ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: สองภิกษุ ผู้อาภัพ ด้วย บิณฑบาตร และ ภัตร ( ได้แต่ของหยาบ )  (อ่าน 9406 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

รักหนอ

  • มีเหตุมีผล
  • ****
  • ผลบุญ: +22/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 369
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
            เรื่องพระเมตติยะและพระภุมมชกะ
            [๓๘๓]    ก็สมัยนั้น    พระเมตติยะและพระภุมมชกะ    เป็นพระบวชใหม่และมี
บุญน้อย    เสนาสนะของสงฆ์ชั้นเลว    อาหารก็ชั้นเลว    ตกถึงท่านทั้งสอง    ชาวกรุง
ราชคฤห์ต้องการจะถวายบิณฑบาตแก่พระเถระทั้งหลายก็ถวายเนยใสบ้าง    น้ำมันบ้าง
แกงอ่อมบ้าง    จัดปรุงพิเศษ    แต่พวกเขาถวายอาหารธรรมดาแก่พระเมตติยะและ
พระภุมมชกะ    ตามแต่จะหาได้    คือปลายข้าวกับน้ำผักดอง
            วันหนึ่ง    ท่านทั้งสองกลับจากบิณฑบาตหลังจากฉันเสร็จแล้ว    เที่ยวถามภิกษุ
เถระว่า    “มีอาหารอะไรบ้าง    ในโรงฉันสำหรับพวกท่าน”
            พระเถระบางพวกตอบว่า    “คุณทั้งสอง    พวกเรามีเนยใส    น้ำมัน    แกงอ่อม”
            พระเมตติยะและพระภุมมชกะ    กล่าวว่า    “พวกกระผมไม่มีอะไรเลย    ขอรับ    มี
แต่อาหารธรรมดา    ตามแต่จะหาได้    คือปลายข้าวกับน้ำผักดอง”
            สมัยต่อมา    คหบดีผู้ชอบถวายอาหารอย่างดี    ถวายอาหารแก่สงฆ์วันละ    ๔    ที่
เป็นนิตยภัต    คหบดีพร้อมบุตรภรรยาอังคาส๑    อยู่ใกล้ๆ    ในโรงฉัน    คนอื่นๆ    ถาม
ถึงความต้องการข้าวสุก    ถามถึงความต้องการกับข้าว    ถามถึงความต้องการน้ำมัน
ถามถึงความต้องการแกงอ่อม
            วันต่อมา    ท่านพระทัพพมัลลบุตรผู้เป็นภัตตุทเทสก์นิมนต์พระเมตติยะและ
พระภุมมชกะไปฉันภัตตาหารของคหบดีในวันรุ่งขึ้น    วันเดียวกันนั้น    คหบดีเดินทางไป
อารามด้วยธุระบางอย่าง    ได้เข้าไปหาท่านพระทัพพมัลลบุตรถึงสำนัก    ครั้นถึงแล้วได้
ไหว้ท่านพระทัพพมัลลบุตรแล้ว    นั่งลง    ณ    ที่สมควร    ท่านทัพพมัลลบุตร    ชี้แจงคหบดี
ผู้ชอบถวายอาหารอย่างดีให้เห็นชัด    ชวนให้อยากรับไปปฏิบัติ    เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า
ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมีกถา    ครั้นแล้ว    คหบดีผู้ชอบถวายอาหารอย่างดี
ถามว่า    “ภัตตาหารที่จะถวายในวันพรุ่งนี้ที่เรือนของข้าพเจ้า    ท่านนิมนต์ภิกษุรูปไหน
ไปฉันขอรับ”
            ท่านพระทัพพมัลลบุตรตอบว่า    “อาตมาจัดให้พระเมตติยะและพระภุมมชกะ
ไปฉัน”

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ตุลาคม 08, 2011, 09:42:36 am โดย รักหนอ »
บันทึกการเข้า

