ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
  • สนง.ส่งเสริมพระกรรมฐาน
แสดงกระทู้
This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.
  Messages   Topics   Attachments  

  Topics - ธรรมะ ปุจฉา
หน้า: 1 [2]
41  เรื่องทั่วไป / ข่าวสารเพื่อนถึงเพื่อน / พิพิธภัณฑ์กรรมฐาน ที่เก็บโบราณวัตถุ สมัยสมเด็จพระสังฆราช (สุก) ไก่เถื่อน เมื่อ: มิถุนายน 30, 2012, 10:19:14 pm
พิพิธภัณฑ์กรรมฐาน ที่เก็บโบราณวัตถุ สมัยสมเด็จพระสังฆราช (สุก) ไก่เถื่อน
29 เมษายน 2555 เวลา 14:40 น. |เปิดอ่าน 76,016 | ความคิดเห็น 1
โดย...สมาน สุตโต

ในบรรดาสมเด็จพระสังฆราชกรุงรัตนโกสินทร์ที่มีถึงสมัยปัจจุบันรวม 19 พระองค์นั้น สมเด็จพระสังฆราชพระองค์หนึ่งมีพระนามที่ประชาชนกล่าวถึงคุณธรรมพิเศษทางด้านเมตตา เชี่ยวชาญในวิปัสสนากรรมฐาน เป็นพระอาจารย์พระราชามหากษัตริย์พระบรมราชจักรีวงศ์ถึง 4 พระองค์ ผ่านมา 200 ปี สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ปัจจุบัน ได้รับพระราชทานพระนามที่โด่งดังในอดีตมาเป็นสมณศักดิ์

โดย posttoday : http://www.posttoday.com/ธรรมะ-จิตใจ/151102/พิพิธภัณฑ์กรรมฐาน-ที่เก็บโบราณวัตถุ-สมัยสมเด็จพระสังฆราช-สุก-ไก่เถื่อน
42  เรื่องทั่วไป / สอบถามปัญหาชีวิต เปิดใจคุยกัน / มิได้นั่งปิดตาปฏิบัติ ก็ปีติ มากๆ ( ทรงพระเจริญ) / และคุณละ? เมื่อ: มิถุนายน 29, 2012, 07:53:32 pm
ได้รับชมภาพ พระราชกรณียกิจ ที่ได้ช่วยเหลือผู้คน เห็นแล้วเกิดความปีติมาก น้ำตาไหล  :03:เห็นถึงความเมตตา ของพระองค์ท่าน  มีมาก ถึงกับมีหลายคนได้กล่าววาจา ต่อหน้าพระพักต์  ว่าจะเป็นคนดี  จะตั้งใจเรียนหนังสือ เอาคะแนนดีๆ มาถวาย เห็นถึงความตั้งใจของแต่ละคน มีที่พึ่ง มีเป้าหมายจัดเจน

      และก็ทำให้มาคิดถึงตัวเราเอง ว่าเราจะทำอะไรเป็นการตอบแทนพระองค์?

เราจะเป็นคนที่ดี  และคุณละ? :72:

   ทรงพระเจริญ          ทรงพระเจริญ         ทรงพระเจริญ         ทรงพระเจริญ
43  กรรมฐาน มัชฌิมา / เกี่ยวกับ วัด พระสงฆ์ พระธาตุ พระเครื่อง / ปฐมสมโพธิกถา เมื่อ: มิถุนายน 26, 2012, 12:05:36 pm
ปริจเฉทที่ ๑ วิวาหมงคลปริวรรต
ตอนที่ ๑
วิวาหมงคลปริวรรต
พระเจ้าสุทโธทนะอภิเษกสมรสกับพระนางสิริมหามายา


เนื้อความย่อ

 พระโพธิสัตว์ของเรา (ต่อมาคือพระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบันนี้) เคยเกิดเป็นพระเจ้ามหาสมมติเทวราชปกครองชมพูทวีป ทรงเป็นต้นพระราชวงศ์ “มหาสมมติหรือสมมติเทวราช” มีเหล่ากษัตริย์จากราชวงศ์นี้ต่อเนื่องมา ๘๔,๐๐๐ พระองค์

          ต่อมา เจ้าในราชวงศ์นี้ได้ตั้งราชวงศ์ใหม่ คือ “โอกกากราชวงศ์” มีกษัตริย์ต่อเนื่อง ๓ พระองค์ โดยพระเจ้าโอกกากราชพระองค์ที่๓ ทรงมีพระโอรสพระธิดากับพระอัครมเหสีพระองค์ใหญ่ รวม ๙ พระองค์ เป็นพระธิดา ๕ พระโอรส ๔

          หลังพระราชมารดาสิ้นพระชนม์ ทั้ง ๙ พระองค์ต้องเสด็จออกจากพระนคร เพราะพระราชบิดาได้ยกราชสมบัติให้แก่พระโอรสที่ประสูติจากพระอัครมเหสีพระองค์ใหม่ ซึ่งทั้ง ๙ พระองค์ อำมาตย์ผู้ใหญ่ ๘ คน และหมู่ประชาชนพร้อมด้วยหมู่สัตว์พากันมุ่งหน้าไปทางป่าหิมพานต์ ได้พบกับกบิลพราหมณ์ผู้เชี่ยวชาญการดูพื้นที่ (ท่านว่าพราหมณ์นี้คือพระโพธิสัตว์ของเรา) ท่านแนะให้สร้างเมืองใหม่ตรงบริเวณที่ท่านอาศัยอยู่ในป่าสากะ แลให้ตั้งชื่อเมืองว่ากบิลพัสดุ์

          พระนครใหม่สร้างเสร็จแล้ว กษัตริย์เหล่านั้นยกพี่สาวคนโตให้เป็นดุจพระมารดา ทรงเกรงว่า ชาติตระกูลจะไม่บริสุทธิ์หากอภิเษกสมรสกับคนในราชวงศ์อื่น จึงอภิเษกสมรสกันเอง ๔ คู่ แล้วเจริญด้วยราชบุตรราชธิดาจำนวนมาก กษัตริย์เมืองใหม่นี้ได้ชื่อว่าศักยราชตระกูลหรือศากยวงศ์ สืบทอดราชวงศ์เรื่อยมา ซึ่งพระโพธิสัตว์ของเราในพระชาติหนึ่งก็เคยอุบัติในราชวงศ์นี้ คือสมัยที่ทรงเป็นพระเจ้าเวสสันดรหลังจุติแล้วทรงอุบัติในดุสิตภพ

          จนถึงสมัยพระเจ้าสีหหนุศากยะ ทรงส่งพราหมณ์ ๘ คน ออกเสาะแสวงหาสตรีที่คู่ควรแก่พระราชโอรสสุทโธทนะ ได้พบพระราชกุมารีสิริมหามายาผู้ทรงถึงพร้อมด้วยลักษณะของสตรีตามที่พราหมณ์ทำนาย ทรงจัดพิธีอภิเษกสมรสให้อย่างยิ่งใหญ่ ณ พระนครเทวทหะ


          กลับถึงพระนครกบิลพัสดุ์แล้ว พระเจ้าสีหหนุทรงสละราชสมบัติมอบให้พระราชโอรสสุทโธทนะ เป็นพระเจ้าแผ่นดินครองกรุงกบิลพัสดุ์

ปฐมกษัตริย์ “มหาสมมติวงศ์”

          ดังได้รู้มาในต้นปฐมกัป สมเด็จพระบรมโพธิสัตว์ของเราทั้งหลาย เกิดเป็นพระเจ้ามหาสมมติเทวราชปฐมกษัตริย์ เสวยราชสมบัติเป็นมหิสราธิปไตยในสกลชมพูทวีปนี้ มีพระราชโอรสทรงพระนามว่า โรชราช พระเจ้าโรชราชนั้น มีพระราชโอรสทรงพระนามว่า วรโรชราช พระเจ้าวรโรชราชนั้น มีพระราชโอรสทรงพระนามว่า กัลยาณราช พระเจ้ากัลยาณราชนั้น มีพระราชโอรสทรงพระนามว่าวรกัลยาณราช พระเจ้าวรกัลยาราชนั้น มีพระราชโอรสทรงพระนามว่ามันธาตุราช พระเจ้ามันธาตุราชนั้น มีพระราชโอรสทรงพระนามว่า สกมันธาตุราช๑ พระเจ้าสกมันธาตุราชนั้น มีพระราชโอรสทรงพระนามว่า อุโบสถ พระเจ้าอุโบสถราชนั้น มีพระราชโอรสทรงพระนามว่า วรราช พระเจ้าวรราชนั้นมีพระราชโอรสทรงพระนามว่า อุปวรราช พระเจ้าอุปวรราชนั้น มีพระราชโอรสทรงพระนามว่า มฆเทวราช ได้เสวยราชสมบัติสืบพระวงศ์ เป็นลำดับมาถึง ๑๑ พระองค์ด้วยกัน

 

เกิดโอกกากราชวงศ์

          ลำดับแต่นั้นมา พระราชวงศานุวงศ์ได้เสวยราชสมบัติสืบกษัตริย์มาถึง ๘๔,๐๐๐ พระองค์ จึงถึงโอกกากวงศ์ทั้ง ๓ และพระเจ้าปฐมโอกกากราชได้เสวยราชสมบัติสืบพระวงศ์มาหลายชั่วกษัตริย์ จึงถึงพระเจ้าทุติยโอกกากราช พระเจ้าทุติยโอกกากราชเป็นบรมกษัตริย์ สืบพระวงศ์ต่อๆ กันมาจนถึงพระเจ้าตติยโอกกากราช

          พระเจ้าตติยโอกกากราชมีพระมเหสี ๕ พระองค์ คือ พระนางหัฏฐา  ๑ พระนางจิตตา ๑ พระนางชันตุ ๑ พระนางชาลินี ๑ พระนางวิสาขา ๑ พระมเหสีองค์หนึ่งๆ มีนางสนมเป็นบริวาร ๕๐๐ๆ ก็แลพระนางหัฏฐาซึ่งเป็นพระเชษฐอัครมเหสีใหญ่นั้นมีพระราชบุตร ๔ พระองค์ คือ โอกกากมุขราชกุมาร ๑ กรัณฑราชกุมาร ๑ หัตถินิเกสิราชกุมาร ๑ นิปุรราชกุมาร ๑ แลมีพระราชบุตรีอีก ๕ พระองค์ คือ นางปิยาราชกุมารี ๑ นางสุปิยาราชกุมารี ๑  นางอานันทาราชกุมารี ๑ นางวิชิตาราชกุมารี ๑  นางวิชิตาเสนาราชกุมารี ๑ รวมพระบุตรแลพระบุตรีเป็น ๙ พระองค์ด้วยกัน

 

พระเจ้าโอกกากราชที่ ๓ ยกราชสมบัติให้พระโอรสองค์เล็ก

          ครั้นสืบมา ณ กาลภายหน้า พระมเหสีผู้ใหญ่นั้นสิ้นพระชนม์ลง สมเด็จบรมกษัตริย์จึงไปนำมาซึ่งนางราชธิดาองค์อื่นอันทรงอุดมรูป ตั้งไว้ ณ ที่เป็นอัครมเหสีผู้ใหญ่ แลนางนั้นมีพระราชโอรสองค์หนึ่ง ทรงนามชันตุราชกุมาร ครั้นพระราชกุมารนั้นพระชนม์ได้ ๕ เดือน พระมารดาจึงประดับด้วยเครื่องราชกุมารปิลันธนาภรณ์นำขึ้นเฝ้าพระราชบิดา พระราชบิดาได้ทอดพระเนตรพระราชโอรสอันทรงสรีรรูปอันงาม ก็ทรงพระสิเนหปราโมทย์ จึงดำรัสพระราชทานพรแก่พระนางผู้เป็นมารดาว่า เจ้าจะปรารถนาพรอันใดก็จะให้สำเร็จมโนรถ

          แลนางนั้นได้โอกาสจึงคบคิดกับหมู่ญาติทั้งปวงทูลขอราชสมบัติให้แก่บุตรของตน สมเด็จบรมกษัตริย์ตรัสคุกคามว่า หญิงร้าย ไฉนเจ้ามากล่าวความพินาศฉิบหายปรารถนาจะกระทำอันตรายแก่โอรสผู้ใหญ่ของเราดังนี้ แลนางนั้นก็คอยท่วงที เมื่อเสด็จเข้าสู่ที่สิริครรภไสยาสน์ กระทำประโลมด้วยอิตถีมายายังพระภัสดาให้ยินดีด้วยวิธีกามเสวนกิจ แล้วพิดทูลวิงวอนว่า พระองค์เป็นบรมกษัตริย์ ได้ออกพระโอษฐ์พระราชทานพรอนุญาตแก่ข้าพระบาทแล้ว ซึ่งจะมิได้โปรดพระราชทานให้สมซึ่งประสงค์แห่งข้าพระองค์นั้นมิสมควร

