ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: วิกฤติจากการมี Single Gateway  (อ่าน 1642 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28413
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
วิกฤติจากการมี Single Gateway
« เมื่อ: ตุลาคม 04, 2015, 09:41:42 am »
0


วิกฤติจากการมี Single Gateway

“Single Internet Gateway” หมายถึงการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตทั้งในและต่างประเทศ ด้วยท่อรับ-ส่งอินเทอร์เน็ตที่ใช้ในการเชื่อมต่อเพียงท่อเดีย

หากคำว่า “Single Gateway” หรือ “Single Internet Gateway” หมายถึงการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตทั้งในและต่างประเทศ ด้วยท่อรับ-ส่งอินเทอร์เน็ตที่ใช้ในการเชื่อมต่อเพียงท่อเดียว ก็ขอบอกว่า...ประเทศไทยเราผ่านจุดนั้นมาแล้ว!

 :96: :96: :96: :96:

ย้อนกลับไปเมื่อวันที่ 26 ธ.ค. 2549 (ตามเวลาไต้หวัน) เกิดเหตุแผ่นดินไหวขนาด 7.2 ริคเตอร์ ซึ่งมีศูนย์กลางอยู่บริเวณเกาะ ไต้หวัน ส่งผลให้โครงข่ายเคเบิลใยแก้วใต้น้ำได้รับผลกระทบ ซึ่งโทรศัพท์ระหว่างประเทศและการใช้งานอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงในประเทศกระทบไปด้วย

วันนั้นนายสิทธิชัย โภไคยอุดม เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) และการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตออกต่างประเทศยังถูกผูกขาดด้วยการเชื่อมต่อผ่านเกตเวย์ของบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) และบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) บริษัทภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงไอซีที

ความเสียหายที่เกิดขึ้นหลังเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่เกาะไต้หวัน ส่งผลกระทบต่อ โครงข่ายเคเบิลใยแก้วใต้น้ำ และส่งผลกระทบต่อการให้บริการโทรศัพท์ระหว่างประเทศ 007 และ 008 ของทีโอที ราว 10-15% ส่วนการให้บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงเสียหาย 30% แต่ลูกค้ายังใช้งานได้ปกติเพราะทีโอทีมีโครงข่ายสำรอง ซึ่งแน่นอนว่าความเร็วของอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงอาจมีปัญหาบ้าง


 :29: :29: :29: :29:

ด้านความเสียหายที่เกิดขึ้นกับ กสท คือ สายเคเบิลใต้น้ำในมหาสมุทรแปซิฟิก 4 เส้น ที่เชื่อมต่อจากไทยไปยังฮ่องกง ไต้หวัน ญี่ปุ่น และสหรัฐอเมริกา เสียหายจากแผ่นดินไหวที่เกาะไต้หวัน ทางแก้ไขของ กสท เวลานั้น คือ การเพิ่มช่องสัญญาณอินเทอร์เน็ตในเคเบิลใต้น้ำที่เชื่อมต่อไปยุโรปผ่านมหาสมุทรอินเดียจำนวน 600 เมกะบิต เมื่อวันที่ 28 ธ.ค. 2549 ทำให้การรับ-ส่งข้อมูลทางอินเทอร์เน็ตดีขึ้น แต่การซ่อมแซมเคเบิลใต้น้ำที่เสียหายให้สมบูรณ์ใช้เวลา 2 สัปดาห์

เหตุการณ์แผ่นดินไหวที่เกาะไต้หวันสะเทือนถึงอินเทอร์เน็ตไทย ทำให้บริษัท ทรู อินเทอร์เน็ต เกตเวย์ จำกัด ซึ่งได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการอินเทอร์เน็ตแบบที่ 2 ประเภทมีโครงข่ายและไม่มีโครงข่ายเป็นของตัวเอง ซึ่งมีเงื่อนไขว่าจะต้องต่อเช่าใช้วงจรเชื่อมต่อต่างประเทศ (เกตเวย์) จากทีโอทีและกสท แต่ขณะนั้นระบบเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตวงจรต่างประเทศ ไม่สามารถใช้งานได้ ทรู จึงยื่นหนังสือถึงคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) เพื่อขออนุญาตเชื่อมต่อวงจรต่างประเทศโดยตรงไม่ต้องผ่านทีโอทีและกสท เป็นกรณีเร่งด่วน เพื่ออำนวยความสะดวกให้ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทยและลูกค้าอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงของทรูจำนวน 3 แสนราย ซึ่งกทช.อนุญาตให้ทรูเชื่อมต่อเกตเวย์ตรงไปต่างประเทศได้ตามคำขอ


