ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: บาลีวันละคำ  (อ่าน 33101 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ปัญญสโก ภิกขุ

  • ศิษย์ตรง
  • มีเหตุมีผล
  • *****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 403
  • อริยสโก
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
บาลีวันละคำ
« เมื่อ: กันยายน 13, 2014, 02:05:54 pm »
0
ต้องขอขอบคุณ  นาวาเอกทองย้อย แสงสินชัย  ที่ได้อนุญาต  ให้นำมาเผย่แพร่ต่อได้




ส่วนท่านใดสนใจ ก็อุดหนุนกันได้

ส่วนเล่มนี้เป็นธรรมทาน






เริ่มต้นกันด้วยคำนี้ที่เกี่ยวกับกรรมฐาน
นาภี
อ่านว่า นา-พี
บาลีเป็น “นาภิ” (-ภิ สระ อิ, แต่ที่เป็น “นาภี” ก็มี)
“นาภิ” รากศัพท์มาจาก นภฺ (ธาตุ = เบียดเบียน) + อิ ปัจจัย, ทีฆะ อ (ที่ น-) เป็น อา
: นภฺ >นาภ + อิ = นาภิ แปลตามศัพท์ว่า -
(1) “ชิ้นส่วนที่เบียดเพลา” หมายถึง ดุมล้อ หรือแกนกลางของล้อรถ
(2) “อวัยวะที่เหมือนกับดุมล้อ” คืออยู่ตรงกลางเหมือนกัน หมายถึง สะดือ
พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ แปล “นาภิ” เป็นภาษาอังกฤษว่า -
(1) the navel = สะดือ
(2) the nave of a wheel = ดุมล้อ
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2542 บอกไว้ว่า -
“นาภิ, นาภี ๑ : (คำนาม) สะดือ, ราชาศัพท์ใช้ว่า พระนาภี, เช่น พระพุทธรูปส่วนสูงวัดจากพระบาทถึงพระนาภี, ท้อง เช่น ประชวรพระนาภี; ดุมเกวียน, ดุมรถ; ศูนย์กลาง. (ป., ส.).”
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 ตัดความหมายที่ว่า ดุมเกวียน, ดุมรถ ออกไป และแก้ไขบทนิยามเป็นดังนี้ -
“นาภิ, นาภี ๑ : (คำนาม) สะดือ, ราชาศัพท์ใช้ว่า พระนาภี, เช่น พระพุทธรูปส่วนสูงวัดจากพระบาทถึงพระนาภี, ท้อง เช่น ประชวรพระนาภี; ศูนย์กลาง เช่น อันไพโรจรูจี ในนาภีพสุธา (นันโท). (ป., ส.).”
คัมภีร์อภิธานัปทีปิกา คาถาที่ 271 แสดงศัพท์ที่หมายถึง “ท้อง” (อวัยวะ) ไว้ 4 คำ คือ กุจฺฉิ คหณี อุทร คพฺภ ไม่มีคำว่า “นาภี”
สํสกฤต-ไท-อังกฤษ อภิธาน บอกไว้ว่า -
“นาภิ, นาภี : (คำนาม) มัธยภาคแห่งล้อ, ดุมล้อรถ; กัสตูรี, มฤคนาภิ, คันธธูลิ (แผลงจาก-- คันธธุลี), ชะมด; สะดือ; อธิราช, มหาราช, อธีศวร, พระเจ้าอยู่หัว, ไทเหนือว่า--‘เจ้าเหนือหัว’, พระราชา, นฤบดี; กษัตริย์หรือฮินดูผู้วงศ์วานกษัตริย์ชาตินักรบ; บุตรของปริยวฺรต ชาติ, วงศ์; the nave of a wheel; musk; the navel; an emperor, a sovereign, a paramount lord, a king, a chief; a Kshatriya or Hindū of the regal and military tribe; a race, a family.”
ไม่มีคำแปลที่หมายถึง “ท้อง” เช่นกัน
เป็นอันว่า “นาภี” ที่หมายถึง “ท้อง” (the belly, the abdomen, the stomach; the womb) เป็นความหมายในภาษาไทย
“นาภิ” หรือ “นาภี” บาลีแปลว่า สะดือ และ ดุมล้อ
ขณะที่เขียน บาลีวันละคำ อยู่นี้ยังค้นไม่พบ “นาภี” ในคัมภีร์ที่หมายถึง “ท้อง”
: ท้องหิว ใจอิ่ม
: อันตรายน้อยกว่าท้องอิ่ม แต่ใจหิว
-------------
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กันยายน 15, 2014, 07:56:10 pm โดย ปัญญสโก ภิกขุ »
บันทึกการเข้า

ปัญญสโก ภิกขุ

  • ศิษย์ตรง
  • มีเหตุมีผล
  • *****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 403
  • อริยสโก
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
(845) อามาสัย บาลีวันละคำ
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: กันยายน 13, 2014, 02:08:07 pm »
0
(845)
อามาสัย
เมื่อวันที่ 6 กันยายน 2557 สำนักพระราชวังออกแถลงการณ์ เรื่อง สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี เสด็จฯ ไปประทับ ณ โรงพยาบาลวิชัยยุทธ ฉบับที่ 1 มีข้อความว่า
…………
ด้วยสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี มีพระอาการไม่ปรกติในพระนาภี (ท้อง) และมีพระอาการอ่อนเพลีย คณะแพทย์ผู้ถวายการรักษาจึงได้ถวายการตรวจ ผลการตรวจพบว่า พระอามาสัย (กระเพาะอาหาร) อักเสบ คณะแพทย์ฯ จึงถวายพระโอสถร่วมกับสารอาหารทางหลอดพระโลหิต และขอพระราชทานให้ประทับ ณ โรงพยาบาล และกราบทูลให้ทรงงดพระกรณียกิจสักระยะหนึ่ง
.........
มีผู้หารือว่า ‘กระเพาะอาหาร’ ราชาศัพท์ควรเขียนว่า “พระอามาสัย” (ส เสือ) หรือ “พระอามาศัย” (ศ ศาลา)
ในบาลีมีคำว่า “อามาสย” (อา-มา-สะ-ยะ) ประกอบด้วยคำว่า อาม + อาสย
“อาม” (อา-มะ) ในบาลีมี 2 คำ -
(1) “อาม” คำหนึ่งเป็นศัพท์จำพวก “นิบาต” เป็นคำรับ นักเรียนบาลีมักแปลกันว่า “เออ” ตรงกับที่เราพูดว่า ครับ, ค่ะ, จริงๆ, ทีเดียว, แน่นอนละ (yes, indeed, certainly)
(2) “อาม” อีกคำหนึ่งเป็นคุณศัพท์ มีความหมายว่า -
(ก) ดิบ, ยังไม่เสร็จ หมายถึงสิ่งของซึ่งยังทำไม่เสร็จตามขั้นตอน เช่น ภาชนะดินเผาที่ยังไม่ได้เผา (raw, unbaked, unfinished)
(ข) ยังไม่สุก หมายถึงอาหาร เช่น ปลา เนื้อ ที่โดยธรรมดาจะต้องหุงต้มหรือปรุงให้สุกก่อน แต่ยังไม่ได้ทำให้สุก (unbaked, uncooked)
“อาม” ในที่นี้เป็นคุณศัพท์ ตามข้อ (2)
“อาสย” (อา-สะ-ยะ) รากศัพท์มาจาก อา (แทนศัพท์ว่า อาคม = มา) + สิ (ธาตุ = นอน) แผลง อิ (ที่ สิ) เป็น เอ แผลง เอ เป็น อย
: อา + สิ > เส > สย = อาสย แปลตามศัพท์ว่า “ที่เป็นที่มานอน” (มาถึงแล้วไม่ไปไหน นอนอยู่ที่นั่นเลย)
อาม + อาสย = อามาสย แปลตามศัพท์ว่า “ที่เป็นที่มานอนแห่งของดิบ” หมายถึง กระเพาะอาหารที่รับอาหารซึ่งยังมิได้ย่อย หมายถึง ท้อง (receptacle of undigested food = the stomach)
เสริมความรู้ :
อามาสย ตรงกันข้ามกับ “ปกฺกาสย” (ปัก-กา-สะ-ยะ)
“ปกฺกาสย” มาจาก ปกฺก (สุกแล้ว) + อาสย = ปกฺกาสย หมายถึง ที่รับอาหารที่ย่อยแล้ว คือ ท้อง (receptacle for digested food = the abdomen)
ในอาการ 32 บอกว่า -
(1) สิ่งที่เข้าไปอยู่ใน “อามาสย” เรียกว่า “อุทริย” (อุ-ทะ-ริ-ยะ) แปลว่า “อาหารใหม่”
(2) สิ่งที่เข้าไปอยู่ใน “ปกฺกาสย” เรียกว่า “กรีส” (กะ-รี-สะ) แปลว่า “อาหารเก่า”
อามาสย ในบาลี เป็น “อามาศย” และ “อามาศฺรย” ในสันสกฤต (สะกดด้วยอักษรโรมันเป็น āmāśaya & āmāśraya)
สํสกฤต-ไท-อังกฤษ อภิธาน บอกไว้ว่า -
“อามาศย : (คำนาม) กระเพาะอาหาร the stomach.”
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 ไม่ได้เก็บคำว่า “อามาสัย” (ส เสือ-บาลี) หรือ “อามาศัย” (ศ ศาลา-สันสกฤต) ไว้ จึงยังตกลงไม่ได้ว่าคำนี้ควรสะกดอย่างไร
“อามาสัย” - ส เสือ สะกดตามบาลี
“อามาศัย” - ศ ศาลา สะกดตามสันสกฤต
ในต้นฉบับแถลงการณ์สำนักพระราชวังดังอ้างถึงข้างต้น สะกดคำนี้เป็น “อามาสัย” (ส เสือ)
: กินเพื่ออยู่ อยู่ไปชั่วฟ้าดิน
: อยู่เพื่อกิน อยู่ได้แค่ตาย
----------------
บันทึกการเข้า

suchin_tum

  • ไม่กลับมาเกิด
  • ศิษย์ตรง
  • มีเหตุมีผล
  • *****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 486
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: บาลีวันละคำ
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: กันยายน 13, 2014, 09:07:05 pm »
0
ขออนุโมทนาสาธุ
บันทึกการเข้า
ขอน้อมอาราธนากำลังแห่งครูอาจารย์กรรมฐานมัชฌิมาจงมาประสิทธิ์ประศาสตร์

ปัญญสโก ภิกขุ

  • ศิษย์ตรง
  • มีเหตุมีผล
  • *****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 403
  • อริยสโก
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
(848) อรรถคดี บาลีวันละคำ
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: กันยายน 14, 2014, 01:35:59 pm »
0
บาลีวันละคำ (848)

อรรถคดี
(บาลีไทย)

อ่านว่า อัด-ถะ-คะ-ดี
เทียบเป็นบาลีว่า “อตฺถคติ” (อัด-ถะ-คะ-ติ)
ประกอบด้วย อตฺถ + คติ

“อตฺถ” มีความหมายหลายอย่าง เช่น -

(1) กำไร, ผลประโยชน์, การได้เปรียบ, ความดี (ทางศีลธรรม), พร, สวัสดิภาพ, ผลที่ได้มา, ความรุ่งเรือง, สวัสดิการ (interest, advantage, gain; (moral) good, blessing, welfare; profit, prosperity, well-being)

(2) ความประสงค์, ความต้องการ, ความปรารถนา (need, want)

(3) เนื้อความ, ความหมาย, ความสำคัญ (ของคำพูด), การหมายถึง (sense, meaning, import, denotation, signification)

(4) เรื่องราว, ความเห็น, คดี (affair, cause, case)

“อตฺถ” ในภาษาไทยใช้อิงสันสกฤตเป็น “อรรถ” พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า -

“อรรถ, อรรถ- : (คำนาม) เนื้อความ เช่น แปลโดยอรรถ, คําที่ยังไม่ได้แปลความหมาย เช่น คําอรรถ. (ส. อรฺถ; ป. อตฺถ).”

“คดี” บาลีเป็น “คติ” (คะ-ติ) แปลตามศัพท์ว่า “การไป” แต่มีความหมายอย่างอื่นอีก คือ การจากไป, การผ่านไป, ทางไป, ที่ไป, ที่อยู่, ที่เกิดใหม่, ภพภูมิที่ไปเกิด, ทิศทาง, แนวทาง, วิถีชีวิต, ความเป็นไป, แบบอย่าง, วิธี

“คติ” แปลงเป็น “คดี” ในภาษาไทย เกิดความหมายใหม่ พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า -

“คดี : (คำนาม) เรื่อง, มักใช้ประกอบคําศัพท์ เช่น โบราณคดี คดีโลก คดีธรรม วรรณคดี สารคดี; (คำที่ใช้ในกฎหมาย) เรื่องหรือความที่ฟ้องร้องหรือกล่าวหากันในทางกฎหมาย ซึ่งต้องดำเนินการตามกระบวนวิธีพิจารณาความตามที่กฎหมายกำหนด เช่น คดีแพ่ง คดีอาญา คดีปกครอง. (ป. คติ).

อตฺถ + คติ = อตฺถคติ > อรรถคดี พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า -

“อรรถคดี : (คำที่ใช้ในกฎหมาย) (คำนาม) เรื่องที่ฟ้องร้องกันในศาล.”

