ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: พระไตรปิฏกร่วมสมัย พระมหาอุเทน ปัญญาปริทัตต์  (อ่าน 4981 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ธรรมะ ปุจฉา

  • http://www.facebook.com/srikanet?ref=tn_tnmn
  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +2/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 713
  • ปัญญสโก ภิกขุ (พระที) ..... คณะ ๓/๓ วัดพลับ
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์

     รูปร่าง หน้าตา กิริยาท่าทาง สติปัญญา และความรู้ความสามารถ ตลอดถึงตำแหน่งหน้าที่การงาน ได้เข้ามาสร้างความแตกต่างทางสังคม ทั้งเชืืืื้อชาติ๓าษาและวัฒนธรรมประเพณีก็แยกมนุษย์ออกจากกันจนห่างไกลกลายเป็นความแตกแยก ประหนึ่งรอยร้าวที่ยากจะประสานสนิท มองมุมนี้ไม่เห็นทางที่มนุษย์จะรวมกันเป็นหนึ่งความเมตตาปรานีนับวันจะสูญหาย ต้องเปลี่ยนมุมมองใหม่โดยมองว่าแม้มนุษย์จะแตกต่าง แต่ก็เหมือนกันตรงที่มีชีวิตจิตใจ มีเลือดเนื้อ มีความรู้สึกนึกคิด เขาก็มีจิต เราก็มีใจ ไม่ต่างกันเลย

     พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสกับพระเจ้าปเสนทิโกศลว่า
        "มหาบพิตร องค์ของภิกษุผู้บำเพ็ญเพียรมี ๔ ประการ คือ
             ๑. มีศรัทธา เชื่อปัญญาตรัสรู้ของตถาคตว่าพระองค์ตรัสรู้เองโดยชอบ
             ๒. มีสุขภาพแข็งแรงโรคาพาธน้อย ประกอบด้วยไฟธาตุย่อยอาหารพอเหมาะพอดี
             ๓. ไม่มีมารยาสาไถย ไม่โอ้อวด เป็นคนเปิดเผย
             ๔. มีความเพียรพยายามที่จะละอกุศลธรรม เจริญกุศลธรรมเป็นคนบากบั่นมั่นคง
             ๕. มีปัญญาพิจารณาเห็นความเกิดดับ ทำทุกข์ให้สิ้นไป

     มหาบพิตร วรรณะ ๔ เหล่า คือ กษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร ถ้าประกอบด้วยองค์ของภิกษุผู้มีความเพียร ๕ ประการนี้ ก็เป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขตลอดกาลนาน"

      พระเจ้าปเสนทิโกศลทูลถามว่า
           "พระองค์ผู้เจริญ ถ้าวรรณะ ๔ เหล่านั้นประกอบด้วยองค์ของภิกษุผู้มีความเพียร ๕ ประการนี้จริง จะมีข้อแตกต่างกันบ้างไหม"

      พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า
            "มหาบพิตร อาตมาภาพกล่าวว่าวรรณะ ๔ เหล่านี้ ไม่แตกต่างกันแม้แต่น้อย เปรียบเหมือนชายคนหนึ่งเก็บไม้สักแห้งมาก่อไฟให้ไหม้ลุกโชน ต่อมาชายอีกคนหนึ่งเก็นไม้สาละแห้งมาก่อไฟให้ลุกโชน ต่อมาชายอีกคนหนึ่งเก็บไม้มะม่วงแห้งมาก่อไฟให้ลุกโชน และต่อมาก็มีชายอีกคนหนึ่งเก็บไม้มะเดื่อแห้งมาก่อไฟให้ลุกโชน
    มหาบพิตร พระองค์ทรงเข้าพระทัยเรื่องนั้นอย่างไร เปลวกับเปลว สีกับสี แสงกับแสงของไฟที่เกิดจากไม้ต่างๆ นั้นแตกต่างกันบ้างไหม"
            "ไม่แตกต่างกันเลย พระพุทธเจ้าข้า"
            "อย่างนั้นเหมือนกัน มหาบพิตร."