 :32: :32: :32: :32:

จากข้อมูลของผู้จัดการรายสัปดาห์ เมื่อวันที่ 23 มี.ค. 2550 ระบุว่า นายนพปฎล เดชอุดม ตำแหน่งกรรมการผู้จัดการ บริษัท ทรู อินเทอร์เน็ต เกตเวย์ จำกัด ในเวลานั้นให้สัมภาษณ์ว่า ทรู ได้ขออนุญาตจาก กทช. เพื่อให้บริการเชื่อมต่อวงจรอินเทอร์เน็ตไปต่างประเทศโดยไม่ผ่านทีโอทีและกสท ซึ่ง กทช.อนุญาตให้ดำเนินงานแต่มีเงื่อนไขให้ทดลองดำเนินงานก่อนเป็นระยะเวลา 3 เดือน หากเกิดผลประโยชน์จริง กทช. จะพิจารณาให้ ทรู ให้บริการต่อไปได้

ซึ่งการอนุญาตให้ ทรู เชื่อมต่อวงจรอินเทอร์เน็ตกับต่างประเทศได้โดยตรงนั้น ถือ เป็นปรากฏการณ์ใหม่ของตลาดบรอดแบนด์(อินเทอร์เน็ตความเร็วสูง) ไทยในเวลานั้น เนื่องจากเป็นการรับมือกับเหตุการณ์ที่ไม่อาจคาดคิดเช่นเดียวกับการเกิดแผ่นดินไหวที่เกาะไต้หวันแล้วส่งผลกระทบถึงอินเทอร์เน็ตประเทศไทย รวมทั้งการเตรียมระบบให้บริการอินเทอร์เน็ตสำรอง

 :s_hi: :s_hi: :s_hi: :s_hi:

วันที่ 1 เม.ย. 2553 บริษัท ทรู อินเทอร์เน็ต เกตเวย์ จำกัด ในเครือ ทรู คอร์ปอเรชั่น ได้ประกาศเปลี่ยนชื่อเป็น ทรู อินเตอร์เนชั่นแนล เกตเวย์ สะท้อนภาพผู้ให้บริการเกตเวย์อินเทอร์เน็ตและดาต้าครบวงจรทั้งในและต่างประเทศให้ชัดเจนมากขึ้น

เมื่ออ่านถึงตรงนี้คงพอเข้าใจแล้วว่าเมื่อเกือบสิบปีที่แล้วประเทศไทยผ่านการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตแบบ Single Gateway มาแล้ว กระทั่งเผชิญกับปัญหาแผ่นดินไหวสะเทือนถึงการเข้าใช้งานอินเทอร์เน็ตจนทำให้เกิดการพัฒนาสู่การเชื่อมต่อเกตเวย์มากกว่า 1 ท่อ เพื่อมีทางหนีทีไล่


 :49: :49: :49: :49:

นายอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือ ไอซีที ยืนยันว่า แนวนโยบายยัน ซิงเกิลเกตเวย์มีขึ้นเพื่อช่วยเหลือด้านเศรษฐกิจประเทศ ไม่ใช่เน้นในการใช้งานด้านความมั่นคงอย่างที่หลายฝ่ายเข้าใจ โดยจะช่วยลดต้นทุนของผู้ประกอบการอินเทอร์เน็ตที่มีโครงข่ายเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตระหว่างประเทศ (เกตเวย์) ของตนเอง สามารถใช้งานในโครงข่ายเดียวกันเพื่อการให้บริการร่วมกัน ซึ่งกระทรวงไอซีทีจะไม่บังคับผู้ประกอบการให้เข้ามาร่วมแต่จะขอให้เป็นไปตามความสมัครใจ

