สนง.ส่งเสริมพระกรรมฐาน

กรรมฐาน มัชฌิมา => ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน => ข้อความที่เริ่มโดย: sanwhan ที่ พฤษภาคม 07, 2012, 06:31:17 pm



หัวข้อ: เรียน ถาม เรื่อง นิมิต ที่เป็นรูปปรมัตถ์ หมายถึงอย่างไร คะ
เริ่มหัวข้อโดย: sanwhan ที่ พฤษภาคม 07, 2012, 06:31:17 pm
เรียนถาม เรื่อง นิมิต ที่เป็นรูปปรมัตถ์ นี้หมายความว่าอย่างไร คะ

 นิมิต เป็น ภาพ หรือ เป็น สี คะ ที่ทางกรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับให้แจ้งผ่านถ้าได้แล้ว

 สมมุติ หนูได้ นิมิตเป็น ภาพพระพุทธรูป สีทองเหลืองอร่าม ณ ฐานจิตที่ 1 อย่างนี้ ได้ นิมิตแล้วหรือยังคะ

  :c017:


หัวข้อ: Re: เรียน ถาม เรื่อง นิมิต ที่เป็นรูปปรมัตถ์ หมายถึงอย่างไร คะ
เริ่มหัวข้อโดย: Admax ที่ พฤษภาคม 08, 2012, 09:46:53 pm
ผมไม่รู้ว่าจะตอบตรงและเป็นประโยชน์แก่คำถามคุณไหมนะครับ ผมขอตอบในสิ่งที่ผมเรียนรู้และปฏิบัติเห็นมานะครับ

1. คำว่า ปรมัถรรม หมายความว่า สภาพจริงๆของธรรม นั้นคือ สภาพที่เรารู้สึกได้จริง รับรู้ได้จริง ทุกคน ทุกชนชาติ รับรู้เช่นด้วยกัน แต่มีบัญญัติเพื่อใช้เรียกสื่อให้เข้าใจตรงกันตามแต่พื้นที่นั้นๆเช่น ความรู้สึกร้อน มีสภาพแผ่ออกในความรู้สึกปวด แสบ ปะทุ เกิดสภาพความเหือดแห้งขึ้น อย่างนี้บ้านเราเรียกเป็นบัญญัติว่าร้อน ส่วนฝรั่งเรียกเป็นบัญญัติว่า Hot เพื่อความเข้าใจที่ตรงกัน แต่สภาพที่เกิดขึ้นนั้น ทุกคน ทุกชนชาติ สัตว์ทุกตัวรู้สึกเหมือนกัน สภาพความรู้สึกนี้แหละที่เรียกว่าปรมัตถธรรม
2. สภาพที่เราเห็นนิมิตว่าเป็นพระพุทธเจ้านั้น สิ่งนั้นคุณน่ะเห็นจริง แต่สิ่งที่เห็นไม่จริง เพราะมาจากสภาพของนิมิตที่อาจเกิดจากการจดจำในสัญญาจากสิ่งใดสิ่งหนึ่งเกิดขึ้นแก่คุณ เมื่อคุณรู้ว่าเป็นพระพุทธรูป สีทองเหลืองอร่ามตา นั่นคือ คุณเกิดบัญญัติแล้วมันไม่ใช่สภาพปรมัตถ์
3. แต่หากเมื่อคุณรู้ว่าสิ่งที่เกิดขึ้นเห็นพระพุทธรูปนั้นเกิดจากความปรุงแต่งจิตด้วยสังขาร สัญญา เวทนา สร้างขึ้นเป็นนิมิต แล้วสิ่งที่ระลึกรู้นั้นคือ มโนวิญญาณ สภาพจิตที่รู้คิด สภาพที่เกิดขึ้นนั้นมโนวิญญาณมันรับรู้สภาพที่เป็นความปรุงแต่งแก่จิตจนสร้างขึ้นมาเป็นมโนภาพ ซึ่งสภาพจริงๆในมโนภาพนั้นเป็นเพียงเม็ดสีๆ ที่อยู่รวมกันเป็นเค้าโครงรูปร่างต่างๆ เท่านั้น ไม่มีสิ่งใด รูปใดเลยนอกจากเม็ดสีต่างๆที่เราเรียกกันว่า วัณณะรูป ที่คือ ปรมัตถธรรม สภาพจริงในธรรม คือเห็นจนถึง รูป-นาม แต่เมื่อใดที่เห็นปุ๊บรู้ปั๊บว่านั่นคือพระพุทธเจ้าสีทองอร่ามตานั้นคือเมื่อสภาพจริงเกิดสังขารขันธ์ สัญญาขันธ์ วิญญาณขันธ์ เวทนาขันธ์ ก็ปรุงบัญญัติมาทันที จนทับไปในสภาพจริงๆของมัน มารู้ทีหลังคือเป้น สมมติไปแล้ว แต่ไม่มีใครไปทันมันง่ายๆหรอกครับ เพราะทุกครั้งที่สภาพปรมัตถ์เกิดขึ้น มโนวิญญาณ จะทำหน้าที่ร่วมกับเจตสิกต่อมาทันทีในเวลาเพียงเสี้ยววินาที


