ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

โพลล์

มนุษย์ตายแล้ววิญญาณไปไหน ?

ไปเกิดบนสวรรค์ทันที
เที่ยวสิงอยู่ตามที่ต่างๆ ก่อนไปเกิด
วิญญาณตายไปพร้อมกันไม่เกิดอีก
ไปเกิดก็มี ไม่ไปเกิดก็มี
ไปเกิดในนรกทันที

ผู้เขียน หัวข้อ: วิญญาณแสนรู้  (อ่าน 9255 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

Mahajaroon

  • 1.บรรพชิต
  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 63
  • ข้างนอกต้องแก้ไข ข้างในต้องปล่อยวาง
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
วิญญาณแสนรู้
« เมื่อ: กันยายน 21, 2011, 08:53:52 pm »
0

      ผู้รู้ตอบด้วยครับ
๑ วิญญาณ ใครคิดเห็นเป็นอย่างไร

มนุษย์ตายแล้ว วิญญาณออกจากร่างไปปฏิสนธิจิตทันทีตามแนวพุทธศาสนานิกายเถรวาท
แต่ชาวพุทธส่วนมากยังเข้าใจว่า มนุษย์หากตายก่อนเวลาอันสมควร เช่น ถูกรถชน โดนยิง
ตกน้ำตาย เป็นต้น วิญญาณจะไม่ไปเกิด เที่ยวสิงอยู่ที่นั้นที่นี่ บางครั้งมาปรากฏให้ลูกหลานเจอ
   
๒ นิยามของคำว่าวิญญาณเป็นเช่นไร

จิตขณะสุดท้ายในภพนี้ดับลง ก็เป็นเหตุให้ปฏิสนธิวิญญาณ หรือปฏิสนธิจิตเกิดขึ้นในภพใหม่ทันที
ที่กล่าวมาหมายความว่า คนและสัตว์ตายแล้วเกิดทันที ไม่มีการรอเกิด รอให้ใครทำบุญกรวดน้ำไปให้ก่อน
จึงจะเกิดได้  เขาจะเกิดเป็นอะไร ก็เป็นไปตามกรรมที่ตนทำไว้ เขาได้รับผลของกรรมดี กรรมชั่ว เริ่มตั้งแต่เขา
ได้เกิดมาลืมตาดูโลกใบนี้  ขณะที่กำลังมีชิวิตอยู่ เขาใช้ผลของกรรมเก่า  สร้างกรรมใหม่ต่อไปอีก
หมุนเวียนอยู่อย่างนี้ไม่รู้จักจบสิ้น ทางพระพุทธศาสนาเรียกว่า  วัฏฏสงสาร  ดังนั้น ความตายจึงเป็นสิ่ง
ที่ไม่น่ากลัว  กรรมชั่วต่างหากเป็นสิ่งที่น่ากลัว รู้แล้วไม่ควรทำชั่ว เพราะมีผลเป็นความทุกข์ที่สุด คือลงอบายภูมิ

                                                                                                         
                                 :d030:               :49:             :33:                          :s_laugh:
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กันยายน 21, 2011, 08:56:03 pm โดย Mahajaroon »
บันทึกการเข้า
พุทธะนับหมื่นอยู่ที่ใจ

kosol

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 65
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: วิญญาณแสนรู้
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: กันยายน 21, 2011, 11:31:49 pm »
0
วิญญาณ คืออะไร ต้องนิยามคำนี้ให้ถูกก่อน

  วิญญาณ ในขันธ์ 5

 วิญญาณ ในความรู้สึก จิตของคนที่ตาย ( ghost )

 วิญญาณ คืออะไร ?

  :smiley_confused1:
บันทึกการเข้า

สมภพ

  • มีเหตุมีผล
  • ****
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 485
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: วิญญาณแสนรู้
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: กันยายน 22, 2011, 10:51:04 am »
0
น่าจะหมายถึง วิญญาณ ที่ตายเพราะกายแตกดับ กระมังครับ

ดังนั้น ถ้าส่วนนี้เรียกว่า จิต ที่มีอยู่ก็ขึ้นอยู่กับบุญ นำ กรรมแต่ง ตัดสินเด็ดขาดไม่ได้

 พระพุทธเจ้า พระองค์ตรัสแสดงว่าเป็น อจินไตรย ( คือคิดไม่ได้ )

  :s_hi:
บันทึกการเข้า

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28439
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: วิญญาณแสนรู้
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: กันยายน 22, 2011, 12:26:21 pm »
0
   วิญญาณขันธ์ หรือ จิต  คือ ธรรมชาติที่รับรู้สิ่งต่าง ๆ ที่มาปรากฏทางตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ อีกทั้งเป็นธรรมชาติที่ทำให้เกิดความรู้สึกนึกคิดต่าง ๆ

