ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ภารทวาชสูตร..การสำรวมระวังปฏิบัติกาย-ใจ เพื่อละกามราคะ  (อ่าน 5814 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

Admax

  • ผู้อุปถัมภ์
  • โยคาวจรผล
  • ****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 1063
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0

ภารทวาชสูตร


             [๑๙๕] สมัยหนึ่ง ท่านพระบิณโฑลภารทวาชะอยู่ ณ พระวิหารโฆสิตาราม ใกล้พระนครโกสัมพี
ครั้งนั้นแล พระเจ้าอุเทนได้เสด็จไปหาท่านพระบิณโฑลภารทวาชะ ทรงสนทนาปราศรัยกับท่านพระบิณโฑลภารทวาชะ ครั้นผ่านการสนทนาปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันแล้ว จึงประทับนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง
ครั้นแล้ว ได้ตรัสถามท่านพระบิณโฑลภารทวาชะว่า

      ท่านภารทวาชะผู้เจริญ เหตุปัจจัยอะไรหนอแล เป็นเครื่องให้ภิกษุทั้งหลายเหล่านี้ผู้ยังเป็นหนุ่มแรกรุ่น มีผมดำสนิท เป็นหนุ่มแน่น อยู่ในปฐมวัย  ยังไม่หมดความระเริงในกามทั้งหลาย ประพฤติพรหมจรรย์บริสุทธิ์บริบูรณ์จนตลอดชีวิต และปฏิบัติอยู่ได้นาน
      ท่านพระบิณโฑลภารทวาชะทูลตอบว่า ขอถวายพระพร พระผู้มีพระภาคผู้รู้ ผู้เห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์ตรัสไว้ดังนี้ว่า
      ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงมาตั้งจิตว่าเป็นมารดา ในสตรีปูนมารดา เธอทั้งหลายจงตั้งจิตว่าเป็นพี่สาวน้องสาว ในสตรีปูนพี่สาวน้องสาว เธอทั้งหลายจงตั้งจิตว่าเป็นธิดา ในสตรีปูนธิดา ขอถวายพระพร ข้อนี้แล เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้ภิกษุเหล่านี้ผู้ยังเป็นหนุ่มแรกรุ่น มีผมดำสนิท เป็นหนุ่มแน่น อยู่ในปฐมวัย ผู้ยังไม่หมดความระเริงในกามทั้งหลาย ประพฤติพรหมจรรย์บริสุทธิ์บริบูรณ์จนตลอดชีวิต และปฏิบัติอยู่ได้นาน ฯ


             [๑๙๖] พระเจ้าอุเทนตรัสถามท่านพระบิณโฑลภารทวาชะว่า ท่านภารทวาชะผู้เจริญ จิตเป็นธรรมชาติโลเลบางคราวธรรม คือ ความโลภทั้งหลาย ย่อมเกิดขึ้นในเหล่าสตรีปูนมารดาก็มี ปูนพี่สาว น้องสาวก็มี ปูนธิดาก็มี มีไหมหนอ ท่านภารทวาชะ ข้ออื่นที่เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้ภิกษุเหล่านี้ผู้ยังเป็นหนุ่ม แรกรุ่น มีผมดำสนิท เป็นหนุ่มแน่น อยู่ในปฐมวัย ยังไม่หมดความระเริงในกามทั้งหลาย ประพฤติพรหมจรรย์บริสุทธิ์บริบูรณ์จนตลอดชีวิตและปฏิบัติอยู่ได้นาน ฯ
      ท่านพระบิณโฑลภารทวาชะทูลตอบว่า ขอถวายพระพร พระผู้มีพระภาคผู้รู้ ผู้เห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์ตรัสไว้ดังนี้ว่า
      ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงมาพิจารณากายนี้แหละ เบื้องบนแต่พื้นเท้าขึ้นไป เบื้องต่ำแต่ปลายผมลงมา อันมีหนังหุ้มอยู่โดยรอบ เต็มด้วยของไม่สะอาดมีประการต่างๆ ว่า มีอยู่ในกายนี้  คือ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ม้าม หัวใจ ตับ พังผืด ไต ปอด ไส้ใหญ่ ไส้น้อย อาหารใหม่ อาหารเก่า ดี เสลด หนอง เลือด เหงื่อ มันข้น น้ำตา เปลวมัน น้ำลาย น้ำมูก ไขข้อ น้ำมูตร ดังนี้
      ขอถวายพระพร แม้ข้อนี้ก็เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้ภิกษุเหล่านี้ผู้ยังเป็นหนุ่ม แรกรุ่นมีผมดำสนิท เป็นหนุ่มแน่น อยู่ในปฐมวัย ผู้ยังไม่หมดความระเริงในกามทั้งหลาย ประพฤติพรหมจรรย์บริสุทธิ์บริบูรณ์จนตลอดชีวิตและปฏิบัติอยู่ได้นาน ฯ


             [๑๙๗] พระเจ้าอุเทนตรัสถามท่านพระบิณโฑลภารทวาชะว่า ท่านภารทวาชะผู้เจริญ ภิกษุเหล่าใดเป็นผู้มีกายอันอบรมแล้ว เป็นผู้มีศีลอันอบรมแล้ว เป็นผู้มีจิตอันอบรมแล้ว เป็นผู้มีปัญญาอันอบรมแล้ว การอบรมกายเป็นต้นนั้น ไม่เป็นกิจอันภิกษุเหล่านั้นทำได้โดยยาก  ส่วนภิกษุเหล่าใดเป็นผู้มีกายยังไม่ได้อบรมแล้ว เป็นผู้มีศีลยังไม่ได้อบรมแล้ว เป็นผู้มีจิตยังไม่ได้อบรมแล้ว เป็นผู้มีปัญญายังไม่ได้อบรมแล้ว การอบรมกายเป็นต้นนั้น เป็นกิจอันภิกษุเหล่านั้นทำได้โดยยาก ท่านภารทวาชะผู้เจริญ บางคราวเมื่อบุคคลตั้งใจอยู่ว่า เราจักทำไว้ในใจโดยความเป็นของไม่งาม แต่อารมณ์ย่อมมาโดยความเป็นของงามก็มี มีไหมหนอแล ท่านภารทวาชะผู้เจริญ ข้ออื่นที่เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้ภิกษุเหล่านี้ ผู้ยังเป็นหนุ่ม แรกรุ่น มีผมดำสนิท เป็นหนุ่มแน่น อยู่ในปฐมวัย ผู้ยังไม่หมดความระเริงในกามทั้งหลาย ประพฤติพรหมจรรย์บริสุทธิ์บริบูรณ์จนตลอดชีวิตและปฏิบัติอยู่ได้นาน ฯ
      ท่านพระบิณโฑลภารทวาชะทูลตอบว่า ขอถวายพระพร พระผู้มีพระภาคผู้รู้ ผู้เห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์ได้ตรัสไว้ดังนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงมาเถิดเธอทั้งหลายจงเป็นผู้มีทวารอันคุ้มครองแล้วในอินทรีย์ทั้งหลายอยู่เถิด

      - เธอทั้งหลายเห็นรูปด้วยตาแล้ว จงอย่าเป็นผู้ถือเอาโดยนิมิต อย่าเป็นผู้ถือเอาโดยอนุพยัญชนะ จงปฏิบัติเพื่อสำรวมจักขุนทรีย์ที่เมื่อไม่สำรวมแล้ว เป็นเหตุให้อกุศลธรรมอันลามก คือ อภิชฌาและโทมนัสครอบงำได้ จงรักษาจักขุนทรีย์ จงถึงความสำรวมในจักขุนทรีย์...

      เธอทั้งหลายฟังเสียงด้วยหูแล้ว จงอย่าเป็นผู้ถือเอาโดยนิมิต อย่าเป็นผู้ถือเอาโดยอนุพยัญชนะ จงปฏิบัติเพื่อสำรวมโสตินทรีย์เมื่อไม่สำรวมแล้ว เป็นเหตุให้อกุศลธรรมอันลามก คือ อภิชฌาและโทมนัสครอบงำได้ จงรักษาโสตินทรีย์ จงถึงความสำรวมในโสตินทรีย์...

      - เธอทั้งหลายสูดกลิ่นด้วยจมูกแล้ว จงอย่าเป็นผู้ถือเอาโดยนิมิต อย่าเป็นผู้ถือเอาโดยอนุพยัญชนะ จงปฏิบัติเพื่อสำรวมฆานินทรีย์เมื่อไม่สำรวมแล้ว เป็นเหตุให้อกุศลธรรมอันลามก คือ อภิชฌาและโทมนัสครอบงำได้ จงรักษาฆานินทรีย์ จงถึงความสำรวมในฆานินทรีย์...

      - เธอทั้งหลายลิ้มรสด้วยลิ้นแล้ว จงอย่าเป็นผู้ถือเอาโดยนิมิต อย่าเป็นผู้ถือเอาโดยอนุพยัญชนะ จงปฏิบัติเพื่อสำรวมชิวหินทรีย์เมื่อไม่สำรวมแล้ว เป็นเหตุให้อกุศลธรรมอันลามก คือ อภิชฌาและโทมนัสครอบงำได้ จงรักษาชิวหินทรีย์ จงถึงความสำรวมในชิวหินทรีย์...

      - เธอทั้งหลายถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกายแล้ว จงอย่าเป็นผู้ถือเอาโดยนิมิต อย่าเป็นผู้ถือเอาโดยอนุพยัญชนะ จงปฏิบัติเพื่อสำรวมกายินทรีย์เมื่อไม่สำรวมแล้ว เป็นเหตุให้อกุศลธรรมอันลามก คือ อภิชฌาและโทมนัสครอบงำได้ จงรักษากายินทรีย์ จงถึงความสำรวมในกายินทรีย์...

      - เธอทั้งหลายรู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว อย่าได้เป็นผู้ถือเอาโดยนิมิต อย่าได้เป็นผู้ถือเอาโดยอนุพยัญชนะจงปฏิบัติเพื่อความสำรวมมนินทรีย์ที่เมื่อไม่สำรวมแล้ว เป็นเหตุให้อกุศลธรรมอันลามก คือ อภิชฌาและโทมนัสครอบงำได้ จงรักษามนินทรีย์ จงถึงความสำรวมในมนินทรีย์...


-----------------  สัมมัปปธาน ๔ (การทำความเพียร ๔)  -----------------


      ขอถวายพระพร แม้ข้อนี้ ก็เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้ภิกษุเหล่านี้ผู้ยังเป็นหนุ่ม แรกรุ่นมีผมดำสนิท เป็นหนุ่มแน่น อยู่ในปฐมวัย ผู้ยังไม่หมดความระเริงในกามทั้งหลาย ประพฤติพรหมจรรย์บริสุทธิ์บริบูรณ์จนตลอดชีวิตและปฏิบัติอยู่ได้นาน ฯ

             [๑๙๘] พระเจ้าอุเทนตรัสว่า น่าอัศจรรย์ ท่านภารทวาชะผู้เจริญ ไม่เคยมีแล้ว ท่านภารทวาชะผู้เจริญ ตามกำหนดธรรมปริยายนี้ อันพระผู้มีพระภาคผู้รู้ ผู้เห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสดีแล้ว ท่านภารทวาชะผู้เจริญ ข้อนี้แล เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้ภิกษุเหล่านี้ผู้ยังเป็นหนุ่ม แรกรุ่น มีผมดำสนิท เป็นหนุ่มแน่นอยู่ในปฐมวัย ยังเป็นผู้ไม่หมดความระเริงในกามทั้งหลาย ประพฤติพรหมจรรย์บริสุทธิ์บริบูรณ์จนตลอดชีวิตและปฏิบัติอยู่ได้นาน

      ท่านภารทวาชะผู้เจริญ ในสมัยใด แม้ข้าพเจ้าเอง มีกายมิได้รักษาแล้ว มีวาจามิได้รักษาแล้ว มีจิตมิได้รักษาแล้ว มีสติมิได้ตั้งไว้แล้ว มีอินทรีย์ทั้งหลายมิได้สำรวมแล้ว เข้าไปสู่ฝ่ายใน
      ในสมัยนั้น ธรรม คือ ความโลภทั้งหลายย่อมครอบงำข้าพเจ้ายิ่งนัก ท่านภารทวาชะผู้เจริญ


      แต่ว่า ในสมัยใดแล ข้าพเจ้ามีกายอันรักษาแล้ว มีวาจาอันรักษาแล้ว มีจิตอันรักษาแล้ว มีสติอันตั้งไว้แล้ว มีอินทรีย์ทั้งหลายอันสำรวมแล้ว เข้าไปสู่ฝ่ายใน
      ในสมัยนั้น ธรรม คือ ความโลภทั้งหลายไม่ครอบงำข้าพเจ้า


      ท่านภารทวาชะผู้เจริญ ภาษิตของท่านแจ่มแจ้งนัก
      ท่านภารทวาชะผู้เจริญ ภาษิตของท่านแจ่มแจ้งนัก ท่านภารทวาชะประกาศธรรมโดยอเนกปริยาย เปรียบเหมือนหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่คนหลงทาง หรือตามประทีปไว้ในที่มืดด้วยหวังว่า ผู้มีจักษุจะเห็นรูปได้ ฉะนั้น
      ท่านภารทวาชะผู้เจริญ ข้าพเจ้าขอถึงพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นกับทั้งพระธรรมและพระภิกษุสงฆ์ว่าเป็นที่พึ่ง ขอท่านภารทวาชะจงจำข้าพเจ้าว่า เป็นอุบาสกผู้ถึงพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่งจนตลอดชีวิตตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปเถิด ฯ



