ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: สังฆคุณ พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า  (อ่าน 2146 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ธรรมะ ปุจฉา

  • http://www.facebook.com/srikanet?ref=tn_tnmn
  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +2/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 713
  • ปัญญสโก ภิกขุ (พระที) ..... คณะ ๓/๓ วัดพลับ
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
       ก็ได้กล่าวถึงเรื่องของพระสารีบุตร พระสงฆ์สาวกของพระพุทธองค์ ในช่วงเทศกาลลอยกระทงกันไปแล้ว ต่อจากนี้ก็จะขอขยายความ ในส่วนของพระสังฆรัตน หรือพระสังฆคุณ ๙

        ภควโต  สาวกสงฺโฆ   พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาค
๑.  สุปฏิปนฺโน                          เป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว
๒.  อุชุปฏิปนฺโน                        เป็นผู้ปฏิบัติตรงแล้ว
๓.  ญายปฏิปนฺโน                      เป็นผู้ปฏิบัติธรรม
๔.  สามีจิปฏิปนฺโน                     เป็นผู้ปฏิบัติสมควร
    ยทิทํ                                 นี้คือใคร
     จตฺตาริ  ปุริสยุคานิ                คู่แห่งบุรุษ  ๔
     อฏฺฐ  ปุริสปุคฺคาลา                บุรุษบุคคล  ๘
     เอส  ภควโต  สาวกสงฺโฆ         นี้พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาค
๕.  อาหุเนยฺโย                          เป็นผู้ควรของคำนับ
๖.  ปาหุเนยฺโย                          เป็นผู้ควรของต้อนรับ
๗.  ทกฺขิเณยฺโย                        เป็นผู้ควรของทำบุญ
๘.  อญฺชลีกรณีโย                      เป็นผู้ควรทำอัญชลี
๙.  อนุตฺตรํ  ปุญฺญกฺเขตตํ  โลกสฺส  เป็นนาบุญของโลก  ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า

        สังฆคุณ  คือคุณของพระสงฆ์  พระสงฆ์ในที่นี้หมายเอาพระอริยสงฆ์  คือพระสงฆ์ที่ได้บรรลุธรรมวิเศษ  มีโสดาปัตติผล  เป็นต้น
        ที่ชื่อว่า  สาวก  เพราะฟังโอวาทานุสาานีของพระผู้มีพระภาคโดยเคารพ  หมู่แห่งสาวกทั้งหลาย  ชื่อว่าสาวกสงฆ์  หมายความว่าประชุมสาวกผู้ถึงความเป็นกลุ่มก้อนกัน  โดยเป็นผู้มีศีลและทิฏฐิเสมอกัน

        ๑. สุปฏิปนฺโน  ปฏิบัติแล้ว  ปฏิบัติชอบ  ข้อนี้มีความหมายกว้าง  ท่านอธิบายไว้หลายนัย  เช่น  ปฏิบัติไม่ท้อถอย  ปฏิบัติสมควรแก่พระนิพพาน  ปฏิบัติไม่เป็นข้าศึกแก่ธรรมและบุคคล  ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม  รวมความแล้ว  ได้แก่การปฏิบัติในทางสายกลาง  คือมัชฌิมาปฏิปทา  ไม่ตึงนักไม่หย่อนนักในธรรมวินัยที่พระผู้มีพระภาคตรัสดีแล้ว

         ๒. อุชุปฏิปนฺโน  เป็นผู้ปฏิบัติตรงแล้ว  คือเป็นผู้ปฏิบัติจริง ๆ ไม่ลวงชาวโลก  ไม่มีมายาสาไถย  ปฏิบัติตรงต่อพระศาสดา และเพื่อนสาวกสงฆ์  มิปิดบังอำพรางความในใจแม้แต่อย่างเดียว

         ๓. ญายปฏิปนฺโน  เป็นผู้ปฏิบัติธรรม  ท่านสันนิษฐานว่า  ญาย  ออกจาก  ญา  ธาตุ  แปลว่า รู้  จึงอธิบายว่า  เป็นผู้ปฏิบัติปฏิปทาเป็นเครื่องรู้  คือปฏิบัติเพื่อความรู้ธรรม  อักอย่างหนึ่ง  ญาย  แปลว่า  พระนิพพาน  แปลว่า  เป็นผู้ปฏิบัติเพื่อประโยชน์แก่พระนิพพาน

         ๔. สามีจิปฏิปนฺโน  เป็นผู้ปฏิบัติสมควร  เป็นผู้ปกฺบัติชอบ  คือปฏิบัติน่านับถือ  สมควรได้รับสามีจิกรรมจากเหล่าคนทุกจำพวก  ผู้ปฏิบัติเหล่านี้  คือใคร  คือถ้านับเป็นคู่  ได้บุรุษบุคคล  ๔  คู่  คือ

                       ๑. ท่านผู้ตั้งอยู่ในโสดาปัตติมรรค
                           ท่านผู้ตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล

                       ๒. ท่านผู้ตั้งอยู่ในสกทาคามิมรรค
                           ท่านผู้ตั้งอยู่ในสกทาคามิผล

                       ๓. ท่านผู้ตั้งอยู่ในอนาคามิมรรค
                           ท่านผู้ตั้งอยู่ในอนาคามิผล

                       ๔. ท่านผู้ตั้งอยู่ในอรหัตตมรรค
                           ท่านผู้ตั้งอยู่ในอรหัตตผล

         ถ้านับเรียงตัวบุคคล  ได้บุรุษบุคคล  ๘  คือ  ผู้ตั้งอยู่ในมรรค  ๔  ผล  ๔  นี้เป็นสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาค

         ๕. อาหุเนยฺโย  เป็นผู้ควรของคำนับ  ได้แก่เป็นผู้ควรรับของที่เขานำมาบูชา  วัตถุที่เขานำมาบูชา  เรียกว่า  อาหุนะ  หมายความว่าของที่เขานำมาแต่ที่ไกลแล้วถวายในท่านผู้มีศีล  เพราะทำให้อาหุนะนั้น  มีอานิสงส์มาก  มีผลมาก

         ๖. ปาหุเนยฺโย  เป็นผู้ควรของต้อนรับ  อาคันตุกทานที่เขาจัดแจงไว้อย่างดี  เพื่อประโยชน์แก่ญาติและมิตรทั้งหลาย  ผู้เป็นที่รักที่ชอบใจ  ซึ่งจะมาจากทิศใหญ่น้อย  เรียกว่าปาหุนะ  ถึงอาคันตุกทานเช่นนั้น  เว้นจากญาติมิตรที่รักที่ชอบใจเหล่านั้นเสีย  ก็ควรถวายแก่พระสงฆ์เท่านั้น  พระสงฆ์นั่นแหละเป็นผู้ควรรับอาคันตุกทานนั้น  เพราะแขกเช่นพระสงฆ์หามีไม่

         ๗. ทกฺขิเณยฺโย  เป็นผู้ควรของทำบุญ  ทานที่บุคคลเชื่อปรโลกแล้วจึงให้  ชื่อว่าทักขิณา  พระสงฆ์ควรแก่ทักขิณานั้น  หรือเกื้อกูลแก่ทักขิณานั้น  เพราะทำทักขิณานั้นให้มีผลมาก  มีอานิสงส์มาก  พระสงฆ์จึงจัดว่าเป็นผู้ควรซึ่งทักขิณาหรือเกื้อกูลแก่ทักขิณา

         ๘. อญฺชลีกรณีโย  เป็นผู้ควรทำซึ่งอัญชลี (คืิอประนมมือไหว้) คือผู้ใดผู้หนึ่ง  นำเครื่องสักการะไปถวายถึงสำนักของท่าน  ท่านสามารถทำความเลื่อมใสให้เกิดได้  โดยไม่ต้องมาเสียใจในภายหลัง  และท่านก็เป็นปฏิคาหกที่สมควรแก่การทำบุญ  หรือผู้ใดผู้หนึ่งยกมือขึ้นไหว้ท่าน  ท่านก็มีความดีที่ทุกคนพอจะไหว้ได้  โดยไม่ต้องกระดากอาย

         ๙. อนุตฺตรํ  ปุญฺญกฺเขตตํ  โลกสฺส  เป็นนาบุญของชาวโลก  ไม่มีนาบุญอื่นที่ยิ่งกว่า  เพราะทักขิณาที่บุคคลเชื่อปรโลกแล้วถวายในพระสงฆ์  ผู้เป็นนาบุญอย่างยอดเยี่ยมของชาวโลก  ย่อมจะมีผลมาก  มีอานิสงส์มาก ดุจพื้นที่นามีดินดี  พืชที่บุคคลหว่านลงไปในนานั้น  ย่อมมีผลอันไพบูลย์  ฉะนั้น  พระสงฆ์นั้น  เป็นผู้บริสุทธิ์  จึงเป็นนาบุญที่หว่านพืชคือของทำบุญของชาวโลก  ไม่มีนาบุญชนิดอื่นยิ่งกว่า

          นี้ก็ถือเป็นโอกาสอันดีที่เราท่านทั้งหลาย จะได้มีโอกาสเจริญ สังฆานุสสติ คือ การระลึกถึงคุณพระสงฆ์เป็นอารมณ์  ในวัน ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒ วันที่พระสารีบุตรเถระ พระเอตทัคคะด้าน เป็นผู้มีปัญญามาก ปรินิพพาน  และก็เป็นวันลอยกระทงของชาวไทย
บันทึกการเข้า
ยาดี มิได้ทำให้คนหายไข้   คนหายไข้ เพราะได้กินยาดี
ธรรมะ มิได้ทำให้คนดี       คนดีได้  เพราะปฏิบัติธรรม