ข้อสังเกต :

(1) คำว่า “อตฺถ – อรรถ” ในภาษาบาลีที่น่าจะมีความหมายเกี่ยวกับ “เรื่องที่ฟ้องร้องกันในศาล” คือความหมายตามข้อ (4) ความหมายนี้ พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ แปลเป็นภาษาอังกฤษว่า affair, cause, case

(2) “เรื่องที่ฟ้องร้องกันในศาล” ภาษาอังกฤษคำตรงๆ คือ lawsuit แต่ไม่มีในคำแปลคำว่า “อตฺถ”

(3) “เรื่องที่ฟ้องร้องกันในศาล” ภาษาบาลีมีคำตรงว่า “อฏฺฏ” (อัด-ตะ) โปรดสังเกตรูปและเสียง จะเห็นว่าใกล้เคียงกับ “อตฺถ” พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ แปล “อฏฺฏ” เป็นภาษาอังกฤษว่า lawsuit, case, cause

(4) พจนานุกรมอังกฤษ-บาลี แปลคำว่า lawsuit เป็นบาลีว่า (๑) aṭṭa อฏฺฏ (อัด-ตะ) (๒) adhikaraṇa อธิกรณ (อะ-ทิ-กะ-ระ-นะ) คำนี้คือที่ใช้ในทางวินัยสงฆ์ว่า “อธิกรณ์” พจน.54 บอกความหมายไว้ว่า เหตุ, โทษ, คดี, เรื่องราว

(5) ในภาษาไทย มีคำว่า เป็นความ, คดีความ, หมอความ, ว่าความ และแม้แต่ “ความ” คำเดียวก็ยังหมายถึง “คดีที่ฟ้องร้องกันในโรงศาล” (พจน.54)

(6) “อตฺถ” ในบาลีตามความหมายในข้อ (3) ข้างต้น คือ “เนื้อความ, ความหมาย” ซึ่งเป็นคำเดียวกับ “ความ” ในภาษาไทยนั่นเอง

เพราะฉะนั้น อตฺถ, ความ, อฏฺฏ, อรรถคดี จึงมีความหมายพัลวันกันอยางมีนัยสำคัญ ด้วยประการฉะนี้

: กฎหมายยุติได้เพียงแค่อรรถคดี
: แต่น้ำใจไมตรียุติไปถึงความเป็นศัตรู
บันทึกการเข้า

ปัญญสโก ภิกขุ

  • ศิษย์ตรง
  • มีเหตุมีผล
  • *****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 403
  • อริยสโก
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
(849) ประโยชน์ บาลีวันละคำ
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: กันยายน 15, 2014, 02:47:30 pm »
0
(849) ประโยชน์
อ่านว่า ปฺระ-โหฺยด
บาลีเป็น “ปโยชน” อ่านว่า ปะ-โย-ชะ-นะ
“ปโยชน” รากศัพท์คือ ป (คำอุปสรรค = ทั่ว, ข้างหน้า, ก่อน, ออก) + ยุชฺ (ธาตุ = ประกอบ) + ยุ ปัจจัย, แผลง อุ (ที่ ยุชฺ) เป็น โอ, แปลง ยุ ปัจจัยเป็น อน (อะ-นะ)
: ป + ยุชฺ > โยช = ปโยช + ยุ > อน = ปโยชน แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งที่พึงประกอบ”
“ปโยชน” สันสกฤตเป็น “ปฺรโยชน” สํสกฤต-ไท-อังกฤษ อภิธาน บอกไว้ว่า (สะกดตามต้นฉบับ) -
“ปฺรโยชน : (คำนาม) ‘ประโยชน์’, เหตุ; อวกาศหรือโอกาศ; มูล; การย์; ทรัพย์หรือพัสดุ; ความมุ่งหมาย, จินดาหรืออุบายในใจ cause; occasion; origin; purpose; object; intention; design.
ในภาษาไทยเขียนอิงสันสกฤตเป็น “ประโยชน์” พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า -
“ประโยชน์ : (คำนาม) สิ่งที่มีผลใช้ได้ดีสมกับที่คิดมุ่งหมายไว้, ผลที่ได้ตามต้องการ, สิ่งที่เป็นผลดีหรือเป็นคุณ, เช่น ประโยชน์ของการศึกษา ประโยชน์ของโรงเรียน. (ส. ปฺรโยชน; ป. ปโยชน).”
“ปโยชน” ในภาษาบาลีมีความหมายมากกว่าที่เข้าใจกันในภาษาไทย คือหมายถึง -
(1) การประกอบการ, ธุรกิจ (undertaking, business)
(2) การแต่งตั้ง, การกำหนด (appointment)
(3) กฎ, คำสั่ง, ข้อห้าม (prescript, injunction)
(4) ความประสงค์, การประยุกต์ใช้, การใช้ให้เป็นประโยชน์ (purpose, application, use)
: ถ้ายังตัดประโยชน์ส่วนตัวได้ไม่เด็ดขาด
: อย่าบังอาจอาสาเข้าไปทำงานเพื่อบ้านเมือง
บันทึกการเข้า

ฟ้าใหม่แจ่มใส

  • พอพึ่งพาได้
  • ***
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 226
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: บาลีวันละคำ
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: กันยายน 15, 2014, 02:48:39 pm »
0
มีความรู้มากคะ อันที่จริง น่าจัดไปทุกวัน นะคะ ได้ประโหยด มากคะ

  :88: :25: st11 st12
บันทึกการเข้า
เครดิต ยายกบ ถ้าไม่ถูกใจก็ต้องว่า ยายกบ เพราะชวนมาศึกษาธรรมะ

ปัญญสโก ภิกขุ

  • ศิษย์ตรง
  • มีเหตุมีผล
  • *****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 403
  • อริยสโก
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
ตอบกลับ บาลีวันละคำ
« ตอบกลับ #6 เมื่อ: กันยายน 15, 2014, 04:09:40 pm »
0
ตอนนี้ ถ้ามีเวลา ก็จะนำมาลงไว้ให้ได้อ่าน กันทุกวัน ให้สมเป็น บาลี วันละคำ นะจ๊ะ เจริญพร
บันทึกการเข้า

ปัญญสโก ภิกขุ

  • ศิษย์ตรง
  • มีเหตุมีผล
  • *****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 403
  • อริยสโก
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
(847) ประณีต บาลีวันละคำ
« ตอบกลับ #7 เมื่อ: กันยายน 15, 2014, 08:01:05 pm »
0
‪ประณีต
(ไม่ใช่ ปราณีต)
อ่านว่า ปฺระ-นีด
บาลีเป็น “ปณีต” อ่านว่า ปะ-นี-ตะ
“ปณีต” รากศัพท์มาจาก ป (ทั่ว, ข้างหน้า, ก่อน, ออก) + นี (ธาตุ = ถึง, นำไป) + ต ปัจจัย, แปลง น เป็น ณ
: ป + นี > ณี + ต = ปณีต แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งที่ถึงความเป็นประธาน” “สิ่งที่นำส่วนที่เด่นออกมา” หมายถึง ทำให้สูง, ยกขึ้น, สูงส่ง, เลอเลิศ (made high, raised, exalted, lofty, excellent)
ในสำนวนบาลีถ้ากล่าวถึง “อาหารการกิน” ว่า “ปณีต” จะหมายถึง มากมายเหลือเฟือ, บริบูรณ์, อุดมสมบูรณ์ (heaped up, plentiful, abundant)
“ปณีต” ในภาษาไทยใช้ว่า “ประณีต” พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า -
“ประณีต : (คำวิเศษณ์) ละเอียดลออ, เรียบร้อยงดงาม, เช่น ฝีมือประณีต ทําอย่างประณีต, ที่ปรุงอย่างสุดฝีมือด้วยของดี ๆ เช่น ปรุงอาหารอันประณีต. (ส. ปฺรณีต; ป. ปณีต).”
“ประณีต” มักมีผู้เขียนผิดเป็น “ปราณีต”
โปรดระลึกไว้ว่า คำนี้เขียน “ประณีต” ไม่ใช่ “ปราณีต”
เลือกงามตามปรารถนา :
: เสื้อผ้าอาภรณ์ประณีต = สะเก็ดงาม
: รูปร่างหน้าตาประณีต = เปลือกงาม
: กิริยาวาจาประณีต = กระพี้งาม
: ใจประณีต = แก่นงาม
บันทึกการเข้า

suwannasut

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 10
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: บาลีวันละคำ
« ตอบกลับ #8 เมื่อ: กันยายน 15, 2014, 08:27:02 pm »
0
 st11 thk56 st12
บันทึกการเข้า

saichol

  • พอพึ่งพาได้
  • ***
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 247
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: บาลีวันละคำ
« ตอบกลับ #9 เมื่อ: กันยายน 15, 2014, 10:12:00 pm »
0
 st12 st12 st12
บันทึกการเข้า

ปัญญสโก ภิกขุ

  • ศิษย์ตรง
  • มีเหตุมีผล
  • *****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 403
  • อริยสโก
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
(850) ครูบาอาจารย์ บาลีวันละคำ
« ตอบกลับ #10 เมื่อ: กันยายน 16, 2014, 09:19:13 pm »
0
(850)
ครูบาอาจารย์
อ่านว่า คฺรู-บา-อา-จาน
ประกอบด้วยคำว่า ครู + บา + อาจารย์
(๑) “ครู”
บาลีเป็น “ครุ” (คะ-รุ) ใช้ในภาษาไทยเป็น -
(1) ครุ = หนัก, สำคัญ
(2) ครู = ครู
คำบาลี “ครุ” ในยุคหลังใช้เป็น “คุรุ” ซึ่งตรงกับรูปคำสันสกฤต = ครู
“ครุ” ที่หมายถึง “ครู” แปลตามรากศัพท์ว่า (1) “ผู้ลอยเด่น” (2) “ผู้หลั่งความรู้ไปในหมู่ศิษย์” (3) “ผู้คายความรู้ให้หมู่ศิษย์”
แปลตามความหมายที่รับรู้ได้ด้วยความรู้สึกว่า ผู้รับภาระอันหนัก, ผู้ควรแก่การเคารพนับถือ, ผู้ควรได้รับการยกย่อง, ผู้ควรให้ความสำคัญ, ผู้ควรแก่ค่าสูง
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า -
“ครู ๑ : (คำนาม) ผู้สั่งสอนศิษย์, ผู้ถ่ายทอดความรู้ให้แก่ศิษย์. (ป. ครุ, คุรุ; ส. คุรุ).
(๒) “บา”
ถ้าเทียบบาลีก็ควรมาจาก “ปา” แต่ยังไม่พบคำว่า “ปา” ในบาลีที่มีความหมายสำเร็จในคำเดียว นอกจากที่เป็นพยางค์หน้าของคำ เช่น ปาเจร, ปาจริย (อาจารย์ของอาจารย์, อาจารย์แต่ปางก่อน) ผู้นิยม “ลากเข้าวัด” หรือ “จับบวช” อาจพอใจที่จะอธิบายว่า “บา” กร่อนมาจาก ๒ คำนี้ หรือจากคำว่า “บาเรียน” (ผู้เล่าเรียน, ผู้รู้ธรรม, ผู้คงแก่เรียน, เปรียญ)
แต่พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า -
“บา : (ถิ่น-พายัพ) (คำนาม) ครู, อาจารย์; (ถิ่น-พายัพ, อีสาน) ชายหนุ่ม.”
นอกจากนี้ยังมีคำว่า “ครูบา” ซึ่ง พจน.54 บอกไว้ว่า -
“ครูบา : (ถิ่น-พายัพ) (คำนาม) ครูผู้สอนกุลบุตร หมายถึง สมภาร, คำใช้เรียกพระเถระผู้เป็นที่เคารพนับถือ ซึ่งมักจะมีอายุ ๕๐ ปีขึ้นไป.”
“ครูบา” ในคำว่า “ครูบาอาจารย์” น่าจะมาจากคำนี้
(๓) “อาจารย์”
บาลีเป็น “อาจริย” (อา-จะ-ริ-ยะ) ภาษาไทยนิยมใช้ตามรูปสันสกฤต คือ “อาจารฺย” เขียนว่า “อาจารย์” (อา-จาน)
“อาจริย” ประกอบด้วยคำว่า อา + จรฺ + อิย = อาจริย
“อาจริย - อาจารฺย - อาจารย์” แปลตามศัพท์ว่า (1) “ผู้ประพฤติเอื้อเฟื้อเกื้อกูลแก่ศิษย์” (2) “ผู้ยังศิษย์ให้ศึกษามาแต่ต้น” (3) “ผู้อันศิษย์พึงประพฤติ คือปรนนิบัติด้วยความเอาใจใส่” (4) “ผู้บำเพ็ญประโยชน์สุขแก่ศิษย์อย่างดียิ่ง”
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า -
“อาจารย์ : (คำนาม) ผู้สั่งสอนวิชาความรู้; คําที่ใช้เรียกนําหน้าชื่อบุคคลเพื่อแสดงความยกย่องว่ามีความรู้ในทางใดทางหนึ่ง. (ส.; ป. อาจริย).”
ข้อสังเกต :
(1) ผู้ทำหน้าที่สอนในสถาบันการศึกษา เคยมีระเบียบกำหนดชื่อตำแหน่งหรือสถานภาพว่า ใครเป็น “ครู” ใครเป็น “อาจารย์” ไว้ชัดเจน
(2) คำเรียกขานในสังคม หากจะเรียก “ครู” ก็เรียกเฉพาะผู้ทำหน้าที่สอนในสถาบันการศึกษา (คือเป็นหรือเคยเป็น “ครู” มาจริงๆ) แต่คำว่า “อาจารย์” อาจใช้เรียกเพื่อแสดงความยกย่องว่ามีความรู้ในทางใดทางหนึ่งแม้ผู้ถูกเรียกจะไม่เคยทำหน้าที่สอนในสถาบันการศึกษามาก่อนเลยก็ตาม
(3) ธรรมเนียมทหารเรือไทย นิยมเรียกนายทหารสัญญาบัตรว่า “ครู” เป็นสรรพนามที่สื่อถึงความเคารพและให้เกียรติอย่างหนึ่ง (พบนายทหารเรือที่เราไม่รู้จักเป็นส่วนตัว ใช้สรรพนามเรียก “ครู” ไว้ก่อน จะสร้างความรู้สึกเป็นกันเองหรือ “เป็นพวกเดียวกัน” ได้อย่างสนิทสนม)
(4) คำว่า “ครูบาอาจารย์” เป็นคำจำพวกที่เรียกว่า “คำสร้อยสี่พยางค์” หรือคำคล้องจอง (เช่น ถ้วยโถโอชาม เลี้ยงดูปูเสื่อ มั่งมีศรีสุข ฯลฯ) เป็นเสน่ห์อย่างหนึ่งของภาษาไทย ได้ยินคนรุ่นใหม่มักพูดเป็น “ครูอาจารย์” แทนที่จะเป็น “ครูบาอาจารย์” อาจเป็นเพราะคุ้นแต่ “ครู” และ “อาจารย์” แต่ไม่คุ้น ไม่แน่ใจ และไม่รู้ความหมายของคำว่า “บา” จึงทิ้งหรือข้ามคำนี้ไปเสีย เป็นเรื่องที่น่าเสียดาย
: บอกให้จำ ไม่เท่ากับทำให้ดู
: ทำผิดเป็นครู ดีกว่าอวดรู้แต่ไม่เคยทำ
บันทึกการเข้า

nirvanar55

  • มีเหตุมีผล
  • ****
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 305
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: บาลีวันละคำ
« ตอบกลับ #11 เมื่อ: กันยายน 16, 2014, 09:35:27 pm »
0
 st12 st12
บันทึกการเข้า

