ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: QA "มีแสงสว่าง อยู่เบื้องหน้า มาก ๆ สว่าง จ้า เป็น ๆ ดับ ๆ ควรทำอย่างไร ดีคะ"  (อ่าน 4294 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
QA  ใครช่วยตอบได้ ก็ช่วยตอบกัน ด้วยนะ จะนำคำถามมาลงก่อน ก็แล้วกันนะ ส่วนคำตอบจะทะยอยตอบ

ปุจฉา
     ?? QA "ปฏิบัติ วิปัสนามาหลายปีแล้วคะ ทำโดยการกำหนดสติรู้ อิริยาบถ แล้ววันหนึ่งก็มีแสงสว่าง อยู่เบื้องหน้า มาก ๆ สว่าง จ้า เป็น ๆ ดับ ๆ แล้วก็เป็นขึ้นบ่อย ๆ แต่เป็นอยู่ เดี๋ยวเกิด เดี๋ยวดับ ก็เลยกำหนดว่า เกิดหนอ ดับหนอ แทน ตั้งแต่วันนั้นมา แสงสว่างก็ไม่มีอีกคะ รู้สึกว่าเหมือนทำอะไรผิด โยมควรทำอย่างไร ดีเจ้าคะ ปฏิบัติถูก หรือ ปฏิบัติผิด เจ้าคะ"   


วิสัชชนา

    <?<?<? ยังไม่ได้ตอบ รอให้ สมาชิกธรรม ร่วมตอบกันก่อน


 ;)

บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

nongmai-new

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 73
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ไม่ต้องแก้ครับ
เพราะเป็นเรื่องปกติของสมาธิ
ดูเรื่อง ปีติ ๕ - โอกกันติกาปีติ
ไม่ต้องทำอะไร ทำสมาธิต่อไป ปีตินี่ถ้าอารมณ์ไม่ละเอียดก็จะเจอ
เว้นแต่บางคนเข้าถึงอารมณ์สมาธิได้เร็ว ก็ข้ามตรงนี้ไปอย่างรวดเร็ว
แต่บางคนก็ไล่ไปจนครบปีติทั้ง ๕ ก็มี
ผมเองก็ไล่มาเกือบครบแล้ว รู้สึกจะ ๔ ข้อนะ

๑. ขุททกาปีติ มีอาการขนลุกขนชัน ท่านเรียกว่าขนพองสยองเกล้า
และน้ำตาไหลจากตาโดยไม่มีอะไรไปทำให้ตาระคายเคือง
๒. ขณิกาปีติ มีแสงสว่างเข้าตาคล้ายแสงฟ้าแลบ
๓. โอกกันติกาปีติ ร่างกายโยกโคลง คล้ายเรือกระทบคลื่น
๔. อุพเพงคาปีติ ร่างกายลอยขึ้นเหนือพื้นที่นั่ง
๕. ผรณาปีติ อาการกายเย็นซู่ซ่า คล้ายร่างกายโปร่ง และใหญ่โตสูงขึ้นอย่างผิดปกติ
อาการทั้งห้าอย่างนี้แม้อย่างใดอย่างหนึ่งก็เรียกว่าเป็นอาการของปีติ
(จาก http://www.reocities.com/4465/samadhi/samp3.htm)

น่าจะยกเว้น อุพเพงคาปีติ อันนี้ยังไม่เคยนะ ๑ ๒ ๓ แล้วก็ไป ๕ เลย
เสียอย่างเดียว ไม่ได้ลอย ๕๕๕
แต่บางคนเขาก็บอกว่าเราสมาธิมากเกินไป
แต่ผมว่าไม่มากเกินไป ฌานสมาบัติยังไม่ได้ จะเรียกสมาธิมากเกินไปได้ยังไง
อันนี้ทำเอาผมเกือบเสียคนไปเหมือนกันนะ เกือบเชื่อแล้ว
โชคดีที่ไม่เชื่อ เราเชื่อในจรณะ ๑๕ ของพระพุทธเจ้าดีกว่า