 

พระโอรสพระธิดา ๙ พระองค์ต้องออกจากเมือง

          สมเด็จพระเจ้าโอกกากราชทรงคิดละอายพระทัยด้วยได้ลั่นพระโอษฐ์ออกแล้วเกรงจะเสียสัตย์ จึงดำรัสให้หาพระราชโอรสทั้ง ๔ มาเฝ้า แล้วตรัสเล่าความตามนัยหนหลัง แล้วตรัสสั่งว่าเจ้าจะปรารถนาช้างม้าแลรถรี้พลสักเท่าใด ก็จงนำไปเท่านั้น เหลือไว้แต่คชาชาติราชอัสสดุรงครถซึ่งสำหรับพระนคร จงพาจตุรงคนิกรทั้งปวงไปจากราชพารา ช่วยรักษาสัตย์ของบิดาไว้ ต่อเมื่อบิดาสวรรคาลัยแล้ว จึงกลับมาคืนเอาราชสมบัติ แล้วตรัสสั่งอมาตย์ ๘ นาย ให้ไปกับพระราชโอรสช่วยทำนุบำรุงรักษาอย่าให้มีภัยอันตรายได้

          พระราชกุมารทั้ง ๔ รับพระราชปริหารแล้ว กราบถวายบังคมลา ต่างองค์ทรงพระโสกาดูรพิลาปด้วยปิยวิปโยคทุกข์ซึ่งจะจำจากกัน แล้วทูลขอขมาโทษพระราชบิดา แลอำลาพระราชวงศานุวงศ์กับทั้งหมู่อนงค์นางสนมทั้งปวง แล้วพาพระเชษฐภคินีแลพระกนิษฐภคินีทั้ง ๕ พระองค์ออกจากพระนคร กับด้วยจตุรงคนิกรและอมาตย์ทั้ง ๘ เป็นบริวาร

          ส่วนประชาชนหญิงชายทั้งหลายได้แจ้งเหตุว่า พระราชกุมารจะเสด็จคืนมาครอบครองราชสมบัติในกาลเมื่อพระบรมกษัตริย์ราชบิดาทิวงคตแล้ว ก็ชวนกันดำริว่า เราจะติดตามไปอุปัฏฐากพระราชกุมาร ก็พากันตามเสด็จไปจากพระนครเป็นอันมาก แล้วเดินทางไปล่วง ๓ วันแล้ว สิ้นหนทางถึง ๓ โยชน์ ก็ยังไม่สิ้นรี้พลประชาชนอันตามเสด็จ

          จึงพระราชกุมารทั้ง ๔ มี พระโอกกากมุขเชษฐาธิราชเป็นประธาน ก็ตรัสปรึกษากันว่า พลนิกายของเรามากกว่ามาก แม้จะยกไปย่ำยีตีพระยาสามนตราชเมืองหนึ่งเมืองใด ชิงเอาบ้านเมืองแลชนบทแว่นแคว้น ก็จะได้สมความปรารถนาแลท้าวพระยาทั้งหลายเหล่านั้น ก็จะสู้รบเราไม่ได้ คงจะปราชัยพ่ายแพ้ แต่ทว่าจะประโยชน์อันใดด้วยจะเบียดเบียนเอาสมบัติบ้านเมืองของผู้อื่น และแผ่นพื้นชมพูทวีปก็ใหญ่กว้างควรจะไปสร้างนครในอรัญประเทศ ให้พ้นเขตแดนท้าวพระยาสามนตราชทั้งปวง ก็ดำเนินพลบ่ายหน้าเฉพาะป่าหิมพานต์ เที่ยวแสวงหาที่ภูมิสถานอันจะสร้างพระนครใหม่

 

กบิลพราหมณ์โพธิสัตว์แนะให้สร้างเมืองใหม่

          ในกาลนั้น พระบรมโพธิ์สัตว์แห่งเรา บังเกิดในสกุลพราหมณมหาศาลมีนามกบิลพราหมณ์ พิจารณาเห็นโทษในเบญจกามคุณจึงเสียสละสมบัติออกบรรพชาเป็นดาบส ไปสร้างบรรณศาลาสถิตอยู่ในสากพนสณฑ์ แทบใกล้ฝั่งสระโบกขรณี อันมีอยู่ ณ ชายป่าหิมวันตประเทศ แลพระผู้เป็นเจ้ารู้ในภูมิดลมงคลวิทยา พิจารณาเห็นคุณแลโทษในโอกาสสูงขึ้นไปได้ ๘๐ ศอก ในภายใต้ปฐพีลึกลงไปได้ ๘๐ ศอกดุจกัน และในภูมิประเทศที่แห่งนั้นมีกอหญ้าแลกอลดาวัลย์เวียนเป็นทักษิณาวรรตผันไปฝ่ายปราจีนทิศทั้งสิ้น ฝูงสัตว์ทั้งหลายเป็นต้นว่าสีหพยัคฆ์ไล่ซึ่งมฤคสุกรมาแลวิฬาร์ไล่ซึ่งหนู งูไล่ซึ่งมณฑกชาติมาถึงที่นั่น แล้วก็มิอาจติดตามต่อไปได้ สัตว์ที่แพ้นั้นกลับไล่คุกคามเอาสัตว์ที่มีอำนาจให้ปลาตนาการกลับไป เป็นที่ชัยมงคลภูมิประเทศพระดาบสแจ้งเหตุฉะนี้จึงจัดแจงสร้างบรรณศาลาอาศัยอยู่ในที่นั้น

          ครั้นพระผู้เป็นเจ้าเห็นพระราชกุมารทั้งหลายยาตราพลาพลนิกายมาเป็นอันมาก จึงได้ถามทราบความว่าสืบแสวงหาที่จะสร้างพระนคร ก็มีความกรุณาปรารถนาจะอนุเคราะห์ให้เป็นประโยชน์แก่พระราชกุมารทั้งปวง จึงบอกเหตุว่า บพิตรจงสร้างพระนครลงในที่บริเวณบรรณศาลาของอาตมานี้เถิด แลเมืองอันนี้นานไปภายหน้าจะเป็นอัครนครปรากฏในชมพูทวีป ผิวบุรุษบังเกิดในพระนครนี้จะมีอานุภาพมาก คนเดียวก็อาจสามารถจะข่มขี่ผจญเสียได้ซึ่งบุรุษอื่นร้อยคนพันคนให้พ่ายแพ้อำนาจ จงสร้างปราสาทราชคฤหสถานลงตรงที่บรรณศาลานี้ ผิวผู้ใดสถิตในที่นี้ถึงแม้นมาตรว่าเป็นบุตรคนจัณฑาลก็จะมีพลานุภาพมาก อาจข่มขี่เสียได้ซึ่งปัจจามิตร ดุจพลานุภาพแห่งบรมจักรพรรดิเป็นแท้ พระราชกุมารจึงเผดียงถามว่า พระผู้เป็นเจ้าจะไปอยู่ ณ ที่ใด ดูก่อนบพิตร อย่าได้ทรงพระปริวิตกเลยด้วยที่อยู่ของอาตมา แลอาตมาก็จะไปสร้างบรรณศาลาอยู่ ณ ที่ข้างหนึ่งนอกพระนคร บพิตรจงตั้งนามกรเมืองนี้ชื่อกรุงกบิลพัสดุ์เถิด

เกิดพระนครกบิลพัสดุ์

          แลพระราชกุมารทั้ง ๔ มีพระโอกกากมุขเชษฐาธิราชเป็นประธาน ก็ให้ฐาปนาการพระนครแลปราสาทราชนิเวศนฐานลงในที่นั้นๆ ตามคำพระดาบสเสร็จแล้ว ก็ตั้งนามบัญญัติชื่อกรุงกบิลพัสดุ์ราชธานี เหตุเป็นที่พระกบิลดาบสประสาทประสิทธิ์ให้ ก็เสด็จเข้าอาศัยสถิตสำเร็จนิวาสกิจกับด้วยหมู่อมาตย์และราษฎรประชาจตุรงคโยธาทั้งหลายในพระนครนั้น อันนี้เป็นเรื่องอุบัติแห่งกรุงกบิลพัสดุ์มหานคร โดยนัยพรรณนามานี้

 

เกิดศักยราชตระกูลจากการอภิเษกสมรสกันเอง

          ลำดับนั้น อมาตย์ทั้ง ๘ จึงปรึกษากันว่า พระราชกุมารทั้งหลายนี้ก็ทรงเจริญวัยวัฒนาถ้าอยู่ในสำนักพระราชบิดา ก็จะกระทำอาวาหวิวาหมงคลการ ก็กาลบัดนี้ เราทั้งหลายเป็นผู้ใหญ่ ทรงพระกรุณาโปรดให้มาทำนุบำรุงบริรักษ์พระราชกุมาร แลการอันนี้ก็เป็นภารธุระของเราควรจะจัดแจงจึงจะชอบ ก็ชวนกันเข้าไปกราบบังคมทูลปรึกษาว่า ข้าพระพุทธเจ้าจะไปขอพระราชธิดาแห่งกษัตริย์เมืองอื่นมาอภิเษกกับด้วยพระองค์


          เมื่อพระราชกุมารทั้งหลายทรงสดับดังนั้น จึงตรัสตอบว่า เรามิได้เห็นนางขัตติยราชธิดาแห่งกษัตริย์ทั้งหลายอื่น ซึ่งจะเป็นบรมขัตติยาสัมภินชาติชาตรีอันประเสริฐเสมอเหมือนด้วยเรา อนึ่ง ขัตติยราชกุมารทั้งหลายอื่นนั้นเล่าก็มิได้อสัมภินพงศ์กษัตริย์ชาติชาตรี เสมอเหมือนด้วยเชษฐกนิษฐภคินีโดยแท้ เบื้องว่าจะอภิเษกสังวาสกับด้วยขัตติยราชสกูลทั้งหลายอื่น เกรงว่าราชบุตรธิดาของเราซึ่งจะบังเกิดนั้น จะไม่เป็นขัตติยชาติอันบริสุทธิ์ฝ่ายข้างบิดาบ้าง ฝ่ายข้างมารดาบ้าง ก็จะถึงซึ่งชาติสัมเภทเสื่อมเสียขัตติยวงศ์ไป เพราะเหตุนั้นเราทั้งหลายชอบใจจะอภิเษกสังวาส กับด้วยพระกนิษฐราชภคินีแห่งเรา ขัตติยวงศ์ของเราจึงจะบริสุทธิ์ขัตติยาสัมภินชาติโดยแท้

          และพระราชกุมารทั้งหลายจึงตั้งไว้ซึ่งเชษฐภคินี องค์เดียวนั้นในที่เป็นราชมารดาแล้ว ก็กระทำสกสกสังวาสกับด้วยพระกนิษฐภคินีทั้ง ๔ นางนั้นเป็นคู่ๆ กันด้วยกลัวชาติสัมเภท จนเจริญด้วยพระราชบุตรพระราชธิดาเป็นอันมาก เหตุดังนั้น กษัตริย์ทั้งหลายในกรุงกบิลพัสดุ์นั้นจึงได้นามกรปรากฏว่าศักยราชตระกูล เพราะทำสกสกสังวาสในราชวงศ์แห่งตนๆ อันนี้เป็นเรื่องต้นอุบัติเหตุแห่งศักยราชตระกูล

 

พระโพธิสัตว์เคยอุบัติในราชวงศ์นี้เป็นพระเวสสันดร

          จับเดิมแต่นั้นมา กษัตริย์ศักยราชทั้งหลายได้เสวยราชสมบัติสืบพระวงศ์ต่อๆ กันมาเป็นหลายชั่วกษัตริย์เป็นอันมากตราบเท่าถึงพระเจ้าสีวิราช พระเจ้าสญชัยราช แลพระเจ้าเวสสันตรราช ครั้งนั้นเปลี่ยนนามพระนครชื่อกรุงเชตุดร แลสมเด็จพระเวสสันตรราชได้เสวยราชสมบัติดำรงในทศพิธราชธรรม ทรงบริจาคพระยาเศวตปัจจัยนาคกับทั้งเครื่องคชาภรณ์อันมีราคาได้ ๒๔ แสนกหาปณะ ดำรงพระชนม์ตราบเท่าทิวงคต จุติขึ้นไปบังเกิดในดุสิตเทวโลก


          จึงพระชาลีราชโอรสได้ราชาภิเษกกับด้วยนางกัณหาชินากนิษฐภคินี ได้เสวยราชสมบัติสืบกันมา มีพระราชโอรสทรงพระนามพระสีวีวาหนราช พระสีวีวาหนราชมีพระราชโอรสทรงพระนามพระสีหัสสรราช พระสีหัสสรราชได้เสวยราชสมบัติสืบพระวงศ์เป็นลำดับมาเป็นอันมาก นับเป็นกษัตริย์ ๑๖๑,๐๐๐ พระองค์ จึงถึงพระเจ้าไชยเสนราช พระเจ้าไชยเสนราชมีพระราชบุตรทรงพระนามพระเจ้าสีหหนุราช ได้เสวยราชสมบัติสืบกันมา