          การเกิดขึ้นของจิต (วิญญาณขันธ์) จะเกิดขึ้นโดยไม่มีเจตสิก (เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์) นั้นไม่ได้ ลำพังจิตอย่างเดียว ไม่สามารถรับรู้หรือนึกคิดอะไรได้เลย จิตเปรียบเสมือนนาฬิกา เจตสิกเปรียบเสมือน ชิ้นส่วนและเฟืองจักรต่าง ๆ ที่ทำให้นาฬิกาทำงานได้ จิตและเจตสิก จะแยกจากกันไม่ได้ ต้องเกิดร่วมกันอิงอาศัยกัน จิตแต่ละดวงที่เกิดขึ้น จะต้องมีเจตสิกประกอบปรุงแต่งด้วยเสมอ



จิตคืออะไร

          จิต คือธรรมชาติที่รู้อารมณ์ หรือธรรมชาติที่ทำหน้าที่ เห็น ได้ยิน รู้กลิ่น รู้รส รู้สึกต่อการสัมผัสถูกต้องทางกาย และรู้สึกนึกคิดทางใจ จิตนี้ไม่ว่าจะเกิดแก ่สัตว์เดรัจฉาน มนุษย์ เทวดา หรือพรหมก็ตาม ย่อมมีการรู้อารมณ์เป็นลักษณะ เหมือนกันทั้งสิ้น
         
          จิต เป็นธรรมชาติชนิดหนึ่งที่มองไม่เห็น สัมผัสด้วยกายไม่ได้ ไม่มีรูปร่างสัณฐาน สีสัน วรรณะใด ๆ แต่เป็นธรรมชาติชนิดหนึ่งที่มีอยู่จริงๆ เป็นปรากฏการณ์ของธรรมชาติฝ่ายนามธรรม ที่เกิดขึ้น ตั้งอยู่ แล้วก็ดับ ไปอย่างรวดเร็ว โดยอาศัยเหตุอาศัยปัจจัยต่าง ๆ ทำให้เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไปตามกฎของธรรมชาติ
         
          อำนาจของจิตมีอยู่มากมาย เช่น มีอำนาจในการกระทำ การพูด การคิด การสั่งสมกรรมดี กรรมชั่ว นอกจากนี้ยังมีอำนาจในการสร้างฤทธิ์ ทำสมาธิ ทำฌาน ทำอภิญญา และอื่น ๆ ให้เกิดขึ้นได้อย่างมหัศจรรย์
         
          จิต จะเกิดดับอย่างรวดเร็วมาก ชั่วเวลาลัดนิ้วมือเดียว จิตจะมีการเกิดดับถึงแสนโกฏิขณะ คือ ๑,๐๐๐,๐๐๐,๐๐๐,๐๐๐ ครั้ง (หนึ่งล้านล้านครั้ง) จึงเป็นการยากที่บุคคลจะรู้เท่าทันได้

          ดังนั้น จิต หรือ วิญญาณ จึงหมายถึงสิ่งเดียวกัน นอกจากนี้ จิต ยังมีชื่อเรียกอีกหลายชื่อ เช่น หทัย, ปัญฑระ, มโน, มนัส, มนินทรีย์, มโนธาตุ, มโนวิญญาณธาตุ, วิญญาณขันธ์, มนายตนะ เป็นต้น จึงขอให้เข้าใจว่า แม้จะเรียกชื่ออย่างไรก็ตาม ชื่อเหล่านั้นก็คือ จิต นั่นเอง

อ้างอิง
บทเรียนอภิธรรม เรียบเรียงโดย นายวิศิษฐ์ ชัยสุวรรณ มูลนิธิเผยแผ่พระสัทธรรม
http://www.buddhism-online.org/Section02A_02.htm
http://www.buddhism-online.org/Section02A_03.htm


   ผมแนบหนังสืออภิธรรม เรื่อง ชีวิตคืออะไร มาให้อ่าน
   คิดว่าคำตอบที่ต้องการ น่าจะอยู่ในเล่มนี้แล้วทั้งหมด
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กันยายน 22, 2011, 02:49:42 pm โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28439
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: วิญญาณแสนรู้
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: กันยายน 22, 2011, 12:51:30 pm »
0

ใครต้องการอ่านแบบเว็บเพจ เชิญคลิกตามลิงค์นี้ครับ

 ชีวิตคืออะไร
 http://www.buddhism-online.org/Section02A_01.htm

 รูปนามกับขันธ์๕ สัมพันธ์กันอย่างไร
 http://www.buddhism-online.org/Section02A_02.htm

 จิตคืออะไร
 http://www.buddhism-online.org/Section02A_03.htm
 
 จิตกับอารมณ์
 http://www.buddhism-online.org/Section02A_04.htm

 ลักษณะการทำงานของจิต
 http://www.buddhism-online.org/Section02A_05.htm

 บุญบาปเิกิดขึ้นได้อย่างไร
 http://www.buddhism-online.org/Section02A_06.htm

 ที่เกิดของจิต
 http://www.buddhism-online.org/Section02A_07.htm

 อำนาจของจิต
 http://www.buddhism-online.org/Section02A_08.htm


 อ่านง่ายเข้าใจง่ายครับ ไม่ต้องกลัวภาษาบาลี
  :welcome: :49: :25: ;)
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28439
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: วิญญาณแสนรู้
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: กันยายน 22, 2011, 02:59:27 pm »
0


