ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ทำบุญกับพระอย่างไร..ให้ได้บุญ  (อ่าน 2219 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
ทำบุญกับพระอย่างไร..ให้ได้บุญ
« เมื่อ: มีนาคม 13, 2013, 09:56:58 am »
0


ทำบุญกับพระอย่างไร..ให้ได้บุญ
ทำบุญกับพระอย่างไรให้ได้บุญ คู่มือดูพระแท้ที่ต้องมีไว้ประจำบ้านของ'มหาฉุย' : เรื่องและภาพ ไตรเทพ ไกรงู

    "คู่มือการทำบุญ" เป็นหนังสือแนวธรรมะที่ขึ้นชื่อว่าขายดี มีทั้งพระทั้งฆราวาสเขียนออกมาขายจำนวนมาก ด้วยวัตถุประสงค์ที่ไปในทิศทางเดียวกันคือ "ฉลาดทำบุญ หรือทำบุญอย่างฉลาด รวมทั้งทำบุญด้วยปัญญา" เพราะบุญคือ สิ่งที่เกิดขึ้นในจิตใจแล้วทำให้จิตใจใสสะอาด ปราศจากความเศร้าหมองขุ่นมัว ก้าวขึ้นสู่ภูมิที่ดี เกิดขึ้นจากการที่ใจสงบ ทำให้เลือกคิดเฉพาะสิ่งที่ดี ที่ถูก ที่ควร ที่เป็นประโยชน์ แล้วพูดดี ทำดี ตามที่คิดนั้น

     ในจำนวนหนังสือที่เขียนเกี่ยวข้องกับการทำบุญนับร้อยๆ เล่ม แต่มีหนังสือเล่มหนึ่งที่นำเสนอแนวการทำบุญที่แตกต่างอย่างสิ้นเชิง รวมทั้งได้สะท้อนภาพของพระสงฆ์ในยุคปัจจุบันได้อย่างตรงไปตรงมา คือ “ทำบุญกับพระอย่างไรให้ได้บุญ” เป็นหนังสือที่สอนเรื่องทำบุญ เขียนโดย “มหาฉุย” ของสำนักพิมพ์ร่มธรรม ซึ่งวางจำหน่ายอยู่ในร้านเซเว่น อีเลฟเว่น และร้านขายหนังสือชั้นนำทั่วไป

    “มหาฉุย” ได้สะท้อนชีวิตพระไว้ว่า ปัจจุบันวิถีชีวิตพระแทบจะถูกวิถีชาวโลกกลืนกลบจนนึกว่าชีวิตพระก็เหมือนชีวิตเรา บางวัดถูกปล่อยปละละเลย จนบางวัดพระก็จะไม่เป็นพระ วัดก็จะไม่เป็นวัดอยู่แล้ว อย่างที่โบราณเรียกว่า แค่โกนหัวเอาผ้าเหลืองมาห่อตัว ใช้ชีวิตไม่แตกต่างจากฆราวาส ทั้งนี้ มหาฉุยได้จำแนกประเภทของพระไว้อย่างตรงไปตรงมาว่า

      พระอาชีพ เรื่องของกิจนิมนต์นั้น บางวัดก็ตั้งกฎเป็นบทลงโทษ คือ
      ถ้าพระสงฆ์องค์ใดเป็นผู้ดื้อด้านไม่เชื่อฟัง สอนยาก พูดยาก เกียจคร้าน
      เจ้าอาวาสก็จะใช้เรื่องกิจนิมนต์เป็นบทลงโทษ คือ ตัดกิจนิมนต์ หมายถึงไม่ให้มีรายได้

      ที่เลวร้ายยิ่งกว่านั้นคือ พระที่ถูกแต่งตั้งให้เป็นอุปัชฌาย์ มีการเรียกค่าตัวในการบวชพระ
      ถ้าถวายน้อยปัจจัยน้อยจะไม่ไปบวชพระให้ ทั้งๆ ที่เป็นหน้าที่โดยตรงของท่าน