พระเจ้าสีหหนุศักยะให้เหล่าอำมาตย์เสาะหาหญิงงามเพื่อพระราชโอรสสุทโธทนะ

ครั้งนั้น นามพระนครกลับเรียกกรุงกบิลพัสดุ์ดุจนามเดิม แลพระเจ้าสีหหนุราชนั้นมีพระราชโอรส ๓ พระองค์ ทรงพระนามพระสิริสุทโธทนราชกุมาร ๑ พระสุกโกทนราชกุมาร ๑ อมิตโตทนราชกุมาร ๑ มีพระราชธิดา ๒ พระองค์ ทรงพระนามนางอมิตา ๑ นางปมิตา๑

          ในกาลนั้นสมเด็จพระเจ้ากรุงสีหหนุราชมีพระหฤทัยปรารถนาจะราชาภิเษกพระสิริสุทโธทนเชษฐราชโอรสผู้ใหญ่ ซึ่งทรงพระวัยวัฒนาการประดิษฐานไว้ในเศวตราชาฉัตร เสวยมไหศวริยสมบัติแทนพระองค์ ทรงพระดำริว่า ควรจะให้สืบแสวงหาซึ่งนางขัตติยราชธิดาอันอุดมวงศ์ ทรงซึ่งบวรรูปสิริโสภาคย์ แลบริบูรณ์ด้วยปัญจกัลยาณีอิตถีลักษณะ ๖๔ ประการ แลมีสันดานกอปรด้วยปริสุทธิศีลาจารวัตรมาอภิเษกในที่พระอัครมเหสี


จึงมีพระราชบัญชาดำรัสให้หามาซึ่งพราหมณาจารย์ทั้ง ๘ คน อันถึงซึ่งฝั่งแห่งจตุเพทางคศาสตร์ เฉลียวฉลาดรอบรู้ทั่วไปในอิตถีลักษณะแล บุรุษลักษณะแลภูมิลักษณะทั้งสิ้น แล้วดำรัสสั่งโดยพระคาถาว่า จตุนฺนํ อิริยาปถานํ เป็นอาทิ อรรถาธิบายความก็เหมือนกระแสพระราชดำริ แปลกออกไปแต่ดำรัสสั่งว่า ท่านทั้ง ๘ จงเที่ยวสืบเสาะแสวงหา ซึ่งนางรัตนกัญญาเราจะอภิเษกกับด้วยเจ้าสิริสุทโธทนราชโอรสของเราบนกองแก้ว แล้วจะประดิษฐานในที่เป็นอธิบดีกว่ากษัตริย์ศักยราชวงศ์ทั้ง ๖ แสน เป็นเอกอัครราชาธิราชอันประเสริฐกว่าพระยาทั้ง ๑๐๑ พระองค์ เพราะเหตุนั้น ท่านจงเที่ยวสืบแสวงหาไปในทิศทั้งปวงแล้วพระราชทานทรัพย์ ๘,๐๐๐ กหาปณะแก่พราหมณ์ทั้ง ๘ กับมณีปิลันธนคิวาลังการาภรณ์เป็นบรรณาการข่าวสาส์นว่า ถ้าพบนางแก้วเห็นปานดังนั้นแล้ว ก็ให้ถวายแก้วอันเป็นเครื่องประดับพระศอนี้เป็นสำคัญไว้ แล้วก็ส่งพราหมณ์ทั้ง ๘ นั้นไปโดยพระราชประสงค์นั้น

ความงดงามของเจ้าหญิงสิริมหามายาแห่งเทวทหะ

          ในกาลนั้น พระสิริมหามายาราชเทวี มีมูลปณิธีกุศลได้ทรงบำเพ็ญมาแต่ศาสนา พระพุทธวิปัสสีศาสดาจารย์แลในที่นี้แสดงเรื่องความพิสดารดุจในมหาเวสสันดรชาดก ครั้นจุติจากชาติเป็นพระผุสดีก็ขึ้นไปอุบัติบังเกิดในดุสิตเทวพิภพ แล้วกลับจุติลงมาถือปฏิสนธิในพระครรภ์ แห่งอัครมเหสีพระเจ้าชนาธิปราช ผู้เสวยสมบัติในเมืองเทวทหนคร ครั้นถ้วนกำหนดทศมาส ก็ประสูติจากพระครรภ์บริบูรณ์ไปด้วยรูปสิริโสภาคย์แลจตุสัฏฐีอิตถีลักษณะพร้อมทุกประการ

          และพระคันถรจนาจารย์จึงกล่าวพระคาถาสรรเสริญซึ่งบุญสิริสมบัติว่า ตสฺสา ลกฺขณา วิสุทฺธา เป็นอาทิ อรรถาธิบายความเป็นสัมภาวนากถา พรรณนาพระรูปสิริวิลาสโดยพิสดาร มีทรงเบญจกัลยาณีเป็นอาทิ ยังพระราชธิดาให้สถิตในปราสาทแก้วแล้วให้หาพราหมณ์ทั้งหลายมาทำนายลักษณะ แลพราหมณาจารย์ผู้ถึงซึ่งฝั่งแห่งไตรเพทได้เห็นซึ่งพระราชทหรกุมารี จึงกล่าวสรรเสริญด้วยพระคาถาว่า อโห สุรูปา เวสานลา ชลนฺตา เป็นอาทิ อรรถาธิบายความเป็นสัมภาวนกถาโดยอเนกบรรยาย แล้วกราบทูลทำนายว่า พระราชธิดานี้ทรงพระอุดมรูปสิริวิลาสจะปูนเปรียบเสมอสองนั้นมิได้มี ทรงซึ่งนารีลักษณะทั้ง ๖๔ พร้อมบริบูรณ์เป็นเอกอัครรัตนกัญญาตั้งแต่อโธทิศาภาคอเวจี ตราบเท่าถึงอุทธังคทิศภวัครพรหมเป็นที่สุด มิได้มีเทพยดามนุษย์นารีใดจะเปรียบปานอาจจะให้ซึ่งสุขทั้ง ๓ ประการ กล่าวคือ มนุษยสุข ทิพยสุข นิพพานสุข ด้วยพระอานุภาพแห่งพระราชธิดานี้เป็นแท้

 

พวกพราหมณ์ทำนายว่าจะทรงเป็นพระพุทธมารดา

          สมเด็จบรมกษัตริย์จึงตรัสถามว่า ธิดาของเราจะได้เป็นเอกอัครมเหสีแห่งบรมจักรพัตราธิราชในโลกนี้หรือ หรือว่าจะมีบุตรอันประสูติจากพระครรภ์ เป็นองค์สัพพัญญูตรัสรู้พระปรมาภิเษกสัมโพธิให้ซึ่งนิพพานสุขแก่สัตวโลกประการใด พราหมณ์ทั้งหลายจึงกราบทูลทำนายว่าพระราชธิดาแห่งพระองค์จักเป็นพระพุทธมารดาโดยแท้

          พระเจ้าชนาธิปราชได้ทรงสดับก็กอปรด้วยพระปีติโสมนัสโดยยิ่ง จึงให้กระทำพระอู่แก้วขจิตด้วยแก้ว ๗ ประการ กระทำมหาอุสสวอูฬารมงคล ในวันสุนทรนักษัตฤกษ์อันเชิญพระราชธิดาขึ้นพระอู่แก้ว แล้วถวายพระนามบัญญัติว่าพระสิริมหามายาราชกุมารี เหตุมีพระสิริรังสีอันรุ่งเรืองยิ่งนัก

          ครั้นจำเนียรภาคพระราชกุมารี ทรงพระวัยวัฒนากับด้วยมหันตบริวารยศกำหนดพระชนมายุได้ ๑๖ พระพรรษา มีพระสรีรรูปประภาปรากฏแผ่ออกจากพระบวรกายรุ่งเรือง ครุวนาดุจมหาอัคคีขันธ์ อันปรากฏเหนือยอดบรรพตอันสูงในเวลามัชฌันติกราตรีแลทรงพระอุดมรูปกายินทรีย์อันงามโดยยิ่ง หาหญิงอื่นในพื้นสกลโลกธาตุจะมีสิริวิลาสเสมอหามิได้

 

ความอัศจรรย์ ๑๒ ประการของพระนางสิริมหามายา

          อยู่มากาลวันหนึ่ง พระสิริมหามายาทรงซึ่งถาดทองอันเต็มด้วยภัตตาหารกับสุพรรณทัพพีทอง ตักโภชนะแจกมหาชนทั้งหลาย ผิจะยังมนุษย์ทั่วทั้งสกลชมพูทวีปให้บริโภคโภชนาอาหารก็พออิ่มถ้วนทุกคนด้วยกัน ชนทั้งหลายนั้นได้บริโภคแล้วก็มีอายุยืนยาวทั้งสิ้น แลภัตตาหารในถาดทองนั้นจะได้รู้หมดสิ้นหามิได้ เต็มบริบูรณ์อยู่ดังนั้น อันนี้เป็นอัจฉริยธรรมเป็นปฐม


          อนึ่ง พระสิริมหามายาผิว่าทรงปรามาสซึ่งกายแห่งบุทคลอันมีโรคพยาธิแต่ยังไม่ถึงซึ่งสิ้นอายุ อันว่าฉันนวุติโรคทั้งหลายก็อันตรธานหาย มีอายุยืนสืบไป อันนี้เป็นอัจฉริยธรรมคำรบ ๒

          อนึ่ง พระสิริมหามายาผิว่าทรงจับซึ่งใบรุกชชาติทั้งหลายใด แลใบไม้นั้นก็กลับกลายเป็นทองทั้งสิ้น อันนี้เป็นอัจฉริยธรรมคำรบ ๓

          อนึ่ง พระสิริมหามายาผิว่าทรงจับซึ่งพืชผลแห่งพฤกษชาติทั้งหลายต่างๆ ทรงเพาะลงในพื้นภูมิภาคแลทรงรดอุทกวารีด้วยพระหัตถ์ ก็บังเกิดงอกขึ้นเป็นลำต้นในขณะนั้น บริบูรณ์พร้อมด้วยสาขาแลใบผลิดอกออกผลเห็นปรากฏแก่ตาโลก อันนี้เป็นอัจฉริยธรรมคำรบ ๔

          อนึ่ง พระสิริมหามายาผิว่าเสด็จขึ้นไปสถิตอยู่บนยอดบรรพตอันปราศจากที่อุทกธารา แม้ว่ามีพระเสาวนีย์ออกพระโอษฐ์ว่า อาตมะกระหายน้ำ อันว่าท่ออุทกก็ทำลายคิรีออกเป็น ๒ ภาค ผุดพลุ่งขึ้นมามีประมาณเท่าลำตาลในที่เฉพาะพระพักตร์ ให้ได้เสวยรสวารีสมพระหฤทัยปรารถนา อันนี้เป็นอัจฉริยธรรมคำรบ ๕

          อนึ่ง พระสิริมหามายาผิว่าเสด็จไปประพาสในภูมิสถานที่ใดๆ อันว่าภุมเทพยดาแลรุกขเทพยดา อากาศเทพยดาทั้งหลาย ก็นฤมิตซึ่งสุพรรณภาชน์เต็มไปด้วยทิพยโภชาหาร นำมาถวายให้เสวยกับทั้งบริวารทั้งปวงอันโดยเสด็จแลกิริยาที่จะอยากอาหารนั้นมิได้มี อันนี้เป็นอัจฉริยธรรมคำรบ ๖

          อนึ่ง พระสิริมหามายาผิว่าเสด็จไปประพาสอุทยาน แลวนสถานศิขรที่ใดๆ อันว่าอุทยานเทพดาอรัญเทพยดาแลบรรพตเทพยดาทั้งหลายก็มาโสรจสรง พระสรีรอินทรีย์ด้วยทิพยสุคันโธทก แล้วนำมาซึ่งทิพย์อลังการาภรณ์ ตกแต่งประดับพระบวรกาย อันนี้เป็นอัจฉริยธรรมคำรบ ๗

          อนึ่ง พระสิริมหามายาผิว่าเสด็จไปสู่สิริครรภไสยาสน์นั้น บรรทมหลับกับอนังคปริวาร อันว่ายักษราชาทั้ง ๘ ก็ถือพระขรรค์วชิราวุธมายืนแวดล้อมอภิบาล เพื่อจะให้บำราศจากภยันตรายทั้งปวง อันนี้เป็นอัจฉริยธรรมคำรบ ๘