จบสูตรที่ ๔



การเจริญปฏิบัติในพระสูตรนี้ต้องอาศัย ความเพียรชอบ คือ
สัมมัปปธาน ๔ (การทำความเพียรชอบ ๔ ประการดังนี้)


ปธาน ๔ อย่าง

๑. สังวรปธาน [เพียรระวัง]
๒. ปหานปธาน [เพียรละ]
๓. ภาวนาปธาน [เพียรเจริญ]
๔. อนุรักขนาปธาน [เพียรรักษา]

ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ก็สังวรปธานเป็นไฉน

- ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรม วินัยนี้ เห็นรูปด้วยจักษุแล้ว ไม่ถือนิมิต ไม่ถืออนุพยัญชนะ เธอย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวมจักขุนทรีย์ ที่เมื่อไม่สำรวมแล้ว จะเป็นเหตุให้อกุศลธรรมอันลามก คืออภิชฌาและโทมนัสครอบงำนั้น ชื่อว่ารักษาจักขุนทรีย์ชื่อว่าถึงความสำรวมในจักขุนทรีย์
- ฟังเสียงด้วยโสตแล้ว ไม่ถือนิมิต ไม่ถืออนุพยัญชนะ เธอย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวมโสตินทรีย์ ที่เมื่อไม่สำรวมแล้ว จะเป็นเหตุให้อกุศลธรรมอันลามกคืออภิชฌาและโทมนัสครอบงำนั้นชื่อว่ารักษาโสตินทรีย์ ชื่อว่าถึงความสำรวมในโสตินทรีย์ ฯ
- ดมกลิ่นด้วยฆานะแล้ว ไม่ถือนิมิต ไม่ถืออนุพยัญชนะ เธอย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวมฆานินทรีย์ ที่เมื่อไม่สำรวมแล้ว จะเป็นเหตุให้อกุศลธรรมอันลามกคืออภิชฌาและโทมนัสครอบงำนั้น ชื่อว่ารักษาฆานินทรีย์ ชื่อว่าถึงความสำรวมในฆานินทรีย์ ฯ
- ลิ้มรสด้วยชิวหาแล้ว ไม่ถือนิมิต ไม่ถืออนุพยัญชนะ เธอย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวมชิวหินทรีย์ ที่เมื่อไม่สำรวมแล้ว จะเป็นเหตุให้อกุศลธรรมอันลามกคืออภิชฌาและโทมนัสครอบงำนั้น ชื่อว่ารักษาชิวหินทรีย์ ชื่อว่าถึงความสำรวมในชิวหินทรีย์ ฯ
- ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกายแล้ว ไม่ถือนิมิต ไม่ถืออนุพยัญชนะ เธอย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวมกายินทรีย์ ที่เมื่อไม่สำรวมแล้ว จะเป็นเหตุให้อกุศลธรรมอันลามก คืออภิชฌาและโทมนัสครอบงำนั้น ชื่อว่ารักษากายินทรีย์ ชื่อว่าถึงความสำรวมในกายินทรีย์ ฯ
- รู้แจ้งธรรมด้วยใจแล้ว ไม่ถือนิมิต ไม่ถืออนุพยัญชนะ เธอย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวมมนินทรีย์ ที่เมื่อไม่สำรวมแล้วจะเป็นเหตุให้อกุศลธรรมอันลามก คืออภิชฌาและโทมนัสครอบงำนั้น ชื่อว่ารักษามนินทรีย์ ชื่อว่าถึงความสำรวมในมนินทรีย์ ผู้มีอายุทั้งหลาย นี้เรียกว่า สังวรปธาน ฯ

ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ก็ปหานปธาน เป็นไฉน

ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้
- ย่อมไม่รับไว้ซึ่งกามวิตกที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมละเสีย บรรเทาเสีย ทำให้สิ้นไป ให้ถึงความไม่มี
- ย่อมไม่รับไว้ซึ่งพยาบาทวิตกที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมละเสีย บรรเทาเสีย ทำให้สิ้นไปให้ถึงความไม่มี
- ย่อมไม่รับไว้ ซึ่งวิหิงสาวิตกที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมละเสีย บรรเทาเสีย ทำให้สิ้นไปให้ถึงความไม่มี
- ย่อมไม่รับไว้ซึ่งธรรมที่เป็นบาปอกุศลที่เกิดขึ้นแล้วๆ ย่อมละเสีย บรรเทาเสีย ทำให้สิ้นไป ให้ถึงความไม่มี ผู้มีอายุทั้งหลาย นี้เรียกว่าปหานปธาน ฯ

ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ก็ภาวนาปธาน เป็นไฉน

ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้
- ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์ อันอาศัยความสงัด อาศัยความคลายกำหนัด อาศัยความดับน้อมไปเพื่อความสละลง
- ย่อมเจริญธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ อันอาศัยความสงัด อาศัยความคลายกำหนัด อาศัยความดับอันน้อมไปเพื่อความสละลง
- ย่อมเจริญวิริยสัมโพชฌงค์อันอาศัยความสงัด อาศัยความคลายกำหนัด อาศัยความดับ อันน้อมไปเพื่อความสละลง
- ย่อมเจริญปีติสัมโพชฌงค์ อันอาศัยความสงัด อาศัยความคลายกำหนัด อาศัยความดับ อันน้อมไปเพื่อความสละลง
- ย่อมเจริญปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ อันอาศัยความสงัด อาศัยความคลายกำหนัด อาศัยความดับ อันน้อมไปเพื่อความสละลง
- ย่อมเจริญสมาธิสัมโพชฌงค์ อันอาศัยความสงัด อาศัยความคลายกำหนัด อาศัยความดับอันน้อมไปเพื่อความสละลง
- ย่อมเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์อันอาศัยความสงัดอาศัยความคลายกำหนัด อาศัยความดับ อันน้อมไปเพื่อความสละลงผู้มีอายุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ภาวนาปธาน ฯ

ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ก็อนุรักขนาปธาน เป็นไฉน

ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ย่อมตามรักษาสมาธินิมิตอันเจริญที่บังเกิดขึ้นแล้วคือ
- อัฏฐิกสัญญา กำหนดหมายกระดูก
- ปุฬุวกสัญญา กำหนดหมายหมู่หนอนไชศพ
- วินีลกสัญญา กำหนดหมายศพขึ้นพองเขียว
- วิจฉิททกสัญญา กำหนดหมายศพที่เป็นท่อนๆ
- อุทธุมาตกสัญญา กำหนดหมายศพขึ้นอืด

ผู้มีอายุทั้งหลาย นี้เรียกว่า อนุรักขนาปธาน ฯ


ขอขอบคุณ สัมมัปปธาน ๔ ที่มาจาก http://www.84000.org/tipitaka/read/byit ... &preline=0


ขอขอบคุณ ภารทวาชสูตร ที่มาจาก..

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๘  บรรทัดที่ ๒๙๐๔ - ๒๙๘๑.  หน้าที่  ๑๒๕ - ๑๒๘.
 http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=18&A=2904&Z=2981&pagebreak=0
             ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=18&i=195
             สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๘
http://www.84000.org/tipitaka/read/?สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่_๑๘
http://www.84000.org/tipitaka/read/?index_18

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กุมภาพันธ์ 24, 2014, 02:05:32 pm โดย Admax »
บันทึกการเข้า
ความติดข้องใจเสพย์อารมณ์ความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น สมุทัย
ผลของการดำเนินไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น ทุกข์
รู้สัจธรรมและปรมัตถ์ ดำรงอยู่ในกุศล สติ ศีล สมาธิ พรหมวิหาร๔ คิดดี พูดดี ทำดี เป็น มรรค
การดับไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี ถึง อัพยกตธรรม เป็น นิโรธ

Admax

  • ผู้อุปถัมภ์
  • โยคาวจรผล
  • ****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 1063
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
8.1 ความหมายของอินทรีย์

คำว่า อินทรีย์ นั้นมีความหมายว่า ความเป็นใหญ่ สภาพที่เป็นใหญ่ในกิจของตน ธรรมที่เป็นเจ้าของในการทำหน้าที่อย่างหนึ่ง เช่น ตาเป็นใหญ่ในการเห็น หูเป็นใหญ่ในการฟัง เป็นต้น1)

คือธรรมชาติที่เป็นใหญ่ในหน้าที่ของตนๆ สิ่งอื่นๆ จะทำหน้าที่แทนไม่ได้ หรืออาจกล่าว ได้ว่าอินทรีย์เป็นชื่อของความเป็นใหญ่ ซึ่งอินทรีย์ทั้ง 22 มีหน้าที่ต่างกันไปตามหน้าที่ของตน ไม่แทรกแซงกันและกัน เช่น ตา มีหน้าที่เห็น หูนั้นจะมาทำหน้าที่แทนตาไม่ได้เลย ในขณะเดียวกันตาก็จะมาทำหน้าที่ฟังไม่ได้ เรียกว่า เป็นใหญ่ในหน้าที่ของตน แต่ละสภาวะเป็นใหญ่ในหน้าที่ของตน เขาจึงเรียกว่า อินทรีย์

8.2 องค์ประกอบของอินทรีย์ 22

อินทรีย์ 22 ประกอบด้วยสิ่งเหล่านี้ คือ

1.จักขุนทรีย์ ความเป็นใหญ่ของตา มีหน้าที่รับสี ได้แก่ จักขุปสาทรูป เป็นรูปธรรม

2.โสตินทรีย์ มีหน้าที่เอาไว้รับเสียง ได้แก่ โสตปสาทรูป เป็นรูปธรรม

3.ฆานินทรีย์ มีหน้าที่เอาไว้รับกลิ่น ได้แก่ ฆานปสาทรูป เป็นรูปธรรม

4.ชิวหินทรีย์ ความเป็นใหญ่ในเรื่องของลิ้น มีหน้าที่รับรสต่างๆ เอาไว้ ได้แก่ ชิวหาปสาทรูป เป็นรูปธรรม

5.กายินทรีย์ ความเป็นใหญ่ในกาย มีหน้าที่รับความสัมผัสต่างๆ ที่พบเจออยู่ปัจจุบัน ได้แก่ กายปสาทรูป เป็นรูปธรรม

6.อิตถินทรีย์ ความเป็นใหญ่ของหญิง มีหน้าที่ แสดงลักษณะกิริยาอาการต่างๆ ของหญิง ได้แก่ อิตถีภาวรูป เป็นรูปธรรม

7.ปุริสินทรีย์ ความเป็นใหญ่ของชาย มีหน้าที่ แสดงลักษณะอาการของผู้ชาย ได้แก่ ปุริสภาวรูป เป็นรูปธรรม

8.ชีวิตินทรีย์ ความเป็นใหญ่ของชีวิต มีหน้าที่ รักษารูปและนาม ได้แก่ ชีวิตรูป ชีวิตนาม เป็นทั้งรูปธรรมและนามธรรม

9.มนินทรีย์ ความเป็นใหญ่ของใจ มีหน้าที่ รู้อารมณ์ ได้แก่ จิตทั้งหมด เป็นนามธรรม

10.สุขินทรีย์ ความเป็นใหญ่เรื่องสุขเวทนา มีหน้าที่ สบาย ได้แก่ สุขเวทนาเจตสิก เป็นนามธรรม

11.ทุกขินทรีย์ ความเป็นใหญ่ทางทุกขเวทนา มีหน้าที่คือ ไม่สบาย ได้แก่ทุกขเวทนาเจตสิก เป็นนามธรรม

12.โสมนัสสินทรีย์ ความเป็นใหญ่ทางโสมนัสเวทนา มีหน้าที่ ดีใจ ได้แก่ โสมนัสเวทนาเจตสิก เป็นนามธรรม

13.โทมนัสสินทรีย์ ความเป็นใหญ่ทางโทมนัสเวทนา มีหน้าที่ เสียใจ ได้แก่ โทมนัสเวทนาเจตสิก เป็นนามธรรม

14.อุเปกขินทรีย์ ความเป็นใหญ่ทางอุเบกขาเวทนา มีหน้าที่ วางเฉย ได้แก่ ไม่สุข ไม่ทุกข์ อุเบกขาเจตสิก เป็นนามธรรม

15.สัทธินทรีย์ ความเป็นใหญ่ในเรื่องของศรัทธา มีหน้าที่ เชื่อ เลื่อมใสในสิ่งที่ควร ได้แก่ ศรัทธาเจตสิก เป็นนามธรรม

16.วีริยินทรีย์ ความเป็นใหญ่ของวิริยะ มีหน้าที่ เพียรพยายามในสิ่งที่ควร ได้แก่วิริยเจตสิก เป็นนามธรรม

17.สตินทรีย์ ความเป็นใหญ่ของสติ มีหน้าที่ รู้ทันปัจจุบันหรือระลึกในสิ่งที่ควร ได้แก่ สติเจตสิก เป็นนามธรรม

18.สมาธินทรีย์ ความเป็นใหญ่ในเรื่องของสมาธิ มีหน้าที่ คือ ความแน่วแน่ตั้งมั่น ได้แก่ เอกัคคตาเจตสิก เป็นนามธรรม

19.ปัญญินทรีย์ ความเป็นใหญ่ทางปัญญา มีหน้าที่รู้ไตรลักษณ์ ได้แก่ ปัญญาเจตสิก (โลกียะ) เป็นนามธรรม

20.อัญญัตตัญญัสสามิตินทรีย์ ความเป็นใหญ่ในเรื่องของโสตาปัตติมรรคญาณ มีหน้าที่เพื่อรู้พระนิพพาน ตัดอกุศลได้ 5 ชนิด ได้แก่ปัญญาเจตสิก (โลกุตตระ) เป็นนามธรรม

