ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ผมควรจัดการอย่างไร ถึงจะได้ใจลูกค้า.....  (อ่าน 2849 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

bomp

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 72
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0

ขอบคุณภาพประกอบจาก http://www.holidaythai.com/
 
ผมขับรถวินมอร์เตอร์ไซค์ ครับ ขับมาหลายเดือน จนกระทั่งมีลูกค้าผู้หญิงท่านหนึ่ง ก็จะเรียกรถเป็นประจำ วันหนึ่งผมก็ขับรถส่งพี่เขาไปตามปกติ แต่วันนั้น โดนรถทหารแซงเบียด รถติดนะครับ คือเราจะผ่านไปในช่องมอร์เตอร์ไซค์ รถใหญ่ก็แซงเลี้ยวออกมาเอาหน้าปิดช่อง ทำให้รถเสียหลักเกือบล้ม ด้วยความเป็นห่วงพี่เขาผมก็ถามว่าเป็นอะไรหรือไม่ พี่ก็ตอบว่าไ่ม่เป็นไร แค่ลงไปยืนเท่านั้น คือนั่งแบบผู้หญิง ( ไม่ใช่นั่งคร่อม ) รถตะแครงก็เลยลงไปยืน ไม่ได้ขับเร็ว เพราะรถติด สภาพใน กทม. ก็รู้ ๆ กันอยู่

   เพื่อแสดงความเป็นผู้รับผิดชอบต่อผู้โดยสาร ผมก็เลยไปถีบประตูรถ พี่ทหาร แล้วบอกว่า พี่ เห็นไหม ว่าพวกผมเกือบเป็นอันตรายแล้ว พี่ทหาร ก็หันมามองแต่ไม่พูดอะไร ทำท่า ควาน ๆ หาอะไรอยู่ ( จะมีด หรือ ปืน หรือ โทรศัพท์ ) ไม่แน่ใจ เห็นขับรถถอยหน้าออกมาผมก็พาผู้โดยสารจากไปทันที

   ตั้งแต่วันนั้นมา พี่คนนี้ไม่เรียกรถ ผมอีก

   ผมก็มานั่งนึก ว่า ในกลุ่มวิน ผมขับรถุช้า ทำตามกฏจราจร ดีที่สุด ในกลุ่มแล้ว ไม่แซง ไม่พาให้หวาดเสียว ไม่ฝ่าไฟแดง แต่เหตุการณ์ทำให้ผมเสียลูกค้า อย่างน้อย 15 คน เพราะ ทีม พี่ นี้ไม่ขึ้นรถผมเลย แสดงว่า ต้องไม่พอใจ ในพฤติกรรมผมบางอย่าง ทั้ง ๆ ที่ผมเองที่แสดงออกก็เพื่อ เทคแคร์ลูกค้า

  หรือ ท่านชาวธรรม มีความเห็นว่าอย่างไรครับ

  โปรดแนะนำผมด้วย


  thk56
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มีนาคม 15, 2013, 01:50:14 pm โดย bomp »
บันทึกการเข้า

pornpimol

  • ศิษย์ตรง
  • กำลังแหวกกระแส
  • *****
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 152
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: ผมควรจัดการอย่างไร ถึงจะได้ใจลูกค้า.....
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: มีนาคม 20, 2013, 03:22:41 pm »
0
คิดว่า การดูแล ลูกค้า มีหลายวิธี คะ เช่น ลดค่าโดยสาร วิ่งให้ฟรี บ้างเป็นบางครั้ง อาสาช่วยงานบ้าง

    st12
บันทึกการเข้า

Admax

  • ผู้อุปถัมภ์
  • โยคาวจรผล
  • ****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 1063
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: ผมควรจัดการอย่างไร ถึงจะได้ใจลูกค้า.....
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: กันยายน 10, 2013, 08:07:51 pm »
0
จุดที่เธอถีบประตูรถทหารนั่นแหละ เป็นสิ่งที่ทำให้เขาหวาดกลัว กลัวต่อภัยภายหน้าที่จะเกิดแก่เขา กลัวคุณจะทำร้ายเขาบ้าง อันนี้คือผลของความโกรธ เห็นไหมมันร้ายแรงมากๆ ผู้ที่อบรมมาดีแล้วมีปัญญาอยู่เหนืออารมณ์ความรู้สึกแล้ว ย่อมไม่เอาตนเองเข้าไปร่วมหรือเสพย์ในความรัก โลภ โกรธ หลง เพราะมันเป็นทุกข์ ทุกข์จากความร้อนรุ่มของกิเลสทั้งหลายนี้ ดังนั้นเธอแค่ปฏิบัติดังนี้