          อนึ่ง พระสิริมหามายา ผิว่าเสด็จนิสัชนาการสถิต แลทรงพระดำเนินไปสู่ที่เล่น ณ ตำบลใดๆ ในเวลาทิวากาล อันว่าอสุรราชทั้งหลายก็ทรงเพศดุจเล่นการมหรสพมากระทำกิจบริรักษ์อยู่โดยรอบ อันนี้เป็นอัจฉริยธรรมคำรบ ๙

          อนึ่ง ถึงกาลเมื่ออุณหมาสสมัย เทพยดาอันสถิตในป่าหิมพานต์ ก็นำมาซึ่งอุทกธาราในสัตตมหาสระใส่ในหม้อทองมาโสรจสรงองค์พระสิริมหามายาราชบุตร อันนี้เป็นอัจฉริยธรรมคำรบ ๑๐

          อนึ่ง กาลเมื่อสีตสมัย เทพยดาทั้งหลายก็นำมาซึ่งทิพยวัตถา โดยยาวได้ ๘๐ ศอก กว้างได้ ๔๐ ศอก แต่ไม้กัลปพฤกษาอันบังเกิดบนหิมวันตบรรพต มาถวายพระสิริมหามายาราชเทวี อันนี้เป็นอัจฉริยธรรมคำรบ ๑๑

          อนึ่ง เบื้องว่าพระสิริมหามายาได้ทอดพระเนตรประชาชนชาวพระนครเข็ญใจ แลพราหมณ์ทั้งหลายซึ่งสมมติว่าเป็นนักบวชก็ดี มีพระหฤทัยประสงค์จะทรงจำแนกทาน ขณะนั้นวัสสิกธาราล้วนหิรัญสุวรรณสัตตรัตนธนสารสมบัติ ก็ตกเรี่ยรายลงมาจากอากาศ พระราชธิดาก็เก็บเอาแก้ว ๗ ประการนั้น ทรงแจกจ่ายให้เป็นทาน อันนี้เป็นอัจฉริยธรรมคำรบ ๑๒

          แลพระสิริมหามายาราชบุตรีประกอบด้วยอัจฉริยธรรมทั้ง ๑๒ ประการเห็นปานดังนี้

          เบื้องว่าชนทั้งหลายปรารถนาซึ่งวัตถุใดๆ ก็พระราชทานซึ่งวัตถุนั้นๆ โดยอันควรแก่ความปรารถนาแห่งนรานิกรทั้งปวงทุกประการ แลพระราชธิดาได้ทรงบำเพ็ญทานมาแต่ในกาลบุเรภพ ทรงพระปรารภปณิธานความปรารถนาเป็นพระพุทธมารดาจึงได้สำเร็จซึ่งผลด้วยประการฉะนี้

 

บุรุษและมนุษย์ทั้งหลายเห็นพระนางแล้วต่างหลงใหล

          เบื้องว่า พระราชบุตรีทรงวัยวัฒนา อันว่าบุรุษทั้งหลายได้เห็นซึ่งพระสรีรรูปก็ถึงซึ่งเคลิ้มสติสมปฤดีใหลหลง หาสติสัมปชัญญะมิได้ แม้บริโภคโภชนาหารอยู่ก็เปิบคำข้าวใส่ในนาสิกแลกรรณแลบนศีรษะ ให้สำคัญว่ามุขทวาร ถึงซึ่งวิปการต่างๆ แลมนุษย์ทั้งหลายได้ทัศนาการเห็นพระบวรรูปสิริวิลาส ล้วนมีจิตปฏิพัทธ์สิเนหายิ่งนัก ปิ้มปานประหนึ่งว่าจะเป็นอุมมัตกชาติ ถึงซึ่งสติวิปลาสด้วยพระรูปพระโฉมถ้วนทุกๆ คน


 

 (เครดิต http://portal.in.th/i-dhamma )
44  กรรมฐาน มัชฌิมา / เกี่ยวกับ วัด พระสงฆ์ พระธาตุ พระเครื่อง / ประวัติที่มาภาพจิตรกรรมพระพุทธองค์ที่สวยๆ ทั้งหมดที่ปรากฏบนอินเตอร์เน็ต เมื่อ: มิถุนายน 26, 2012, 08:25:15 am
         ประวัติที่มาภาพจิตรกรรมพระพุทธองค์ที่สวยๆ ทั้งหมดที่ปรากฏบนอินเตอร์เน็ต มาจากหนังสือปฐมสมโพธิกถา ได้รับการบรรจงสร้างสรรค์ด้วยความวิจิตรปราณีตด้วยจิตอันบริสุทธิ์ของศิลปินเพื่อจารึกไว้ในบรรณพิภพและสนองพระมหากรุณาธิคุณแห่งพระบรมศาสดาให้เจริญแพร่หลายในบรรณพิภพ ด้วยการสร้างสรรค์วิจิตรกรรมของจิตรกรผู้มีพระคุณชื่อ...อาจารย์ กฤษณะ สุริยกานต์
          จิตรกรท่านนี้มีเจตนาอันเป็นกุศล มีจิตอันบริสุทธิ์ สร้างสรรค์งานชุดนี้ เพื่อบูชาพระบารมีแห่งพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า โดยมอบสิทธิ์ในการจัดพิมพ์ภาพที่สวยงามที่สุดชุดนี้ให้แก่ธรรมสภาและสถาบันบันลือธรรมเพื่อจารึกลงในหนังสือปฐมสมโพธิกถาเล่มนี้โดยเฉพาะ

ขอนำคำนำในการจัดพิมพ์มาให้ได้อ่านกัน

พระพุทธศาสนาดำรงสถิตสถาพรอยู่บนพื้นบรรณพิภพด้วยบารมีธรรม คำสอนของพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า อันประกอบด้วยพระธรรมและพระวินัย ที่พระบรมศาสดาตรัสเทศนาสั่งสอนบรรดาพุทธสาวกและสัตว์โลกทั้งหลายร่วม ๒,๖๐๐ ปี กาลเวลาผ่านมากว่าครึ่งพุทธกาลตามคติความเชื่อโบราณกาล แต่ในปัจจุบันกาลชาวพุทธที่มีความเคารพและศรัทธาในพรธรรมคำสอนของพระบรมศาสดามีความเชื่ออันเป็นสัมมาทิฐิว่า พระพุทธศาสนาจักดำรงอยู่ในบรรณพิภพนี้ไปตราบนานเท่านาน ก็ด้วยสามัคคีธรรมในการรักษาพระธรรมคำสอนและพระธรรมวินัยของพระพุทธบริษัท ๔ อันได้แก่ ภิกษุ-ภิกษุณี-อุบาสก-อุบาสิกา ถ้าเหล่าพุทธบริษัททั้งหลายไม่รักษาพระธรรมและพระวินัยแล้ว... พุทธศาสนาก็จักเสื่อมสลายไปในที่สุด

การรักษาพระธรรมคำสอนของพระบรมศาสดา ให้พระพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองเป็นประทีปแห่งโลกนั้น พุทธบริษัททั้งหลายต้องดำเนินการในสิ่งเหล่านี้ ๔ ประการ คือ

๑.     การศึกษาพระธรรมและพระวินัยให้ถูกต้องและถูกธรรม

๒.     การปฏิบัติตามพระธรรมและพระวินัยให้เคร่งครัด

๓.     การเผยแพร่พระธรรมและพระวินัยในพระพุทธศาสนาให้แพร่หลาย

๔.     การอุปถัมภ์พระธรรมและพระวินัยให้มั่นคง... และงดงาม

         นับแต่โบราณกาลมา บรรพบุรุษของเราได้บำรุงและรักษาพระพุทธศาสนา ด้วยการปฏิบัติตามพระธรรมวินัยครบทั้ง ๔ ประการ พระพุทธศาสนาจึงดำรงสถิตย์สถาพรอยู่ได้และเป็นที่พึ่งแก่เหล่าพุทธศาสนิกชนตราบจนทุกวันนี้ พวกเราพุทธบริษัทในยุคปัจจุบันจักต้องดำรงไว้ซึ่งคำสอนและเผยแพร่พระธรรมอันบริสุทธิ์ขององค์พระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าให้เจริญแพร่หลายและยั่งยืนนาน

          ธรรมสภาและสถาบันบันลือธรรม เป็นองค์กรเอกชนพุทธ องค์กรหนึ่ง ดำเนินการเผยแพร่พระพุทธศาสนามาตลอดระยะเวลา ๖๐ ปี โดยสืบทอดแต่บรรพบุรุษคือ ท่านเจ้าคุณพระสุธรรมเมธี ป.ธ.๘  (นายบันลือ สุขธรรม) อดีตพระราชาคณะ เจ้าคณะจังหวัดอุตรดิตถ์ ผู้ให้กำเนิดธรรมสภา สมัยจอมพล ป.พิบูลสงครามเป็นนายกรัฐมนตรี ในปี พ.ศ.๒๔๙๓  ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี สมเด็จพระราชินีในรัชกาลที่ ๗ เสด็จเป็นประธานตัดลูกนิมิตเอกในวันที่ ๓ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๔๙๒

          นับจากที่ได้ก่อสร้างธรรมสภาเป็นต้นมา ท่านผู้ให้กำเนิดธรรมสภาและทายาทพร้อมทั้งกัลยาณมิตรได้ร่วมมือกันเผยแพร่ธรรมะแก่พุทธศาสนิกชนนับได้ ๖๐ ปี โดยได้รับความเมตตาจากพระเถระทั้งแผ่นดิน นับตั้งแต่สมเด็จพระญาณสังวรสมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปรินายก หลวงพ่อพุทธทาสภิกขุ แห่งสวนโมกขพลาราม หลวงพ่อปัญญานันทภิกขุ หลวงพ่อจรัล ฐิตธมฺโม พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต) และพระเถระทั่วแผ่นดิน ให้เผยแพร่ผลงานและคำสอนของท่านแก่พุทธศาสนิกชน

          ในวาระมหามงคลสมัย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราชทรงเจริญพระชนมายุ ๘๔ พรรษา ในปี พ.ศ.๒๕๕๔ ธรรมสภาและสถาบันบันลือธรรม ได้จัดพิมพ์หนังสือปฐมสมโพธิกถา พระนิพนธ์ของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส ฉบับเฉลิมพระเกียรติ ๘๔ พระพรรษา เพื่อถวายพระพร เฉลิมพระเกียรติพระองค์ท่านและเพื่อเผยแพร่พระพุทธศาสนาตามหน้าที่ของพุทธบริษัทให้เจริญและสถิตย์สถาพรตลอดไป

          ธรรมสภาและสถาบันบันลือธรรม ได้จัดพิมพ์หนังสือปฐมสมโพธิกถา จากต้นฉบับของกรมศิลปากรที่กองวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ จัดพิมพ์โดยใช้ฉบับสอบทานชำระที่กรมศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ จัดพิมพ์ในปี ๒๕๐๕

          ซึ่งได้มีการมอบหมายให้ท่านผู้เชี่ยวชาญสอบทานชำระกับต้นฉบับภาษาบาลี อันเข้าใจว่าเป็นพระนิพนธ์ของ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส ประกอบด้วย

          พระมหานิยม ฐานิสฺสโร ป.ธ.๙ วัดราชบูรณะ

          พระมหาวีระ ภทฺทจารี ป.ธ.๙ วัดเทพธิดาราม

          พระมหาธัญนพ โชติปาโล ป.ธ.๙ วัดภาวนาภิรตาราม

          นาวาอากาศเอกแย้ม ประพัฒน์ทอง ป.ธ.๙ อนุศาสนาจารย์ กองทัพอากาศ

          โดยทางกรมศิลปากรได้มอบหมายให้ นายชนินทร์ สุขเกษี นักภาษาโบราณ ๗ และนายประสิทธิ์ แสงทับ นักภาษาโบราณ ๖ กลุ่มงานวรรณกรรม กองวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ เป็นผู้สอบทานและทำเชิงอรรถเพิ่มเติม เพื่อความสมบูรณ์ถูกต้อง ซึ่งได้รับความสนใจจากนักศึกษาและประชาชนทั่วไปจนไม่เพียงพอแก่การเผยแพร่จึงดำริให้มีการพิมพ์ใหม่อีกวาระหนึ่ง จะเป็นประโยชน์ทั้งในการรักษาสมบัติวรรณคดีที่มีความเป็นเลิศในทางกวีโวหาร และยังให้ความรู้ในส่วนของเนื้อหาสาระอันเป็นพระพุทธประวัติด้วย