อำนาจของจิต

จิต หรือ วิญญาณ นี้ นอกจากจะเป็นธรรมชาติที่รู้อารมณ์ ตามที่ทราบแล้ว ยังทำหน้าที่เป็นประธานในธรรมทั้งปวง คือ การงานต่าง ๆ ทั้งทางกาย ทางวาจา และทางใจ ไม่ว่าจะเป็นบุญ (กุศลกรรม) หรือเป็นบาป (อกุศลกรรม) จะสำเร็จได้ก็ด้วยจิตทั้งสิ้น ดังในธรรมบทที่แสดงไว้ว่า มโนปุพฺพงฺคมา ธมฺมา มโนเสฎฺฐา มโนมยา ซึ่งมีความหมายว่า ธรรมทั้งหลายมีจิตเป็นใหญ่ มีจิตเป็นหัวหน้า สำเร็จได้ด้วยจิต
         
          จิต นี้ แม้จะเป็นนามธรรมที่ไม่มีรูปร่างตัวตน และแสดงความรู้สึก อยู่ภายในเท่านั้นก็จริง แต่ก็มีอำนาจวิเศษอย่างน่าอัศจรรย์ และวิจิตรพิสดารยิ่งนัก กล่าวคือ
         
          ๑. มีอำนาจในการกระทำ ไม่ว่าจะเป็นการทำงาน ของอวัยวะน้อยใหญ่ในร่างกาย การพูด การเคลื่อนไหว การกระทำต่าง ๆ ตลอดจนการคิดก็เกิดขึ้นด้วยจิตทั้งสิ้น สรรพสิ่งต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นรถ เรือ เครื่องบิน ยานอวกาศ อาวุธยุทโธปกรณ์ อุปกรณ์สื่อสาร เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์อำนวยความสะดวกต่าง ๆ สิ่งก่อสร้าง ภาพวาด วิทยาการและเทคโนโลยีต่าง ๆ ฯลฯ ก็ล้วนมีจิตเป็นผู้คิดขึ้นมาทั้งสิ้น
         
          ๒. มีอำนาจด้วยตนเอง คือ มีอำนาจในการทำบุญ ทำบาป ทำสมาธิถึงขั้นฌานสมาบัติ มีอำนาจในการแสดงอิทธิฤทธิ์ต่าง ๆ (อภิญญา) ตลอดจนมีอำนาจในการทำลายอนุสัยกิเลส ที่เป็นเหตุให้มีการเวียนว่ายตายเกิด อย่างไม่รู้จักจบจักสิ้น

       

          ๓. มีอำนาจในการสั่งสมกรรม เพราะจิตเป็นต้นเหตุ ให้มีการทำบาป ทำบุญ ทำฌาน ทำอภิญญา ทำวิปัสสนากรรมฐาน กรรมทั้งหลายที่ได้กระทำลงไปแล้ว ไม่ว่าจะดีหรือชั่ว จะถูกเก็บบันทึกเอาไว้ด้วยอำนาจของจิต
         
          ๔. มีอำนาจในการรักษาวิบาก (ผลของกรรม) กรรมทั้งหลายที่ได้กระทำลงไปแล้ว ทั้งที่เป็นกุศลและอกุศล แม้จะนานเท่าไรก็ตาม กี่ภพกี่ชาติก็ตาม ย่อมติดตามส่งผลตลอดไป จนกว่าจะปรินิพพาน
         
          ๕. มีอำนาจในการสั่งสมสันดานของตนเอง การกระทำใด ๆ หากกระทำอยู่บ่อย ๆ กระทำอยู่เสมอ ๆ ก็จะฝังในจิตติดเป็นสันดาน และคิดจะทำเช่นนั้นเรื่อยไป เช่น คบคนพาลก็จะกลายเป็นคนพาล คบบัณฑิตก็จะเป็นบัณฑิต ทั้งนี้ เป็นเพราะอำนาจในการสั่งสมสันดานของจิตนั่นเอง
         
          ๖. มีอำนาจในการรับอารมณ์ต่าง ๆ ที่ปรากฏทางตา หู จมูก ลิ้น กายและใจ ไม่ว่าจะเป็นอดีตอารมณ์ อนาคตอารมณ์ หรือปัจจุบันอารมณ์ และไม่ว่าจะเป็นบัญญัติอารมณ์ หรือ ปรมัตถอารมณ์ จิตก็สามารถรับได้ทั้งสิ้น
         
