ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ธรรมะสาระวันนี้ "ในบุคคล 7 จำพวกนี้ท่านภาวนาอยู่ในพวกไหน"  (อ่าน 5088 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

arlogo

  • 1.บรรพชิต
  • โยคาวจรผล
  • *
  • ผลบุญ: +101/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 1176
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
      พระสุตตันตปิฎก  ทีฆนิกาย  ปาฎิกวรรค  [๕.  สัมปสาทนียสูตร]
      เทศนาเรื่องปฏิปทา

เล่มที่ 11 หน้า 111 - 112

      เทศนาเรื่องปุคคลบัญญัติ
   [๑๕๐]    ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ    อีกประการหนึ่ง    เทศนาที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมในเรื่องปุคคลบัญญัติก็นับว่ายอดเยี่ยม    บุคคล    ๗    จำพวกนี้ (๑)    คือ
๑.    อุภโตภาควิมุต (๒ )  (ผู้หลุดพ้นทั้ง    ๒    ส่วน)                                             
๒.    ปัญญาวิมุต( ๓)     (ผู้หลุดพ้นด้วยปัญญา)
๓.    กายสักขี (๔)        (ผู้เป็นพยานในนามกาย)
๔.    ทิฏฐิปัตตะ (๕)      (ผู้บรรลุสัมมาทิฏฐิ)
๕.    สัทธาวิมุต (๖)       (ผู้หลุดพ้นด้วยศรัทธา)
๖.    ธัมมานุสารี (๗)      (ผู้แล่นไปตามธรรม)
๗.    สัทธานุสารี (๘)      (ผู้แล่นไปตามศรัทธา)
    ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ    นี้คือเทศนาอันยอดเยี่ยมในเรื่องปุคคลบัญญัติ



(๑) ดูเทียบ  องฺ.สตฺตก.  (แปล)  ๒๓/๑๔/๑๓
(๒) อุภโตภาควิมุต  หมายถึงผู้บำเพ็ญสมถกัมมัฏฐานจนได้อรูปสมาบัติ  และใช้สมถะเป็นฐานในการบำเพ็ญ
   วิปัสสนาจนได้บรรลุอรหัตตผล  (องฺ.สตฺตก.อ.  ๓/๑๔/๑๖๐,  องฺ.นวก.อ.  ๓/๔๕/๓๑๖)
(๓) ปัญญาวิมุต  หมายถึงผู้บำเพ็ญวิปัสสนาล้วน ๆ  จนบรรลุอรหัตตผล  (องฺ.สตฺตก.อ.  ๓/๑๔/๑๖๑)
(๔)กายสักขี  หมายถึงผู้มีศรัทธาแก่กล้า  ได้สัมผัสวิโมกข์  ๘  ด้วยนามกายและอาสวะบางอย่างก็สิ้นไป  เพราะ
   เห็นด้วยปัญญา  และหมายถึงพระอริยบุคคลผู้บรรลุโสดาปัตติผลขึ้นไป  จนถึงท่านผู้ปฏิบัติเพื่ออรหัตตผล
   (องฺ.ทุก.อ.  ๒/๔๙/๕๕,  องฺ.สตฺตก.อ.  ๓/๑๔/๑๖๑)
(๕)ทิฏฐิปัตตะ  หมายถึงผู้บรรลุสัมมาทิฏฐิ  เข้าใจอริยสัจถูกต้อง  กิเลสบางส่วนสิ้นไป  เพราะเห็นด้วยปัญญา
   มีปัญญาแก่กล้า  และหมายถึงผู้บรรลุโสดาปัตติผลจนถึงผู้ปฏิบัติเพื่ออรหัตตผล  (องฺ.สตฺตก.อ.  ๓/๑๔/๑๖๑)
(๖) สัทธาวิมุต  หมายถึงผู้หลุดพ้นด้วยศรัทธา  เข้าใจอริยสัจถูกต้อง  กิเลสบางส่วนก็สิ้นไป  เพราะเห็นด้วยปัญญา
   มีศรัทธาแก่กล้า  และหมายถึงผู้บรรลุโสดาปัตติผลจนถึงผู้ปฏิบัติเพื่ออรหัตตผล  (องฺ.ทุก.อ.  ๒/๔๙/๕๕,
   องฺ.สตฺตก.อ.  ๓/๑๔/๑๖๑-๑๖๒)
(๗) ธัมมานุสารี  หมายถึงผู้แล่นไปตามธรรม  คือ  ผู้ปฏิบัติเพื่อบรรลุโสดาปัตติผล  มีปัญญาแก่กล้า  บรรลุผล
   แล้วกลายเป็นทิฏฐิปัตตะ  (องฺ.ทุก.อ.  ๒/๔๙/๕๕,  องฺ.สตฺตก.อ.  ๓/๑๔/๑๖๒)
(๘) สัทธานุสารี  หมายถึงผู้แล่นไปตามศรัทธา  คือ  ผู้ปฏิบัติเพื่อบรรลุโสดาปัตติผล  มีศรัทธาแก่กล้า  บรรลุผลแล้วกลายเป็นสัทธาวิมุต  (องฺ.ทุก.อ.  ๒/๔๙/๕๕,  องฺ.สตฺตก.อ.  ๓/๑๔/๑๖๒)