21.อัญญินทรีย์ ความเป็นใหญ่ของโสตาปัตติผลญาณ ถึงอรหัตตมรรคญาณ มีหน้าที่รู้พระนิพพาน ตัดอกุศลไปตามลำดับญาณ ได้แก่ ปัญญาเจตสิก (โลกุตตระ) เป็นนามธรรม

22.อัญญาตาวินทรีย์ ความเป็นใหญ่ของอรหัตตตผลญาณ มีหน้าที่รู้พระนิพพานและตัดอกุศลจิตทั้ง 12 ชนิดทิ้งโดยสิ้นเชิง ได้แก่ ปัญญาเจตสิก (โลกุตตระ) เป็นนามธรรม


8.2 องค์ประกอบของอินทรีย์ 22

อินทรีย์ 22 ประกอบด้วยสิ่งเหล่านี้ คือ

1.จักขุนทรีย์ ความเป็นใหญ่ของตา มีหน้าที่รับสี ได้แก่ จักขุปสาทรูป เป็นรูปธรรม

2.โสตินทรีย์ มีหน้าที่เอาไว้รับเสียง ได้แก่ โสตปสาทรูป เป็นรูปธรรม

3.ฆานินทรีย์ มีหน้าที่เอาไว้รับกลิ่น ได้แก่ ฆานปสาทรูป เป็นรูปธรรม

4.ชิวหินทรีย์ ความเป็นใหญ่ในเรื่องของลิ้น มีหน้าที่รับรสต่างๆ เอาไว้ ได้แก่ ชิวหาปสาทรูป เป็นรูปธรรม

5.กายินทรีย์ ความเป็นใหญ่ในกาย มีหน้าที่รับความสัมผัสต่างๆ ที่พบเจออยู่ปัจจุบัน ได้แก่ กายปสาทรูป เป็นรูปธรรม

6.อิตถินทรีย์ ความเป็นใหญ่ของหญิง มีหน้าที่ แสดงลักษณะกิริยาอาการต่างๆ ของหญิง ได้แก่ อิตถีภาวรูป เป็นรูปธรรม

7.ปุริสินทรีย์ ความเป็นใหญ่ของชาย มีหน้าที่ แสดงลักษณะอาการของผู้ชาย ได้แก่ ปุริสภาวรูป เป็นรูปธรรม

8.ชีวิตินทรีย์ ความเป็นใหญ่ของชีวิต มีหน้าที่ รักษารูปและนาม ได้แก่ ชีวิตรูป ชีวิตนาม เป็นทั้งรูปธรรมและนามธรรม

9.มนินทรีย์ ความเป็นใหญ่ของใจ มีหน้าที่ รู้อารมณ์ ได้แก่ จิตทั้งหมด เป็นนามธรรม

10.สุขินทรีย์ ความเป็นใหญ่เรื่องสุขเวทนา มีหน้าที่ สบาย ได้แก่ สุขเวทนาเจตสิก เป็นนามธรรม

11.ทุกขินทรีย์ ความเป็นใหญ่ทางทุกขเวทนา มีหน้าที่คือ ไม่สบาย ได้แก่ทุกขเวทนาเจตสิก เป็นนามธรรม

12.โสมนัสสินทรีย์ ความเป็นใหญ่ทางโสมนัสเวทนา มีหน้าที่ ดีใจ ได้แก่ โสมนัสเวทนาเจตสิก เป็นนามธรรม

13.โทมนัสสินทรีย์ ความเป็นใหญ่ทางโทมนัสเวทนา มีหน้าที่ เสียใจ ได้แก่ โทมนัสเวทนาเจตสิก เป็นนามธรรม

14.อุเปกขินทรีย์ ความเป็นใหญ่ทางอุเบกขาเวทนา มีหน้าที่ วางเฉย ได้แก่ ไม่สุข ไม่ทุกข์ อุเบกขาเจตสิก เป็นนามธรรม

15.สัทธินทรีย์ ความเป็นใหญ่ในเรื่องของศรัทธา มีหน้าที่ เชื่อ เลื่อมใสในสิ่งที่ควร ได้แก่ ศรัทธาเจตสิก เป็นนามธรรม

16.วีริยินทรีย์ ความเป็นใหญ่ของวิริยะ มีหน้าที่ เพียรพยายามในสิ่งที่ควร ได้แก่วิริยเจตสิก เป็นนามธรรม

17.สตินทรีย์ ความเป็นใหญ่ของสติ มีหน้าที่ รู้ทันปัจจุบันหรือระลึกในสิ่งที่ควร ได้แก่ สติเจตสิก เป็นนามธรรม

18.สมาธินทรีย์ ความเป็นใหญ่ในเรื่องของสมาธิ มีหน้าที่ คือ ความแน่วแน่ตั้งมั่น ได้แก่ เอกัคคตาเจตสิก เป็นนามธรรม

19.ปัญญินทรีย์ ความเป็นใหญ่ทางปัญญา มีหน้าที่รู้ไตรลักษณ์ ได้แก่ ปัญญาเจตสิก (โลกียะ) เป็นนามธรรม

20.อัญญัตตัญญัสสามิตินทรีย์ ความเป็นใหญ่ในเรื่องของโสตาปัตติมรรคญาณ มีหน้าที่เพื่อรู้พระนิพพาน ตัดอกุศลได้ 5 ชนิด ได้แก่ปัญญาเจตสิก (โลกุตตระ) เป็นนามธรรม

21.อัญญินทรีย์ ความเป็นใหญ่ของโสตาปัตติผลญาณ ถึงอรหัตตมรรคญาณ มีหน้าที่รู้พระนิพพาน ตัดอกุศลไปตามลำดับญาณ ได้แก่ ปัญญาเจตสิก (โลกุตตระ) เป็นนามธรรม

22.อัญญาตาวินทรีย์ ความเป็นใหญ่ของอรหัตตตผลญาณ มีหน้าที่รู้พระนิพพานและตัดอกุศลจิตทั้ง 12 ชนิดทิ้งโดยสิ้นเชิง ได้แก่ ปัญญาเจตสิก (โลกุตตระ) เป็นนามธรรม


ขอขอบคุณที่มาจาก http://book.dou.us/doku.php?id=md408:8
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กุมภาพันธ์ 24, 2014, 12:11:23 pm โดย Admax »
บันทึกการเข้า
ความติดข้องใจเสพย์อารมณ์ความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น สมุทัย
ผลของการดำเนินไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น ทุกข์
รู้สัจธรรมและปรมัตถ์ ดำรงอยู่ในกุศล สติ ศีล สมาธิ พรหมวิหาร๔ คิดดี พูดดี ทำดี เป็น มรรค
การดับไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี ถึง อัพยกตธรรม เป็น นิโรธ

Admax

  • ผู้อุปถัมภ์
  • โยคาวจรผล
  • ****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 1063
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
8.3 ลักษณะของอินทรีย์ 22

1.จักขุนทรีย์

มีหน้าที่รับสี ได้แก่ จักขุปสาทรูป เป็นรูปธรรม จักขุปสาท เป็นสุขุมรูป มีสัณฐานน้อยเท่าหัวเหา ประดิษฐานอยู่ในท่ามกลางแห่งตาดำ แวดล้อมด้วยปริมณฑลแห่งตาขาว จักษุประเทศนี้ มีสัณฐานดังกลีบดอกอุบลเขียว อาเกียรณ์ด้วยโลมชาติมีสีดำ เนื้อจักษุมีสัณฐานเป็น กลีบๆ เป็นชั้นๆ นับได้ 7 ชั้น จักขุปสาทนั้น ซาบตลอดทั้ง 7 ชั้น เปรียบประดุจปุยสำลี ที่บุคคลนำมารวมซ้อนๆ กันให้ได้ 7 ชั้น แล้วเอาน้ำมันหอมข้นหยอดลงในท่ามกลาง น้ำมันก็จะซึมซาบเข้าไปในสำลีทั้ง 7 ชั้น จักขุปสาทเปรียบประดุจน้ำมันหอมข้นที่หยอดลงในท่ามกลางนั้น

จักขุปสาท มีธาตุ 4 เป็นผู้อุปการะบำรุงรักษา เปรียบประดุจ ขัตติยราชกุมารที่นางนม ทั้ง 4 ทำอุปการะบำรุงบำเรอ นางนมคนหนึ่งอุ้มไว้ คนหนึ่งตักเอาน้ำมาสรงให้ คนหนึ่งนำเครื่องประดับมาประดับให้ คนหนึ่งนำเอาพัดมาพัดให้ ปฐวีธาตุ ทรงไว้ซึ่งจักขุปสาท ประดุจนางนมที่อุ้มชู อาโปธาตุบำรุงให้สดชื่นประคับประคองไว้ ประดุจนางนมที่ตักน้ำมาสรง เตโชธาตุบำรุงมิให้เน่าเปื่อย ประดุจนางนมที่เอาเครื่องประดับมาประดับ วาโยธาตุบำรุงให้กลับกลอกได้ ประดุจนางนมเอาพัดมาพัดให้

นอกเหนือจากธาตุ 4 ยังมีตัวอุปการะจักขุปสาทอีก คือ จิตและอาหาร เป็นผู้ช่วยอุปถัมภ์ อายุเป็นผู้เลี้ยงดู สี กลิ่นและรส เป็นต้น เป็นบริวารแวดล้อม จักขุปสาทเป็นวัตถุที่เกิดแห่งจักษุวิญญาณ และเป็นพนักงานที่ให้เห็นรูปทั้งปวง

2.โสตินทรีย์

มีหน้าที่รับเสียง ได้แก่ โสตปสาทรูป เป็นรูปธรรม โสตปสาท เป็นสุขุมรูป ตั้งอยู่ในประเทศอันมีสัณฐานดุจวงแหวน เป็นที่งอกขึ้นแห่งโลมชาติเส้นเล็กๆ สีแดง อยู่ภายในช่องหู โสตปสาทมีธาตุ 4 เป็นผู้อุปการะ มีจิตและอาหารเป็นผู้อุปถัมภ์ มีอายุเป็นผู้เลี้ยง มีสี กลิ่น รส โอชา เป็นบริวารแวดล้อม เป็นวัตถุที่เกิดแห่งโสตวิญญาณให้ได้รับเสียงทั้งปวง

3.ฆานินทรีย์

มีหน้าที่รับกลิ่น ได้แก่ ฆานปสาทรูป เป็นรูปธรรม ฆานปสาท เป็นสุขุมรูป ตั้งอยู่ในประเทศมีสัณฐานดุจเท้าแพะ ภายในช่องจมูก มีธาตุ 4 เป็นผู้อุปการะ มีจิตและอาหารเป็นผู้อุปถัมภ์ มีอายุเป็นผู้เลี้ยง มีสี กลิ่น รส โอชา เป็นบริวารแวดล้อม เป็นวัตถุที่เกิดแห่งฆานวิญญาณ ให้ได้รับกลิ่นทั้งปวง

4.ชิวหินทรีย์

มีหน้าที่รับรส ได้แก่ ชิวหาปสาทรูป เป็นรูปธรรม ชิวหาปสาทเป็นสุขุมรูป ตั้งอยู่ในประเทศมีสัณฐานดังปลายกลีบดอกอุบล อยู่เบื้องบนแห่งลิ้น ในท่ามกลางลิ้นนั้น ชิวหาปสาทมีธาตุ 4 เป็นผู้อุปการะ มีจิตและอาหารเป็นผู้อุปถัมภ์ มีอายุเป็นผู้เลี้ยง มีสี กลิ่น รส โอชา เป็นบริวารแวดล้อม เป็นวัตถุที่เกิดแห่งชิวหาวิญญาณให้ได้รับรสทั้งปวง

5.กายินทรีย์

มีหน้าที่รับสัมผัส ได้แก่ กายปสาทรูป เป็นรูปธรรม กายปสาทเป็นสุขุมรูป ซึมซาบอยู่ทั่วร่างกาย ประดุจน้ำมันอาบอยู่ในปุยฝ้ายที่บุคคลประชีดีแล้ว กายปสาท มีธาตุ 4 เป็นผู้อุปการะ มีจิตและอาหารเป็นผู้อุปถัมภ์ มีอายุเป็นผู้เลี้ยง มีสี กลิ่น รส โอชา เป็นบริวารแวดล้อมเป็นวัตถุ ที่เกิดแห่งกายวิญญาณให้ได้รับสัมผัสทั้งปวง

กายปสาทนี้แทรกอยู่ในอุปาทินนกรูปทั้งหมด คือ เฉพาะส่วนที่เป็นเนื้อหยิกเจ็บ ส่วนที่เป็นปลายเล็บ ผม ขน ฟัน ซึ่งพ้นจากเนื้อ หยิกไม่เจ็บนั้น เป็นอนุปาทินนกรูป ในอนุปาทิน-นกรูปนี้ ไม่มีกายปสาท กายปสาทจะแทรกอยู่ในอุปา-ทินนกรูปทั้งสิ้น ซึ่งเป็นปัจจัยให้รู้ โผฏฐัพพารมณ์ ให้รู้จักสัมผัสว่าอ่อน กระด้าง ถ้ากายปสาทวิบัติแล้ว กายก็เป็นเหน็บ ไม่รู้สัมผัส สิ่งทั้งปวง

6.มนินทรีย์

มีหน้าที่รู้อารมณ์ ได้แก่ จิตทั้งหมด เป็นนามธรรม

7.อิตถินทรีย์

มีหน้าที่แสดงลักษณะของทรวดทรงหญิง เครื่องหมายรู้ว่าหญิง กิริยาหญิง อาการหญิง สภาพหญิง ภาวะหญิง ได้แก่ อิตถีภาวรูป เป็นรูปธรรม

