมชาตินั่น เพราะเหตุนั้น ธรรมชาตินั้น ชื่อว่า สัทธา(ศรัทธา).



ศรัทธา, สัทธา มีความหมายว่า [สัดทา] น. ความเชื่อ ความเลื่อมใส เช่น สิ้นศรัทธา ฉันมีศรัทธาในความดีของเขา บางทีก็ใช้เข้าคู่กับคำ ประสาทะ เป็น ศรัทธาประสาทะ. ก. เชื่อ เลื่อมใส เช่น เขา ศรัทธาในการรักษาแบบแพทย์แผนโบราณ. (ส. ศฺรทฺธา ป. สทฺธา).
36  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / บาลีวันละคำ‬ ดูก่อนภราดา เมื่อ: กรกฎาคม 13, 2016, 05:50:53 pm
‪บาลีวันละคำ‬
ดูก่อนภราดา
อ่านว่า ดู-ก่อน-พะ-รา-ดา
(๑) “ดูก่อน”
เป็นคำไทย หนังสือเก่าสะกดเป็น “ดูกร” เป็นเหตุให้มีผู้อ่านคำนี้ว่า ดู-กะ-ระ แล้วก็ยอมรับกันไปแล้วว่าเป็นคำอ่านที่ถูก
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2542 บอกไว้ว่า -
“ดูกร : คำกล่าวขึ้นต้นข้อความกับผู้ที่จะพูดด้วยให้สนใจฟัง”
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 แก้ไขบทนิยามใหม่เป็นดังนี้ -
“ดูกร : คำกล่าวเรียกผู้ที่จะสนทนาด้วย เป็นคำที่ผู้ใหญ่พูดกับผู้น้อย เช่น ดูกรเจ้าชาลีลูกรัก (ม. ร่ายยาว กุมาร)”
คำว่า “ดูกร” พจน.บอกคำอ่านไว้ว่า ดู-กะ-ระ และ ดู-กอน
“ดูกร” ก็คือ “ดูก่อน” ในภาษาไทยนั่นเอง มีความหมายว่า ขอให้ละกิจอื่นๆ เสียก่อนแล้วหันมาดูทางนี้ หรือ ขอให้มาดูทางนี้ก่อน แล้วจึงค่อยไปสนใจทางอื่น
“ดูก่อน” นั่นเองโบราณท่านสะกดเป็น “ดูกร” คือต้องอ่านว่า ดู-ก่อน
ถ้ารู้หลักอักขรวิธีของโบราณ เราก็จะไม่อ่านผิดเป็น ดู-กะ-ระ ดังที่อ่านกันเดี๋ยวนี้ไปได้เลย
“ดูก่อน” ตรงกับคำอังกฤษ (ตามพจนานุกรม สอ เสถบุตร) ว่า -
Look here
Hear me
Listen to me
ความหมายก็ตรงกันด้วย คำนิยามตาม พจน.42 ที่ว่า “คำกล่าวขึ้นต้นข้อความกับผู้ที่จะพูดด้วยให้สนใจฟัง” จึงนับว่าตรงกับความจริง (แต่ พจน.54 ตัดคำนิยามนี้ออกไป โปรดดูข้างต้น)
........
ดูเพิ่มเติมที่ลิงก์ข้างล่างนี้ -
https://www.facebook.com/tsangsinchai/posts/660379684055772
........
(๒) “ภราดา”
บาลีเป็น “ภาตา” รากศัพท์มาจาก ภาสฺ (ธาตุ = พูดชัดเจน) + ราตุ ปัจจัย, ลบ สฺ ที่สุดธาตุ (ภาสฺ > ภา) และลบ รา (ราตุ > ตุ)
: ภาสฺ + ราตุ = ภาสราตุ > ภาราตุ > ภาตุ แปลตามศัพท์ว่า “ผู้พูดได้ก่อน” (หมายถึงพี่ชาย) และ “ผู้พูดได้ทีหลัง” (หมายถึงน้องชาย)
“ภาตุ” จึงหมายถึงพี่ชายก็ได้ น้องชายก็ได้
“ภาตุ” (ปุงลิงค์) แจกด้วยวิภัตตินามที่หนึ่ง (ปฐมาวิภัตติ) เอกพจน์ คือ “สิ” แปลง อุ ที่ (ภา)-ตุ กับ สิ เป็น อา
: ภาตุ + สิ = ภาตุสิ > (ภาตุ < ภาต + อุ : อุ + สิ = อา : ภาต + อา = ) ภาตา
ภาตุ > ภาตา ในบาลี เป็น “ภฺราตฺฤ” ในสันสกฤต และเป็น brother ในภาษาอังกฤษ
ในภาษาไทย รูปคำที่พบบ่อยๆ คือ ภราดร, ภราดา
ลองเทียบรูปและเสียง:
ภาตุ > ภาตา > ภฺราตฺฤ > ภราดร, ภราดา > brother
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า -
“ภราดร, ภราดา : (คำนาม) พี่ชาย, น้องชาย. (ส. ภฺราตฺฤ; ป. ภาตา, ภาตุ).”