1. พึงเจริญจิตให้เห็นอยู่ทุกขณะว่าขณะนี้เราเกิด รัก โลภ โกรธ หรือ หลงอยู่
2. พึงเจริญเจตนาตั้งมั่นว่าขณะที่เราทำงานอยู่นี้ เราจะไม่กระทำการเบียดเบียนทำร้ายใครๆทางกาย
3. พึงเจริญเจตนาตั้งมั่นว่าขณะที่เราทำงานอยู่นี้ เราจะไม่โกหก ว่ากล่าว ด่าทอ ส่อเสียด พร่ำเพ้อ เพ้อใจต่อใครๆทางวาจา
4. พึงเจริญเจตนาตั้งมั่นว่าขณะที่เราทำงานอยู่นี้ เราจะไม่ทำอะไรทางกายและวาจาไปตามความโลภ กำหนัดยินดีใคร่ได้ ความโกรธ และ ความหลง คือ จะกระทำให้กาย วาจา สุจริตผ่องใส ทำงานด้วยจิตแจ่มใส เบิกบานไม่เศร้าหมองใจ(อันนี้เรียกว่าทำงานด้วยกายและวาจาเป็นกุศล จะทำงานดำเนินไปทางใดก็แจ่มใสไม่เศร้าหมองด้วยอกุศล)
5. พึงเจริญเจตนาตั้งมั่นว่าขณะที่เราทำงานอยู่นี้ เราจะไม่ใช้อารมณ์ความรู้สึกเป็นใหญ่ แต่ใช้เหตุผลและความวางใจไว้กลางๆโดบพึงระลึกไว้ในใจว่า เราไปคล้อยตามหรือติดข้องใจสิ่งไรๆไปไม่ว่าจะเป็น รัก โลภ โกรธ หลง ย่อมนำความร้อนรุ่มร้อนรนใจ และ นำความทุกข์มาให้ แก่คุณิ เหมือนตอนที่คุณซ้อนพี่สาวเขาไปแล้วถีบรถทหารนั้นด้วยความโกรธ จากการพอใจที่จะทำตามอารมณ์ความรู้สึกนั้นทำให้คุณเสียลูกค้าไปคนหนึ่ง จนคุณเศร้าหมองร้อนรนใจอย่างนี้ ดังนั้นควรละมันไปเสียอย่าไปติดข้องใจในความพอใจยินดีและไม่พอใจยินดีนั้นๆเพราะมันเป็นทุกข์ ดังนั้นอย่าไปติดข้องใจมันแล้ววางใจไว้กลางๆเสียคุณก็จะไม่ร้อนรุ่มร้อนรนใจไม่เศร้าหมองใจอีกแน่นอน

- อย่างนี้เรียกว่า อุเบกขา ที่เกิดด้วยการเห็นธรรมตามจริงในเบื้องต้นดังนี้คือ วิปสฺสนูเปกขา วิปสฺสนูเปกขา อุเบกขาในวิปัสสนา อันเกิดจากเห็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา และ สงฺขารุเปกขา อุเบกขาในสังขาร คือการไม่ยึดมั่นถือมั่นในขันธ์ 5

* สุดท้ายสิ่งไรๆที่มันผ่านมาแล้ว ด้วยการกระทำทางกาย วาจา ใจ ไปตามความรู้สึกใดๆของคุณนั้น มันเกิดขึ้นมาแล้ว ตามผลของการกระทำโดยเจตนา(กรรม)นั้น นี่เรียกว่าผลของกรรม ดังนั้นสิ่งไรๆมันจะเกิดมันก็ต้องเกิดเราไม่สามารถไปห้ามมันหรือย้อนเวลากลับไปเพื่อไม่ทำได้ คุณก็ควรละความติดข้องใจจากสิ่งที่ผ่านมาแล้วนั้นแล้วยอมรับผลของมัน อยู่กับปัจจุบันที่ว่าสิ่งที่คุณควรจะทำในตอนนี้คือ ทำงานแล้วเจริญกายวาจาใจดั่ง 5 ข้อนั้น


      อุเบกขาใด คือวิปัสสนาปัญญาพิจารณาบาปธรรมและองค์ที่พึงละมีนิวรณ์เป็นต้น ( ที่ข่มไว้และละได้ด้วยฌาน
ตามลำดับแล้วให้เห็นตามสภาพ ) แล้วตกลงใจวางเฉยในอันจะถือเอา ( สิ่งที่ละแล้วเหล่านั้นอีกเพราะเห็นโทษ )
อันมา ( ในบาลี ) อย่างนี้ว่า " ถามว่าสังขารุเบกขาเท่าไรเกิดขึ้นด้วยอำนาจสมาธิ สังขารุเบกขาเท่าไรเกิดขึ้นด้วย
อำนาจวิปัสสนา ? ตอบว่า สังขารุเบกขา ๘ เกิดขึ้นด้วยอำนาจสมาธิ สังขารุเบกขา ๑๐ เกิดขึ้นด้วยอำนาจวิปัสสนา "

