ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: มหากรุณาธารณีสูตร vs เมตตาสูตร/เมตตากถา  (อ่าน 9295 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28409
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0



บทสวดมหากรุณาธารณีสูตร

ความเป็นมาแห่งมหามนตรา‎

มหากรุณาธารณี เป็นบทสวดสำคัญในพระพุทธศาสนานิกายมหายาน เป็นธารณีประจำองค์พระอวโลกิเตศวร ปางพันหัตถ์พันเนตร มีต้นกำเนิดจากพระสูตรมหายานภาษาสันสกฤตของอินเดีย พระภควธรรมเถระชาวอินเดียนำเข้าไปแปลในประเทศจีนสมัยราชวงศ์ถัง และมีฉบับแปลเป็นภาษาทิเบตด้วย

มหากรุณาธารณีเป็นมนตร์อันเกิดจากความเมตตากรุณาอันยิ่งใหญ่ของพระอวโลกิเตศวรที่มีต่อสรรพสัตว์ที่ตกทุกข์ในโลก ในคัมภีร์กล่าวว่าธารณีนี้มีชื่อต่าง ๆ กัน เช่น มหาไวปุลยสัมปุรณธารณี, อกิญจนมหากรุณาธารณี, อายุวัฒนธารณี, วิกรมอุตตรภูมิธารณี, มโนมัยอิศวรธารณี เป็นต้น อักษรหนึ่งตัวและประโยคหนึ่งในบทธารณีมนตร์นี้ ล้วนขยายเป็นอรรถธรรม อันจะนำเข้าถึงพระสัมมาสัมโพธิญาณ

ประวัติ

ในประเทศไทยธารณีสูตรฉบับนี้ได้แปลโดยหลวงจีนคณาจีนพรต (เย็นบุญ) เจ้าอาวาสวัดทิพย์วารีวิหาร แขวงบ้านหม้อ เขตพระนคร กรุงเทพ ในคัมภีร์สันสกฤตของมหายานคือ คัมภีร์ “สหัสภุชสหัสเนตรอวโลกิเตศวรโพธิสัตวไวปุลยสัมปุรณอกิญจนมหากรุณาจิตธารณีสูตรมหากรุณามนตระ” นำเข้าไปแปลในจีนโดยพระภควธรรม ชาวอินเดีย ในสมัยราชวงศ์ถัง ได้กล่าวถึงบทสวดธารณีแห่งพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร คือ มหากรุณาหฤทัยธารณี อันจะยังอานิสงส์ความศักดิ์สิทธิ์ให้บังเกิดขึ้นแก่ผู้สวดนานัปการ

พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรพันหัสต์พันเนตร รูปเคารพของพระอวโลกิเตศวรมีอยู่หลายปาง ทั้งภาคบุรุษ ภาคสตรี ไปจนถึงปางอันแสดงลักษณาการที่ดุร้าย ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของการปราบมารคือสรรพกิเลส

แต่ปางที่สำคัญปางหนึ่งคือปางที่ทรงสำแดงพระวรกายเป็นพันหัสถ์พันเนตร ซึ่งมีเรื่องราวปรากฏในพระสูตรสันสกฤตคือ สหัสภุชสหัสเนตรอวโลกิเตศวรโพธิสัตวไวปุลยสัมปุรณอกิญจนมหากรุณาจิตรธารณีสูตรมหากรุณามนตร์ หรือเรียกสั้น ๆ ว่า มหากรุณาธารณีสูตร (大悲咒) นำเข้าไปแปลในจีนโดยพระภควธรรมชาวอินเดีย ในสมัยราชวงศ์ถัง ได้กล่าวถึงบทสวดธารณีแห่งพระโพธิสัตว์พระองค์นี้ คือ “มหากรุณาหฤทัยธารณี”

เนื้อหากล่าวถึงเมื่อครั้งที่พระศากยมุนีสัมมาสัมพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ โปตาลกะบรรพต ในกาลนั้นพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ได้ขอพุทธานุญาตแสดงธารณีมนตร์อันศักดิ์สิทธิ์ไว้เพื่อเป็นที่พึ่งแก่สรรพสัตว์ ซึ่งธารณีนี้ย้อนไปในครั้งกาลสมัยของพระพุทธเจ้านามว่า พระสหัสประภาศานติสถิตยตถาคต พระพุทธเจ้าพระองค์นั้นได้ตรัสธารณีนี้แก่พระอวโลกิเตศวร และตรัสว่า “สาธุ บุรุษ เมื่อเธอได้หฤทัยธารณีนี้ จงสร้างประโยชน์สุขสำราญแก่สัตว์ทั้งหลายในกษายกัลป์แห่งอนาคตกาลโดยทั่วถึง”

ตามเนื้อความของพระสูตรได้กล่าวว่า ในขณะนั้น เมื่อพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ได้สดับมนตร์นี้แล้ว ก็ได้บรรลุถึงภูมิที่ ๘ แห่งพระโพธิสัตว์เจ้า จึงได้ตั้งปณิธานว่า “ในอนาคตกาล หากข้าพเจ้าสามารถยังประโยชน์สุขแก่สรรพสัตว์ได้ ขอให้ข้าพเจ้ามีพันเนตรพันหัตถ์ในบัดดล”

เมื่อท่านตั้งปณิธานดังนี้แล้ว พลันก็บังเกิดมีพันหัสถ์พันเนตรขึ้นทันที และเพลานั้นพื้นมหาพสุธาดลทั่วทศทิศก็ไหวสะเทือนเลื่อนลั่น พระพุทธเจ้าทั้งปวงในทศทิศก็เปล่งแสงโอภาสเรืองรองมาต้องวรกายแห่งพระโพธิสัตว์ และฉายรัศมีไปยังโลกธาตุต่าง ๆ อย่างปราศจากขอบเขต

พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสแก่พระอานนท์ว่า เนื่องจากปณิธานอันยิ่งใหญ่ของพระโพธิสัตว์ หากเหล่ามนุษย์และทวยเทพ ตั้งจิตสวดมหากรุณาธารณี มนตร์นี้คืนละ ๗ จบ ก็จะดับมหันตโทษจำนวนร้อยพันหมื่นล้านกัลป์ได้ หากเหล่ามนุษย์ทวยเทพสวดคาถามหากรุณาธารณีนี้ เมื่อใกล้ชีวิตดับ พระพุทธเจ้าทั้ง ๑๐ ทิศจะยื่นพระกรมารับให้ไปอุบัติในพุทธเกษตรทุกแห่ง

จากเรื่องราวในพระสูตรนี้ทำให้เกิดการสร้างรูปพระโพธิสัตว์พันหัสถ์พันเนตร อันแสดงถึงการทอดทัศนาเล็งเห็นทั่วโลกธาตุและพันหัสต์แสดงถึงอำนาจในการช่วยเหลือสรรพสัตว์ให้พ้นทุกข์ บทสวดในพระสูตรนี้เป็นภาษาสันสกฤตผสมภาษาท้องถิ่นโบราณในอินเดีย ที่หลงเหลือมาในปัจจุบันมีหลายฉบับที่ไม่ตรงกัน ทั้งในฉบับทิเบต ฉบับจีนซึ่งมีทั้งของพระภควธรรม พระอโมฆวัชระ ฯลฯ

ต่อมาได้มีการค้นคว้าและปรับปรุงให้ถูกต้องตามหลักไวยากรณ์โดย Dr.Lokesh Chandra และตีพิมพ์เผยแพร่เมื่อ ค.ศ.1988 เป็นบทสวดสำคัญประจำองค์พระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ที่พุทธศาสนิกชนมหายานสวดกันอยู่โดยทั่วไป

บทสวดนี้เป็นที่นับถือและสวดบูชาพระอวโลกิเตศวร  กันอยู่ทั่วไปในหมู่พุทธศาสนิกชน ตั้งแต่อินเดียเหนือ เนปาล ทิเบต ไปจนถึงจีน ญี่ปุ่น และเกาหลี มหากรุณาธารณีนี้เป็นบทสวดของพระอวโลกิเตศวรปางพันหัตถ์พันเนตร ในคัมภีร์ระบุว่า ผู้ที่เลื่อมใสถวายสักการะต่อพระอวโลกิเตศวรอยู่เป็นเนืองนิตย์ ตั้งใจสวดสรรเสริญพระนาม ย่อมจะถึงพร้อมในกุศลทั้งปวง สามารถยังวิบากกรรมอันมิมีประมาณให้สิ้นสูญ ครั้นเมื่อวายชนม์จะไปอุบัติ ณ สุขาวดีโลกธาตุแห่งองค์พระอมิตาภพุทธเจ้า



พระคาถามหากรุณาธารณีสูตร(ภาษาบาลี)

นะโมรัตนะตรายายะ นะโมอารยะ อวโลกิเตศะวะรายะ
โพธิสัตตะวายะ มหาสัตตะวายะ มหากรุณิกายะ
โอม สะวะละวะติ ศุททะนะ ตัสสะยะ นมัสกฤต วานิมาง อาระยะ
อวโลกิเต ศะวะระลันตะภา นะโม นิลากันถะ
ศรีมหาปะฎะศะมิ สระวาทวะตะศุภัม อสิยูม สะระวะสัตตะวะ
นะโมปะวะสัตตวะ นะโมภะคะมะภะเตตุ ตัทยะถา
โอมอวโลกา โลกาเต กาละติ อิศีลี มหาโพธิสัตตะวะ
สาโพสาโพ มะรามะรา มะศิมะศิ ฤธะยุ
คุรุคุรุฆามัม ธูรูธูรูภาษียะติ
มหาภาษียะติ ธาระธาระ ถิรินี ศะวะรายะ ชะละชะละ
มามะภา มะละมุธิริ เอหิเอหิ ศินะศินะ
อาละลินภะละศรี ภาษาภาษิน การะศะยะ หูลุหูลุมะระ หุลุหุลุศรี
สะระสะระ สีรีสีรี สุรุสุรุ พุทธายะพุทธายะ โพธายะโพธายะ
ไมตรีเยนิละกันสะตะ ตรีสะระณะ ภะยะมะนะ สวาหา
สีตายะ สวาหา มหาสีตายะ สวาหา
สีตายะเย ศะวะรายะ สวาหา
นีลากันถิ สวาหา มะละนะละ สวาหา
ศรีสิงหะมุขายะ สวาหา สะระวะ มหาอัสตายะ สวาหา
จักระอัสตายะ สวาหา ปัทมะเกสายะ สวาหา
นีละกันเต ปันตะลายะ สวาหา โมโผลิศัง กะรายะ สวาหา
นะโม รัตนะตรายายะ นะโมอารยะ อวโลกิเต
ศะวะรายะ สวาหา
โอมสิทธะยันตุ มันตรา ปะทายะ สวาหา.

