ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ในครั้งพุทธกาล ไม่มีใครโศรก มากกว่า คน ๆ นี้แล้ว  (อ่าน 1183 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7250
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
ในครั้งพุทธกาล ไม่มีใครโศรก มากกว่า คน ๆ นี้แล้ว

ดิฉันเกิดในสกุลเศรษฐี ที่มั่งคั่งเจริญ มีทรัพย์มากในพระนครสาวัตถี เมื่อใด
( ได้เกิดในสกุลดี รูปงาม เพราะบุญทำมาดี )
ดิฉันเจริญวัย เป็นสาวตกอยู่ในอำนาจวิตก พบบุรุษชาวชนบทผู้หนึ่งแล้วได้ไปกับเขา
( เมื่อเป็นสาว ก็พบรักกับชายยากจนพ่อแม่ กีดกัน จึงหนีจากเรือนตามเขาไป)
ดิฉันคลอดบุตรคนหนึ่ง มีท้องบุตรคนที่สอง
( มีบุตรคนแรก เห็นความลำบาก ในการมีบุตร และคลอด เมื่อมีบุตรคนที่สอง จึงคิดกลับไปหาพ่อแม่)
เมื่อนั้น ดิฉันปรารถนาว่า จะไปเยี่ยมมารดาบิดา ครั้งนั้น ดิฉันมิได้บอกสามี เมื่อสามีของดิฉันเข้าไปป่า ดิฉันคนเดียวออกจากเรือน จะไปยังพระนครสาวัตถีอันอุดม ภายหลังสามีของดิฉันมาตามทันที่หนทาง
( ชวนสามีพาไปหาพ่อแม่ แต่สามีก็บ่ายเบี่ยงเพราะเกรงกลัว โทษบ้านเมือง เกรงโทษจากพ่อแม่ของนางปฏาจารา นางจึงหนีสามีตอนสามีออกไปหาอาหาร เมื่อสามีทราบก็เดินทางติดตามมาด้วยความเป็นห่วง )
เวลานั้น ลมกรรมชวาตอันทำให้เจ็บปวดเหลือทนเกิดขึ้นแก่ดิฉัน ทั้งมหาเมฆก็เกิดขึ้นในเวลาที่ดิฉันจะคลอด
( สามีอ้อนวอน ว่าอย่าไปเลย เถียงกันอยู่นาน ฝนฟ้าก็ตก นางก็ปวดครรภ์จะคลอดบุตรคนที่สอง )
สามีไปหาที่กำบังก็ถูกงู กัดตาย เวลานั้นดิฉันมีทุกข์ที่จะคลอด หมดที่พึ่ง เป็นคนกำพร้า
( สามีจึงไปหาที่กำบังฝน แต่ก็ไปถูกงูกัดตาย นางจึงคลอดบุตรคนที่สอง ด้วยตัวคนเดียวท่ามกลางสายฝนแต่เพียงลำพัง )
เดินไปเห็นแม่น้ำน้อยแห่งหนึ่ง ซึ่งมีน้ำเต็มเป็นที่อยู่แห่งสัตว์น้ำ
อุ้มบุตรน้อยข้ามไป ที่ฝั่งข้างโน้นคนเดียว ให้บุตรน้อยดื่มนมแล้ว
ประสงค์จะให้บุตรคนใหญ่ข้าม จึงกลับมา
( เหนื่อยยากลำบากมาทั้งคืน ร่างกายก็ระบม จิตก็ทุกข์ รู้ว่าสามีตาย ลำธารน้ำเชี่ยวเพราะฝนตกหนัก น้ำจึงพัดแรงแต่พอข้ามได้ นางอุ้มลูกน้อย ที่พึ่งคลอดใหม่ ข้ามไปอีกฝั่ง โดยทิ้งลูกคนโต ไว้อีกฝั่ง เมื่อให้นมสดเสร็จก็เดินข้ามมาถึงกลางลำธาร )
เหยี่ยวตัวหนึ่ง เฉี่ยว บุตรน้อยที่ร้องจ้าไปเสียแล้ว
( นกเหยี่ยวเห็นเด็กทารก จึงโฉบเฉี่ยวเอาไปเป็นอาหาร นางตกใจจึงโบกมือส่งเสียงไล่เหยี่ยวแต่เหยี่ยวก็พาลูกน้อยบินหายจากไปใจนางรันทดคร่ำครวญขนาดไหน )
บุตรคนใหญ่ก็ถูกกระแสน้ำพัดไป
( บุตรคนโตเห็นแม่โบกมือไล่เหยี่ยว เข้าใจว่าแม่เรียก จึงวิ่งลุยน้ำเข้ามาหานาง น้ำได้พัดบุตรคนโตไปอย่างรวดเร็ว นางเหลือบมาเห็น บุตรคนโตถูกน้ำพัดไป บุตรคนเล็กถูกเหยี่ยวพาไป ต่อหน้าต่อตา ไม่รู้จะทำอย่างไร จะช่วยฝั่งไหน ก็ไม่ทันทั้งสิ้น )
ดิฉันนั้นมากไปด้วยความโศกเดินไปยังพระนครสาวัตถี ได้ยินข่าวว่า มารดาบิดาและพี่ชายของตนตายเสียแล้ว
( ใจทุกข์ เพราะสามีตาย สูญเสียบุตรทั้งสอง หวังไปหาพ่อแม่ปลุกปลอบใจตน แต่พอไปถึงทราบข่าว พ่อแม่พี่ชายตระกูลถูกโจรเข้าปล้น เสียชีวิตทุกคนสมบัติก็วอดวายเหลือเพียงกองเพลิง มีเพียงเชิงตะกอนที่เผาศพผู้คนของตระกูลให้เห็น ความหวังทั้งมวล ล้วนมลายหมดสิ้น สิ้นสติขาดผึง บ้าไปตั้งแต่นั้นเลย )
เวลานั้น ดิฉันแน่นไป ด้วยความโศกเปี่ยมไปด้วยความโศกมาก ได้กล่าวว่า บุตรสองคน ตายเสียแล้ว สามีของเราก็ตายเสียในป่า มารดาบิดาและพี่ชาย ของเรา ก็ถูกเผาที่เชิงตะกอนเดียวกัน ครั้งนั้น ดิฉันทั้งซูบผอม ทั้งผิวเหลือง ไม่มีที่พึ่ง ตรอมใจทุกวัน
( นางถึงแก่ความเป็นผู้วิกลจริต ด้วยความโศรกนั้น ไม่มีสติควบคุมตนเองต่อไป เดินไปที่ไหนไร้ผ้าปกปิดกาย เป็นหญิงบ้าเที่ยวเดินไปในนครสาวัตถี )

