ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
  • สนง.ส่งเสริมพระกรรมฐาน
แสดงกระทู้
This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.
    Messages   Topics Attachments  

  Messages - raponsan
หน้า: 1 ... 3 4 [5] 6 7 ... 706
161  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / สายมูต้องรู้ ปิดทองพระ ปิดตำแหน่งไหนดีเพราะอะไร เมื่อ: กุมภาพันธ์ 03, 2024, 07:12:40 am
.



สายมูต้องรู้ ปิดทองพระ ปิดตำแหน่งไหนดีเพราะอะไร

”ปิดทองพระตำแหน่งไหนดี วันนี้รายการปาฏิหาริย์ ช่วง คณัสว่าดี มีทริคดีๆ มาฝากทุกคนค่ะ ใกล้เทศกาลวันพระสำคัญแล้ว มาดูทริคที่สายมูต้องรู้ ปิดทองพระ ปิดตำแหน่งไหนดีเพราะอะไร

สำหรับ ปิดทองพระตำแหน่งไหนดี ต้องบอกก่อนว่าจริงๆ การปิดทองพระปิดได้ทุกตำแหน่งเลยค่ะ ตำแหน่งไหนก็ดีทั้งดีขอให้เรามีใจที่บริสุทธิ์ก็ดีแล้วค่ะไม่ว่าจะปิดทองในตำแหน่งไหน แต่วันนี้เราจะพาไปดู ความเชื่อโบราณ ปิดทองพระ ปิดตำแหน่งไหนดีเพราะอะไร




ปิดทองตำแหน่งไหนดี สำหรับ บทความนี้เป็นความเชื่อส่วนบุคคลโปรดใช้วิจารณญาณในการอ่านด้วยนะคะ มาเริ่มกันที่ ตำแหน่งที่ 1

    1. พระเศียร (ศรีษะ) มีสติปัญญาแหลมคม มีความจำเป็นเลิศ ฝ่าฝันอุปสรรคต่างๆ ได้ด้วยสติปัญญา ทำงานฉับไว ความคิดโลดแล่นไม่ติดขัด
    2. พระพักตร์ (ใบหน้า) ชีวิตก้าวหน้าทั้งด้านการงาน การเงิน คิดทำสิ่งใดจะประสบความสำเร็จในชีวิต ทำอะไรก็เจริญรุ่งเรือง
    3. พระอุระ (หน้าอก) เสริมสง่าราศีในตัวเอง เป็นที่รักของผู้คน ใครเห็นต่างก็รักและชื่นชม
    4. พระหัตถ์ (มือ) เป็นที่เคารพยกย่องของผู้ที่พบเห็น เสริมบารมี อำนาจ จับอะไรเป็นเงินเป็นทอง
    5. พระอุทร (ท้อง) มีกินมีใช้ไม่ขัดสน ไม่อดยาก ร่ำรวยทรัพย์สินเงินทอง
    6. พระนาที (สะดือ) ชีวิตจะไม่พบเจอกับความอดอยาก มีเงินทองใช้คล่องมือ
    7. พระบาท (เท้า) มีความเป็นอยู่ที่ดี ชีวิตจะเจอแต่ความราบรื่น ความสมบูรณ์ ไปที่ไหนก็ไม่ลำบากมีคนคอยช่วยเหลือ
    8. ฐานรองพระองค์ หน้าที่การงานมั่งคง ประสบความสำเร็จในอาชีพที่ใฝ่ฝัน
    9. หลังองค์พระพุทธรูป (ด้านหลัง) การปิดทององค์พระให้สมบูรณ์ต้องปิดทองด้านหลังด้วย ช่วยเสริมความดีงาม เสริมบารมี ทำดีไม่สูญเปล่า เกิดชาติหน้าจะมีผิวพรรณที่ดี งดงาม มีสง่าราศรี




คำอธิษฐานเวลาปิดทองพระ

เมื่อเลือกตำแหน่งที่จะปิดทองได้แล้วให้กล่าวตามนี้ค่ะ
   "ด้วยอานิสงส์แห่งการปิดทองนี้ ขอให้ข้าพเจ้าเติมเต็มสิ่งดีๆ ที่ยังไม่เต็มอยู่ให้บริบูรณ์"

แต่ถ้าเกิดไปพบพระพุทธรูปที่มีคนปิดทองเต็มองค์ ชนิดแน่นแล้ว ก็ปิดทองลงไปทับทองของคนอื่นนั่นแหละ แล้วอธิษฐานว่า
    "การใดที่เป็นสิ่งดีงาม ที่สมบูรณ์อยู่แล้ว ก็ขอให้ข้าพเจ้าทำให้สมบูรณ์ยิ่งๆ ขึ้นไปอีกเถิด"

กล่าวแบบรวบยอด
    "ถ้าขาด ก็ทำให้เต็ม ถ้าเต็มอยู่แล้ว อย่างน้อยรักษาไว้ หรือทำให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้นไปอีก"







Thank to : https://www.thainewsonline.co/belief/belief/866459
02 กุมภาพันธ์ 2567
162  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / โซเมีย และคน ‘ไม่ไทย’ เมื่อ: กุมภาพันธ์ 02, 2024, 10:17:33 am
.



โซเมีย และคน ‘ไม่ไทย’

ประวัติศาสตร์ไทย คือเรื่องราวความเป็นมาของดินแดน (หรือพื้นที่) และผู้คน (หรือประชากร) ในประเทศไทยปัจจุบัน อันเป็นส่วนหนึ่งที่แยกไม่ได้จากเรื่องราวความเป็นมาของดินแดนและผู้คนบนโซเมียในสุวรรณภูมิและอุษาคเนย์

นิยามและคำอธิบายเรื่องโซเมียต่อไปนี้เรียบเรียงจากข้อเขียน (พบในคอมพ์) และงานค้นคว้าที่พิมพ์เผยแพร่ของนิธิ เอียวศรีวงศ์ (นักปราชญ์ร่วมสมัย) ดังต่อไปนี้

โซเมีย (Zomia) เป็นชื่อเรียกบริเวณที่สูงอันกว้างใหญ่ไพศาลแห่งเอเชีย อันประกอบด้วยทิวเขาสลับซับซ้อนและสูงลิ่ว สลับกับที่ราบลุ่มน้ำหลายขนาดมีเล็กบ้างใหญ่บ้าง ตั้งแต่จีนตอนใต้ลงไปครอบคลุมถึงไทย ดังนี้

1. จีนตอนใต้ บริเวณทางใต้แม่น้ำแยงชี ครอบคลุมพื้นที่ซึ่งแผ่ไป 2 ทิศทาง ได้แก่
    ทางตะวันตก ถึงที่ราบสูงทิเบต, เทือกเขาหิมาลัย
    ทางตะวันออก ถึงเทือกเขา (ตะวันตก) ในเวียดนาม, ลาว พม่า (ตอนเหนือ) และไทย

2. ครอบคลุมถึงไทย (ไม่นับภาคกลางตอนล่าง และคาบสมุทรมลายู) ได้แก่
    ภาคเหนือ ลุ่มน้ำกก, อิง, ปิง, วัง, ยม, น่าน
    ภาคกลางตอนบน บริเวณลุ่มน้ำยม-น่าน เป็นชายขอบโซเมีย
    ภาคอีสาน อยู่ส่วนปลายของโซเมีย รัฐที่ใช้ภาษาไท-ไตในที่ราบสูงอีสานล้วนตั้งบนส่วนหนึ่งของโซเมีย

ไตยวน, ไตลื้อ, ไตเขิน, ไตโหลง (หลวง), ไตแข่ (แขก), ไตอาหม, ผู้ไท (ไทดำ, ไทขาว, ไทแดง), ตลอดไปถึงไทลาย, ผู้ญัย, ไทโท้ (โถ่, ถู่) ในตอนเหนือสุดของเวียดนามและบางส่วนของกวางสี, รวมทั้งจ้วง และคนไท-ไตอีกมากมายที่อยู่ปะปนกับคนในกลุ่มชาติพันธุ์อื่นในหลายชุมชนทางตอนใต้ของจีน คนเหล่านี้ล้วนมีชีวิตอยู่บนโซเมีย รวมทั้งหากยังจดจำอดีตของตนได้ก็เป็นเรื่องราวเกิดขึ้นบนโซเมียทั้งสิ้น

[เรียบเรียงใหม่จากข้อมูลที่พบในคอมพ์ของ นิธิ เอียวศรีวงศ์]