ในวรรณกรรมเรื่อง กามนิต นิยมใช้คำว่า “ภราดา” เป็นคำร้องเรียก (exclamation, address) เช่น:
ดูก่อนภราดา สรุปเรื่องที่เล่ามาแล้วคือ ข้าพเจ้าได้ไปหาคู่รักทุกคืน ....
(กามนิต บทที่เจ็ด : ในหุบเขา)
...............
ดูก่อนภราดา!
: ถ้ามองกันด้วยรู้สึกว่าเป็นพี่น้อง
โลกทั้งผองก็สุขยิ่งกว่าสวรรค์
: ถ้ามองกันด้วยความรังเกียจเดียดฉัน
โลกก็ร้อนยิ่งกว่าไฟนรก

นาวาเอก ทองย้อย แสงสินชัย
37  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / บาลีวันละคำ‬ ของขวัญ เมื่อ: กรกฎาคม 13, 2016, 05:48:41 pm
‪บาลีวันละคำ‬
ของขวัญ
บาลีว่าอย่างไร
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า -
“ของขวัญ : (คำนาม) สิ่งของที่ให้แก่เจ้าของขวัญเมื่อเสร็จพิธีทําขวัญแล้ว; สิ่งของที่ให้กันในเวลาอื่นเป็นการถนอมขวัญหรือเพื่ออัธยาศัยไมตรี เช่น ของขวัญปีใหม่ ของขวัญวันเกิด.”
เมื่อพูดว่า “ของขวัญ” คนสมัยใหม่จะนึกได้ง่ายที่สุดถึงคำอังกฤษว่า gift
พจนานุกรมอังกฤษ-บาลี แปล gift เป็นบาลีดังนี้ -
(1) pābhata ปาภต (ปา-พะ-ตะ) = (ก) ของขวัญ, ของกำนัล, สินบน (a present, bribe) (ข) เงิน, รางวัล (money, price)
(2) upāyana อุปายน (อุ-ปา-ยะ-นะ) = การไปถึง, กิจกรรม, ของถวาย, บรรณาการ, ของขวัญ, รางวัล (going to, enterprise, offering, tribute, present)
(3) upahāra อุปหาร (อุ-ปะ-หา-ระ) = การนำเข้าไป, การมอบให้, การเสนอให้, การให้ (bringing forward, present, offering, gift)
(4) paṇṇākāra ปณฺณาการ (ปัน-นา-กา-ระ)
คำนี้เราคุ้นกันดี รากศัพท์มาจาก ปณฺณ (หนังสือ, จดหมาย) + อา (คำอุปสรรค = ทั่วไป, สำคัญยิ่ง) + กรฺ (ธาตุ = ทำ) + ณ ปัจจัย, ลบ ณ, ยืดเสียง อะ ที่ ก-(รฺ) เป็น อา (กรฺ > การ)
: ปณฺณ + อา + กรฺ = ปณฺณากรฺ + ณ = ปณฺณากรฺณ > ปณฺณากรฺ > ปณฺณาการฺ แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งของอันเขานำมาพร้อมกับหนังสือชี้แจง”
“ปณฺณาการ” (ปุงลิงค์) พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ แปลตามศัพท์ว่า “state or condition of writing” (ภาวะหรือสถานะของการเขียน) คือ วัตถุประสงค์ของการเขียน; สิ่งที่เกี่ยวข้อง หรือที่ส่งไปกับจดหมาย, ข่าวสารพิเศษ, ของบริจาค, ของขวัญ, รางวัล, ของบรรณาการ (object of writing; that which is connected or sent with a letter, a special message, donation, present, gift)
“ปณฺณาการ” ภาษาไทยใช้ว่า “บรรณาการ” (บัน-นา-กาน)
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า -
“บรรณาการ : (คำนาม) สิ่งที่ส่งไปให้ด้วยความเคารพนับถือหรือด้วยไมตรี. (ป. ปณฺณาการ; ส. ปรฺณาการ), ในบทประพันธ์ใช้ว่า บรรณา ก็มี.”
