ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ขอให้พระอาจารย์ อธิบายความหมาย ของปีติทั้ง 5  (อ่าน 7237 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

wiriya

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 53
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ขอให้พระอาจารย์ อธิบายความหมาย ของปีติทั้ง 5 อีกสักครั้งครับ

ผมหาอ่านไม่เจอในกระทูครับ
 :25:
บันทึกการเข้า
รักครอบครัว ห่วงลูกหลาน ต้องช่วยต้าน ภัยยาเสพติด
รักตนเอง หนีสงสาร ต้องภาวนาให้ มาก ๆๆๆๆๆ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7250
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: ขอให้พระอาจารย์ อธิบายความหมาย ของปีติทั้ง 5
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: ธันวาคม 20, 2010, 02:45:48 pm »
0
ความหมายของ ปีติ
   ความอิ่มใจ ความปราโมทย์ ความยินดียิ่ง ความบันเทิง ความร่าเริง ความรื่นเริง ความปลื้มใจ ความตื่นเต้น ความที่จิตชื่นชมยินดี

ลักษณะปีติ ๕ ประการ
พระขุททกาปีติเจ้า   มีอุปจารสีขาวต่าง ๆ มี ลักษณะ ๔ ประการ ให้มึนตึง แลหนัก แลเย็น ให้ขนลุกหนังศีรษะพองสยองเกล้า

พระขณิกาปีติเจ้า   มีลักษณะ ๙ ประการ อนึ่งให้ เกิดในจักขุทวารเป็นสายฟ้าแลบ เป็นประกาย เหมือนตีเหล็กไฟนั้นก็มี อนึ่งเกิดในทวารนั้นเป็นดังปลาตอดก็มี เกิดเหมือนเอ็นชักก็มี เกิดดังแมลงเม่าบินจับไต่ที่ตัวก็มี เกิดร้อนทั่วตัวและเกิดในหัวใจนั้น สั่นก็มี ไหวก็มี เกิดในการดูเอ็นเหลืองแลขาวดังไฟไหม้น้ำมันยางลามไปที่น้ำก็มี

พระโอกกันติกาปีติ   มีลักษณะ ๖ ประการ เกิดดังฟองน้ำนั้นก็มี เป็นน้ำกระเพื่อมก็มี เกิดดังขี่เรือต้องละลอกคลื่นก็มี เกิดดังไม้ปักไว้ที่กลางสายน้ำไหลสั่นระรัวอยู่ก็มี เกิดดังหัวใจและท้องน้อยผัดผันอยู่ก็มี เกิดเป็นลมพัดขั้นทั่วกายก็มี

พระอุพเพงคาปีติ   มีลักษณะ ๗ ประการ ให้กายสูงขึ้นให้กายเบา ให้กายลอยขึ้น ให้กายเยิบ ๆ แยบ ๆ เหมือนไรไต่ก็มี ให้ลงท้องเป็นบิดก็มี บางทีเป็นไข้อยู่ก็มี

พระผรณาปีติเจ้า   มีลักษณะ ๖ ประการ ให้กายนั้นพรายก็มี เกิดให้กายเย็นประดุจอาบน้ำเกิดให้กายเย็นซาบไปทั่วกายเหมือนลงแช่น้ำก็มี
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ธันวาคม 20, 2010, 02:49:02 pm โดย arlogo »
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

winyuchon

  • ศิษย์ตรง
  • กำลังแหวกกระแส
  • *****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 125
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: ขอให้พระอาจารย์ อธิบายความหมาย ของปีติทั้ง 5
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: พฤษภาคม 23, 2012, 12:58:21 pm »
0

ขอบคุณภาพจาก คุณประสิทธิ์
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=7623.0
บันทึกการเข้า

สมภพ

  • มีเหตุมีผล
  • ****
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 485
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: ขอให้พระอาจารย์ อธิบายความหมาย ของปีติทั้ง 5
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: พฤษภาคม 27, 2012, 07:19:46 am »
0
ปีติเจตสิก

ปีติเจตสิกในคัมภีร์พระอภิธรรม มีการกล่าวถึงปีติ ในลักษณะที่เป็นเจตสิก(คือ ธรรมชาติ
ที่อาศัยจิตเกิด) เรียกว่า ปีติเจตสิก มีลักษณะดังนี้ คือ

มีความแช่มชื่นใจในอารมณ์ เป็นลักษณะ
มีการทำให้อิ่มกายอิ่มใจ หรือทำให้ซาบซ่านทั่วร่างกาย เป็นกิจ
มีความฟูใจ เป็นผล
มีนามขันธ์๓ ที่เหลือ (เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ วิญญาณขันธ์) เป็นเหตุใกล้
ธรรมชาติของปีตินี้ เมื่อเกิดขึ้นกับใคร ย่อมทำให้ผู้นั้นรู้สึกปลาบปลื้มใจ มีหน้าตาและ
กายวาจา ชื่นบานแจ่มใสเป็นพิเศษ บางทีก็ทำให้รู้สึกซาบซ่านไปทั่วร่างกาย ซึ่งเกิดจาก
ปีติแผ่ซ่านไปทั่วร่างกายนี่เอง และทำให้จิตใจของผู้นั้นแช่มชื่น เข้มแข็ง ไม่รู้สึกเหนื่อย
หน่ายต่ออารมณ์