รักหนอ

  • มีเหตุมีผล
  • ****
  • ผลบุญ: +22/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 369
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
เศรษฐี ไม่เต็มใจ ถวายภัตร แก่ภิกษุหยาบ
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: ตุลาคม 08, 2011, 09:40:28 am »
0
เขาไม่พอใจว่า    “ทำไมจึงนิมนต์ภิกษุชั่วไปฉันภัตตาหารในบ้านเราเล่า”    กลับ
ไปบ้านแล้วสั่งหญิงรับใช้ว่า    “แม่สาวใช้    พรุ่งนี้    เจ้าจงจัดอาสนะไว้ที่ซุ้มประตูแล้วเอา
ปลายข้าวกับน้ำผักดองถวายภิกษุผู้มาฉันภัตตาหารนะ”
            หญิงรับใช้รับคำว่า    “ได้เจ้าค่ะ”
            วันเดียวกันนั้น    พระเมตติยะและพระภุมมชกะกล่าวกันว่า    “คุณ    เมื่อวานนี้
เราได้รับนิมนต์ไปฉันภัตตาหารในเรือนคหบดี    พรุ่งนี้    คหบดีพร้อมด้วยบุตรภรรยา
ก็จักมายืนอังคาสเราอยู่ใกล้  ๆ    คนอื่นถามถึงความต้องการข้าวสุก    ถามถึงความ
ต้องการกับข้าว    ถามถึงความต้องการน้ำมัน    ถามถึงความต้องการแกงอ่อม”    เพราะ
ความดีใจนั้น    พอตกกลางคืน    ท่านทั้งสองจึงจำวัดหลับไม่เต็มที่    ครั้นเวลาเช้า    ครอง
อันตรวาสก    ถือบาตรและจีวรเดินไปถึงนิเวศน์ของคหบดี
            หญิงรับใช้มองเห็นพระเมตติยะและพระภุมมชกะเดินมาแต่ไกล    จึงจัดอาสนะ
ไว้ที่ซุ้มประตูนิมนต์ว่า    “พระคุณเจ้า    นิมนต์นั่งเถิด    เจ้าค่ะ”
            พระเมตติยะและพระภุมมชกะคิดว่า    “เขาคงนิมนต์ให้พวกเรานั่งรอที่ซุ้ม
ประตูจนกว่าภัตตาหารจะเสร็จ”    ขณะนั้นหญิงรับใช้นำปลายข้าวกับน้ำผักดองไปถวาย
กล่าวว่า    “พระคุณเจ้า    นิมนต์ฉันเถิด    เจ้าค่ะ”
            ท่านทั้งสองกล่าวว่า    “น้องหญิง    พวกอาตมารับนิมนต์มาฉันนิตยภัต”
            หญิงรับใช้ตอบว่า    “ทราบเจ้าค่ะว่าท่านเป็นพระรับนิมนต์มาฉันนิตยภัต    แต่
เมื่อวานนี้    คหบดีสั่งไว้ว่า    ‘แม่สาวใช้    พรุ่งนี้    เจ้าจงจัดอาสนะไว้ที่ซุ้มประตู    แล้วเอา
ปลายข้าวกับน้ำผักดองถวายภิกษุผู้มาฉันภัตตาหารนะ’    นิมนต์ฉันเถิด    เจ้าค่ะ”
            พระเมตติยะและพระภุมมชกะ    ปรึกษากันว่า    “เมื่อวานนี้เอง    คหบดีไปหา
พระทัพพมัลลบุตรถึงอาราม    สงสัยพวกเราคงถูกพระทัพพมัลลบุตรทำลายต่อหน้า
คหบดีเป็นแน่”    เพราะความเสียใจ    ท่านทั้งสองจึงฉันภัตตาหารไม่ได้สมใจ    ครั้นกลับ
จากบิณฑบาตหลังจากฉันเสร็จแล้ว    ถึงอาราม    เก็บบาตรและจีวรแล้วใช้ผ้าสังฆาฏิ
รัดเข่า    นั่งภายนอกซุ้มประตูอาราม    นิ่งอั้น    เก้อเขิน    คอตก    ก้มหน้า    ซบเซา    ไม่พูดจา


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ตุลาคม 08, 2011, 09:43:10 am โดย รักหนอ »
บันทึกการเข้า