    ธรรมชาติคือสภาพความเป็นจริง ซึ่งดำเนินไปตามระบบกฏเกณฑ์ของมันสอดประสานสัมพันธ์ เช้า สาย บ่าย เย็น มืด สว่าง ผลัดเปลี่ยนกันทำหน้าที่อย่างเที่ยงตรง และเคลื่อนตัวไปเรื่อยๆ เรียบๆ อย่างไม่มีวันสิ้นสุด ปรากฏการณ์บางอย่างเกิดขึ้นให้เราตื่นตระหนก แต่ไม่นานวันมันก็ค่อยๆ เลือนลับไปกับสายลมแสงแดด ความแปรปรวนเปลี่ยนแปลงแตกดับปรากฏให้เห็นอย่างไม่ขาดสาย นี้คือสัจจะอันเป็นนิรันดร์ สรรพชีวิตตกอยู่ในสภาพนี้มีความเสมอเหมือน ไม่มีใครเหนือใครในสัจธรรมชีวิต ต้องเกิด แก่ เจ็บ ตาย และเราก็เป็นเพื่อนเกิด แก่ เจ็บ ตาย ด้วยกันทั้งสิ้น

    ธาตุทั้ง ๔ คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ เป็นความจริงขั้นมูลฐาน มันปรุงประกอบกันเองตามสัดส่วนที่เหมาะสม โดยมีเหตุปัจจัยต่างๆ มาสัมพันธ์เกื้อหนุนสำเร็จเป็นรูปนี้บ้าง รูปนั้นบ้าง ไม่ว่าจะเป็นรูปใหญ่ เล็ก หยาบ ละเอียดเพียงใด ก็ล้วนมาจากธาตุทั้ง ๔ ครั้นสำเร็จเป็นรูปร่างแล้วก็ค่อยๆ โตเติญใหญ่แปรเปลี่ยนไปเรื่อยๆ และในที่สุดก็แตกดับกลับไปสู่สภาพเดิม

    จากดิน น้ำ ลม ไฟ ค่อยใหญ่ยิ่ง
กลายเป็นสิ่งสดสวยด้วยสีสัน
แล้วเสื่อมสิ้นอินทรีย์ทุกชีวัน
สูงสุดคืนสู่สามัญ นั่นความจริง ฯ


    คือความจริงตามธรรมชาติที่ใครไม่อาจสั่งบังคับและต้านทานมันไม่ขึ้นกับใคร ไม่ตกอยู่ใต้อาณัติของใคร ทว่าเป็นไปตามปรกติธรรมดา

    บนผืนหล้าใต้ฟ้าครามนี้ สรรพชีวิตกำลังดำเนินไปสู่ความเป็นธรรมดาสามัญเราท่านก็เหมือนกันมิใช่หรือ.


    "...ธรรมชาติคือสภาพความจริง
ซึ่งดำเนินไปตามระบบกฏเกณฑ์ของมัน
สอดประสานสัมพันธ์ เช้า สาย บ่าย เย็น
มืด สว่าง ผลัดเปลี่ยนกันทำหน้าที่อย่าง
เที่ยงตรง และเคลื่อนตัวไปเรื่อยๆ เรียบๆ
อย่างไม่มีวันสิ้นสุด..."

บันทึกการเข้า
ยาดี มิได้ทำให้คนหายไข้   คนหายไข้ เพราะได้กินยาดี
ธรรมะ มิได้ทำให้คนดี       คนดีได้  เพราะปฏิบัติธรรม

ธรรมะ ปุจฉา

  • http://www.facebook.com/srikanet?ref=tn_tnmn
  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +2/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 713
  • ปัญญสโก ภิกขุ (พระที) ..... คณะ ๓/๓ วัดพลับ
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
อยู่ที่ใจมิใช่หรือ