อิตถีภาวรูปนี้ เกิดต่อเนื่องในสันดานแห่งสตรีมิได้ขาดสาย อิตถีภาวรูปนี้เป็นใหญ่ที่จะทำให้รูปกายเป็นสตรี มีกิริยามารยาทแห่งสตรี

เมื่ออิตถีภาวรูปเกิดขึ้น รูปก็กลายเป็นสตรี กิริยาอาการก็เป็นสตรี แต่หญิงอาจกลับเป็นชายได้ ในขณะเมื่อเพศกลายเป็นชาย อิตถีภาวรูปดับไป ไม่เกิดขึ้นสิ้นภาวะ 17 ขณะจิต เมื่ออิตถีภาวรูปดับไปไม่เกิดถึง 17 ขณะจิตแล้ว ปุริสภาวรูปก็บังเกิดขึ้นในสันดาน ครั้นปุริสภาวรูปบังเกิด ก็กลายเป็นบุรุษในตอนนั้น

8.ปุริสินทรีย์

มีหน้าที่แสดงลักษณะของทรวดทรงชาย เครื่องหมายให้รู้ว่าชาย กิริยาอาการชาย ภาวะของชาย ได้แก่ ปุริสภาวรูป เป็นรูปธรรม

ปุริสภาวรูป เกิดต่อเนื่องในสันดานแห่งบุรุษมิได้ขาดสาย ปุริสภาวรูปนี้เป็นใหญ่ในที่จะทำให้รูปกายเป็นบุรุษ กิริยามารยาทอาการทั้งปวงเป็นกิริยามารยาทแห่งบุรุษ

ถ้าบุรุษจะกลายเป็นสตรี ขณะเมื่อเพศจะกลับเป็นสตรีนั้น ปุริสภาวรูปดับไป ไม่ได้เกิดขึ้นสิ้นสภาวะ 17 ขณะจิต เมื่อปุริสภาวรูปดับไปแล้ว ไม่บังเกิดล่วงไปถึง 17 ขณะจิตแล้ว อิตถีภาวรูปก็จะบังเกิดขึ้น

9.ชีวิตินทรีย์

ได้แก่ ชีวิตรูป มีหน้าที่รักษารูปและนาม มี 2 ประการ คือ รูปชีวิตินทรีย์ และอรูปชีวิตินทรีย์

รูปชีวิตินทรีย์ คือ อายุ ความดำรงอยู่ ความเป็นไปอยู่ กิริยาที่เป็นไปอยู่ อาการที่สืบเนื่องกันอยู่ ความประพฤติเป็นไปอยู่ ความหล่อเลี้ยงอยู่ ชีวิตินทรีย์ คือ ชีวิตของรูปธรรมนั้นๆ ได้แก่ อาการ 32 ที่ประชุมกัน

แท้จริง อาการ 32 เมื่อเรียกแต่ละอย่างๆ ก็มีชื่อต่างๆ กัน ชื่อว่า ผม เล็บ ฟันเป็นต้น ครั้นจัดเป็นหมวดๆ ก็เรียก ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ วาโยธาตุ ครั้นว่าธาตุทั้ง 4 ประการประชุมกันเข้าเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ก็เรียกว่า รูปชีวิตินทรีย์ มีตัวอย่างคือ รถนั้น เมื่อเรียก แต่ละสิ่ง ก็เรียกว่า งอน แอก ดุม เพลา กำ กง ครั้นเรียกรวมกันก็เรียกว่า ราชรถ

อรูปชีวิตินทรีย์ คือ อายุ ความดำรงอยู่ ความเป็นไปอยู่ กิริยาที่เป็นไปอยู่ อาการที่สืบเนื่องกันอยู่ ความประพฤติเป็นไปอยู่ ความหล่อเลี้ยง ชีวิตินทรีย์ คือชีวิตของนามธรรมนั้นๆ ซึ่งได้แก่ จิตและเจตสิก

10.สุขินทรีย์

มีหน้าที่สบาย คือ ความสบายทางกาย ความสุขทางกาย ความเสวยอารมณ์ที่สบาย เป็นสุขอันเกิดแต่กายสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่สบายเป็นสุขอันเกิดแต่กายสัมผัส ได้แก่สุขเวทนาเจตสิก เป็นนามธรรม

11.ทุกขินทรีย์

มีหน้าที่ไม่สบาย คือ ความไม่สบายกาย ความทุกข์ทางกาย ความเสวยอารมณ์ที่ไม่สบายสัมผัส ได้แก่ ทุกขเวทนาเจตสิก เป็นนามธรรม

12.โสมนัสสินทรีย์

มีหน้าที่ดีใจ คือ ควมสบายทางใจ ความสุขทางใจ ความเสวยอารมณ์ที่สบายเป็นสุขอันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่สบายเป็นสุขอันเกิดแต่เจโตสัมผัส ได้แก่ โสมนัสเวทนาเจตสิก เป็นนามธรรม

13.โทมนัสสินทรีย์

มีหน้าที่เสียใจ คือ ความไม่สบายทางใจ ความทุกข์ทางใจ ความเสวยอารมณ์ที่ไม่สบาย เป็นทุกข์อันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่ไม่สบาย เป็นทุกข์อันเกิดแต่เจโตสัมผัส ได้แก่ โทมนัสเวทนาเจตสิก เป็นนามธรรม

14.อุเปกขินทรีย์

มีหน้าที่วางเฉย คือ ความสบายทางใจก็ไม่ใช่ ความไม่สบายทางใจก็ไม่ใช่ ความเสวยอารมณ์ที่ไม่ทุกข์ไม่สุข อันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่ไม่ทุกข์ไม่สุข อันเกิดแต่เจโตสัมผัส ได้แก่ อุเบกขาเวทนาเจตสิก เป็นนามธรรม

15.สัทธินทรีย์

สัทธินทรีย์ คือ ศรัทธา กิริยาที่เชื่อ ความปลงใจเชื่อ ความเลื่อมใสยิ่ง สัทธินทรีย์ คือศรัทธา สัทธาพละ ได้แก่ สัทธาเจตสิก เป็นใหญ่ในสัมปยุตตธรรม ด้วยสภาวะครอบงำซึ่งมิจฉาวิโมกข์ คือ ความเลื่อมใสศรัทธาหยั่งลงในที่ผิด และเป็นนามธรรม

สัทธา ความเชื่อ ความเลื่อมใสในคุณของพระรัตนตรัย จำแนกออกเป็น 72) คือ

1.ปสาทสัทธา ความเชื่อความเลื่อมใสตามปกติของบุคคลทั่วไป เช่น เชื่อต่อพระปัญญาการตรัสรู้ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เชื่อทาน ศีล ภาวนา

2.โอกัปปนสัทธา ความเชื่อความเลื่อมใสที่หยั่งลงไปในวัตถุที่ตนเคารพนับถือนั้นๆ เป็นอย่างดี เช่น เชื่อมั่นในพระรัตนตรัยอย่างไม่หวั่นไหว

3.อาคมสัทธา ความเชื่อความเลื่อมใสต่อพระธรรมคำสั่งสอนที่ตนได้ศึกษาเล่าเรียนมานั้น คือ เชื่อต่อปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ

4.อธิคมสัทธา ความเชื่อความเลื่อมใสเกิดขึ้นเพราะตนได้บรรลุผลของการปฏิบัติ เช่น ผู้นั้นได้บรรลุโสดาปัตติมรรค โสดาปัตติผล เป็นต้น

5.ปัจจักขสัทธา ความเชื่อความเลื่อมใสที่ประจักษ์แจ่มแจ้งแก่ตนเอง เพราะได้ปฏิบัติพิสูจน์ จนรู้แจ้งเห็นจริงมาแล้ว ไม่ต้องเชื่อใครๆ อีก

6.ปักขันทสัทธา ความเชื่อความเลื่อมใสที่แล่นไปโดยลำดับๆ ได้แก่ความเชื่อความเลื่อมใสของผู้เจริญวิปัสสนา ผ่านวิปัสสนาญาณเบื้องต้น ท่ามกลางมาแล้ว

7.โวสสัชชนสัทธา ความเชื่อความเลื่อมใสที่สละกิเลสได้เด็ดขาด ได้แก่ ความเชื่อ ความเลื่อมใสของผู้ปฏิบัติที่เกิดกับโสดาปัตติมรรคญาณ สกิทาคามิมรรคญาณ อนาคามิมรรคญาณ หรือ อรหัตตมรรคญาณ

16.วิริยินทรีย์

คือ การปรารภความเพียรทางใจ ความขะมักเขม้น ความบากบั่น ความตั้งหน้า ความพยายาม ความอุตสาหะ ความทนทาน ความเข้มแข็ง ความหมั่น ความก้าวไปอย่างไม่ท้อถอย ความไม่ทอดทิ้งฉันทะ ความไม่ทอดทิ้งธุระ ความประคับประคองธุระ วิริยินทรีย์คือ วิริยะ วิริยะพละ สัมมาวายามะ ได้แก่ วิริยเจตสิก เป็นใหญ่ที่ครอบงำโกสัชชะ คือ กุศลจิตตุปบาท มีถีนมิทธะเป็นประธาน และเป็นนามธรรม

วิริยะ มีลักษณะคือ เครื่องหมายเป็นต้นอย่างนี้คือ3)

1.อุตสาหลกฺขณํ วิริยคือความเพียรนั้น มีความอุตสาหะเป็นเครื่องหมาย ได้แก่ มีความขยันเป็นที่สุด ทำอะไรตั้งใจทำจริงๆ ไม่อ้างเลศ ไม่แก้ตัว ไม่เป็นไปตามอำนาจของความเกียจคร้าน มีใจเข้มแข็ง

2.สหชาตานํ อุปตฺถมฺภนรสํ มีหน้าที่อุดหนุนค้ำจุนธรรมที่เกิดร่วมกันให้มีกำลังกล้ายิ่งขึ้น เช่น ในขณะเจริญวิปัสสนากรรมฐานนั้น เมื่อมีความเพียรชอบแล้ว ความเห็นชอบ ดำริชอบ การงานชอบ วาจาชอบ เป็นอยู่ชอบ ระลึกชอบ ตั้งใจชอบก็สามารถจะเกิดขึ้นได้ จนกระทั่ง เป็นมัคคสมังคี ทั้งนี้เพราะได้กำลังอุดหนุนอันสำคัญมาจากวิริยะนั่นเองเป็นต้นเหตุ

3.อสํสีทนปจฺจุปฏฺฐานํ มีการไม่จมอืด ไม่ย่อท้อ ไม่ย่อหย่อน เป็นผลปรากฏ หมายความว่า ถ้ามีความเพียรอยู่นั้นจะไม่เฉื่อยชา จะไม่ขี้เกียจ จะไม่ทิ้งการงานไว้ครึ่งๆ กลางๆ จะไม่ทำอะไรจับๆ จดๆ ถ้าอยู่ทางโลก ผลของงานก็จะปรากฏออกมาให้เห็นได้อย่างเด่นชัด ถ้าอยู่ในทางธรรม เช่น เจริญกรรมฐาน ผลของการปฏิบัติสำหรับบุคคลผู้มีความเพียรตามอิทธิบาท ข้อที่ 2 นี้จะปรากฏก้าวหน้าไปไกลกว่าบุคคลผู้ไม่มีความเพียรเป็นร้อยเท่าพันทวี อุปมาเหมือน ม้ามีฝีเท้าดี วิ่งออกหน้าม้ากระจอกฝีเท้าเลวอย่างไกลลิบ ฉะนั้น

4.สํเวควตฺถุปทฏฺฐานํ มีสังเวควัตถุ 8 เป็นเหตุใกล้ชิดที่จะให้ความเพียรเกิด สังเวค-วัตถุ แปลว่า ที่ตั้งแห่งความสลดใจ หมายความว่า ถ้าพิจารณาตามนี้ จะทำใจให้เปลี่ยนไปได้ เช่น ใจขี้เกียจ จะกลับเป็นใจขยันขึ้นมา เมื่อใจขยันแล้ว กายก็ไม่มีปัญหาอะไร เพราะใจเป็นนาย กายเป็นบ่าว กายจึงอยู่ใต้บังคับบัญชาของใจ สังเวควัตถุ 8 นั้นคือ ชาติทุกข์ ชราทุกข์ พยาธิทุกข์ มรณทุกข์ นิรยทุกข์ เปตติทุกข์ อสุรกายทุกข์ ดิรัจฉานทุกข์ เมื่อนักปฏิบัติธรรมพิจารณาถึงความทุกข์ต่างๆ ดังกล่าวมานี้จะเห็นทุกข์โทษนานาประการ แล้วเกิดความเบื่อหน่ายในกองทุกข์ ใจอยากจะหลุดพ้นไปโดยเร็ว ดังนั้น จึงเกิดความขยันหมั่นเพียร ตั้งใจปฏิบัติอย่างจริงจังขึ้น ทั้งนี้เพราะสังเวควัตถุ 8 เป็นเหตุใกล้ชิดที่จะให้เกิดความเพียรในการปฏิบัติธรรม คือในการเจริญวิปัสสนากรรมฐาน

ความเพียรในข้อนี้ คือ ความเพียร 4 ประการ ได้แก่

1.สังวรปธาน เพียรระวังมิให้ความโลภ ความโกรธ ความหลง เกิดขึ้นในขันธ-สันดานด้วยสีลสังวร ขันติสังวร วิริยสังวร สติสังวรและญาณสังวร