รักหนอ

  • มีเหตุมีผล
  • ****
  • ผลบุญ: +22/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 369
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
ภิกษุณีเมตติยาใส่ความพระทัพพมัลลบุตร
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: ตุลาคม 08, 2011, 09:41:27 am »
0
         ภิกษุณีเมตติยาใส่ความพระทัพพมัลลบุตร
            ครั้งนั้น    ภิกษุณีเมตติยาเข้าไปหาพระเมตติยะและพระภุมมชกะถึงที่พัก    ครั้น
ถึงแล้วได้กล่าวกับพระเมตติยะและพระภุมมชกะ    ดังนี้ว่า    “พระคุณเจ้า    ดิฉันไหว้
เจ้าค่ะ”
            เมื่อเธอกล่าวอย่างนั้น    พระเมตติยะและภุมมชกะก็ไม่พูดด้วย    เธอจึงกล่าวว่า
“ดิฉันไหว้    เจ้าค่ะ”    แม้ครั้งที่    ๒    ฯลฯ    แม้ครั้งที่    ๓    พระเมตติยะและพระภุมมชกะก็ไม่
ยอมพูดด้วย
            ภิกษุณีเมตติยากล่าวต่อไปว่า    “ดิฉันทำผิดอย่างไรต่อพระคุณเจ้า    ทำไม
พระคุณเจ้าจึงไม่ยอมพูดกับดิฉัน”
            ภิกษุทั้งสองตอบว่า    “จริงอย่างนั้นแหละ    น้องหญิง    พวกเราถูกพระทัพพมัลล
บุตรเบียดเบียน    เธอยังเพิกเฉยอยู่ได้”
            ภิกษุณีเมตติยาถามว่า    “ดิฉันจะช่วยได้อย่างไร    เจ้าค่ะ”
            ภิกษุทั้งสองตอบว่า    “ถ้าเธอเต็มใจช่วย    วันนี้แหละพระผู้มีพระภาคต้องให้
พระทัพพมัลลบุตรสึก”
            ภิกษุณีเมตติยาถามว่า    “พระคุณเจ้า    ดิฉันจะทำอย่างไร    จะช่วยได้ด้วยวิธีไหน”
            ภิกษุทั้งสองตอบว่า    “มาเถิด    น้องหญิง    เธอจงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่
ประทับ    ครั้นถึงแล้ว    จงกราบทูลพระผู้มีพระภาค    อย่างนี้ว่า    “พระพุทธเจ้าข้า
เรื่องนี้ไม่สมควร    ไม่เหมาะสม    ทิศที่เคยปลอดภัยก็กลับมีภัย    ที่ที่ไม่เคยมีเสนียดจัญ
ไรก็กลับมีเสนียดจัญไร    ทิศที่ไม่เคยมีอุปัททวะก็กลับมีอุปัททวะ    ในที่ที่ไม่เคยมีลม    ก็
กลับมีลมแรง    น้ำก็ดูเป็นเหมือนน้ำร้อนขึ้นมา    หม่อมฉันถูกพระทัพพมัลลบุตรข่มขืน”
            ภิกษุณีเมตติยารับคำของพระเมตติยะและพระภุมมชกะแล้วจึงเข้าไปเฝ้าพระ
ผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ    ครั้นถึงแล้ว    ได้ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้วยืนอยู่    ณ    ที่
สมควร    ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาค    ดังนี้ว่า    “เรื่องนี้ไม่สมควร    ฯลฯ    หม่อมฉันถูก
พระทัพพมัลลบุตรข่มขืน”
 
               ทรงประชุมสงฆ์สอบถาม
            [๓๘๔]    ลำดับนั้น    พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ
ทรงสอบถามท่านพระทัพพมัลลบุตรว่า    “ทัพพะ    เธอจำได้ไหมว่าได้ทำตามที่ภิกษุณี
นี่กล่าวหา”

บันทึกการเข้า

รักหนอ

  • มีเหตุมีผล
  • ****
  • ผลบุญ: +22/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 369
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
พระทัพพมัลลบุตร ยืนยันความบริสุทธิ์ 3 ครั้ง
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: ตุลาคม 08, 2011, 09:44:41 am »
0
       ท่านพระทัพพมัลลบุตรกราบทูลว่า    “พระพุทธเจ้าข้า    พระผู้มีพระภาคย่อม
ทรงทราบว่า    ข้าพระพุทธเจ้าเป็นอย่างไร”    แม้ครั้งที่    ๒    พระผู้มีพระภาคได้ตรัสถาม
ท่านพระทัพพมัลลบุตร    ฯลฯ    แม้ครั้งที่    ๓    ตรัสถามท่านพระทัพพมัลลบุตรว่า
“ทัพพะ    เธอจำได้ไหมว่าได้ทำตามที่ภิกษุณีนี่กล่าวหา”    พระทัพพมัลลบุตรก็กราบทูลว่า
“พระพุทธเจ้าข้า    พระผู้มีพระภาคย่อมทรงทราบว่า    ข้าพระพุทธเจ้าเป็นอย่างไร”
            “ทัพพะ    บัณฑิตย่อมไม่แก้คำกล่าวหาอย่างนี้    ถ้าเธอทำก็จงบอกว่าทำ    ถ้า
เธอไม่ได้ทำ    ก็จงบอกว่าไม่ได้ทำ”
            “พระพุทธเจ้าข้า    ตั้งแต่เกิดมา    ข้าพระพุทธเจ้าไม่รู้จักการเสพเมถุนธรรมแม้
ในความฝัน    ไม่จำต้องกล่าวถึงเมื่อตอนตื่นอยู่”
            ลำดับนั้น    พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมารับสั่งว่า    “ภิกษุทั้งหลาย
ถ้าอย่างนั้น    เธอทั้งหลายจงให้นางภิกษุณีเมตติยาสึก    จงสอบถามภิกษุเหล่านี้”    แล้ว
เสด็จจากที่ประทับเข้าพระวิหาร
            หลังจากนั้น    ภิกษุทั้งหลายจึงให้นางภิกษุณีเมตติยาสึก    แต่พระเมตติยะและ
พระภุมมชกะได้แจ้งภิกษุทั้งหลายว่า    “ท่านทั้งหลายอย่าให้นางภิกษุณีเมตติยาสึก
เลย    นางไม่มีความผิด    พวกกระผมโกรธ    ไม่พอใจ    ต้องการให้พระทัพพมัลลบุตรพ้น
จากพรหมจรรย์    จึงชักจูงนาง”
            ภิกษุทั้งหลายกล่าวว่า    “ท่านทั้งหลาย    พวกท่านใส่ความพระทัพพมัลลบุตร
ด้วยอาบัติปาราชิก    ที่ไม่มีมูลหรือ”
 