ผมรู้และเข้าใจเห็นมาเพียงเท่านี้หากกล่าวผิด บิดเบือน หรือ ไม่เกิดประโยชน์ใดๆก็ขออโหสิกรรมด้วยครับ


หัวข้อ: Re: เรียน ถาม เรื่อง นิมิต ที่เป็นรูปปรมัตถ์ หมายถึงอย่างไร คะ
เริ่มหัวข้อโดย: PRAMOTE(aaaa) ที่ พฤษภาคม 09, 2012, 01:50:55 am
กรรมฐาน มัชฌิมา แบบลําดับ เรื่องการแจ้งอารมณ์ ควรแจ้งกับพระอาจารย์กรรมฐานนะจ๊ะ
           เพราะจะทําให้ผู้อื่นเกิดมานะ ปฏิบัติไม่ได้ เป็นวิบาก
             เช่น เห็นว่าเค้าได้ดีกว่าเรา เห็นว่าเราได้ดีกว่าเค้า หรือเห็นว่าเสมอกัน เราเท่าเค้า เค้าเท่าเรา เห็นแบบนี้เป็นกิเลส
         พระอาจารย์ ตอบไว้วันก่อนเกี่ยวกับพระรัศมี ว่าดังนี้
             คุณพระรัศมี เป็นปีติที่สูง มีอุคคนิมิตเป็นอารมณ์ เกิดเมื่อจิตกระทบจิต เมื่อกระทบแล้วส่งผลทางพระลักณะด้วย จิตต้องอาศัย อุปาทินกสังขารมีใจครอง เป็นเหตุจึงจะเริ่มเห็นพระรัศมี
           เหตุที่กล่าในที่นี้ หมายถึงสีของภาพที่ปรากฏในจิตนั้น
           เพราะทางกรรมฐาน มัชฌิมา แบบลําดับ ไม่สนใจนิมิตภาพ สนใจสีของภาพ เพราะเป็นนิมิตแท้ ไม่มีอุปาทานหรอกหลอน
          ส่วนพระอาจารย์จิ๋ว ตอบไว้ในวีดิโอ ว่า..สีคือรูป รูปคือสี ไม่มีอุปทานหรอกหลอน
             ควรแจ้งอารมณ์กับพระอาจารย์กรรมฐาน นะจ๊ะ


หัวข้อ: Re: เรียน ถาม เรื่อง นิมิต ที่เป็นรูปปรมัตถ์ หมายถึงอย่างไร คะ
เริ่มหัวข้อโดย: SAWWALUK ที่ พฤษภาคม 09, 2012, 12:26:21 pm
เรียนถาม เรื่อง นิมิต ที่เป็นรูปปรมัตถ์ นี้หมายความว่าอย่างไร คะ