ปัญญสโก ภิกขุ

  • ศิษย์ตรง
  • มีเหตุมีผล
  • *****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 403
  • อริยสโก
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
(851) ประนม-พนม บาลีวันละคำ
« ตอบกลับ #12 เมื่อ: กันยายน 17, 2014, 06:04:08 pm »
0
 (851)
ประนม-พนม
มาจากคำอะไร
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า -
(1) ประณม : (คำนาม) การน้อมไหว้. (ส.).
(2) ประนม : (คำกริยา) ยกกระพุ่มมือ, ยกมือขึ้นกระพุ่ม.
(3) ประนมมือ : (คำกริยา) กระพุ่มมือ, พนมมือ ก็ว่า.
(4) พนม : (คำนาม) ภูเขา. (เขมร); ลักษณะของสิ่งที่เป็นพุ่มยอดแหลมอย่างดอกบัวตูม. (คำกริยา) ทําให้มีรูปอย่างดอกบัวตูม เช่น พนมมือ.
(5) พนมมือ : (คำกริยา) กระพุ่มมือ, ประนมมือ ก็ว่า.
สันนิษฐาน :
(1) บาลีมีคำว่า “นม” (นะ-มะ) แปลว่า ความนอบน้อม คำว่า “นโม” ที่เราคุ้นกันดีก็มาจากคำนี้
(2) “นม” รากศัพท์คือ นมฺ ธาตุ = นอบน้อม เติม “ป” (คำอุปสรรค = ทั่ว, ข้างหน้า, ก่อน, ออก) เป็น “ปนม” (ปะ-นะ-มะ) รูปคำกริยา (ปฐมบุรุษ เอกพจน์) เป็น ปณมติ, ปณาเมติ (แปลง น เป็น ณ) คำว่า “ประณาม” ก็มีรากศัพท์เดียวกันนี้
(3) คำว่า “ประณม” (สันสกฤต ตาม พจน.54) ก็ตรงกับ “ปนม > ปณม” ของบาลี คำนี้แปลตามศัพท์ว่า “การนอบน้อมไปข้างหน้า” กิริยาตามวัฒนธรรมชาวตะวันออกคือ ประกบฝ่ามือเข้าด้วยกันแล้วประคองไว้ระหว่างอก ทำอุ้งมือให้เป็นกระพุ้งเล็กน้อยมีลักษณะคล้ายดอกบัวตูม ถือว่างามกว่าแนบฝ่ามือติดกัน
(4) ประณม < ปณม < ปนม ออกเสียง “ป” เพี้ยนเป็น “พ” แล้วเลยเขียนเป็น “พนม” ขึ้นมาอีกรูปหนึ่ง (ป-พ-ผ คำไหนเพี้ยนไปเป็นคำไหนจะง่ายกว่ากัน ควรศึกษาต่อไปอีก)
(5) ลักษณะมือที่ “ประณม” ให้เป็นพุ่มอย่างดอกบัวตูมนี่เองที่ไปเป็นความหมายของคำว่า “พนม” ในภาษาไทย (ดู พจน.ข้างต้น)
(6) คิดเล่นๆ ได้อีกนัยหนึ่ง คือ “ประ” หมายถึง ปะทะ, กระทบ, ระ “นม” ก็คือ นม (ส่วนของร่างกาย อยู่บริเวณหน้าอก) เมื่อประคองมือไว้ระหว่างอก มือจึง “ประนม” คือ กระทบนม ถูกนม โดนนม “ประนม” จึงหมายถึง ยกกระพุ่มมือ, ยกมือขึ้นกระพุ่ม (ดู พจน.ข้างต้น)
สรุปในเบื้องต้น (ซึ่งอาจไม่ใช่ตามนี้) ว่า :
(1) “พนม” เพี้ยนมาจาก “ประนม”
(2) “ประนม” กลายมาจาก ประณม < ปณม < ปนม
อานุภาพของมือที่ประนม :
ประนมมือจากหัวใจที่ไร้เล่ห์
เป็นเสน่ห์นำให้ชิดสนิทสนม
ถึงมนตร์เป่าไปปลายยังคลายปม
มือประนมมัดใจไว้จนตาย
บันทึกการเข้า

ปัญญสโก ภิกขุ

  • ศิษย์ตรง
  • มีเหตุมีผล
  • *****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 403
  • อริยสโก
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
(852) ปฏิรูปประเทศ-ปฏิรูปเทส บาลีวันละคำ
« ตอบกลับ #13 เมื่อ: กันยายน 18, 2014, 11:31:58 pm »
0
(852)
ปฏิรูปประเทศ-ปฏิรูปเทส
“ปฏิรูป” (ปะ-ติ-รูบ) พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกความหมายไว้ว่า -
(1) (คำวิเศษณ์) สมควร, เหมาะสม, เช่น ปฏิรูปเทส คือ ถิ่นที่สมควร หรือ ถิ่นที่เหมาะสม.
(2) เทียม, ไม่แท้, เช่น มิตรปฏิรูป.
(3) (คำกริยา) ปรับปรุงให้สมควร เช่น ปฏิรูปบ้านเมือง.
“ปฏิรูป” ในคำว่า “ปฏิรูปประเทศ” นี้มีความหมายตามข้อ (3) คำนี้เข้าใจว่าบัญญัติเทียบภาษาอังกฤษว่า reform (re = ปฏิ form = รูป, reform = ปฏิรูป)
พจนานุกรม สอ เสถบุตร ให้ความหมายของ reform ไว้ดังนี้ -
1 เปลี่ยนรูปใหม่, ปฏิรูป, รวบรวมใหม่
2 กลับตัว, แก้ไข, ดัดนิสัย, ดัดแปลงแก้ไขให้ดีขึ้น
ดังนั้น “ปฏิรูปประเทศ” ในภาษาไทยจึงมีความหมายว่า “ปรับปรุงประเทศให้เกิดความเหมาะสม”
รูปและเสียงคำว่า “ปฏิรูปประเทศ” พ้องกับคำบาลีว่า “ปฏิรูปเทส” (ปะ-ติ-รู-ปะ-เท-สะ) แต่ความหมายไม่เหมือนกัน
“ปฏิรูปเทส” ในบาลีมาจาก ปฏิรูป (คำวิเศษณ์ = พอเหมาะ, สมควร, เหมาะสม, เหมาะเจาะ) + เทส (คำนาม = สถานที่, ถิ่น, ประเทศ) = ปฏิรูปเทส หมายถึง ถิ่นที่เหมาะสม, ดินแดนที่ควรอยู่อาศัยใช้ชีวิต
แง่ภาษา :
ในภาษาบาลี “ปฏิรูปเทส” เป็นคำนามทั้งสองคำ “ปฏิรูป” ขยาย “เทส” คือ ปฏิรูป < เทส บอกให้รู้ว่าเป็นประเทศที่เหมาะสม (a suitable country)
ในภาษาไทย “ปฏิรูป” เป็นกริยา “ประเทศ” เป็นกรรม คือ ปฏิรูป > ประเทศ (to reform the country) ปฏิรูปแล้วจะเป็นประเทศที่เหมาะสมหรือไม่ หรือเหมาะสมสำหรับใคร เป็นอีกเรื่องหนึ่ง
: ปฏิรูปแล้วเหมาะสม ก็ควรชมว่าวิเศษ
: ปฏิรูปแล้วยิ่งซ้ำ ก็เป็นกรรมของประเทศ

ได้ยินคำนี้แล้วทำให้นึกถึงบทมงคลสูตรที่ว่า "ปะฏิรูปะเทสะวาโส จะ"  การอยู่ในสถานที่อันสมควร  แล้วเลยนึกไปถึงบทเริ่มที่ว่า
"อะเสวะนา จะ พาลานัง           ปัณฑิตานัญจะ เสวะนา
ปูชา จะ ปูชะนียานัง                เอตัมมังคะละมุตตะมัง ฯ
    การไม่คบคนพาล                  การคบแต่บัณฑิต
การบูชาบุคคลผู้ควรบูชา           ทั้ง ๓ ประการนี้ เป็นมงคลอันสูงสุด"

แล้วเห็นจริงดังนี้
   
            กัมมัสกตา กัมมัสกตา กัมมัสกตา สาธุครับ 
บันทึกการเข้า

ปัญญสโก ภิกขุ

  • ศิษย์ตรง
  • มีเหตุมีผล
  • *****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 403
  • อริยสโก
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
(854) ปัญหา : บาลีวันละคำ
« ตอบกลับ #14 เมื่อ: กันยายน 20, 2014, 08:44:40 pm »
0
(854)
ปัญหา
อ่านว่า ปัน-หา
บาลีเขียนเป็น “ปญฺหา” อ่านว่า ปัน-หา เหมือนกัน
“ปญฺหา” แปลตามศัพท์ว่า “เรื่องที่พึงถาม” “เรื่องที่คนอยากรู้”
“ปญฺหา” คำที่คุ้นหน้าคุ้นตา แต่มีความหมายมากกว่าที่เราคิด คือหมายถึง -
(1) คำถาม, ระบบคำถาม, แบบสอบถาม (a question, a system of questions, questionnaire)
(2) วิธีถาม, การสอบถาม, การสืบสวน, ปัญหา (mode of asking, inquiry, investigation, question)
(3) การถาม, การสอบถาม, การไต่ถาม (asking, enquiring, questioning)
“ปญฺหา” ในภาษาบาลีแจกรูปเป็น “ปญฺโห” (คำเพศชาย) ด้วย แต่ในภาษาไทยนำมาใช้เฉพาะรูป “ปัญหา”
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า -
“ปัญหา : (คำนาม) ข้อสงสัย, ข้อขัดข้อง, เช่น ทําได้โดยไม่มีปัญหา, คําถาม, ข้อที่ควรถาม, เช่น ตอบปัญหา, ข้อที่ต้องพิจารณาแก้ไข เช่น ปัญหาเฉพาะหน้า ปัญหาทางการเมือง. (ป.).”
พระพุทธศาสนาเสนอแนะเทคนิคการแก้ปัญหา (mode of answering questions) ไว้ 4 วิธี คือ -
(1) เอกังสพยากรณ์ - “โดยตรง” (direct) เทียบกับรูปแบบการรบ = เข้าปะทะซึ่งหน้าแบบใครดีใครอยู่
(2) วิภัชชพยากรณ์ - “มีเงื่อนไขประกอบ” (qualified) = แยกกำลังข้าศึกออกแล้วเข้าตีเป็นด้านๆ ไป
(3) ปฏิปุจฉาพยากรณ์ - “หลังจากได้สอบถามเพิ่มเติม” (after further questioning) = หยั่งเชิง หลอกล่อ ซุ่มโจมตีไปเรื่อยๆ จนกว่าจะสบโอกาสเผด็จศึก
(4) ฐปนียพยากรณ์ - “ไม่ตอบหรือเก็บไว้โดยไม่เฉลย” (not to be answered or left undecided) = หย่าศึก เลิกรบ เมื่อเห็นว่ารบไปก็ไร้ประโยชน์
: มองเห็นแค่ตัวปัญหา มีทางแพ้
: มองไกลไปถึงวิธีแก้ มีทางชนะ
บันทึกการเข้า

