ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ต้นแบบที่สมเด็จโต นำไปสร้างพระสมเด็จพิมพ์ต่างๆ ของวัดระฆัง อยู่ที่วัดกุฎีทอง  (อ่าน 8491 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0

พระกรุวัดกุฎีทอง

กรุวัดกุฎีทองมีบันทึกระบุว่าพบพระสมเด็จวัดระฆังและสมเด็จบางขุนพรหมในกรุนี้ด้วยหลายองค์ และพระส่วนใหญ่ที่พบในกรุนี้มีมากกว่า ๕๐ แบบพิมพ์ ส่วนใหญ่จะเป็นพิมพ์สมเด็จเส้นด้าย ฝีมือช่างชาวบ้านและมวลสารท้องถิ่นหนักไปทางก้านธูป ปูนขาวและเปลือกหอย


เนื้อพระจะเป็นเนื้อปูนผสมผง เนื้อแห้ง มีคราบกรุทั้งฟองเต้าหู่และคราบดินทราบติดอยู่  มีทั้งสีขาว เหลืองอ่อน ครีม น้ำตาลอ่อน เขียวอ่อนแบบธูปเขียว ถ้าเป็นสีเขียวหินลับมีด จะมีราคาสูงกว่าเพราะมีน้อย


เอกลักษณ์สำคัญอันหนึ่งของพระกรุนี้คือ จะมีชิ้นทองคำฝังอยู่ที่เนื้อขององค์พระที่ด้านหน้ามองเห็นได้ด้วยตาเปล่า  จำนวนชิ้นทองคำนี้ไม่แน่นอน เริ่มตั้งแต่ไม่ฝังไว้เลยก็มี ไป ๓,๕,๗ ถึง ๙ แผ่นเลยก็มี ซึ่งหายากนัก และสูงค่าที่สุด


แผ่นทองคำนี้ เป็นเอกลักษณ์ประจำพระกรุนี้ เพราะสันนิษฐานกันว่า ได้นำทองคำที่พระเจ้าปราสาททองหุ้มกุฏิพระอาจารย์ดี หลังจากได้ทรงขึ้นครองราชตามคำทำนาย ภายหลังเมื่อกุฏิหลังดังกล่าวได้ชำรุดผุพังลงตามกาลเวลา แต่แผ่นทองทำยังมิได้ผุพังลงไปด้วย บุรพาจารย์ทั้งสองท่านจึงได้ดำรินำมาฝังไว้บนองค์พระเพื่อให้ผู้คนได้จดจำกราบไหว้


ถ้าข้อสันนิษฐานและตำนานวัดกฎีทองนี้เป็นจริง แผ่นทองบนองค์พระกรุนี้ต้องเป็น แผ่นทองคำแท้ ซึ่งจะเป็นข้อบงชี้ได้ว่าพระองค์ไหนแท้ หรือพระองค์ไหนไม่แท้


เพื่อประกอบข้อพิจารณานี้ ผมมีภาพแผ่นทองคำที่ว่านี้บนพระแท้ และพระไม่แท้มาเปรียบเทียบกันให้ชมจากพระแท้ สามภาพข้างบนสภาพของแผ่นทองคำยังไม่ผุกร่อนเลย แม้จะอยู่ในกรุผ่านวันเวลามานานเท่าใดก็ตาม ส่วนพระไม่แท้ นอกจากเนื้อพระจะผิดแปลกไปแล้ว แผ่นทองก็จะเป็นแบบสองภาพข้างล่างนี้


ภาพจากพระไม่แท้ แผ่นทองจะมีสภาพผุกร่อน แปรสภาพไปอย่างที่เห็น แบบนี้ก็ไม่ใช่ทองคำซิครับ !