     อาวุธยุทโธปกรณ์มีไว้เพื่อรบรากับปัจจามิตร  ป้องกันภัยมิให้ใครมารุกราน  และปราบปรามผู้ก่อการร้าย  มิได้มีไว้เพื่อฝึกฝนอบรมตน  จะฝึกให้คนดีมีคุณธรรม  ไม่จำเป็นต้องมีอาวุธยุทโธปกรณ์ใด ๆ  และไม่ควรใช้ยุทโธปกรณ์มาบังคับข่มขู่ให้หวาดกลัว  มิฉะนั้นจะเกิดการต่อต้านหาทางตอบโต้  เพราะถึงขีดสุดของความกลัวจะกลายเป็นความกล้า  ยิ่งใช้ความรุนแรงก็ยิ่งเลวร้าย  ฝึกคนให้นุ่มนวลควรฝึกด้วยใจ  จะให้อาวุธยุทโธปกรณ์มาช่วยฝึกอย่างนั้นหรือ  คงไม่ไหวละกระมัง

     หลังจากที่พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จไปโปรดองคุลิมาลให้กลับใจไม่ทำปาณาติบาตเข่นฆ่าประชาชน  และประทานบรรพชาอุปสมบทให้บวชเป็นพระภิกษุภายในพระพุทธศาสนาแล้ว  ก็ทรงโปรดให้มาพำนักที่พระเชตวัน ณ กรุงสาวัตถี  พระเจ้าปเสนทิโกศลได้ทราบข่าวว่าองคุลิมาลโจรหยาบช้ามีฝ่ามือเปื้อนเลือดฆ่าคนตัดนิ้วมือมาร้อยเป็นพวงมาลัยสวมใส่  จึงเกณฑ์ทหารพร้อมขบวนม้าประมาณ ๕๐๐ ตัวไปปราบ  ก่อนเสด็จไปปราบก็เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าที่พระเชตวัน  ครั้นทรงถวายอภิวาทประทับนั่ง ณ ที่ควรแล้ว  ก็ทราบทูลให้พระองค์ทรงทราบว่าจะเสด็จไปปราบองคุลิมาล  พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสถามว่า

     “มหาบพิตร  ถ้าพระองค์พบองคุลิมาลปลงผมโกนหนวดบวชเป็นบรรพชิต  นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์เรียบร้อย  เว้นจากการฆ่าสัตว์  ลักทรัพย์  พูดปดมดเท็จ  ฉันอาหารมื้อเดียว  ประพฤติพรหมจรรย์  มีศีล มีกัลยาณธรรม  พระองค์จะทำกับเขาอย่างไร”

     “พระองค์ผู้เจริญ  หม่อมฉันก็จะกราบไหว้  ลุกรับ นิมนต์ให้นั่ง  นิมนต์ท่านด้วยจีวร  บิณฑบาต  เสนาสนะ  และคิลานเภสัชปัจจัยบริขาร หรือจัดการอารักขาคุ้มครองตามธรรม  แต่โจรองคุลิมาลทุศีลหยาบช้า จะสำรวมด้วยศีลถึงเพียงนี้ได้อย่างไร”  พระเจ้าปเสนทิโกศลทูลตอบ

     พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงยกพระหัตถ์เบื้องขวาขึ้น  ชี้ไปที่พระองคุลิมาลซึ่งนั่งอยู่ในที่ไม่ไกลพระองค์  ตรัสบอกพระเจ้าปเสนทิโกศลว่า

     “มหาบพิตร  นั่นคือองคุลิมาล”

     ทันใดนั้น  พระเจ้าปเสนทิโกศลก็ทรงสะดุ้งกลัวหวาดหวั่น  พระโลมชาติชูชัน (ขนพองสยองเกล้า) พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบว่าพระเจ้าปเสนทิโกศลทรงสะดุ้งกลัวหวาดหวั่น  พระโลมชาติชูชัน  จึงตรัสปลอบว่า