ขอบคุณภาพประกอบจาก http://4.bp.blogspot.com
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: เมษายน 18, 2012, 03:10:50 pm โดย vichai »
บันทึกการเข้า
แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแต่เรา ปัญญาเกิดขึ้นแล้วแต่เรา วิชชาเกิดขึ้นแล้วแต่เรา

arlogo

  • 1.บรรพชิต
  • โยคาวจรผล
  • *
  • ผลบุญ: +101/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 1176
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
            เทศนาเรื่องปฏิปทา
            [๑๕๒]    ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ    อีกประการหนึ่ง    เทศนาที่พระผู้มีพระภาคทรง
แสดงธรรมในเรื่องปฏิปทาก็นับว่ายอดเยี่ยม    ปฏิปทา๓    ๔    ประการนี้    คือ
             ๑.    ทุกขาปฏิปทา    ทันธาภิญญา            (ปฏิบัติลำบาก    และรู้ได้ช้า)
             ๒.    ทุกขาปฏิปทา    ขิปปาภิญญา            (ปฏิบัติลำบาก    แต่รู้ได้เร็ว)
             ๓.    สุขาปฏิปทา    ทันธาภิญญา              (ปฏิบัติสะดวก    แต่รู้ได้ช้า)
             ๔.    สุขาปฏิปทา    ขิปปาภิญญา              (ปฏิบัติสะดวก    และรู้ได้เร็ว)
            บรรดาปฏิปทา    ๔    ประการนั้น   

     ทุกขาปฏิปทา  ทันธาภิญญา ปฏิปทานี้บัณฑิตกล่าวว่าเป็นข้อปฏิบัติต่ำทั้ง  ๒ ส่วน คือ เพราะปฏิบัติลำบาก    และเพราะรู้ได้ช้า
     ทุกขาปฏิปทา  ขิปปาภิญญา  ปฏิปทานี้    บัณฑิตกล่าวว่าเป็นข้อปฏิบัติต่ำเพราะปฏิบัติลำบาก
 
     สุขาปฏิปทา    ทันธาภิญญา    ปฏิปทานี้    บัณฑิตกล่าวว่าเป็นข้อปฏิบัติต่ำเพราะรู้ได้ช้า
     สุขาปฏิปทา    ขิปปาภิญญา    ปฏิปทานี้    บัณฑิตกล่าวว่าเป็นข้อปฏิบัติประณีต
ทั้ง    ๒    ส่วน    คือ    เพราะปฏิบัติสะดวก    และเพราะรู้ได้เร็ว
            ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ    นี้คือเทศนาอันยอดเยี่ยมในเรื่องปฏิปทา



ขอบคุณภาพประกอบจาก http://images.thaiza.com
บันทึกการเข้า
แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแต่เรา ปัญญาเกิดขึ้นแล้วแต่เรา วิชชาเกิดขึ้นแล้วแต่เรา

tcarisa

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +9/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 524
  • ก้าวน้อย แต่เป็นก้าวที่ยิ่งใหญ่
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: ธรรมะสาระวันนี้ "ในบุคคล 7 จำพวกนี้ท่านภาวนา"
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: เมษายน 18, 2012, 01:52:57 pm »
0
รอพระอาจารย์ เสริมความรู้คะ

อนุโมทนาสาธุ คะ

  :25: :25: :25:
บันทึกการเข้า
เราเป็นหน่ออ่อน ที่รอการเติบโต
จึงขอสั่งสมบารมีธรรม เพื่อพระนิพพาน

vichai

  • ศิษย์ตรง
  • พอพึ่งพาได้
  • *****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 207
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
คือผมเข้าใจแล้วว่า ถ้าเป็นพวก อุภโตภาวิมุตติ ต้องไปถึงอรูปฌาน แล้วเข้าวิปัสสนา จึง