          ธรรมสภาและสถาบันบันลือธรรมได้ทำหนังสือขออนุญาตจากกรมศิลปากร ขอใช้ต้นฉบับที่จัดพิมพ์ครั้งล่าสุดในปี ๒๕๓๙ โดยธรรมสภาได้จัดทำต้นฉบับเนื้อเรื่องย่อแต่ละบทให้เข้าใจง่ายขึ้น สำหรับผู้ที่ไม่เคยอ่านหนังสือธรรมะที่มีศัพท์มากเช่นหนังสือปฐมสมโพธิกถาเล่มนี้ และได้จับประเด็นหัวข้อเรื่องคั่นเนื้อหาให้น่าอ่านยิ่งขึ้น โดยธรรมสภาและสถาบันบันลือธรรมได้รับความเมตตาจากท่านอาจารย์ปัญญา ใช้บางยางและคณะ เขียนเนื้อเรื่องย่อ-จับประเด็นเนื้อเรื่อง และคัดเลือกคำศัพท์แล้วแปลไว้ท้ายเล่ม พร้อมทั้งตั้งข้อสังเกต เพื่อการศึกษาและค้นคว้าของพุทธศาสนิกชนต่อไป ธรรมสภาและสถาบันบันลือธรรมขอกราบของพระคุณท่านอาจารย์ปัญญา ใช้บางยางและคณะเป็นอย่างสูงมา ณ โอกาสนี้

          ส่วนสำคัญอย่างยิ่งที่ธรรมสภาและสถาบันบันลือธรรมมีความปรารถนาให้หนังสือปฐมสมโพธิกถาเล่มนี้เป็นหนังสือที่สมบูรณ์ทั้งเนื้อหายในและรูปลักษณ์ภายนอกคือ...ภาพจิตรกรรมอันวิจิตรที่ธรรมสภาและสถาบันบันลือธรรมชื่นชมว่าสวยงามที่สุดในยุคนี้

          ภาพจิตรกรรมทั้งหมดที่ปรากฏบนหนังสือปฐมสมโพธิกถาเล่มนี้ ได้รับการบรรจงสร้างสรรค์ด้วยความวิจิตรปราณีตด้วยจิตอันบริสุทธิ์ของศิลปินเพื่อจารึกไว้ในบรรณพิภพและสนองพระมหากรุณาธิคุณแห่งพระบรมศาสดาให้เจริญแพร่หลายในบรรณพิภพ ด้วยการสร้างสรรค์วิจิตรกรรมของจิตรกรผู้มีพระคุณชื่อ...อาจารย์ กฤษณะ สุริยกานต์

          จิตรกรท่านนี้มีเจตนาอันเป็นกุศล มีจิตอันบริสุทธิ์ สร้างสรรค์งานชุดนี้ เพื่อบูชาพระบารมีแห่งพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า โดยมอบสิทธิ์ในการจัดพิมพ์ภาพที่สวยงามที่สุดชุดนี้ให้แก่ธรรมสภาและสถาบันบันลือธรรมเพื่อจารึกลงในหนังสือปฐมสมโพธิกถาเล่มนี้โดยเฉพาะ จิตรท่านี้มีพระคุณแก่ธรรมสภาและสถาบันบันลือธรรมเป็นอย่างยิ่ง แม้ว่าเรามิได้เคยพบกับท่านเลย เพียงการสนทนาทางโทรศัพท์ ๒-๓ นาที ในปี พ.ศ.๒๕๕๐ จากนั้นอีกประมาณ ๒ ปี  ท่านก็ส่งภาพมาให้และเขียนมอบสิทธิ์ในการพิมพ์ลงหนังสือเล่มนี้โดยเฉพาะ โดยไม่ขอรับค่าตอบแทนแต่อย่างใด เหตุและปัจจัยอันบังเกิดเหตุการณ์เช่นนี้ เราถือว่า ธรรมบันดาลและธรรมจัดสรรให้เกิดขึ้น ต่อมาเราได้ทราบว่าบุญที่เราได้รับในครั้งนี้ ด้วยบุญเมตตาบารมีของพระคุณท่านเจ้าคุณพระราชวิจิตรปฏิภาณที่ได้แนะนำให้ท่านอาจารย์กฤษณะ สุริยกานต์สร้างสรรค์ผลงานอันทรงคุณค่าให้แก่ธรรมสภาเผยแพร่เพื่อสนองคุณองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พวกเราชาวธรรมสภาและสถาบันบันลือธรรม ขอกราบขอบพระคุณพระเดชพระคุณท่านเจ้าคุณพระราชวิจิตรปฏิภาณ และท่านอาจารย์กฤษณะ สุริยกานต์เป็นอย่างสูงมา ณ โอกาสนี้

          ธรรมสภาและสถาบันบันลือธรรม หวังเป็นอย่างยิ่งว่า หนังสือพระนิพนธ์ปฐมสมโพธิกถา ของสมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระปรมานุชิตชิโนรสเล่มนี้ จักทำให้พระธรรมได้ส่องสว่างกลางใจของเหล่าพุทธศาสนิกชนทั้งผอง

          บุญกุศลอันบังเกิดมีจากการพิมพ์หนังสือปฐมสมโพธิกถาฉบับเฉลิมพระเกียรติ ๘๔ พรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ขอถวายพระพรขอให้พระองค์ทรงพระเจริญยิ่งยืนนาน เป็นมิ่งขวัญของพสกนิกรปวงชนชาวไทยตราบกาลปาวสาน

 

ด้วยความสุจริต หวังดี

ธรรมสภา สถาบันบันลือธรรม ปรารถนาให้โลกได้พบกับความสงบสุข
อ้างอิงจาก i-dhamma : http://portal.in.th/i-dhamma/pages/15281/
http://portal.in.th/i-dhamma/pages/15734/

แนะนำหนังสือปฐมสมโพธิกถา






อ่าน ปฐมสมโพธิกถา ฉบับย่อ ได้ที่นี้ : http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=8026.0
45  กรรมฐาน มัชฌิมา / เกี่ยวกับ วัด พระสงฆ์ พระธาตุ พระเครื่อง / ประวัติพระสีวลี เมื่อ: มิถุนายน 11, 2012, 04:05:37 pm
อยากทราบประวัติความเป็นมาของพระสีวลีหน่อยจ๊ะ ว่ามีความเป็นมาอย่างไร?
แล้วเรื่องบริขาลที่ท่านมี ในรูปหล่อปัจจุบัน ไม่ค่อยเขาใจ ทำไมมีเต็มเลย ไม่เห็นเหมือนกับที่พระพุทธองค์ตรัสวินัยไว้เลย เห็นมีกาต้มน้ำด้วยและก็กลด ถ้าอย่างนั้นก็ต้องก่อไฟจุดไฟต้มน้ำ และก็ต้องขุดดินปักกลดอาจโดนสัตย์ในดินตายได้  หรือว่าท่านทำเพราะสำเร็จอรหันต์แล้ว
(ข้าพเจ้า ขอขมาต่อ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์  ไม่มีประสงค์ที่จะจาบจ้วง ขอโทษ อย่ามีแก่ข้าพเจ้าเลย สาธุ )
46  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / พึงเที่ยวไปคนเดียว เพราะคุณเครื่องเป็นสหายไม่มีในคนพาล เมื่อ: มิถุนายน 09, 2012, 12:27:25 pm
ถ้าบุคคลพึงได้สหายมีปัญญา เที่ยวไปด้วยกัน
เป็นนักปราชญ์คอยช่วยเหลือกัน
เขาครอบงำอันตรายทั้งปวงเสียได้
พึงพอใจ มีสติเที่ยวไปกับสหายนั้น
ถ้าไม่ได้สหายมีปัญญา เที่ยวไปด้วยกัน
เป็นนักปราชญ์คอยช่วยเหลือกัน
พึงเที่ยวไปคนเดียว ดุจพระราชาทรงสละแว่นแคว้น
คือราชอาณาจักร และดุจช้างมาตังคะ ละฝูงเที่ยวไปในป่า ฉะนั้น การเที่ยวไปคนเดียวดีกว่า
เพราะคุณเครื่องเป็นสหายไม่มีในคนพาล
พึงเที่ยวไปคนเดียว และไม่พึงทำบาป
ดุจช้างมาตังคะ มีความขวนขวายน้อย เที่ยวไปในป่าแต่ลำพัง ฉะนั้น.
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๕ บรรทัดที่ ๖๓๖๐ - ๖๓๙๒. หน้าที่ ๒๖๒ - ๒๖๓.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka1/v.php?B=5&A=6360&Z=6392&pagebreak=0
47  เรื่องทั่วไป / ข่าวสารเพื่อนถึงเพื่อน / ข่าวชาวธรรม เยี่ยวข่าวอาสากรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับ รายงานข่าวงานฉลองพุทธชยันตี ณ พิธีมณฑล เมื่อ: มิถุนายน 01, 2012, 03:10:21 pm
ข่าวชาวธรรม

   ครั้งนี้ได้เยี่ยวข่าวอาสา กรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ  คุณSkydragon รายงานด้วยภาพข่าวงานฉลองพุทธชยันตี ณ พิธีมณฑลท้องสนามหลวง เพื่อชาวธรรมบางท่านที่ไม่มีโอกาสเที่ยวงาน เป็นภาพงานโดยร่วมดังนี้ (มองธรรมผ่านภาพ)




























ท่านใดจะช่วยรายงานก็ได้นะจ๊ะ
48  เรื่องทั่วไป / ข่าวสารเพื่อนถึงเพื่อน / ชมการถ่ายทอดสด ณ มลฑณพิธีท้องสนามหลวง ได้ที่นี้ เมื่อ: พฤษภาคม 31, 2012, 06:36:41 pm
การถ่ายทอดสด ณ มลฑณพิธีท้องสนามหลวง
จากช่อง DDTV : http://www.8875fm.com/?name=chartrname=chartr
49  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / ธรรมวันนี้เสนอคำว่า "โยนิโสมนสิการ" แปลว่า.... เมื่อ: พฤษภาคม 30, 2012, 03:51:37 pm
"โยนิโสมนสิการ"

จาก พจนานุกรม เพื่อการศึกษาพุทธศาสน์  อธิบายศัพท์และแปลความหมาย  คำวัด ที่ชาวพุทธควรรู้
พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช ป.ธ.๙, ราชบัณฑิต)
ธรรมสภา  สถาบันบันลือธรรม

 แปลว่า  การทำไว้ในใจโดยแยบคาย, การพิจารณาโดยแยบคาย

   โยนิโสมนสิการ คือความเป็นผู้ฉลาดในการคิด  คิดอย่างถูกวิธีถูกระบบ พิจารณา  ไตร่ตรองสาวไปจนถึงสาเหตุหรือต้นตอของเรื่องที่กำลังคิด  คือคิดถึงรากถึงโคนนั่นเอง  แล้วประมวลความคิดรอบด้านจนกระท่งสรุปออกมาได้ว่าสิ่งนั้นควรหรือไม่ควร  ดีหรือไม่ดี  เป็นต้น

   โยนิโสมนสิการ  เป็นวิถีทางแห่งปัญญา  เป็นธรรมสำหรับกลั่นกรองแยกแยะข้อมูลหรือแหล่งข่าว (ปรโตโฆสะ)  อีกชั่นหนึ่ง  เป็นบ่อเกิดแห่งสัมมาทิฐิ  ทำให้มีเหตุผล  ไม่งมงาย

พจนานุกรมพุทธศาสตร์  ฉบับประมวลธรรม  พระธรรมปิฏก (ป. อ. ปยุตฺโต)
 โยนิโสมนสิการ  แปลว่า  การใช้ความคิดถูกวิธี  คือ  การทำในใจโดยแยบคาย  มองสิ่งทั้งหลายด้วยความคิดพิจารณาสืบค้นถึงต้นเค้า  สาวหาเหตุผลจนตลอดสาย  แยกแยะออกพิเคราะห์ดูด้วยปัญญาที่คิดเป็นระเบียบและโดยอุบายวิธี  ให้เห็นสิ่งนี้ยๆ  หรือปัญหานั้นๆ  ตามสภาวะและตามความสัมพันธ์แห่งเหตุปัจจัย
     "ภิกษุทั้งหลาย  เมื่อดวงอาทิตย์อุทัยอยู๋  ย่อมมีแสงอรุณขึ้นมาก่อน  เป็นบุพนิมิต  ฉันใด  ความถึงพร้อมด้วยโยนิโสมนสิการ  ก็เป็นตัวนำ  เป็นบุพนิมิต  แห่งการเกิดขึ้นของอารยอัษฎางคิกมรรค  แก่ภิกษุ  ฉันนั้น"
     "เราไม่เล็งเห็นองค์ประกอบภายในอื่นแม้สักอย่างเดียว  ที่มีประโยชน์มาก  สำหรับภิกษุผู้เป็นเสขะ  เหมือนโยนิโสมนสิการ  ภิกษุผู้มีโยนิโสมนสิการ  ย่อมกำจัดอกุศลได้  และย่อมยังกุศลให้เกิดขึ้น"
     "เราไม่เล็งเห็นธรรมอื่น  แม้สักข้อหนึ่ง  ซึ่งเป็นเหตุให้สัมมาทิฐิที่ยังไม่เกิด  ก็เกิดขึ้น  ที่เกิดขึ้นแล้ว  ก็เจริญยิ่งขึ้น  เหมือนโยนิโสมนสิการเลย"
     "เราไม่เล็งเห็นธรรมอื่น  แม้สักข้อหนึ่ง  ซึ่งจะเป็นเหตุให้ความสงสัยที่ยังไม่เกิด  ก็ไม่เกิดขึ้น  ที่เกิดขึ้นแล้ว  ก็ถูกขจัดเสียได้  เหมือนโยนิโสมนสิการเลย"
     "โยนิโสมนสิการ  ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์ยิ่งใหญ่,  เพื่อความดำรงมั่น  ไม่เสื่อมสูญ  ไม่อันตรธานแห่งสัทธรรม"
50  เรื่องทั่วไป / ข่าวสารเพื่อนถึงเพื่อน / เก็บข่าวมาเล่า เล่าข่าวชาวธรรม โครงการทุนเล่าเรียนหลวงสำหรับพระสงฆ์ไทย เมื่อ: พฤษภาคม 28, 2012, 08:25:39 pm
ทุนเล่าเรียนหลวงสำหรับพระสงฆ์ไทย


ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ  แต่เดิมมา  โยมก็ได้มีจิตศรัทธาเลื่อมใสแลได้ถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะด้วยวิธีนั้น ๆ อยู่แล้ว  ฉะนั้น  บัดนี้  โยมได้เถลิงถวัลยราชสมบัติบรมราชาภิเษกแล้ว จึงขอมอบตัวแด่พระพุทธเจ้า  พระธรรมเจ้า และพระสงฆ์เจ้า กับจะได้จัดการให้ความคุ้มครองรักษาพระพุทธศาสนา โดยชอบธรรมตลอดไป   ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ  ขอพระสงฆ์จงทรงจําไว้ด้วยดีว่า โยมเป็นพุทธศาสนูปถัมภกเถิด ฯ  (พระบรมราโชวาท 5 พฤษภาคม 2493)

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระอนุสรณ์ คำนึงถึงว่า โดยที่พระภิกษุสามเณรเป็นผู้มีหน้าที่ปฏิบัติตามพระวินัยโดยเคร่งครัด และธำรงรักษา ตลอดจนเผยแผ่พระธรรม คำสอนแก่ประชาชนทั่วไป อันเป็นการสร้างความสงบร่มเย็นให้เกิดขึ้น แก่สังคม ประเทศชาติและแก่โลก ถ้าหากพระภิกษุสงฆ์และสามเณรมีโอกาสได้รับการศึกษาพุทธธรรมในขั้นสูง สามารถค้นคว้าและทำความเข้าใจพระไตรปิฏกอย่างแตกฉาน จะสามารถเข้าถึงแก่นแท้ของพุทธศาสนานี้ได้ด้วยตนเอง และนำไปปฏิบัติอย่างถูกต้องจนบรรลุธรรมแล้วนำไปสั่งสอนพุทธบริษัทต่อไปได้ อย่างไม่ผิดเพี้ยน การบำรุงพระภิกษุสามเณรให้ได้ศึกษาพระธรรมวินัยอย่างลึกซึ้งแตกฉาน เป็นทางสำคัญที่จะช่วยจรรโลงและเผยแผ่พระพุทธศาสนาสืบไป  เนื่องในมหามงคลวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเจริญพระชนมพรรษา 76 พรรษา 5 ธันวาคม 2546 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งกองทุนนี้เมื่อ 5 กุมภาพันธ์ 2547 พร้อมพระราชทานทุนปฐมฤกษ์จำนวนหนึ่งให้เมื่อ 21 พฤษภาคม 2547

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งโครงการกองทุนเล่าเรียนหลวงสำหรับพระสงฆ์ไทยขึ้น เพื่อสนับสนุนพระภิกษุและสามเณรให้มีโอกาสศึกษาพระพุทธศาสนาขั้นสูงจากสถาบันพุทธศาสนาในประเทศ ได้แก่ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย และ กองบาลีสนามหลวง เริ่มตั้งแต่ปีการศึกษา 2547 เป็นต้นมา ซึ่งโครงการทุนเล่าเรียนหลวงสำหรับพระสงฆ์ไทย มีที่ทำการอยู่ที่สำนักงานเลขาธิการคณะองคมนตรี สำนักราชเลขาธิการ ทำเนียบองคมนตรี พระราชอุทยานสราญรมย์ กรุงเทพฯ

จากมติมหาเถรสมาคมที่ให้วัดทุกวัดจัดแสดงพระธรรมเทศนาทศพิธราชธรรมและ จักรวรรดิวัตร ในวันธรรมสวนะหรือวันใดวันหนึ่งตามสมควร เดือนละ 1 ครั้ง ตลอดปี 2549 แล้วรวบรวมเงินบูชากัณฑ์เทศน์เข้าบัญชี “ โดยเสด็จพระราชกุศลสมทบโครงการทุนเล่าเรียนหลวงสำหรับพระสงฆ์ไทย ” นั้น ในการประชุมมหาเถรสมาคมเมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2550  สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติได้แจ้งยอดบัญชี ที่ได้รับค่ากัณฑ์เทศน์ ปรากฏว่ามีเงินถึงวันที่ 2 พฤษภาคม 2550 แล้ว จำนวน 20 ล้านบาทเศษ ที่ประชุมมหาเถรสมาคมรับทราบ พร้อมกับให้นำเงินดังกล่าวสมทบเข้ากองทุน “ทุนเล่าเรียนหลวงสำหรับพระสงฆ์ไทย” ต่อไป

วัตถุประสงค์

เพื่อให้พระภิกษุและสามเณรได้ศึกษาพระธรรมวินัยอย่างลึกซึ้งแตกฉาน
เพื่อสร้างความร่มเย็นในสังคมด้วยการมีหลักพุทธธรรมที่ถูกต้องเป็นแกน
เพื่อจรรโลงพระพุทธศาสนาให้เป็นหลักทางจิตใจและความคิดของประชาชน
คุณสมบัติผู้รับทุน

เป็นพระภิกษุหรือสามเณรที่กําลังศึกษาอยู่ระดับปริญญาตรี ปริญญาโท หรือ ปริญญาเอก ณ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย หรือมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
เป็นพระภิกษุหรือสามเณรที่ศึกษาต่อเพื่อเข้าสอบเปรียญธรรม 6, 7, 8, และ 9 ในการสอบ
มีผลการศึกษาและคุณสมบัติตามเกณฑ์ที่คณะกรรมการของแต่ละสถาบันกําหนด
ผ่านการคัดเลือกที่จัดขึ้นโดยคณะกรรมการของแต่ละสถาบัน
การให้ทุน

ทุนเล่าเรียนหลวงสําหรับพระสงฆ์ไทยจะครอบคลุมค่าใช้จ่ายในการศึกษาเพื่อ การลงทะเบียนเรียน  ค่าหน่วยกิต  ค่าหนังสือตําราเรียน  และค่าธรรมเนียมต่างๆ  จะได้มอบให้แก่สถานการศึกษาหรือผู้รับพระราชทานทุนโดยตรง ซึ่งประกอบด้วย

ทุนการศึกษาระดับปริญญาตรี  ปริญญาโท และปริญญาเอก  กํากับดูแลโดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย หรือมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
ทุนระดับปริญญาตรี ทุนละ 7,000 บาทต่อปี  รวม 4 ปี เป็นเงิน 28,000 บาท
ทุนระดับปริญญาโท ทุนละ 15,000 บาทต่อปี รวม 2 ปี เป็นเงิน 30,000 บาท
ทุนระดับปริญญาเอก ทุนละ 30,000 บาทต่อปี รวม 3 ปี เป็นเงิน 90,000 บาท
ทุนการศึกษาระดับเปรียญธรรม  6,  7,  8  และ  9  กํากับดูแลโดยกองบาลีสนามหลวง
ทุนผู้สอบผ่าน ป.ธ. 5  ศึกษาต่อเพื่อเข้าสอบ ป.ธ. 6 ทุนละ 6,000 บาท
ทุนผู้สอบผ่าน ป.ธ. 6  ศึกษาต่อเพื่อเข้าสอบ ป.ธ. 7 ทุนละ 8,000 บาท
ทุนผู้สอบผ่าน ป.ธ. 7  ศึกษาต่อเพื่อเข้าสอบ ป.ธ. 8 ทุนละ 12,000 บาท
ทุนผู้สอบผ่าน ป.ธ. 8  ศึกษาต่อเพื่อเข้าสอบ ป.ธ. 9 ทุนละ 16,000 บาท
ทุนพระธรรมทูต

ปัจจุบันมหาเถรสมาคมจัดให้มีหน่วยปฏิบัติการพระธรรมทูตอําเภอ  ทําหน้าที่เผยแผ่พระพุทธศาสนาไปตามเขตต่างๆ  ทั่วประเทศ  โดยแบ่งออกเป็น 9 สาย  โครงการฯ จะพิจารณาถวายทุนพระราชทานแก่หน่วยปฏิบัติพระธรรมทูต ที่มีผลงานดีเด่นสายละ 1 ทุน รวม 9 ทุน  ทุนละ 20,000 บาท  เพื่อสนับสนุนหน่วยปฏิบัติการต่างๆ ที่สามารถดําเนินการได้อย่างมีผลดียิ่ง โดยมีกองงานพระธรรมทูตเป็นผู้กํากับดูแล

ทุนสํานักเรียน

เขตปกครองคณะสงฆ์ได้จัดให้มีสํานักเรียน และสํานักศาสนศึกษาตามวัดต่างๆ  ทั่วประเทศ  เพื่อให้การศึกษาแก่พระภิกษุสามเณรที่จะเข้าสอบเปรียญธรรมหรือศึกษาต่อด้าน พระพุทธศาสนาในขั้นสูงต่อไป   โครงการฯ จึงจะพิจารณาถวายทุนพระราชทานแก่สํานักเรียนและสํานักศาสนศึกษาที่มีผลงานดี เด่นในแต่ละเขตปกครองคณะสงฆ์  รวม 5 ทุน  ทุนละ 30,000 บาท เพื่อเป็นทุนดําเนินการและแรงจูงใจให้สํานักเรียนเหล่านี้สามารถปรับปรุง คุณภาพการศึกษาให้ดียิ่งขึ้นไป โดยมีกองบาลีสนามหลวงเป็นผู้กํากับดูแล

ปี 2547 เริ่มแรกได้รับบริจาคมา 152 ทุน ปีต่อมา 242 ทุน และปีนี้ได้ 312 ทุน จำนวนเงินต่างกันตามชนิดของทุน   ปี 2548 เริ่มมีทุนพระธรรมทูตและทุนให้แก่สำนักเรียน

การบริหารโครงการ

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงดำรงตำแหน่งนายกกิตติมศักดิ์   สมเด็จพระมหาธีราจารย์ เป็นที่ปรึกษา   องคมนตรี กำธน สินธวานนท์ เป็นประธานกรรมการ   และกรรมการอีก 6 ท่าน พลโท นพ.ธำรงรัตน์ แก้วกาญจน์, น.ต.เกริก ตั้งสง่า ฯลฯ

จุดเด่นของโครงการ

การศึกษาทางศาสนาเพื่อมุ่งสืบศาสนทายาท ให้ได้เข้าถึงอย่างแท้จริงและช่วยเผยแพร่ จะเรียนทางบาลีด้วยเพื่อให้รู้ต้นเค้าเดิม จะช่วยสร้างคนให้เป็นมนุษย์ที่มีจิตใจสูง ถูกต้อง ผู้ได้ทุนจะเป็นเกียรติประวัติชีวิตอันยิ่งใหญ่ ช่วยจรรโลง พระพุทธศาสนาให้เข้มแข็ง ส่วนผู้บริจาค ได้แก่ ประชาชนทั่วไป เป็นการทำบุญกับในหลวง จะได้ผลบุญมหาศาล และเป็นธรรมทานอันยิ่งใหญ่

ยกเว้นการเสียภาษีเงินได้ จากทุนเล่าเรียนหลวงฯ

อนึ่ง ตามกฎกระทรวง ฉบับที่  259 (พ.ศ. 2549) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร ให้เงินได้พึงประเมินที่คณะกรรมการได้รับเพื่อประโยชน์ของโครงการทุนเล่า เรียนหลวงสำหรับพระสงฆ์ไทย เป็นเงินได้พึงประเมินที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้

การทูลเกล้าฯ ถวายทุนทรัพย์

สำหรับผู้มีจิตศรัทธาจะทูลเกล้าฯ ถวายทุนทรัพย์ เพื่อโดยเสด็จพระราชกุศลในการนี้ สามารถดำเนินการได้โดย