          แม้จิตจะเกิดดับอยู่ตลอดเวลาก็ตาม แต่ บาป บุญ ที่ทำไว้ และอนุสัยกิเลสที่นอนเนื่อง อยู่ในขันธสันดาน จะไม่สูญหายไป พร้อมกับการดับของจิตแต่ละดวง ทั้งนี้ เพราะจิตดวงใหม่ มีเหตุมีปัจจัยมาจากจิตดวงเดิม และจิตดวงใหม่ ที่เกิดขึ้นก็เป็นเหตุเป็นปัจจัย ให้แก่จิตดวงต่อไป เพื่อสืบต่อ บาป บุญ และกิเลสที่สั่งสมไว้ไป จนกว่าจะปรินิพพาน




ที่มา  http://www.buddhism-online.org/Section02A_08.htm
ขอบคุณภาพจาก http://file.siam2web.com,http://book.dou.us,www.bloggang.com
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

Mahajaroon

  • 1.บรรพชิต
  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 63
  • ข้างนอกต้องแก้ไข ข้างในต้องปล่อยวาง
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: วิญญาณแสนรู้
« ตอบกลับ #6 เมื่อ: กันยายน 25, 2011, 09:31:15 am »
0
น่าจะหมายถึง วิญญาณ ที่ตายเพราะกายแตกดับ กระมังครับ

ดังนั้น ถ้าส่วนนี้เรียกว่า จิต ที่มีอยู่ก็ขึ้นอยู่กับบุญ นำ กรรมแต่ง ตัดสินเด็ดขาดไม่ได้

 พระพุทธเจ้า พระองค์ตรัสแสดงว่าเป็น อจินไตรย ( คือคิดไม่ได้ )

  :s_hi:

สาธุ  สาธุ   สาธุ     วิญญาณแสนรู้


      ขอบคุณพระธรรมที่มีอยู่ใน คุณ   kosol     คุณ  สมภพ  และคุณ   NATHAPONSON  ที่ตอบกันเข้ามาเพื่อคลายความสงสัย ผมพอที่จะเข้าได้นิดหน่อย ว่า
จิต จะเกิดดับอย่างรวดเร็วมาก ชั่วเวลาลัดนิ้วมือเดียว จิตจะมีการเกิดดับถึงแสนโกฏิขณะ คือ ๑,๐๐๐,๐๐๐,๐๐๐,๐๐๐ ครั้ง (หนึ่งล้านล้านครั้ง) จึงเป็นการยากที่บุคคลจะรู้เท่าทันได้
ดังนั้น จิต หรือ วิญญาณ จึงหมายถึงสิ่งเดียวกัน นอกจากนี้ จิต ยังมีชื่อเรียกอีกหลายชื่อ เช่น หทัย, ปัญฑระ, มโน, มนัส, มนินทรีย์, มโนธาตุ, มโนวิญญาณธาตุ, วิญญาณขันธ์, มนายตนะ เป็นต้น จึงขอให้เข้าใจว่า แม้จะเรียกชื่ออย่างไรก็ตาม ชื่อเหล่านั้นก็คือ จิต นั่นเอง
และต้องขอบคุณอีกครั้งครับสำหรับเรื่องที่แนะนำเว็บอภิธรรมโชติกะวิทยาลัย  ทำให้ผมสนใจพระอภิธรรมแล้วสิ ...   

 :25:        :25:        :25:

บันทึกการเข้า
พุทธะนับหมื่นอยู่ที่ใจ

meditation

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 127
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: วิญญาณแสนรู้
« ตอบกลับ #7 เมื่อ: กันยายน 25, 2011, 09:32:15 am »
0
สภาวะการเกิดแต่ตาย เพราะกายแตก เป็นสภาวะที่ต้องถึงวันนั้นกันเอง ถึงจะรู้ได้

 ว่าแต่ใครสนเรื่อง วิญญาณ ในปฏิจจสมุปบาท บ้างคะ

 อนุโมทนา  กับท่านมหาคะ ที่นำความรู้มาให้ได้อ่านกัน

 สาธุ สาธุ สาูธุ

  :25: :25: :25:
บันทึกการเข้า
ข้าพเจ้าปรียบเหมือนนกที่กำลังหัดเดิน มีสิ่งใดที่ล่วงเกินใคร ก็ขอกราบอภัยไว้ล่วงหน้านะคะ
ภาวนากรรมฐาน เพื่อใคร เพื่ออะไร ทำไม ? หาคำตอบจากใจเราก่อนนะคะ

เด็กวัด

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 150
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: วิญญาณแสนรู้
« ตอบกลับ #8 เมื่อ: กันยายน 25, 2011, 06:56:58 pm »
0
วิญญาณ ที่เป็นแต่กายแตก คือตาย นั้นก็มีอยู่จริง และ เป็นที่เสวย ภพ ชาติ ที่ันับไม่ถ้วน อีกมากมาย

วิญญาณ ที่เป็นที่กำหนด ในปฏิจจสมุปบาท นั้นเป็นวิญญาณ สภาวะธรรมเป็นต้นทางของการดับภพ ชาติ ในปัจจุบัน

เป็นไปเพื่อนการบรรลุเป็นพระอรหันต์ ในชาติปัจจุบัน

   ความทุกข์ ก็คือ ภพ ชาติ  ไล่ตาม ปฏิจสมุปบาท กลับมานะครับ

   ทุกข์ ชาติ ชรา มรณะ  มาจาก .........