2.ปหานปธาน เพียรละกิเลส คือ ความโลภ ความโกรธ ความหลง ด้วยตทังคปหาน วิกขัมภนปหาน สมุจเฉทปหาน ปฏิปัสสัทธิปหาน นิสสรณปหาน

3.ภาวนาปธาน เพียรบำเพ็ญมรรค 8 ให้เกิดขึ้นในขันธสันดานของตน

4.อนุรักขนาปธาน เพียรรักษาใจให้ตั้งมั่นอยู่กับศีล สมาธิ ปัญญา

ความเพียรในปธานสังขารนั้น เมื่อจะกล่าวโดยย่อก็มีอยู่ 4 อย่าง คือ สัมมัปปธาน 4 แต่เมื่อจะกล่าวโดยพิสดารแล้ว มีอยู่ 28 อย่างคือ

1.วิริยารมฺโภ มีความเพียรเป็นไปทางใจ คือ มีใจขยันที่สุด

2.นิกฺกโม ทำความเพียรเป็นนิจ

3.ปรกฺกโม ทำความเพียรให้ก้าวหน้าเสมอๆ คือให้ทวีขึ้น ให้สูงขึ้น

4.อุยฺยาโม หนีจากความเกียจคร้าน ทำใจให้อยู่เหนือความเกียจคร้านทั้งมวล

5.วายาโม พยายามอย่างเต็มที่

6.อุสฺสาโห มีความอดทน คือเป็นคนใจเพชร

7.อุสฺโสฬฺหี มีความกล้าหาญ คือสู้ตาย ดุจทหารในสนามรบ

8.ถาโม มีกำลังดี คือมี พละ 5 อย่างเข้มแข็ง

9.ธิติ มีเพียรดี คือตั้งใจมั่น ตั้งใจเด็ดเดี่ยวไม่หวั่นไหวต่ออุปสรรคใดๆ ทั้งสิ้น

10.อสิถิลปรกฺกมตา มีความบากบั่นเป็นนิจ ไม่มีจิตย่อหย่อนท้อถอยเลย

11.อนิกฺขิตฺตฉนฺทตา ไม่ทอดฉันทะ คือไม่ละความพอใจในภาวนานั้นๆ

12.อนิกฺขิตฺตธุรตา ไม่วางธุระ ยึดวิปัสสนาธุระไว้เป็นอันดับหนึ่ง

13.ธุรสมฺปคฺคาโห ประคองวิปัสสนาธุระไว้ให้ดีที่สุดเท่าที่จะดีได้

14.วิริยํ อาจหาญ ไม่ครั่นคร้ามเกรงกลัวต่ออุปสรรคอะไรๆ เลยแม้แต่น้อย

15.วิริยพลํ มีความเพียรเป็นกำลังอันแข็งแกร่ง ดุจกำแพงแก้ว 7 ชั้น

16.สัมมาวายาโม เพียรชอบ ได้แก่ ความเพียรที่ประกอบด้วยองค์คุณ 11 ประการคือ

1.ปคฺคาห ประคองจิตไว้กับรูปนาม พระไตรลักษณ์ มรรคผล

2.ปหาน ละ โลภะ โทสะ โมหะ โดยตทังคปหาน วิกขัมภนปหาน และสมุจ-เฉทปหาน

3.อุปตฺถมฺภน ค้ำชูมรรค 8 ให้เป็นมรรคสมังคี

4.ปริยาทาน ครอบงำกิเลสทั้งหลายด้วย ปุพพภาคมรรคและอริยมรรค

5.วิโสธน ชำระใจให้หมดจดจากอาสวะทั้งมวล

6.อธิฏฺฐาน ตั้งใจไว้มั่นในไตรสิกขา

7.โวทาน ยังใจให้ผ่องแผ้วจากนิวรณ์ทั้ง 5

8.วิเสสาธิคม พยายามทำความเพียรจนได้บรรลุมรรคผล

9.ปฏิเวธ เพียรพยายามปฏิบัติจนได้รู้แจ้งแทงตลอดมรรค ผล

10.สจฺจาภิสมย เพียรพยายามปฏิบัติจนได้ทราบชัดอริยสัจ 4

11.ปติฏฺฐาปน เพียรพยายามจนสามารถยังใจให้เข้าถึงพระนิพพาน ดับกิเลสเป็นสมุจเฉทปหานจากขันธสันดาน

17.สตินทรีย์

คือ ความตามระลึก ความหวนระลึก สติ กิริยาที่ระลึก ความทรงจำ ความไม่เลื่อนลอย ความไม่ลืมสติ อินทรีย์คือสติ สติพละ สัมมาสติ ได้แก่ สติเจตสิกเป็นเจตสิกที่เป็นใหญ่ที่จะครอบงำอกุศลธรรมอันประพฤติเป็นไปด้วยความประมาทหลงลืมสติและเป็นนามธรรม

สัมมาสติ เป็นการระลึกชอบอยู่กับกาย เวทนา จิต ธรรม ในสติปัฏฐาน 4 ซึ่งประกอบด้วยองค์ 34) คือ

1.อาตาปี มีความเพียรเจริญวิปัสสนากัมมัฏฐานจนสามารถเผากิเลสให้ร้อนและให้ไหม้ได้ คือ ให้หมดสิ้นไปจากขันธสันดาน

2.สัมปชาโน มีสัมปชัญญะ คือ กำหนดรู้รูปนามอยู่ทุกๆ ขณะ

3.สติมา มีสติระลึกอยู่กับกาย เวทนา จิต ธรรมเป็นประจำ

18. สมาธินทรีย์

คือ ความตั้งอยู่แห่งจิต ความดำรงอยู่แห่งจิต ความมั่นอยู่แห่งจิต ความไม่ส่ายไปแห่งจิต ความไม่ฟุ้งซ่านแห่งจิต ภาวะที่จิตไม่ส่ายไป ความสงบอินทรีย์คือ สมาธิ สมาธิพละ สัมมาสมาธิ ได้แก่ เอกัคคตาเจตสิก เป็นใหญ่ที่จะครอบงำอกุศลอันเป็นฝักฝ่ายให้ฟุ้งซ่าน คือ อุทธัจจะ และเป็นนามธรรม

สัมมาสมาธิ5) ในวิปัสสนา ได้ปรมัตถ์ คือ รูปนามเป็นอารมณ์ มีลักษณะ 11 ประการ1 คือ

1.อวิกฺเขป ทำจิตเจตสิกให้สงบระงับ ให้ตั้งมั่นในศีล สมาธิ ปัญญา จนกระทั่งถึงมรรคญาณ

2.ปหาน ละมิจฉาสมาธิ ตั้งอยู่ในสัมมาสมาธิ จนถึงมรรคญาณ

3.อุปตฺถมฺภน อุปถัมภ์ค้ำชูมรรคที่เหลืออีก 7 ให้เป็นมัคคสมังคี

4.ปริยาทาน ครอบงำกิเลสโดยตทังคปหาน วิกขัมภนปหาน และสมุจเฉทปหาน

5.ปฏิเวธาทิวิโสธน ยังใจให้บริสุทธิ์หมดจดจากกิเลสเพราะปฏิเวธ

6.อธิษฺฐาน ตั้งจิตไว้ให้มั่นคงในศีล สมาธิ ปัญญา จนถึงมรรคญาณ

7.โวทาน ยังใจให้ผ่องแผ้วจากกิเลส จนกระทั่งถึงมรรคญาณ

8.วิเสสาธิคม บรรลุคุณวิเศษคือ มรรคญาณ

9.อุตตริปฏิเวธ แทงตลอดในมรรคญาณเบื้องสูงยิ่งๆ ขึ้นไปตามลำดับ นับแต่โสดาปัตติมรรคญาณเป็นต้นไป จนกระทั่งถึงอรหัตตมรรคญาณ

10.สจฺจาภิสมย ได้ตรัสรู้อริยสัจ 4

11.ปติฏฺฐาปน ยังใจให้เข้าถึงพระนิพพาน

19.ปัญญินทรีย์

มีหน้าที่คือ กิริยาที่รู้ชัด ความวิจัย ความเลือกสรร ฯลฯ ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ ได้แก่ ปัญญาเจตสิก (โลกีย์) เป็นใหญ่ในสัมปยุตธรรมด้วยสภาวะครอบงำความหลง และเป็นนามธรรม

สัมมาทิฏฐิ มี 6 อย่าง6) คือ

1.กมฺมสกตาสมฺมาทิฏฺฐิ เห็นชอบ คือ เห็นว่าสัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นของตนเอง ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว แล้วละชั่ว ประพฤติดี

2.ฌานสมฺมาทิฏฺฐิ เห็นชอบ คือ เห็นว่าการเจริญสมถกรรมฐานจนได้ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน ปัญจมฌาน เป็นของดีเพราะข่มนิวรณ์ 5 ได้ มีผลให้ไปเกิดในพรหมโลก แล้วลงมือเจริญสมถกรรมฐานทันทีไม่รอช้า

3.วิปสฺสนาสมฺมาทิฏฺฐิ เห็นถูก คือ เห็นว่าการเจริญวิปัสสนาเป็นของดี เพราะเป็นหัวใจของพระพุทธศาสนา เป็นทางสายเอก คือ เป็นทางสายเดียวเท่านั้นที่จะยังสรรพสัตว์ให้รีบรัดไปสู่พระนิพพาน แล้วลงมือเจริญวิปัสสนาจนเกิดวิปัสสนาญาณขึ้นมา โดยลำดับๆ ตั้งแต่ญาณที่ 1 จนถึงญาณที่ 13

4.มคฺคสมฺมาทิฏฺฐิ เห็นชอบ คือ เห็นว่ามรรคประหารกิเลสได้โดยง่ายเด็ดขาด แล้วลงมือเจริญวิปัสสนาจนถึงมรรคญาณ

5.ผลสมฺมาทิฏฺฐิ เห็นชอบ คือ เห็นว่าผลนี้สืบเนื่องมาจากมรรค เมื่อมรรคเกิด ผลก็ต้องเกิดเพราะเป็นอกาลิกธรรม คือ ไม่มีอะไรมาคั่นได้ พอมรรคจิตเกิด ผลจิตก็เกิดต่อทันทีในวิถีจิตเดียวกัน แล้วลงมือเจริญวิปัสสนา จนถึงผลญาณ

6.ปจฺจเวกฺขณสมฺมาทิฏฺฐิ เห็นชอบ คือเห็นว่าการพิจารณากิเลสที่ละได้แล้ว พิจารณากิเลสที่ยังเหลืออยู่ พิจารณามรรค พิจารณาผล พิจารณานิพพานเป็นสมบัติของพระอริยเจ้า คือ ท่านผู้ห่างไกลจากกิเลส แล้วลงมือเจริญวิปัสสนากรรมฐาน จนได้บรรลุมรรค 4 ผล 4 ปัจจเวกขณญาณ 19

20.อนัญญาตัญญัสสามีตินทรีย์

มีหน้าที่คือ กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ ธัมมวิจยสัม-โพชฌงค์ อันเป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค เพื่อรู้ธรรมที่ยังไม่เคยรู้ เพื่อเห็นธรรมที่ยังไม่เคยเห็น เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่เคยบรรลุ เพื่อทราบธรรมที่ยังไม่เคยทราบ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยัง ไม่เคยทำให้แจ้งนั้นๆ หรือรู้พระนิพพาน ตัดอกุศลได้ 5 ชนิด ได้แก่ ปัญญาเจตสิก(โลกุตตระ) เป็นนามธรรม

21. อัญญินทรีย์

มีหน้าที่คือ กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ ธัมมวิจยสัม-โพชฌงค์ อันเป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค เพื่อรู้ธรรมที่รู้แล้ว เพื่อเห็นธรรมที่เห็นแล้ว เพื่อบรรลุธรรมที่บรรลุแล้ว เพื่อทราบธรรมที่ทราบแล้ว เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ทำให้แจ้งแล้วนั้นๆ หรือรู้พระนิพพาน ตัดอกุศลไปตามลำดับญาณ ได้แก่ ปัญญาเจตสิก(โลกุตตระ) เป็นนามธรรม

22. อัญญาตาวินทรีย์

คือ ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค เพื่อรู้ธรรมที่รู้แล้ว เพื่อเห็นธรรมที่เห็นแล้ว เพื่อบรรลุธรรมที่บรรลุแล้ว เพื่อทราบธรรมที่ทราบแล้ว เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ทำให้แจ้งแล้วนั้นๆ หรือรู้พระนิพพาน ตัดอกุศลได้ 12 ชนิดทิ้งโดยสิ้นเชิง ได้แก่ ปัญญาเจตสิก(โลกุตตระ) เป็นนามธรรม
บันทึกการเข้า
ความติดข้องใจเสพย์อารมณ์ความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น สมุทัย
ผลของการดำเนินไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น ทุกข์
รู้สัจธรรมและปรมัตถ์ ดำรงอยู่ในกุศล สติ ศีล สมาธิ พรหมวิหาร๔ คิดดี พูดดี ทำดี เป็น มรรค
การดับไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี ถึง อัพยกตธรรม เป็น นิโรธ

Admax

  • ผู้อุปถัมภ์
  • โยคาวจรผล
  • ****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 1063
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ตารางสรุปอินทรีย์