โอนเงินเข้าบัญชีออมทรัพย์ ชื่อบัญชี “โครงการทุนเล่าเรียนหลวงสำหรับพระสงฆ์ไทย” ทางธนาคารต่อไปนี้
ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาย่อยพระบรมมหาราชวัง หมายเลขบัญชี 061-2-06592-5
ธนาคารกรุงเทพ สาขาถนนตะนาว หมายเลขบัญชี 111-4-14822-2
ธนาคารกสิกรไทย สาขาเสาชิงช้า หมายเลขบัญชี 004-2-37111-4
ธนาคารกรุงศรีอยุธยา สาขาพาหุรัด หมายเลขบัญชี 003-1-15555-5
ธนาคารกรุงไทย สาขาเสาชิงช้า หมายเลขบัญชี 159-0-00181-8
จากนั้นส่งสำเนาใบโอนเงินไปยังที่อยู่ของโครงการฯ หรือหรือแฟกซ์ใบโอนเงินไปที่ โทรสาร 0-2225-0116 และ 0-2225-0051-2 ต่อ 4214

ส่งเป็นธนาณัติ ตั๋วแลกเงินธนาคาร เช็คขีดคร่อม ในนามของ“โครงการทุนเล่าเรียนหลวงสำหรับพระสงฆ์ไทย”
หากต้องการทราบรายละเอียดและข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อได้ที่ โครงการทุนเล่าเรียนหลวงสำหรับพระสงฆ์ไทย สำนักงานเลขาธิการคณะองคมนตรี สำนักราชเลขาธิการ ทำเนียบองคมนตรี พระราชอุทยานสราญรมย์ กทม.10200 โทร.0-2225-0051-2 ต่อ 4214, 4118 และ 4224

รายชื่อนักเรียนทุนฯ

สามารถดู รายชื่อนักเรียนทุนเล่าเรียนหลวง สำหรับพระสงฆ์ไทย ทั้งหมด ได้ที่ หน้านี้ และสืบค้นได้จาก เว็บกองบาลีสนามหลวง

อ้างอิง

ทุนเล่าเรียนหลวงสำหรับพระสงฆ์ไทย
ระบบค้นหาข้อมูลนักเรียนทุนเล่าเรียนหลวง สำหรับพระสงฆ์ไทย
กฎกระทรวง ฉบับที่  259 (พ.ศ. 2549) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร
โครงการทุนเล่าเรียนหลวงสําหรับพระสงฆ์ไทย
51  เรื่องทั่วไป / ข่าวสารเพื่อนถึงเพื่อน / กำหนดการไหว้ครูกรรมฐานใหญ่ประจำปีวันที่ 4 มิ.ย.55 ที่คณะ 5 วัดราชสิทธาราม เมื่อ: พฤษภาคม 27, 2012, 05:40:35 pm
เก็บข่าวมาเล่า
ข่าวชาวธรรม ชาวกรรมฐาน

       ณ วันจันทร์ที่ 4  มิถุนายน  2555  ขึ้น 15 ค่ำ เดือน  7 (วิสาขบูชา) ที่จะถึงนี้
หลวงพ่อจิ๋วกล่าวบอก ว่าจะจัดการไหว้ครูกรรมฐานประจำปีด้วยในวันนี้ด้วยเลย  และจัดให้มีพิธีเวียนเทียนในช่วงกลวงวัน และร่วมกันสวดธรรมจักร  ก็ขอเชิญผู้มีจิตศัทราเข้าร่วม ในงานยังมีจัดเลี้ยงก๊วยเตี๋ยวสุโขทัยไว้ตอนรับกว่าสองร้อยชาม  งานนี้ผู้ที่ไปร่วมงานมีแต่คุ้มกับคุ้ม

ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมโดยตรงได้ที่ : http://www.facebook.com/phrakrusittisongvonAeva Debug: 0.0004 seconds.
52  เรื่องทั่วไป / ข่าวสารเพื่อนถึงเพื่อน / ปลูกทุกอย่างที่กินได้ เพราะ! แล้วอะไรปลูกกินเองได้บ้างละ! ช่วยกันแนะนำหน่อยนะจ๊ะ เพื่อลดร เมื่อ: พฤษภาคม 20, 2012, 08:51:46 pm
ตอนนี้อะไรก็แพง   ทางองค์กรไม่แสวงหาผลกำไร ได้แนะนำทางออกมาว่า
วิธีแก้ปัญหาของกินของใช้แพง
1.ปลูกทุกอย่างกินเอง
2. เรื่องค่าใช้จ่ายในการขนส่งที่สุงขึ้น ก็ทำน้ำมันใช้เอง ทำพลังงานใช้เอง ตั้ง
แต่เรื่องไฟฟ้า พืชน้ำมัน
3.จัดการเรื่องการขนส่ง แบบไม่เร่งรีบ ให้มีบรรทุกทั้งขึ้น ล่อง หรือ ส่งขนส่งเอกชน
ในที่สุด ทุกสิ่งจะเข้าสู่จุดสมดุลย์ของสังคม และความเป็นอยู่เอง แต่ระหว่างทางสู่สมดุลย์ ผู้ที่ตั้งรับไม่ทัน หรือประมาท ก็จะเดือดร้อน
ขอเชิญร่วมกิจกรรม ประมาณ เดือนสิงหาคม 2555 ที่คณะวิทยาศาตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต เตรียมพร้อมรับภาวะวิกฤติ จากภัยธรรมชาติ และภัยเศรษฐกิจ ด้วยการพึ่งตนเอง ทั้งทางด้านพลังงานจากธรรมชาติ ทุกรูปแบบ อาหารอินทรีย์ พันธุ์พืชพื้นบ้าน ยกเว้นการเลี้ยงสัตว์ อย่างยั่งยืน ทำได้ ใช้ได้ ดี "เทอร์บาน เปอร์เมนเตน เจียรจะนับ สโลแกนจากมูลนิธิพํฒนาอีสาน จากเครือข่ายร่วม และทีมปราชญ์ชาวบ้านทั่วประเทศ
อ้างอิงจาก http://www.facebook.com/Dakkini

ที่นี้กลุ่มชาวธรรม ชาวนักปฏิบัติ พอจะมีคำแนะนำอะไรบ้าง  กับการปลูกทุกอย่างที่สามารถกินได้

อยากทราบว่า เราน่าจะปลูกอะไรกันบ้าง

 :08:

(ว่าจะปลูกมะเขือเทศ  พริก สะระแหน่ โหระพา กะเพรา )

ตอนนี้ คงจะเป็นเวลา ที่เราจะต้องทำกันจริงๆสักที
53  กรรมฐาน มัชฌิมา / เกี่ยวกับ วัด พระสงฆ์ พระธาตุ พระเครื่อง / แจกตะกรุดพญาไก่เถื่อน! ใครตอบได้ว่าพระนามของพระพุทธเจ้ามีว่าอะไรบ้างได้มากที่สุด? เมื่อ: พฤษภาคม 13, 2012, 05:29:46 pm
ขอเชิญทุกท่าน  :72: ร่วมตอบคำถาม
เพื่อการปฏิบัติกรรมฐาน พุทธานุสติกรรมฐาน
ว่าพระนามของพระพุทธเจ้ามีว่าอะไรบ้างและแปลว่าอะไรบ้าง (และขอมูลอ้างอิงถ้าเป็นไปได้)
มีรางวัลให้สำหรับผู้ที่ตอบมาได้มากที่สุด   :25:
 :08: โปรดตอบเรียงลำดับ ๑. ...   ๒. ...   ๓. ... 


ข้อแนะนำ : ในเบื้องตน ควรช่วยกันหามาก่อน(ช่วยกันโพส์ตามที่หามาได้)  :93:
หมายเหตุ : ผู้มีข้อสงสัยสอบถามได้ที่กระทู้นี้  :88:

ขอให้ทุกท่านเจริญในธรรม
54  ธรรมะสาระ / ห้อง_ด า ว น์ โ ห ล ด / พระคาถาชินบัญชรทุกฉบับ เช่น ลังกา, พม่า, ล้านนา ...... (พร้อมคำแปล) และที่มาประวัติชินบัญชร เมื่อ: พฤษภาคม 12, 2012, 03:28:02 pm
รวมบทสวดพระคาถาชินบัญชร ที่มาชินบัญชร  :72:

           :08:

ดาว์นโหลดไปอ่านกันได้ที่นี่เลยครับ
http://depositfiles.com/files/qi9vni8kk

             :welcome:
55  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / ธรรมโอสถ ยาดีปีใหม่ไทย ขอความสุขจงมีแด่ทุกท่านเทิญ เมื่อ: เมษายน 16, 2012, 02:17:42 pm
ธรรมโอสถ
"...ยาดี ไม่ได้ทำให้คนหายไข้
แต่คนหายไข้เพราะไปกินยาดี
..ธรรมไม่ได้ทำให้คนพ้นทุกข์
แต่คนพ้นทุกข์เพราะได้ปฏิบัติธรรมนั้น.."
56  กรรมฐาน มัชฌิมา / ธรรมะสัญจร / รอยพระพุทธบาท นัมะทานที ที่เกาะแก้ว จ.ภูเก็ต เมื่อ: มีนาคม 25, 2012, 03:26:49 pm
อยากทราบ การเดินทางไปนมัสการ รอยพระพุทธบาท นัมะทานที ที่เกาะแก้ว จ.ภูเก็ต หน่อยครับ  อยากไปนมัสการ มากเลยครับ รบกวนเพื่อนๆสมาชิกช่วยแนะนำหน่อยครับ จะขอบคุณมากๆเลยครับ
57  เรื่องทั่วไป / ข่าวสารเพื่อนถึงเพื่อน / งานบุญทอดผ้าป่าสามัคคี ทั้วไทย เมื่อ: มีนาคม 23, 2012, 09:51:13 pm
วันเสาร์ที่ 14 กรกฎาคม  พ.ศ. 2555
ทอด ณ สวนโพธิสัตว์อนุสรณ์สถาน  บ้านน้ำโท้ง ตำบลท่าขุนราม หมู่ 8 จังหวัดกำแพงเพชร

วัตถุประสงค์  :  เพื่อสืบสานพระพุทธศาสนา และสนับสนุนชาวพุทธทุกหมู่เหล่า ปฏิบัติธรรมทั่วสารทิศ
                           เป็นที่ศึกษาและค้นคว้าสืบไป มีพื้นที่อยู่ 1 ไร่ 69 ตารางวา
เนื่องด้วยคณะผู้ก่อตั้งสวนโพธิสัตว์อนุสรณ์สถานมีความศรัทธาในพระพุทธศาสนามีความประสงค์จัดสร้าง
              ให้เกิดประโยชน์ต่อผู้ปฏิบัติธรรม อันเป็นมหากุศลผลบุญทานที่ยิ่งใหญ่ถึงลูกหลานวงศ์ตระกูลสืบต่อไป
ในการนี้ขอเชิญผู้ใจบุญกุศลร่วมเป็นเจ้าภาพ บริจาคทรัพย์และถาวรวัตถุที่ยังขาดอยู่ จะได้ก่อสร้าง คือ
1.  ที่ดินสวนโพธิสัตว์อนุสรณ์เพิ่ม จำนวน  2  งาน  (ยังขาดทุนทรัพย์อยู่)
2.  ห้องพักปฏิบัติธรรม  (ยังขาดทุนทรัพย์อยู่)
3.  ห้องสุขา-ห้องอาบน้ำ     (เชิญเป็นเจ้าภาพร่วม)
              4.  รูปหล่อสมมุติ   พระพุทธชินราช องค์ประธาน  พระพุทธนำชัย  (ยังไม่มีเจ้าภาพ)
5.  รูปหล่อสมมุติ   พระโพธิสัตว์กวนอิมพันมือ ความสูง  3  เมตร  (เชิญเป็นเจ้าภาพร่วม)   
6.  รูปหล่อสมมุติ   สมเด็จพระพุทธจารย์โต    (เชิญเป็นเจ้าภาพร่วม)
7.  รูปหล่อสมมุติ   หลวงปู่ทวด    (เชิญเป็นเจ้าภาพร่วม)
8.  ศาลาวิหารธรรมใหญ่  1 หลังก่อน รับผู้ปฎิบัติ 65 ท่าน สถานที่สวดมนต์   (เชิญเป็นเจ้าภาพร่วม)
9. รูปหล่อสมมุติ  พระยาวชิรปราการ (สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช)  1  องค์  39-32-69 นิ้ว (สำเร็จแล้ว) 
                            จึงขอเรียนเชิญท่านผู้ใจบุญร่วม กองละ100บาท  สมทบทุนสร้างสวนโพธิสัตว์อนุสรณ์สถานทอดผ้าป่าร่วมกัน
                    หรือสมทบทุนบริจาคทรัพย์ร่วมกองทุนตั้งแต่บัดนี้ ได้ที่บัญชี  (ขอให้ทุกท่านโทรแจ้งเพื่อบันทึกทั่วกัน)
ขออำนาจสิ่งศักดิ์สิทธิ์จงดลบันดาลให้ทุกท่านได้ประสบทิพย์สมบัติ  เทวาสมบัติ  ทานสมบัติ  เพื่อบรรลุในชาติปัจจุบัน 
                     และกาลครั้งหน้าสืบไป  ขออนุโมทนา  สาธุ  สาธุ  สาธุ
ประธานฝ่ายสงฆ์ กำแพงเพชร
พระครูวิศาลวชิรกิจ (จอ.) วัดสโมสรเทพ   พระอาจารยเสนาะ  โพธิ์ไกร วัดเสด็จ                                                                                                                                                            พระมหาบุญมี  ภูริมังคลาจาโร (จอ.) วัดโบสถ์ ต.เมืองบางขลัง  อ.สวรรคโลก  จ.สุโขทัย
                                       พระครูปลัดธีรพัฒน์  ญาณวีโร (จอ.) วัดบ้านด่าน  หนองขาม  อ.อรัญญประเทศ  จ.ปราจีนบุรี
ประธานดำเนินการก่อตั้ง  กำแพงเพชร
คุณรักษ์ โหราศาสตร์ ฮวงจุ้ย  คุณลัดดา เทพสิงห์
สวนโพธิสัตว์อนุสรณ์สถาน  บ้าน้ำโท้ง หมู่ 8 ตำบลท่าขุนราม อำเภอเมือง  จังหวัดกำแพงเพชร
                                   บัญชีธนาคารกรุงเทพ สาขา นครชุม กำแพงเพชร  หมายเลข. 557-035-295-4
                      สอบถามโทร. 081-533-5900  สวนโพธิสัตว์อนุสรณ์สถาน (เพื่อประโยชน์ส่วนรวม)
58  กรรมฐาน มัชฌิมา / ธรรมะสัญจร / งานบุญหล่อพระทั่วไทย เมื่อ: มีนาคม 22, 2012, 09:17:58 pm
23มีค.
13:00 หล่อพระปางห้ามสมุทร 9 ม.
วัดราชสิงขร เจริญกรุง74