วัดกุฎีทอง ตำบลท่าวาสุกรี อำเภอพระนครศรอยุธยา จังหวัดพระนครศรอยุธยา เป็นวัดเก่าโบราณ จากหลักฐานอิฐและปูนที่ใช้ก่อสร้างกำแพงแก้วใกล้พระอุโบสถ เป็นอิฐและปูนก่อนสมัยสร้างกรุงศรีอยุธยา เฉกเช่นเดียวกับ วัดพนัญเชิง วัดธรรมิกราช เป็นต้น

ที่มาของชื่อวัด กุฎีทอง จากหลักฐานและท่านผู้ใหญ่เล่าสืบต่อๆกันมามีบันทึกตำนานพระอิศวรในรัชสมัยแผ่นดินสมเด็จพระเอกาทศรถ ราวปีพ.ศ.๒๑๔๘ ว่า พระองค์ไล (สมเด็จพระเจ้าปราสาททอง) เป็นบุตรออกญาศรีธรรมมาธิราชซึ่งเป็นภาดาของพระราชชนนีสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม พระองค์ไลรับราชการ ในกรมมหาดเล็ก ได้เป็นที่เจ้าหมื่นสรรเพช แล้วเลื่อนเป็นออกญาศรีวรวงศ์จางวางมหาดเล็ก



      เมื่อสมเด็จพระเจ้าทรงธรรมสวรรคตแล้ว จึงได้เลื่อนขึ้นเป็นที่สมุหพระกลาโหม เพื่อค้ำจุนการสือราชบัลลังก์สู่พระราชโอรส(สมเด็จพระเชษฐาธิราช) แล้วต่อมาจึงได้ปราบดาภิเษาเป็นพระมหากษัตริย์ครองราชสืบต่อไป

     วันหนึ่งพระองค์ไลมีความประสงค์อยากรู้ดวงชะตาราศีของท่าน
     จึงได้มาที่วัดกุฎีทองเพื่อให้อาจารย์ดี (หลวงพ่อดี) เจ้าอาวาสช่วยตรวจดูดวงชะตาของพระองค์
     พระองค์ได้เดินทางข้ามฝากที่ท่าสิบเบี้ย ถึงวัดเป็นเวลาเกือบเพล
     ขณะนั้น อาจารย์ดีกำลังนั่งวิปัสสนากรรมฐานอยู่ในกุฏิ
     พระองค์ไลจึงออกไปนั่งรออยู่ที่ศาลาท่าน้ำ เมื่อถูกลมพัดเย็นๆ ก็ลืมองค์เอนกายลงนอนหลับไป


     จนกระทั่งได้ยินเสียงเด็กวัดตีกลองเพล ตื่นขึ้น เมื่อท่านอาจารย์ดีฉันเพลแล้ว
     พระองค์ไลได้ยินท่านอาจารย์ดีพูดกับเด็กวัดว่า "วันนี้มีผู้มีบุญมาที่วัดเรา"
     เด็กวัดจึงถามว่า
    "กระผมไม่เห็นมีผู้ใดขี่ม้าขาว แต่งเครื่องเต็มยศ  หรือขึ้นคานหามมีขบวนแห่ ที่ไหนมาในวัดเราเลยขอรับหลวงพ่อ"
     ท่านอาจารย์ดีจึงตอบว่า "ที่นั่งรออยู่ที่ศาลาท่าน้ำนั่นแหละ ผู้มีบุญนัก ไปตามมาหาหลวงพ่อไวๆ"

     เมื่อเด็กวัดไปตามพระองค์ไลมาพบแล้ว ท่านก็ถามพระองค์ไลถึงความประสงค์ที่มาวัด พระองค์ไลก็กราบเรียนหลวงพ่อว่า
     "ข้าฯ ต้องการมาตรวจดวงชะตา แล้วที่อาจารย์พูดกับเด็กว่า ผู้มีบุญมาที่วัดกระนั้นรึ เป็นใครที่ไหนรึ ขอรับอาจารย์"
     หลวงพ่อตอบว่า "ก็....พ่อหนุ่มนี่แหละ"
     พระองค์ไลทรงประหลาดใจจึงถามต่อไปอีกว่า
     "อาจารย์ยังไม่ได้ตรวจดูดวงชะตาของข้าฯ เลย แล้วจะรู้ได้เช่นไร..?"
     หลวงพ่อตอบว่า
    "ได้ยินเสียงกรน เมื่อนอนหลับอยู่ที่ศาลาท่าน้ำ เสียงดังเหมือนฆ้องไชยดังหึ่มๆ
     นั่นแหละตามตำราว่า เสียงของผู้มีบุญนัก"