อินทรีย์ 22    ผู้เป็นใหญ่ใน    องค์ธรรม    หน้าที่    ลักษณะ
1.จักขุนทรีย์   การเห็น   จัขุปสาท   รับสี   หัวเหา สีใส
2.โสตินทรีย์   การได้ยิน   โสตปสาท   รับเสียง   วงแหวนก้นหอย
3.ฆานินทรีย์   การรู้กลิ่น   ฆานปสาท   รับกลิ่น   กีบเท้าแพะ
4.ชิวหินทรีย์   การรู้รส   ชิวหาปสาท   รับรส   กลีบดอกบัว
5.กายินทรีย์   การสัมผัส   กายปสาท   รับสัมผัส   ซึมซาบทั่วร่างกาย
6.มนินทรีย์   การรับอารมณ์   จิตทั้งหมด   รู้อารมณ์   นามปรมัตถ์
7.อิตถินทรีย์   ความเป็นหญิง   อิตถีภาวรูป   ทรงไว้ลักษณะกิริยาอาการหญิง   ภาวนารูป
8.ปุริสินทรีย์   ความเป็นชาย   ปุริสภาวรูป   ทรงไว้ลักษณะกิริยาอาการชาย   ภาวนารูป
9.ชีวิตินทรีย์   การรักษารูปและนาม   ชีวิตรูปและชีวิตินทรีย์เจตสิก   รักษารูปและนาม   รูปและนาม
10.สุขินทรีย์   การเสวยความสุขกาย    เวทนา-สุขสหคตกายวิญญาณจิต1   สบายกาย   นามปรมัตถ์
11.ทุกขินทรีย์   การเสวยความทุกข์กาย   เวทนา-ทุกขสหคตกายวิญญาณจิต1   ทุกข์กาย   นามปรมัตถ์
12.โสมนัสสินทรีย์   การเสวยความสุขใจ   เวทนา-โสมนัสสหคตจิต62   ดีใจ   นามปรมัตถ์
13.โทมนัสสินทรีย์   การเสวยความทุกข์ใจ   เวทนา-โทสมูลจิต 2   เสียใจ   นามปรมัตถ์
14.อุเบกขินทรีย์   การเสวยอารมณ์ที่เป็นกลาง   เวทนา-อุเบกขาสหคตจิต55   วางเฉย   นามปรมัตถ์
15.สัทธินทรีย์   ความเชื่อ   สัทธา โสภณจิต 91   เลื่อมใสในสิ่งที่ควร   นามปรมัตถ์
16.วิริยินทรีย์   ความเพียร   วิริยะ-วิริยสัมปยุตตจิต 105   ความเพียร   นามปรมัตถ์
17.สตินทรีย์   การระลึกชอบ   สติ-โสภณจิต 91   ความระลึกได้   นามปรมัตถ์
18.สมาธินทรีย์   การตั้งมั่นแห่งจิต   เอกัคคตา-จิต 72   ตั้งมั่นแน่วแน่น   นามปรมัตถ์
19.ปัญญินทรีย์   การรู้ตามความจริง   ปัญญา-ญาณสัมปยุตตจิต   รู้ไตรลักษณ์   นามปรมัตถ์
20.อนัญญตัญญัสสามิตินทรีย์   การรู้แจ้งอริยสัจ 4 ที่ตนไม่เคยรู้   ปัญญา-โสดาปัตติมรรคจิต   รู้นิพพานตัตอกุศล ๕   นามปรมัตถ์
21.อัญญินทรีย์   การรู้แจ้งอริยสัจ 4 ที่ตนรู้   ปัญญา-โสดาปัตติผลอรหัตตมรรค   รู้นิพพานตัตอกุศลไปในลำดับญาณ ปัญญาเจตสิก   นามปรมัตถ์
22.อัญญตาวินทรีย์   การรู้แจ้งอริยสัจ 4 สิ้นสุดแล้ว   ปัญญา-อรหัตตผล   รู้นิพพานตัตอกุศลทั้ง 12 ชนิดโดยสิ้นเชิง   นามปรมัตถ์



8.4 ลักษณะความสัมพันธ์ของอินทรีย์ในลำดับของเทศนา

อินทรีย์ทั้ง 22 มีความสัมพันธ์เกี่ยวเนื่องและเชื่อมต่อกันไปเป็นลำดับ ดังที่กล่าวไว้ในอภิธรรมภาชนีย์กล่าวคือ7)

1.ในลำดับนั้น การได้เฉพาะซึ่งอริยภูมิ ย่อมมีด้วยการกำหนดรู้ธรรมอันเป็นภายใน เพราะเหตุนั้น พระองค์จึงทรงแสดงจักขุนทรีย์ เป็นต้น ซึ่งนับเนื่องด้วยอัตภาพก่อน

2.ก็อัตภาพนั้นอาศัยธรรมใด ย่อมถึงการนับว่า เป็นหญิง หรือเป็นชายเพื่อทรงชี้แจงแสดงว่า ธรรมนั้นคือ อัตภาพนี้

3.ถัดจากนั้นจึงทรงแสดงอิตถินทรีย์และปุริสินทรีย์

4.เพื่อให้ทราบว่า อัตภาพแม้ทั้ง 2 นั้นมีความเป็นไปเนื่องด้วยชีวิตินทรีย์ ถัดจากนั้น จึงทรงแสดงชีวิตินทรีย์

5.ตราบใดที่ชีวิตินทรีย์นั้นยังเป็นไปอยู่ ตราบนั้นความไม่หยุดยั้งแห่งอารมณ์ที่เสวย แล้ว(เวทนา) เหล่านั้นก็มีอยู่

6.เพื่อให้ทราบว่า สุขและทุกข์ทั้งหมดนั้นอย่างใดอย่างหนึ่งที่เสวยแล้ว ถัดจากนั้นจึงทรงแสดงสุขินทรีย์ เป็นต้น

7.อนึ่ง เพื่อทรงแสดงข้อปฏิบัติว่า “   ธรรมเหล่านี้พึงเจริญเพื่อความดับสุขินทรีย์เป็นต้นนั้น”

8.ถัดจากนั้น จึงทรงแสดงคำว่า สัทธา เป็นต้น เพื่อทรงแสดงความไม่เป็นโมฆะแห่ง ข้อปฏิบัติว่า “   ด้วยข้อปฏิบัตินี้ เอกธรรมย่อมปรากฏในตนก่อน”

9.ถัดจากนั้น จึงทรงแสดงอนัญญตัญญัสสามีตินทรีย์ พระองค์ทรงแสดงอัญญินทรีย์ ไว้ต่อจากอนัญญตัญญัสสามิตินทรีย์นั้น เพราะความที่อัญญินทรีย์นั้นเป็นผลของอนัญญตัญญัสสามีตินทรีย์นั้นนั่นเอง และเป็นอินทรีย์ที่พึงเจริญในลำดับต่อจากอนัญญตัญญัสสามีตินทรีย์นั้น

10.เบื้องหน้าแต่นี้ เพื่อให้รู้ว่า “   การบรรลุอินทรีย์นี้ได้ด้วยภาวนา(การเจริญ) ก็แล เมื่อบรรลุอินทรีย์นี้แล้ว อินทรีย์อะไรๆ ที่พึงกระทำให้ยิ่งขึ้นไปอีกย่อมไม่มี” จึงตรัสอัญญาตาวินทรีย์อันเป็นความโล่งใจอย่างยิ่งไว้ในข้อสุดท้ายนี้เป็นลำดับในอินทรีย์เหล่านี้

8.5 การจัดหมวดหมู่ของอินทรีย์ 22

อินทรีย์ 22 สามารถจัดแบ่งได้ทั้งหมด 5 หมวด ดังนี้คือ

1.หมวดที่เป็นอายตนะ ได้แก่ อินทรีย์ 6 ประกอบด้วย จักขุ โสตะ ฆานะ ชิวหา กายะ และมนะ

2.หมวดที่เป็นภาวะ ได้แก่ อินทรีย์ 3 ประกอบด้วย อิตถี ปุริส ชีวิต

3.หมวดที่เป็นเวทนา ได้แก่ อินทรีย์ 5 ประกอบด้วย สุข ทุกข์ โสมนัส โทมนัส อุเบกขา

4.หมวดที่เป็นพละ ได้แก่ สัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา

5.หมวดที่เป็นโลกุตตระ ได้แก่ อนัญญาตัญญัสสามิ อัญญา อัญญาตาวี

อินทรีย์ทั้ง 5 หมวดนี้ พระพุทธองค์ได้ตรัสถึงแต่ละหมวดไว้ มีเนื้อความดังต่อไปนี้

1. หมวดที่เป็นอายตนะ ได้แก่ อินทรีย์ 6

“   ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ 6 ประการนี้ คือ จักขุนทรีย์ 1 โสตินทรีย์ 1 ฆานินทรีย์ 1 ชิวหินทรีย์ 1 กายินทรีย์ 1 มนินทรีย์ ”8)

จักษุและธรรมที่ชื่อว่า อินทรีย์ เพราะอรรถว่าใหญ่ คือ เป็นอธิบดีของธรรมทั้งหลายที่เกิดในจักขุทวารนั้นชื่อว่า จักขุนทรีย์ หมายความว่า จักขุนทรีย์คือความเป็นใหญ่ในจักขุทวาร แม้ในโสตินทรีย์ก็เช่นกัน โสตินทรีย์คือความเป็นใหญ่ในโสตทวาร ฆานินทรีย์ คือความเป็นใหญ่ในฆานทวาร แม้ในชิวหินทรีย์ กายินทรีย์ มนินทรีย์ คือความเป็นใหญ่ในทวารนั้นๆ

พระพุทธองค์ได้ตรัสถึงอินทรีย์ทั้ง 6 ประการนี้ อันเกี่ยวข้องกับการบรรลุอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าว่า หากผู้ใดได้รู้ทั่วถึงคุณและโทษ และวิธีการสละออก ย่อมทำให้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ดังที่พระพุทธองค์ได้ตรัสไว้ในทุติยอรหันตสูตรว่า

“   ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรายังไม่รู้ทั่วถึงความเกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบายเครื่องสลัดออกแห่งอินทรีย์ 6 ประการนี้ตามความเป็นจริงเพียงใด เราก็ยังไม่ปฏิญาณตนว่า ได้ตรัสรู้พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณในโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ เพียงนั้น”9)

“   ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อใด เรารู้ทั่วถึงความเกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบายเครื่องสลัดออกแห่งอินทรีย์ 6 ประการนี้ ตามความเป็นจริง เมื่อนั้น เราจึงปฏิญาณตนว่าได้ตรัสรู้พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณในโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ ก็แหละญาณทัสสนะได้บังเกิดขึ้นแก่เราว่า วิมุตติของเราไม่กำเริบ ชาตินี้เป็นชาติมีในที่สุด บัดนี้ความเกิดอีกไม่มี”10)

ในอินทรีย์ 22 นับตั้งแต่ข้อที่ 1 ถึงข้อที่ 6 เป็นเรื่องของอายตนะภายนอกทั้ง 6 คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ตามลำดับ ทั้งนี้เพราะเป็นสิ่งที่เห็นได้ชัดมากที่สุด ทำให้เข้าใจได้ง่าย จึงเรียงมาเป็นอันดับแรกในบรรดาอินทรีย์ทั้ง 22

2. หมวดที่เป็นภาวะ ได้แก่ อินทรีย์ 3

ในหมวดนี้ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสไว้ในชีวิตินทรียสูตร ว่า

“   ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ 3 ประการนี้ 3 ประการเป็นไฉน คือ อิตถินทรีย์ 1 ปุริสินทรีย์ 1 ชีวิตินทรีย์ 1 อินทรีย์ 3 ประการนี้แล”11)

สาเหตุที่นำอินทรีย์ทั้ง 3 ประการนี้ต่อจากอินทรีย์ทั้ง 6 ประการแรกนั้น ตีความได้ว่าเพราะทั้งชายและหญิงต่างก็มีอินทรีย์ทั้ง 6 ประการแรกเหมือนๆ กัน คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ สิ่งเหล่านี้รวมตัวกัน จึงประกอบขึ้นมาเป็นชีวิต

3. หมวดที่เป็นเวทนา ได้แก่ อินทรีย์ 5

พระพุทธองค์ได้ทรงอธิบายถึงอินทรีย์ที่เป็นเวทนาในสุทธิกสูตร ว่า

“   ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ 5 ประการนี้ 5 ประการเป็นไฉน คือ สุขินทรีย์ ทุกขินทรีย์ โสมนัสสินทรีย์ โทมนัสสินทรีย์ อุเบกขินทรีย์ อินทรีย์ 5 ประการนี้แล”12)

จากนั้นพระองค์ได้ทรงอธิบายถึงลักษณะของอินทรีย์เหล่านี้ไว้ในปฐมวิภังคสูตร หรือ พระสูตรที่ว่าด้วยการจำแนกอินทรีย์ว่า

“   ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สุขินทรีย์เป็นไฉน ความสุขทางกาย ความสำราญทางกาย เวทนาอันเป็นสุขสำราญเกิดแต่กายสัมผัสนี้ เรียกว่า สุขินทรีย์

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ทุกขินทรีย์เป็นไฉน ความทุกข์ทางกาย ความไม่สำราญทางกาย เวทนาอันเป็นทุกข์ไม่สำราญ เกิดแต่กายสัมผัสนี้ เรียกว่า ทุกขินทรีย์

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็โสมนัสสินทรีย์เป็นไฉน ความสุขทางใจ ความสำราญทางใจ เวทนาอันเป็นสุขสำราญเกิดแต่มโนสัมผัสนี้ เรียกว่า โสมนัสสินทรีย์

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็โทมนัสสินทรีย์เป็นไฉน ความทุกข์ทางใจ ความไม่สำราญทางใจ เวทนาอันเป็นทุกข์ไม่สำราญ เกิดแต่มโนสัมผัสนี้ เรียกว่า โทมนัสสินทรีย์