ไม่ต้องกังวลครับ ทำต่อไป โยกช่างมัน
เรื่องปีติ เรื่องอาการของฌานรู้ไว้ไม่เสียหาย
รู้แล้วจะได้ไม่ต้องไปถามคนอื่นซึ่งบางทีก็ทำให้เรางงๆไปเหมือนกัน
แต่มีข้อหนึ่งที่ควรจะรู้ไว้ในการปฏิบัติ ซึ่งสำคัญมาก
คือ อย่าไปกำหนดว่า วันนี้ฉันจะต้องได้อันนั้นอันนี้ ขั้นนั้นขั้นนี้ อย่างนี้ผิด
เรียกว่า ใช้อารมณ์อยากมากเกินไป
หรือวันนี้ฉันจะทำจนครบ ๒ ชั่วโมง
แล้วก็นั่งเครียดเกือบตายกันไป อันนี้เขาเรียกว่าทรมานตัวเอง
ฌานสมาบัติ ถ้ายังไม่คล่อง อย่าเพิ่งไปบังคับมัน มันได้แค่ไหนก็แค่นั้น
และขอร้อง อย่าตรวจสอบฌานหรืออาการอะไรระหว่างที่ปฏิบัติ มันจะฟุ้งซ่าน
เป็นนิวรณ์๕ (รายละเอียดก็ดูในเวบที่ให้ไว้นั่นแหละ)


จากคุณ    : sirnitfi
บันทึกการเข้า

nongmai-new

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 73
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
พระอาจารย์ ยังไม่ได้ตอบเรื่องนี้ นะครับ ผมเองก็อยากได้อ่านคำตอบเหมือนกัน ครับ
ขอพระอาจารย์ โปรดพิจารณา ตอบด้วยครับ
 ถ้าพระอาจารย์ยังไม่มีเวลาตอบ ก็เชิญเพื่อน ๆ ทีมมัชฌิมา มาตอบด้วยครับ


  :25: :25: :25:
บันทึกการเข้า

arlogo

  • 1.บรรพชิต
  • โยคาวจรผล
  • *
  • ผลบุญ: +101/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 1176
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
เมื่อจิตเป็นสมาธิ ระดับหนึ่ง เบื้องต้น ก็จะพบแสงสว่างขึ้นมา บางท่านก็มีน้อย บางท่านก็มีมาก แสงสว่างเกิดขึ้นเพื่อส่งเสริม นิมิต แต่ แสงสว่าง จัดเป็น วิปัสสนูกิเลส ด้วยดังนั้น วิธีการปฏิบัติต่อ โอภาสจึงต้องมีวิธีการด้วยนะจ๊ะ