    ต่อจากนั้นพระองค์ไลก็กราบเรียนแจ้ง วัน เดือน ปีเกิด ให้หลวงพ่อทราบ เมื่อหลวงพ่อผูกดวงแล้วถึงกับสะดุ้ง และนั่งนิ่งไปพักใหญ่
     พระองค์ไลกราบเรียนถามว่า "อาจารย์นิ่งอยู่ด้วยเหตุอันใดขอรับ"
     เมื่อพระองค์ไลกราบเรียนซักถามบ่อยครั้งขึ้น หลวงพ่อก็ค่อยๆ กระซิบบอกขณะที่ไม่มีผู้อื่นในที่นั้น
     "อย่าได้เอ่ยที่ใดเป็นอันขาด เมื่อถึงกาลเหมาะสมไม่นาน พ่อหนุ่มจะได้เป็นพระเจ้าแผ่นดิน"

     ในสมัยก่อนนั้น การพูดเกี่ยวกับ"พระเจ้าแผ่นดิน" เป็นเรื่องคอขาดบาดตาย หากทำนายออกไปว่าใครจะได้เป็นพระเจ้าแผ่นดินหมายถึงคนคิดการใหญ่ อาจจะถูกหาว่า เป็นกบฎ ภัยจะมาถึงตัว ทำให้พูดยาก อาจารย์ดีจึงนั่งนิ่งไปพักใหญ่

     พระองค์ไล ค้านขึ้นว่า
    "เรื่องนี้ข้าฯ เห็นไม่เป็นเช่นนั้น เพราะสมเด็จพระเจ้าทรงธรรมนั้น ทรงมีพระมหาอุปราชพระปิตุลา เป็นองค์รัชทายาท อีกทั้งพระเชษฐาธิราช ก็เป็นพระราชโอรส"
     หลวงพ่อก็ยืนยันว่า
    "ตามดวงชะตาราศีของท่าน บ่งบอกชัดเจนกระนั้นเชียว ว่าจะเป็นพระเจ้าแผ่นดินแน่ ถึงแม้จะมีองค์รัชทายาทอยู่ก็ตาม"
     พระองค์ไลจึงพูดเป็นคำสัญญาว่า
    "หากข้าฯได้เป็นพระเจ้าแผ่นดินแน่นอนจริงๆ แล้วไซร้จะสนองพระคุณอาจารย์ จะหุ้มทองกุฏิให้ทั้งหลัง เป็นความสัจ" ทั้งที่ยังไม่ใคร่จะเชื่อ และไม่แน่พระทัยนัก

__________________________________________________________________
อ่านพงศาวดารอย่างละเอียดที่นี่เลยครับ  http://th.wikisource.org/wiki/ประชุมพงศาวดาร-ภาคที่-๗๙#cite_note-7


     กาลเวลาต่อจากนั้นมาจนถึงปี พุทธศักราช ๒๑๗๓ พระองค์ไลได้ปราบดาภิเษาเป็นพระมหากษัตริย์ครองราชสมจริงตามคำทำนายของพระอาจารย์ดี พระเจ้าประสาททอง จึงสั่งให้ช่างหลวงมาปิดทองที่กุฏิท่านอาจารย์ดี เป็นทองทั้งหลัง

     ในส่วนของอาราม พระเจ้าประสาททองได้บูรณะปฏิสังขรณ์ขึ้นใหม่บางส่วน โดยก่อกำแพงแก้วรอบนอกชั้นล่างห่างออกมาอีก มีขนาดกว้างประมาณ ๖๐ เมตร ยาวประมาณ ๘๐ เมตร โคกกำแพงแก้วด้านพระอุโบสถร่วมในสูง ๓ วาเศษ เป็นของเก่า ส่วนร่วมหน้าพระอุโบสถนั้น กว้าง ๑๒ เมตร ยาว ๒๔ เมตร ประตูด้านหน้า ๒ ช่อง ด้านหลัง ๒ ช่อง หน้าต่างด้านตะวันออก และตะวันตก อีกด้านละ ๓ ช่อง