   ดังนั้น เมื่อภาวนาจึงต้องเข้าใจเรื่อง ........ อะไร ? กันหนอ วันนี้ที่พระสงฆ์ บรรดา พุทธบริษัท นำมาสอนกันก็ล้วนแต่เป็นวิธีการ ที่ดับ เหตุปัจจัย ของแต่ ละ เหตุปัจจัย ของภพชาติ

    เช่น สอนดับอวิชชาสวะ โดยตรง โดยมอบความเข้าใจในเรื่อง วิชชา เรื่อง อริยสัจจะ 4 ประการ

    ถ้าหลุดเข้ามา ก็สอนกำหนด สังขาร เช่นกรรมฐาน 40 กองกรรมฐาน  มีอานาปานสติเป็นต้น
   
    ถ้าหลุดเข้ามา ก็สอนกำหนด วิญญาณ คือให้มองเห็นเป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เป็นต้น

    ถ้าหลุดเข้ามา ก็สอนกำหนด ที่นามรูป เช่น สาย ยุบหนอ พองหนอ

    ถ้าหลุดเข้ามา ก็สอนกำหนด สฬายตนะ เช่นกำหนด อนัตตาที่อายตนะ ความเกิด ความดับ เป็นต้น

    ถ้าหลุดเข้ามา ก็สอนกำหนด ที่ผัสสะ

    ถ้าหลุดเข้ามก ก็สอนให้กำหนดที่ เวทนา

     ไล่ไปเถอะครับ จนถึงถึง อุปาทาน แล้ว ถ้าไม่ยังไม่จาง ไม่คลาย ก็ทะลุ เป็น ภพ เป็นชาติ ต่อเนื่อง

 ดังนั้นในบรรดาสำนัก ที่สอนกันแตกต่างกันนั้น ก็แล้วแต่ว่าจะสอนให้กำหนดที่ ตรงไหน

  ส่วนมากกรรมฐาน นั้นจะสอนให้กำหนดที่ เวทนา นะครับ

  สำหรับ พระอริยะบุคคล ขั้นพระอนาคามี ก็สอนให้หยุด สังขาร เป็นต้น

  อันนี้เป็นความเข้าใจ ของกระผมนะครับ ถูกผิดก็ให้ เพิ่มความรู้ได้เลยครับ

  ไม่ต้องเกรงใจ เป็นการเสวนาธรรม กัน ครับ

  :25: :67: :13:
บันทึกการเข้า

Mahajaroon

  • 1.บรรพชิต
  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 63
  • ข้างนอกต้องแก้ไข ข้างในต้องปล่อยวาง
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: วิญญาณแสนรู้
« ตอบกลับ #9 เมื่อ: ตุลาคม 09, 2011, 04:06:54 pm »
0
วิญญาณ ที่เป็นแต่กายแตก คือตาย นั้นก็มีอยู่จริง และ เป็นที่เสวย ภพ ชาติ ที่ันับไม่ถ้วน อีกมากมาย

วิญญาณ ที่เป็นที่กำหนด ในปฏิจจสมุปบาท นั้นเป็นวิญญาณ สภาวะธรรมเป็นต้นทางของการดับภพ ชาติ ในปัจจุบัน

เป็นไปเพื่อนการบรรลุเป็นพระอรหันต์ ในชาติปัจจุบัน

     
     :25: :67: :13:




กรุณาส่ง
         เด็กวัด......
ตกลงว่าวิญญาณมี สองอย่าง ใช่ไหมครับ
๑ วิญญาณ ที่เป็นแต่กายแตก คือตาย
๒ วิญญาณ ที่เป็นที่กำหนด ในปฏิจจสมุปบาท

ขอคำอธิบายหน่อยครับ ว่า
๑ ความต่างของวิญญาณแต่ละชนิดเป็นอย่างไร
๒ พระพุทธศาสนาเอ๋ยถึงวิญญาณประเภทไหนมากที่สุด
 สาธุ  สาธุ  สาธุ   ธรรมะจงคุ้มครอง