         พระเมตติยะและพระภุมมชกะยอมรับสารภาพ
            บรรดาภิกษุผู้มักน้อย    ฯลฯ    พากันตำหนิ    ประณาม    โพนทะนาว่า    “ไฉนพระ
เมตติยะและพระภุมมชกะจึงใส่ความท่านพระทัพพมัลลบุตรด้วยอาบัติปาราชิกที่ไม่
มีมูลเล่า”    ครั้นภิกษุเหล่านั้นตำหนิพระเมตติยะและพระภุมมชกะโดยประการต่าง  ๆ
แล้วจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลแด่พระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

บันทึกการเข้า

รักหนอ

  • มีเหตุมีผล
  • ****
  • ผลบุญ: +22/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 369
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
            ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
            ลำดับนั้น    พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ    ทรง
สอบถามพระเมตติยะและพระภุมมชกะว่า    “ภิกษุทั้งหลาย    ทราบว่า    เธอทั้งสองใส่
ความทัพพมัลลบุตร    ด้วยอาบัติปาราชิกที่ไม่มีมูลจริงหรือ”    ภิกษุเหล่านั้นทูลรับว่า
“จริง    พระพุทธเจ้าข้า”    พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า    “โมฆบุรุษทั้งหลาย
ไฉนพวกเธอ    จึงใส่ความทัพพมัลลบุตรด้วยอาบัติปาราชิกที่ไม่มีมูลเล่า    โมฆบุรุษ
ทั้งหลาย    การกระทำอย่างนี้    มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส    ฯลฯ”    แล้วจึงรับ
สั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง    ดังนี้
 
                  พระบัญญัติ
            [๓๘๕]    ก็    ภิกษุใด    ขัดเคือง    มีโทสะ    ไม่แช่มชื่น    ใส่ความภิกษุด้วย
อาบัติปาราชิกที่ไม่มีมูล    โดยมุ่งหมายว่า    “ทำอย่างไรจึงจะให้ภิกษุนั้นพ้นจาก
พรหมจรรย์นี้ได้”    ครั้นสมัยต่อจากนั้น    อันผู้ใดผู้หนึ่งโจทก็ตามไม่โจทก็ตาม
อธิกรณ์นั้นเป็นเรื่องไม่มีมูล    และภิกษุยอมรับผิด    เป็นสังฆาทิเสส
         เรื่องพระเมตติยะและพระภุมมชกะ จบ


         พระวินัยปิฎก  มหาวิภังค์  [๒.  สังฆาทิเสสกัณฑ์]
              ๘.  ปฐมทุฎฐโทสสิกขาบท  สิกขาบทวิภังค์


เมื่ออ่านจบ
แล้วขอเชิญ ธรรมวิจารณ์ กันต่อไปนะคะ

 :25: :c017:

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ตุลาคม 08, 2011, 09:48:49 am โดย รักหนอ »
บันทึกการเข้า

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28362
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0

