ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ชม 2 วัดสำคัญ ของพระนครศรีอยุธยา ในมุมที่คนส่วนใหญ่ไปไม่ถึง  (อ่าน 1075 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28409
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0



ชม 2 วัดสำคัญ ของพระนครศรีอยุธยา ในมุมที่คนส่วนใหญ่ไปไม่ถึง

กระแสละครย้อนยุคปลุกผู้คนให้มาเยือนจังหวัดพระนครศรีอยุธยากันคับคั่ง เห็นออเจ้าเดินอยู่ทั่วพระนคร (ศรีอยุธยา) แต่ใน วัดสำคัญ ของพระนครศรีอยุธยาหลายแห่ง แม้มีผู้คนไปผ่านมา แต่มีบางแห่งที่คนทั่วไปไม่ได้ให้ความสนใจมากนัก ซีเคร็ต จึงอยากแนะนำให้ทุกท่านได้รู้จัก

@@@@@@

อุโบสถ วิหารเขียน วัดพนัญเชิงวรวิหาร

วัดพนัญเชิงวรวิหาร วัดเก่าแก่ของพระนครศรีอยุธยา สร้างก่อนการสถาปนากรุงศรีอยุธยาที่ทั้งชาวไทยและชาวจีนต่างเคารพนับถือมาช้านาน คนส่วนใหญ่มักเดินมุ่งตรงไปยัง วิหารหลวง เพื่อกราบนมัสการ พระพุทธไตรรัตนนายก พระพุทธรูปศิลปะอู่ทองตอนปลาย ชาวบ้านเรียกหลวงพ่อโต (ชาวจีนนิยมเรียกว่าซำปอกง) แต่เดิมมีพิธีห่มผ้าหลวงพ่อโต ปัจจุบันยกเลิกไปตามกฎการจัดระเบียบวัด แต่ผู้คนยังเนืองแน่นเช่นเดิม


พระพุทธไตรรัตนนายก


พระพุทธรูปทองและพระพุทธรูปนาค แต่เดิมหุ้มปูนลงรักปิดทองไว้ตั้งแต่กรุงศรีอยุธยาเสียแก่พม่าครั้งสุดท้ายเมื่อปี พ.ศ. 2310 ต่อมา พ.ศ. 2499 ทางวัดทำความสะอาดจึงพบรอยปูนที่หลุดล่อน และเห็นว่าภายในเป็นทองและนาค จึงได้กะเทาะปูนออกปรากฏเป็นพระพุทธรูปดังทุกวันนี้


วิหารเขียนแตกต่างจากวิหารเก่าแก่หลายแห่ง คือ ภาพเขียนลวดลายกระถางต้นไม้ต่าง ๆ รวมถึงเครื่องใช้ เครื่องบูชา เป็นไปตามคตินิยมของชาวจีนที่เข้ามาตั้งถิ่นฐานสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย


ด้านหน้าประตูวิหารหลวงทั้งสองฝั่งมีสถาปัตยกรรมเก่าแก่ที่น่าสนใจ แต่คนทั่วไปอาจไม่รู้จัก เนื่องจากผู้คนมักเดินเลยประตูทางเข้าไปแล้วออกทางประตูด้านข้างวิหารหลวงโดยไม่ย้อนกลับมาอีก ได้แก่ อุโบสถ ซึ่งตั้งอยู่ฝั่งซ้าย ภายในมีภาพจิตรกรรมมารผจญ รอบข้างเป็นภาพเทพชุมนุมและภาพพุทธประวัติชาดก ด้านในประดิษฐานพระพุทธรูป 3 องค์ คือ พระพุทธรูปทองสมัยสุโขทัย พระพุทธรูปปูนปั้นสมัยอยุธยา และพระพุทธรูปนาคสมัยสุโขทัย ส่วนฝั่งขวามีวิหารตั้งคู่กับพระอุโบสถ คือ วิหารเขียน ตามตำนานการสร้างโบสถ์กล่าวไว้ว่า บุตรเขยพระยารามัญเป็นผู้สร้าง ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปทรงเครื่องสมัยอยุธยาปางมารวิชัย