@@@@@@@

นิธิ เอียวศรีวงศ์ ก่อนหน้านี้บอกว่าโซเมียคือ “ที่สูงแห่งเอเชีย” เป็นพื้นที่กว้างใหญ่ไพศาล มิทิวเขาสลับซับซ้อนกลางทวีปเอเชียค่อนลงทางใต้ จากเวียดนามไปทางตะวันตก (และย้อยลงไปในกัมพูชา) จนถึงด้านตะวันออกของอินเดีย รวมรัฐเล็กรัฐน้อยในเทือกเขาหิมาลัย มีพื้นที่มากกว่า 2.5 ล้านตารางกิโลเมตร ความสูงประมาณ 300 เมตรขึ้นไปเหนือระดับน้ำทะเล (กรณีกล่าวถึงผู้คนบน “ที่สูงแห่งเอเชีย” นี้ มักไม่นับรวมเสฉวน ซึ่งถูกผนวกเข้าไปในจักรวรรดิจีนมานานแล้ว และไม่รวมรัฐในเทือกเขาหิมาลัย เพราะไม่มีประวัติสัมพันธ์เชื่อมโยงกับผู้คนบนโซเมียอื่นๆ)

บริเวณโซเมียมีที่ราบในหุบเขากระจายอยู่ทั่วไปทั้งขนาดใหญ่และน้อยอันเป็นที่ตั้งของชุมชนเมือง ซึ่งบางแห่งเป็นส่วนหนึ่งของรัฐใหญ่อื่น บางแห่งเป็นอิสระในตัวเอง บางแห่งแม้เป็นส่วนหนึ่งของรัฐใหญ่ในทางทฤษฎี แต่ในทางปฏิบัติกลับมีอิสระปกครองและดำเนินความสัมพันธ์กับเพื่อนบ้านด้วยตนเอง

ลักษณะภูมิประเทศของโซเมียเป็นทิวเขาสลับซับซ้อน ทำให้การเดินทางระหว่างหุบเขาเป็นไปได้ยาก ส่วนเส้นทางน้ำหลายสายซึ่งมีแหล่งกำเนิดบนโซเมีย ได้แก่ พรหมบุตร, อิรวดี, สาละวิน, โขง, เจ้าพระยา, น้ำดำ-น้ำแดง ก็ใช้เป็นเส้นทางคมนาคมไม่ดีนัก เพราะเขตต้นน้ำมีเกาะแก่งมาก หรือน้ำไหลเชี่ยวจนเกินกว่าจะใช้เดินเรือ

“ที่สูงแห่งเอเชีย” ซึ่งวิลเลม ฟาน สเคนเดิล (Willem van Schendle) ผู้เชี่ยวชาญด้านเอเชียศึกษา แห่งมหาวิทยาลัยอัมสเตอร์ดัม (เนเธอร์แลนด์) สมมุติชื่อเรียกโซเมีย-Zomia มาจากตระกูลภาษาทิเบต-พม่า ว่า Zomi แปลว่า ประชากรบนที่สูง

[สรุปจากคำอธิบายหลายเวลาและสถานที่ของ นิธิ เอียวศรีวงศ์ ได้แก่ จากหนังสือ ความไม่ไทยของคนไทย (พ.ศ.2559), จากเอกสารประกอบรายการ ทอดน่องท่องเที่ยว ของมติชน (พ.ศ.2563), จากคำนำเสนอ ในหนังสือ กาดก่อเมือง (พ.ศ.2564)]



แผนที่แสดงบริเวณที่สูงแห่งเอเชียหรือโซเมีย และพื้นที่โดยรวมทางใต้ของจีนอันเป็นหลักแหล่งของคนพื้นเมืองที่ “ไม่จีนไม่ฮั่น” โดยมีบรรพชนพูดภาษาไทยรวมอยู่ด้วย (ปรับปรุงจากต้นแบบตามคำแนะนำของ นิธิ เอียวศรีวงศ์ อยู่ในเอกสารประกอบบรรยายรายการทอดน่องท่องเที่ยว ของมติชนทีวี เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 30 กรกฎาคม 2563)

ผู้คนบนโซเมียซึ่งจีนเรียกรวมๆ ว่าเยว่ มีหลายชาติพันธุ์นับไม่ถ้วน

เยว่ (ออกเสียงคล้ายเยวี่ย, เหวียด, เหยอะ, แหยะ, แย้, อวด ฯลฯ) เป็นชื่อรวมๆ ที่จีนเรียกคนหลายชาติพันธุ์ (บางครั้งจีนเรียก “ไป่เยว่” หมายถึงเยว่ ร้อยเผ่า, เยว่ร้อยจำพวก) ประกอบด้วยคนต่างภาษาที่พูดตระกูลภาษาต่างๆ ตามชื่อสมมุติที่ถูกสร้างใหม่ ได้แก่ จีน-ทิเบต, พม่า-ทิเบต, ม้ง-เมี่ยน, มอญ-เขมร, ชวา-มลายู, ไท-ไต หรือ ไท-กะได เป็นต้น

[เยว่ร้อยเผ่า หรือเยว่ร้อยจำพวก เป็นพวก “ไม่ฮั่น” อยู่บริเวณที่ราบในหุบเขาสูงทางตอนใต้ของจีน หรือทางใต้แม่น้ำแยงซี ซึ่งเป็นหลักแหล่งกว้างขวางของกลุ่มชนหลากหลายชาติพันธุ์ที่ถูกเรียกรวมๆ อย่างเหยียดๆ ด้วยถ้อยคำของฮั่น (ซึ่งมีหลักแหล่งอยู่ทางเหนือขึ้นไป) ว่าเป็นพวกป่าเถื่อนเรียก เยว่, ฮวน, หมาน เป็นต้น พบหลักฐานสนับสนุนหลายอย่าง ได้แก่ เอกสาร, เครื่องมือเครื่องใช้ทำจากทองสำริด, พิธีกรรมความเชื่อจากภาพเขียนบนเพิงผาและอื่นๆ

แต่จำเพาะเอกสารจีนโบราณชื่อ “หมานซู” (แต่งเป็นภาษาจีน พ.ศ.1410) บอกเล่าว่า คนพื้นเมืองป่าเถื่อนหลายจำพวกซึ่งไม่ใช่ฮั่นอยู่ทางใต้ของจีน ตั้งแต่ทางใต้แม่น้ำแยงซีถึงฝั่งทะเลสมุทร (จากหนังสือ หมานซู (จดหมายเหตุพวกหมาน) ของ ฝันฉัว กรมศิลปากรให้ผู้เชี่ยวชาญภาษาจีนโบราณแปลเป็นภาษาไทยแล้วพิมพ์ครั้งแรก พ.ศ.2512) เท่ากับเป็นที่รู้กันนับพันปีแล้วว่า ทางใต้ของจีนล้วน “ไม่ฮั่น” หมายถึง หลักแหล่งของคนหลายชาติพันธุ์ “ร้อยพ่อพันแม่” ซึ่งล้วนไม่ใช่จีน]

“เยว่ร้อยจำพวก” มีกลุ่มไท-ไต รวมอยู่ด้วย แต่ไม่ใช่คนไทย (ขอย้ำว่าไท-ไต ไม่เรียกตนเองว่าไทย หรือคนไทย) ดังคำอธิบายต่อไปนี้

ไท-ไต หรือ ไท-กะได ชื่อสมมุติเรียกตระกูลภาษา ซึ่งเป็นต้นตอหรือรากเหง้าภาษาไทย (ในประเทศไทยทุกวันนี้) มีข้อมูลเกี่ยวข้องดังต่อไปนี้


@@@@@@@

1. ตระกูลภาษาไท-ไต หรือ ไท-กะได มีอายุเก่าสุดราว 3,000 ปีมาแล้ว

2. แหล่งเก่าสุดของตระกูลภาษาไท-ไต หรือ ไท-กะได อยู่ในโซเมีย (ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของจีน) บริเวณที่ปัจจุบันเป็นมณฑลกวางสี-กวางตุ้ง กับทางเหนือของเวียดนาม (เป็นพื้นที่เดียวกัน ยังไม่มีเส้นกั้นอาณาเขตแบ่งประเทศ) หลักแหล่งดั้งเดิมของจ้วง-ผู้ไท (จ้วงเป็นชื่อรวมของคนไท-ไตในกวางสี ส่วนผู้ไทเป็นชื่อรวมของคนไท-ไตในเวียดนาม)

3. คนตั้งหลักแหล่งทางใต้ของมณฑลกวางสี-กวางตุ้งในจีน กับทางเหนือของเวียดนาม เป็นพวกถูกฮั่นเรียก เยว่ มีหลายชาติพันธุ์อยู่ปนกัน ได้แก่ คนพูดตระกูลภาษาม้ง-เมี่ยน, จีน-ทิเบต, ไท-ไต เป็นต้น โดยมีภาษาไท-ไตเป็นภาษากลางการสื่อสารในชีวิตประจำวัน

ต่อไปข้างหน้ามีการค้าระยะไกล ภาษาไท-ไตจะเป็นภาษากลางทางการค้าของดินแดนภายในภาคพื้นทวีปซึ่งอยู่ทางใต้ของจีน ครั้นมีอำนาจทางการเมืองก็ค่อยๆ แผ่ขยายลงไปถึงลุ่มน้ำโขง, ลุ่มน้ำสาละวิน, ลุ่มน้ำเจ้าพระยา และคาบสมุทร