คัมภีร์พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสกสูตร
   เรื่องโอภาสนิมิต อุคคหนิมิต  ปฎิภาคนิมิต ไม่เกิดไม่เจริญไม่ตั้งมั่น เพราะอุปกิเลส เครื่องเศร้าหมองในสมาธิ ๑๑ ประการ
ความว่าสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงแสดงให้พระอนุรุทธฟังว่า เมื่อครั้งพระพุทธองค์ทรงกระทำทุกกรกิริยา บำเพ็ญเพียรเพื่อถึงความตรัสรู้อนุตตรสัมโพธิญาณ  ด้วยพระองค์เอง พระองค์ทรงได้ โอภาส แล้ว โอภาสนั้นก็กลับมืดเหมือนก่อน แต่อาศัยที่เพราะพระองค์ทรงพิจารณาเห็นเหตุ จึงได้ตรัสรู้ด้วยพระองค์เอง
   เมื่อครั้งที่พระองค์ทรงหลับพระเนตร เจริญสมาธิ ณ โพธิพฤกษบัลลังก์ ก็ได้แสงสว่างมองเห็นสรรพรูปต่างๆ พระองค์จึงทรงสงสัยว่า นี่สิ่งใดหนอ นี่สิ่งใดหนอ โอภาสนิมิตนั้นก็ดับศูนย์ไป แล้วก็กลับมาสว่างขึ้นอีก เป็นดังนี้เนื่องๆ  ภายหลังจากพระองค์จับได้ว่า เพราะความลังเลสงสัยคือ วิจิกิจฉา ที่คิดว่า นี่สิ่งใดหนอ นี่สิ่งใดหนอ เมื่อคิดดังนั้นจิตของพระองค์ ก็เคลื่อนจากสมาธิ แสงสว่างจึงดับ
   คราวนี้พระองค์จึงทรงวางจิตเป็น อมนสิการ  คือจิตไม่นึก ไม่กำหนดว่านั้นอะไร จิตก็เลื่อนลอย ไม่มีที่เกาะ ที่ยึด แสงสว่าง ก็ดับอีก
   ต่อไปพระองค์ก็ควบคุมสติเพ่งเล็งดู รูปที่พอพระหฤทัย อันเป็นอารมณ์แห่งกรรมฐาน เมื่อรูปที่พอพระหฤทัยดับไปหมด เหลือแต่รูปที่ไม่พอพระหฤทัย ไม่เป็นอารมณ์แห่งพระกรรมฐาน  จิตของพระองค์ก็ไม่กระทำนมสิการ ไม่อยากเพ่งเล็งนิมิตต่อไป ก็เกิด ถีนมิทธะ ง่วงเหงาหาวนอน แสงสว่างก็ดับไป พระองค์ก็จับเหตุได้ว่าเพราะละเลยความกำหนดนิมิต  จิตจึงง่วงเหงาหาวนอน เป็นเหตุให้แสงสว่างดับ
   เมื่อพระองค์ทรงทราบเหตุดังนี้แล้ว พระองค์จึงตั้งไว้ซึ่งวิตก ความตรึก วิจาร ความตรอง กำหนดเพ่งดูรูปตามลำดับไป ก็ได้เห็นรูปที่น่าเกลียด น่ากลัว ก็เกิด ฉมฺภิตตฺต ความไหวจิต ไหวกาย เกิดขึ้น แสงสว่างจึงดับ รูปจึงดับ
   ต่อไปพระองค์ก็ไม่กำหนดดูรูปที่น่าเกลียดน่ากลัว เลือกดูแต่รูปที่ชอบอารมณ์ ภายหลังรูปที่ชอบอารมณ์เกิดขึ้นมากมาย จิตของพระองค์ก็กำเริบ กำหนดจิตทั่วไปในรูป ทุกรูปในนิมิต ทุกนิมิต จนเหลือความสามารถของจิต  จิตก็ตกไปข้างฝ่ายฟุ้งซ่าน แสงสว่างก็ดับไป พระองค์ก็พิจารณาจับเหตุได้ว่า  อุพฺพิลวิตก คือกิริยาที่จิตกำเริบกระทำความเพียรมักใหญ่ รวบรัดเพ่งเล็งดูรูปมากๆ แต่คราวเดียวกัน จิตก็คลาดจากสมาธิ โอภาสนิมิต อุคคหนิมิต ก็ดับ
   ต่อมาพระองค์ทรงกำหนดเพ่งเล็งดูรูปนิมิต โดยกำหนดแต่ช้าๆไม่รวบรัด จิตหย่อนคลายความเพียรลง จิตก็บังเกิด ทุฎฐุลล คร้านกาย มีอาการให้เกิดกระวนกระวายขึ้น แสงสว่างจึงดับไป
   เมื่อพระองค์จับเหตุได้แล้ว จึงกำหนดเหตุด้วย อจฺจารทฺธวิริยะ  กำหนดความเพียรขึ้น ให้เคร่งครัดแรงกล้า  เป็นเหตุให้แสงสว่างดับ จึงกำหนดลดความเพียรลงให้น้อย เรียกว่า อติลีนวิริยะ คือกระทำความเพียรอ่อนเกินไป แสงสว่างจึงดับ
   ต่อมาพระองค์จึงกำหนด กระทำความเพียรแต่พอปานกลาง สถานกลาง ในความเพียรพอให้แสงสว่างทรงอยู่ได้   จึงเป็นที่น่าสงสัยว่าทำไมความเพียรกล้าจึงให้โทษด้วย  มีอุปมาว่าเหมือนคนที่จับนกกระจอก ต้องการจับนกได้ทั้งเป็น แต่จับบีบโดยเต็มแรง นกกระจอกก็ตาย  ถ้าจับนกหลวมๆไม่ดี นกกระจอกก็จะหนีไป ต้องจับนกแต่พออยู่พอประมาณนกกระจอกก็ไม่ตาย จึงจะได้ประโยชน์ คือจิตเป็นสมาธิ
การจับบีบนกโดยแรง เปรียบเหมือนมีความเพียรกล้า จับนกหลวมๆเปรียบเหมือนมีความเพียรน้อย จับนกแต่พออยู่ พอประมาณ เปรียบเหมือน มีความเพียรสถานกลาง
   เมื่อทรงทำความเพียรสถานกลางได้แล้ว จึงเห็นรูปเทวดา ที่งดงาม แลเห็นทิพย์สมบัติใน เทวะโลก จิตก็อยากเป็นอยากได้ ในทิพย์สมบัตินั้น แสงสว่างก็ดับไป พระองค์ก็ทราบว่าการกำหนดดูรูปปราณีต เช่นเทวดานั้นเป็นเหตุให้ เกิด อภิชปฺปา ตัณหาเกิด แสงสว่างจึงดับ
ต่อมาพระองค์จึงพิจารณาดูรูปที่ปราณีต และรูปที่หยาบพร้อมกัน จิตก็แยกเป็นสองฝัก สองฝ่าย สัญญาต่างกัน ก็เกิดขึ้นมีขึ้น เรียกว่า นานตฺตสญฺญา จิตก็เคลื่อนจากสมาธิ  รูป และแสงสว่างจึงหายไป
คราวนี้พระองค์จึงเพ่งพิจารณารูปมนุษย์ฝ่ายเดียว เมื่อเพ่งหนักรูปมนุษย์นานเข้า รูปมนุษย์งดงาม น่าพึงพอใจก็เกิด จึงเกิดความกำหนัดยินดี แสงสว่างจึงดับ  พระองค์จึงทรงพิจารณาทราบว่า อตินิชฌายิตตฺต การเพ่งหนักที่รูปมนุษย์ อันปราณีต เป็นเหตุให้ แสงสว่างดับ
   พระองค์ทรงกำหนดอุปกิเลส เครื่องเศร้าหมอง ๑๑ ประการได้แล้ว จึงป้องกันไม่ให้เข้ามาครอบงำในพระหฤทัยของพระองค์ได้ ต่อมาแสงสว่างของพระองค์ก็พ้นประมาณ หาเครื่องกำบังมิได้ พระองค์จึงบรรลุฌาน ๔ วิชชา ๓ สำเร็จเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า