ปัญญสโก ภิกขุ

  • ศิษย์ตรง
  • มีเหตุมีผล
  • *****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 403
  • อริยสโก
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
(855) บทบาท : บาลีวันละคำ
« ตอบกลับ #15 เมื่อ: กันยายน 20, 2014, 09:56:28 pm »
0
(855)
บทบาท
(เชื้อชาติบาลี สัญชาติไทย)
อ่านว่า บด-บาด
“บท” บาลีเป็น “ปท” (ปะ-ทะ) แปลตามศัพท์ว่า “สภาวะที่ควรบรรลุ” “สิ่งเป็นเหตุเป็นไปแห่งผล” “อวัยวะเป็นเครื่องเดินไป”
“ปท” โดยทั่วไปแปลว่า เท้า, รอยเท้า, ทาง (foot, footstep, track) ในภาษาไทยมักใช้ทับศัพท์ว่า “บท”
คำว่า ปท-บท ยังมีความหมายอื่นๆ อีก เช่น ตำแหน่ง, สถานที่, เหตุ, หลักการ, ส่วนประกอบ (position, place, case, principle, ingredient)
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกความหมายของ “บท” ไว้ว่า -
(1) ข้อความเรื่องหนึ่ง ๆ หรือตอนหนึ่ง ๆ เช่น บทที่ ๑ บทที่ ๒.
(2) กําหนดคําประพันธ์ที่ลงความตอนหนึ่ง ๆ เช่น โคลง ๔ สุภาพ ๔ บาท เป็น ๑ บท
(3) คําที่ตัวละครพูด เช่น บอกบท.
(4) คําประพันธ์ที่เขียนขึ้นสําหรับเล่นละคร มีทั้งบทร้องและบทเจรจา เช่น บอกบท เขียนบท.
(5) คราว, ตอน, ในคําเช่น บทจะทําก็ทํากันใหญ่ บทจะไปก็ไปเฉย ๆ บทจะตายก็ตายง่ายเหลือเกิน.
“บาท” บาลีเป็น “ปาท” (ปา-ทะ) แปลตามศัพท์ว่า “อวัยวะเป็นเครื่องดำเนินไป” ใช้ในความหมายว่า เท้า, โคนไม้, รากไม้, เชิงเขาหรือส่วนล่างของภูเขา, วรรคหนึ่งของฉันท์หรือคาถา (กาพย์กลอนในบาลี), อัตราหนึ่งของเงินที่ใช้ซื้อขาย
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกความหมายของ “บาท” ไว้ว่า -
(1) ตีน, ราชาศัพท์ว่า พระบาท.
(2) มาตราเงินตามวิธีประเพณี ๑๐๐ สตางค์ หรือ ๔ สลึง เท่ากับ ๑ บาท.
(3) ชื่อมาตราชั่งตามวิธีประเพณี สําหรับกําหนดนํ้าหนักเท่ากับเงินหนัก ๑๕ กรัม.
(4) ส่วนหนึ่งของบทแห่งคําประพันธ์ เช่น โคลง ๔ สุภาพ บทหนึ่งมี ๔ บาท.
(5) ช่วงเวลาเท่ากับ ๑ ใน ๑๐ ของชั่วโมง เท่ากับ ๖ นาที.
ทั้ง “บท” และ “บาท” เป็นคำที่มาจากบาลี แต่ละคำมีความหมายเฉพาะ แต่ในภาษาไทยมีความหมายแตกต่างออกไปจากบาลี
เมื่อเอา “บท” และ “บาท” มารวมกันในภาษาไทยเป็น “บทบาท” ก็แทบจะไม่เหลือความหมายในภาษาเดิม
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า -
“บทบาท : (คำนาม) การทําท่าตามบท, การรําตามบท, โดยปริยายหมายความว่า การทําตามหน้าที่ที่กําหนดไว้ เช่น บทบาทของพ่อแม่ บทบาทของครู.”
พจนานุกรม สอ เสถบุตร แปลคำว่า “บทบาท” เป็นภาษาอังกฤษว่า a role, the part (of the father)
คำว่า role แปลว่า (เล่นเป็น) ตัว (พระเอก), หน้าที่, บทบาท
พจนานุกรมอังกฤษ-บาลี แปล role เป็นภาษาบาลีว่า
(1) pāṭekka-kicca ปาเฏกฺก-กิจฺจ (ปา-เตก-กะ-กิด-จะ) = หน้าที่ของแต่ละคน
(2) āyattakamma อายตฺตกมฺม (อา-ยัด-ตะ-กำ-มะ) = งานที่เกี่ยวข้อง (กับแต่ละคน)
จะเห็นได้ว่า พจนานุกรมอังกฤษ-บาลี แปล role ได้ตรงกับความหมายของ “บทบาท” ในภาษาไทย แต่ก็ไม่ได้แปลเป็นบาลีว่า “ปทปาท” (ปะ-ทะ-ปา-ทะ = บทบาท) !
“บทบาท” จึงเป็นคำเชื้อชาติบาลี สัญชาติไทย เหมือนแขกอินเดียที่พูดไทยชัด แต่พูดฮินดีไม่ได้สักคำ-ฉันใดก็ฉันนั้น
บัณฑิตพึงรู้จักบทบาทของตน :
ในหมู่คนเขลา อย่าอวดฉลาด
ในหมู่คนขลาด อย่าอวดกล้า
ในหมู่คนบ้า อย่าอวดดี
เพราะในหมู่คนเช่นนี้ อวดอะไรไปก็เหนื่อยเปล่า
บันทึกการเข้า

ปัญญสโก ภิกขุ

  • ศิษย์ตรง
  • มีเหตุมีผล
  • *****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 403
  • อริยสโก
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
(856) ปริมาณ-คุณภาพ บาลีวันละคำ
« ตอบกลับ #16 เมื่อ: กันยายน 25, 2014, 12:16:20 pm »
0
 (856)
ปริมาณ-คุณภาพ
อ่านว่า ปะ-ริ-มาน / คุณ-นะ-พาบ
“ปริมาณ” บาลีอ่านว่า ปะ-ริ-มา-นะ รากศัพท์มาจาก ปริ (ปะ-ริ = รอบ, ทั่วๆ ไป) + มา (ธาตุ = นับ) + ยุ ปัจจัย, แปลง ยุ เป็น อน, แปลง น เป็น ณ
: ปริ + มา = ปริมา + ยุ > อน = ปริมาน > ปริมาณ แปลตามศัพท์ว่า “การนับรอบๆ” “การกำหนดนับ” ภาษาไทยใช้ทับศัพท์ว่า “ปริมาณ” หมายถึง จำนวน, ขอบเขต, เขตกำหนด (measure, extent, limit)
“คุณภาพ” เทียบบาลีเป็น “คุณภาว” (คุ-นะ-พา-วะ) ประกอบด้วย คุณ + ภาว
“คุณ” (คุ-นะ) รากศัพท์มาจาก คุณฺ (ธาตุ = ประกาศ, ผูก, มัด, สั่งสม) + อ ปัจจัย
: คุณฺ + อ = คุณ แปลตามศัพท์ว่า -
(1) “สิ่งที่ประกาศความดีของตน” = เมื่อทำสิ่งนั้น ก็จะประกาศให้รู้ว่าสิ่งที่ทำหรือผู้ทำสิ่งนั้นมีความดี
(2) “สิ่งที่ผูกผลไว้กับตน” = เมื่อทำสิ่งนั้นก็เท่ากับได้ผลของสิ่งนั้นติดพันมาด้วย
(3) “สิ่งอันผู้ต้องการความดีสั่งสม” = ใครต้องการความดีก็ต้องสั่งสมสิ่งนั้น ถ้าไม่สั่งสมก็ไม่มีและไม่ได้สิ่งที่ต้องการ
“คุณ” หมายถึง คุณภาพ, คุณความดี, ผลประโยชน์, ผลบุญ (quality, good quality, advantage, merit)
“ภาว” แปลว่า ความมี, ความเป็น, ความปรากฏ, ภาวะ, ธรรมชาติ (being, becoming, condition, nature)
คุณ + ภาว = คุณภาว แปลตามศัพท์ว่า “ความมีคุณ” “ความเป็นสิ่งที่มีประโยชน์”
“คุณภาว” เป็นรูปคำที่มีในภาษาบาลี แต่ไม่ได้ใช้ในความหมายอย่างในภาษาไทย
“คุณภาว” ภาษาไทยใช้ว่า “คุณภาพ” (แปลง ว เป็น พ)
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า -
(1) ปริมาณ : (คำนาม) กําหนดความมากน้อยของจํานวน.
(2) คุณ ๑, คุณ- : (คำนาม) ความดีที่มีประจําอยู่ในสิ่งนั้น ๆ; ความเกื้อกูล เช่น รู้คุณ. (ป., ส.) ...
(3) ภาพ, ภาพ- : (คำนาม) ความ, ความมี, ความเป็น, มักใช้ประกอบเป็นส่วนท้ายของคำสมาส เช่น มรณภาพ ว่า ความตาย ...
(4) คุณภาพ : (คำนาม) ลักษณะที่ดีเด่นของบุคคลหรือสิ่งของ.
“ปริมาณ” (quantity) กับ “คุณภาพ” (quality) เป็นคำที่เรามักนึกถึงควบคู่กัน
พจนานุกรมอังกฤษ-บาลี แปลคำทั้งสองไว้ดังนี้ -
(1) quantity = parimāṇa ปริมาณ ตรงกับที่เราใช้ทับศัพท์
(2) bad quality = dugguṇa ทุคฺคุณ (ทุก-คุ-นะ) = คุณภาพเลว
(3) good quality = sagguṇa สคฺคุณ (สะ-คุ-นะ) = มีคุณภาพ
: สังคมที่คุณภาพเหนือปริมาณ คนพาลย่อมถูกกำราบ
: สังคมที่ปริมาณเหนือคุณภาพ คนบาปก็เริงสำราญ
บันทึกการเข้า

ธุลีธวัช (chai173)

  • ปัญญา นัตถิ อฌายโต “ปัญญาไม่มีแก่ผู้ไม่พินิจ”
  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +35/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 2905
  • Respect: +2
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: (856) ปริมาณ-คุณภาพ บาลีวันละคำ
« ตอบกลับ #17 เมื่อ: กันยายน 25, 2014, 12:43:01 pm »
0
ปริมาณ-คุณภาพ
อ่านว่า ปะ-ริ-มาน / คุณ-นะ-พาบ
“ปริมาณ” (quantity) กับ “คุณภาพ” (quality) เป็นคำที่เรามักนึกถึงควบคู่กัน
พจนานุกรมอังกฤษ-บาลี แปลคำทั้งสองไว้ดังนี้ -
(1) quantity = parimāṇa ปริมาณ ตรงกับที่เราใช้ทับศัพท์
(2) bad quality = dugguṇa ทุคฺคุณ (ทุก-คุ-นะ) = คุณภาพเลว
(3) good quality = sagguṇa สคฺคุณ (สะ-คุ-นะ) = มีคุณภาพ
: สังคมที่คุณภาพเหนือปริมาณ คนพาลย่อมถูกกำราบ
: สังคมที่ปริมาณเหนือคุณภาพ คนบาปก็เริงสำราญ

สังคมที่คุณภาพเหนือปริมาณ คนพาลย่อมถูกกำราบ
สังคมที่ปริมาณเหนือคุณภาพ คนบาปก็เริงสำราญ


:13:        thk56        :13:        thk56        :13:        thk56        :13:           
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กันยายน 25, 2014, 12:48:15 pm โดย THAWATCHAI173 »
บันทึกการเข้า
ศรัทธา, ศีล, พาหุสัจจะ, วิริยารัมภะ, ปัญญา

Admax

  • ผู้อุปถัมภ์
  • โยคาวจรผล
  • ****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 1063
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: บาลีวันละคำ
« ตอบกลับ #18 เมื่อ: กันยายน 27, 2014, 04:03:30 pm »
0
 st12 st12 st12
บันทึกการเข้า
ความติดข้องใจเสพย์อารมณ์ความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น สมุทัย
ผลของการดำเนินไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น ทุกข์
รู้สัจธรรมและปรมัตถ์ ดำรงอยู่ในกุศล สติ ศีล สมาธิ พรหมวิหาร๔ คิดดี พูดดี ทำดี เป็น มรรค
การดับไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี ถึง อัพยกตธรรม เป็น นิโรธ

ปัญญสโก ภิกขุ

  • ศิษย์ตรง
  • มีเหตุมีผล
  • *****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 403
  • อริยสโก
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
(862) อสรพิษ บาลีวันละคำ
« ตอบกลับ #19 เมื่อ: กันยายน 28, 2014, 04:10:28 pm »
0
อสรพิษ
อ่านว่า อะ-สอ-ระ-พิด
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า -
“อสรพิษ : (คำนาม) สัตว์มีพิษในเขี้ยว มักหมายถึง งูพิษ, โดยปริยายหมายถึงคนที่ลอบทำร้ายหรือให้ร้ายผู้มีคุณหรือผู้อื่นด้วยความอิจฉาริษยาเป็นต้น. (ส. อสิร + วีษ; ป. อาสีวิส).”
พจน.54 บอกว่า “อสรพิษ” ถ้าเป็นสันสกฤต คือ “อสิร + วีษ” แต่บาลีเป็น “อาสีวิส”
“อาสีวิส” (อา-สี-วิ-สะ) ประกอบด้วย อาสี + วิส
“อาสี” (เป็น อาสิ ก็มี) รากศัพท์มาจาก อสฺ (ธาตุ = กิน) + ณี ปัจจัย, ลบ ณ เหลือแต่ อี, ยืดเสียง อ- (ที่ อสฺ)เป็น อา
: อสฺ > อาส + ณี > อี = อาสี แปลตามศัพท์ว่า “อวัยวะเป็นเครื่องกินที่มีอยู่ในปาก” หมายถึง เขี้ยว, เขี้ยวสัตว์ (โดยเฉพาะเขี้ยวงู) (a large tooth, fang)
“วิส” รากศัพท์มาจาก วิสฺ (ธาตุ = เข้าไป) + อ ปัจจัย แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งที่เข้าสู่ร่างกายทางเส้นเลือด” หมายถึง ยาพิษ, พิษ, พิษของสัตว์ (poison, virus, venom)
โปรดสังเกตคำแปลเป็นภาษาอังกฤษคำหนึ่ง : virus ที่เราเรียกทับศัพท์ว่า ไวรัส ก็คือ วิส > พิษ นี่เอง
อาสี + วิส = อาสีวิส แปลตามศัพท์ว่า “มีพิษสะสมอยูที่เขี้ยว” หมายถึง งูพิษ
: อาสีวิส > อสิรวีษ > อสรพิษ
“อาสีวิส” ของบาลี เป็น “อสิรวีษ” ของสันสกฤต และเป็น “อสรพิษ” ของไทย
“อสรพิษ” หมายถึงอะไร โปรดดูคำนิยามของพจนานุกรมข้างต้น
สำหรับบุรุษ : ท่านย่อมว่าสตรีคืออสรพิษ
สำหรับการเมือง : ท่านว่าสตางค์คืออสรพิษร้ายสุด
บันทึกการเข้า