 ปรกติ เท่าที่จำได้ ผมไม่เคยให้ความเห็นหรือวิพากษ์วิจารณ์"ชาดก"
 รู้สึกแปลกใจที่คุณรักหนอโพสต์เรื่องนี้ วันนี้ไม่ไปเรียนหรือครับ
 อย่างไรก็ตาม ขอชื่นชมที่สละเวลามาโพสต์ข้อธรรมนี้
 อยากเห็นคุณรักหนอโพสต์บ่อยๆ ขออนุโมทนา

 พระทัพพมัลลบุตรเถระ เป็นเอตทัคคะในทางผู้จัดเสนาสนะ ประวัติท่านมีข้อที่น่าสนใจ คือ
     - ประสูติบนเชิงตะกอน
     - โกนผมเสร็จก็บรรลุอรหันต์
     - ขอรับภารกิจของสงฆ์
     - ถูกภิกษุณีกล่าวหาว่าข่มขืน
     - ได้รับยกย่องทางจัดเสนาสนะ
     อ่านเรื่องของท่านได้ที่ http://www.84000.org/one/1/21.html

   พระเมตติยะและพระภุมมชกะ เป็นผู้มีลาภน้อย คล้ายกับ"พระโลสกติสสะ"
อ่านเรื่อง"พระโลสกติสสะ" ได้ที่ "ผู้มีลาภมาก vs ผู้มีลาภน้อย"
   http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=3839.0

   คหบดีคนนั้น เข้าถึงพระรัตนตรัยได้เพียงระดับหนึ่ง เพราะไม่ให้ความเคารพต่อตัวแทนสงฆ์ มองที่ปฏิปทาส่วนตัวของ"พระเมตติยะและพระภุมมชกะ"แต่ส่วนเดียว โดยไม่มองภาพรวมของพุทธศาสนา
   คหบดีทำทานด้วยจิตที่มีโมหะทั้งสามกาล คือ ก่อนทำ ขณะทำ และหลังทำ ทั้งยังไม่ถวายทานด้วยตนเอง
ทำอย่างนี้เป็นการแสดงความไม่เคารพในตัวแทนสงฆ์ บุญที่ได้จะน้อยมาก

   นางภิกษุณีเมตติยา มีพฤติกรรมเยี่ยง "นางจิญจมานวิกา" มีลุ้นไปทัวร์"อเวจี"

  พระทัพพมัลลบุตรเถระกล่าวว่า  "ตั้งแต่เกิดมา ข้าพระพุทธเจ้าไม่รู้จักการเสพเมถุนธรรม แม้ในความฝัน ไม่จำต้องกล่าวถึงเมื่อตอนตื่นอยู่"
   เนื่องจาก พระทัพพมัลลบุตรเถระบวชตั้งแต่อายุ ๗ ขวบครับ เลยกล่าววาจาได้อาจหาญอย่างนี้

   พระทัพพมัลลบุตรเถระมีประวัติเหมือนพระสีวลีอยู่สองอย่าง คือ บวชตั้งแต่ ๗ ขวบและบรรลุอรหันต์ขณะโกนผม อ่านเรื่องพระสีวลีได้่ี่ที่ลิงค์
   "ผู้มีลาภมาก vs ผู้มีลาภน้อย"
   http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=3839.0


   เท่านี้พอไหมครับ คุณรักหนอ หากไม่พอก็บอกกล่าวมาได้
   "ธรรมย่อมคุ้มครอง ผู้ประพฤติธรรม"

    :welcome: :49: :25: ;)
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ตุลาคม 08, 2011, 04:26:37 pm โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

นักเดินทาง

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +2/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 695
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ขอร่วม ประเด็น ด้วยก็แล้วกันนะครับ เพราะเห็นกระทู้ไม่ค่อยมี

 หลังจากอ่านเรื่องนี้ จบแล้ว

 มีข้อจะพิจารณา ดังนี้

 1. ภิกษุผู้อาภัพ อาหารบิณฑบาตร ผู้อื่น ได้แต่ของปราณีต แต่ ตัวเองได้แต่ของ หยาบ
 
 2. แม้พระอรหันต์ทัพพมัลลบุตร จะจัด ภัตร เพื่อให้แก่ภิกษุทั้งสองนั้น ก็ยังต้องชวด

 3. เรื่องเกิดแต่ความไม่ชอบใจ จึงพยายามหาผู้ใส่ร้าย

 4. เศรษฐี เลือกทำบุญ กับพระที่หยาบ  ก็ยังทำแต่ทำน้อย ทำอย่างเสียไปที

 5. คนใช้ที่ซื่อสัตย์ ทำบุญ ก็ย่อมจะได้บุญ

 6. คบคนเช่นไร เป็นคนเช่นนั้น ภิกษุณี เมตติยา น่าจะเป็นพวกเดียวกับ ภิกษุเมตติยะ

 7. การใส่ร้ายพระภิกษุ ไม่มีข้อหาใดรุนแรง นอกจาก ข่มขืน

 8. การเป็นผู้ไม่หวั่นไหว แสดงปฏิปทา ของพรหมจรรย์ ของพระทัพมัลลบุตร

 9. ต้นบัญญัติ ของพระวินัย

 10. อาบัติถูกกล่าวหา นี้ปรับแค่ สังฆาทิเสส ( อาบัติกลาง ๆ  )