 นิมิต เป็น ภาพ หรือ เป็น สี คะ ที่ทางกรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับให้แจ้งผ่านถ้าได้แล้ว

 สมมุติ หนูได้ นิมิตเป็น ภาพพระพุทธรูป สีทองเหลืองอร่าม ณ ฐานจิตที่ 1 อย่างนี้ ได้ นิมิตแล้วหรือยังคะ

  :c017:

รูป คือ สี  สี คือ รูป ถ้าจำที่หลวงพ่อพระครูท่านพูดไว้เป็นอย่างนี้นะคะ

สี จึงเป็นรูปปรมัตถ์ไม่ผิดเพี้ยน ไม่เป็นอารมณ์รูปที่มีภาพ ......

กรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ ถ้าตอบในรูป สี นี้ได้เรียกว่า พระรัศมี เจ้าคะ

  :s_hi:


หัวข้อ: Re: เรียน ถาม เรื่อง นิมิต ที่เป็นรูปปรมัตถ์ หมายถึงอย่างไร คะ
เริ่มหัวข้อโดย: sanwhan ที่ พฤษภาคม 12, 2012, 09:46:23 pm
 :c017: :c017: :c017:

 ขอบคุณทุกท่าน มาก ๆ คะ ดีใจ จริง ที่มีผู้ตอบคะ ตอนแรกคิดว่าถามไปอย่างนี้จะมีใครมาตอบหนอ ?
ต้องขอบคุณ ทุกท่านที่ให้อธิบาย

  แต่อยากถามว่า ต่อว่า แล้วที่ได้ภาพ พระพุทธรูปทองคำที่ ฐานจิตพระขุททกาปีติ นี้จัดเป็น รัศมี หรือยังคะ หรือว่าต้องปรับกรรมฐานอย่างไร ต่อ คะ

  :c017: :13: :13:


หัวข้อ: Re: เรียน ถาม เรื่อง นิมิต ที่เป็นรูปปรมัตถ์ หมายถึงอย่างไร คะ
เริ่มหัวข้อโดย: ธัมมะวังโส ที่ พฤษภาคม 13, 2012, 09:53:48 am
พระสุตตันตปิฎก  ทีฆนิกาย  ปาฎิกวรรค  [๑๐.  สังคีติสูตร]
สังคีติหมวด  ๔

พระไตรปิฏก เล่มที่ 11 หน้า 285

อนุรักขนาปธาน    เป็นอย่างไร
            คือ    ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ตามรักษาสมาธินิมิต    ที่ชัดดีซึ่งเกิดขึ้นแล้ว    คืออัฏฐิกสัญญา    (กำหนดหมายซากศพที่ยังเหลืออยู่แต่ร่างกระดูกหรือกระดูกท่อน)ปุฬุวกสัญญา    (กำหนดหมายซากศพที่มีหนอนคลาคล่ำเต็มไปหมด)    วินีลกสัญญา(กำหนดหมายซากศพที่มีสีเขียวคล้ำคละด้วยสีต่าง  ๆ)    วิปุพพกสัญญา    (กำหนดหมายซากศพที่มีน้ำเหลืองไหลเยิ้มอยู่ตามที่ที่แตกปริออก)    วิจฉิททกสัญญา    (กำหนดหมายซากศพที่ขาดจากกันเป็น    ๒    ท่อน)    อุทธุมาตกสัญญา    (กำหนดหมายซากศพที่เน่าพองขึ้นอืด)    นี้เรียกว่า    อนุรักขนาปธาน



  ประการแรก ต้องการพูดถึงเรื่อง นิมิต ปกติจะอธิบายกัน มีอยู่ 3 ประการคือ

        1.บริกรรมนิมิต  การกระทำซึ่งสัญญาณด้วยการบริกรรม
        2.อุคคหนิมิต    การกระทำซึ่งใจด้วยบริกรรมนิมิต
        3.ปฏิภาคนิมิต   การกระทำให้ยิ่งขึ้นไปด้วยอุคคหนิมิต