หมายเหตุ : ข้อมูลจาก https://th.wikisource.org/ ระบุว่า บทนี้เป็นภาษาสันสกฤต



ขอบคุณที่มา : https://sites.google.com/site/boy25156/home
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28409
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: มหากรุณาธารณีสูตร vs เมตตาสูตร/เมตตากถา
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: กันยายน 27, 2020, 09:41:01 am »
0

บทสวดมหากรุณาธารณีสูตร(กวนอิม 84 ปาง)

บทนี้ใช้สวดบูชาพระมหาโพธิสัตว์กวนอิม 84 ปาง เข้าใจว่าเป็นภาษาจีนกับทิเบต

โชยชิ่ว โชยงั่ง บ่อไหง๋ ไต่ปุยซิมทอลอ นีจิ่ว (๓ จบ)
ปึงซือออนีทอ ยูไล้ (๓ จบ)
    นำมอ ฮอลาตัน นอตอลา เหย่ เย
    นำมอ ออลีเย ผ่อลูกิดตีซอปอลาเย
    ผู่ทีสัตตอพอเย หม่อฮอสัตตอพอเย
    หม่อ ฮอเกียลูนี เกียเยงัน สัตพันลาฮัวอี
    ซูตัน นอตันเซ
    นำมอ สิดกิด ลีตออีหม่งออลีเย
    ผ่อลูกิด ตีสิด ฮูลาเลงถ่อพอ
    นำมอ นอลา กินซี
    ซีลี หม่อฮอพันตอซาเม
    สะพอ ออทอ เตาซีพง
    ออซีเย็น สะพอ สะตอ นอมอ พอสะตอ
    นอมอ พอเค มอฮัว เตอเตา
    ตันจิต ทองัน ออพอ ลูซี
    ลูเกียตี เกียลอตี อีซีลี
    หม่อฮอ ผู่ทีสัตตอ สัตพอ สัตพอ
    มอลา มอลา มอซี มอซี ลีทอยิน
    กีลูกีลูกิดมง ตูลู ตูลู ฟาเซเยตี
    หม่อ ฮอฮัว เซเยตี ทอลา ทอลา
    ตีลีนี สิด ฮูลาเย เจลา เจลา มอมอ ฮัวมอลา หมกตีลี
    อีซี อีซี สิดนอ สิดนอ ออลาซัน ฮูลาเซลี
    ฮัวซอ ฮัวซัน ฮูลา เซเย
    ฮูลู ฮูลู มอลา ฮูลู ฮูลู ซีลี ซอลา ซอลา
    สิดลี สิดลี ซูลู ซูลู ผู่ถี่เย ผู่ถี่เย ผู่ถ่อเย ผู่ถ่อเย
    มีตีลีเย นอลา กินซี ตีลีสิด นีนอ
    ผ่อเย มอนอ ซอผ่อฮอ สิดถ่อเย ซอผ่อฮอ
    หม่อฮอ สิดถ่อเย ซอผ่อฮอ สิดทอยีอี
    สิดพันลาเย ซอผ่อฮอ นอลากินซี ซอผ่อฮอ
    มอลานอลา ซอผ่อฮอ สิดลาเซง ออหมกเคเย
    ซอผ่อฮอ ซอผ่อหม่อฮอ ออสิดถ่อเย ซอผ่อฮอ
    เจกิดลา ออสิดถ่อเย ซอผ่อฮอ ปอทอมอกิดสิดถ่อเย
    ซอผ่อฮอ นอลากินซี พันเคลาเย ซอผ่อฮอ
    มอพอลี เซงกิดลาเย ซอผ่อฮอ
    นำมอห่อลาตัน นอตอลาเหย่เย
    นำมอออลีเย ผ่อลูกิตตี ชอพันลาเย ซอผ่อฮอ
    งัน สิดตินตู มันตอลา ปัดถ่อเย ซอผ่อฮอ

หากต้องการทราบคำแปลและความหมาย คลิกไปที่ลิงค์ด้านล่างได้เลย มีคำแปลทั้งหมด ๘๔ ชุด ซึ่งก็ตรงกับพระมหาโพธิสัตว์กวนอิม 84 ปาง
https://sites.google.com/site/boy25156/phra-mha-phothi-satw-kwn-xim-84-pang/khatha-swd-bucha-cea-mae-kwn-xim

ตัวอย่างเช่น :-

๑. นำ มอ ฮอ ลา ตัน นอ ตอ ลา เหย่ เย
นำ มอ – ความนอบน้อม
ฮอ ลา ตันนอ – ความเป็นรัตนะ
ตอ ลา เหย่ – 3
เย – นมัสการ
ขอนอบน้อมนมัสการพระไตรรัตน์ทั้งสาม หมายถึง การน้อมเอาพระไตรสรณคมน์, พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นที่พึ่งที่ระลึก (ผู้ต้องการปฏิบัติให้ถึงพระองค์จะต้องสาธยายมนตราด้วยความมีเมตตากรุณาและเปี่ยมด้วยศรัทธา ไม่ควรสวดด้วยเสียงอันดัง เกรี้ยวกราด และเร่งร้อน)

๘๔. ซอ ผ่อ ฮอ
(สุดท้าย) สำรวมใจรับรู้อารมณ์ ไม่ปรุงแต่งให้เกิดอารมณ์ใดๆที่ใจรับรู้ รวมเรียกว่า สำรวมอินทรีย์ ๖ อันมี ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ บรรลุเป็นโพธิสัตว์อันบริสุทธิ์



บทสวดมนต์มหากรุณาธารณีสูตร (ทิเบต)

นำมาจาก https://th.wikisource.org/wiki/คาถาสวดบูชาเจ้าแม่กวนอิม

นำโม รัตนา ตายายะ นะโม อาริยะ จานะ
สักการา เปลอ จานะ ยูฮารา จายา
ตะทากาคะยา อะรา ฮาเต ซำ ยา ซำ พุทธายะ
นะโม สวา ตะถาคะเตเป อะรา ฮาตะเป
ซำ ยา ซำ พุทเธเป
นะโม อะริยะ อวโลกิเต สวารายา
พูทีสัตตะวายะ มหาสัตตะวายะ มหาการุณีตะยะ
ตะติยา ทา โอม ธารา ธารา ธีรี ธีรี ธูรู ธูรู
อิทธิเว อิทธิ จาเร จาเร ปูราจาเร ปูราจาเร
กุสุเม กุสุมา วาเร อิทธิ มิตรี จิตติ
จาลามะ ปานะ ยะ โชวฮา