อยากเรียนถามว่า ปัญญาวิมุตติ ในกรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ นั้นต้องภาวนาอย่างไรครับ

 วิธีการเป็นอย่างไร ครับอยากให้พระอาจารย์แนะแนวทางของ ปัญญาวิมุตติหน่อยครับ คือผมมีความรู้สึกว่า บารมีผมคงทำได้แค่ ปัญญาวิมุตติ เท่าันั้นครับ

 สาธุ


บันทึกการเข้า
มาศึกษาธรรมะ ครับ ยินดีรู้จักทุกท่านที่เป็นกัลยาณมิตร ครับ
เครดิต คุณกบแย้มกะลา

เสริมสุข

  • พอพึ่งพาได้
  • ***
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 223
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ผมติดตาม บทความ ของพระอาจารย์มาโดยตลอด ซึ่งช่วงหลัง ๆมานี่ พระอาจารย์ จะนำพระสูตรมาประกอบในบทความตลอด และมีการจัดเรียง ใส่ภาพประกอบ ซึ่งตรงนี้ผมเองก็เป็นผู้โพสต์ เล็ก ๆ น้อยแต่ก็พอทราบครับ ว่าต้องใช้เวลาในการโพสต์ สูงซึ่งหลังจากได้อ่านพระสูตรแล้ว อาจจะต้องรอพระอาจารย์ เข้ามาอธิบาย หรือ รอเราตั้งคำถามก่อนนะครับ เห็นด้วยครับ ถ้าอ่านไม่เข้าใจก็ถามไปก่อนดีกว่า ครับ

  :25: :c017: :67:
บันทึกการเข้า
อยากได้รับความสุข จาก ธรรมะ อยากได้รับ ..... แหมก็อยากนี้จ๊ะ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0


เจตนา ที่ได้นำเรื่องนี้ มาเสอนให้ท่าน พุทธบริษัท ผู้มีศรัทธาในธรรม ได้เข้าใจในสถานะของตนเอง เวลาภาวนาจะได้ไม่เสียเวลามาก เนื่องด้วยบางท่านบำเพ็ญบารมี ด้านเจโตวิมุตติ มามากกว่า ปัญญาวิมุตติ บางท่านก็ บำเพ็ญปัญญาวิมุตติ มาหลายชาติ เพราะไม่ตั้งความปรารถนาใน ด้านอภิญญา ซึ่งสิ่งที่ท่านมี และ เป็น ในขณะภาวนา ก็คือ อุปนิสัยทางธรรม ที่สั่งสมมาทั้งอดีตชาติ และ ปัจจุบันชาติ ดังนั้นการได้รู้สถานะของตนจะได้ศึกษาภาวนา ให้ถูกทาง เป็นไปในสิ่งที่ควรจะเป็น มิใช่เรียนมากมาย แต่ใช้ประโยชน์อะไรไม่ได้สักอย่าง

  อาตมาเองเมื่อครั้งได้บรรพชาเป็นสามเณร เมื่อ พ.ศ.2527 นั้นก็มุ่งไปในทางด้านสัมมาทิฏฐิ วิปัสสนา แต่ก็มีความสนใจในการปฏิบัติ อานาปานสติ และพยายามฝึกฝน อานาปานสติมาตั้งแต่ครั้งนั้น แต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จ เพราะได้ครูอาจารย์เป็นหนังสือ จึงไม่สามารถผ่าน อุปสรรค ที่เกิดไปได้ ในที่สุดก็พักไว้ จนกระทั่งมาฟื้นฟูในปี พ.ศ. 2549 คิดดูสิ 2532 - 2549 ที่อาตมาทิ้งวิชา อานาปานสติ ไปเป็นเวลาหลายปี จนมาพบครูอาจารย์ ที่แนะนำข้อผิดพล่าด ได้แจ้งกรรมฐาน ไปด้วยทำให้กรรมฐาน ส่วนนี้มีความรุดหน้า ดังนั้น วาสนาบารมี ที่ั่สั่งสมมานั้น อาจจะต้องรอเวลาที่ได้ครูอาจารย์มาถ่ายทอดวิชาธรรม ให้นะจ๊ะ

  กลับมาเรื่องที่ ท่านควรจะรู้ ก็คือท่านควรจะต้องรู้ ว่าท่านตอนนี้จัดอยู่ในบุคคล 7 จำพวกนักภาวนาประเภทไหน ที่อาตมาต้องการให้ท่านรู้ ท่านจะได้สถานะ และเรียนธรรม ให้ถูกกับกาละเทศะ

