ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: “ใส่บาตรตอนเช้า” ดีต่อใจ...ได้อานิสงส์ 9 ประการ  (อ่าน 1054 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28415
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0


“ใส่บาตรตอนเช้า” ดีต่อใจ...ได้อานิสงส์ 9 ประการ

อีกหนึ่งภาพประทับใจ สะท้อนถึงขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีงามของไทย นอกเหนือจากการสืบสานมรดกวัฒนธรรมแล้ว การทำบุญตักบาตรในช่วงเทศกาล หรือแม้แต่การตักบาตรหน้าบ้านยามเช้าล้วนแล้วแต่เป็นการประพฤติปฏิบัติในสิ่งที่ดีงาม เพิ่มความเป็นสิริมงคลแก่ชีวิต โดยอานิสงส์ของการใส่บาตรในตอนเช้า กล่าวกันว่ามีมากมายถึง 9 ประการ ดังนี้

@@@@@@

ประการที่ 1. การใส่บาตรทุกวันย่อมได้รับอานิสงส์ 5 ประการ ที่ตามพุทธเจ้าตรัสไว้ คือ เป็นที่รักของผู้คนทั้งหลาย,เป็นคนดีมีปัญญาย่อมชอบคบค้าสมาคมด้วย,มีชื่อเสียงที่ดีงาม,เป็นผู้ไม่ห่างไกลธรรม และเมื่อตายแล้วย่อมเข้าสู่สุคติโลกสวรรค์

ประการที่ 2. การใส่บาตรทุกวันทำให้จิตใจเกาะอยู่กับความดี เป็นการฝึกจิตให้คลุกเคล้าอยู่กับกุศล ซึ่งเป็นทางแห่งความเจริญที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสรับรองว่า "ผู้ฝึกจิตดีแล้วย่อมนำสุขมาให้"เพราะเมื่อตื่นขึ้นมา สิ่งแรกที่จะนึกถึงคือจะหาอะไรใส่บาตรดี ซึ่งจุดนี้ก็เรียกว่าเป็นสังฆานุสติเพราะนึกถึงพระสงฆ์ และจาคานุสติ เพราะนึกถึงสิ่งที่จะนำใส่บาตรพระ ถือเป็นบุญการเจริญพระกรรมฐานถึง 2 กองด้วยกัน

ประการที่ 3. เป็นการลดความตระหนี่ถี่เหนียว บรรเทาความเห็นแก่ตัว สร้างใจให้เป็นสุขและสร้างสังคมให้ร่มเย็น เพราะเป้าหมายหลัก ของการให้ทานที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ คือ เพื่อกำจัดความตระหนี่ มุ่งสู่ความดีและความเสียสละ

ประการที่ 4. เป็นการต่อบุญต่อลาภให้แก่ตนเอง เพราะการใส่บาตรเป็นการเสริมทานบารมีโดยตรง เป็นการสร้างทางแห่งความมั่งคั่งร่ำรวยและความคล่องตัวในโลก ยิ่งทำทุกวันกุศลก็ยิ่งส่งผลอย่างต่อเนื่อง จนสามารถหลีกพ้นความยากจนได้อย่างถาวร

ประการที่ 5. เพื่อการอุทิศส่วนกุศลให้แก่บุคคลอันเป็นที่รักที่ล่วงลับไปแล้ว อันเป็นการแสดงความกตัญญูต่อผู้มีคุณ


@@@@@@

ประการที่ 6. เป็นการรักษาขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรมอันดีงามของเรา เอาไว้ เพื่อความงดงามและมีเสน่ห์อันเป็นเอกลักษณ์ของชนชาติ

ประการที่ 7.  เป็นแบบอย่างการส่งต่อความดีจากรุ่นสู่รุ่นเพื่อให้ลูกหลานมีแบบอย่างในการทำความดีสืบต่อไป เพราะถ้าคนเป็นพ่อแม่ไม่ทำตัวอย่างไว้ ลูกหลานก็ไม่มีตัวอย่างดู ต่อไปคนรุ่นใหม่ก็จะไม่กล้าทำ แล้ววัฒนธรรม ที่ดีงามของเราก็จะสูญสลายไปในที่สุด

ประการที่ 8. เป็นการสืบต่ออายุพระพุทธศาสนา เพราะพระสงฆ์สามเณรต้องอยู่ด้วยการบิณฑบาตเลี้ยงชีพ ถ้าไม่มีใครใส่บาตรก็ไม่มีอาหาร เมื่อไม่มีอาหารย่อมไม่อาจดำรงชีพอยู่ได้ แล้วพุทธศาสนาก็อาจจะสิ้นสุดลงในยุคปัจจุบัน

ประการที่ 9. การใส่บาตรเป็นการสร้างความปรองดองให้กับชาวพุทธ เป็นการหยุดวิกฤตความศรัทธา เพราะถ้าชาวพุทธทุกบ้านพร้อมเพรียงกันใส่บาตร จะเกิดเป็นพลังแห่งความสามัคคีขึ้น ซึ่งพลังดังกล่าวนี้จะช่วยสร้างสรรค์สังคมให้เกิดความสงบสุข ดังที่พระพุทธเจ้าตรัสว่า "ความสามัคคีของหมู่คณะ ย่อมทำให้เกิดสุข" ทำให้ชาวพุทธมีความเข้มแข็ง และสามารถจะสร้างกรอบอันดีงามให้แก่ภิกษุสามเณรทั้งหลายไม่ให้ออกนอกลู่นอกทางได้


ขอบคุณ : http://variety.teenee.com/saladharm/78552.html
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กรกฎาคม 15, 2019, 09:00:56 pm โดย raponsan »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