@@@@@@@

บทสวดมหากรุณาธารณีสูตร (ธิเบต) แก้ไขตามเสียงสวดมนต์

นำมาจาก https://th.wikisource.org/wiki/คาถาสวดบูชาเจ้าแม่กวนอิม

นำโม ตะนา ตรา ยา ยะ / นำโม อาริยะจา นา / สัก กา รา / เบ โร จา นะ / ยู ฮะราจายา ตะถากะตา ยะ / อัน ระ ฮา เต / ซัม ยา ซัม บุดดายะ / นำโม ซารูวา ตะตาคะเต เบ อาร ฮา ตา เบ / ซัม ยา ซัม บูด เด เบ / นำโม อาริ ยะ อะวะ โล กิ เต / โสวะรา ยา พุท ธิ สัต ตวา ยา / มหา สัต ตวา ยา / มหา กา รูนิ กา ยะ / ตาริ ยา ถา โอม ดารา ดารา / ชิ ริ ชิ ริ / จรู รู จรู รู / อิตติ เว อิติจาเล จาเล / ฮูรา จาเล / ฮูรา จาเล / กู ซู เม กู ซู มา วา เร / อิ ลิ มิ ลิ จิตติ โซว ฮะลามะ ปะนายา โช ฮา /

บทแปล : ขอความนอบน้อมจงมีแดพระรัตนตรัย ขอความนอบน้อมจงมีแด่พระผู้ปัญญาดุจห้วงมหรรณพ ผู้รุ่งเรืองชัชวาล ผู้เป็นราชาของหมู่คณะ ผู้เป็นตถาคตเจ้า ผู้เป็นพระอรหันต์ ผู้ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง ขอความนอบน้อมจงมีแด่พระตถาคตเจ้าทั้งปวง ผู้ล้วนเป็นพระอรหันต์ ผู้ล้วนเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ขอนอบน้อมแด่พระอวโลกิเตศวร ผู้เป็นพระโพธิสัตว์ ผู้เป็นมหาสัตว์ ผู้มีพระกรุณาอันยิ่งใหญ่ ดังนั้น ขอให้อดทน อดทนเถิด หนักแน่น หนักแน่น อดทนขนภาระ(คือสรรพสัตว์) เถิด

แปลโดย Dr.Somchay Thancharoen ช่องยูทูป



อานิสงส์การสวดมหากรุณาธารณีสูตร

นำมาจาก https://sites.google.com/site/watkhungthaphao/mantra_of_avalokiteshvara2
ในพระสูตร กล่าวว่า ผู้ที่ตั้งใจสวดมหากรุณามนตร์ นี้ด้วยจิตศรัทธาตั้งมั่น จะประกอบด้วยอานิสงส์เป็นกุศล 15 ประการ คือ

1. ที่ที่เกิดจะพบแก่กุศล 5 ประการ
2. ได้เกิดในประเทศกุศล
3. พบแต่ยามดี
4. พบแต่มิตรดี
5. ร่างกายประกอบด้วยอินทรีย์พร้อมมูล
6. ไม่ผิดศีล
7. จิตเป็นธรรมโดยสมบูรณ์
8. ญาติบริวารมีความกตัญูญู ปรองดองกัน
9. ทรัพย์สมบัติ โภคทรัพย์มีความสมบูรณ์ครบถ้วน
10. มีผู้เคารพและให้ความช่วยเหลือเสมอ
11. ทรัพย์สินที่มีอยู่ไม่มีใครมาปล้นชิง
12. คิดปราถนาสิ่งใดจะได้สมความปราถนา
13. ทวยเทพ นาค ให้ความปกปักรักษาอยู่ทุกเมื่อ
14. เกิดในที่ที่ได้เฝ้าพระพุทธเจ้า ได้ฟังธรรมของพระพุทธเจ้า
15. สามารถเข้าถึง อรรถแห่งพระธรรมที่ได้สดับ

นอกจากนี้ยังมีอานิสงส์ทำให้ไม่ต้องทุมรณะด้วยเหตุ 15 ประการคือ
1. ไม่ต้องมรณะด้วยความอดอยากข้นแค้น
2. ไม่ต้องมรณะด้วยการใส่ขื่อคา กักขัง และเฆี่ยนโบย
3. ไม่ต้องมรณะด้วยศัตรูจองเวร
4. ไม่ต้องมรณะด้วยการศึกสงคราม
5. ไม่ต้องมรณะด้วยสัตว์ขบกิน
6. ไม่ต้องมรณะด้วยงูพิษ แมลงป่อง
7. ไม่ต้องมรณะด้วยการจมน้ำ ไฟไหม้
8. ไม่ต้องมรณะด้วยยาพิษ
9. ไม่ต้องมรณะด้วยแมลงร้ายขบกัด
10. ไม่ต้องมรณะด้วยจิตใจว้าวุ่น เป็นบ้า
11. ไม่ต้องมรณะด้วยตกจากภูเขา ต้นไม้ และ หน้าผาสูง
12. ไม่ต้องมรณะด้วยการสาปแช่งภูตผีปีศาจ
13. ไม่ต้องมรณะเพราะเทพร้ายและผีสาง
14. ไม่ต้องมรณะด้วยโรคร้ายเรื้อรัง
15. ไม่ต้องมรณะด้วยความไม่ประมาณตนจนเกินฐานะ

ชมวิดีโอ บทสวด เจ้าแม่กวนอิมพันมือ : https://youtu.be/sGyA6OKrsJg
ชมวิดีโอ บทสวดมนต์ธิเบต สาวสวยสวดได้ไพเราะมากมาก ได้ที่ : https://youtu.be/kGu0nn0iTm8
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กันยายน 27, 2020, 09:59:08 am โดย raponsan »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28409
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: มหากรุณาธารณีสูตร vs เมตตาสูตร/เมตตากถา
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: กันยายน 27, 2020, 10:21:03 am »
0
 :25: :25: :25:

เมตตาสูตร ว่าด้วยอานิสงส์แห่งเมตตาเจโตวิมุตติ

[๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสดังนี้ว่า

ภิกษุทั้งหลาย เมตตาเจโตวิมุตติ ที่บุคคลเสพ เจริญ ทำให้มากแล้ว ทำให้เป็นดุจยานแล้ว ทำให้เป็นที่ตั้งแล้ว ให้ตั้งมั่นแล้ว สั่งสมแล้ว ปรารภดีแล้ว พึงหวังได้ อานิสงส์ ๘ ประการ

     อานิสงส์ ๘ ประการ อะไรบ้าง คือ
     ๑. หลับเป็นสุข
     ๒. ตื่นเป็นสุข
     ๓. ไม่ฝันร้าย
     ๔. เป็นที่รักของมนุษย์ทั้งหลาย
     ๕. เป็นที่รักของอมนุษย์ทั้งหลาย
     ๖. เทวดาทั้งหลายรักษา
     ๗. ไฟ ยาพิษ หรือศัสตรากล้ำกรายไม่ได้
     ๘. เมื่อยังไม่แทงตลอดคุณวิเศษ ย่อมเข้าถึงพรหมโลก


ภิกษุทั้งหลาย เมตตาเจโตวิมุตติที่บุคคลเสพ เจริญ ทำให้มากแล้ว ทำให้เป็นดุจยานแล้ว ทำให้เป็นที่ตั้งแล้ว ให้ตั้งมั่นแล้ว สั่งสมแล้ว ปรารภดีแล้ว พึงหวังได้ อานิสงส์ ๘ ประการนี้

ผู้มีสติตั้งมั่น เจริญเมตตาแผ่ไปไม่มีประมาณ พิจารณาเห็นธรรมเป็นที่สิ้นอุปธิย่อมมีสังโยชน์เบาบาง หากบุคคลมีจิตไม่คิดประทุษร้ายสัตว์แม้ชีวิตเดียว เจริญเมตตาเป็นประจำอยู่ ก็เป็นผู้ชื่อว่าฉลาดเพราะการเจริญเมตตานั้น แต่พระอริยบุคคลผู้มีใจอนุเคราะห์หมู่สัตว์ทุกหมู่เหล่าชื่อว่าสั่งสมบุญไว้เป็นอันมาก

พระราชาผู้ทรงธรรมเช่นกับฤาษีทรงชนะใจหมู่สัตว์ทั่วแผ่นดินด้วยราชธรรมทรงบูชายัญ คือ สัสสเมธะ ปุริสเมธะ สัมมาปาสะ วาชเปยยะ และนิรัคคฬะ เสด็จเที่ยวไปยัญเหล่านั้น ยังไม่ถึงเสี้ยวที่ ๑๖ แห่งเมตตาเจโตวิมุตติที่บุคคลเจริญดีแล้วเหมือนแสงหมู่ดวงดาวไม่ถึงเสี้ยวที่ ๑๖ แห่งแสงจันทร์ ฉะนั้นผู้มีเมตตาในสัตว์ทุกหมู่เหล่าจะไม่ฆ่าเอง ไม่ใช้ให้ผู้อื่นฆ่า ไม่ชนะเอง ไม่ใช้ให้ผู้อื่นชนะ ย่อมไม่มีเวร กับใครๆ



ที่มา : เมตตาสูตร ว่าด้วยอานิสงส์แห่งเมตตาเจโตวิมุตติ
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๕ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต
https://84000.org/tipitaka/attha/m_siri.php?B=23&siri=74


 :25: :25: :25:

เมตตาสูตร ว่าด้วยอานิสงส์ของเมตตา

[๑๕] ภิกษุทั้งหลาย เมตตาเจโตวิมุตติที่บุคคลเสพแล้ว เจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ทำให้เป็นดุจยานแล้ว ทำให้เป็นที่ตั้งแล้ว ให้ตั้งมั่นแล้ว สั่งสมแล้ว ปรารภดีแล้วพึงหวังได้อานิสงส์ ๑๑ ประการ

      อานิสงส์ ๑๑ ประการ อะไรบ้าง คือ
      ๑. หลับเป็นสุข
      ๒. ตื่นเป็นสุข
      ๓. ไม่ฝันร้าย
      ๔. เป็นที่รักของมนุษย์ทั้งหลาย
      ๕. เป็นที่รักของอมนุษย์ทั้งหลาย
      ๖. เทวดาทั้งหลายรักษา
      ๗. ไฟ ยาพิษ หรือศัสตรา กล้ำกรายไม่ได้
      ๘. จิตตั้งมั่นได้เร็ว
      ๙. สีหน้าสดใส
     ๑๐. ไม่หลงลืมสติตาย
     ๑๑. เมื่อยังไม่แทงตลอดคุณวิเศษอันยอดยิ่ง ย่อมเข้าถึงพรหมโลก


ภิกษุทั้งหลาย เมตตาเจโตวิมุตติที่บุคคลเสพแล้ว เจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ทำให้เป็นดุจยานแล้ว ทำให้เป็นที่ตั้งแล้ว ให้ตั้งมั่นแล้ว สั่งสมแล้ว ปรารภดีแล้ว พึงหวังได้อานิสงส์ ๑๑ ประการนี้



ที่มา : เมตตาสูตร ว่าด้วยอานิสงส์ของเมตตา
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๔ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๖ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต
https://84000.org/tipitaka/attha/m_siri.php?B=24&siri=211


 :25: :25: :25:

เมตตากถา ว่าด้วยเมตตา (เป็นภาษิตของพระสารีบุตร)