คำในประวัติศาสตร์ที่เรามักได้ยินคือ “เครื่องราชบรรณาการ” หรือ “เครื่องมงคลราชบรรณาการ” ก็คือ “ของขวัญ” ที่พระเจ้าแผ่นดินทรงส่งไปถวายพระเจ้าแผ่นดินต่างเมือง หรือที่ต่างเมืองส่งมาถวายพระเจ้าแผ่นดินของเรา
: ความเป็นมนุษย์คือของขวัญที่ประเสริฐสุดของทุกคน
: การปฏิบัติจนถึงวิมุตติหลุดพ้น คือของขวัญที่ทุกคนมอบให้แก่ตัวเอง
ดูก่อนภราดา! ท่านเตรียมของขวัญเพื่อตัวเองแล้วหรือยัง?

นาวาเอก ทองย้อย แสงสินชัย
38  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / ‪บาลีวันละคำ‬ ถือเอ้กา เมื่อ: กรกฎาคม 13, 2016, 05:46:33 pm
‪บาลีวันละคำ‬
ถือเอ้กา
ถืออะไร?
“ถือเอ้กา” อ่านว่า ถือ-เอ้-กา
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า -
“เอกา, เอ้กา : (คำวิเศษณ์) หนึ่ง, คนเดียว, โดดเดี่ยว; ถือกินข้าวหนเดียวในเวลาระหว่างเช้าถึงเที่ยงเป็นกิจวัตร เรียกว่า ถือเอ้กา.”
“เอ้กา” ตัดมาจากคำเต็มว่า “เอกาสนิกังคะ” (เอ-กา-สะ-นิ-กัง-คะ) บาลีเขียน “เอกาสนิกงฺค”
“เอกาสนิกงฺค” แยกศัพท์เป็น เอก + อาสนิก + องฺค
(๑) “เอก”
บาลีอ่านว่า เอ-กะ รากศัพท์มาจาก อิ (ธาตุ = ไป, เป็นไป, ตั้งอยู่) + ณฺวุ ปัจจัย, แผลง อิ เป็น เอ, แปลง ณฺวุ เป็น อก
: อิ > เอ + ณฺวุ > อก = เอก แปลตามศัพท์ว่า (1) “ไปตามลำพัง” (คือไม่มีเพื่อนไปด้วย) (2) “ดำรงอยู่ในความเป็นหนึ่งเดียวเพราะไร้ผู้เหมือนกัน”
“เอก” หมายถึง “หนึ่ง” ใช้ใน 2 สถานะ คือ -
(1) เป็นสังขยา (คำบอกจำนวน) เช่น “ชายหนึ่งคน” เน้นที่จำนวน 1 คน = มุ่งจะกล่าวว่าชายที่เอ่ยถึงนี้มีเพียง “หนึ่งคน”
(2) เป็นคุณศัพท์ เช่น “ชายคนหนึ่ง” ไม่เน้นที่จำนวน = มุ่งจะกล่าวถึงชายคนใดคนหนึ่งเท่านั้น
(๒) “อาสนิก” (อา-สะ-นิ-กะ) ประกอบด้วย อาสน + อิก ปัจจัย
๑) “อาสน” (อา-สะ-นะ) รากศัพท์มาจาก -
(1) อาสฺ (ธาตุ = นั่ง; ตั้งไว้) + ยุ ปัจจัย, แปลง ยุ เป็น อน (อะ-นะ)
: อาสฺ + ยุ > อน = อาสน แปลตามศัพท์ว่า (1) “การนั่ง” “ที่นั่ง” (2) “ที่เป็นที่ตั้ง”
(2) อา (แทนศัพท์ “อาคนฺตฺวา” = มาแล้ว) + สิ (ธาตุ = นอน), ยุ ปัจจัย, แปลง ยุ เป็น อน (อะ-นะ), ลบ อิ ที่ สิ (สิ > ส, ภาษาไวยากรณ์ว่า “ลบสระหน้า”)
: อา + สิ = อาสิ > อาส + ยุ > อน = อาสน แปลตามศัพท์ว่า “ที่เป็นที่มานอน” (คือแท่นหรือเตียงนอน)