สำเนียงพูดสมัยเริ่มแรกของคนพูดภาษาตระกูลไท-ไต ไม่พบหลักฐาน แต่คาดเดาเทียบเคียงแล้วไม่ตรงกับสำเนียงมาตรฐานของคนพูดภาษาไทยในประเทศไทยปัจจุบัน

4. สมัยนั้นคนพูดภาษาตระกูลไท-ไตทางตอนใต้ของจีนบริเวณโซเมีย ไม่เรียกตนเองว่าไทย แต่เรียกตนเองตามชื่อทางวัฒนธรรมเป็นกลุ่มๆ ตามที่เลือกสรรกันเอง ได้แก่ ต้ง, จ้วง, นุง, สุ่ย, หลี, ปู้ยี, มู่หล่าว, เหมาหนาน, ผู้ไท เป็นต้น

ส่วนคำว่า ไท หรือ ไต แปลว่า คน หรือ ชาว เช่น ไทพวน แปลว่า คนพวน หรือ ชาวพวน, ไตลื้อ แปลว่า คนลื้อ หรือ ชาวลื้อ (ข้อมูลรายละเอียดมีอีกมากในหนังสือ ความเป็นมาของคำสยามฯ ของ จิตร ภูมิศักดิ์ พิมพ์ครั้งแรก พ.ศ.2519) คำว่า ไต มีใช้ในภาษาเขมร พบในจารึกพิมายแปลว่าคน แต่มีฐานะทางสังคมต่ำลงหมายถึงคนที่เป็นทาส

5. คนพูดภาษาตระกูลไท-ไต และคนหลากหลายชาติพันธุ์บริเวณโซเมีย ต่อไปข้างหน้าจะมีความเคลื่อนไหวโยกย้ายไปมาหลายทิศทางตามเส้นทางการค้าภายใน กระทั่งลงไปตั้งหลักแหล่งมีอำนาจทางภาษาและวัฒนธรรมอยู่ร่วมกับคนในตระกูลภาษาอื่นๆ บริเวณลุ่มน้ำเจ้าพระยา เช่น ชวา-มลายู, มอญ-เขมร, ทิเบต-พม่า เป็นต้น แล้วรับภาษาและวัฒนธรรมเหล่านั้นรวมกับภาษาและวัฒนธรรมจากจีน, อินเดีย, เปอร์เซีย (อิหร่าน) ฯลฯ ครั้นนานไปได้กลายตนแล้วเรียกตนเองด้วยชื่อสมมุติใหม่ว่าไทย ซึ่งล้วนเป็นบรรพชนคนไทยปัจจุบัน

คนไทยเริ่มแรกพบบริเวณลุ่มน้ำเจ้าพระยา (ไม่พบที่อื่น) ระหว่าง พ.ศ.1600-1700 แต่บรรพชนคนไทยอยู่โซเมียราว 3,000 ปีมาแล้ว •


 



ขอขอบคุณ :-
ที่มา : มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับวันที่ 26 มกราคม - 1 กุมภาพันธ์ 2567
คอลัมน์ : สุจิตต์ วงษ์เทศ
เผยแพร่ : วันอาทิตย์ที่ 28 มกราคม พ.ศ.2567
URL : https://www.matichonweekly.com/column/article_742393
163  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / ฮั่นแน่.!! ว่าด้วย “ผอ.พศ.” ห้ามพระ “เล่นหวย” เมื่อ: กุมภาพันธ์ 02, 2024, 10:03:54 am
.



ฮั่นแน่.!! ว่าด้วย “ผอ.พศ.” ห้ามพระ “เล่นหวย”

ฮั่นแน่!!  อินทพร ณ ศาลา หลังจากเจียมตัวเจียมตัวเก็บตัวเงียบมานับแรมปี หลังได้รับโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้งเป็น “ผอ.พศ.” ได้ไม่กี่วัน “ตบเปรี้ยง” ส่งสัญญาณถึง “พระชอบเสี่ยงโชค” ทำนองว่า หากพระอยากเสี่ยงโชค ชอบเล่นหวยต้อง “สึกออกมา” เห็นเค้าลางอดีต “ผอ.พศ.” คนผอมตัวเล็กในตำนานโผล่มาลาง ๆ  อย่างไรไม่รู้??

แหม่!! อินทพร จั่นเอี่ยม หากคิดแบบนี้พระจำนวนเกือบ 3 แสนรูป คงต้องสึกออกมาไม่ต่ำกว่า 1 แสนรูป โดยเฉพาะ “พระเมือง -พระบ้าน” ดีไม่ดีลามถึง  “มส.” บางรูปด้วยซ้ำไป  เพราะสิ่งนี้แม้จะไม่เหมาะกับ “สมณเพศ” แต่มันคือ วิถีชีวิตของคนไทย ผอ.พศ. คงไม่รู้ว่าอดีต พระภาคใต้เลี้ยงวัวชน ภาคกลางเลี้ยงไก่ชน ภาคเหนือบางวัดประชันฝีมือดนตรีไทย ภาคอีสานพระบรรเลงเป่าแคนใส่กัน อันนี้ถือ “วิถีชีวิต” เจ้ากูแต่ละภาค

ถามว่าพระท่านเหล่านี้ท่านรู้ไหมว่า “ผิด” ย่อมรู้ดี..แต่มันเพียงเป็นอาบัติ “ลหุโทษ” เหมือน พระเล่นหวยนั่นแล!! ชาวบ้านเขาชาวใจและศรัทธา ไม่มองเรื่องเล็ก ให้เป็นเรื่องใหญ่ เหมือน “คนเมือง” มีการศึกษาดี ดังคนกรุง คนเมืองดัดจริตมองพระ “ต้องเป๊ะ” ทุกระเบียดนิ้ว ทั้ง ๆที่ตัวเอง พยายามหาช่องทางเอาเปรียบสังคม กดโกง ทุจริตทุกรูปแบบเพื่อให้รวย มีหน้ามีตาในสังคม!!

@@@@@@@

ถ้าถามว่าสิ่งที่ “ผอ.พศ.” ว่ามาโดยหลักพระวินัย วิถีแห่งสมณเพศ ถูกต้องไหม..ใช่ถูกต้อง

เรื่องแบบนี้อีก 100 ปีก็แก้ไม่ได้เพราะมันถือวิถีแห่งโลก ยุคนี้เว้น..พระสายป่า สายกรรมฐานเท่านั่น “อาจไม่มีเล่น” สายพระวัดบ้าน วัดเมือง วัดกรุง คิดว่าร้อยละไม่ต่ำกว่า 20% เล่นเสี่ยงโชคทั้งนั่น

หากจะแก้เรื่อง “หวย”  มีทางออก แต่ ผอ.พศ. ใจถึงหรือเปล่า คือ ผอ.พศ.นัดผู้บริหาร “สำนักงานกองสลาก” คุยเป็นจริงเป็นจังว่า

    หนึ่ง. ขอกองสลากออกกฎห้ามยี่ปั๊วที่รับโควต้าจากสำนักงานกองสลากไปขายภายในวัด ไม่ว่าจะเป็นการตั้งแผง ตั้งร้านหรือเดินขาย

    สอง. ขอให้ มหาดไทย ตำรวจ ท้องถิ่น ช่วยสอดส่องดูแล โดยร่วมกับทีมที่ ผอ.พศ.บอกว่า มีอยู่นั่นแหละ อันนี้รวมถึง “หวยเถื่อน” ด้วย เจอที่ไหนจับที่นั่นทั้งผู้ขายและพระภิกษุ และ

    สาม. เพื่อเป็นโมเดลนำร่อง เริ่มจาก วัดไร่ขิง วัดโสธร วัดพระพุทธชินราช หรือวัดใหญ่ ๆ  ที่มีนักท่องเที่ยวคนไปกราบไหว้ขอพรเยอะ ๆ ก่อน ห้ามจำหน่ายหรือมีแผงขายล๊อตเตอรี่ในวัด คนพิการ ก็ห้ามนำมาขาย..เบื้องต้น “ผอ.พศ” ทำแบบนี้ก่อนว่าด้วยเรื่องหวย




และเพื่อ “สะสาง” พระพุทธศาสนาของ “สมณโคดม” ให้ใสสะอาดบริสุทธิ์ผุดผ่องสมดังมโนรถ ขอความกรุณา “ผอ.พศ” กราบทูล “สมเด็จพระสังฆราช” ว่าต่อจากนี้ไป ใครนิมนต์ท่านไปเจิมหรือไปพรมพระพุทธมนต์งานปลูกเสกวัตถุมงคล..ห้ามเสด็จไปเด็ดขาด  และรวมทั้ง “ผอ.พศ.” อาศัยความ “ตั้งใจดี” นี้ไปบอก “สมเด็จธงชัย” ในฐานะ เบอร์หนึ่งสายพระเกจิว่า

เนื่องจากกระผมในฐานะผอ.พศ.อยากเห็นความบริสุทธิ์ผุดผ่องของพระพุทธศาสนาและมีความประสงค์ต้องการให้พระสงฆ์ในประเทศไทยตั้งอยู่ใน “พระวินัย” อย่างแท้จริง ขอพระคุณเจ้าโปรดงดไปงานปลูกเสกด้วยเถิด!! หรือหากตั้งใจมั่นคงที่ว่านี้ ไปกราบสักการะ “สมเด็จธีร์” อีกท่านก็ดีว่า.กระผมขอให้เจ้าประคุณสมเด็จเลิกดูหมอเป็นโหราจารย์ได้ไหมครับ  ในฐานะ “ผอ.พศ.” น่าจะพูดกันได้??