จากหนังสือกรรมฐานสมถะวิปัสสนา เรียบเรียงโดย พระครูสิทธิสังวร หน้าที่ 41

บันทึกการเข้า
แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแต่เรา ปัญญาเกิดขึ้นแล้วแต่เรา วิชชาเกิดขึ้นแล้วแต่เรา

arlogo

  • 1.บรรพชิต
  • โยคาวจรผล
  • *
  • ผลบุญ: +101/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 1176
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
อุปกิเลส ๑๑ ประการ
เครื่องเศร้าหมองในการเจริญสมาธิ
๑.วิจิกิจฉา  ความสงสัยในโอภาสนิมิต จิตคลาดเคลื่อนจากสมาธิ แสงสว่างจึงดับ
๒.อมนสิการ จิตไม่กำหนดนึก ว่านั้นอะไร นี่อะไร ทำให้จิตเลื่อนลอย จิต
     จึงเคลื่อนจากสมาธิ   แสงสว่างก็ดับ
๓. ถีนมิทธะ  จิตละเลยการกำหนดรูปนิมิต  จิตจึงง่วงเหง่าหาวนอน  จิต
     จึงเคลื่อน จากสมาธิ รูป จึงดับ แสงสว่างจึงดับ
๔.ฉมฺภิตตฺต ความไหวจิต ไหวกาย เพราะจิตเห็นรูปน่ากลัว จิตจึงเคลื่อน
     จากสมาธิ  แสงสว่าง รูปนิมิตจึงดับ
๕.อุพพิลวิตก ความที่จิต รวบรัด เพ่งเล็งดูรูปนิมิตมากมาย จิตกำเริบฟุ้งซ่าน
    จิตจึงเคลื่อนจาสมาธิรูปนิมิต และแสงสว่างจึงดับไป
๖.ทุฎฐุลล     ความกำหนดจิตดูรูปนิมิตมาก แต่กำหนดดูแต่ช้าๆ จิตคลาย
    ความเพียรลง เกิดความ กระวนกระวาย จิตจึงเคลื่อนจากสมาธิรูปนิมิต
   โอภาสนิมิตจึงดับ
๗.อจฺจารทฺธวิริย กำหนดความเพียรมากเกินไป จิตจึงคลาดเคลื่อนจากสมาธิ
รูป แสงสว่างจึงดับไป
๘.อติลีนวิริย   กำหนดความเพียรน้อยเกินไป อ่อนเกินไป จิตเคลื่อนจาก
    สมาธิ รูป  แสงสว่างจึงดับ
๙.อภิชปฺปา การกำหนดดูรูปปราณีต ตัณหาเกิด จิตจึงเคลื่อนจากสมาธิ รูป
    และแสง สว่างจึงดับไป
๑๐.นานตฺตสญฺญา การกำหนดดูรูปหยาบ รูปปราณีตพร้อมกัน จิตแยกเป็น
       สองฝ่าย จิต จึงเคลื่อน จากสมาธิรูปนิมิต และโอภาสนิมิตหายไป
๑๑. อตินิชฌายิตตฺต  การเพ่งเล่งรูปมนุษย์ อันปราณีต เกิดความยินดี จิต
       เคลื่อนจากสมาธิ รูป  แสงสว่างจึงดับ