     [๒๒] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
     ภิกษุทั้งหลาย เมตตาเจโตวิมุตติอันบุคคลปฏิบัติแล้ว เจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ทำให้เป็นดุจยาน ทำให้เป็นที่ตั้ง ตั้งไว้เนืองๆ สั่งสมแล้ว ปรารภเสมอดีแล้วพึงหวังได้อานิสงส์ ๑๑ ประการ
     อานิสงส์ ๑๑ ประการ อะไรบ้าง คือ
     ๑. หลับเป็นสุข 
     ๒. ตื่นเป็นสุข
     ๓. ไม่ฝันร้าย   
     ๔. เป็นที่รักของมนุษย์ทั้งหลาย
     ๕. เป็นที่รักของอมนุษย์ทั้งหลาย 
     ๖. เทวดาทั้งหลายรักษา
     ๗. ไฟ ยาพิษ หรือศัสตรากล้ำกรายไม่ได้ 
     ๘. จิตตั้งมั่นเร็ว
     ๙. สีหน้าสดใส 
    ๑๐. ไม่หลงลืมสติตาย
    ๑๑. เมื่อยังไม่แทงตลอดคุณวิเศษอันยอดยิ่งย่อมเข้าถึงพรหมโลก

     ภิกษุทั้งหลาย เมตตาเจโตวิมุตติอันบุคคลปฏิบัติแล้ว เจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ทำให้เป็นดุจยาน ทำให้เป็นที่ตั้ง ตั้งไว้เนืองๆ สั่งสมแล้ว ปรารภเสมอดีแล้วพึงหวังได้อานิสงส์ ๑๑ ประการนี้
   

      :96: :96: :96: :96:

     เมตตาเจโตวิมุตติแผ่ไปโดยไม่เจาะจงก็มี
     เมตตาเจโตวิมุตติแผ่ไปโดยเจาะจงก็มี
     เมตตาเจโตวิมุตติแผ่ไปสู่ทิศทั้งหลายก็มี
     เมตตาเจโตวิมุตติแผ่ไปโดยไม่เจาะจงด้วยอาการเท่าไร
     เมตตาเจโตวิมุตติแผ่ไปโดยเจาะจงด้วยอาการเท่าไร
     เมตตาเจโตวิมุตติแผ่ไปสู่ทิศทั้งหลายด้วยอาการเท่าไร คือ
     เมตตาเจโตวิมุตติแผ่ไปโดยไม่เจาะจงด้วยอาการ ๕ อย่าง
     เมตตาเจโตวิมุตติแผ่ไปโดยเจาะจงด้วยอาการ ๗ อย่าง
     เมตตาเจโตวิมุตติแผ่ไปสู่ทิศทั้งหลายด้วยอาการ ๑๐ อย่าง

     เมตตาเจโตวิมุตติแผ่ไปโดยไม่เจาะจงด้วยอาการ ๕ อย่าง อะไรบ้าง คือ
     ๑. ขอสัตว์ทั้งหลายจงเป็นผู้ไม่มีเวร ไม่เบียดเบียนกัน ไม่มีทุกข์ มีสุขรักษาตนเถิด
     ๒. ขอปาณชาติทั้งปวง ฯลฯ
     ๓. ขอภูตทั้งปวง ฯลฯ
     ๔. ขอบุคคลทั้งปวง ฯลฯ
     ๕. ขอผู้ที่นับเนื่องด้วยอัตภาพทั้งปวง จงเป็นผู้ไม่มีเวร ไม่เบียดเบียนกันไม่มีทุกข์ มีสุข รักษาตนเถิด
     เมตตาเจโตวิมุตติแผ่ไปโดยไม่เจาะจงด้วยอาการ ๕ อย่างนี้

     @@@@@@

     เมตตาเจโตวิมุตติแผ่ไปโดยเจาะจงด้วยอาการ ๗ อย่าง อะไรบ้าง คือ
     ๑. ขอสตรีทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร ไม่เบียดเบียนกัน ไม่มีทุกข์ มีสุขรักษาตนเถิด
     ๒. ขอบุรุษทั้งปวง ฯลฯ
     ๓. ขออารยชนทั้งปวง ฯลฯ
     ๔. ขออนารยชนทั้งปวง ฯลฯ
     ๕. ขอเทวดาทั้งปวง ฯลฯ
     ๖. ขอมนุษย์ทั้งปวง ฯลฯ
     ๗. ขอวินิปาติกสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร ไม่เบียดเบียนกัน ไม่มีทุกข์มีสุข รักษาตนเถิด
     เมตตาเจโตวิมุตติแผ่ไปโดยเจาะจงด้วยอาการ ๗ อย่างนี้

     เมตตาเจโตวิมุตติแผ่ไปสู่ทิศทั้งหลายด้วยอาการ ๑๐ อย่าง อะไรบ้าง คือ
     ๑. ขอสัตว์ทั้งปวงในทิศบูรพาจงเป็นผู้ไม่มีเวร ไม่เบียดเบียนกัน ไม่มีทุกข์ มีสุข รักษาตนเถิด
     ๒. ขอสัตว์ทั้งปวงในทิศปัจฉิม ฯลฯ
     ๓. ขอสัตว์ทั้งปวงในทิศอุดร ฯลฯ
     ๔. ขอสัตว์ทั้งปวงในทิศทักษิณ ฯลฯ
     ๕. ขอสัตว์ทั้งปวงในทิศอาคเนย์ ฯลฯ
     ๖. ขอสัตว์ทั้งปวงในทิศพายัพ ฯลฯ
     ๗. ขอสัตว์ทั้งปวงในทิศอีสาน ฯลฯ
     ๘. ขอสัตว์ทั้งปวงในทิศหรดี ฯลฯ
     ๙. ขอสัตว์ทั้งปวงในทิศเบื้องล่าง ฯลฯ
     ๑๐. ขอสัตว์ทั้งปวงในทิศเบื้องบนจงเป็นผู้ไม่มีเวร ไม่เบียดเบียนกัน ไม่มีทุกข์ มีสุข รักษาตนเถิด

