ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: หากกิเลสเป็นตัวตนแล้วไซร้ "จักรวาลนี้ก็แคบไป พรหมโลกก็ต่ำไป" ไม่พอบรรจุกิเลส...  (อ่าน 1507 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

digitalknowledge

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 5
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0

 :25: :25: :25:

ขึ้นชื่อว่ากิเลสนี้เป็นของหยาบนัก หากกิเลสเป็นตัวตนแล้วไซร้
จักรวาลนี้ก็แคบไป พรหมโลกก็ต่ำไป ไม่พอบรรจุกิเลสได้เลย


     ภิกษุทั้งหลายสนทนากันว่า
     “ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ขึ้นชื่อว่ากิเลสนี้หยาบนัก กุลบุตรผู้ถึงพร้อมด้วยอุปนิสัยแห่งพระอรหันต์เห็นปานนี้ กิเลสยังให้มัวหมองได้ ทำให้ต้องบวชถึง 7 ครั้ง สึกถึง 6 หน”

     ขณะนั้นองค์พระศาสดาเสด็จมาทรงสดับกถานั้นด้วย จึงตรัสว่า
     “ถูกแล้วภิกษุทั้งหลาย ขึ้นชื่อว่ากิเลสนี้เป็นของหยาบนัก หากกิเลสเป็นตัวตนแล้วไซร้ จักรวาลนี้ก็แคบไป พรหมโลกก็ต่ำไป ไม่พอบรรจุกิเลสได้เลย กิเลสนี้เองสามารถทำบุรุษอาชาไนยผู้สมบูรณ์ด้วยปัญญาแม้เช่นเราให้มัวหมองได้ ไม่ต้องกล่าวถึงคนเหล่าอื่น เราเองก็เคยอาศัยข้าวฟ่าง ลูกเดือยเพียงครึ่งทะนานและจอบเหี้ยน (จอบที่ใช้งานมานานแล้วจนสึก) จนต้องบวชแล้วสึกถึง 6 หน”



ที่มา : อรรถกถา ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท จิตตวรรคที่ ๓ (เรื่องพระจิตตหัตถเถระ)
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=25882.msg77763;topicseen#msg77763
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=13&p=5




“กิเลสพันห้า ตัณหาร้อยแปด”

ในภาษาไทย มีคำพูดเป็นสำนวนเก่า ที่นิยมกล่าวอ้างกันสืบๆ มาแบบติดปากว่า “กิเลสพันห้า ตัณหาร้อยแปด” พึงทราบว่า เป็นถ้อยคำที่อิงหลักธรรม 2 หมวด คือ กิเลส 1500 และ ตัณหา 108 ที่แสดงดังนี้

@@@@@@

กิเลส 1500 (สภาพที่ทำให้จิตเศร้าหมอง )

กิเลส 1500 ที่จัดเป็นชุดจำนวนอย่างนี้ ไม่มีในพระบาลี แม้จะมีกล่าวถึงในอรรกกถาบางแห่งก็แสดงเพียงตัวอย่าง ไม่ครบถ้วน ระบุไว้อย่างมากที่สุดเพียง 336 อย่าง (ดู อุ.อ.172,424; อิติ.อ.166) เช่น โลภะ โทสะ โมหะ วิปริตมนสิการ อหิริกะ อโนตตัปปะ ถีนะ มิทธะ โกธะ อุปนาหะ ฯลฯ อกุศลกรรมบถ 10 ... ตัณหา 108

ในคัมภีร์รุ่นหลังต่อมา ได้มีการพยายามนับจำนวนกิเลสพันห้าให้เป็นตัวเลขที่ชัดเจน ดังปรากฏในธัมมสังคณีอนุฏีกา (ฉบับ มจร. สงฺคณี.อนุฏีกา 23-24) ซึ่งได้แสดงระบบวิธีนับไว้หลายอย่าง สรุปได้เป็น 2 แบบ คือ แบบลงตัวจำนวน 1500 ถ้วน และแบบนับคร่าวๆ ขาดเกินเล็กน้อย นับแต่จำนวนเต็ม

    แบบที่ 1. จำนวนลงตัว 1500 ถ้วน คือ
       - อารมณ์ 150 x กิเลส 10 = กิเลส 1,500
       - กิเลส 10 ดู [316] กิเลส 10
       - อารมณ์ 150 หมายถึง อารมณ์ซึ่งเป็นที่ตั้งของกิเลส แต่มีวิธีนับ 2 นัย คือ
         ก) อารมณ์ 150 = ธรรม 75 [อรูปธรรม 53 (คือจิต 1 + เจตสิก 52) + รูปรูป 18* + อากาสธาตุ 1 + ลักขณรูป 3**] x 2 (ภายใน + ภายนอก)
         ข) อารมณ์ 150 = ธรรม 75 [อรูปธรรม 57 (คือจิต 1 + เวทนาเจตสิก 5 + เจตสิกอื่นๆ 51) + รูปรูป 18] x 2 (ภายใน + ภายนอก)