“อินทพร จั่นเอี่ยม” เหลืออายุราชการอีกปีกว่าๆ หากเดินทาง “สายเอก” ดังที่แนะนำไว้ น่าจะสมความปรารถนา ถือว่าสร้างผลงานถวายเป็น “พุทธบูชา” และหากท่านทำได้ ทั้งห้ามพระเล่นหวย ห้ามพระปลูกเสก ห้ามพระดูหมอตั้งตนเป็นโหราจารย์ “อินทพร จั่นเอี่ยม” จะกลายเป็น..บุคคลในประวัติศาสตร์หน้าหนึ่งของชาวพุทธ “ผู้เขียน” ขอชื่นชมความตั้งใจดีของ “ผอ.พศ.”

แต่.!! เพื่อให้ท่านอยู่รอดปลอดภัยตอนนี้อยากให้ท่านไปใส่ใจเรื่อง “นโยบายเร่งด่วน 7 ประการ” ของ “รมต.แจ๋น” ที่มอบหมายให้สำนักงานพุทธ ฯเร่งดำเนินการด้วย ตอนนี้ล่วงเลยมาแล้ว 3 เดือนกว่าๆ ถึงไหนแล้ว ทั้ง เรื่องการเผยแผ่เชิงรุก ทั้งเรื่องบัตร Smart card  พัฒนาพุทธมณฑลเป็นศูนย์กลางพุทธโลก รวมทั้งเงินนิตยภัต และเงินค่าตอบแทน

โดยเฉพาะเรื่อง “นิตยภัต” ยังไม่ต้องพูดถึงจะปรับขึ้น ตอนนี้แก้ปัญหา “ตกเบิก” ตามพระสังฆาธิการ พระธรรมทูตร้องเรียนได้แล้วหรือยัง เงินค่าตอบแทน จปศ. ทั้งพระปริยัติสามัญ นักธรรม บาลี และพระปริยัตินิเทศก์  พ.ร.บ.โปรดเกล้ามาตั้งแต่ปี 2562  ทำไมเงินจึงไม่ตกมาถึงคณะสงฆ์ครบถ้วนทั้ง 4 กลุ่ม สำนักงานพุทธศาสนาแห่งชาติในฐานะ “แม่งาน” จะตอบคำถามและรับผิดชอบอย่างไร! หากเป็น “คนบางศาสนา”  มีพรบ.แบบนี้แล้วล่าช้า คนพศ.อาจติดคุก หรือไม่ก็สำนักงานฯ ถูกเผาแล้ว




ฝาก “การบ้าน” ให้ “ผอ.พศ.” ต่อว่า ปัญหาใหญ่ปัญหาหนึ่งของคณะสงฆ์ตอนนี้มีวัดนับหมื่นวัด อันนี้ไม่รวม “สำนักสงฆ์ -ที่พักสงฆ์” มีปัญหาที่ดิน

ยกตัวอย่างจังหวัดกาญจนบุรี “วัดตั้งอยู่ในตัวเมือง”  แวดล้อมด้วยห้างสรรพสินค้า มีบ้านสวัสดิการของทหาร มีโครงการบ้านจัดสรร วัดไม่สามารถออกโฉนดเพื่อสร้างโบสถ์ทำสังฆกรรมได้ เพราะติดว่าเป็นที่ของกรมธรารักษ์ มอบให้ทหารดูแล แต่ “ทหารไม่ปล่อย” ท่านจะแก้อย่างไร ลักษณะนี้มีหลายวัด บางวัดตั้งมานับร้อยปี แต่ตอนหลังหน่วยงานรัฐทั้งทหาร ป่าไม้ อุทยาน สปก.ประกาศทับที่วัด ตรงนี้ท่านจะแก้อย่างไร

วัดบางแห่ง “ไม่เชื่อน้ำยา” ของสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ต้องจ้างทนายหรือให้ NGO เข้ามาช่วยเหลือต่อสู้กับทหารและอุทยาน ป่าไม้ก็มี โดยเฉพาะจังหวัดกาญจนบุรี หลายวัดติดปัญหากฤษฎีกาทหาร 2481 ท่านเคยคิดจะ “ปลดล๊อค” เรื่องเหล่านี้บ้างหรือไม่??

หรือแม้กระทั้งวัดใหญ่ ๆ ในกรุงเทพมหานคร “บางวัด” ชาวบ้านอาศัยอยู่นับร้อยปีไม่ย้ายออก วัดจะพัฒนาอะไรก็ไม่ได้ เช่น วัดอรุณราชวราราม ทุกวันนี้วัดจะทำที่จอดรถสำหรับคนมาทำบุญที่วัดหรือนักท่องเที่ยวที่ดินหลังวัด วัดมีโครงการขอให้ย้ายออกมาร่วม 30 ปีทุกวันนี้ยังไม่สำเร็จ หากท่านไม่เชื่อไปถามอดีตลูกพี่ “สิปป์บวร”  หรือบางครอบครัวเช่าที่วัดมารุ่นปู่ย่าไม่กี่ร้อยบาท ตกทอดมาถึงลูก ปล่อยเช่าช่วงต่อเป็น “หมื่น” ตรงนี้จะหาทางออกอย่างไร ไล่ก็ไม่ไป บางวัดซื้อที่ดินให้ก็ไม่ย้ายออก

@@@@@@@

หากท่าน “ตั้งใจ” จริง แก้ปัญหาที่ดินวัด ถือสร้างผลงาน “ชิ้นโบว์แดง” ให้ตัวเอง และเพื่อให้ “เจ๊แจ๋น” ของผู้เขียนได้ผลงานด้วย ลองเสนอ “มส.” ทำเป็นวาระแห่งชาติ เชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับที่ดินวัดทั้งกระทรวงมหาดไทย กระทรวงเกษตร กระทรวงทรัพย์ กลาโหม กระทรวงคลัง มาพูดคุยเรื่องการออกโฉนดที่ดินวัดให้หน่อย “หยิบปัญหา” มาคุยบนโต๊ะ

อันนี้ยังไม่นับเรื่องที่ท่านควรทำ “ปัญหาชาวพุทธภาคใต้” การสร้างยุวชนชาวพุทธกลับถิ่นเกิด เช่น ต้องมีโควต้าพิเศษให้เรียนธรรมศาสตร์ จุฬา ฯ เกษตร หรือเหล่าทหาร ตำรวจ เหมือนอย่างที่ “เด็กใต้พี่น้องมุสลิม” เขามี แล้วนำเด็กเหล่านี้กลับไปบรรจุเป็นราชการบ้านเกิดเมืองนอนของเขา..ตรงนี้สำนักงานพุทธ ฯทำได้ไหม!!

ตอนนี้ “อินทพร จั่นเอี่ยม” มีอำนาจเต็มแล้วไม่ใช่รักษาการแทนอีกต่อไปแล้ว แสดงความสามารถความรู้ประสบการณ์ที่ทำงานอยู่กับสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติร่วม 20 ปีให้เต็มที่อย่าให้เสียชื่อคนนครสวรรค์..




https://thebuddh.com/?p=77057
164  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / ผอ.พุทธฯ ชี้่เปรี้ยง “พระเล่นหวย” ไม่ใช้หน้าที่พระ อยากเล่นต้องสึก.!! เมื่อ: กุมภาพันธ์ 02, 2024, 09:46:27 am
.



ผอ.พุทธฯ ชี้เปรี้ยง “พระเล่นหวย” ไม่ใช่หน้าที่พระ อยากเล่นต้องสึก.!!

ผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ชี้ “พระเล่นหวย” ทำให้ชาวพุทธเสื่อมศรัทธาต่อพระพุทธศาสนา อาจเกิดการแคลงใจเงินที่นำมาซื้อหวย มากจากเงินทำบุญหรือไม่ แนะนำ อยากเล่นหวยต้องสึกออกมา เพราะการเสี่ยงโชคไม่ใช่หน้าที่ของพระ ย้ำ พศ. จับตาเรื่องนี้อยู่อย่างใกล้ชิด

นายอินทพร จั่นเอี่ยม ผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ (พศ.) เปิดเผยว่า ในกรณีที่พระสงฆ์เล่นหวยนั้นถือว่าไม่เหมาะสม เนื่องจากต้องทำความเข้าใจว่าพระสงฆ์นั้นดำดงชีพอยู่ได้ด้วยการขอ ด้วยการเดินบิณทบาต การที่พระสงฆ์ไปเล่นหวยเสี่ยงโชคนั้น ญาติโยมที่ทำบุญมาอาจคิดได้ว่า เป็นเงินที่ทำบุญแล้วพระสงฆ์นำไปเล่นหวย

ดังนั้น การเสี่ยงโชคแทงหวยถือว่าเป็นเรื่องที่ไม่เหมาะสม และเป็นเรื่องของชาวบ้านทั่วไป หากพระอยากจะแทงหวยต้องสึกออกมา เพราะ ถ้าหาก ปรากฏในสื่อสังคมออนไลน์ ก็อาจทำให้ภาพรวมของคณะสงฆ์นั้นเสียหายได้ และเชื่อว่าภาพรวมก็มีไม่กี่รูปเท่านั้นที่ทำแบบนี้ ซึ่งเมื่อภาพออกไปแล้วมันจะเกิดการขัดความศรัทธาของประชาชน ที่มีต่อพุทธศาสนา

    “ทั้งนี้ต้องยอมรับว่าการที่พระไปเล่นหวยนั้น ถ้าพูดถึงการผิดวินัยก็ถือว่าเป็นผิดวินัยที่ไม่ร้ายแรง อาจผิดใน โลกวัชชะ ถือเป็นเรื่องที่ไม่เหมาะสม แต่อย่างไรก็ตาม ทางสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ เรามีทีมงานดูแลเรื่องนี้อยู่โดยเฉพาะ หากพบจะลงพื้นที่ทันทีผ่าน สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติประจำจังหวัด จากนั้นจะประสานเจ้าคณะปกครองดำเนินการทันที ” ผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ กล่าว





ขอขอบคุณ :-
ที่มา : FB. สำนักข่าว กรมประชาสัมพันธ์
https://www.facebook.com/Sumnakkaow.PRD/photos/ผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ-ชี้-พระเล่นหวย-ทำให้ชาวพุทธเสื่อมศรัทธาต/794584682703871/?paipv=0&eav=AfaHGB3c93N427qXm9_x0c2PpQfILuNL85xosqj68g314nsTlKAUxu8pNgFqUuoteUU&_rdr
website : https://thebuddh.com/?p=77029
165  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / พาราณสี สถูปบรรลุธรรม เมื่อ: กุมภาพันธ์ 01, 2024, 08:42:40 am




พาราณสี สถูปบรรลุธรรม

สารนาถ หรือ ที่ชาวพุทธในเมืองไทยรู้จักว่า พาราณสี ในอดีตที่นี่นับได้ว่าเป็นแหล่งของพราหมณ์ ที่มีความเจริญมากในด้าน ศาสนา วัฒนธรรม ตลอดทั้งความเชื่อหลากหลาย ในครั้งพุทธกาล ปัญจวัคคีย์ทั้ง 5 ได้หลีกหนี มาบำเพ็ญตน บำเพ็ญธรรม ณ ที่แห่งนี้ เพื่อหาหนทางการรู้แจ้ง หลังที่หลีกหนีจากโพธิสัตว์ ที่กำลังบำเพ็ญอยู่ที่พุทธคยา

ด้วยเหตุเข้าใจว่า โพธิสัตว์ นั้นกลับคำ ทิ้งตบะในการปฏิบัติ หันกลับมาทานอาหาร และไม่ไปต่อกับการแสวงหา การรู้แจ้ง แต่เมื่อครั้งโพธิสัตว์ได้บรรลุธรรมแล้ว ได้คิดถึงปัญจวัคคีย์ทั้ง 5 จึงได้เดินทางด้วยเท้าจากพุทธคยา มาที่พาราณสี เพื่อจะโปรดปัญจวัคคีย์ทั้ง 5 ให้บรรลุธรรม รู้แจ้งเห็นจริง เช่นเดียวกัน




คั้นเมื่อปัญจวัคคีย์ เห็นพระพุทธเจ้าเดินมาด้วยผิวพรรณผ่องใส ไม่เหมือนโพธิสัตว์ หรือบุคคลที่ตนเองเคยอุปถัมภ์ ในครั้งเก่า ต่างก็เกิดความแปลกใจ จากที่เคยตกลงกันว่าจะไม่มีใครเดินเข้ามาหา จะไม่มีใครเดินเข้าไปทักทาย ทุกคนเหมือนถูกสะกด ด้วยธรรมอันยิ่ง รีบเข้าไปทักทายแล้วนิมนต์ให้ประทับนั่ง

ด้วยพุทธานุภาพ การปฏิบัติทางสายกลาง มัชฌิมาปฏิปทา, มรรคมีองค์ 8 ด้วยเป็นการเตือนให้ปัญจวัคคีย์ทั้ง 5 ดำรงชีวิตด้วยทางสายกลาง ไม่ว่าจะได้สติสมาธิและอื่นๆ แล้วจะสามารถทำให้บรรลุธรรมได้ การแสดงธรรมของพระองค์ ทำให้อัญญาโกณฑัญญะเป็นผู้เข้าถึงธรรมคนแรก




พาราณสี ความเจริญอันยิ่งใหญ่ของพระราม นับได้ว่าเป็นศูนย์รวมของความเจริญในยุคนั้น เมื่อพระพุทธเจ้าเข้ามาและเผยแพร่ธรรมย่อมได้รับการต่อต้าน แต่ในที่สุดก็สามารถทำให้ผู้คนเข้าถึงทำความเป็นจริงได้ แม้ในปัจจุบันเมืองนี้ก็ยังมีการซื้อขายข้าวของเครื่องใช้และสินค้าที่มีชื่อเสียงที่สุดก็คือผ้ากาสี(ผ้ากาสิกพัสตร์) และผ้าอื่นๆ อีกมากมาย ที่มีการขายตั้งแต่ในอดีตจนถึงปัจจุบันยังคงดำรงไว้

สถูป ที่เป็นเหมือนเครื่องหมาย บอกจุดสำคัญของการโปรดปัญจวัคคีย์ทั้ง 5 ก็คือสถูปที่สร้างขึ้นเพื่อให้ชาวพุทธทั่วโลกมาสักการะน้อมระลึกนึกถึง พระพุทธองค์ นอกจากนี้ ยังมีเสาอโศกที่หักชำรุด ที่จารึกด้วยภาษาพราหมีเพื่อบ่งบอกว่า ที่นี่คือสถานที่สำคัญอย่างไรเกี่ยวกับพุทธศาสนา




ผู้ใดที่ชอบธรรมะในด้านปัญญา ถ้าได้มีโอกาสเดินทางมาที่สารนาถในปัจจุบัน หรือในอดีตที่เรียกว่าพาราณสี แล้วได้มา บำเพ็ญภาวนา จะทำให้จิตใจสงบ และพบปัญญาตามวาสนาแห่งตน นี้เป็นความเชื่อที่หลวงปู่,หลวงพ่อ,ครูบาอาจารย์ทั้งหลาย ได้ถ่ายทอดบอกแก่ศิษย์ทั้งหลาย จากอดีตถึงปัจจุบัน

นอกจากนี้ที่นี่ยังมีพิพิธภัณฑ์ ที่เก็บสะสมพระพุทธรูปและของเก่าโบราณ ที่ขุดค้นพบได้รวบรวมเอาไว้ให้ชาวพุทธได้ศึกษา เป็นของเก่าที่มีคุณค่าและบ่งบอกถึงอารยธรรมวัฒนธรรมต่างๆ ของศาสนา






ผู้ใดที่มีโอกาสเดินทางไป 4 สังเวชนียสถาน เมื่อเดินทางไปถึง สารนาถหรือพาราณสี นอกจากปฏิบัติธรรมอธิษฐานแล้ว หลายคนพึงปรารถนาไปดูนรกสวรรค์บนดิน ด้วยการล่องเรือบนแม่น้ำคงคา ด้านหนึ่งมีการเผาศพ ที่เชื่อกันว่าไฟไม่เคยดับมา 2,000 กว่าปี มีผู้คนเข้าคิวรอถูกเผาอยู่ตลอดเวลา อีกฝั่งนึงไม่มีผู้อยู่อาศัยเป็นป่า องค์การรกร้าง เรียกว่าฝั่งนรก และนี่เป็นความเชื่อของลัทธิวัฒนธรรมของคนท้องถิ่น

พาราณสีให้ธรรมะหลากหลายมิติ ได้มอง, ได้เห็น, ได้คิด สามารถทำให้จิตสงบได้ ตามความเป็นจริงกับสิ่งที่เห็น ถ้าใครได้ไปย่อมได้สัมผัส แล้วจะเข้าใจชีวิตมากขึ้น ว่าโลกนี้ไม่ได้มีแต่เราที่เป็นทุกข์ ไม่ได้มีแต่เราที่ลำบาก เมื่อเรารู้และเข้าใจความจริงตามนี้ ใจเราจะปล่อยวางได้ เบาได้ และมีความสุขมากขึ้น โดยธรรมชาติอย่างแท้จริง


 


Thank to : https://www.thansettakij.com/blogs/lifestyle/horoscope/586730
01 กุมภาพันธ์ 2567 | คอลัมน์ ทำมา ธรรมะ โดย ราชรามัญ
166  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / กรมศิลปากรผนึกกำลังภาคประชาชน ร่วมอนุรักษ์ คัมภีร์ใบลาน วัดราชประดิษฐฯ เมื่อ: กุมภาพันธ์ 01, 2024, 08:26:17 am
.