     “อย่าทรงกลัวเลย  มหาบพิตร  อย่าทรงกลัวเลย  มหาบพิตร  องคุลิมาลนี้ไม่มีภัยต่อพระองค์ดอก”
     พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงระงับความกลัวลงได้  เสด็จเข้าไปถามพระองคุลิมาลว่า
     “พระคุณเจ้าชื่อองคุลิมาล ใช่ไหม”
     “ใช่  มหาบพิตร”  พระองคุลิมาลถวายพระพร
     พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงหันกลับมากราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า
     “พระองค์ผู้เจริญ  น่าอัศจรรย์จริง  ไม่เคยปรากฏ  พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงฝึกบุคคลที่ใคร ๆ  ฝึกไม่ได้  ทรงทำบุคคลที่ใคร ๆ  ทำให้สงบไม่ได้ ให้สงบได้  ทรงทำบุคคลที่ใคร ๆ  ดับไม่ได้ ให้ดับได้  ทั้ง ๆ  ที่หม่อมฉันมีอาชญาศัสตราอาวุธอยู้ครบครัน  ก็ไม่สามารถฝึกผู้ใดได้  แต่พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่มีอาชญาศัสตราอาวุธเลย  กลับฝึกผู้นั้นได้.”

     การทำให้คนยอมรับนับถือจำเป็นด้วยหรือว่าจะต้องใช้ความรุนแรง  ในเวลาผ่านมาได้เกิดการประหัตประหารเข่นฆ่ากันทางศาสนา  เพียงเพราะคนคนนั้นปฏิเสธคำสอนมีความเห็นต่างออกไป  การบังคับขู่เข็ญให้เขายอมรับนับถือด้วยศัสตราอาวุธ  หากขัดขืนก็ต้องลงดาบประหารชีวิต  ด้วยความกลัวมรณภัยเขาจึงยอมศิโรราบ  ศาสนาที่มาพร้อมกับคมดาบ   ให้ฆ่าได้หากฝ่าฝืนหรือออกนอกรีต  จะสมควรเรียกชื่อว่า “ศาสนา” หรือไม่  ชัยชนะที่ได้มาด้วยการไล่ล่าฆ่าฟัน  ชื่อว่า “ชันชนะแห่งความโหดร้ายป่าเถื่อน”  ใช่หรือไม่  ศาสนาเป็นเรื่องของจิตใจ  เขายอมมอบกาย   แต่ไม่ยอมมอบใจ  งดงามหรือไรในความเป็นศาสนานั่น!
     “ไม่เคยมีสงครามในนามพระพุทธศาสนา”  ที่ชี้ชัดเช่นนี้  เพราะประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนาได้บันทึกไว้ว่า  องค์พระศาสดาทรงยาตราด้วยพระเมตตากรุณา  ตั้งอยู่ในอหิงสาธรรมอย่างสม่ำเสมอ  ทรงแสดงธรรมนำสันติสุขสู่มวลประชา  ให้ยอมรับนับถือด้วยความเต็มใจเลื่อมใสศรัทธา  ไม่เคยใช้ศัสตราอาวุธบังคับขู่เข็ญเลย  แม้เหล่าพุทธสาวกก็เจริญรอยตามอยู่ใต้ร่มเงาธรรม  สงบร่มเย็น  ความโหดร้ายป่าเถื่อน และสงครามในนามพระพุทธศาสนาจึงไม่มี

     มวลมนุษย์มีจุดมุ่งหมายอย่างไร  หากจุดมุ่งหมายคือสันติภาพ

จะเริ่มต้นที่ไหน  เริ่มต้นที่มนุษยธรรมหรือความรุนแรง  ถ้าเริ่มต้นที่ความรุนแรงจะจบลงที่ความร่มเย็นได้หรือไม่  คำว่า “สันติวิธี” มีไว้เพื่ออะไร  มีไว้เพื่อเจรจาสงบศึกหรือก่อความรุนแรง.


    “.... การทำให้คนยอมรับนับถือ  จำเป็นด้วยหรือที่ต้องใช้ความรุนแรงในเวลาผ่านมาได้เกิดการประหัตประหาร  เข่นฆ่ากันทางศาสนา  เพียงเพราะคนคนนั้นปฏิเสธคำสอนมีความเห็นต่างออกไป...”   