“อาสน” หมายถึง การนั่ง, การนั่งลง, ที่นั่ง, บัลลังก์ (sitting, sitting down; a seat, throne)
อาสน + อิก = อาสนิก แปลตามศัพท์ว่า “ผู้อยู่ ณ อาสนะ” คือผู้นั่งอยู่ ณ ที่นั่ง
(๓) “องฺค” (อัง-คะ) รากศัพท์มาจาก องฺคฺ (ธาตุ = ไป, ถึง, เป็นไป; รู้) + อ ปัจจัย
: องฺคฺ + อ = องค แปลตามศัพท์ว่า (1) “ร่างที่เดินได้” (2) “เหตุเป็นเครื่องรู้ที่เกิด” คือทำให้รู้ต้นกำเนิด (3) “ส่วนอันเขารู้ว่าเป็นอวัยวะ”
“องฺค” ในบาลีหมายถึง ส่วนของร่างกาย, แขนขา, ชิ้นส่วน, ส่วนประกอบ, เหตุ, เครื่องหมาย (part of the body, a limb, part, member, cause, reason, status symbol); ส่วนประกอบของทั้งหมด หรือของระบบ หรือขององค์ (a constituent part of a whole or system or collection)
: เอก + อาสนิก = เอกาสนิก แปลว่า “ผู้อยู่ ณ อาสนะเดียว”
พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ แปลคำนี้ว่า one who keeps to himself
: เอกาสนิก + องฺค = เอกาสนิกงฺค แปลว่า “องค์แห่งผู้อยู่ ณ อาสนะเดียว” หมายถึง ภิกษุผู้ถือนั่งฉัน ณ อาสนะเดียวเป็นวัตร คือฉันวันละมื้อเดียว ลุกจากที่แล้วไม่ฉันอีก (one-sessioner’s Practice)
เอกาสนิกงฺค > เอกาสนิกังคะ เป็นธุดงค์ข้อหนึ่งในบรรดาธุดงค์ 13 ข้อ (ดูเพิ่มเติมที่ “ธุดงค์” บาลีวันละคำ (993) 5-2-58)
เอกาสนิกังคะ (เอ-กา-สะ-นิ-กัง-คะ) เรียกไปเรียกมา ตัดเหลือแค่ “เอกา” แล้วออกเสียงแบบคนเก่าเป็น “เอ้กา”
พระรูปไหน (หรือแม้แต่คนวัดๆ ทั่วไป) ถือฉันมื้อเดียว เรียกว่า “ถือเอ้กา” ก็เป็นอันเข้าใจกัน
: คนส่วนมากไม่ได้ตายเพราะไม่มีจะกิน
: แต่ตายเพราะไม่รู้จักกิน

นาวาเอก ทองย้อย แสงสินชัย
39  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / บาลีวันละคำ‬ อนุมัตเตสุ เมื่อ: กรกฎาคม 13, 2016, 05:45:03 pm
‪บาลีวันละคำ‬
อนุมัตเตสุ
ไม่ใช่ “อนุมัติ”
“อนุมัตเตสุ” เป็นคำบาลีเขียนแบบไทย
เขียนแบบบาลีเป็น “อนุมตฺเตสุ” อ่านว่า อะ-นุ-มัด-เต-สุ
“อนุมตฺเตสุ” ศัพท์เดิมเป็น “อนุมตฺต” (อะ-นุ-มัด-ตะ) ประกอบด้วย อนุ + มตฺต
(๑) “อนุ” เป็นคำอุปสรรค แปลว่า น้อย, ภายหลัง, ตาม, เนืองๆ
แปลว่า “น้อย” เช่น “อนุเถระ” = พระเถระชั้นผู้น้อย “อนุภรรยา” = เมียน้อย