 ก็จะเริ่มประเด็นตามที่คุณ รักหนอ ต้องการก็แล้วกันนะครับ

   :25: 
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ตุลาคม 08, 2011, 02:34:32 pm โดย นักเดินทาง »
บันทึกการเข้า

นักเดินทาง

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +2/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 695
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0

อ้างถึง
1. ภิกษุผู้อาภัพ อาหารบิณฑบาตร ผู้อื่น ได้แต่ของปราณีต แต่ ตัวเองได้แต่ของ หยาบ

อันนี้ ถ้าจะให้พูดต้องขอเดา ว่า ภิกษุุ ทั้งสองนั้นไม่เคยสั่งสมบุญด้วยการถวายของที่ดี แต่ผู้อื่น เวลาให้ของสิ่งใดก็คงจะมีนิสัยให้แต่สิ่งที่ไม่ดี เป็นเดนอะไรประมาณนี้ นึกดูมากระทบตัวเอง บางครั้งก็ำทำอย่างนี้เช่นกัน เมื่อได้อ่านตรงจุดนี้แล้ว จึงคิดได้ว่าต่อไปนี้ เมื่อจะทำบุญทำทาน ก็จะทำบุญทำทาน ที่ดีที่สุด เมื่อทำบุญ ทำทานก็ไม่ควรจะให้แต่ของเหลือเดน เหลือใช้ เพราะถ้าผลกรรมนั้นมาหาแล้ว ก็จะมาันั่งทุกข์ใจ ว่าทำไมไม่ได้

   เป็นเพราะเหตุว่า ชอบทำกรรม อย่างนี้ทำไมเราจึงได้ของดี โชคดี ก็เพราะสร้างกรรมมาดี จึงได้ผลดี
   เพราะเราเป็น ทายาทแห่งกรรม เป็นผู้รับมรดกของกรรม อย่างนี้ครับ

ประเด็นแรกที่จะให้แตกก็เรื่องการสั่งสม บารมี คือทาน
   
    สังเกต หรือ ไม่ครับคนมีปัญญาดี เกิดในตระกูลที่ยากจน ลำบาก เพราะในชาติก่อน ๆ นั้นชอบแจกธรรมทานแต่ไม่ชอบแจกทานเป็นสิ่งของครับ มีปัญญาดี มีทรัพย์น้อยก็เพราะเหตุนี้ ดังนั้นพระพุทธเจ้าพระองค์ทรงตรัสสอนธรรมอย่างสมบูรณ์ คือการทำทาน ครบ 10 ประการ ไม่ใช่ทำทานแต่เพียงประการเดียว

  ดังนั้น เวลาทำบุญ อย่าทำด้วยใจอย่างเดียว นะครับ เพราะเดี๋ยวไม่มีเสบียงบุญ มีปัญญาแต่เอาตัวไม่รอดมีถมไปครับ ดังนั้นการสั่งสมทานควรเริ่มจากการให้ทานเป็นวัตถุทาน กันจริง นะครับ จากนั้นก็ทำ ทานอย่างอื่น ควบคู่กันไปด้วย นะครับ

   
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ตุลาคม 08, 2011, 02:33:27 pm โดย นักเดินทาง »
บันทึกการเข้า

นักเดินทาง

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +2/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 695
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
สร้างกรรมไว้อย่างนี้ พระอรหันต์ ก็ช่วยไม่ได้
« ตอบกลับ #8 เมื่อ: ตุลาคม 08, 2011, 02:32:25 pm »
0

อ้างถึง
2. แม้พระอรหันต์ทัพพมัลลบุตร จะจัด ภัตร เพื่อให้แก่ภิกษุทั้งสองนั้น ก็ยังต้องชวด

 บางครั้งหลายคราว เราก็ชวดงานดี ๆ ไป ชวดของรางวัลไปเฉียดซ้าย เฉียดขวาประมาณนี้มานั่่งนึกดูให้ดีแล้วก็เพราะกรรมที่สร้างไว้ไม่ดี