      :25: :25: :25: :25:

     ขอปาณชาติทั้งปวงในทิศบูรพา ฯลฯ ภูตทั้งปวง ฯลฯ บุคคลทั้งปวง ฯลฯ ผู้ที่นับเนื่องด้วยอัตภาพทั้งปวง ฯลฯ สตรีทั้งปวง ฯลฯ บุรุษทั้งปวง ฯลฯ อารยชนทั้งปวง ฯลฯ อนารยชนทั้งปวง ฯลฯ เทวดาทั้งปวง ฯลฯ มนุษย์ทั้งปวง ฯลฯ
     ๑. ขอวินิปาติกสัตว์ทั้งปวงในทิศบูรพา จงเป็นผู้ไม่มีเวรไม่เบียดเบียนกัน ไม่มีทุกข์ มีสุข รักษาตนเถิด
     ๒. ขอวินิปาติกสัตว์ทั้งปวงในทิศปัจฉิม ฯลฯ
     ๓. ขอวินิปาติกสัตว์ทั้งปวงในทิศอุดร ฯลฯ
     ๔. ขอวินิปาติกสัตว์ทั้งปวงในทิศทักษิณ ฯลฯ
     ๕. ขอวินิปาติกสัตว์ทั้งปวงในทิศอาคเนย์ ฯลฯ
     ๖. ขอวินิปาติกสัตว์ทั้งปวงในทิศพายัพ ฯลฯ
     ๗. ขอวินิปาติกสัตว์ทั้งปวงในทิศอีสาน ฯลฯ
     ๘. ขอวินิปาติกสัตว์ทั้งปวงในทิศหรดี ฯลฯ
     ๙. ขอวินิปาติกสัตว์ทั้งปวงในทิศเบื้องล่าง ฯลฯ
    ๑๐. ขอวินิปาติกสัตว์ทั้งปวงในทิศเบื้องบน จงเป็นผู้ไม่มีเวร ไม่เบียดเบียนกัน ไม่มีทุกข์ มีสุข รักษาตนเถิด
     เมตตาเจโตวิมุตติแผ่ไปสู่ทิศทั้งหลายด้วยอาการ ๑๐ อย่างนี้


     st12 st12 st12 st12

     ๑. อินทริยวาร วาระว่าด้วยอินทรีย์

     [๒๓] ผู้เจริญเมตตาแผ่ความรักไปสู่สัตว์ทั้งปวงด้วยอาการ ๘ อย่างนี้ คือ
            ๑. ด้วยเว้นความบีบคั้น ไม่บีบคั้นสัตว์ทั้งปวง
            ๒. ด้วยเว้นการฆ่า ไม่ฆ่าสัตว์ทั้งปวง
            ๓. ด้วยเว้นการทำให้เดือดร้อน ไม่ทำสัตว์ทั้งปวงให้เดือดร้อน
            ๔. ด้วยเว้นความย่ำยี ไม่ย่ำยีสัตว์ทั้งปวง
            ๕. ด้วยเว้นการเบียดเบียน ไม่เบียดเบียนสัตว์ทั้งปวง
            ๖. ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร อย่าได้มีเวรกัน
            ๗. จงเป็นผู้มีสุข อย่ามีทุกข์
            ๘. จงมีตนเป็นสุข อย่ามีตนเป็นทุกข์

     เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า เมตตา
     จิตคิดถึงธรรมนั้น เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า เจโต
     จิตพ้นจากพยาบาทและกิเลสที่กลุ้มรุมจิตทั้งปวง เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า วิมุตติ
     เมตตาด้วย เป็นเจโตวิมุตติด้วย เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า "เมตตาเจโตวิมุตติ"



อ้างอิง : พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๓ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค
จากโปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๔๖๐-๔๖๓
ที่มา : https://84000.org/tipitaka/attha/m_siri.php?B=31&siri=73
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กันยายน 27, 2020, 10:52:59 am โดย raponsan »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28409
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: มหากรุณาธารณีสูตร vs เมตตาสูตร/เมตตากถา
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: กันยายน 27, 2020, 12:21:22 pm »
0
 :25: :25: :25:

ข้อสังเกตของข้าพเจ้า

1. อานิสงส์คล้ายกันต่างกันแค่ชื่อ

ผมยกเอา มหากรุณาธารณีสูตรของมหายาน มาเปรียบเทียบกับ เมตตาสูตร/เมตตากถาของหินยาน เห็นชัดว่า มีอานิสงส์การเจริญ(การสวด)ที่คล้ายคลึงกันมาก ทั้งเมตตาและกรุณาล้วนอยู่ในพรหมวิหาร ๔.(เมตตา กรุณา มุทิตาและอุเบกขา) ไม่เข้าใจว่า เหตุใดฝ่ายมหายานยกเอา "กรุณา" มาตั้งเป็นพระสูตร ในฝ่ายหินยานนอกจากมีการแผ่เมตตาแล้ว ในพระไตรปิฎกยังการแผ่กรุณา แผ่มุทิตา และแผ่อุเบกขา แต่ชาวพุทธส่วนใหญ่จะไม่ทราบ

ในคัมภีรือรรถกถาได้กล่าวถึงพุทธคุณ 3 เอาไว้ดังนี้ (ในพระไตรปิฎกไม่ได้กล่าวไว้)
       พุทธคุณ 3
       1. ปัญญาคุณ (พระคุณคือพระปัญญา)
       2. วิสุทธิคุณ (พระคุณคือความบริสุทธิ์)
       3. กรุณาคุณ (พระคุณคือพระมหากรุณา)
ในพระคุณ 3 นี้ ข้อที่เป็นหลักและกล่าวถึงทั่วไปในคัมภีร์ต่างๆ มี 2 คือ ปัญญา และกรุณา ส่วนวิสุทธิ เป็นพระคุณเนื่องอยู่ในพระปัญญาอยู่แล้ว เพราะเป็นผลเกิดเองจากการตรัสรู้ คัมภีร์ทั้งหลายจึงไม่แยกไว้เป็นข้อหนึ่งต่างหาก (จาก พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต))