     
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กุมภาพันธ์ 08, 2013, 02:20:46 pm โดย ธรรมะ ปุจฉา »
บันทึกการเข้า
ยาดี มิได้ทำให้คนหายไข้   คนหายไข้ เพราะได้กินยาดี
ธรรมะ มิได้ทำให้คนดี       คนดีได้  เพราะปฏิบัติธรรม

ธรรมะ ปุจฉา

  • http://www.facebook.com/srikanet?ref=tn_tnmn
  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +2/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 713
  • ปัญญสโก ภิกขุ (พระที) ..... คณะ ๓/๓ วัดพลับ
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
วางตัวเป็นกลาง : จูฬสาโรปมสูตร
     คนโดยส่วนมาก  เมื่อฟังเรื่องใดเรื่องหนึ่ง  ยังไม่จบเรื่องราวและมิได้พิจารณาอย่างละเอียดถี่ถ้วน  ก็มักจะทึกทักคัดค้าน  หรือแสดงความคิดเห็นไปต่าง ๆ  นานาตามความรู้ความเข้าใจของตน  ไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง  ไม่บวกก็ลบ  ยากที่จะวางตัวเป็นกลาง  หรือรับฟังด้วยอาการสงบ (ไม่ตั้งอยู่ในอุเบกขาธรรม)  ทั้งนี้  เพราะธรรมชาติของปุถุชนมีความยินดียินร้าย  หรือชอบชังเกาะติดอยู่ในจิตสันดาน  หากไม่ขจัดความยินดียินร้ายหรือชอบชังออกไป  ย่อมเอนเอียงแน่นอน  แต่สำหรับผู้สิ้นกิเลสดังพระพุทธเจ้า  ย่อมไม่มีปัญหาในเรื่องนี้

     สมัยหนึ่ง  พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พราหมณณ์ชื่อปิงคลโกจฉะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับได้สนทนาปราศัยพอเป็นที่บันเทิงใจให้ระลึกถึงกันแล้วก็นั่ง ณ ที่ควร  กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า
     “ท่านพระโคดม  สมณพราหมณ์เหล่านี้  เป็นเจ้าหมู่  เจ้าคณะ  เป็นคณาจารย์  มีชื่อเสียง  มียศ  เป็นเจ้าลัทธิ  คนหมู่มากยอมรับว่าเป็นคนดี คือ ปูรณะ กัสสปะ  มักขลิ  โคศาล  อชิตะ  เกสกัมพล  ปกุธะ  กัจจายนะ  สัญชัย  เวลัฏฐบุตร  นิครนถ์  นาฏบุตร  สมณพราหมณ์เหล่านั้นทั้งหมดรู้ชัดตามปฏิญญาของตน  หรือทุกคนไมรู้ชัดเลย  หรือบางพวกรู้ชัด  บางพวกก็ไม่รู้ชัด”
     พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า
     “อย่าเลย  พราหมณ์  ข้อที่ว่าสมณพราหมณ์พวกนั้นทั้งหมดรู้ชัดตามปฏิญญาของตน  หรือทุกคนไม่รู้ชัดเลย หรือบางพวกรู้ชัด  บางพวกก็ไม่รู้ชัด  จงงดไว้เถิด  เราจักแสดงธรรมแก่ท่าน  ท่านจงตั้งใจฟังให้ดี  เราจัดกล่าว”.

     เมื่อมีการแสดงความคิดเห็นแตกต่าง  ควรวางท่าทีอย่างไรสำหรับผู้ที่ได้รับการศึกษาอบรมมาดีจะวางท่าทีด้วยความเป็นกลาง  รับฟัง  ไม่ขัดคอ  ไม่โต้แย้ง  หากคู่สนทนายังพูดไม่จบ  ต่อเมื่อคู่สนทนาพูดหรือแสดงความคิดเห็นจนจบ  จึงแสดงความคิดเห็นของตนหรือโต้แย้ง  พร้อมยกหลักการและเหตุผลมาเสนอ  ถ้าทั้งคู่สนทนาวางท่าทีในลักษณะเช่นนี้  แต่ละฝ่ายก็ได้รับฟังหลักการและเหตุผลที่แปลกใหม่ซึ่งอาจจะนำไปสู่ข้อตกลงร่วมกันอย่างสันติ
     มีภาษาอังกฤษคำหนึ่งใช้อยู่ในวงการศาสนา  คือคำว่า  Tolerance แปลว่าอดทน (ขันติธรรม) ใจกว้าง  หมายถึง  ศาสนิกชนในแต่ละศาสนาควรมีความอกทน  คือทนรับฟังคำสอนของคนต่างลัทธิต่างศาสนาได้  และใจกว้างยอมรับคำสอนที่แตกต่างกันได้  หากศาสนิกชนตั้งอยู่ในระดับนี้  ความรุนแรงทางศาสนาจักไม่เกิดขึ้น  ในเวลาที่ผ่านมาสงครามศาสนา ได้เกิดขึ้น  ก็เพราะศาสนิกชนทนฟังและใจกว้างยอมรับคำสอนที่แตกต่างกันไม่ได้