    แบบที่ 2. จำนวนไม่ลงตัว ขาดหรือเกินเล็กน้อย นับจำนวนเต็มปัดเศษ
       แบบที่ 2 นี้ ท่านแจงวิธีนับไว้หลายอย่าง เป็น 1,584 บ้าง 1,512 บ้าง 1,510 บ้าง 1,416 บ้าง แต่จะไม่นำรายละเอียดมาแสดงในที่นี้ เพราะจะทำให้ฟั่นเฝือ


      *รูปทั้งหมดมี 28 (ดู [40]) ในจำนวนนี้ 18 อย่าง เรียกว่า รูปรูป เพราะเป็นรูปที่เป็นรูปธรรมจริงๆ หรือแปลง่ายๆ ว่า “รูปแท้” ได้แก่ มหาภูตรูป 4, ปสาทรูป 5, วิสัยรูป 4, ภาวรูป 2, หทัยรูป 1, ชีวิตรูป 1 และอาหารรูป 1 ส่วนรูปที่เหลืออีก 10 อย่าง (คือ ปริจเฉทรูป 1, วิญญัติรูป 2, วิการรูป 3, ลักขณรูป 4) เป็นเพียงอาการลักษณะหรือความเป็นไปของรูปเหล่านั้น จึงไม่เป็นรูปรูป

   ** ลักขณรูป นับเต็มมี 4 (ดู [40] ฏ.) แต่ 2 อย่างแรก นับรวมเป็น 1 ได้ เรียกว่า ชาติรูป กล่าวคือ อุปจยะ หมายถึง การเกิดที่เป็นการก่อตัวขึ้นทีแรก และ สันตติ หมายถึง การเกิดสืบเนื่องต่อๆ ไป โดยนัยนี้ จึงนับลักขณรูปเป็น 3


@@@@@@@

ตัณหา 108 (ความทะยานอยาก, ความร่านรน)

ตัณหา 108 ในพระบาลีเดิมเรียก ตัณหาวิจริต (ความเป็นไป หรือการออกเที่ยวแสดงตัวของตัณหา) [องฺ.จตุกฺก. 21/199/290; อภิ.วิ. 35/1033/530] จัดดังนี้

    ตัณหาวิจริต 18 อันอาศัยเบญจขันธ์ภายใน = เมื่อมีความถือว่า “เรามี” จึงมีความถือว่า : เราเป็นอย่างนี้ เราเป็นอย่างนั้น เราเป็นอย่างอื่น เราไม่เป็นอยู่ เราพีงเป็นอย่างนี้ เราพึงเป็นอย่างนั้น เราพึงเป็นอย่างอื่น ฯลฯ

   ตัณหาวิจริต 18 อันอาศัยเบญจขันธ์ภายนอก = เมื่อมีความถือว่า “เรามีด้วยเบญจขันธ์นี้” จึงมีความถือว่า : เราเป็นอย่างนี้ด้วยเบญจขันธ์นี้ เราเป็นอย่างนั้น ด้วยเบญจขันธ์นี้ เราเป็นอย่างอื่นด้วยเบญจขันธ์นี้ ฯลฯ

   ตัณหาวิจริต 18 สองชุดนี้ รวมเป็น 36 x กาล 3 (ปัจจุบัน อดีต อนาคต) = 108

   @@@@

   อีกอย่างหนึ่ง ตัณหา 3 (กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา)
       x ตัณหา 6 (ตัณหาในรูป ในเสียง ในกลิ่น ในรส ในโผฏฐัพพะ ในธรรมารมณ์) = 18
       x ภายในและภายนอก = 36
       x กาล 3 = 108 (วิสุทธิ. 3/180)



ที่มา : พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)
http://www.84000.org/tipitaka/dic/d_item.php?i=359
http://www.84000.org/tipitaka/dic/d_item.php?i=357

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ตุลาคม 31, 2018, 09:30:38 am โดย raponsan »
บันทึกการเข้า

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • *
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
ให้เป็นอำนาจการตัดสินใจ ของผู้ดูแลห้อง ถ้าเห็นว่าไม่ขัดแย้งก็ กับห้องก็ตามนั้น

เจริญพร
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0

 :96: :96: :96:

กระทู้แนะนำ

(๑) ชายเจ็ดโบสถ์ บรรลุอรหันต์
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=1583.msg6401#msg6401

(๒) พระจิตตหัตถ์ คนเลี้ยงโคผู้สำเร็จเป็นพระอรหันต์ - "บวชถึง 7 ครั้ง สึกถึง 6 หน"
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=25882.msg77763;topicseen#msg77763


หมายเหตุ : แก้ไขมาจากกระทู้เดิม เที่ยวกรุงเทพ ตรัง เกาะลันดา กันง่ายๆ ไปกับ Fly ‘n’ Ferry ของนกแอร์กัน
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