อาการปรากฏของปีตินี้ คือ ทำให้จิตใจฟูอื่มเอิบขึ้นมา

ปีติจะเกิดขึ้นได้นั้น ย่อมต้องอาศัยนามขันธ์๓ คือ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ วิญญาณ
ขันธ์ เป็นเหตุใกล้ให้เกิด

เวทนาขันธ์ที่เป็นเหตุใกล้ให้เกิดปีตินั้น ย่อมอาศัยสุขเวทนา เป็นต้น เป็นเหตุให้ปีติเกิด
ด้วยเหตุนี้เอง บางทีเราเข้าใจว่า ปีติและสุขเป็นอันเดียวกัน แยกจากกันไม่ได้ แต่ความ
จริงนั้นปีติกับสุขต่างกัน คือ ปีติเป็นสังขารขันธ์ สุขเป็นเวทนาขันธ์ และเมื่อมีปีติจะต้องมี
สุขเสมอแน่นอน แต่ว่าเมื่อมีสุข อาจจะไม่มีปีติด้วยก็ได้

ข้อความจาก วิกิพีเดีย
บันทึกการเข้า

Admax

  • ผู้อุปถัมภ์
  • โยคาวจรผล
  • ****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 1063
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: ขอให้พระอาจารย์ อธิบายความหมาย ของปีติทั้ง 5
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: พฤษภาคม 28, 2012, 03:49:36 pm »
0
- ความปิติที่ผมสัมผัสได้ในตอนนี้เป็นดั่งท่านสมภพกล่าวทั้งหมด เมื่อเวลาผมอยู่ในอารมณ์สมถะตอนนี้ จนถึงสงบนิ่งไปทั้งหมดเหมือนทุกอย่างหยุดนิ่ง เหมือนตัดขาดจากห่วงเวลาของโลก และเมื่อไปซักพักเหมือนมันผัสสะได้แต่จิตและเจตสิกตนเอง แล้วช่วงนี้แหละที่สติเกิดรู้และพิจารณาธรรมของผมจนถึงทุกวันนี้

- แต่หากสมัยก่อนที่ว่ากายโยกเยก อาการเหมือนเบาลอย ก็เคยมี แต่สภาพนี้ผมเรียกว่าสภาพของสมาธิที่กำลังเกิดขึ้นแก่จิตแต่ยังไม่มีการจดจ่อเพียงพอเป็นจุดเกียวได้นาน และ ยังขาดความนุ่มสงบของจิตในอารมณ์สมถะ ผมเลยไม่เรียกอาการนี้ว่าความปิติอิ่มเอมใจ

- แต่เมื่อได้ท่านพระคุณเจ้า arlogo ได้อธิบายถึงความปิติในทางธรรมแห่งมัชฌิมาให้ผมเข้าใจละเอียดขึ้นแบบเช่นเดียวกับพระคุณเจ้า ธัมมะวังโส อธิบายบอกกล่าว ผมก็เลยละความติดข้องใจทุกอย่างไว้แล้วพึงรู้ในสภาพจริงที่เกิดแก่ตนเอง มันจะเรียกอะไรกันยังไงก็คือบัญญัติหนึ่งๆเท่านั้น แต่การจะเผยแพร่ให้ถูกต้องและตรงตามจริงไม่ให้พระพุทธศาสนาบิดเบือนก็ต้องอาศัยรู้ในความหมายจริงที่พระพุทธเจ้าตรัสสอน ซึ่งทั้ง 2 นั้นอาจเป็นสิ่งเดียวกันโดยแยกของสภาพปฏิบัติกับสภาพของอภิธรรมก็ได้ ซึ่งจะเรียกอย่างไรก็ขึ้นอยู่กับการกล่าวในสถานะภาพนั้นๆ เช่นเดียวกับคำว่าสังขาร มีทั้งที่เป็นเฉพาะเจตสิกความนึกคิดปรุงแต่งที่เกิดประกอบจิต(โดยหากในปฏิจจฯ หมายถึงสิ่งนี้ นั่นคือสังขารขันธ์) และ สังขาร ที่รวมทั้งรูปและนามเข้าด้วยกันที่เป้นทั้งหมดนั่นคือกายและใจทั้งหมดนี้ จึงตั้งบัญญัตินี้ว่าเป็นสังขารธรรม ซึ่งทั้งหมดก็คือ สังขาร แต่ใช้ในส่วนธรรมปฏิบัติที่ต่างกันจึงให้ความหมายในสภาพธรรมที่ต่างกัน

- สิ่งที่พระคุณเจ้า พระครูทั้งหลายอธิบายสอนเป็นประโยชน์มากแก่ผม รวมทั้งท่านสมภพ และ ท่านผู้รู้อีกทั้งหลายที่กล่าวอธิบายก็เป็นประโยชน์ยิ่งกับผมมาก ผมมีความยินดีและขอความกรุณาในการเผยแพร่และสอนธรรมของท่านทั้งหลายด้วยใจเคารพครับ

หากกล่าวผิดพลาดประการใดก็อดโทษแก่ผมและอโหสิกรรมให้ด้วยครับ
บันทึกการเข้า
ความติดข้องใจเสพย์อารมณ์ความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น สมุทัย
ผลของการดำเนินไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น ทุกข์
รู้สัจธรรมและปรมัตถ์ ดำรงอยู่ในกุศล สติ ศีล สมาธิ พรหมวิหาร๔ คิดดี พูดดี ทำดี เป็น มรรค
การดับไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี ถึง อัพยกตธรรม เป็น นิโรธ