                                                         :58:
บันทึกการเข้า
พุทธะนับหมื่นอยู่ที่ใจ

สมภพ

  • มีเหตุมีผล
  • ****
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 485
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: วิญญาณแสนรู้
« ตอบกลับ #10 เมื่อ: ตุลาคม 10, 2011, 09:22:20 am »
0
[๓๓๕] วิญญาณฐิติ ๗ อย่าง
             ๑. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย มีสัตว์พวกหนึ่งมีกายต่างกัน มีสัญญาต่างกัน
เช่นพวกมนุษย์และพวกเทพบางพวก พวกวินิปาติกะบางพวก นี้วิญญาณฐิติข้อ
ที่หนึ่ง
             ๒. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย มีสัตว์พวกหนึ่งมีกายต่างกัน มีสัญญาอย่าง
เดียวกัน เช่นพวกเทพผู้นับเนื่องในพวกพรหมซึ่งเกิดในภูมิปฐมฌาน นี้วิญญาณ-
*ฐิติข้อที่สอง ฯ
             ๓. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย มีสัตว์พวกหนึ่งมีกายอย่างเดียวกัน มีสัญญา
ต่างกัน เช่นพวกเทพเหล่าอาภัสสระ นี้วิญญาณฐิติข้อที่สาม ฯ
             ๔. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย มีสัตว์พวกหนึ่งมีกายอย่างเดียวกัน มีสัญญา
อย่างเดียวกัน เช่นพวกเทพเหล่าสุภกิณหา นี้วิญญาณฐิติข้อที่สี่ ฯ
             ๕. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย มีสัตว์พวกหนึ่งเข้าถึงอากาสานัญจายตนะด้วย
มนสิการว่า อากาศหาที่สุดมิได้ เพราะล่วงรูปสัญญา โดยประการทั้งปวง เพราะ
ดับปฏิฆสัญญา เพราะไม่ใส่ใจถึงนานัตตสัญญา นี้วิญญาณฐิติข้อที่ห้า ฯ
             ๖. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย มีสัตว์พวกหนึ่งก้าวล่วงอากาสานัญจายตนะโดย
ประการทั้งปวงแล้ว เข้าถึงวิญญาณัญจายตนะด้วยมนสิการว่า วิญญาณหาที่สุดมิได้
นี้วิญญาณฐิติข้อที่หก ฯ
             ๗. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย มีสัตว์พวกหนึ่งก้าวล่วงวิญญาณัญจายตนะโดย
ประการทั้งปวงแล้ว เข้าถึงอากิญจัญญายตนะด้วยมนสิการว่า ไม่มีอะไร นี้วิญญาณ-
*ฐิติข้อที่เจ็ด ฯ


 เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๑  บรรทัดที่ ๖๒๕๒ - ๖๒๗๑.  หน้าที่  ๒๕๖ - ๒๕๗.
http://www.84000.org/tipitaka/read/v.php?B=11&A=6252&Z=6271&pagebreak=0
http://www.84000.org/tipitaka/read/?11/335/265

ถ้าตามพระพุทธดำรัสในพระสูตร ที่ตั้งแห่ง วิญญาณ มี 7 ประการ นะครับ

แต่สรุป แล้ว ก็มีโดยกำเนิด 4 อันเป็นตั้งที่เกิด ของจุติ แห่งจิต เวียนว่ายตายเกิด ในวัฏฏะสงสาร

อันนี้ เป็นวิญญาณ ที่ต้องเวียนว่ายตายเกิด ในที่ตั้งแห่้งวิญญาณ 7


แต่เมื่อผู้ใด ได้ชำแรกแหวกกำเนิด ด้วยธรรมเป็นที่ตั้ง คือ พระอริยมรรค ก็จะก้าวล่วงพ้นจาก วิญญาณฐิติ 7


เจริญธรรม ยามเช้า ครับ
 :25:
บันทึกการเข้า

pamai

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 139
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: วิญญาณแสนรู้
« ตอบกลับ #11 เมื่อ: ตุลาคม 10, 2011, 10:39:54 am »
0
คือ ยังไม่ค่อยจะเข้าใจ กับเรื่อง ของวิญญาณ ในแนวทางของท่านเจ้าของกระทู้นี้ ครับ

แต่จาก หัวข้อ ถ้าเปิดประเด็นก็จะมอง จะมองจากโจทย์ที่ตั้งดังนี้

 1. วิญญาณ

 2. แสนรู้


    ดังนั้น วิญญาณ คือ อะไร ? ก็ดูจากการแสดงความคิดเห็น สรุป วิญญาณ มีสองแบบ ตามความเชื่อ

  1. วิญญาณ ที่เป็นดวงจิต ออกจาก กาย มีเพราะตาย หรือที่ภาษาอังกฤษใช้คำว่า ghost

     ซึ่งมีที่ตั้ง ตามกำเนิด เรียกว่า ที่เกิด จุติ 7 ประการนะครับ ( เข้าใจตามที่แสดงความคิดเห็น )

     เช่น เกิดในโลกมนุษย์ โลกสวรรค์ เป็นต้น

 2. วิญญาณ คือ การรับรู้ รับทราบ อารมณ์ อันเป็นที่เสวยทุกข์ สุข มิใช่สุข และ ทุกข์
   
     วิญญาณ นี้ มีในขันธ์ 5 เกิดขึ้นเพราะมี ผัสสะ ระหว่าง อายตนะ คือ ใจ และ อารมณ์

 ถ้ามองตามเกณฑ์ ศาสนา แล้ว ถามว่า เรื่องไหน กล่าวมากที่สุด

    ก็ต้องบอกว่า เรื่องที่กล่าวมากที่สุด ก็ทั้งสองเรื่อง คือไม่รู้จะเอาอะไรมาวัด ใช้ serch engine หรือเปิดพระไตรปิฏกนับกัน ผมว่าทำไม่ได้หรอก คุณบอกว่า เรื่อง นี้ 100 ครั้ง เรื่องนี้ 90 ผมไม่เชื่อหรอก ดังนั้น ประเด็นว่ากล่าว วิญญาณ ความหมายไหน มากที่สุด ประเด็นนี้ผมว่าต้องยกลง ไม่ต้องเอามาเป็นเคริื่องวัด