     ประวัติในส่วนของพระพิมพ์สมเด็จกรุวัดกุฎีทอง ที่เกี่ยวพันกับสมเด็จโต นั้นมีกล่าวไว้ดังนี้
     ในช่วงรัชกาลที่ ๓ สมเด็จฯ ท่านทรงอุบายหนีการแต่งตั้งสมณศักดิ์
     โดยออกธุดงค์มาจำพรรษาอยู่ กับพระอาจารย์ แสง ในอยุธยา (สันนิฐานว่าคือวัดกุฎีทอง)
     โดยได้สร้างพระผงพิมพ์เส้นด้าย บรรจุกรุ (เป็นพระที่ท่านสร้างก่อนที่จะได้รับสมณะศักดิ์สมเด็จฯ)
     ไว้ร่วมกับพระพิมพ์อื่นๆ ของพระอาจารย์แสง
     มีข้อสันนิฐานว่า พระพิมพ์เส้นด้ายกรุวัดกุฎีทองนี้ คือ ต้นแบบที่เจ้าประคุณสมเด็จฯ ท่านนำไปสร้างพระสมเด็จพิมพ์ต่างๆ ของวัดระฆัง

_____________________________________________________
ที่มา: ประวัติสมเด็จพระพุฒาจารย์โตในส่วนที่เกี่ยวข้องกับพระพิมพ์ สมเด็จวัดกุฎีทอง พระนครศรีอยุธยา โดย พ.ท.สวัสดิ์ บุศราคำ ประวัติวัดกุฎีทอง ค้นคว้าโดย ครูหวล สุมาลัย รวบรวม เรียบเรียงโดย ชูศักดิ์ ศุภวิไล


    ต่อมาก่อนปีพุทธศักราช ๒๓๙๕ จากหนังสือเกี่ยวกับประวัติสมเด็จพุฒาจารย์ (โต ) พรหมรังษี ผู้เขียนหลายท่านได้เขียนตรงกันว่า
     "..ต่อมาในภายหลัง ได้เข้าศึกษามายาศาสตร์ต่อที่สำนักพระอาจารย์แสง จังหวัดลพบุรีอีกองค์หนึ่ง  ....ขรัวแสง คนทั้งปวงนับถือกันว่าเป็นผู้มีวิชา เดิมตั้งแต่เมืองลพบุรีเข้าลงไปเพลที่กรุงเทพฯ ได้ เป็นคนกว้างขวาง เจ้านายขุนนางรู้จักหมด ได้สร้างพระเจดีย์สูงไว้องค์หนึ่งที่วัดมณีชลขันธ์  คือ วัดเกาะ ซึ่งเจ้าพระยายมราช (เฉย) ต้นสกุล "ยมาภัย" สร้าง
     ตัวไม่ได้อยู่ที่วัดนี้ หน้าเข้าพรรษาไปจำพรรษาอยู่ที่วัดอื่น ถ้าถึงออกพรรษาแล้วมาปลูกโรงอยู่ริมพระเจดีย์ ๒ องค์นี้ ซึ่งก่อเองคนเดียวไม่ยอมให้คนอื่นช่วย ราษฎรที่นับถือพากันช่วยเรี่ยไรอิฐปูน และพระเจดีย์องค์นี้เจ้าของจะทำแล้วเสร็จตลอดไป หรือจะทิ้งผู้อื่นช่วย เมื่อตายแล้ว ไม้ได้ถามดู ของเธอก็สูงดีอยู่....."


     จากหลักฐานดังกล่าวข้างต้นนี้ แสดงว่าเจ้าพระคุณสมเด็จ ได้หนีการแต่งตั้งสมณศักดิ์ ธุดงค์มาพำนักอยู่ต่างจังหวัดกับพระอาจารย์แสง พระเครื่องในกรุวัดกุฎีทองนี้จึงมีพระศิลปลพบุรี ที่หลวงปู่แสงสร้างใส่กรุปรากฏให้เห็นด้วย


ขอบคุณภาพและบทความจาก
http://www.wisonin.com/index.php/section-table/webmaster2/webmaster3/155-2011-12-01-15-56-41 เขียนโดย วิศัลย์
ขอบคุณภาพจาก http://www.web-pra.com/
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มีนาคม 12, 2013, 12:30:06 pm โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

สมภพ

  • มีเหตุมีผล
  • ****
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 485
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
 st11 st12

   ได้ความรู้เเรื่องพระเครื่อง ไปด้วยครับ

 
บันทึกการเข้า