     สำหรับพระพุทธเจ้าไม่เพียงแต่จะดำรงอยู่ใน Tolerance  เท่านั้น  หากแต่ดำรงอยู่ในพระเมตตากรุณา  เมื่อมีผู้มาแสดงความคิดเห็นที่แตกต่างไปจากพระองค์ก็ทรงอยู่ในพระอาการดุษฎี  สงบนิ่งไม่ตรัสว่ากระไร  ไม่โต้แย้ง  และไม่วิพากษ์วิจารณ์  ครั้นเขาแสดงความคิดเห็นจบลงก็ให้พักไว้ก่อนและให้หันมาสดับธรรมในส่วนพระองค์ดังกล่าวนี้ได้กลายมาเป็นลักษณะเด่นของพระพุทธศาสนาคือ  อนูปวาโท  อนูปฆาโต  ไม่เข้าไปนินทาว่าร้ายจ้วงจาบใครอื่น  หากแต่มุ่งแสดงจุดยืนของตนเป็นประการสำคัญ.


     “ ..... เมื่อมีการแสดงความคิดเห็นแตกต่าง  ควรวางท่าทีอย่างไร  สำหรับผู้ที่ได้รับการศึกษาอบรมมาดี  จะวางท่าทีด้วยความเป็นกลาง  รับฟัง  ไม่ขัดคอไม่โต้แย้ง  หากคู่สนทนายังพูดไม่จบ ....”
บันทึกการเข้า
ยาดี มิได้ทำให้คนหายไข้   คนหายไข้ เพราะได้กินยาดี
ธรรมะ มิได้ทำให้คนดี       คนดีได้  เพราะปฏิบัติธรรม

นิรตา ป้อมนาวิน

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +20/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 1212
  • อย่างน้อยชาตินี้ขอปิดอบายภูมิ
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: พระไตรปิฏกร่วมสมัย พระมหาอุเทน ปัญญาปริทัตต์
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: กันยายน 29, 2013, 02:09:05 pm »
 st11 st12
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ปัญญสโก ภิกขุ

  • ศิษย์ตรง
  • มีเหตุมีผล
  • *****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 403
  • อริยสโก
    • ดูรายละเอียด
ขอพร
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: ตุลาคม 05, 2013, 03:36:37 pm »
 ขอพร
     การเซ่นสรวงบูชาวิงวอนขอ  มีมาตั้งแต่ปฐมบรรพ์  และสืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน  ขอให้ประสบโชคลาภ  ขอให้แคล้วคลาดปราศจากภยันอันตราย  และอีกหลายอย่างที่พร่ำขอกัน  ขอแต่ไม่ยอมกระทำจะสำเร็จได้อย่างไร  แม้ได้ตามที่ขอก็เพราะบุญเก่ามาประจวบเหมาะให้ผลมากกว่า (อดีตเหตุไม่มีทฤษฏีบังเอิญ)  ถ้าขอแล้วได้ผลกันจริง ๆ  ก็คงไม่มีใครผิดหวัง  เราคงขอไม่ให้แก่  ไม่ให้เจ็บ  ไม่ให้ตายได้  ในครั้งพุทธกาลเขาขอเพื่อให้  มิใช่ขอเพื่อได้



  พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงมรพระวรกายหมักหมมด้วยของเป็นโทษประสงค์จะฉันยาถ่าย  รับสั่งให้พระอานนท์ทราบ  พระอานนท์รับทราบ  นำความไปบอกแก่หมอชีวก  หมอชีวกจึงเข้าไปทูลถวายพระโอสถ  เพื่อให้พระผู้มรพระภาคเจ้าถ่าย ๓๐ ครั้ง  หลังจากที่พระองค์เสวยพระโอสถและทรงถ่าย ๓๐ ครั้งแล้ว  พระวรกายก็กลับเป็นปรกติดังเดิม  หมอชีวกถือผ้าสิไวยกะคู่หนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า  ถวายอภิวาทกราบทูลว่า
               "ข้าพระองค์ทูลขอพรอย่างหน่ึงจากพระผู้มีพระภาคเจ้า  พระพุทธเจ้าข้า"
               "ตถาคตทั้งหลายเลิกให้พรแล้ว  ชีวก"
               "ข้าพระองคฺทูลขอพรที่เหมาะสม  และไม่มีโทษ  พระพุทธเจ้าข้า"
               "ถ้าเช่นนั้น  ก็พูดมาเถิด"
               "พระผู้มีพระภาคเจ้าและพระภิกษุสงฆ์ทรงถือผ้าบังสุกุลอยู่เป็นวัตร  ผ้าสิไวยกะคู่นี้เป็นผ้าเนื้อดีชั้นเลิศ  เยี่ยมกว่าผ้าอีกหลายแสนคู่  ขอพระองค์โปรดรับผ้าสิไวยกะคู่หนึ่งนี้เถิด  และโปรดอนุญาตคหบดีจีวร (จีวรที่ชาวบ้านจัดถวาย) แก่พระภิกษุสงฆ์ให้นุ่มห่มได้"


      ปัจจุบันญาติโยมที่มาทำบุญถวายทานภัตกิจเสร็จลง  พระสงฆ์ก็ให้พรเป็นภาษาบาลี  และบางถิ่นที่พระสงฆ์ออกเดินรับบิณฑบาตก็ให้พรย่อเป็นภาษาบาลีเช่นกัน  ซึ่งการให้พรนั้น  ก็ขอให้ประสบความสุขความเจริญ  ว่าตามความจริง  ความสุขความเจริญ  หรืออายุ วรรณะ สุขะ พละ นั้น  ให้กันไม่ได้  ต้องเกิดจากการปฏิบัติอย่างถูกวิธี  เช่น  ถ้าต้องการให้มีสุขภาพพลานามัยแข็งแรง  ก็ต้องรับประทานอาหารให้ครบหมวดหมู่  และหมั่นออกกำลังกาย  พระสงฆ์ให้พรจึงเป็นเพียงการให้กำลังใจ  หรือทำให้ญาติโยมมีความรื่นเริงบันเทิงใจในทานการกุศล  แต่ถ้ากล่าวตามนัยพระไตรปิฏกแล้ว  การขอพรและให้พรนั้นต้องเนื่องด้วยสิ่งที่เป็นประโยชน์  พรเป็นกิจกรรมที่ทุกคนยอมรับ  และเป็นข้อปฏิบัติที่ควรปฏิบัติร่วมกัน  ทั้งนี้  เพื่อให้เกิดประโยชน์แก่ตนและคนอื่น  สรุปได้ว่า  พรนั้นต้องเอื้อประโยชน์  และจะเกิดประโยชน์ได้จริงก็ต่อเมื่อกระทำเท่านั้น

ติดตาม บล็อก ได้ที่ : http://2351teen.blogspot.com/2013/10/blog-post.html
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ตุลาคม 05, 2013, 03:39:14 pm โดย sgo »
บันทึกการเข้า

PRAMOTE(aaaa)

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 3598
  • ความศรัทธาคือเชื่อเรื่องการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
    • ดูรายละเอียด
Re: พระไตรปิฏกร่วมสมัย พระมหาอุเทน ปัญญาปริทัตต์
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: ธันวาคม 27, 2014, 06:28:59 pm »
ธรรมตาม  พระไตรปิฏก
บันทึกการเข้า
การมีกัลยาณมิตร ครูบาอาจารย์ ที่สั่งสอนธรรม เป็นเรื่องที่ดี
..เชื่อเรื่องการตรัสรู้ธรรม ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
...และเชื่อในพระธรรมที่เป็นตัวแทนของพระศาสดา