   หากแต่ควรจะเปลี่ยนคำถามว่า ควรจะศึกษา เรื่องไหนมากที่สุด อันนี้น่าจะตอบได้ นะครับ

   เพราะว่า ถ้าศึกษา วิญญาณ ตาย แล้ว เกิด แบบภพ แบบชาติ คงสิ้นสุดได้ยาก ขนาดพระพุทธเจ้าใช้เวลา 400000 อสงไขยชาต พระโพธิสัตว์ มาแล้ว ดังนั้นน่าจะพูดจบได้ยากเรื่องนี้

  แต่ถ้าพูด วิญญาณ ในขันธ์ 5 ใน อายตนะ 12 ใน ปฏิจจสมุปบาท 12 ประการแล้ว น่าจะจบได้ง่ายในการภาวนาเพราะ ในนี้มีคำว่า ญาณ คือ รู้แจ้ง ( ผมว่าไม่น่าจะใช้คำว่า แสนรู้ )


  ส่วนคำว่า แสนรู้ อันนี้ตีความ ถ้าคนไทยเราพูด ถึงคำว่า แสนรู้ ก็หมายความเป็นความสามารถพิเศษ

  เช่น หมานี้แสนรู้ หมายถึง หมาตัวนี้มีฉลาดเป็นพิเศษ ที่เราทึ่งในความสามารถ

       คนแสนรู้ ม้าแสนรู้ นกแสนรู้ เออหนอ ดังนั้นคำว่าแสนรู้ นี้ถ้านำมาเติมกับคำว่า

      วิญญาณแสนรู้ แล้วมันดูรู้สึก ขัด ๆ กับ วิญญาณ ใน ความหมายที่ 2


    วิญญาณแสนรู้  วิญญาณที่ฉลาด

    การรับรู้ที่ฉลาด

    เอ้อหนอ ความหมายตามศัพท์ น่าฉงบ งง ๆ

  ที่นี้ ถ้ามาถอดคำใหม่ เป็น วิญญาณ 1 รู้  หรือ 10 รู้ 100 รู้ 1000 รู้ 10000 รู้ 1000000 รู้ ดีหรือไม่ครับ

มาร่วมวิจารณ์ อย่าคิดกันมากแบบผม

 :hee20hee20hee: :hee20hee20hee:
บันทึกการเข้า

Mahajaroon

  • 1.บรรพชิต
  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 63
  • ข้างนอกต้องแก้ไข ข้างในต้องปล่อยวาง
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: วิญญาณแสนรู้
« ตอบกลับ #12 เมื่อ: ตุลาคม 29, 2011, 12:56:32 pm »
0
คุณๆๆอย่ามองข้าม โสฬสญาณ หรือ ญาณ ๑๖ (ญาณแสนรู้ชัดเจนกว่าวิญญาณแสนรู้)
วิปัสสนาญาณ หมายถึง ปัญญาที่กำหนดจนรู้เห็นว่าขันธ์ ๕ เป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา คือ เห็นประจักษ์แจ้งซึ่ง ไตรลักษณ์ แห่งรูปนาม

๑. นามรูปปริจเฉทญาณ ปัญญาที่กำหนดจนรู้เห็นรูปเห็นนามว่าเป็นคนละสิ่งคนละส่วน ซึ่งไม่ได้ระคนปนกันจนแยกกันไม่ได้

๒. ปัจจยปริคคหญาณ ปัญญาที่กำหนดจนรู้เห็นถึงปัจจัยที่ให้เกิดรูป เกิดนาม คือ รูปเกิดจาก กรรม จิต อุตุ อาหาร ส่วนนามเกิดจาก อารมณ์ วัตถุ มนสิการ

๓. สัมมสนญาณ ปัญญาที่กำหนดจนรู้เห็นไตรลักษณ์ คือ ความเกิดดับของรูปนาม แต่ที่รู้ว่ารูปนามดับไปก็เพราะ เห็นรูปนามใหม่เกิดสืบต่อแทนขึ้นมาแล้ว เห็นอย่างนี้เรียกว่า สันตติยังไม่ขาดและยังอาศัยจินตามยปัญญาอยู่ อีกนัยหนึ่งว่า สัมมสนญาณ เป็นญาณที่ยกรูปนามขึ้นสู่ไตรลักษณ์