     
     พระสร้างภาพ พระสงฆ์บางรูปข้างนอกดูสดใส สง่างาม เพียบพร้อมไปด้วยคุณวุฒิ และวัยวุฒิ
      แต่เบื้องหลังมีแต่กิเลสครอบงำแอบแฝง ทุกวันนี้มีการพัฒนาเพิ่มออปชั่นบุญ
      บางรูปสร้างภาพให้เห็นว่าน่าเลื่อมใส มีผ้าคลุมไหล่เป็นแฟชั่น ใส่จีวรเข้มคล้ายพระธุดงค์ ใส่ประคำเส้นโต
      ทำตัวเป็นเกจิริมถนน สวดมนต์ให้พรยาวเหยียด


      การสร้างภาพของพระในปัจจุบัน ก็จะออกไปในทางการศึกษา เผยแผ่ธรรมะ ที่ทำจริงก็มีมาก ส่วนของไม่จริงก็มีอยู่ไม่ใช่น้อย โดยจะอาศัยสื่อโทรทัศน์ สื่อสิ่งพิมพ์ เพื่อประชาสัมพันธ์คุณวิเศษของตน ให้มีชื่อเสียงโด่งดัง ซึ่งมีพระอยู่รูปหนึ่งติดสื่อหลงสื่อชนิดที่เรียกว่า
      “ท้ายใบฎีกานิมนต์ ต้องระบุด้วยว่า มีสื่อใดไปทำข่าวบ้าง”
       ถ้าไม่มีก็จะปฏิเสธ หรือเรียกค่านิมนต์ที่แพงขึ้น
 

      พระอยากเป็นฆราวาส พระสงฆ์บางองค์เลียนแบบฆราวาส  แทนที่จะให้ชาวบ้านเกาะผ้าเหลืองขึ้นสวรรค์ แต่กลับไปเกาะขากางเกงฆราวาสดัง โดยเฉพาะการตายของสตีฟ จ็อบส์ อดีตประธานกรรมการบริหารและอดีตประธานบริษัทแอปเปิล บางรูปเลียนแบบภาษามือมาสร้างเอกลักษณ์ให้ตนเอง ใช้เป็นกลยุทธ์ทางการตลาดประชาสัมพันธ์ตัวเอง
      บางครั้งพระท่านเองมัวสอนญาติโยม เลยลืมสอนตัวเอง เรียกว่าสอนคนอื่นเสียเพลิน
      ออกเดินสายสอนญาติโยมทั่วประเทศ จนลืมกลับวัด กลายเป็น “พระหลงโลก พระหลงวัด”


     พระเซียนพระ เป็นพระที่สะสมพระเครื่องเพื่อแสดงบารมี ชาวบ้านทั่วๆ ไป มีพระเครื่องราคาแค่หลักพัน แต่ผู้มีบารมีจะต้องมีพระเครื่องหายากๆ ราคาหลักแสนหลักล้าน เพื่อเกทับบารมีกัน พระสงฆ์เองหลายรูปหลายวัดก็หนีเรื่องบ่วงนี้ไม่พ้น ต้องสะสมแข่งกับพระไม่พอต้องไปแข่งกับชาวบ้าน ที่เขาพูดว่า
    “มัวแต่ส่องกล้องขยาย ดูของเก่า ดูพระเครื่อง แท้หรือไม่แท้ จนลืมกิจของพระพุทธศาสนา”
      แท้ที่จริงแล้วท่านควรหากระจกสักบานมาส่องดูตัวเองบ้างว่า
      “เป็นพระแท้ พระเก๊ หรือเป็นเพียงโล้นห่มเหลือง”