@@@@@@


ตำหนักพระพุทธโฆษาจารย์ วัดพุทไธศวรรย์

วัดพุทไธศวรรย์ เป็นพระอารามหลวง คู่บ้านคู่เมืองพระนครศรีอยุธยามากว่า 600 ปี มีประวัติศาสตร์ยาวนานตั้งแต่สมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) ก่อนสถาปนากรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี สืบเนื่องถึงสมัยรัตนโกสินทร์มีบันทึกถึงวัดแห่งนี้ในโอกาสสำคัญหลายครั้ง



ส่วนที่โดดเด่นที่สุดภายในวัดพุทไธศวรรย์ คือ พระปรางค์ประธาน สถาปัตยกรรมแบบปราสาทขอม ล้อมรอบด้วยระเบียงคด มีพระพุทธรูปสีทองอร่ามศิลปะแบบสุโขทัยเรียงรายอยู่อย่างสวยงาม นอกจากนั้นยังมีอาคารรายล้อมอื่น ๆ ที่บ่งบอกร่องรอยทางประวัติศาสตร์ เช่น วิหารทรงเครื่อง วิหารพระพุทธไสยาสน์ และวิหารอื่น ๆ ซึ่งมีลักษณะอาคารทรงท้องสำเภา เป็นลักษณะสถาปัตยกรรมแบบนิยมในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย บางส่วนยังพบลวดลายปูนปั้นอันวิจิตร โดยเฉพาะ ตำหนักพระพุทธโฆษาจารย์ มีภาพจิตรกรรมสำคัญที่คนส่วนใหญ่อาจไม่ได้เข้าไปชม ซึ่งอาจเป็นเพราะประตูทางเข้าวกวน บันไดทางขึ้นเป็นไม้ทรุดโทรม

ตำหนักพระพุทธโฆษาจารย์เป็นอาคารสองชั้น นักวิชาการสันนิษฐานว่า น่าจะเป็นศาลาการเปรียญของวัด ภายในชั้น 2 มีภาพจิตรกรรมฝาผนังในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย ทิศเหนือเขียนเรื่องไตรภูมิ ทิศใต้เขียนภาพมารผจญ ทิศตะวันออกเขียนภาพพระพุทธบาทที่สำคัญ 5 แห่ง และทิศตะวันตกเขียนภาพทศชาติ



ภาพเขียนสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์เสด็จไปนมัสการรอยพระพุทธบาท ณ ประเทศลังกา บนผนังด้านทิศตะวันออกในตำหนักพระพุทธโฆษาจารย์ กรมศิลปากรระบุว่า เป็นงานจิตรกรรมในสมัยกรุงศรีอยุธยาที่ทรงคุณค่ายิ่ง เพราะเป็นการเขียนภาพที่บอกเล่าเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ ศาสนา สังคม และวัฒนธรรม เป็นงานจิตรกรรมในช่วงสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลายซึ่งตรงกับรัชสมัยของสมเด็จพระเพทราชา ราวปี พ.ศ. 2231 ถึงปี พ.ศ. 2245

คราวหน้า ถ้าใครได้ไปเยือนพระนครศรีอยุธยา อย่าลืมใช้เวลาเยี่ยมชมสถานที่ที่อาจมองข้ามไปเหล่านี้นะคะ


 

ที่มา : นิตยสาร Secret ฉบับที่ 234
เรื่องและภาพ : urara
Secret Magazine (Thailand)
http://goodlifeupdate.com/healthy-mind/100674.html
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

นิรตา ป้อมนาวิน

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +20/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 1212
  • อย่างน้อยชาตินี้ขอปิดอบายภูมิ
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
 :25: st11 st12 วัดนี้ไปมาแล้ว
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