ปัญญสโก ภิกขุ

  • ศิษย์ตรง
  • มีเหตุมีผล
  • *****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 403
  • อริยสโก
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
(861) รับประทาน บาลีวันละคำ
« ตอบกลับ #20 เมื่อ: กันยายน 28, 2014, 04:11:59 pm »
0
รับประทาน
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกความหมายของ “รับประทาน” (คำกริยา) ไว้ว่า -
(1) กิน เช่น รับประทานอาหาร
(2) (ราชาศัพท์) รับของจากเจ้านาย เช่น รับประทานสิ่งของจากสมเด็จพระสังฆราช รับประทานประกาศนียบัตรจากพระองค์เจ้า.
“รับ” เป็นคำไทย แต่ “ประทาน” เป็นคำอะไร ?
พจน.54 มีคำว่า “ประทาน” บอกไว้ว่า -
“ประทาน : (ราชาศัพท์) (คำกริยา) ให้ (ใช้แก่เจ้านาย). (ส.).”
(ส.) ในวงเล็บหมายความว่า พจน.54 บอกว่า “ประทาน” มาจากคำสันสกฤต
สํสกฤต-ไท-อังกฤษ อภิธาน มีคำว่า “ปฺรทาน” บอกไว้ว่า -
“ประทาน : (คำนาม) ‘ประทาน’, ทาน, ของให้, การให้; ปฏัก; a gift or donation, giving; a goad.”
บาลีมีคำกริยา “ปทาติ” (ปะ-ทา-ติ) แปลว่า
(1) ให้, มอบให้ (to give, bestow)
(2) ได้มา, ถือเอา (to acquire, take, get)
จากคำกริยา “ปทาติ” เป็นคำนามว่า “ปทาน” (ปะ-ทา-นะ) รากศัพท์คือ ป (ทั่ว, ข้างหน้า, ก่อน, ออก) + ทา (ธาตุ = ให้) + ยุ ปัจจัย, แปลง ยุ เป็น อน (อะ-นะ)
: ป + ทา = ปทา + ยุ > อน = ปทาน เขียนอิงสันสกฤตเป็น “ประทาน” แปลว่า การให้, ของที่ให้, การสละ, การมอบให้ (giving, a gift, donation, bestowing)
สรุปว่า -
1 มีการให้ หรือมีของที่ให้ เรียกว่า “ประทาน”
2 ไปรับของที่ให้นั้นมา เรียกว่า “รับประทาน”
สันนิษฐาน : (คือเดา และสามารถช่วยกันเดาเป็นอย่างอื่นได้อีก)
1 ทำไม “รับประทาน” จึงหมายถึง “กิน”
น่าจะเป็นเพราะของที่ “รับประทาน” มาส่วนใหญ่เป็นของกิน และเมื่อรับมาแล้วก็กิน ความหมายของ “รับประทาน” จึงเคลื่อนที่ไปอยู่ที่ “กิน” (แล้วยังนิยมพูดลัดตัดเหลือเพียง -ทาน = กิน จึงเท่ากับเพี้ยนซ้ำซ้อน คือ “ทาน” = ให้ กลายเป็น ทาน = กิน
2 ทำไมสำนวนพระเทศน์จึงนิยมใช้ว่า “รับประทานแสดงพระธรรมเทศนา” (ถ้าแสดงให้พระเจ้าแผ่นดินฟัง ใช้ว่า “รับพระราชทาน....”)
น่าจะเป็นเพราะก่อนเทศน์ต้องอาราธนาธรรม เท่ากับญาติโยม “ถวายโอกาสให้พระแสดงธรรม” พระก็ “รับประทาน” = รับการถวายโอกาสนั้นมา จึงขึ้นต้นสำนวนเทศน์ว่า “บัดนี้ จะได้รับประทานแสดงพระธรรมเทศนา...”
รู้จักให้ รู้จักกิน :
แม้ทำชั่วควรติฉิน ก็ยังมีคนชมว่าดี
ถ้ายิ่งใช้ในการทำดี ก็ยิ่งเป็นยอดดี
บันทึกการเข้า

ปัญญสโก ภิกขุ

  • ศิษย์ตรง
  • มีเหตุมีผล
  • *****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 403
  • อริยสโก
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
(860) บริโภค-อุปโภค บาลีวันละคำ
« ตอบกลับ #21 เมื่อ: กันยายน 28, 2014, 04:12:52 pm »
0
บริโภค-อุปโภค
บริโภค อ่านว่า บอ-ริ-โพก
อุปโภค อ่านว่า อุ-ปะ-โพก ก็ได้ อุบ-ปะ-โพก ก็ได้ (ตาม พจน.54)
บาลีเป็น “ปริโภค” (ปะ-ริ-โพ-คะ) “อุปโภค” (อุ-ปะ-โพ-คะ)
คำหลักคือ “โภค” (โพ-คะ) แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งอันคนใช้สอย” หรือ “สิ่งที่ต้องใช้สอย” :
(1) ปริ (รอบ, ทั่วๆ ไป) + โภค = ปริโภค แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งอันคนใช้สอยรอบด้าน”
(2) อุป (เข้าไป, ใกล้, มั่น) + โภค = อุปโภค แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งที่นำเข้าไปไว้ใกล้แล้วกินใช้”
ถามว่า “บริโภค-อุปโภค” คำไหนหมายถึง “กิน” คำไหนหมายถึง “ใช้สอย”
พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ แปลคำคู่นี้ไว้ค่อนข้างชัดเจน คือ -
(๑) ปริโภค = (1) material for enjoyment, food, feeding (เครื่องบริโภค, อาหาร, โภชนะ) (2) enjoyment, use (การบริโภค, การใช้สอย)
(๒) อุปโภค = enjoyment, profit (เครื่องอุปโภค, เครื่องใช้สอย, สิ่งที่เป็นประโยชน์)
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า -
(1) บริโภค : (คำกริยา) กิน (ใช้เฉพาะอาการที่ทําให้ล่วงลําคอลงไปสู่กระเพาะ) เช่น บริโภคอาหาร, เสพ เช่น บริโภคกาม; ใช้สิ้นเปลือง, ใช้สอย, เช่น บริโภคสมบัติ, คู่กับ อุปโภค. (ป. ปริโภค).
(2) อุปโภค : (คำกริยา) เอามาใช้ให้เกิดประโยชน์, คู่กับ บริโภค. (คำวิเศษณ์) ที่เอามาใช้ให้เกิดประโยชน์ ในคำว่า เครื่องอุปโภค. (ป., ส.).
พจนานุกรม สอ เสถบุตร เมื่อแปลคำว่า “บริโภค” และ “อุปโภค” เป็นภาษาอังกฤษใช้คำตรงกันอยู่คำหนึ่ง คือ to consume
พจนานุกรมอังกฤษ-บาลี แปล consume เป็นบาลีว่า -
(1) khepeti เขเปติ (เข-เป-ติ) = ทำให้หมดสิ้นไป
(2) vināseti วินาเสติ (วิ-นา-เส-ติ) = ทำให้สูญสิ้น, ทำให้เสียหาย
นับว่าแปลได้ตรงสาระ นั่นคือ ไม่ว่าจะ “ใช้สอย” หรือ “กิน” ก็ล้วนแต่ทำให้หมดสิ้นไปเหมือนๆ กัน
: เครื่องกินเครื่องใช้ไม่ใช่จุดหมายของชีวิตโดยตรง
: เป็นเพียงเครื่องช่วยส่งไปให้ถึงจุดหมาย
เพราะฉะนั้น
: จงไปให้ถึงจุดหมาย
: อย่ามัวแต่วุ่นวายอยู่กับเรื่องใช้เรื่องกิน
บันทึกการเข้า

ปัญญสโก ภิกขุ

  • ศิษย์ตรง
  • มีเหตุมีผล
  • *****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 403
  • อริยสโก
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
(859) อุษณีย์ - อุษณีษ์ บาลีวันละคำ
« ตอบกลับ #22 เมื่อ: กันยายน 28, 2014, 04:13:58 pm »
0
อุษณีย์ - อุษณีษ์
อ่านว่า อุด-สะ-นี
ดูดีๆ ไม่เหมือนกัน
๑ อุษณีย์ (ย ยักษ์การันต์)
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 ไม่ได้เก็บคำว่า อุษณีย์ ไว้
แต่มีคำว่า อุษณ- อ่านว่า อุด-สะ-นะ- บอกไว้ว่า -
“อุษณ- : (คำนาม) ความร้อน; ฤดูร้อน; ของร้อน. (คำวิเศษณ์) ร้อน, อบอุ่น. (ส., ป. อุณฺห).”
ขีด (-) หลัง ณ- หมายความว่า ไม่มีคำที่ใช้ว่า “อุษณ” ตรงๆ แต่จะใช้ควบกับคำอื่น (มีคำอื่นมาต่อท้าย)
พจน.54 เก็บคำ “อุษณ-” ที่มีคำอื่นต่อท้ายไว้หลายคำ คือ -
(1) อุษณกร (อุด-สะ-นะ-กอน) : (คำนาม) “ผู้กระทําความร้อน” หมายถึง พระอาทิตย์.
(2) อุษณกาล (อุด-สะ-นะ-กาน) : (คำนาม) ฤดูร้อน.
(3) อุษณรัศมี (อุด-สะ-นะ-รัด-สะ-หฺมี) : (คำวิเศษณ์) มีรัศมีร้อน หมายถึง พระอาทิตย์, คู่กับ สีตลรัศมี มีรัศมีเย็น หมายถึง พระจันทร์.
(4) อุษณรุจี (อุด-สะ-นะ-รุ-จี) : (คำวิเศษณ์) มีแสงอันร้อน หมายถึง พระอาทิตย์.
(5) อุษณาการ (อุด-สะ-นา-กาน) : (คำนาม) อาการเร่าร้อน. (ส. อุษฺณาการ; ป. อุณฺหาการ).
“อุษณีย์” ถ้าสะกดอย่างนี้ คือ ย ยักษ์การันต์ ก็ต้องอธิบายตามกฎบาลีไวยากรณ์ว่า อุษณ (ความร้อน) + อีย ปัจจัย (อีย ปัจจัย มีความหมายว่า-เป็นที่ตั้งแห่ง-, ควรแก่-, เกื้อกูลแก่-)
: อุษณ + อีย = อุษณีย (อุด-สะ-นี-ยะ) > อุษณีย์ (อุด-สะ-นี) แปลตามศัพท์ว่า “เป็นที่ตั้งแห่งความร้อน” “ควรแก่ความร้อน” “เกื้อกูลแก่ความร้อน” = ถ้าต้องการความร้อนละก็-นี่แหละใช่เลย
แปลในทางบวกก็ว่า “เป็นที่ตั้งแห่งความอบอุ่น” = อยู่ที่ไหนอุ่นใจที่นั่น
อุษณีย์ < อุษณีย < อุษณ บาลีเป็น “อุณฺห” (อุน-หะ) ศัพท์เดียวกับที่ใช้ในคำว่า “อุณหภูมิ” = ระดับความสูงต่ำของความร้อน
๒ อุษณีษ์ (ษ ฤๅษีการันต์)
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า -
“อุษณีษ์ : (คำนาม) มงกุฎ; กรอบหน้า. (ส.; ป. อุณฺหีส).”
อุษณีษ์ สันสกฤตเป็น “อุษฺณีษ” บาลีเป็น “อุณฺหีส” (อุน-นะ-ฮี-สะ ออกเสียง -นะ- แผ่วๆ คล้าย อุน-หฺนีด-สะ)
พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ แปล “อุณฺหีส” เป็นภาษาอังกฤษว่า a turban
(ผ้าโพกศีรษะ)
สํสกฤต-ไท-อังกฤษ อภิธาน แปล “อุษฺณีษ” ว่า ศิโรเวฐน์, ผ้าโพก, มงกุฎ, รัดเกล้า a turban, a diadem, a crown.
พจน.54 มีคำว่า “อุณหิส” (อุน-นะ-หิด) บอกไว้ว่า -
“อุณหิส : (คำนาม) กรอบหน้า, มงกุฎ. (ป. อุณฺหีส; ส. อุษฺณีษ).”
อุณฺหีส - อุณหิส เป็นคำเดียวกับที่ปรากฏในพระนามเจ้าฟ้า “มหาวชิรุณหิศ” สยามมกุฏราชกุมารพระองค์แรก (มหา+วชิร+อุณหิศ)
“วชิรุณหิศ” มีความหมายว่า “มงกุฎเพชร”
สรุปว่า อุษณีษ์ - อุณหิส มีความหมายเหมือนกัน
และโปรดสังเกตบทนิยามใน พจน.54 :
- อุษณีษ์ : มงกุฎ; กรอบหน้า.
- อุณหิส : กรอบหน้า, มงกุฎ.
สันนิษฐาน : “อุษณีย์” (ย ยักษ์การันต์) มีได้อย่างไร
(1) เข้าใจว่า คำจริงๆ ที่ประสงค์คือ “อุษณีษ์” (ษ ฤๅษีการันต์) เพราะมีความหมายดี เหมาะที่จะใช้ตั้งชื่อบุคคล
(2) เราคุ้นกับคำที่ออกเสียง -นี- และมี ย การันต์ มากกว่า เช่น เสาวนีย์ พจนีย์ กรณีย์ ประกอบกับโครงสร้างรูปทรง ย กับ ษ คล้ายคลึงกลมกลืนกัน เมื่อเห็นคำ “อุษณีษ์” จึงเขียนด้วยความเข้าใจผิดเป็น “อุษณีย์” ได้อย่างสนิท
(3) ยิ่งเมื่อใช้เป็นชื่อบุคคลย่อมได้รับสิทธิพิเศษสะกดการันต์ได้ตามใจชอบ คำว่า “อุษณีย์” ซึ่งเจตนาเดิมตั้งใจหมายถึง “อุษณีษ์” จึงอยู่ในฐานะเป็นคำที่ถูกต้องไปโดยปริยาย
(4) จึงไม่ควรแปลกใจถ้าเจ้าของชื่อหรือตัวผู้ตั้งชื่อจะยืนยันว่า “อุษณีย์” (ย ยักษ์การันต์) แปลว่า มงกุฎ หรือเครื่องประดับศีรษะ
(5) อุษณ + อีย = อุษณีย > อุษณีย์ เทียบบาลีเป็น อุณฺหีย (อุณฺห+อีย) แม้ตามกฎไวยากรณ์จะมีได้ แต่ก็ยังไม่พบคำที่ใช้ในคัมภีร์ และความหมายตามศัพท์ก็ดูจะไม่น่ารื่นรมย์เท่าไรนัก ทั้งไม่เกี่ยวกับมงกุฎ หรือเครื่องประดับศีรษะแต่ประการใด
: คนฉลาดทำผิดแล้วแก้
: คนเขลาแท้ทำผิดแล้วกลบ
บันทึกการเข้า