  3.ประการนี้ขอยกไว้เพราะเป็นข้อความยกไว้ก่อน

 ที่ควรจะทำความเข้าใจ ไม่ใช่ลำดับ ที่ 2 และ ที่ 3 แต่เป็นลำดับที่ 1 คือ บริกรรมนิมิต ซึ่งในพระไตรปิฏกมีข้อความเกี่ยวกับเรื่องนี้ โดยใช้คำว่า สมาธินิมิต บ้าง บริกรรมนิมิต บ้าง

    ซึ่งเป็นการถูกต้องที่สุดก็คือ เราควรหันมาสนใจเรื่อง ของ สมาธินิมิต หรือ บริกรรมนิมิตให้มากขึ้น

    ก็เจริญธรรมเท่านี้ก่อนนะจ๊ะ

    ;)

(http://www.madchima.net/images/271_card_92.jpg)


หัวข้อ: Re: เรียน ถาม เรื่อง นิมิต ที่เป็นรูปปรมัตถ์ หมายถึงอย่างไร คะ
เริ่มหัวข้อโดย: arlogo ที่ พฤษภาคม 13, 2012, 12:00:23 pm
 
พระสุตตันตปิฎก  ขุททกนิกาย  ปฏิสัมภิทามรรค  [๑.  มหาวรรค]
 ๑.  ญาณกถา  ๗๐.  ยมกปาฏิหีรญาณนิทเทส


พระไตรปิฏก เล่มที่ 31 หน้าที่ 178

 ฉัพพัณณรังสี    คือ    สีเขียว    สีเหลือง    สีแดง    สีขาว    สีแสด    สีประภัสสร    (แผ่ซ่าน
ออกจากพระวรกาย)


   ว่าด้วยพระรัศมี ของ พระพุทธเจ้า ซึ่งเป็นของเฉพาะของพระพุทธเจ้า เรียกว่า  ฉัพพัณณรังสี  ซึ่งตาของมนุษย์ทั่วไปจักเห็นได้ อยู่พระพุทธเจ้าต้องการให้เห็นหรือไม่ โดยที่ผู้ที่เห็นต้องควรแก่ข่ายพระญาณด้วย

    ส่วนนี้เรียกว่า พระรัศมี เป็น รูป ที่จับต้องไม่ได้ ปรารถนาให้เห็นก็เห็นไม่ได้ ต้องเห็นด้วยบุญโดยการภาวนา เท่านั้น หรือ มีบารมีธรรมในการภาวนา

    รูปที่จับต้องไม่ได้ นี้ เรียกว่า รูปปรมัตถ์ เพราะไม่สามารถจับต้องได้ด้วยจักษุ สัมผัสใด ใด นอกจาก การภาวนา และ บารมีธรรม

    คงจะพอเข้าใจได้บ้างนะจ๊ะ

    เจริญธรรม



    ;)



หัวข้อ: Re: เรียน ถาม เรื่อง นิมิต ที่เป็นรูปปรมัตถ์ หมายถึงอย่างไร คะ
เริ่มหัวข้อโดย: เสกสรรค์ ที่ พฤษภาคม 14, 2012, 09:19:09 am
บริกรรมนิมิตร  กับ สมาธินิมิต คือ อะไร ครับ ขอให้ช่วยอธิบายเพิ่มด้วยครับ

  :c017: :25:


หัวข้อ: Re: เรียน ถาม เรื่อง นิมิต ที่เป็นรูปปรมัตถ์ หมายถึงอย่างไร คะ
เริ่มหัวข้อโดย: PRAMOTE(aaaa) ที่ พฤษภาคม 14, 2012, 01:17:47 pm
บริกรรมนิมิตร คือ การบริกรรมวิตก หรือ บางทีก็เรียก บริกรรมปถวี -ปฐวี
 คําบริกรรมง่ายๆ ก็พุทโธ ....พุทโธ...พุทโธ เป็นต้น