24มีค.
 หล่อพระประธานโบสถ์
วัดโนนสะอาด กบิลบุรี


24มีค.
วัดเสม็ดโกสิ อ.ท่าใหม่ จ.จันทบุรี

(เท่านี้ก่อนนะครับ รายละเอียดเพิ่มเติมอยู่ระหว่างการติดต่อ)

สาธุกับทุกท่านนะครับ สาธุ :25:
59  ธรรมะสาระ / ห้อง_ด า ว น์ โ ห ล ด / รวมคาถาโบราณจากศรีลังก ครหะสันติคาถา,คาถาปะโชตา (กำลังจักรพรรดิ).สัมพุทธะคาถา.ที่มาชินบัญ เมื่อ: มีนาคม 22, 2012, 09:40:53 am
:s_hi: มีพระคาถาโบราณจากศรีลังกามาฝากสำหรับท่านผู้ชื่นชอบการสวดมนต์ ซึ่งปริวรรตมาจากคัมภีร์ใบลานอักษรธรรมล้านนา ตามประวัติว่า ตกทอดมาจากลังกา ในรัชสมัยพระเจ้าติโลกราช (จักรพรรดิล้านนา) แห่งนครเชียงใหม่ (พระประวัติค้นหาได้จากอินเทอร์เน็ต) คือพระคาถาปะโชตา (หรือ จุททะสะคาถา) พระคาถาบทนี้เป็นคาถาที่หายสาบสูญไปประมาณ 500 ปี เป็นพระคาถาประจำพระองค์ของพระเป็นเจ้าติโลกราช ทรงสังวัธยายเป็นประจำทำให้พระองค์มีเดชานุภาพแผ่ไปทั่วทิศานุทิศ ในรัชสมัยของพระองค์ทรงปราบได้ถึงเมืองพิษณุโลกสองแคว และเมืองปากยม (พิจิตร) นอกจากนี้ยังมีพระคาถาคระหะสันติ (หรือไชยะคุรุง) เป็นบทสวดสำหรับส่งนพเคราะห์ด้วยตนเอง ทำให้ปลอดภัยแคล้วคลาด (ผู้เขียนประสบมาด้วยตนเอง) สัมพุทธะคาถาว่าด้วยกันภัยพิบัติสวดเป็นประจำทำให้เจริญรุุ่งเรือง ในยามแห้งแล้งจะเอาใช้สวดขอฝนก็ได้ เป็นบทนมัสการพระพุทธคุณมี 12 บท (ขอบอกถ้าไม่สวดขอฝนให้สวดเฉพาะ 11 บทข้างต้นก็พอ) และสุดท้ายขอแถม พระคาถาชินบัญชรเกือบครบทุกฉบับ.ประวัติความเป็นมา.ไขปริศนาพระคาถาชินบัญชร/  จาก ภิกษุเกทารบุตร (ลูกชาวนา)

 :welcome:

ชื่อหนังสือ พุทธคุณวัณณนาคาถาจตุกกะ (แทรกอยู่ในหนังสือพระปริตรสังเขปเรียบเรียงโดยพระมหาญาณทฺธโช ป.ธ. 7)

 :25:



ดาว์นโหลดกันได้ที่นี้เลยครับ : http://depositfiles.com/files/rtkjf1diq
60  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / มีใครอยู่ ตรงพระปฐมเจดีย์บ้าง เมื่อ: มกราคม 05, 2012, 07:24:38 pm
มีใครอยู่ ตรงพระปฐมเจดีย์บ้าง พระมาอบรมบาลีที่พระปฐมเจดีย์ พักอยู่ที่วัดพระงาม  (พระที)
61  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / อสุรกาย และพวกอสูรเหมือนกันหรือเปล่า? เมื่อ: ตุลาคม 05, 2011, 03:09:47 pm
อ่านเจอมาว่า  อบายภูมิมี 4 ประเภท  หนึ่งในนั้นมี อสุรกาย และก็ที่ชั้นดาวดึงส์ก็มี อสูรที่รบกับเทวดา เป็นอสูรเดียวกันหรือเปล่าครับ?  แล้วอสูรขึ้นไปบนชั้นสวรรค์ได้ด้วยเหร๋อครับ?
62  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / กุมภัณฑ์กับพวกยักษ์เหมือนกันไหม! เมื่อ: ตุลาคม 05, 2011, 02:54:43 pm
กุมภัณฑ์เป็นบริวารของท้าววิรุฬหก ส่วนพวกยักษ์เป็นบริวารของท้าวกุเวร  ซึ่งแน่นอนว่าต้องเป็นคนละพวกกัน แล้วกุมภัณฑ์คือใครครับ?  รบกวนผู้รู้ตอบให้เข้าใจหน่อยขอบคุณครับ
63  กรรมฐาน มัชฌิมา / เกี่ยวกับ วัด พระสงฆ์ พระธาตุ พระเครื่อง / หลวงปูลี วัดป่าหัวตกุด เมื่อ: กันยายน 09, 2011, 01:04:11 pm
อยากทราบประวัติ หลวงปูลี วัดป่าหัวตกุด ครับมีใครพอจะทราบไหมครับ?
64  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / พระอรหันต์สุกขวิปัสสกะ เมื่อ: สิงหาคม 03, 2011, 10:14:26 am
พระอรหันต์สุกขวิปัสสกะ เช่น ใครบ้างครับ? ขอเอาอ้างอิงมาด้วยนะครับ อยากทราบมากๆเลย
65  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / พระเพชรฉลูกัณฑ์ คือใคร ? เมื่อ: กรกฎาคม 01, 2011, 09:49:48 pm
อยากทราบครับ ว่าพระเพชรฉลูกัณฑ์ คือใครกันแน่ ? งงครับ !! แล้วเกี่ยวข้องกับศาสนาพุทธเรายังไงครับ ?
66  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / ธุระในพระพุทธศาสนา (สองอยา่ง) มาจากไหน? เมื่อ: ธันวาคม 15, 2010, 08:22:38 pm
อยากทราบว่าพระพุทธเจ้า ได้กล่าวในเรื่องธุระสองอย่าง อันได้แก่ คันถะธุระ และวิปัสสนาธุระ นั้น

ในพระไตรปิฎก มีบันทึกกล่าวไว้ที่ตรงไหนบ้างครับ? (อยากทราบอ้างอิงครับ)

และให้ความสำคัญอย่างไหนมากกว่ากัน หรือเท่ากันครับ?
67  กรรมฐาน มัชฌิมา / กิจกรรมของ สนง.ส่งเสริมพระกรรมฐาน / การปฏิบัติธรรมที่ศาลากรรมฐาน วัดแก่งขนุน ในวันอาทิตย์ที่ 28 พฤศจิกายน 2553 เมื่อ: พฤศจิกายน 16, 2010, 10:18:01 pm
การปฏิบัติธรรมที่ศาลากรรมฐาน วัดแก่งขนุน ในวันอาทิตย์ที่ 28 พฤศจิกายน 2553 ตั้งแต่เวลา 11.00 น. ถึง 15.00 น.

แผนที่ http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=37.0


ประมวลภาพกิจกรรม การปฏิบัติธรรม ที่วัดแก่งขนุน  http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=918.0



 :welcome:
 :58:ขอเชิญร่วมแสดงความคิดเห็นกันได้นะค่ะ :88:
 :25:
68  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / อัญเชิญคัมภีร์พุทธ เก่าแก่กว่า2,500 ปี เมื่อ: ตุลาคม 15, 2010, 12:03:09 pm
  :67:  อัญเชิญคัมภีร์พุทธ เก่าแก่กว่า2,500 ปี   :67:

  :character0029: ข่าวดีสำหรับพุทธศาสนิกชนชาวไทย โดยสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ (พศ.) เตรียมเสนอรัฐบาล ทำเรื่องขออัญเชิญ "ธรรมเจดีย์" คัมภีร์พุทธศาสนาโบราณอายุกว่า 2,500 ปี ต้นกำเนิดแห่งพระไตรปิฎก ซึ่งค้นพบภายในถ้ำประเทศอัฟกานิสถาน และถูกนำไปเก็บรักษาไว้ที่ประเทศนอร์เวย์ มาประดิษฐานชั่วคราวที่พุทธมณฑล จ.นครปฐม เพื่อเฉลิมฉลองเนื่องในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  ทรงเจริญพระ ชนมพรรษา 83 พรรษา วันที่ 5 ธ.ค.นี้ พร้อมเปิดโอกาสให้คนไทยได้ร่วมสักการบูชานานถึง 4 เดือนเต็ม ระหว่างเดือน  พ.ย.53-ก.พ.54

 :67:  จาก  นสพ.ไทยรัฐ   http://www.thairath.co.th/today/view/118963  (อ่านต่อที่นี่นะจ๊ะ)    :67:

 :character0029:  อยากไปดูมากๆเลย  มีใครจะไปบ้างไม๊  เราลองมาลงชื่อกันดูไม๊ ใครสะดวกวันไหนบ้างครับ นัดขึ้นรถที่ไหนกันดีเอ่ย 
 :s_good:  คุณครู ถ้าได้พาเด็กๆไปดูด้วยได้ยิ่งดีเลย  สาธุ สาธุ   :25:
69  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / ปฏิบัติกรรมฐานแล้วสามารถแก้โรค แก้กรรมได้จริงหรือครับ? เมื่อ: ธันวาคม 09, 2009, 12:44:46 pm
ปฏิบัติกรรมฐานแล้วสามารถแก้โรค แก้กรรมได้จริงหรือครับ? มันไปเกี่ยววกันยังไงครับ! ไม่เห็นจะเข้าใจเลย! แล้วถ้าทำได้! อย่างนี้ก็จะสามารถช่วยคนอื่นได้ด้วยหรือเปล่าครับ?Aeva Debug: 0.0004 seconds.
70  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / เราจะปฏิบัติกรรมฐานกันไปทำไมครับ? เมื่อ: ธันวาคม 08, 2009, 02:10:51 pm
เห็นปฏิบัติกันไม่มากเลย (เมื่อเทียบกับประชากร)
71  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / การปฏิบัติกรรมฐาน! ทำไมต้องเป็นกรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับด้วยครับ? เมื่อ: ธันวาคม 04, 2009, 09:05:11 pm
การปฏิบัติกรรมฐาน!  ทำไมต้องเป็นกรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับด้วยครับ? กรรมฐานอื่นไม่ได้หรือครับ? ใคร่รู้ช่วยบอกหน่อยครับ ขอบคุณครับ
หน้า: 1 [2]