ปัญญสโก ภิกขุ

  • ศิษย์ตรง
  • มีเหตุมีผล
  • *****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 403
  • อริยสโก
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
(858) ญาติธรรม บาลีวันละคำ
« ตอบกลับ #23 เมื่อ: กันยายน 28, 2014, 04:15:13 pm »
0
ญาติธรรม
อ่านว่า ยาด-ติ-ทำ หรือ ยา-ติ-ทำ ก็ได้
แต่อ่านว่า ยาด-ทำ ถือว่าอ่านผิด
หลักคือ “ญาติ” บาลีอ่านว่า ยา-ติ ภาษาไทยอ่านว่า ยาด
ถ้ามีคำอื่นมาสมาสข้างท้าย อ่านว่า ยา-ติ- หรือ ยาด-ติ- คือต้องออกเสียง -ติ- ด้วย
บาลีเป็น “ญาติธมฺม” อ่านว่า ยา-ติ-ทำ-มะ
ประกอบด้วย ญาติ + ธมฺม
“ญาติ” แปลตามศัพท์ว่า “ผู้อันเขารู้กันว่าเป็นใคร”
ความหมายในภาษาไทยคือ “คนในวงศ์วานที่ยังนับรู้กันได้ทางเชื้อสายฝ่ายพ่อหรือฝ่ายแม่”
ท่านว่า “ญาติ” มี 2 ประเภท คือ -
1 คนที่รู้จักกัน ซึ่งอาจใช้คำเรียกว่า “ญาติมิตร”
2 คนที่เกี่ยวข้องกันทางสายเลือด คือ “ญาติสาโลหิต”
“ธมฺม” มาจากรากศัพท์ว่า ธรฺ (ธาตุ = ทรงไว้) + รมฺม (ปัจจัย) ลบ รฺ ที่สุดธาตุ และ ร ต้นปัจจัย = ธมฺม แปลว่า “สภาพที่ทรงไว้”
“ธมฺม” สันสกฤตเป็น “ธรฺม” เราเขียนอิงสันสกฤตเป็น “ธรรม”
“ธรรม” คำง่ายๆ เหมือนหญ้าปากคอก แต่ใช้ทับศัพท์กันจนแทบจะไม่ได้นึกถึงความหมายที่แท้จริง
“ธมฺม - ธรรม” มีความหมายหลายหลาก ดังต่อไปนี้ -
สภาพที่ทรงไว้, ธรรมดา, ธรรมชาติ, สภาวธรรม, สัจธรรม, ความจริง; เหตุ, ต้นเหตุ; สิ่ง, ปรากฏการณ์, ธรรมารมณ์, สิ่งที่ใจคิด; คุณธรรม, ความดี, ความถูกต้อง, ความประพฤติชอบ; หลักการ, แบบแผน, ธรรมเนียม, หน้าที่; ความชอบ, ความยุติธรรม; พระธรรม, คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ซึ่งแสดงธรรมให้เปิดเผยปรากฏขึ้น
ในที่นี้ “ธรรม” มีความหมายเฉพาะ คือหมายถึง หน้าที่
ญาติ + ธมฺม = ญาติธมฺม > ญาติธรรม
พจน.54 บอกไว้ว่า -
“ธรรม” ที่คําประกอบท้ายคําที่เป็นนามธรรม เมื่อประกอบแล้วมีความหมายไม่ต่างไปจากคําศัพท์เดิม เช่น วัฒนธรรม อารยธรรม.
คำว่า “ญาติ” น่าจะไม่ใช่ “นามธรรม” หรือถ้าใช่ ก็ต้องอยู่ในข้อยกเว้น เพราะเมื่อเอาคำว่า “ธรรม” มาประกอบท้ายมีความหมายเพิ่มขึ้นจากคำเดิม คือ “ญาติธรรม” หมายถึง หน้าที่ของญาติพี่น้อง (the duties of relatives)
หน้าที่ของคนที่เป็นญาติกันก็คือ “เมื่ออยู่ เกื้อกูลกัน, เมื่อจาก ระลึกถึงกัน”
: บางคน เป็นญาติกันแค่ตาย
: บางคน ตายแล้วก็ยังเป็นญาติกัน
: บางคนตัดญาติกันตั้งแต่ยังไม่ตาย
เทศกาลสารท : เทศกาลปฏิบัติญาติธรรม
บันทึกการเข้า

ปัญญสโก ภิกขุ

  • ศิษย์ตรง
  • มีเหตุมีผล
  • *****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 403
  • อริยสโก
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
(857) กฎ บาลีวันละคำ
« ตอบกลับ #24 เมื่อ: กันยายน 28, 2014, 04:17:03 pm »
0
กฎ
อ่านว่า กด
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกความหมายของ “กฎ” ไว้ว่า -
(1) (คำโบราณ) (คำกริยา) จดไว้เป็นหลักฐาน เช่น ให้นายยกกระบัตรกฎปากหลากคําไว้.
(2) ตรา เช่น ตรัสแก่ขุนศรีภูริปรีชาให้กฎเป็นตําราไว้., “พระมหาธรรมราชาก็ตรัสให้กฎลงมาให้เอาพระยารามเป็นพระยาพิชัย”. (เทียบ เขมร. กต่ ว่า จด).
(3) (คำนาม) คําบังคับ เช่น จึ่งสมเด็จพระมหินทราธิราชเจ้าแผ่นดินก็ตรัสให้ทําตามกฎให้ลงมานั้นทุกประการ.
(4) (คำที่ใช้ในกฎหมาย) ข้อกําหนดหรือข้อบัญญัติที่บังคับให้ต้องมีการปฏิบัติตาม เช่น กฎกระทรวง กฎหมาย
(5) (คำที่ใช้ในวิทยาศาสตร์) ข้อกําหนดในเรื่องธรรมชาติตามที่ค้นคว้าได้. (อ. law).
ในความหมายกลางๆ “กฎ” ใช้ตามคำอังกฤษว่า law
พจนานุกรมอังกฤษ-บาลี แปล law เป็นบาลีว่า -
(1) nīti นีติ (นี-ติ) ตรงกับที่เราใช้ว่า นิติ = กฎหมาย, แบบแผน, ระเบียบ
(2) paññatti ปญฺญตฺติ (ปัน-ยัด-ติ) ตรงกับที่เราใช้ว่า “บัญญัติ” เช่น บทบัญญัติ, พระราชบัญญัติ แปลตามศัพท์ว่า “ปูลาดไว้” หรือ “แต่งตั้งขึ้น”
(3) vavatthā ววตฺถา (วะ-วัด-ถา) = ข้อกำหนด
(4) sikkhā สิกฺขา (สิก-ขา) ภาษาไทยนิยมใช้ว่า “ศึกษา” = เรื่องที่พึงปฏิบัติ
(5) āṇā อาณา (อา-นา) = อำนาจ, ข้อบังคับ
(6) niyoga นิโยค (นิ-โย-คะ) = บังคับบัญชา, คำสั่ง, ความจำเป็น (necessity)
(7) dhamma ธมฺม (ทำ-มะ) = ธรรม ในที่นี้หมายถึง หลักการ, กฎเกณฑ์, กฎธรรมชาติ
“กฏ” รูปคำตรงกับ “กฏ” (กะ-ตะ) ในบาลี แปลงมาจาก “กต” แปลตามรูปศัพท์ว่า “ทำไว้แล้ว”
ตีความแบบ “ลากเข้าความ” ในภาษาไทยว่า ผู้ทำ (คือผู้ที่ต้องปฏิบัติตาม) ไม่ต้องคิดทำสิ่งนั้นขึ้นมาเอง เพราะมีผู้ “ทำไว้แล้ว” คือมีผู้อื่นกำหนดมาให้ทำ
โดยนัยนี้จึงมีผู้ให้ความเห็นว่า คำว่า “กด” ( = บังคับลง, ข่ม, ใช้กําลังดันให้ลง) ในภาษาไทยมาจาก “กต” ของบาลี
กฎของ “กฏ” ในบาลี :
(1) ถ้าใช้คู่กับ “กลิ” (กะ-ลิ คือที่เราใช้ว่า “กลี” เช่น กลียุค) จะมีความหมายตรงกันข้าม กล่าวคือ :
- กฏ = ลูกเต๋านำโชค, ผู้โชคดี, ผู้เคราะห์ดี (the lucky die, one who is lucky, fortunate)
- กลิ = ลูกเต๋าอับโชค, ผู้แพ้ (the unlucky die, one who is defeated)
(2) ถ้ามี “สุ” นำหน้า เป็น “สุกฏ” (สุ-กะ-ตะ) หมายถึง ทำดี, ทำถูกต้อง (well done, good, goodness) ถ้ามี “ทุ” นำหน้า เป็น “ทุกฺกฏ” (ทุก-กะ-ตะ) หมายถึง ทำผิด, ทำเสียหาย, เรื่องที่ควรถูกตำหนิ (badly done, evil, badness)
: กฎทุกกฎมักมีข้อยกเว้นให้แก่ผู้ทำ
: แต่กฎแห่งกรรมไม่เคยยกเว้นให้แก่ใคร
บันทึกการเข้า

อาราม นิวส์ FACEBOOK

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 133
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
บาลีวันละคำ น้ำปานะ
« ตอบกลับ #25 เมื่อ: พฤศจิกายน 14, 2014, 01:48:54 pm »
0
นาวาเอกทองย้อย แสงสินชัย
บาลีวันละคำ‬ (909)  น้ำปานะ
คำว่า “น้ำปานะ” เมื่อใช้พูดในหมู่ชาวพุทธ หมายถึงเครื่องดื่มที่ถวายพระภิกษุสามเณรหลังเที่ยงวันไปแล้ว
ธรรมเนียมชาวพุทธนิยมอุปถัมภ์บำรุงพระภิกษุสามเณร 2 เวลา คือ ก่อนเที่ยงถวายภัตตาหาร หลังเที่ยงถวายน้ำปานะ
“น้ำปานะ” เป็นคำที่ตัดมาจากคำว่า “อัฏฐปานะ” (อัด-ถะ-ปา-นะ) ใช้ในภาษาไทยว่า “อัฐบาน” (อัด-ถะ-บาน) สะกดเป็น “อัฏฐบาน” ก็มี
“อัฐบาน” บาลีเขียน “อฏฺฐปาน” ประกอบด้วย อฏฺฐ + ปาน
“อฏฺฐ” (อัด-ถะ) แปลว่า แปด (จำนวน 8)
“ปาน” (ปา-นะ) แปลตามศัพท์ว่า “อันควรดื่ม” หมายถึง น้ำดื่ม
พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ แปล “ปาน” ว่า drink, including water as well as any other liquid (เครื่องดื่ม รวมถึงน้ำและของเหลวชนิดอื่นๆ)
อฏฺฐ + ปาน = อฏฺฐปาน แปลว่า เครื่องดื่ม 8 ชนิด
เครื่องดื่ม 8 ชนิดที่ระบุไว้ในคัมภีร์ ได้แก่ -
(1) อมฺพปานํ น้ำมะม่วง
(2) ชมฺพุปานํ น้ำชมพู่หรือน้ำหว้า
(3) โจจปานํ น้ำกล้วยมีเม็ด
(4) โมจปานํ น้ำกล้วยไม่มีเม็ด
(5) มธุกปานํ น้ำมะซาง
(6) มุทฺทิกปานํ น้ำลูกจันทน์หรือองุ่น
(7) สาลุกปานํ น้ำเหง้าอุบล
(8) ผารุสกปานํ น้ำมะปรางหรือลิ้นจี่
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า -
“อัฐบาน : น. นํ้าที่คั้นจากผลไม้ มี ๘ อย่าง คือ นํ้ามะม่วง นํ้าชมพู่หรือนํ้าหว้า นํ้ากล้วยมีเม็ด นํ้ากล้วยไม่มีเม็ด นํ้ามะซาง นํ้าลูกจันทน์หรือน้ำองุ่น นํ้าเหง้าอุบล นํ้ามะปรางหรือน้ำลิ้นจี่, เขียนว่า อัฏฐบาน ก็มี.”
อัฏฐปานะ คนเก่าเรียกว่า “น้ำอัฐบาน”
เดี๋ยวนี้นิยมเรียกว่า “น้ำปานะ”
ปัญหา :
ปัจจุบันมีเครื่องดื่มและเครื่องปรุงที่ชงเป็นเครื่องดื่มที่ผลิตขึ้นใหม่ๆ หลากหลายชนิดนอกเหนือไปจากเครื่องดื่ม 8 ชนิดที่ระบุไว้ในคัมภีร์ เวลานำไปถวายพระภิกษุสามเณรก็เรียกคลุมๆ ไปว่า “น้ำปานะ”
ปัญหาก็คือ เครื่องดื่ม/เครื่องปรุงชนิดไหนบ้างที่พระภิกษุสามเณรควรดื่มหรือไม่ควรดื่ม ขณะนี้ดูเหมือนจะขึ้นอยู่กับนโยบายของแต่ละสำนัก แต่ยังไม่มีมาตรฐานกลางของคณะสงฆ์
: สัตว์ มองลัดแค่-กิน
: คนทั่วไป มองไกลไปที่-วิธีหากิน
: บัณฑิต มองพินิจลงไปว่า-ควรกินหรือไม่ควรกิน
-----------------
(ใช้หนี้ให้ Metha Luongpee ผู้เป็นเจ้าหนี้มาตั้งแต่ 29 มิ.ย.57-และขออภัยในความไม่สะดวก)

Kunanan Pakdee ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทำธรรมีกถา ในเพราะเหตุเป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วตรัสอนุญาตแก่ภิกษุทั้งหลายว่า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตน้ำปานะ ๘ ชนิด คือ
น้ำปานะทำด้วยผลมะม่วง ๑
น้ำปานะทำด้วยผลหว้า ๑
น้ำปานะทำด้วยผลกล้วยมีเมล็ด ๑
น้ำปานะทำด้วยผลกล้วยไม่มีเมล็ด ๑
น้ำปานะทำด้วยผลมะทราง ๑
น้ำปานะทำด้วยผลจันทน์หรือองุ่น ๑
น้ำปานะทำด้วยเง่าบัว ๑
น้ำปานะทำด้วยผลมะปรางหรือลิ้นจี่ ๑.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตน้ำผลไม้ทุกชนิด เว้นน้ำต้มเมล็ดข้าวเปลือก.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตน้ำใบไม้ทุกชนิด เว้นน้ำผักดอง.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตน้ำดอกไม้ทุกชนิด เว้นน้ำดอกมะทราง.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตน้ำอ้อยสด.