 ดังนั้นก็อย่าคิดว่าผลของกรรมนั้น จะอาศัยบารมีผู้ือื่นมาเข้าช่วยเลยนะครับ ขนาดพระอรหันต์ท่านเมตตาจัดภัตรช่วยภิกษุสองรูปนี้ บุญมี แต่ กรรมบัง ก็ยังส่งผลเห็นชัด ๆ ว่า ช่วยแล้ว

  แต่กรรมที่ท่านสร้างนั้นคงเกินกว่า บารมีพระอรหันต์ จะมาช่วยได้นะครับ

  ดังนั้นคนสร้างกรรมไว้ไม่ดี ต่อให้บารมีพระอรหันต์ท่านช่วยเหลือ ก็อย่าคิดว่า จะรอดได้นะครับถ้าเราสร้างกรรมไว้ดี ก็ไม่ต้องกลัวเกรงกับกรรมนั้น ๆ ครับ


 
บันทึกการเข้า

modtanoy

  • พอพึ่งพาได้
  • ***
  • ผลบุญ: +0/-5
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 213
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ตามอ่าน คะ แล้วขอให้ทุกท่าน เจริญ สติ ไปกับการอ่านด้วยนะคะ

 การเจริญสติ กับการอ่าน ก็คือ การอ่านอย่างมีสติ และมีเป้าหมายเพื่อความสงบเย็นแห่งใจ และ คลายความเห็นแก่ตัวคะ การอ่านนี้จึงจะเกิดประโยชน์ มาก ๆ คะ


 :s_hi: :88:
บันทึกการเข้า

malee

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 52
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ติดตามแต่เรื่อง น้ำท่วม รู้สึกกังวลใจ และ ทุกข์ตามผู้ประสพภัยด้วยคะ
วันนี้ได้อ่่าน พระสูตร หลักธรรม จากกัลยาณมิตร แล้วรู้สึกชีวิต มีความหวังขึ้นมาเลยคะ
โดยเฉพาะ เข้าใจแล้วคะว่า ชีวิตของเรานี้ สูงต่ำ อยุ่ที่เราทำตัว ก็คือ กรรม .....

 กรรม....ที่เราทำมาไว้ไม่ดี ส่งผล ก็ต้องทุกข์ คะ

 แต่ กรรม ... ที่เราทำไว้ดี นั้น จะส่งผลให้เมื่อไหร่ นี่ละคะ รออยู่เหมือนกันคะ



  :25: :25: :25: :c017:

บันทึกการเข้า

สมภพ

  • มีเหตุมีผล
  • ****
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 485
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
มีสาระดี ครับ โดยเฉพาะการเจาะประเด็น ก็ใกล้เคียงกับผมที่นึกไว้ เช่นกันครับ
แต่ธรรมวิจารณ์ คุณเดินทางไกล รู้สึกได้เลยว่า เป็นนักเดินทางทางธรรม อย่างยิ่งครับ

 :25:
บันทึกการเข้า

sunee

  • มีเหตุมีผล
  • ****
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 301
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
อ้างถึง
3. เรื่องเกิดแต่ความไม่ชอบใจ จึงพยายามหาผู้ใส่ร้าย

เรื่องนี้ เหมือนเรื่องเล็ก ๆ ทำให้เป็นเรื่องใหญ่ บางทีความไม่ชอบใจ จึงพยายามหาวิธีแก้เผ็ด แก้แค้น เป็นพยาบาทความขุ่นเคืองนำมาซึ่งใจ ที่กดดันด้วยความไม่ชอบใจ ดังนั้นลักษณะเยี่ยงนี้เป็นไปในวิสัยของคนพาล เพราะขาดการอนุโมทนา ซึ่งกันและกัน คะ

  พยายามอธิบายในประเด็นแต่ คงอธิบายได้ไม่ดี แต่ เรื่องนี้แหละคะที่ชาวโลก มักจะเพลี่ยงพล้ำกันคะ

  :88: :s_hi:
บันทึกการเข้า

นักเดินทาง

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +2/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 695
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
อ้างถึง
4. เศรษฐี เลือกทำบุญ กับพระที่หยาบ  ก็ยังทำแต่ทำน้อย ทำอย่างเสียไปที