      พระสายตลาด จึงเรียกว่า พระสายบ้าน อาหารดีแต่ไม่มีสตางค์ พระสมถะมักเลือกเส้นทางนี้ ส่วนพระสายตลาดเส้นทางพาณิชย์ ก็จะเลือกรับบาตรจากชาวพุทธที่มีเวลาน้อยนิด ไม่มีเวลาเตรียมอาหาร อาศัยสะดวกซื้อจากร้านขายข้าวแกงริมถนน แม้ว่าอาหารจะไม่ถูกปาก
      แต่แรงจูงใจที่ทำให้พระต้องไปตลาด เลือกเส้นทางบิณฑบาตสายตลาดเส้นทางพาณิชย์ ถึงอาหารไม่ดี
      แต่มี “ใส่สตางค์” เมื่อเป็นเช่นนี้จึงมี “พระตลาดเจ้าถิ่น” มักหวงที่ทำเลทองกันมาก


      พระใบฎีกา เป็นตำแหน่งฐานานุกรมระดับท่านเจ้าคุณ พระราชาคณะชั้นสามัญ แต่พระใบฎีกาที่กำลังจะพูดถึงนี้ ไม่ใช่ตำแหน่งฐานานุกรมของพระราชาคณะแต่อย่างใด แต่เป็นการที่ชาวบ้านเรียกกระทบกระเทียบเหน็บแนมอะไรทำนองนั้น เช่น
      “ท่านพระครูปีละวัด”  เรียกพระสงฆ์ที่ชอบย้ายวัดย้ายสังกัดไปเรื่อยๆ
     ส่วนพระใบฎีกา ได้แก่ พระสงฆ์ที่ชอบจัดงานเรี่ยไรชาวบ้าน บ่อยครั้งออกฎีกาการ์ดเชิญชวนญาติโยมมาทำบุญ ออกโปรเจกท์ ไอเดียหลากหลาย


     พระกินเณร (ภาคฤดูร้อน) เรื่องนี่ไม่ใช่ปาฏิหาริย์แต่อย่างใด มีอยู่ทุกวัด ยิ่งช่วงภาคฤดูร้อนพระกินเณรมากเป็นพิเศษ แต่นานๆ ครั้งเราจะเห็นเณรกินพระสักครั้ง เณรป๊อก ๘ พระป๊อก ๙ สองเด้งด้วย พระกินเณรเรียบ เขาตั้งวงเล่นไพ่กัน ผิดศีล ผิดพระวินัย ผิดกฎหมาย เมื่อพระเป็นครูบาอาจารย์ติดนิสัยคนมาแบบนี้ การพนันถึงได้เกลื่อนไปหมด คิดดูนะนักการพนันใจพระ ยังไงก็ยังเลวน้อยกว่าพระในคราบนักการพนัน ซึ่งบ้านก็ไม่ต้องเช่า แถมข้าวไม่ต้องซื้อ

      อย่างไรก็ตาม “มหาฉุย” ได้สรุปไว้ว่า “หลายวาระที่มีธุระเกี่ยวข้องกับพระ ซึ่งพระถูกยกให้เป็นสะพานบุญ เหมือนบุรุษไปรษณีย์เชื่อมต่อกับโลกหน้า พวกเราอาจจะมองข้ามไป ทั้งที่เราทุกคนก็มีความศรัทธาในพระพุทธศาสนาเปี่ยมล้นหัวใจอยู่แล้ว แต่เราในฐานะพุทธศาสนิกชนที่ดี เราควรรู้จักอีกมุมหนึ่งของชีวิตพระสงฆ์ไว้บ้างก็ดี”



พระโปรดสัตว์-โยมโปรดเปรต
    “โยมก็งี่เง่า! พระเวียนแล้วก็ยังทำเป็นเวียนหัว ไม่เห็นอีก ไม่ไหว! อาตมานี่สั่งลูกวัดเลยว่า ถ้าไปยืนร้านเป็นประจำละก็จะไล่ออกจากวัดเลย มันไม่บริสุทธิ์ บิณฑบาตแล้วก็เวียนอยู่อย่างนั้น”