กรมศิลปากรผนึกกำลังภาคประชาชน ร่วมอนุรักษ์ คัมภีร์ใบลาน วัดราชประดิษฐฯ

นายพนมบุตร จันทรโชติ อธิบดีกรมศิลปากร เปิดเผยว่า กรมศิลปากร โดยสำนักหอสมุดแห่งชาติ ได้ดำเนินโครงการความร่วมมือระหว่างวัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมารามกับกรมศิลปากร เพื่อเผยแพร่ผลงานการอนุรักษ์จัดเก็บคัมภีร์ใบลานวัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม โดยมีอาสาสมัครและบุคลากรที่เกี่ยวข้อง รวม 25 คน ทำการสำรวจ อนุรักษ์ ลงทะเบียน จัดเก็บคัมภีร์ใบลานตามหลักวิชาการ ระหว่างวันที่ 30 มกราคม – 30 เมษายน 2567

ซึ่งเป็นไปตามนโยบายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรมในการส่งเสริม และสนับสนุนให้ประชาชนมีส่วนร่วมขับเคลื่อนงานด้านวัฒนธรรม




วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม เป็นวัดสำคัญแห่งกรุงรัตนโกสินทร์และมีคัมภีร์ใบลานพระไตรปิฎกบรรจุกล่องอยู่ในหอพระไตรปิฎก ซึ่งคัมภีร์ใบลานวัดราชประดิษฐฯ สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 4 ประดิษฐานอยู่ ณ พระที่นั่งอนันตสมาคมเดิมภายในพระบรมมหาราชวัง ภายหลังในสมัยรัชกาลที่ 5 มีพระราชดำริให้อัญเชิญคัมภีร์ใบลานพระไตรปิฎกดังกล่าวไปประดิษฐาน ณ หอพระไตรปิฎกวัดราชประดิษฐฯ

โดยบรรจุไว้ในกล่องพระธรรม  ทำด้วยไม้มีขนาดพอเหมาะกับคัมภีร์ชุดหนึ่งๆ หรือหมวดหนึ่งๆ ตามพระไตรปิฎก ด้านสันกล่องได้จารึกหมวดหมู่ชื่อเรื่องด้วยอักษรขอม ภาษาบาลี และภาษาบาลี-ไทย ลักษณะคล้ายประดับเกล็ดหอยฝังเนื้อไม้ วางเรียงไว้ตามชั้นต่างๆ ในตู้พระธรรมซึ่งสร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 6 อยู่ในฐานะเอกสารโบราณที่ควรอนุรักษ์จัดเก็บอย่างเป็นระบบเพื่อการศึกษา ค้นคว้าและเผยแพร่ต่อสาธารณชน






ทั้งนี้ นักภาษาโบราณ สำนักหอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร ได้นำอาสาสมัครเข้าสำรวจตรวจสอบปริมาณกล่องคัมภีร์อย่างละเอียด พบกล่องคัมภีร์ใบลานจำนวนทั้งสิ้น 87 กล่อง สภาพกล่องชำรุดเสียหาย ภายในกล่องพบคัมภีร์อยู่ในสภาพชำรุดมาก แยกเป็น 3 ลักษณะ ได้แก่

คัมภีร์ใบลานที่จับผลึก ติดแน่น แข็งเป็นท่อน คัมภีร์ใบลานชำรุด พลัดผูก หัก งอ ผิดรูป และคัมภีร์ใบลาน ถูกแมลงสัตว์กัดกิน เป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย ป่นเป็นผง เมื่อประเมินปริมาณงานที่ต้องดำเนินการแล้ว มีคัมภีร์ใบลานที่ชำรุดไม่สามารถจัดหมวดหมู่ ชื่อเรื่อง ลงทะเบียนได้ประมาณ 80% ของคัมภีร์ที่มีอยู่ทั้งหมด

ส่วนอีก 20% สามารถดำเนินการต่อในขั้นตอนตามหลักวิชาการได้ เช่น ทำความสะอาด เปลี่ยนสายสนอง อ่านวิเคราะห์ชื่อเรื่อง ออกเลขทะเบียน

สำหรับแนวทางในการดำเนินงาน สำรวจ อนุรักษ์ จัดเก็บ คัมภีร์ใบลานชำรุดมากทั้ง 3 ลักษณะนั้น จะมีการทำความสะอาด เขียนป้ายบอกลักษณะชำรุด ห่อ มัด และจัดเก็บอย่างเป็นระเบียบ เพื่อประโยชน์ต่อการศึกษาลักษณะทางกายภาพของคัมภีร์ ส่วนคัมภีร์ใบลานที่สามารถอ่านศึกษาเนื้อหาได้ จะได้ดำเนินการตามหลักวิชาการในการอนุรักษ์ ทำทะเบียน และจัดเก็บต่อไป 








อธิบดีกรมศิลปากร กล่าวว่า โครงการดังกล่าวเป็นการบูรณาการความร่วมมือและสร้างการรับรู้ระหว่างคณะสงฆ์ กรมศิลปากร และภาคส่วนประชาชน เพื่ออนุรักษ์สืบสานคัมภีร์ใบลานซึ่งเป็นมรดกภูมิปัญญาของบรรพชนให้มีอายุยืนยาว อีกทั้งยังเกิดเครือข่ายอาสาสมัครอนุรักษ์เอกสารโบราณ ส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการดูแลและส่งต่อมรดกภูมิปัญญาให้สืบทอดจากรุ่นสู่รุ่นสืบไป










Thank to : https://www.finearts.go.th/promotion/view/47101-กรมศิลปากรผนึกกำลังภาคประชาชนร่วมอนุรักษ์คัมภีร์ใบลานวัดราชประดิษฐฯ
167  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / "หลวงพ่อโต" วัดป่าเลไลยก์ บูรณะปิดทองคำแท้แล้วเสร็จ เปิดให้เข้าสักการะ เมื่อ: กุมภาพันธ์ 01, 2024, 08:16:40 am
.



"หลวงพ่อโต" วัดป่าเลไลยก์ บูรณะปิดทองคำแท้แล้วเสร็จ เปิดให้เข้าสักการะ

อร่ามเรืองรอง! หลวงพ่อโต วัดป่าเลไลยก์วรวิหาร จ.สุพรรณบุรี บูรณะปิดทองคำแท้แล้วเสร็จ เปิดให้พุทธศาสนิกชนเข้าสักการะแล้ว

วันที่ 31 มกราคม 2567 ที่ วิหารหลวงพ่อโต วัดป่าเลไลยก์วรวิหาร จ.สุพรรณบุรี พระธรรมพุทธิมงคล ที่ปรึกษาเจ้าคณะภาค 14 และเจ้าอาวาสวัดป่าเลไลยก์วรวิหาร ประธานฝ่ายสงฆ์และคณะศรัทธาบูรณะองค์หลวงพ่อโต จัดพิธีบวงสรวงเปิดพระแม่ธรณี บวงสรวงเทพเทวดาและเทพเทวาเจริญพระพุทธมนต์ ถวายห่มผ้าองค์หลวงพ่อโตเพื่อบูชาองค์สมเด็จพระสัมมาพุทธเจ้า

โดยมี หลวงพ่อสมชาย พระเกจิสายเมตตาแห่งเมืองสุพรรณบุรี เจ้าอาวาสวัดไผ่แปลกแม่ พร้อมด้วยพระเกจิคณาจารย์ชื่อดังหลายรูปและพุทธศาสนิกชน




นักท่องเที่ยวสายบุญต่างร่วมพิธีอันศักดิ์สิทธิ์นี้กันเป็นจำนวนมากเพราะเป็นครั้งแรกที่ทางวัดเปิดให้เข้าไปในวิหารสักการะหลวงพ่อโตหลังจากปิดบูรณะปิดทองคำแท้หลวงพ่อโตมากว่า 1 ปี

ซึ่งโครงการบูรณะซ่อมแซมและลงรักปิดทององค์หลวงพ่อโตประกอบด้วยวัดป่าเลไลยก์วรวิหาร สำนักศิลปากรที่ 2 สุพรรณบุรี และคณะจิตศรัทธาภาคประชาชนร่วมกันบูรณะซ่อมแซมและทำการลงรักธรรมชาติแบบโบราณ และถวายงานปิดทองดีมือทองคำแท้กิมซัว99.99% ซึ่งมีการลอกทององค์หลวงพ่อโตออกเพื่อปิดทองคำแท้ 100% พร้อมเปิดให้นักท่องเที่ยวสายบุญเข้าไปชมความสวยงามองค์หลวงพ่อโตได้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป




นอกจากนี้ นักท่องเที่ยวสายบุญชาวสุพรรณบุรียังได้กราบไหว้ขอพรหลวงพ่อโตให้คุ้มครองดวงเมืองและชาวสุพรรณบุรีให้พ้นเคราะห์หลังจากเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันหลายเหตุการณ์ติดต่อกัน

โดย อาจารย์ถนัด ยันต์ทอง นักปราชญ์สุพรรณบุรี สำนักโหราศาสตร์ขรัวตาจู ได้เล่าให้ฟังว่าช่วงนี้ดวงเมืองสุพรรณบุรีวางลัคนาไว้ที่ราศรีพฤกษ มีดาวมฤตยูทับลัคนาตั้งแต่ 8 มีนาคม 2566 ถึง 18 มกราคม 2572 เพราะดาวมฤตยูเป็นดาวพระเคราะห์แห่งทุกข์อาเพศหมายถึงความไม่แน่นอนดีได้ร้ายได้ และยังหมายถึงความตายให้โทษมากกว่าให้คุณ

เมื่อเคลื่อนโคจรไปจุดใดมักส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่และสร้างสิ่งใหม่เกิดขึ้นอยู่เสมอ ส่งผลให้ดวงเมืองมีทั้งเรื่องดีและร้าย








นอกจากนักท่องเที่ยวสายบุญสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ ภายในวัดแล้วยังได้ถือโอกาสชมวิถีไทยย้อนยุคร่วมทำบุญตักบาตรทางน้ำที่สวนกล้วยสุพรรณบุรี และเดินชมธรรมชาติศึกษาสายพันธุ์กล้วย 222 ชนิด ใหญ่ที่สุดในภาคกลาง หลังวัดป่าเลไลยก์วรวิหารกันอย่างคึกคัก

สำหรับ องค์หลวงพ่อโต พระพุทธรูปปางป่าเลไลยก์ ศิลปะสมัยอู่ทองสุพรรณภูมิ องค์พระสูงประมาณ 23.46 เมตร รอบองค์ 11.20 เมตร ซึ่งเป็นพระพุทธรูปที่เก่าแก่ประดิษฐานคู่บ้านคู่เมืองอยู่คู่ประเทศไทยมาหลายร้อยปี






Thank to : https://www.amarintv.com/news/detail/204846
31 ม.ค. 67
168  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / ส่องโมเดลนำร่อง..ตั้งศูนย์กฎหมายเพื่อคณะสงฆ์.!! เมื่อ: มกราคม 31, 2024, 07:51:32 am

.



ส่องโมเดลนำร่อง..ตั้งศูนย์กฎหมายเพื่อคณะสงฆ์.!!
   
การจัดตั้ง “ศูนย์พระวินยาธิการระดับอำเภอ”  ศูนย์กฏหมายเพื่อคณะสงฆ์ หรือ ศูนย์คุ้มครองพระสงฆ์ แล้วแต่จะเรียก ถือว่าเป็นการดำเนินการนำร่องของคณะสงฆ์ เนื่องจากตอนนี้ยังไม่มีเขตปกครองคณะสงฆ์ภาคใด ได้ดำเนินการอย่างที่คณะสงฆ์ภาค 6 ทำ  การจัดตั้งศูนย์ดังกล่าวกำหนดให้ทุกจังหวัด ทุกเขตอำเภอ ในเขตปกครองคณะสงฆ์ภาค 6 ดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 30 กันยายน 2567 

ซึ่งในขณะนี้ มีจังหวัดเชียงรายได้ดำเนินการจัดตั้งครบทุกอำเภอแล้ว การจัดตั้งนี้ก็เพื่อเป็นการสนองนโยบายมหาเถรสมาคมและดำเนินการตามแผนพัฒนากิจการคณะสงฆ์ฉบับที่ 2 (2565-2569) อีกด้วย  ซึ่งหวังว่าการจัดตั้งศูนย์ดังกล่าวจะแก้ปัญหาด้านกฎหมาย ข้อพิพาทของคณะสงฆ์และชุมชนได้ระดับหนึ่ง ”

กิจกรรมนี้นี้ถือว่าเป็น “ความก้าวหน้า” ประการหนึ่งของคณะสงฆ์ภาค 6 ภายใต้การบังคับบัญชาการของ “พระเทพเวที” หรือ “เจ้าคุณพล”

โครงการจัดตั้ง “ศูนย์พระวินยาธิการระดับอำเภอ”  หรือ “ศูนย์กฎหมายเพื่อคณะสงฆ์”  นี้ ภาคอื่น ๆ ที่เหลือ อีก 17 ภาค ทั้งคณะสงฆ์มหานิกายและคณะธรรมยุต ควรนำไปเป็นแบบอย่าง เพราะหากพระคุณเจ้า จะรอให้รัฐบาลชุดนี้หรือชุดหน้าหรือชาติหน้า คลอด พ.ร.บ.อุปถัมภ์และคุ้มครองพระพุทธศาสนานั่น..ยากยิ่งกว่าเข็นครกขึ้นภูเขา

ทางออกมีทางเดียว..เป็นทางสายเอกคือ ตนแลเป็นที่พึ่งแห่งตน จับมือกันแล้วเดินไปด้วยกันอย่างที่ภาค 6 นำโดย พระเทพเวที หรือ “เจ้าคุณพล”  ทำ

@@@@@@@

“เปรียญสิบ”เคยได้ยินแว่วๆเมื่อหลายเดือนก่อนว่า สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติจะจับมือกับสภาทนายความ จัดอบรมถวายความรู้เรื่องกฎหมายให้กับคณะสงฆ์ และจะทำในลักษณะคล้ายกับคณะสงฆ์ภาค 6 ทำนี้

แต่!! แล้วกระแสนี้ก็ “จ่างหาย”ไป เมื่อเจอนโยบายเร่งด่วนของ “รัฐมนตรีแจ๋น” เข้าไป

หลายปีมานี้ “สังคมสงฆ์” มีข่าวเสื่อมเสียมากมายทั้งจากจากภายในคณะสงฆ์เองและภัยที่มาจากภัยนอก..ต่างคนต่างอยู่ ต่างคนต่างสู้ ใครอ่อนแอก็แพ้ไป ใครมีทุน มีเครือข่ายหน่อยก็พอ..ก้มหน้าอยู่ต่อได้

โดยเฉพาะพระสงฆ์ต่างจังหวัด เจ้าอาวาสต่างจังหวัด หลายวัดประสบกับปัญหาด้านกฎหมายทั้งเรื่อง “คนหัวดำอยากเทศน์” อยากคุมวัด  ทั้งเรื่องที่ดินวัด ทั้งเรื่องเงินกฐินผ้าป่า พระสงฆ์ถูกใส่ร้ายจากคนไม่ชอบพอกันก็มีมาก ไม่รู้จะไปพึ่งใคร จะวิ่งหา “ทนายความ” บางคนก็เรียกแพง ซ้ำบางคนเลี้ยงคดี  หลายรูปเสียเงินเป็นแสน เป็นล้าน กับคนพวกนี้


@@@@@@@

“ศูนย์กฎหมายเพื่อคณะสงฆ์” เป็นเรื่องที่ “มหาเถรสมาคม” ควรขบคิดว่าเป็นไปได้หรือไม่ที่จะมีกระจายไปครบทุกภาค ทุกจังหวัด เหมือนอย่างที่คณะสงฆ์ภาค 6 เขาทำ  และศูนย์กฎหมายแบบนี้ควรมีไม่เฉพาะในประเทศไทยเท่านั่น..แม้ต่างประเทศที่มีวัดไทยจำนวน 10 -20 วัดขึ้นไปก็ควรมี เพราะสถานการณ์วัดและพระธรรมทูตไทยในต่างแดนหลายแห่งก็มีปัญหาด้านกฎหมาย

ซึ่งหาก “มหาเถรสมาคม” พยักหน้าคิดว่า คนทำงานและเงินทุนคงหาได้ไม่ยาก  ส่วนรูปแบบการจัดตั้งก็มีโมเดลภาค 6 นำร่องให้ดูเป็นตัวอย่างแล้ว

“เปรียญสิบ” ขอชื่นชมคณะสงฆ์ภาค 6 ที่พวกพระคุณเจ้ากล้าคิด กล้าทำ กล้าดึงเครือข่าย ซึ่งมีทั้งทหาร ตำรวจ ปกครอง  ท้องถิ่น ชาวบ้านมาร่วมเป็นทีมงาน

ในขณะที่มหาเถรสมาคมและสงฆ์ภาคอื่นยังหลับไม่ตื่น.!!





ขอขอบคุณ :-
คอลัมน์ : ริ้วผ้าเหลือง
URL : https://thebuddh.com/?p=76988
169  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / เช็ค.! รายชื่อ มติ มส.แต่งตั้งพระสังฆาธิการ หลายรูป เมื่อ: มกราคม 31, 2024, 07:45:12 am
.