(ภาษาไทย) มหา. วิ. ๕/๙๘/๘๖: คลิกดูพระสูตร

    ในพุทธานุญาตน้ำอัฏฐบาน สังเกตตรง... ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตน้ำผลไม้ทุกชนิด....

นาวาเอกทองย้อย แสงสินชัย พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ ของท่าน ป.อ.ปยุตฺโต อธิบายเรื่องน้ำปานะที่ควรรู้เพิ่มเติมไว้ดังนี้ -

พึงทราบคำอธิบายเพิ่มเติมว่า น้ำผลธัญชาติที่ต้องห้าม ได้แก่น้ำจากผลของ ธัญชาติ ๗ เช่น เมล็ดข้าว (น้ำซาวข้าว, น้ำข้าว) นอกจากนั้น ผลไม้ใหญ่ (มหาผล) ๙ ชนิด (จำพวกผลไม้ที่ทำกับข้าว) ได้แก่ ลูกตาล มะพร้าว ขนุน สาเก (“ลพุช” แปลกันว่า สาเก บ้าง ขนุนสำมะลอ บ้าง) น้ำเต้า ฟักเขียว แตงไทย แตงโม ฟักทอง และพวกอปรัณณะ เช่น ถั่วเขียว ท่านจัดอนุโลมเข้ากับธัญผล เป็นของต้องห้ามด้วย; จะเห็นว่า มะซางเป็นพืชที่มีข้อจำกัดมากสักหน่อย น้ำดอกมะซางนั้นต้องห้ามเลยทีเดียว ส่วนน้ำผลมะซาง จะฉันล้วนๆ ไม่ได้ ต้องผสมน้ำ จึงจะควร ทั้งนี้เพราะกลายเป็นของเมาได้ง่าย วิธีทำปานะที่ท่านแนะไว้ คือ ถ้าผลยังดิบ ก็ผ่าฝานหั่นใส่ในน้ำ ให้สุกด้วยแดด ถ้าสุกแล้ว ก็ปอกหรือคว้าน เอาผ้าห่อ บิดให้ตึงอัดเนื้อผลไม้ให้คายน้ำออกจากผ้า เติมน้ำลงให้พอดี (จะไม่เติมน้ำก็ได้ เว้นแต่ผลมะซางซึ่งท่านระบุว่าต้องเจือน้ำจึงควร) แล้วผสมน้ำตาลและเกลือเป็นต้นลงไปพอให้ได้รสดี ข้อจำกัดที่พึงทราบคือ

๑. ปานะนี้ให้ใช้ของสด ห้ามมิให้ต้มด้วยไฟ ให้เป็นของเย็นหรือสุกด้วยแดด (ข้อนี้พระมติสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรสว่า ในบาลีไม่ได้ห้ามน้ำสุก แม้สุกก็ไม่น่ารังเกียจ)

๒. ต้องเป็นของที่อนุปสัมบันทำ จึงควรฉันในเวลาวิกาล (ถ้าภิกษุทำ ถือเป็นเหมือนยาวกาลิก เพราะรับประเคนมาทั้งผล)

๓. ของประกอบเช่นน้ำตาลและเกลือ ไม่ให้เอาของที่รับประเคนค้างคืนไว้มาใช้ (แสดงว่ามุ่งให้เป็นปานะที่อนุปสัมบันทำถวายด้วยของของเขาเอง)   

ในมหานิทเทส (ขุ.ม.๒๙/๗๔๒/๔๔๙) ท่านแสดงปานะ ๘ (อัฏฐบาน) ไว้ ๒ ชุดๆแรกตรงกับที่เป็นพุทธานุญาตในพระวินัย ส่วนชุดที่ ๒ อันต่างหาก ได้แก่ น้ำผลสะคร้อ น้ำผลเล็บเหยี่ยว น้ำผลพุทรา ปานะทำด้วยเปรียง ปานะน้ำมัน ปานะน้ำยาคู (ยาคุปานะ) ปานะน้ำนม (ปโยปานะ) ปานะน้ำคั้น (รสปานะ),

ในพระวินัย เคยมีเรื่องที่พราหมณ์ผู้หนึ่งจัดถวายปโยปานะ คือปานะน้ำนม แก่สงฆ์ (ในเรื่องไม่แจ้งว่าเป็นเวลาใด) และภิกษุทั้งหลายดื่มน้ำนมมีเสียงดัง “สุรุสุรุ” เป็นต้นบัญญัติแห่งเสขิยวัตรสิกขาบทที่ ๕๑ (วินย.๒/๘๕๑/๕๕๓)

Pramaha Nuntasit Satsitapong ในแบบเรียนของ ป.ธ.๕
หนังสือมังคลัตถทีปนี ภาค ๒ ข้อ [๙]
มีเนื้อความว่า "อรรถกถาตุวัฏฏกสูตรนั้น" ว่า น้ำที่ทำจากมะม่วงสุกหรือดิบ ชื่อว่า "อมฺพปานํ" (น้ำมะม่วง) ฯ ในบรรดามะม่วงที่สุกหรือดิบเหล่านั้น เมื่อภิกษุทำด้วยมะม่วงดิบ พึงทุบมะม่วงอ่อนๆ แล้วแช่ไว้ในน้ำ ตากแดดให้สุกด้วยแสงอาทิตย์ และกรองปรุงด้วยน้ำผึ้ง, น้ำตาลกรวด, และการบูรเป็นต้น ที่รับประเคนในวันนั้นๆ ฯ น้ำที่ทำจากผลหว้าทั้งหลาย ชื่อว่า "ชมฺพุปานํ" (น้ำหว้า) ฯ น้ำที่ทำจากผลกล้วยไม่มีเมล็ดทั้งหลาย ชื่อว่า "โจจปานํ" (น้ำกล้วยไม่มีเมล็ด) ฯ น้ำที่ทำจากผลกล้วยทั้งหลายที่ไม่มีเมล็ด ชื่อว่า "โมจปานํ" (น้ำกล้วยไม่มีเม็ด) ฯ น้ำที่ทำจากรสแห่งมะซาง ชื่อว่า "มธุกปานํ" (น้ำรสมะซาง) ฯ ก็น้ำมะซางนั้น เจือด้วยน้ำจึงควร ล้วนๆไม่ควร ฯ น้ำที่ขยำผลจันทร์ในน้ำ ทำเหมือนน้ำมะม่วง ชื่อว่า "มุทฺทิกปานํ" (น้ำผลจันทร์) ฯ น้ำที่คั้นเง่าบัวแดงและบัวเขียวทั้งหลายเป็นต้นทำ ชื่อว่า "สาลุกปานํ" (น้ำเง่าบัว) ฯ น้ำที่ทำจากมะปราง เหมือนน้ำมะม่วง ชือว่า "ผารุสกปานํ" (น้ำมะปราง) ฯ น้ำที่ทำจากผลเล็บเหยี่ยว ชื่อว่า "โกสมฺพปานํ" (น้ำผลเล็บเหยี่ยว) ฯ น้ำที่ทำจากผลพุทราเล็กทั้งหลาย ชื่อว่า "โกลปานํ" (น้ำผลพุทราเล็ก) ฯ น้ำที่ทำจากผลพุทราใหญ่ทั้งหลาย ชื่อว่า "พทรปานํ" (น้ำผลพุทราใหญ่) ฯ ปานะทั้ง ๑๑ อย่างเหล่านี้ เย็นก็ดี สุกเพราะแสงอาทิตย์ก็ดี ย่อมควร ฯ น้ำเนยใส ชื่อว่า "ฆฏปานํ" (น้ำเนยใส) ฯ น้ำมีน้ำมันที่ทำจากงาเป็นต้น ชื่อว่า "เตลปานํ" (น้ำมัน) ฯ น้ำนม ชื่อว่า "ปโยปานํ" (น้ำนม) ฯ น้ำข้าวยาคู มีรสเปรี้ยวเป็นต้น ชื่อว่า "ยาคุปานํ" (น้ำข้าวยาคู) ฯ น้ำปรุงด้วยรสมีผักดองเป็นต้น ชื่อว่า "รสปานํ" (น้ำรส) ฯ
   
       ประโยคสุดท้าย
"รสปานนฺติ สากาทิรสปานนฺติ ตพฺพณฺณา ฯ"

Metha Luongpee น้ำรส คือ น้ำผักดอง ใช่ไหม ครับ ?

Pramaha Nuntasit Satsitapong เจริญพร คุณโยม Metha Luongpee
น้ำปรุงด้วยรส มี(รส)ผักดองเป็นต้น
อาตมาเดาว่าน่าจะเป็น น้ำปรุงรสต่างๆ อย่างที่โยมอาจารย์ทองย้อยว่าไว้ ว่า "ปานะน้ำคั้น" เพราะท่านใช้คำว่า "รสปานํ" (น้ำรส)
แต่ที่ว่า "น้ำรส มีผักดอง{เป็นต้น}" คือที่ เช่น น้ำ(ที่ใช้ผักดอง)คั้น "เป็นต้น"
แปลว่า อย่างอื่นก็น่าจะได้ เช่นน้ำผัก (แครอท)เป็นต้น
หรืออาจจะแปลว่า น้ำรส มีรสผักดองเป็นต้น ชื่อว่า "น้ำรส" ก็ได้
(เดาว่าอย่างนั้น) เจริญพร
แต่ภิกษุก็ทำเองได้ (แต่ต้องรับประเคนในวันนั้น) จากความใน ประโยคที่ ๒ ของ อรรถกถา ตุวัฏฏกสูตร ว่า
ตตฺถ อาเมหิ ภิกฺขุนา กโรนฺเตน อมฺพตรุณานิ ภินฺทิตฺวา ...... กาตพฺพํ ฯ

บันทึกการเข้า
.              ร่วมรณรงค์ รักษาศาสนา ไม่ส่งต่อ ข่าวเสีย พระสงฆ์ไทย   
                                     คงไว้ แต่ข่าวดี ๆ
ติดตาม ข่าวสารดี ๆ ของพระสงฆ์ไทย ได้ที่ "อาราม นิวส์" ข่าวพระ ได้ทางเฟสบุ๊ค