   ปฏิปทา 4 มีความเกี่ยวข้องกับส่วนนี้

   1.บางท่าน ชอบปฏิบัติ สบาย แต่ก็ได้ผล ช้า   ( ขาดครูอาจารย์ ไม่มีหลักการ บารมียังไม่เต็ม )
   2.บางท่าน ชอบปฏิบัติ สบาย แต่ก็ได้ผล เร็ว ( มีครูอาจารย์ ที่ดี มีธรรมที่ดี มีความถึงพร้อมด้วยบารมี )   
   3.บางท่าน ต้องปฏิบัติ ลำบาก แต่ก็ได้ผล ช้า ( อันนี้ขาดหลายอย่าง ทั้งที่มีความตั้งใจดี )
   4.บางท่าน ต้องปฏิบัติ ลำบาก แต่ก็ได้ผล ( อันนี้มีบารมีเก่า ปฏิบัติได้ตามหลักการ )


  ดังนั้นถ้าท่านรู้ เหต รู้ ผล อย่างนี้แล้ว ก็ควร ใช้ เหตุ และ ผล ให้เป็นประโยชน์ต่อการภาวนาให้มาก ๆ

๑.    อุภโตภาควิมุต (๒ )  (ผู้หลุดพ้นทั้ง    ๒    ส่วน)
    เป็นผู้มีบารมีสะสมมาดี จึงได้สองส่วน ปัจจุบัน มีน้อย เกือบจะไม่มี เป็นผู้เข้าสมาบัติ 8 ได้เป็นต้นไป สำเร็จพระอริยะบุคคลตั้งแต่ พระโสดาบัน เป็นต้นไป
   
๒.    ปัญญาวิมุต( ๓)     (ผู้หลุดพ้นด้วยปัญญา)
   เป็นผู้เจริญ กรรมฐานสายสติ เป็นหลักดำเนินกรรมฐาน อ่อนสมาธิใช้สมาธิ ระดับ ขณิกะสมาธิขึ้นไป หรือฝึก
๓.    กายสักขี (๔)        (ผู้เป็นพยานในนามกาย)
      ผู้เข้าถึง นามกาย แห่งพุทธะ
๔.    ทิฏฐิปัตตะ (๕)      (ผู้บรรลุสัมมาทิฏฐิ)
    เป็นระดับเริ่มต้นของ วิปัสสนาญาณ ทุกท่านเมื่อจะเข้าสู่่ วิปัสสนาก็ต้องเป็น ประเภทนี้
๕.    สัทธาวิมุต (๖)       (ผู้หลุดพ้นด้วยศรัทธา)
    เป็นผู้ถือเอา พระรัตนตรัยเป็นที่พึ่ง กล่าวว่า สัทธาวิมุตติ คือพระโสดาปัตติมรรคเป็นต้นไป
๖.    ธัมมานุสารี (๗)      (ผู้แล่นไปตามธรรม)
    คล้าย ๆ พวกปัญญาวิมุตติ หนักเป็นพุทธิจริต
๗.    สัทธานุสารี (๘)      (ผู้แล่นไปตามศรัทธา

    บุคคลที่ 7 กล่าวว่าเป็น พระสกทาคามี เป็นต้นไป อุชุปฏิปันโน ผู้มุ่งตรงต่อพระนิพพาน

  ดังนั้น เสิ้นทางของ บุคคล 7 นี้ยังมีหลักการข้อปฏิบัิติ เพื่อเป็นไปตามแนวทาง นั้นดั้งนั้นถ้าท่านรู้ความชอบ และความเป็นไปได้ของตนเอง หรือ รุ้จริตของตนเอง การภาวนาก็จะไม่ยาก ไม่ลำบาก ไม่เข้าไปสู่ความยาก


  เจริญพร / เจริญธรรม
   ;)
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: เมษายน 21, 2012, 08:44:49 am โดย arlogo »
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

arlogo

  • 1.บรรพชิต
  • โยคาวจรผล
  • *
  • ผลบุญ: +101/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 1176
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
สัปปุริสธรรม 7 ประการ ธรรมคู่นักภาวนา
« ตอบกลับ #6 เมื่อ: เมษายน 21, 2012, 08:32:53 am »
0



สัปปุริสธรรม 7 ธรรมของคนดี ธรรมของสัตบุรุษ ธรรมที่ทำให้เป็นสัตบุรุษ คุณสมบัติของคนดี