หัวข้อนี้ก็มีความสำคัญนะครับ เพราะแสดงให้เห็นว่า เวลาทำบุญนั้น ผู้ที่ทำบุญก็มักจะเลือกเนื้อนาบุญด้วย เหตุนี้เองพระพุทธเจ้าจึงทรงแสดงอานิสงค์ สังฆทานดังนั้นการถวายทานเพื่อการละกิเลส ก็ควรทำแบบสังฆทานอานิสงค์จึงมีมากกว่าทานที่เจาะจง

  ที่นี้คนที่ทำบุญ ก็จะได้ใคร่ครวญในทาน ที่ควรจะทำ

  แต่ส่วนตัวผมเองก็เลือกทานที่เจาะจงเช่นกันครับ ชอบทำทานกับพระภาวนามากกว่า


   :25:
บันทึกการเข้า

นักเดินทาง

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +2/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 695
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
อ้างถึง
5. คนใช้ที่ซื่อสัตย์ ทำบุญ ก็ย่อมจะได้บุญ


ตรงนี้สำคัญนะครับ เพราะเป็นที่โต้เถียงกันมาก ว่า แม่ทำบุญตอนเช้า แต่พ่อเป็นเจ้าของทรัพย์ พ่อไม่ได้ทำแต่แม่เป็นคนทำ ใครเป็นคนได้บุญมาก บุญน้อย หรือไม่ได้เลย อยากให้ท่านทั้งหลายไปอ่านเรื่อง สังกะสีแผ่นเดียว ที่หลวงพ่อจรัล ท่านได้เล่าไว้จะเข้าใจบางส่วนนะครับ ว่าใครได้บุญ

  ในกรณีนี้ท่านเศรษฐี ท่านเป็นผู้นิมนต์ แต่ไม่ได้ถวาย ปล่อยให้สาวใช้ เป็นผู้ทำทานแทน คนที่ได้รับบุญก่อนในขณะนั้น ก็คือ สาวใช้ ส่วนเศรษฐก็ได้รับแน่นอนแต่จะได้แบบไหน นี่สิ .... อันนี้น่าจะกล่าวกันยาก นะครับ

  ดังนั้นเมื่อมีจิตศรัทธา ในทาน ก็ลงมือในผลแห่งทาน นั้นเองเลยก็ดีนะครับ จะได้ไม่เกิดความสงสัยแต่ท่านทั้งหลายถ้าได้ทำ ก็ขอให้ทำกันเรื่อย ๆ แต่อย่าทำเพียงครั้งสองครั้ง นะครับ


   :s_hi: :25:
บันทึกการเข้า

เท่ากับผลรวม

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +11/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 169
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
อนุโมทนา ครับ ก็อย่าลืมมาต่อประเด็นให้หมดนะครับ ผมชอบอ่านครับ และมีประเด็นที่แตกได้อีกหลายเรื่องเลยครับ นี่แหละครับ จัดเป็น ธัมมะวิจยะ กันนะครับสนทนาธรรม กันก็ดีนะครับ

  :bedtime2: :25:
บันทึกการเข้า
ชีวิต นี้เพื่อพุึทธศาสน์

ประสิทธิ์

  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +14/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 639
  • จิตว่าง ก็เป็นสุข
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
อ้างถึง
5. คนใช้ที่ซื่อสัตย์ ทำบุญ ก็ย่อมจะได้บุญ

 เป็นเรื่องที่พวกเราชาว พุทธ ไม่ควรประมาทนะครับ ว่าทรัพย์ ของเราเขาเอาไปทำบุญแล้วเราจะได้บุญ หากไม่ได้ร่วมอนุโมทนา ก็น่ากล้วว่า  บุญนี้เราจะส่วนหรือไม่ ..

  ผมเคยฟัง เรื่อง สังกะสีแผ่นเดียว มาแล้วครับ ทำให้นึกขึ้นได้ทันที ครับว่า เจ้าของทรัพย์หาได้เป็นเจ้าของบุญตรงนั้นไม่ ผู้ที่ทำบุญกับเป็นภรรยาของผู้ทำเป็นเจ้าของ ในครั้งพุทธกาล ก็มีเหตุเช่นกันอย่างนี้ด้วย

  เพราะเจ้าของทรัพย์ คิดว่า ตนเองจะได้บุญ เพราะความเป็นเจ้าของทรัพย์......

 ดังนั้น กรณี นี้ถือได้ว่าเป็นประเด็นทางธรรม ที่เราไม่ควรประมาทกันนะครับ


บันทึกการเข้า
ใครชอบ ใครชัง ช่างเถิด
ใครเชิด ใครชู ช่างเขา
ใครด่า ใครบ่น ทนเอา
ใจเรา ร่มเย็น เป็นพอ

:;