อาราม นิวส์ FACEBOOK

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 133
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
บาลีวันละคำ ปัญหาในพาหุง
« ตอบกลับ #26 เมื่อ: พฤศจิกายน 23, 2014, 10:18:22 pm »
0
ปัญหาในพาหุง
----------------
“พาหุง” เป็นบทสวดมนต์ที่พุทธศาสนิกชนชาวไทยรู้จักแพร่หลายมาก มีผู้ท่องจำกันได้ทั่วไป
แต่ก็เป็นบทที่มีปัญหามากด้วย เช่น -
พาหุงเป็นงานของนักปราชญ์ชาติไหน อินเดีย ลังกา พม่า ไทย ?
แต่งขึ้นในสมัยไหน ?
ใครเป็นผู้แต่ง ?
ปัญหาเหล่านี้ยังไม่มีคำตอบที่เด็ดขาด
และปัญหาข้อใหญ่ที่จะขออนุญาตตั้งเป็นกระทู้ถามไว้ในที่นี้
โปรดอ่านพาหุงบทแรกแล้วจึงค่อยตอบ
------------
พาหุํ สหสฺสมภินิมฺมิตสาวุธนฺตํ
คฺรีเมขลํ อุทิตโฆรสเสนมารํ
ทานาทิธมฺมวิธินา ชิตวา มุนินฺโท
ตนฺเตชสา ภวตุ เต ชยมงฺคลานิ.
(พาหุง สะหัสสะมะภินิมมิตะสาวุธันตัง
ค๎รีเมขะลัง อุทิตะโฆระสะเสนะมารัง
ทานาทิธัมมะวิธินา ชิตะวา มุนินโท
ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ.)
พระจอมมุนีได้ชนะพญามารผู้เนรมิตแขนมากตั้งพันถืออาวุธครบมือ
ขี่คชสารคีรีเมขละพร้อมด้วยเสนามารโห่ร้องก้องกึก
ด้วยธรรมวิธีมีทานบารมีเป็นต้น
ด้วยเดชแห่งพระพุทธชัยมงคลนั้น ขอชัยมงคลทั้งหลายจงมีแก่ท่าน.
-----------
คำถามคือ -
คำว่า “ชยมงฺคลานิ” เป็นประธานในประโยค เป็นพหุวจนะ (พหูพจน์)
คำว่า “ภวตุ” เป็นกิริยา (กริยา) ในประโยค เป็นเอกวจนะ (เอกพจน์)
จงอธิบายว่า ทำไมประธานกับกิริยาจึงมีวจนะไม่ตรงกัน
มีสูตร หรือกฎเกณฑ์อะไรที่อนุญาตให้เป็นเช่นนี้ได้
เป็นไปได้หรือที่ผู้สามารถรจนาคาถาวสันตดิลกฉันท์สุดคลาสสิกขนาดนี้จะแต่งผิดไวยากรณ์
แล้วก็ไม่ใช่บทเดียว แต่ผิดซ้ำๆ กันถึง ๘ บท
-------------
สำหรับญาติมิตรที่ไม่มีพื้นทางบาลีอาจไม่รู้สึกสนุกกับปัญหานี้
เพราะฉะนั้นขออนุญาตเทียบกับภาษาอังกฤษซึ่งเชื่อว่าเรามักคุ้นกันอยู่พอสมควร
ตัวอย่างง่ายๆ -
ในภาษาอังกฤษ ถ้าประธานเป็น it (มัน-สรรพนาม) เอกพจน์ กริยาต้องเป็น is
ถ้าประธานเป็น they พหูพจน์ กริยาต้องเป็น are
ถ้าเกิดประธานเป็น it แต่กริยาเป็น are
หรือประธานเป็น they แต่กริยาเป็น is
ก็คือผิดไวยากรณ์
ปัญหาในพาหุง “ชยมงฺคลานิ” ก็เท่ากับ they -พหูพจน์
“ภวตุ” ก็เท่ากับ is -เอกพจน์
ผิดไวยากรณ์ครับ
ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น ?
พอจะนึกสนุกแล้วใช่ไหมครับ
--------------
ปัญหาในพาหุงนี้ท่านเห็นกันมานานแล้ว และคิดหาคำตอบกันมาหลายสมัยแล้วด้วย แต่ยังไม่มีใครตอบได้
ทราบว่าคณะสงฆ์ธรรมยุตแก้ด้วยการแปลงคำว่า “ชยมงฺคลานิ” เป็น “ชยมงฺคลคฺคํ” (ชะยะมังคะลัคคัง-ชัยมงคลอันเลิศ) ซึ่งเป็นรูปเอกพจน์ จะได้ตรงกับกริยา “ภวตุ” ที่เป็นเอกพจน์
แต่ก็ยังไม่ได้ไขปัญหาอยู่นั่นเองว่า บทที่ท่านแต่งไว้ทำไมประธานกับกริยาจึงมีพจน์ไม่ตรงกัน
ผมสังเกตเห็นว่านักบาลีสมัยนี้มีความรู้ได้ระดับ
มีการอ้างสูตรจากคัมภีร์นั่นนี่โน่นแพรวพราวอยู่เสมอ
ช่วยหาสูตรมาอธิบายปัญหาพาหุงนี่หน่อยเถอะขอรับ
ขอเรียนว่านี่ไม่ใช่ลองภูมิ แต่ไม่รู้จริงๆ
ท่านผู้ใดรู้ หรือรู้ว่ามีท่านผู้ใดอธิบายไขความเรื่องนี้ไว้ที่ไหน
ขอได้โปรดแบ่งปันเป็นวิทยาทานด้วย เทอญ
กราบขอบพระคุณล่วงหน้าขอรับ
นาวาเอก ทองย้อย แสงสินชัย
๒๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๗
บันทึกการเข้า
.              ร่วมรณรงค์ รักษาศาสนา ไม่ส่งต่อ ข่าวเสีย พระสงฆ์ไทย   
                                     คงไว้ แต่ข่าวดี ๆ
ติดตาม ข่าวสารดี ๆ ของพระสงฆ์ไทย ได้ที่ "อาราม นิวส์" ข่าวพระ ได้ทางเฟสบุ๊ค

อาราม นิวส์ FACEBOOK

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 133
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0


พระมหากรุณาอันมีมาแต่บุญ
-----------------------------
เมื่อวันที่ ๒๔ ตุลาคม ๒๕๕๗ บริษัท นานมีบุ๊คส์ จำกัด จัดงานเปิดร้านหนังสือแว่นแก้ว สาขาสำนักงานใหญ่ ณ ที่ทำการบริษัท ถนนสุขุมวิท ซอย ๓๑ ทางบริษัทได้กราบทูลเชิญสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จเป็นองค์ประธานในงาน
บริษัทนานมีบุ๊คส์ได้เชิญนักเขียนที่บริษัทนำผลงานไปพิมพ์เผยแพร่ให้ไปร่วมเฝ้ารับเสด็จในงานนี้ด้วย
ผมเป็นคนหนึ่งที่ได้รับเชิญในฐานะ “นักเขียน” อันเนื่องมาจากนานมีบุ๊คส์นำเอา “บาลีวันละคำ” ไปพิมพ์เมื่อไม่นานมานี้
-------------
เมื่อเสร็จพิธีการรับเสด็จที่ห้องประชุมใหญ่แล้ว เขาก็เชิญให้บรรดานักเขียนทั้งหลายไปรอเฝ้ารับเสด็จตรงชั้นหนังสือที่มีหนังสือของตัวเองจัดวางไว้ให้ทอดพระเนตร และให้นักเขียนได้ทูลเกล้าฯ ถวายหนังสือของตัวเองด้วย
เฉพาะตัวผม เจ้าของบริษัทแนะว่าตอนกราบทูลรายงานตัวให้เอ่ยถึงฐานะเป็นผู้แต่งกาพย์เห่เรือด้วย-ก็จะดี
ผมก็งงๆ อยู่ว่า ผมมาเฝ้ารับเสด็จในฐานะผู้เขียนหนังสือ “บาลีวันละคำ” จะกราบทูลให้ไปเกี่ยวกับฐานะผู้แต่งกาพย์เห่เรือได้อย่างไร
เมื่อทรงพระดำเนินทอดพระเนตรร้านหนังสือแว่นแก้วมาถึงที่ผมยืนเฝ้าอยู่ ผมก็กราบทูลเบิกตัวเองว่า
ข้าพระพุทธเจ้า นาวาเอก ทองย้อย แสงสินชัย อดีตอนุศาสนาจารย์ทหารเรือ ผู้แต่งกาพย์เห่เรือในขบวนพยุหยาตราทางชลมารคตั้งแต่ปีกาญจนาภิเษกเป็นต้นมา เป็นผู้เขียนหนังสือ บาลีวันละคำ พระพุทธเจ้าข้า
แล้วผมก็คุกเข่าทูลเกล้าฯ ถวายหนังสือ
ทรงรับหนังสือไปเปิดทอดพระเนตรพร้อมกับรับสั่งว่า “ดี”
ระหว่างที่ทอดพระเตรหนังสือบาลีวันละคำอยู่นั้นผมได้กราบทูลต่อไปว่า
ข้าพระพุทธเจ้าเป็นศิษย์ท่านอาจารย์นาวาอากาศเอก แย้ม ประพัฒน์ทอง พระพุทธเจ้าข้า
ผมสังเกตว่าพระพักตร์ที่ยิ้มแย้มตลอดเวลานั้นยิ่งทรงเบิกบานพระทัยเป็นอันมากเมื่อทรงได้ยินชื่อท่านอาจารย์แย้ม
รับสั่งออกมาทันทีนั้นว่า
“ไม่ต้องพูดอะไรกันมาก อาจารย์เดียวกัน”
แล้วก็ทรงมีพระราชานุญาตให้ช่างภาพฉายพระรูปพระองค์ท่านโดยมีผมเฝ้าอยู่ข้างๆ
เป็นพระเมตตาและพระมหากรุณาล้นเกล้าล้นกระหม่อมหาที่สุดมิได้
------------------
ผมเรียนบาลีเมื่ออายุ ๑๘
ครูคนแรกคือ พระมหาถวิล (ถวิล เรืองจรูญ) เปรียญธรรม ๓ ประโยค สอนวิชาไวยากรณ์ เปรียบเสมือนผู้ควักเอาดินมาปั้นขึ้นรูป
และสุดท้ายผมมาได้ท่านอาจารย์นาวาอากาศเอก แย้ม ประพัฒน์ทอง เปรียญธรรม ๙ ประโยค เป็นครูสอนวิชาแต่งฉันท์ และยังได้แนะนำสั่งสอนเพิ่มเติมอีกสารพัด รวมทั้งการวางตัวและการครองชีวิต เปรียบเสมือนผู้ขัดแต่งดินก้อนนั้นจนกลายมาเป็นผมอยู่ทุกวันนี้
อาศัยวิชาที่รับถ่ายทอดมาจากครูบาอาจารย์พอมีความรู้เขียน “บาลีวันละคำ” จนได้ทูลเกล้าฯ ถวายให้ทอดพระเนตร ได้รับพระราชทานพระราชกระแสว่า “ดี”
คำเดียว แต่ครอบคลุมไว้ได้หมดทุกสิ่งทุกอย่าง
บุญของครูบาอาจารย์ชักนำพระบารมีปกแผ่มาถึงผมโดยแท้
ขอจงทรงพระเจริญยิ่งยืนนาน เทอญ
นาวาเอก ทองย้อย แสงสินชัย
๒๙ ตุลาคม ๒๕๕๗
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤศจิกายน 24, 2014, 10:29:29 pm โดย อาราม นิวส์ FACEBOOK »
บันทึกการเข้า
.              ร่วมรณรงค์ รักษาศาสนา ไม่ส่งต่อ ข่าวเสีย พระสงฆ์ไทย   
                                     คงไว้ แต่ข่าวดี ๆ
ติดตาม ข่าวสารดี ๆ ของพระสงฆ์ไทย ได้ที่ "อาราม นิวส์" ข่าวพระ ได้ทางเฟสบุ๊ค

อาราม นิวส์ FACEBOOK

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 133
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
บาลีวันละคำ อนุโลม-ปฏิโลม
« ตอบกลับ #28 เมื่อ: พฤศจิกายน 24, 2014, 10:39:31 pm »
0
อนุโลม-ปฏิโลม
อ่านว่า อะ-นุ-โลม / ปะ-ติ-โลม
บาลีอ่านว่า อะ-นุ-โล-มะ / ปะ-ติ-โล-มะ
ประกอบด้วย อนุ + โลม - ปฏิ + โลม
“อนุ” เป็นคำอุปสรรค มีความหมายว่า น้อย, ภายหลัง, ตามหลัง, เนืองๆ, บ่อยๆ
“โลม” แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งอันเขาตัดเมื่อยาวขึ้น” “สิ่งที่ควรตัดทิ้ง” หมายถึง ขนที่ขึ้นตามร่างกาย
พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ แปล “โลม” แบบให้คำจำกัดความว่า the hair of the body และเพื่อให้เห็นว่าต่างจาก “ผม” จึงขยายความไว้ว่า whereas kesa is the hair of the head only (ส่วน “เกส” คือ ขนของศีรษะเท่านั้น)
อนุ + โลม = อนุโลม แปลตามศัพท์ว่า “ตามเส้นขน” (with the hair) และใช้เป็นสำนวน (ไม่ได้มีความหมายตามตัวอักษร) ว่า ตามลำดับปกติ, เหมาะสม, เหมาะเจาะ, ปรับเข้ากันได้, ตรงไปตรงมา (in natural order, suitable, fit, adapted to, adaptable, straight forward)
ในภาษาไทย พจน.54 บอกความหมายของ “อนุโลม” ไว้ว่า -
(1) ใช้แทนกันได้ตามความเหมาะสม
(2) คล้อยตาม
(3) (คำที่ใช้ในกฎหมาย) นำมาใช้โดยอาศัยหลักการอย่างเดียวกัน แต่ให้แก้ไขในรายละเอียดได้ตามควรแก่กรณี
(4) (คำวิเศษณ์) ตามลําดับ เช่น ท่องแบบอนุโลม, คู่กับ ปฏิโลม คือ ย้อนลําดับ
“ปฏิ” เป็นคำอุปสรรค มีความหมายว่า เฉพาะ, ตอบ, ทวน, กลับ
“ปฏิโลม” (< ปฏิ+โลม) แปลตามศัพท์ว่า “ย้อนเส้นขน” (against the hair) หมายถึง ในทางกลับกัน, ตรงกันข้าม, ขัดกัน, ถอยหลัง (in reverse order, opposite, contrary, backward)
อนุโลม กับ ปฏิโลม เมื่อพูดคู่กันเป็น “อนุโลมปฏิโลม” มีความหมายว่า ตั้งแต่ต้นจนถึงปลายและตั้งแต่ปลายจนถึงต้น, เดินหน้าถอยหลัง, ทบทวนกลับไปกลับมา (in regular order & reversed, forward & backward)
ตัวอย่างที่ชัดเจนในการใช้คำว่า “อนุโลมปฏิโลม” คู่กันก็คือ บทเจริญตจปัญจกกรรมฐาน -
: เกสา โลมา นะขา ทันตา ตะโจ - อย่างนี้เรียก “อนุโลม” (ว่าตามลำดับ)
: ตะโจ ทันตา นะขา โลมา เกสา - อย่างนี้เรียก “ปฏิโลม” (ว่าย้อนลำดับ)
ในภาษาไทยมีคำพูดว่า “โอ้โลมปฏิโลม”  พูดเอาอกเอาใจ, พูดเกลี้ยกล่อม) ก็น่าจะกลายมาจาก “อนุโลมปฏิโลม” คำนี้เอง
: ทุจริต คิดทบทวนก่อนจะทำ
: วิบากกรรมไม่อนุโลมให้ใคร
บันทึกการเข้า
.              ร่วมรณรงค์ รักษาศาสนา ไม่ส่งต่อ ข่าวเสีย พระสงฆ์ไทย   
                                     คงไว้ แต่ข่าวดี ๆ
ติดตาม ข่าวสารดี ๆ ของพระสงฆ์ไทย ได้ที่ "อาราม นิวส์" ข่าวพระ ได้ทางเฟสบุ๊ค