นายอุตตม อธิบายว่า ขณะนี้ โครงการซิงเกิลเกตเวย์ อยู่ในขั้นตอนศึกษาและพิจารณา ยังไม่สามารถระบุได้ว่าจะเสร็จสิ้นเมื่อไหร่ ต้องดำเนินการอย่างรอบคอบและไม่ควรที่จะเร่งรัด ต้องเชิญทั้งภาคธุรกิจและภาคประชาชนเข้ามาหารือร่วมกันเพื่อทำความเข้าใจในเรื่องดังกล่าวให้ตรงกันด้วย


 :25: :25: :25: :25:

“ไม่อยากให้ประชาชนสับสนในสิ่งที่รัฐบาลจะทำ ยืนยันว่าแนวทางดังกล่าวจะไม่ได้นำมาใช้เพื่อควบคุมข่าวสารอย่างที่เข้าใจกัน เพราะรัฐบาลยังเคารพสิทธิส่วนบุคคลของประชาชนในการใช้งานอินเทอร์เน็ต และการทำซิงเกิลเกตเวย์ ก็ไม่ได้ยึดโมเดลต้นแบบของประเทศในระบบคอมมิวนิสต์ที่ใช้กัน แต่จะยึดประโยชน์ของประชาชนผู้ใช้งาน” นายอุตตม กล่าว

หากวันนี้จะย้อนกลับไปสู่การใช้งานแบบ Single Gateway อีกครั้ง ในวันที่รัฐบาลประกาศนโยบายสู่การเป็นดิจิตอล อีโคโนมี ที่ทุกหน่วยงานมุ่งสู่การใช้งานเทคโนโลยีดิจิตอลเพื่อการสื่อสารและเศรษฐกิจ ปัญหาเมื่อเกิดอินเทอร์เน็ตล่มคงมีมากกว่าเมื่อเกือบ 10 ปีที่แล้วอย่างแน่นอน.


น้ำเพชร จันทา
@phetchan



 :sign0144: :sign0144: :sign0144: :sign0144:


รู้จัก National Single Internet Gateway

National Single Internet Gateway เป็นโครงการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตระหว่างประเทศผ่านโครงข่ายช่องทางเดียวของรัฐบาลไทยที่เพิ่งเห็นชอบโดยคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2558 เป็นการเข้ามาควบคุมช่องทางการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตระหว่างประเทศจากเดิมที่มีหลายช่องทางให้เหลือเพียงช่องทางเดียว เพื่อควบคุมเว็บไซต์ที่ไม่เหมาะสมและการไหลเข้าของข้อมูลข่าวสารจาก ต่างประเทศผ่านทางอินเทอร์เน็ต เช่นเดียวกับประเทศจีนและเกาหลีเหนือที่รัฐบาลสามารถควบคุมช่องทางการติดต่อสื่อสารระหว่างประเทศได้


ขอบคุณภาพและบทความจาก : http://www.dailynews.co.th/it/351594
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

sinjai

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 144
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: วิกฤติจากการมี Single Gateway
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: ตุลาคม 04, 2015, 01:04:09 pm »
0
เท่าที่ทราบมาก็คือ ผลสรุปการใช้ อินเตอร์เน็ต ของประเทศไทย แต่ละจ้าว นั้นระบุว่า คนไทยเราใช้ อินเตอร์เน็ต อยู่แต่ในเขตประเทศไทย 85 เปอร์เซ้นต์ ไปต่่างประเทศ 15 เปอร์เซ้นต์ ค่ะ ในประเทศความเร็วแรง เอาอยู่ ๆ แล้ว แต่ ต่างประเทศ 15 เปอร์เซ้นต์นั้น ใช้ Gateway มากไป ดังนั้น เขาจึงสรุปว่า Gateway ทางเดียว ก็เพียงพอ ต่อ 15 เปอร์เซ็นต์ คะ เพราะตอนนี้ต่างชาติ ที่บริการ ด้านเว็บเพจ ออนไลน์ พอรู้ข่าวเรื่อง Gateway ในไทยต่างก็เข้ามาลงทุน ในประเทศไทย คือ เปิด Server ในประเทศไทยเลย และใช้ 15 เปอร์เซ้นต์เชื่อมต่อ ออกไป บางเจ้า ก็ใช้ internet ผ่านดาวเทียมเลย เป็นการลงทุน ขั้นสูง

   :49: :58:
บันทึกการเข้า