แปลว่า “ภายหลัง” เช่นคำว่า “อนุช” หรือ “อนุชา” = ผู้เกิดภายหลัง คือน้อง “อนุชน” = คนภายหลัง คือคนรุ่นหลัง, คนรุ่นต่อไป
แปลว่า “ตาม” เช่น “อนุบาล” = ตามเลี้ยงดู, ตามระวังรักษา
แปลว่า “เนืองๆ” เช่น “อนุสรณ์” = ระลึกถึงเนืองๆ คือเครื่องระลึก, ที่ระลึก
ในที่นี้ “อนุ” แปลว่า น้อย
(๒) “มตฺต” รูปเดิมเป็น “มตฺตา” รากศัพท์มาจาก มา (ธาตุ = กะ, ประมาณ) + ต ปัจจัย, ลบสระที่สุดธาตุ (มา > ม), ซ้อน ตฺ, + อา ปัจจัยเครื่องหมายอิตถีลิงค์
: มา > ม + ตฺ + ต = มตฺต + อา = มตฺตา แปลตามศัพท์ว่า “จำนวนอันเขาประมาณเอา”
“มตฺตา” เป็นคำนาม เมื่อใช้เป็นคุณศัพท์เปลี่ยนรูปเป็น “มตฺต” มีความหมายหลายนัย ดังนี้ -
(1) ประกอบด้วย, วัดได้ (หรือตวง ฯลฯ ได้), ประมาณ (consisting of, measuring)
(2) มากถึง, คือ เท่านั้น, เพียง, น้อยเพียงเท่านั้นเท่านี้, ไม่แม้แต่(หนึ่ง), ไม่เลย (as much as, i. e. only, a mere, even as little as, the mere fact (of), not even (one), not any)
(3) มากถึง, มากเท่านั้น, บ้าง, เพียงพอที่จะ- (as much as, so much, some, enough of)
(4) เหมือน, เหมือนเช่น, สิ่งที่เรียกว่า, อาจพูดได้ว่า (like, just as what is called, one may say)
(5) แม้, ทันทีที่, เนื่องจาก (even at, as soon as, because of)
อนุ + มตฺต = อนุมตฺต แปลว่า ขนาดเล็ก, เล็กน้อย, นิดเดียว (of small size, atomic, least)
“อนุมตฺต” ใช้เป็นคุณศัพท์ของ “วชฺช” (วัด-ชะ) แปลว่า โทษ, ความผิด
ข้อความที่พบบ่อยในคัมภีร์ คือ -
อนุมตฺเตสุ วชฺเชสุ ภยทสฺสาวี (อะนุมัตเตสุ วัชเชสุ ภะยะทัสสาวี)
สังเกต: "วชฺช” แจกรูปเป็น “วชฺเชสุ” “อนุมตฺต” ซึ่งเป็นคุณศัพท์จึงต้องเปลี่ยนรูปตามเป็น “อนุมตฺเตสุ”
ข้อความนี้เป็นคำแสดงลักษณะของภิกษุที่ประพฤติเคร่งครัดในพระธรรมวินัย แปลตามศัพท์ว่า “มีปกติเห็นภัยในโทษทั้งหลายอันมีประมาณเล็กน้อย”
แปลสกัดความว่า โทษหรือข้อห้ามแม้จะเป็นเรื่องเล็กๆ น้อยๆ ก็เห็นเป็นเรื่องสำคัญ ไม่กล้าล่วงละเมิด
คำว่า “อนุมตฺเตสุ” นี้ บางท่านที่มีจินตนาการทางภาษา เห็นรูปคำ “อนุมตฺ-” และเสียงอ่านว่า อะ-นุ-มัด- ก็เข้าใจไปว่ามีความหมายอย่างเดียวกับ “อนุมัติ” ในภาษาไทย จึงแปลใส่จินตนาการว่า -
... ไม่ยอมอนุมัติไปเสียทุกเรื่อง คือไม่ยอมทำผิดไปเสียทุกเรื่อง ...