     ที่กล่าวมาข้างต้นเป็นส่วนหนึ่งของคำนิยมที่...หรือ พระพยอม กัลยาโณ
     พระนักเทศน์ชื่อดังแห่งวัดสวนแก้ว จ.นนทบุรี
     ทั้งนี้ พระพะยอม ได้พูดถึงการบิณฑบาตของพระอย่างดุเดือดว่า เดี๋ยวนี้นะพระบิณฑบาตบนเก้าอี้ มีแม่ค้าเอาเก้าอี้มาให้พระนั่ง เข้าใจพระ เพราะเขาจะขายของใส่บาตร เขาเอาที่กรวดน้ำ เอาเสื่อ เอาพรมมาปู เอาเก้าอี้ให้พระนั่ง บิณฑบาตบ้าอะไรก้นติดอยู่กับเก้าอี้อย่างนั้นแหละ อาตมาสั่งเลยถ้ารู้ว่าพระวัดนี้ไปนั่งเก้าอี้กับเขาล่ะก็ กลับมาวัดก้นร้อนแน่

     บางทีอาตมานึกสงสารนะ เราเดินผ่านไปตรงที่พระนั่ง โยมก็กรูกันมาใส่เรา ทั้งที่เราเดินเลยไปไกลหน่อย เขาก็ยังวิ่งผ่านองค์ที่นั่งมาใส่เราอีก แล้วคนเขาก็คงนึกอยู่บ้างนะว่า เอ๊ะ ทำไมไม่เดินบิณฑบาต ทำไมนั่งอยู่อย่างนี้

     นี่แหละการทำหน้าที่ไม่บริสุทธิ์อย่างนี้ มันมีทุกสถาบัน ทุกองค์กร เชื่อเถอะทุกสถาบันจะมีพวกไม่บริสุทธิ์ในหน้าที่ หรือทำหน้าที่ไม่บริสุทธิ์

     พระพะยอมยังบอกด้วยว่า พระกับเปรตต้องแยกกันให้ออก ก่อนที่พระจะออกบิณฑบาตก็จะบอกให้พระไปโปรดสัตว์ แต่ความจริงกลับกายเป็นว่า ความโปรดเปรต บ้านไหน ซอยใด ใส่บาตรด้วยอาหารดีๆ เยอะๆ ถวายปัจจัยมากๆ พระก็จะมุ่งไปบ้านนั้น ซอยนั้น บิณฑบาตจนตายคาซอย พอซอยอื่นไม่ใส่ไม่ไป เป็นพระต้องโปรดให้ทั่ว
     อาตมาตั้งหลักไว้ว่า ต้องไปซอยที่ไม่มีพระไปบิณฑบาตเลยสักรูป
     ทำให้ซอยที่เขาไม่เคยได้เห็นพระได้ใส่บาตรพระ ได้ทำบุญบ้าง
     ไม่ใช่ไปยืนออกันอยู่ตรงตลาดที่แม่ค้าขายอยู่ตรงนั้น เทวนไป เวียนมา อยู่ตรงนั้นแหละ


ขอบคุณภาพข่าวจาก
www.komchadluek.net/detail/20130312/153706/ทำบุญกับพระอย่างไรให้ได้บุญ.html#.UT_lqjd6W85
http://www.bloggang.com/
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

sinjai

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 144
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: ทำบุญกับพระอย่างไร..ให้ได้บุญ
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: มีนาคม 13, 2013, 10:08:52 am »
0
 :49:

 st12 st12 st12

  หลายท่านอาจจะโดนใจ แต่ ปัญหาเรื่องพระเข้าไปแตะต้องแล้ว เกรงว่าจะมีบาป เพราะเราไม่สามารถ รู้ได้ว่าพระรูปใดดี หรือไม่ดี จำแนกไม่ได้ ก็เพียงรู้ไว้ แต่ ก็ชี้ชัีดยังไม่ได้

   บ้าน  กับ วัด ขัดกันก็บัลลัย
 
   :welcome:
บันทึกการเข้า