1. ธัมมัญญุตา = รู้จักเหตุ
ความรู้จักธรรม หรือ รู้จักเหตุ คือ รู้หลักความจริง รู้หลักการ รู้หลักเกณฑ์ รู้กฎแห่งธรรมดา รู้กฎเกณฑ์แห่งเหตุผล รู้จักวิเคราะห์สาเหตุของสถานการณ์และรู้หลักการที่จะทำให้เกิดผล อาทิ นักเรียนรู้ว่าจะเรียนอย่างไร ต้องปฏิบัติอย่างไร ภิกษุรู้ว่าหลักธรรมข้อนั้นๆ คืออะไร มีอะไรบ้าง พระมหากษัตริย์ทรงทราบว่าหลักการปกครองตามราชประเพณีเป็นอย่างไร มีอะไรบ้าง รู้ว่าจะต้องกระทำเหตุอันนี้ หรือกระทำตามหลักการข้อนี้ จึงจะให้เกิดผลที่ต้องการอันนั้น เป็นต้น
2. อัตถัญญุตา = รู้จักผล
ความรู้จักอรรถ รู้ความมุ่งหมาย หรือ รู้จักผล คือ รู้ความหมาย รู้ความมุ่งหมาย รู้ประโยชน์ที่ประสงค์ รู้จักผลที่จะเกิดขึ้นสืบเนื่องจากการกระทำหรือความเป็นไปตามหลัก เช่น รู้ว่าหลักธรรมหรือภาษิตข้อนั้นๆ มีความหมายว่าอย่างไร หลักนั้นๆ มีความมุ่งหมายอย่างไร กำหนดไว้หรือพึงปฏิบัติเพื่อประสงค์ประโยชน์อะไร การที่ตนกระทำอยู่มีความมุ่งหมายอย่างไร เมื่อทำไปแล้วจะบังเกิดผลอะไรบ้างดังนี้เป็นต้น
3. อัตตัญญุตา = รู้จักตน
ความรู้จักตน คือ รู้ว่าตัว เรานั้น ว่ามีสถานภาพเป็นอะไร ฐานะ ภาวะ เพศ กำลัง ความรู้ ความสามารถ ความถนัด และคุณธรรม เป็นต้น ว่าขณะนี้ เท่าไร อย่างไร แล้วประพฤติให้เหมาะสม และรู้ที่จะแก้ไขปรับปรุงต่อไป
4. มัตตัญญุตา = รู้จักประมาณ
ความรู้จักประมาณ คือ ความพอดี เช่น ภิกษุรู้จักประมาณในการรับและบริโภคปัจจัยสี่ คฤหัสถ์รู้จักประมาณในการใช้จ่ายโภคทรัพย์ นักเรียนรู้จักประมาณ กำลังของตนเองในการทำงาน รัฐบาลรู้จักประมาณการเก็บภาษีและการใช้งบประมาณในการบริหารประเทศ เป็นต้น
5. กาลัญญุตา = รู้จักกาล
ความรู้จักกาล คือ รู้กาลเวลาอันเหมาะสม และระยะเวลาที่จะต้องใช้ในการประกอบกิจ กระทำหน้าที่การงาน เช่น ให้ตรงเวลา ให้เป็นเวลา ให้ทันเวลา ให้พอเวลา ให้เหมาะเวลา เป็นต้น
6. ปริสัญญุตา = รู้จักชุมชน
ความรู้จักบริษัท คือ รู้จักกลุ่มบุคคล รู้จักหมู่คณะ รู้จักชุมชน และรู้จักที่ประชุม รู้กิริยาที่จะประพฤติต่อชุมชนนั้นๆ ว่า ชุมชนนี้เมื่อเข้าไปหา ต้องทำกิริยาหรือปฏิบัติแบบนี้ จะต้องพูดอย่างไร ชุมชนนี้ควรสงเคราะห์อย่างไร เป็นต้น
7. ปุคคลปโรปรัญญุตา = รู้จักบุคคล
ความรู้จักบุคคล คือ ความแตกต่างแห่งบุคคลว่า มีอัธยาศัย มีความสามารถ มีคุณธรรม เป็นต้น ผู้ใดหยิ่งหรือหย่อนอย่างไร และรู้ที่จะปฏิบัติต่อบุคคลนั้นๆ ด้วยดี ว่าควรจะคบหรือไม่ จะใช้ จะตำหนิ หรือยกย่อง และแนะนำสั่งสอนอย่างไร เป็นต้น
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: เมษายน 21, 2012, 08:37:47 am โดย arlogo »
บันทึกการเข้า
แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแต่เรา ปัญญาเกิดขึ้นแล้วแต่เรา วิชชาเกิดขึ้นแล้วแต่เรา