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อุเบกขินทรีย์เป็นไฉน เวทนาอันสำราญก็ไม่ใช่ ไม่ใช่ความสำราญ ก็ไม่ใช่ ทางกายหรือทางใจนี้ เรียกว่า อุเบกขินทรีย์”13)

นอกจากนี้ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงอธิบายถึงอินทรีย์ทั้ง 5 ลักษณะนี้ว่า ย่อมมีทั้งเกิดและดับไป มีเนื้อหาคล้ายคลึงกับปฏิจจสมุปบาท14)

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ทุกขินทรีย์ย่อมอาศัยผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งทุกขเวทนาเกิดขึ้น ภิกษุนั้นไม่สบายกาย ก็รู้ชัดว่าเราไม่สบายกาย ย่อมรู้ชัดว่า เพราะผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งทุกขเวทนานั้นแหละดับไป เวทนาซึ่งเกิดแต่ผัสสะนั้น คือ ทุกขินทรีย์ที่อาศัยผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งทุกขเวทนาเกิดขึ้นนั้น ย่อมดับไป สงบไป

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โสมนัสสินทรีย์ย่อมอาศัยผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งโสมนัสเวทนาเกิดขึ้น ภิกษุนั้นสบายใจ ก็รู้ชัดว่าเราสบายใจ ย่อมรู้ชัดว่า เพราะผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งโสมนัสสเวทนานั้นแหละดับไป เวทนาซึ่งเกิดแต่ผัสสะนั้นคือ โสมนัสสินทรีย์ที่อาศัยผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งโสมนัสเวทนาเกิดขึ้นนั้น ย่อมดับไป สงบไป

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โทมนัสสินทรีย์ย่อมอาศัยผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งโทมนัสเวทนาเกิดขึ้น ภิกษุไม่สบายใจ ก็รู้ชัดว่า เราไม่สบายใจย่อมรู้ชัดว่า เพราะผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งโทมนัสเวทนา นั้นแหละดับไป เวทนาซึ่งเกิดแต่ผัสสะนั้นคือ โทมนัสสินทรีย์ที่อาศัยผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งโทมนัสเวทนาเกิดขึ้นนั้น ย่อมดับไป สงบไป

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุเบกขินทรีย์อาศัยผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขาเวทนาเกิดขึ้น ภิกษุนั้นก็รู้สึกเฉยๆ ก็รู้ชัดว่า เรารู้สึกเฉยๆ ย่อมรู้ชัดว่า เพราะผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขา- เวทนานั้นแหละดับไป เวทนาซึ่งเกิดแต่ผัสสะนั้น คือ อุเบกขินทรีย์ที่อาศัยผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่ง อุเบกขาเวทนาเกิดขึ้นนั้น ย่อมดับไป สงบไป”15)

การที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอธิบายเช่นนี้ ก็เนื่องจากว่า ธรรมดาสัตว์ทั้งหลายที่มีความรู้สึกสบาย ไม่สบายหรือว่าเฉยๆ อันเป็นสภาพของเวทนาเหล่านี้ จะปรากฏได้ก็จะต้องอาศัยการกระทบกันระหว่างอารมณ์, ทวารและจิต การกระทบกันระหว่างสภาพธรรม 3 ประการนี้แหละเรียกว่า ผัสสะ ถ้าไม่มี ผัสสะ คือ การกระทบของจิตกับอารมณ์ที่ทวารหรือว่าทางรับรู้อารมณ์นี้แล้ว ความรู้สึกต่างๆ จะปรากฏขึ้นไม่ได้ และเมื่อสัตว์ทั้งหลายขาดความรู้สึกไปเสียแล้ว ความโลภ พอใจติดใจในอารมณ์ต่างๆ ที่เป็นเหตุแห่งความเจริญเติบโตของสัตว์ทั้งหลายก็ไม่ได้เช่นเดียวกัน ฉะนั้นผัสสะจึงได้ชื่อว่าเป็นผัสสาหาร เพราะการนำซึ่งเวทนาคือความรู้สึกในการเสวยอารมณ์ของสัตว์ทั้งหลายนั่นเอง

4. หมวดที่เป็นพละ 5

หากมองดูผิวเผินดูเหมือนว่าอินทรีย์จะเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับการเสวยอารมณ์ ความรู้สึกต่างๆ ที่ผ่านมาทางทวารทั้ง 6 (ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ) แต่โดยความเป็นจริงแล้ว ได้มีแนวทางในการปฏิบัติเพื่อจะเปลี่ยนจากอินทรีย์ของปุถุชนธรรมดาเป็นอินทรีย์ของพระอริยเจ้า และแนว ทางในการปฏิบัติที่เป็นดั่งสะพานที่เชื่อมต่อนี้ก็ได้แก่ สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์และปัญญินทรีย์ ซึ่งอินทรีย์ทั้ง 5 ประการนี้ตรงกับหมวดธรรมที่เรียกว่า พละ 5 ซึ่งในที่นี้มีความหมายว่า ความไม่หวั่นไหว วจนัตถะว่า “   พลียนฺติอุปฺปนฺเน ปฏิปกฺขธมฺเม สหนฺติ มทฺทนฺตีติ พลานิ” แปลความว่า ธรรมเหล่าใด ย่อมมีกำลังให้อดทน ต่อสู้ ทำลายซึ่งปฏิปักขธรรม16) ฉะนั้นธรรมเหล่านั้นชื่อว่า พละ

พละ 5 นั้นประกอบด้วย สัทธา วิริยะ สติ สมาธิ และปัญญา และพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้ทรงอธิบายถึงสาเหตุที่พละ 5 มีความเกี่ยวเนื่องกับอินทรีย์ไว้ในสาเกตสูตร17) ว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปริยายที่อินทรีย์ 5 อาศัยแล้วเป็นพละ 5 ที่พละ 5 อาศัยแล้ว เป็นอินทรีย์ 5 มีอยู่ ปริยายที่อินทรีย์ 5 อาศัยแล้ว เป็นพละ 5 ที่พละ 5 อาศัยแล้ว เป็นอินทรีย์ 5 เป็นไฉน?

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดเป็นสัทธินทรีย์ สิ่งนั้นเป็นสัทธาพละ สิ่งใดเป็นสัทธาพละ สิ่งนั้นเป็นสัทธินทรีย์ สิ่งใดเป็นวิริยินทรีย์ สิ่งนั้นเป็นวิริยพละ สิ่งใดเป็นวิริยพละ สิ่งนั้นเป็นวิริยินทรีย์ สิ่งใดเป็นสตินทรีย์ สิ่งนั้นเป็นสติพละ สิ่งใดเป็นสติพละ สิ่งนั้นเป็นสตินทรีย์ สิ่งใดเป็นสมาธินทรีย์ สิ่งนั้นเป็นสมาธิพละ สิ่งใดเป็นสมาธิพละ สิ่งนั้นเป็นสมาธินทรีย์ สิ่งใดเป็น ปัญญินทรีย์ สิ่งนั้นเป็นปัญญาพละ สิ่งใดเป็นปัญญาพละ สิ่งนั้นเป็นปัญญินทรีย์

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนแม่น้ำ ซึ่งไหลไปทางทิศตะวันออก หลั่งไปทางทิศตะวันออก บ่าไปทางทิศตะวันออก ที่ตรงกลางแม่น้ำนั้นมีเกาะ ปริยายที่กระแสแห่งแม่น้ำนั้น อาศัยแล้ว ย่อมถึงซึ่งความนับว่ากระแสเดียวมีอยู่ อนึ่ง ปริยายที่กระแสแห่งแม่น้ำนั้นอาศัยแล้ว ย่อมถึงซึ่งความนับว่า สองกระแสมีอยู่

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ปริยายที่กระแสแห่งแม่น้ำนั้น อาศัยแล้ว ย่อมถึงซึ่งความนับว่ากระแสเดียวเป็นไฉน คือ น้ำในที่สุดด้านตะวันออกและในที่สุดด้านตะวันตกแห่งเกาะนั้น ปริยาย นี้แล ที่กระแสแห่งแม่น้ำนั้นอาศัยแล้ว ย่อมถึงซึ่งความนับว่ากระแสเดียว

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ปริยายที่กระแสแห่งแม่น้ำนั้น อาศัยแล้ว ย่อมถึงซึ่งความนับว่าสองกระแสเป็นไฉน คือ น้ำในที่สุดด้านเหนือแล้วในที่สุดด้านใต้แห่งเกาะนั้น ปริยายนี้แลที่กระแสแห่งแม่น้ำนั้น อาศัยแล้วย่อมถึงซึ่งความนับว่า สองกระแสฉันใด

ฉันนั้นเหมือนกัน ภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดเป็นสัทธินทรีย์สิ่งนั้นเป็นสัทธาพละ สิ่งใดเป็นสัทธาพละ สิ่งนั้นเป็นสัทธินทรีย์ สิ่งใดเป็นวิริยินทรีย์ สิ่งนั้นเป็นวิริยพละ สิ่งใดเป็นวิริยพละ สิ่งนั้นเป็นวิริยินทรีย์ สิ่งใดเป็นสตินทรีย์ สิ่งนั้นเป็นสติพละ สิ่งใดเป็นสติพละ สิ่งนั้นเป็นสตินทรีย์ สิ่งใดเป็นสมาธินทรีย์ สิ่งนั้นเป็นสมาธิพละ สิ่งใดเป็นสมาธิพละ สิ่งนั้นเป็นสมาธินทรีย์ สิ่งใดเป็นปัญญินทรีย์ สิ่งนั้นเป็นปัญญาพละ สิ่งใดเป็นปัญญาพละ สิ่งนั้นเป็นปัญญินทรีย์

นอกจากนี้ในพระไตรปิฎกได้กล่าวถึงการปรับอินทรีย์ให้เสมอกัน18) เพราะอินทรีย์มีผลต่อการบรรลุธรรม การทำอินทรีย์มีศรัทธาเป็นต้นให้มีความเสมอกัน ชื่อว่าการปรับอินทรีย์ให้เสมอกัน ถ้าว่าสัทธินทรีย์มีพลัง อินทรีย์นอกนี้อ่อน จะทำให้ วิริยินทรีย์ก็ไม่อาจจะทำหน้าที่ประคองไว้ได้ สตินทรีย์ก็ไม่อาจจะทำหน้าที่ปรากฏได้ สมาธินทรีย์ก็ไม่อาจจะทำหน้าที่ไม่ให้ฟุ้งซ่านได้ ปัญญินทรีย์ก็ไม่อาจจะทำหน้าที่พิจารณาเห็นได้

เพราะฉะนั้นพระโยคาวจรพึงให้สัทธินทรีย์นั้นเสื่อมไป โดยพิจารณาถึงสภาวธรรม หรือโดยไม่ใส่ใจถึง โดยทำนองที่เมื่อใส่ใจถึง สัทธินทรีย์จะมีพลัง ก็ในข้อนี้มีเรื่องของพระวักกลิเถระเป็นตัวอย่าง

แต่ถ้าวิริยินทรีย์มีพลัง ภายหลังสัทธินทรีย์จะไม่สามารถทำหน้าที่น้อมใจเชื่อได้เลย อินทรีย์นอกนี้ก็ไม่อาจทำหน้าที่ต่างประเภทนอกนี้ได้ เพราะฉะนั้น พระโยคาวจรพึงให้วิริยินทรีย์นั้นเสื่อมไปด้วยการเจริญปัสสัทธิ เป็นต้น แม้ในข้อนั้นพึงแสดงเรื่องของพระโสณเถระให้เห็น

แม้ในอินทรีย์ที่เหลือก็พึงทราบอย่างนั้น เมื่ออินทรีย์อย่างเดียวมีพลัง พึงทราบว่า อินทรีย์นอกนี้ก็หมดสมรรถภาพในหน้าที่ของตน

การทำศรัทธากับปัญญาเสมอกัน

ศรัทธามีพลัง แต่มีปัญญาอ่อน จะมีความเลื่อมใสอย่างงมงาย คือ เลื่อมใสในสิ่งที่ไม่ใช่วัตถุ ผู้มีปัญญามีพลังแต่มีศรัทธาหย่อน ย่อมจะกระเดียดไปทางข้างเกเรแก้ไขยาก เหมือนโรคดื้อยา ไม่ทำกุศลมีทาน เป็นต้น โดยคิดเลยเถิดไปว่า กุศลจะมีได้ด้วยเหตุเพียงจิตตุปบาทเท่านั้น ย่อมเกิดในนรก แต่เพราะศรัทธาและปัญญาทั้งคู่เสมอกัน เขาจะเลื่อมใสในพระรัตนตรัยทีเดียว

การทำสมาธิกับวิริยะเสมอกัน

สมาธิมีพลัง แต่วิริยะหย่อนโกสัชชะ(ความเกียจคร้าน) จะครอบงำ(เธอ) เพราะสมาธิเป็นฝักฝ่ายแห่งโกสัชชะ ความเกียจคร้าน(ถ้า) วิริยะมีพลัง แต่สมาธิหย่อน อุทธัจจะ(ความฟุ้งซ่าน) จะครอบงำเธอ เพราะวิริยะเป็นฝักฝ่ายแห่งอุทธัจจะ ก็สมาธิที่ประกอบไปด้วยวิริยะ จะไม่มีตกไปในโกสัชชะ ความเกียจคร้าน วิริยะที่ประกอบไปด้วยสมาธิจะไม่มีตกไปในอุทธัจจะ เพราะฉะนั้น ควรทำสมาธิ และวิริยะทั้งคู่นั้นให้เสมอกันด้วยว่า อัปปนาจะมีได้เพราะวิริยะและสมาธิทั้งคู่นั้นเสมอกัน