“อนุมัติ” บาลีเป็น “อนุมติ” (อะ-นุ-มะ-ติ) พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ
แปลว่า consent, permission, agreement, assent, approval (ยินยอม, อนุญาต, เห็นด้วย, ยอมรับ, อนุมัติ)
(ดูเพิ่มเติมที่ : “อนุญาต - อนุมัติ” บาลีวันละคำ (1,328) 18-1-59)
“อนุมตฺเตสุ” จึงเป็นคนละคำและคนละเรื่องกับ “อนุมัติ” ด้วยประการฉะนี้
: ความผิดแม้จะน้อยนิดเพียงใด บัณฑิตก็รังเกียจ
: ดูก่อนภราดา! อุจจาระแม้เพียงนิดหน่อย ก็เหม็นมิใช่ฤๅ

นาวาเอก ทองย้อย แสงสินชัย
40  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / บาลีวันละคำ‬ สัจธรรม เมื่อ: กรกฎาคม 13, 2016, 05:43:32 pm
‪บาลีวันละคำ‬
สัจธรรม
อ่านว่า สัด-จะ-ทำ
ประกอบด้วย สัจ + ธรรม
(๑) “สัจ”
บาลีเป็น “สจฺจ” (สัด-จะ) รากศัพท์มาจาก -
(1) ส (แทนศัพท์ว่า “สนฺต” = สัตบุรุษ, คนดี) + ภู (ธาตุ = มี, เป็น) + จ ปัจจัย, แปลง ภู เป็น จ
: ส + ภู > จ = สจ + จ = สจฺจ แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งที่มีในคนดีทั้งหลาย” (สัจจะจึงต้องเป็นไปในทางดี)
(2) สรฺ (ธาตุ = เบียดเบียน) + จ ปัจจัย, ลบ รฺ ที่ (ส)-รฺ (สรฺ > ส), ซ้อน จฺ
: สรฺ > ส + จฺ + จ = สจฺจ แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งที่เบียดเบียนทุกข์” (สัจจะจึงต้องใช้เพื่อแก้ทุกข์ คือแก้ปัญหา)
“สจฺจ” เป็นคำนาม แปลว่า ความจริง (the truth), การยืนยันแน่นอน (a solemn asseveration) เป็นคุณศัพท์ แปลว่า จริง, แท้ (real, true)
“สจฺจ” ยังหมายถึง พระนิพพาน โดยนัยว่า เพราะไม่ผิดเพี้ยนไปจากความเป็นเหตุสิ้นราคะ หรือเพราะนับเนื่องในสัจจะสี่
“สจฺจ” สันสกฤตเป็น “สตฺย” สํสกฤต-ไท-อังกฤษ อภิธาน บอกไว้ว่า –
(สะกดตามต้นฉบับ)
(1) สตฺย : (คุณศัพท์) ‘สัตย์’ จริง, มีสัตย์; วิศุทธ์, สุจจริต, ศุทธมติ, หรือกล่าวความจริง; true; sincere, honest, speaking the truth.
(2) สตฺย : (คำนาม) ‘สัตย์’ ความจริง; ประติชญาหรือคำศบถ; การกล่าวความจริง; ความวิศุทธิหรือความจริงใจ true; an oath; speaking the truth; sincerely, or veracity.
“สจฺจ” ในภาษาไทยนิยมตัด จ ออกตัวหนึ่ง เขียนเป็น “สัจ” ถ้าใช้คำเดียวและอ่านว่า สัด-จะ เขียนเป็น “สัจจะ”
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า -
(1) สัจ, สัจ-, สัจจะ : (คำนาม) ความจริง, ความจริงใจ, เช่น ทำงานร่วมกันต้องมีสัจจะต่อกัน. (ป. สจฺจ; ส. สตฺย).
(2) สัตย-, สัตย์ : (คำนาม) ความจริง เช่น รักษาสัตย์, คำมั่นสัญญา, เช่น เสียชีพอย่าเสียสัตย์ ลูกเสือให้สัตย์ปฏิญาณ.(คำวิเศษณ์) จริง เช่น วาจาสัตย์, มักใช้เข้าคู่กับคำอื่น เช่น สัตย์ซื่อ ซื่อสัตย์ สัตย์จริง. (ส.; ป. สจฺจ).