คำตอบในแนวปฏิบัติ ก็คือ เมื่อแสงสว่างเกิดขึ้น

   ก็พึงตั้งมั่นอยู่ ในฐานจิต ประการหนึ่ง
   พึงตั้งอยู่ใน บริกรรมนิมิต ประการที่สอง
   พึงตั้งอยู่ใน อุเบกขานิมิต ประการที่สาม

    เมื่อแสงสว่างสมบูรณ์ ด้วยเอกัคคตา คือ มีอารมณ์เดียวเป็นสมาธิ แสงสว่างก็จะเปลี่ยน เป็นนิมิตเอง
จะพัฒนานิมิตเป็นไปตามลำดับ

   เหตุผลที่ไม่อธิบายในส่วนวิปัสสนา นั้นยังไม่มีความจำเป็น เพราะมุ่งให้จิตเป็นสมาธิก่อนนะจ๊ะ

  เจริญธรรม

 
บันทึกการเข้า
แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแต่เรา ปัญญาเกิดขึ้นแล้วแต่เรา วิชชาเกิดขึ้นแล้วแต่เรา

เฉินหลง

  • ศิษย์ตรง
  • กำลังแหวกกระแส
  • *****
  • ผลบุญ: +3/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 153
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ถ้าตอบตามคัมภีร์วิสุทธิมรรค ท่านกล่าวว่า "ละนิวรณ์ ๕ ได้พร้อมกับได้ปฏิภาคนิมิต"


ในวิสุทธิมรรค ท่านกล่าวว่า

นิมิตปรากฏต่างๆกัน  สำหรับบางท่านปรากฏเหมือนปุยนุ่นก็มี เหมือนปุยฝ้ายก็มี  เหมือนสายลมก็มี

วินิจฉัยในอรรรถกถาทั้งหลายมีดังนี้ ก็นิมิตนี้  สำหรับบางท่านปรากฏเหมือนดวงดาว  เหมือนเม็ดมณี  และเหมือนเม็ดไข่มุกดาก็มี

บางท่านปรากฏเป็นสิ่งมีสัมผัสหยาบเหมือนเม็ดฝ้ายและเหมือนเสี้ยนไม้แก่นก็มี  บางท่านเหมือนสายสังวาลยาว  เหมือนพวงดอกไม้ และเหมือนเปลวควันก็มี

บางท่านเหมือนใยแมงมุมที่ขึงแล้ว  เหมือนกลีบเมฆ  เหมือนดอกประทุม  เหมือนล้อรถ  เหมือนวงพระจันทร์  และเหมือนวงพระอาทิตย์ก็มี  ก็แลกัมมัฏฐานอานาปานสตินี้นั้น  ก็อย่างเดียวกันนั่นแล  ย่อมปรากฏต่างๆกัน  เพราะภาวะที่พระโยคาวจรมีสัญญาต่างๆ กัน เพราะภาวะ้ที่เธอทั้งหลายมีสัญญาต่างกัน

ฉะนั้น  เพราะกัมมัฎฐานนี้เกิดจากสัญญา  มีสัญญาเป็นเหตุ  มีสัญญาเป็นแดนเกิด  เพราะฉะนั้นพึงทราบว่า  ย่อมปรากฏได้ต่างๆกัน เพราะสัญญาต่างกัน

พระมัชฌิมภาณกาจารย์ทั้งหลายกล่าวว่า  พระโยคาวจรนั้นเป็นผู้ที่อาจารย์ควรบอกว่า  นี่นิมิตแหละ อาวุโส  เธอจงมนสิการกัมมัฏฐานบ่อยๆ เข้าเถิด  พ่อคนดี

ลำดับนั้น  พระโยคาวจรนั้นพึงตั้งจิตไว้ที่นิมิตนั้นแหละ  โดยประการดังกล่าวแล้วจำเดิมแต่นี้ไปภาวนาของเธอนี้ย่อมปรากฏด้วยอำนาจฐปนา  สมดังคำที่พระโบราณาจารย์กล่าวว่า