๔. อุทยัพพยญาณ ปัญญาที่กำหนดจนรู้เห็นไตรลักษณ์ชัดเจน โดยสันตติขาด คือ เห็นรูปนามดับไปในทันทีที่ดับ และเห็นรูปนามเกิดขึ้นในขณะที่เกิด หมายความว่า เห็นทันทั้งในขณะที่เกิดและขณะที่ดับ อุทยัพพยญาณนี้ยังจำแนกได้เป็น ๒ คือ ตรุณอุทยัพพยญาณ เป็นญาณที่ยังอ่อนอยู่ และพลวอุทยัพพยญาณ เป็นญาณที่แก่กล้าแล้ว

๕. ภังคญาณ ปัญญาที่กำหนดจนรู้เห็นความดับแต่อย่างเดียว เพราะความดับของรูปนามเป็นสิ่งที่ตื่นเต้นกว่าความเกิด

๖. ภยญาณ บ้างก็เรียกว่า ภยตูปัฏฐานญาณ ปัญญาที่กำหนดจนรู้เห็นว่ารูปนามนี้เป็นภัย เป็นที่น่ากลัว เหมือนคนกลัวสัตว์ร้าย เช่น เสือ เป็นต้น

๗. อาทีนวญาณ ปัญญาที่กำหนดจนรู้เห็นว่ารูปนามนี้เป็นโทษ เหมือนผู้ที่เห็นไฟกำลังไหม้เรือนตนอยู่ จึงคิดหนีจากเรือนนั้น

๘. นิพพิทาญาณ ปัญญาที่กำหนดจนรู้เห็นว่า เกิดเบื่อหน่ายในรูปนาม เบื่อหน่ายในปัญจขันธ์

๙. มุญจิตุกมยตาญาณ ปัญญาที่กำหนดจนรู้เห็นว่าใคร่จะหนีจากรูปนาม ใคร่จะพ้นจากปัญจขันธ์ เปรียบดังปลาเป็น ๆ ที่ใคร่จะพ้นจากที่ดอนที่แห้ง

๑๐. ปฏิสังขาญาณ ปัญญาที่กำหนดจนรู้เห็นเพื่อหาทางที่จะหนี หาอุบายที่จะเปลื้องตนให้พ้นจากปัญจขันธ์

๑๑. สังขารุเบกขาญาณ ปัญญาที่กำหนดจนรู้เห็นว่า จะหนีไม่พ้นจึงเฉยอยู่ไม่ยินดียินร้าย ดุจบุรุษอันเพิกเฉยในภริยาที่ทิ้งขว้างหย่าร้างกันแล้ว

๑๒. อนุโลมญาณ ปัญญาที่กำหนดจนรู้เห็นให้คล้อยไปตามอริยสัจจญาณนี้เรียกว่า สัจจานุโลมิกญาณ ก็ได้
๑๓. โคตรภูญาณ ปัญญาที่กำหนดจนรู้เห็นพระนิพพาน ตัดขาดจากโคตรปุถุชนเป็นโคตรอริยชน
๑๔. มัคคญาณ ปัญญาที่กำหนดจนรู้เห็นพระนิพพาน และตัดขาดจากกิเลสเป็นสมุจเฉทประหาณ
๑๕. ผลญาณ ปัญญาที่กำหนดจนรู้เห็นพระนิพพานโดยเสวยผลแห่งสันติสุข
๑๖. ปัจจเวกขณญาณ ปัญญาที่กำหนดจนรู้เห็นใน มัคคจิต,ผลจิต,นิพพาน, กิเลสที่ละแล้ว และกิเลสที่ยังคงเหลืออยู่ ตั้งแต่ญาณที่ ๓ สัมมสนญาณ จนถึงญาณที่ ๑๒ อนุโลมญาณ รวม ๑๐ ญาณ นี้เรียกว่า วิปัสสนาญาณ เพราะสัมมสนญาณนั้น เริ่มเห็นไตรลักษณ์แล้วบางแห่งก็จัดว่า วิปัสสนาญาณ มีเพียง ๙ คือ นับตั้งแต่ญาณที่ ๔ อุทยัพพยญาณ จนถึงญาณที่ ๑๒ อนุโลมญาณ เพราะอุทยัพพยญาณเป็นญาณแรกที่รู้เห็นไตรลักษณ์ ด้วยปัญญาชนิดที่เรียกว่า ภาวนามยปัญญา โดยตรงโดยไม่ต้องอาศัย จินตามยปัญญาเข้ามาช่วย
 :25:
ขอบคุณ ขอบคุณ ขอบคุณ ขอบคุณที่กรุณาสละเวลามาตอบกระทู้ให้
พวกเรา ชาวเว็บมัฌชิมาไม่เคยแร้งน้ำใจต่อแต่นี้ไปจะทำดีตอบแทน
ขอบคุณพระพุทธ ขอบคุณพระธรรม ขอบคุณพระสงฆ์
ขอบคุณคุณธรรมที่มีอยู่ในท่านผู้ตอบกระทู้ทุกๆท่าน ผมอ่านแล้วโง่น้อยตั้งมากมาย
บันทึกการเข้า
พุทธะนับหมื่นอยู่ที่ใจ