ใช่แล้ว นี่คือเรื่องเล่า ด้วยความสละสลวย ของพระเถรี ปฏาจารา

แต่บุพพกรรมของนางปฏาจารา เรียกว่า ยังมีดี ( โชคดี ) ที่ได้เกิดในยุคที่พระพุทธเจ้ามีพระชนม์อยู่ และได้พบพระพุทธเจ้า ผู้ประกอบด้วยพุทธคุณอันเลิศ เพียงได้ฟัง พระสุรเสียงที่ประกอบด้วยธรรมและปาฏิหาริย์แห่งพระสุรเสียง นั้นด้วยข้อความสั้น ๆ ว่า

ตโต อโวจ มํ สตฺถา ปุตฺเต มา โสจิ อสฺสส

อตฺตานํ เต คเวสสฺสุ กึ นิรตฺถํ วิหญฺญสิ ฯ
น สนฺติ ปุตฺตา ตาณาย น ญาติ นปิ พนฺธวา
อนฺตเกนาธิปนฺนสฺส นตฺถิ ญาตีสุ ตาณตา ฯ

ตํ สุตฺวา มุนิโน วากฺยํ ปฐมํ ผลมชฺฌคํ

ขณะนั้น พระศาสดาได้ตรัสกะดิฉันว่า
"เธออย่าโศกเศร้าถึงบุตรเลยจงเบาใจเถิด
จงแสวงหาตนของเธอเถิด
เดือดร้อนไปไม่มีประโยชน์อะไรเลย
บุตร ธิดา ญาติและพวกพ้องไม่ป้องกันคนผู้ถึงที่ตายได้เลย ความป้องกันไม่มีในญาติทั้งหลาย"
ดิฉันได้ฟังพระพุทธพจน์นั้นแล้ว ได้บรรลุ ถึงปฐมผล

เพียงพระวาจา เท่านี้ ที่เปลี่ยนหญิงบ้าขาดสติ ให้เป็น โสดาบัน นับว่า เป็นบารมีธรรมของนางที่สั่งสมมาดีแล้วนั่นเอง จึงได้พบพระพุทธเจ้า

การแสดงธรรมของพระพุทธเจ้า ในขณะนั้นเป็นการแสดงธรรมที่ประกอบด้วย อภินิหาร เพราะแสดงธรรมชำแรกจิต คนวิกลจริต ซึ่งไม่ใช่วิสัยของคนทั่วไปจักทำได้ ถึงเราไปเจอคนบ้าพูดไม่รู้เรื่อง พูดไปก็ไม่สามารถแทรกจิตเข้าไปได้เช่นกัน ดังนั้นการที่นางปฏาจารา ได้พบพระพุทธเจ้า นับว่าสั่งสมบุญมาดี

ที่ใดมีรัก ที่นั่นก็มีทุกข์
ที่ใดมีทุกข์ ที่นั่นก็หาความสงบได้
ผู้ฝึกจิตดีแล้ว ย่อมพ้นจากทุกข์ ทั้งปวง

เจริญธรรม / เจริญพร
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

นิรตา ป้อมนาวิน

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +20/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 1212
  • อย่างน้อยชาตินี้ขอปิดอบายภูมิ
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
 :25: :25: st11 st11 st12 st12
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