ดังนี้เป็นต้น อุเบกขานี้ชื่อว่า สังขารุเบกขา

      ส่วนอุเบกขาใดที่หมายรู้ด้วยไม่ทุกข์ไม่สุข อันมา ( ในบาลี ) อย่างนี้ว่า " ในสมัยใดจิตเป็นกามาวจรกุศลเกิดขึ้นสหรคต ( ประกอบ ) ด้วยอุเบกขา " ดังนี้เป็นต้น อุเบกขานี้ชื่อว่า เวทนูเบกขา ส่วนอุเบกขาใดเป็นอาการที่วางเฉยในการเฟ้น ( สังขาร ) อันมา ( ในบาลี ) อย่างนี้ว่า " สิ่งใดมี สิ่งใดเป็นพระโยคาวจรละสิ่งนั้นเสีย ย่อมได้อุเบกขา " ดังนี้ อุเบกขานี้ชื่อว่า วิปัสสนูเบกขา


ที่อธิบายถึงอุเบกขา 10 นี่เพราะอาจจะมีผู้ปฏิบัติบางท่านยังไม่รู้ อาจจะคิดว่า อุเบกขามีแค่ในพรหมวิหาร๔ ซึ่งผมเองก็เคยโง่ไม่รู้เช่นกัน จนปฏิบัติเห็นทางเข้าออกของอุเบกขา ก็เห็นว่ามีมากขึ้นจนมีท่านหนึ่งในเวบนี้ได้ชี้บอกแก่ผมว่าอุเบกขามี 10 อย่าง ไม่ได้มีแค่ในพรหมวิหาร๔ ผมจึงเจริญปฏิบัติให้เห็นตามทั้งหมด แล้วได้วิธีที่เกิดประโยชน์ด้วยปัญญาอันน้อยนิดของผมในการพิจารณาเข้าด้วยความไม่ติดข้องใจใดๆทั้งความพอใจยินดีและความไม่พอใจยินดีด้วยเห็นโทษของมันแล้วก็เลือกในธรรมมารมณ์ที่ควรเสพย์(ตามที่พระพุทธเจ้าตรัสสอนแก่พระสารีบุตรไว้ดีแล้ว)ดังนี้ จะง่ายต่อผู้ที่เพิ่งหัดระลึกรู้ตามกาย วาจาใจตน หรือ ผู้ที่ไม่ได้เจริญปฏิบัติมาก่อนใน สมาธิ ศีล พรหมวิหาร๔ และ ทาน และอย่างไรก็ดีธรรมทั้งหลายที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ดีแล้วควรเจริญควบคู่กันไปจึงจะเกิดผลดี ให้ผลได้ไม่จำกัดกาลอย่างแท้จริงครับ ข้อธรรมทั้งหลายทั้งปวงทุกอย่างเป็นแค่แนวทางที่ตถาคตตรัสไว้ดีแล้ว ส่วนจะได้ไม่ได้ เห็นไม่เห็น รู้ไม่รู้ ถึงไม่ถึง มันอยู่ที่กายและใจเราเท่านั้น ตถาคตไม่เคยให้ส่งจิตออกนอกไปดูใครสิ่งใดภายนอก ตถาคตสอนให้ดูกายและใจตนเท่านั้น รู้ก็รู้ได้เฉพาะตนดังนี้ ครับ หวังว่ามันจะเป็นประโยชน์แก่ท่านเจ้าของกระทู้และผู้มาอ่านกระทู้นี้ทั้งหลายนะครับ


- สุดท้ายนี้บุญใดที่ผมได้เจริญปฏิบัติดีมาแล้ว ได้เผยแพร่ธรรมที่ถูกและตรงตามที่พระตถาคตตรัสสอนมาดีแล้วนั้น ก็ขอให้บุญนั้น ทำคุณเจริญในธรรมที่พระตถาคตตรัสสอนไว้ดีแล้วได้โดยไว มีความผ่องใส ไม่เศร้าหมอง มีกาย วาจา ใจสุจริต ดับจาก กาม ราคะ โมหะ และ พยาบาททั้งหลายนี้ด้วยเทอญ เพื่อให้งานของคุณดำเนินไปได้ด้วยดีไม่มีอุปสรรค สาธุ สาธุ สาธุ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กันยายน 10, 2013, 08:22:13 pm โดย Admax »
บันทึกการเข้า
ความติดข้องใจเสพย์อารมณ์ความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น สมุทัย
ผลของการดำเนินไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น ทุกข์
รู้สัจธรรมและปรมัตถ์ ดำรงอยู่ในกุศล สติ ศีล สมาธิ พรหมวิหาร๔ คิดดี พูดดี ทำดี เป็น มรรค
การดับไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี ถึง อัพยกตธรรม เป็น นิโรธ