ความหมายในภาษาไทย :
(ตามความเข้าใจของผู้เขียนบาลีวันละคำ)
(๑) สัจจะ : มีความหมายหนักไปในทาง >
(1) ความจริง (the truth) ตรงข้ามกับความเท็จ
(2) จริงใจ, อย่างมีน้ำใสใจจริง (sincere, heartfelt) ตรงข้ามกับมายา เสแสร้ง
(๒) สัตย์ : มีความหมายหนักไปในทาง >
(1) ตรง, โดยตรง; ตรงไปตรงมา (straight, direct; straightforward, honest, upright) ตรงข้ามกับมีลับลมคมใน มีเล่ห์เหลี่ยม
(2) ความซื่อตรง, ความซื่อสัตย์ (straightness, uprightness) ตรงข้ามกับทรยศคดโกง หักหลัง
(๒) “ธรรม”
บาลีเป็น “ธมฺม” (ทำ-มะ) รากศัพท์มาจาก ธรฺ (ธาตุ = ทรงไว้) + รมฺม (ปัจจัย) ลบ รฺ ที่สุดธาตุ และ ร ต้นปัจจัย
: ธรฺ > ธ + รมฺม > มฺม : ธ + มฺม = ธมฺม แปลตามศัพท์ว่า -
(1) “กรรมที่ทรงไว้ซึ่งความดีทุกอย่าง” (หมายถึงบุญ)
(2) “สภาวะที่ทรงผู้ดำรงตนไว้มิให้ตกไปในอบายและวัฏทุกข์” (หมายถึงคุณธรรมทั่วไปตลอดจนถึงโลกุตรธรรม)
(3) “สภาวะที่ทรงไว้ซึ่งสัตว์ผู้บรรลุมรรคเป็นต้นมิให้ตกไปในอบาย” (หมายถึงโลกุตรธรรม คือมรรคผล)
(4) “สภาวะที่ทรงลักษณะของตนไว้ หรืออันปัจจัยทั้งหลายทรงไว้” (หมายถึงสภาพหรือสัจธรรมทั่วไป)
(5) “สภาวะอันพระอริยะมีโสดาบันเป็นต้นทรงไว้ ปุถุชนทรงไว้ไม่ได้” (หมายถึงโลกุตรธรรม คือมรรคผล)
คำแปลตามศัพท์ที่เป็นกลางๆ “ธมฺม” คือ “สภาพที่ทรงไว้”
ในที่นี้ “ธมฺม” หมายถึงสภาพหรือสัจธรรมทั่วไป อันเป็นความหมายตามข้อ (4) “สภาวะที่ทรงลักษณะของตนไว้ หรืออันปัจจัยทั้งหลายทรงไว้”
“ธมฺม” สันสกฤตเป็น “ธรฺม” เราเขียนอิงสันสกฤตเป็น “ธรรม”
สจฺจ + ธมฺม = สจฺจธมฺม > สัจธรรม แปลตามศัพท์ว่า “ธรรมคือความจริง”
พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ ของท่าน ป.อ.ปยุตฺโต บอกไว้ว่า -
สัจจธรรม : ธรรมที่จริงแท้, หลักสัจจะ เช่น ในคำว่า “อริยสัจจธรรมทั้งสี่”
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า -
“สัจธรรม : (คำนาม) ความจริงแท้ เช่น บรรลุสัจธรรม เข้าถึงสัจธรรม.”
พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ไทย-อังกฤษ ของท่าน ป.อ.ปยุตฺโต แปล “สัจธรรม” เป็นอังกฤษว่า the truth; Truth.
พจนานุกรมอังกฤษ-บาลี แปล truth เป็นบาลีว่า -
(1) sacca สจฺจ (สัด-จะ) = ความจริง
(2) taccha ตจฺฉ (ตัด-ฉะ) (คุณศัพท์) = จริง, แท้, ถูกต้อง
(3) tatha ตถ (ตะ-ถะ) (คุณศัพท์) = โดยแท้, ไม่มุสา, แท้, จริง
สรุปว่า “สัจธรรม” ก็คือความจริงแท้ ที่เห็นง่ายและปฏิเสธไม่ได้เลยก็เช่นความแก่และความตาย สัจธรรมนั้นจริงอย่างเดียว ไม่มีเท็จ สัจธรรมไม่ขึ้นกับความเห็น ไม่ว่าใครจะเห็นอย่างไรหรือเชื่ออย่างไร สัจธรรมก็คงเป็นอย่างที่มันเป็น
: หน้าที่ของมนุษย์คือทำความเห็นให้ตรงกับความเป็นจริง
: ที่ยังทำหน้าที่ไม่เสร็จ ก็เพราะไปมัวเกณฑ์ความเท็จให้เป็นความจริง

นาวาเอก ทองย้อย แสงสินชัย
หน้า: [1] 2 3 ... 8