จะเห็นว่ามีคำว่า "กรุณาคุณ" เป็นข้อที่สาม ด้วยเหตุนี้กระมัง ที่ฝ่ายมหายานยกเอา"กรุณา"ขึ้นมาแต่งเป็นพระสูตร

2. ตั้งนะโมเหมือนกัน

บทสวดมหากรุณาธารณีสูตรเน้นไปที่การบูชาเจ้ากวนอิมพันมือ จะเห็นว่า มีการตั้งนะโม ก่อนการสวดเหมือนทางฝ่ายหินยาน

นะโมของหินยาน : นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุท ธัสสะ (๓ ครั้ง)

บทสรรเสริญพระคุณ นะโมกวงซิอิมผ่อสัก

    นำโมไต๋ชื้อ ไต๋ปุย กิวโคว่ กิวหลั่ง กวงไต๋เล่งก้ำ กวงสี่อิมผู่สัก (กราบ)
    นำโมไต๋ชื้อ ไต๋ปุย กิวโคว่ กิวหลั่ง กวงไต๋เล่งก้ำ กวงสี่อิมผู่สัก (กราบ)
    นำโมไต๋ชื้อ ไต๋ปุย กิวโคว่ กิวหลั่ง กวงไต๋เล่งก้ำ กวงสี่อิมผู่สัก (กราบ)

นำโมฮูก นำโมหวบ นำโมเจ็ง นำโมกิวโคว่ กิวหลั่ง กวงสี่อิมผู่สัก ทั่งจี้โต โอม เกียล้อฮวดโต เกียล้อฮวดโต เกียล้อฮวดโต ล้อเกียฮวดโต ล้อเกียฮวดโต ซาผ่อออ เทียงล้อซิ้ง ตี่ล้อซิ้ง นั้งลี่หลั่ง หลั่งลี่ซิ้ง เจ็กเฉียก ใจเอียง ห่วยอุ่ยติ๊ง นำโมม่อออป่อเยี๊ยปอล้อบิ๊ก (กราบ)

3. หัวใจพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร(เจ้าแม่กวนอิม)กับคาถาสุนทรวาณี ความเหมือนที่แตกต่าง

บทแห่งพระมหากรุณา หัวใจพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร(เจ้าแม่กวนอิม)

โอม มณี ปัท เม หุม
โอม มณี เปเม หุง (คนธิเบตออกเสียง)


ทั้งหมดแปลตรงตัวคงแปลได้ว่า "โอ..ดวงมณีในดอกบัว"
เสียง โอม คือ สารัตถะแห่งรูปของผู้เข้าถึงความรู้แจ้ง
มณี ปัทเม(เปเม) หรือ พยางค์ทั้งสี่ กลางบท หมายถึง คำพูดของผู้บรรลุธรรม
หุม หมายถึง จิตใจของผู้เข้าถึงความรู้แจ้ง กาย วาจา และใจของพระพุทธเจ้า และพระโพธิสัตว์ทั้งหลาย

จากบทหัวใจพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร(เจ้าแม่กวนอิม)ด้านบน ทำให้นึก "คาถาสุนทรวาณี" (คาถานั่งธรรม)

คาถาสุนทรวาณี

มุนินฺท วท นมฺพุชะ คพฺภ สมฺภว สุนทรี ปาณีนํ สรณํ วาณี มยฺหํ ปิณยตํ มน

นางฟ้า คือ พระไตรปิฏก
มุนินฺท วท นมฺพุช คพฺภ สมฺภว สุนทรี - มีรูปอันงามอันเกิดแต่ห้องดอกบัว คือ พระโอฐษ์ของพระพุทธเจ้าผู้เป็นใหญ่กว่าจอมปราชญ์ทั้งหลาย
ปาณีนํ สรณํ วาณี - เป็นที่พึ่งแห่งสัตว์ผู้มีปราณ คือ ลมหายใจทั้งหลาย
มยฺหํ ปิณยตํ มนํ - จงยังใจแห่งข้าพเจ้าทั้งหลายให้ยินดี

เมื่อเทียบคาถาสุนทรวาณีกับหัวใจพระโพธิสัตว์ฯ จะเห็นว่า มีดอกบัวเหมือนกัน

4. ทำไมต้องเป็นกวนอิม 84 ปาง

ในบทสวดมหากรุณาธารณีสูตร บูชากวนอิม 84 ปาง นั้น ผมสงสัยว่า ทำไมต้อง 84 ปาง เอาตัวเลย 84 มาจากไหน ลองคิดเล่นๆ.... เอาคาถาพญาไก่เถื่อนเป็นบทตั้ง

เว ทา สา กุ  กุ สา ทา เว
ทา ยะ สา ตะ  ตะ สา ยะ ทา
สา สา ทิ กุ  กุ ทิ ส สา
กุ ตะ กุ ภู  ภู กุ ตะ กุ


คาถาพญาไก่เถือ่น(ชื่อเป็นทางการคือ คาถามหาพุทธรัตนะ) เป็นรายพระนามของพระพุทธเจ้า 28 พระองค์ เมื่อเอา 28x3 = 84 ตัวเลขนี้เป็นเรื่องบังเอิญหรือจงใจ รึเปล่า.? อย่างไร.? ก็จินตนาการกันได้ตามอัธยาศัย

คุยเป็นเพื่อนเท่านี้ครับ ขอบพระคุณที่ติดตาม  :49:
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กันยายน 27, 2020, 12:24:10 pm โดย raponsan »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