สำหรับผู้เริ่มบำเพ็ญสมาธิ ศรัทธาถึงจะมีพลังก็ใช้ได้ เมื่อเชื่ออย่างนี้ กำหนดอยู่ จะถึงอัปปนา ในสมาธิ และปัญญาสำหรับผู้เริ่มบำเพ็ญสมาธิ เอกัคคตา(สมาธิ) มีพลังย่อมใช้ได้ ด้วยว่า เมื่อเป็นเช่นนี้ เธอก็จะบรรลุอัปปนา

สำหรับผู้เริ่มบำเพ็ญวิปัสสนาปัญญามีพลังย่อมใช้ได้ ด้วยว่า เมื่อเป็นเช่นนี้ เธอก็จะถึงการแทงตลอดลักษณะ(พระไตรลักษณ์) ก็เพราะทั้งสองอย่างนั้นเสมอกัน อัปปนาก็จะมีทีเดียว

สติ มีพลัง ใช้ได้ในทุกที่ทุกสถาน

เพราะว่าสติจะรักษาจิตไว้ได้ จากการตกไปสู่อุทธัจจะ ด้วยอำนาจของศรัทธา วิริยะและปัญญา ซึ่งเป็นฝักฝ่ายแห่งอุทธัจจะ จะรักษาจิตไว้ได้จากการตกไปสู่โกสัชชะ ด้วยสมาธิ ที่เป็นฝักฝ่ายแห่งโกสัชชะ เพราะฉะนั้น สตินั้นจึงจำต้องปรารถนาในที่ทั้งปวง เหมือนในแกงทุกอย่างต้องเหยาะเกลือ และเหมือนในราชกิจทุกชนิด ต้องประสงค์ผู้สำเร็จราชการด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ก็แลสติจำปรารถนาในที่ทั้งปวง

ในการบรรลุธรรมที่มีข้อปฏิบัติและผลต่างกัน ก็เพราะอินทรีย์ 5 นี้เป็นตัวกำหนด ดังที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า19)

ปฏิปทา 4 คือ

ทุกฺขา ปฏิปทา ทนฺธาปฏิญฺญา ปฏิบัติลำบาก บรรลุช้า

ทุกฺขา ปฏิปทา ขิปฺปาภิญฺญา ปฏิบัติลำบาก บรรลุเร็ว

สุขา ปฏิปทา ทนฺธาภิญฺญา ปฏิบัติสะดวก บรรลุช้า

สุขา ปฏิปทา ขิปปาภิญฺญา ปฏิบัติสะดวก บรรลุเร็ว

1.ปฏิบัติลำบาก บรรลุช้า เพราะมีราคะ โทสะ โมหะกล้า ได้รับทุกข์โทมนัสเนืองๆ อินทรีย์ 5(สัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา) อ่อน ย่อมบรรลุอนันตริยคุณเพื่อสิ้นอาสวะช้า

2.ปฏิบัติลำบาก บรรลุเร็ว เพราะมีราคะ โทสะ โมหะกล้า ได้รับทุกข์โทมนัสเนืองๆ อินทรีย์ 5(สัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา) แก่กล้า ย่อมบรรลุอนันตริยคุณเพื่อสิ้นอาสวะเร็ว

3.ปฏิบัติสะดวก บรรลุช้า เพราะมิใช่เป็นคนมีราคะ โทสะ โมหะกล้า และมิใคร่ได้รับได้รับทุกข์โทมนัสที่เกิดจากราคะ โทสะ โมหะ อินทรีย์ 5 (สัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา) อ่อน ย่อมบรรลุอนันตริยคุณเพื่อสิ้นอาสวะช้า

4.ปฏิบัติสะดวก บรรลุเร็ว เพราะมิใช่เป็นคนราคะ โทสะ โมหะกล้า และมิใคร่ได้รับ ทุกข์โทมนัสที่เกิดจากราคะ โทสะ โมหะ มีอินทรีย์ 5 (สัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา) แก่กล้า ย่อมบรรลุอนันตริยคุณเพื่อสิ้นอาสวะเร็ว

นอกจากนี้พระสัมมาสัมพุทธเจ้ายังได้ตรัสถึงอานิสงส์ของการเจริญอินทรีย์ไว้ว่า

“   ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ 5 เหล่านี้ คือ สัทธินทรีย์ ฯลฯ ปัญญินทรีย์ อินทรีย์ 5 เหล่านี้แล ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะความที่อินทรีย์ 5 เหล่านี้แล อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว พึงหวังผลได้ 2 อย่าง อย่างใดอย่างหนึ่งคือ อรหัตผลในปัจจุบัน หรือเมื่อยังมีความถือมั่นเหลืออยู่ เป็นพระอนาคามี”20)

และตรัสถึงความต่างแห่งผลเพราะความต่างแห่งอินทรีย์ 5 ไว้ดังนี้ว่า21)

1.บุคคลเป็นพระอรหันต์ เพราะอินทรีย์ 5 ประการนี้เต็มบริบูรณ์

2.เป็นพระอนาคามี เพราะอินทรีย์ 5 ยังอ่อนกว่าอินทรีย์ของพระอรหันต์

3.เป็นพระสกทาคามี เพราะอินทรีย์ 5 ยังอ่อนกว่าอินทรีย์ของพระอนาคามี

4.เป็นพระโสดาบัน เพราะอินทรีย์ 5 ยังอ่อนกว่าอินทรีย์ของพระสกิทาคามี

5.เป็นพระโสดาบันผู้ธัมมานุสารี เพราะอินทรีย์ 5 ยังอ่อนกว่าอินทรีย์ของพระโสดาบัน

6.เป็นพระโสดาบันผู้สัทธานุสารี เพราะอินทรีย์ 5 ยังอ่อนกว่าอินทรีย์ของพระโสดาบันผู้ธัมมานุสารี ความต่างแห่งผลย่อมมีได้เพราะความต่างแห่งอินทรีย์ ความต่างแห่งบุคคลย่อมมีได้ เพราะความต่างแห่งผล

6.หมวดที่เป็นโลกุตตระ ได้แก่ อนัญญาตัญญัสสามิ อัญญา อัญญาตาวี

อินทรีย์ทั้ง 3 ประเภทสุดท้ายนี้คือ อนัญญตัญญัสสามิตินทรีย์ อัญญินทรีย์ อัญญาตาวินทรีย์ จะมีแต่เฉพาะในพระอริยเจ้า ตั้งแต่พระโสดาบันขึ้นไปเท่านั้น ในเรื่องของอินทรีย์ทั้ง 3 ประการนี้ พระเดชพระคุณพระมงคลเทพมุนี(สด จนฺทสโร) หลวงพ่อวัดปากน้ำภาษีเจริญท่านได้กล่าวไว้ว่า

“   อนัญญตัญญัสสามิตินทรีย์ พระโสดาเป็นใหญ่ เป็นหน้าที่ของพระโสดาปัตติมรรคอัญญินทรีย์ โสดาปัตติผลสกทาคาอนาคาถึงอรหัตมรรคเป็นใหญ่ของหน้าที่นั้นๆ อัญญาตาวินทรีย์อรหัตเป็นใหญ่ เป็นใหญ่ในหน้าที่ของพระอรหัตผลนั้นๆ

เมื่อว่าอินทรีย์ 22 เป็นภูมิของวิปัสสนาแท้ๆ ถ้าไม่มีตาธรรมกายมองไม่เห็น มีตาธรรมกายมองเห็น22)

อินทรีย์ 22 ซึ่งเป็นวิปัสสนาภูมินี้ มีลักษณะเหมือนประมวลรวม เรื่องของขันธ์ อายตนะธาตุ มาอยู่ในนี้ด้วยกัน แต่

ก็มีองค์ประกอบหลายกลุ่มที่จัดเข้าเป็นหมวดกันได้ และมีลักษณะเป็นเรื่องพื้นฐานจนกระทั่งถึงขั้นอรหัตตผล ซึ่งเป็นสิ่งที่น่าสนใจเกี่ยวกับความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน ซึ่งเราจะได้ศึกษาต่อไปในวิปัสสนาภูมิที่เป็นภาคปฏิบัติ





1) พระราชวรมุนี (ประยุทธ์ ปยุตฺโต), พจนานุกรมพุทธศาสตร์, ด่านสุทธาการพิมพ์ จำกัด, 2528, หน้า 419.
2) พระธรรมธีรราชมหามุนี, วิปัสสนากรรมฐาน ภาค 2, กรุงเทพฯ : อมรินทร์พริ้นติ้งกรุ๊ป, 2532, หน้า 509-510.
3) พระธรรมธีรราชมหามุนี, วิปัสสนากรรมฐาน ภาค 2, กรุงเทพฯ : อมรินทร์พริ้นติ้งกรุ๊ป, 2532, หน้า 568-573.
4) พระธรรมธีรราชมหามุนี, วิปัสสนากรรมฐาน ภาค 2, กรุงเทพฯ : อมรินทร์พริ้นติ้งกรุ๊ป, 2532, หน้า 529.
5) พระธรรมธีรราชมหามุนี, วิปัสสนากรรมฐาน ภาค 2, กรุงเทพฯ : อมรินทร์พริ้นติ้งกรุ๊ป, 2532, หน้า 538.
6) พระธรรมธีรราชมหามุนี, วิปัสสนากรรมฐาน ภาค 2, กรุงเทพฯ : อมรินทร์พริ้นติ้งกรุ๊ป, 2532, หน้า 484-485.
7) อินทริยวิภังคนิเทศ วรรณนา อภิธรรมภาชนีย์, มก. เล่มที่ 77 หน้า 412.
8) สุทธกสูตร, สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค, มก. เล่ม 31 ข้อ 901 หน้า 38.
9) สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค, มก. เล่ม 31 ข้อ 907 หน้า 40.
10) ทุติยอรหันตสูตร, สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค, มก. เล่ม 31 ข้อ 908 หน้า 40.
11) ชีวิตินทริยสูตร, สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค, มก. เล่ม 31 ข้อ 897 หน้า 30.
12) สุทธกสูตร, สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค, มก. เล่ม 31 ข้อ 914 หน้า 44.
13) สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค, มก. เล่ม 31 ข้อ 926-930 หน้า 48-49.
14) การเกิดขึ้นพร้อมแห่งธรรมทั้งหลายเพราะอาศัยกัน ธรรมที่อาศัยกันเกิดขึ้นพร้อม การที่สิ่งทั้งหลายอาศัยกันจึงเกิดมีขึ้น.
15) อรหันตสูตร, สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค, มก. เล่ม 31 ข้อ 954 หน้า 53.
16) ธรรมที่ตรงกันข้ามกับพละ 5 ประการนั้น เช่น โกสัชชะ เป็นปฏิปักขธรรม ต่อ วิริยพละ เป็นต้น.
17) สาเกตสูตร, สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค, มก. เล่ม 31 ข้อ 975 หน้า 70.
18) มัชฌิมนิกาย มุลปัณณาสก์, มก. เล่มที่ 17 หน้า 762.
19) วิตถารสูตร, อังคุตตนิกาย จตุกนิบาท, มก. เล่มที่ 35 ข้อ 162 หน้า 386.
20) ปฐมผลสูตร, สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค, มก. เล่ม 31 หน้า 102.
21) ทุติยสังขิตตสูตร, สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค, มก. เล่ม 31 ข้อ 878 หน้า 19.
22) วัดปากน้ำภาษีเจริญ และสมาคมศิษย์หลวงพ่อวัดปากน้ำ, มรดกธรรมของหลวงพ่อวัดปากน้ำ (พระมงคลเทพมุนี), กรุงเทพฯ : อมรินทร์ พริ้นติ้งกรุ๊พ, 2537, หน้า 295.

ขอขอบคุณที่มาจาก http://book.dou.us/doku.php?id=md408:8
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กุมภาพันธ์ 24, 2014, 12:21:41 pm โดย Admax »
บันทึกการเข้า
ความติดข้องใจเสพย์อารมณ์ความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น สมุทัย
ผลของการดำเนินไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น ทุกข์
รู้สัจธรรมและปรมัตถ์ ดำรงอยู่ในกุศล สติ ศีล สมาธิ พรหมวิหาร๔ คิดดี พูดดี ทำดี เป็น มรรค
การดับไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี ถึง อัพยกตธรรม เป็น นิโรธ

Admax

  • ผู้อุปถัมภ์
  • โยคาวจรผล
  • ****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 1063
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ผมหวังว่าพระสูตรในกระทู้นี้พร้อมการเจริญปฏิบัะติและความหมายทั้งหลายจะเป็นประโยชน์แก่ท่านผู้มาแวะชมนะครับ
บันทึกการเข้า
ความติดข้องใจเสพย์อารมณ์ความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น สมุทัย
ผลของการดำเนินไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น ทุกข์
รู้สัจธรรมและปรมัตถ์ ดำรงอยู่ในกุศล สติ ศีล สมาธิ พรหมวิหาร๔ คิดดี พูดดี ทำดี เป็น มรรค
การดับไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี ถึง อัพยกตธรรม เป็น นิโรธ

what-is-it

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 51
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
บทนี้นั่งอ่าน มา 5 วัน เพื่อจะได้ เป็นหนทาง ละราคะ
 แต่อ่านแล้ว ก็ิติดคำศัพท์มากมาย

  อยากทราบว่า มีเนือ้หา บรรยายจากพระอาจารย์ เรื่องนี้เป็นไฟล์เสียงบ้างหรือไม่คะ

  thk56 st12
บันทึกการเข้า