"พระโยคาวจรผู้ทรงปัญญา  ตั้งจิตไว้ในนิมิต  ยังอาการต่างๆในลมหายใจออก ลมหายใจเข้า ให้แจ่มแจ้ง  จึงจะชื่อว่าผูกจิตของตนไว้ได้ "

จำเดิมแต่นิมิตปรากฏแล้วอย่างนี้  เป็นอันชื่อว่าเธอข่มนิวรณ์ทั้งหลายได้แน่แท้  กิเลสทั้งหลายย่อมสงบนิ่ง  สติก็ปรากฏเด่นชัด  จิตย่อมตั้งมั่นด้วยอุปจารสมาธิ และอัปปนาสมาธิเป็นแน่แท้


ลำดับนั้น  เธอพึงใส่ใจนิมิตโดยสี  อย่าพิจารณาโดยลักษณะ  แต่จำต้องเว้นอสัปปายะ ๗ อย่าง มีอาวาสเ็ป็นต้น  แล้วเสพสัปปายะ  ๗ อย่าง  มีอาวาสเป็นต้นเหล่านั้นแหละ  รักษาไว้ให้ดีดังพระขัตติยมเหสีรักษาพระครรภ์ที่เกิดแต่พระเจ้าจักรพรรดิ์  และดังชาวนารักษาท้องข้าวสาลีและข้าวเหนียว  ฉะนั้น.

ครั้นเธอรักษานิมิตนั้นไว้อย่างนี้แล้ว  พึงทำให้ถึงความเจริญงอกงามโดยวิธีมนสิการบ่อยๆ  แล้วบำเพ็ญอัปปนาโกศล ๑๐ ประการให้พร้อมมูล  ประกอบความเพียรให้สม่ำเสมอ  เมื่อเธอพยายามอยู่อย่างนี้  จตุตถฌานหรือปัญจมฌานจะเิกิดขึ้นในนิมิตนั้นโดยลำดับดังกล่าวแล้วนั่นแล

วิธีกำหนดนามรูป

เมื่อพระโยคาวจรนั้นออกจากสมาบัติแล้วย่อมเห็นได้ว่า  กรัชกายและจิตเป็นแดนเกิดแห่งลมหายใจออกหายใจเข้า  ลมหายใจออกและลมหายใจเข้าต้องอาศัยกายและจิตจึงสัญจรไปได้ 

ลำดับนั้นพระโยคาวจรย่อมกำหนดลมหายใจออก-เข้าและกายว่าเป็นรูป  และำกำหนดจิตและธรรมอันสัมปยุตกับจิตนั้นว่าเป็นนาม  นี้เป็นความสังเขปในการกำหนดนามรูป

ครั้นกำหนดนามรูปอย่างนี้แล้ว  จึงแสวงหาปัจจัยของนามรูปนั้น  และเมื่อแสวงหา  ก็เห็นนามรูปนั้น  ปรารภความเป็นไปแห่งนามรูป  ข้ามความสงสัยในกาลทั้ง ๓ เสียได้

เป็นผู้ข้ามความสงสัยได้แล้วยกขึ้นสู่ไตรลักษณ์  โดยพิจารณาเป็นกลาป  ละวิปัสสนูปกิเลส ๑๐ ประการ  มีโอภาสเป็นต้น  อันเกิดขึ้นในส่วนเบื้องต้นแห่งอุทยัพยานุปัสสนาญาณ

กำหนดปฏิปทาญาณอันพ้นจากอุปกิเลสแล้วว่าเป็นมรรค  ละรูปนามที่เกิดขึ้น

บรรลุการตามเห็นความดับแห่งนามรูป  แล้วเบื่อหน่ายคลายความกำหนัดหลุดพ้นในสังขารทั้งปวงที่ปรากฏโดยความเป็นของน่ากลัวเพราะเห็นแต่นามรูปที่ดับไปอันหาระหว่างคั่นมิได้  บรรลุอริยมรรค ๔ ตามลำดับ  ดำรงอยู่ในอรหัตผลถึงที่สุดแห่งปัจจเวกขณญาณ ๑๙ ประการ  เป็นพระทักขิไณยผู้เลิศของโลกพร้อมทั้งเทวโลก

เป็นอันจบการเจริญอานาปานสติสมาธิแห่งพระโยคาวจรนั้นนับตั้งต้นแต่การนับจนมีปัจจเวกขณะเป็นที่สุด  ฉะนี้แล
บันทึกการเข้า