เช็ค.! รายชื่อ มติ มส.แต่งตั้งพระสังฆาธิการ หลายรูป – ตั้ง รก.เจ้าอาวาสวัดมหาพฤฒาราม กรุงเทพฯ

วันอังคารที่ ๓๐ มกราคม ๒๕๖๗ เมื่อเวลา ๑๔.๐๐ น. ณ ตำหนักเพ็ชร วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพมหานคร สมเด็จพระธีรญาณมุนี เป็นประธานในการประชุมมหาเถรสมาคม ซึ่งก่อนเริ่มการประชุมมหาเถรสมาคม นายอินทพร จั่นเอี่ยม รองผู้อำนวยการ รักษาราชการแทนผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ เป็นผู้เชิญปฏิทินหลวง พุทธศักราช ๒๕๖๗ ถวายแด่กรรมการมหาเถรสมาคมที่เข้าร่วมประชุม และกราบทูลถวายเปิดการประชุม พร้อมด้วยผู้เกี่ยวข้อง เข้าร่วมประชุม

โดยหลังการประชุมเสร็จสิ้น คณะโฆษกสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ได้แถลงข่าวการประชุมมหาเถรสมาคม ประจำปีพุทธศักราช ๒๕๖๗ โดยมีวาระการประชุมมหาเถรสมาคมเฉพาะการแต่งตั้งพระสังฆาธิการทั่วประเทศมีรายละเอียดดังนี้


@@@@@@@@

๑. มติมหาเถรสมาคมอนุมัติ เรื่อง การแต่งตั้งพระสังฆาธิการให้ดำรงตำแหน่งรองเจ้าคณะจังหวัดสกลนคร จำนวน ๑ ตำแหน่ง ดังนี้
    - พระครูกิตติธรรมนิวิฐ (ณรงค์ศักดิ์) ฉายา ฐิตธมฺโม อายุ ๖๕ พรรษา ๕๕ วัดพระธาตุเชิงชุม วรวิหาร ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมืองสกลนคร จังหวัดสกลนคร ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดพระธาตุเชิงชุม วรวิหาร และเจ้าคณะอำเภอโพนนาแก้ว ให้ดำรงตำแหน่งรองเจ้าคณะจังหวัดสกลนคร เป็นรูปที่ ๓

๒. มติมหาเถรสมาคมอนุมัติ เรื่อง การแต่งตั้งพระสังฆาธิการให้ดำรงตำแหน่งรองเจ้าคณะจังหวัดมหาสารคาม จำนวน ๓ ตำแหน่ง ดังนี้
     - พระครูพิศาลโพธิธรรม (อภิชาติ) ฉายา อภิชาโต อายุ ๕๕ พรรษา ๓๑ วัดศรีมหาโพธิ์ ตำบลคันธารราษฎร์ อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง เจ้าอาวาสวัดศรีมหาโพธิ์ และเจ้าคณะอำเภอกันทรวิชัย ให้ดำรงตำแหน่งรองเจ้าคณะจังหวัดมหาสารคาม เป็นรูปที่ ๓
     - พระครูสารกิจประยุต (กาบ) ฉายา ฐานทตฺโต อายุ ๖๖ พรรษา ๔๕ วัดธัญญาวาส ตำบลลาด อำเภอเมืองมหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง เจ้าอาวาสวัดธัญญาวาส และรองเจ้าคณะอำเภอเมืองมหาสารคาม ให้ดำรงตำแหน่งรองเจ้าคณะจังหวัดมหาสารคาม เป็นรูปที่ ๔
     - พระมหาอรรถพงษ์ ฉายา สิริโสภโณ อายุ ๓๗ พรรษา ๑๗ วัดมหาชัย พระอารามหลวง ตำบลตลาด อำเภอเมืองมหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดมหาชัย พระอารามหลวง ให้ดำรงตำแหน่งรองเจ้าคณะจังหวัดมหาสารคาม ที่กำกับดูแลที่พักสงฆ์

๓. มติมหาเถรสมาคมอนุมัติ เรื่อง การแต่งตั้งพระสังฆาธิการให้ดำรงตำแหน่งรองเจ้าคณะจังหวัดยโสธร จำนวน ๑ รูป ดังนี้
     - พระครูอนุรักษ์วรดิตถ์ (จินดา) ฉายา จินฺตมโย อายุ ๖๖ พรรษา ๔๔ วัดสิงห์ท่า ตำบลในเมือง อำเภอเมืองยโสธร จังหวัดยโสธร ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง เจ้าอาวาสวัดสิงห์ท่า และเจ้าคณะอำเภอเมืองยโสธร ให้ดำรงตำแหน่งรองเจ้าคณะจังหวัดยโสธร

@@@@@@@

๔. มติมหาเถรสมาคมอนุมัติ เรื่อง การแต่งตั้งพระสังฆาธิการให้ดำรงตำแหน่งรองเจ้าคณะจังหวัดนครราชสีมา จำนวน ๗ รูป ดังนี้
     - พระโสภณปริยัติวิธาน (สนั่น) ฉายา รตนโชโต วัดสะแก ตำบลในเมือง อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง เจ้าอาวาสวัดสะแก พระอารามหลวง และเจ้าคณะอำเภอเมืองนครราชสีมา ให้ดำรงตำแหน่งรองเจ้าคณะจังหวัดนครราชสีมา เป็นรูปที่ ๓
     - พระเมธีสุตาภรณ์ (เหมือน) ฉายา  อุปมงฺกโร อายุ ๖๔ พรรษา ๔๔ วัดคีรีวันต์ ตำบลปากช่อง อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง เจ้าอาวาสวัดคีรีวันต์ และเจ้าคณะอำเภอปากช่อง ให้ดำรงตำแหน่งรองเจ้าคณะจังหวัดนครราชสีมา เป็นรูปที่ ๔
     - พระศรีวชิรานุวัตร (พงษ์เชฏฐ์) ฉายา ธีรวํโส อายุ ๕๒ พรรษา ๓๑ วัดพายัพ ตำบลในเมือง อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง เจ้าอาวาสวัดพายัพ พระอารามหลวง ให้ดำรงตำแหน่งรองเจ้าคณะจังหวัดนครราชสีมา เป็นรูปที่ ๕
     - พระมหาวิเชียร ฉายา กลฺยาโณ อายุ ๕๙ พรรษา ๓๙ วัดหนองเข้ ตำบลสุขไพบูลย์ อำเภอเสิงสาง จังหวัดนครราชสีมา ปัจจุบันดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดหนองเข้ และเจ้าคณะอำเภอเสิงสาง ให้ดำรงตำแหน่งรองเจ้าคณะจังหวัดนครราชสีมา เป็นรูปที่ ๖
     - พระครูโกวิทกิตติสาร (ธนเกียรติ) ฉายา โกวิโท อายุ ๖๑ พรรษา ๔๑ วัดโนนหมัน ตำบลหนองงูเหลือม อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดนครราชสีมา ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง เจ้าอาวาสวัดโนนหมัน และเจ้าคณะอำเภอเฉลิมพระเกียรติ ให้ดำรงตำแหน่งรองเจ้าคณะจังหวัดนครราชสีมา เป็นรูปที่ ๗
     - พระครูปริยัติสีมาภรณ์ (สมคิด) ฉายา ปคุโณ อายุ ๖๐ พรรษา ๒๗ วัดบึง ตำบลในเมือง  อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดบึง พระอารามหลวง เลขานุการเจ้าคณะจังหวัดนครราชสีมา และรองเจ้าคณะอำเภอจักราช ให้ดำรงตำแหน่งรองเจ้าคณะจังหวัดนครราชสีมา เป็นรูปที่ ๘
     - พระครูปริยัติธรรมภาณี (สุรวุฒิ) ฉายา ปิยภาณี อายุ ๕๘ พรรษา ๓๘ วัดดอนขวาง ตำบลหัวทะเล อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวันครราชสีมา ปัจจุบันดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดดอนขวาง ผู้อำนวยการศูนย์ประสานงานคณะสงฆ์ภาค ๑๑ และรองเจ้าคณะอำเภอเมืองนครราชสีมา ให้ดำรงตำแหน่งรองเจ้าคณะจังหวัดนครราชสีมา ที่กำกับดูแลที่พักสงฆ์

๕. มติมหาเถรสมาคมอนุมัติ เรื่อง การแต่งตั้งพระสังฆาธิการให้ดำรงตำแหน่งรองเจ้าคณะจังหวัดบุรีรัมย์ จำนวน ๓ รูป ดังนี้
     - พระมงคลสุตกิจ (บุญถิ่น) ฉายา ปุญฺญสิริ อายุ ๕๕ พรรษา ๓๕ วัดกลาง ตำบลในเมือง อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดกลาง พระอารามหลวง เลขานุการเจ้าคณะจังหวัดบุรีรัมย์ และเจ้าคณะอำเภอห้วยราช ให้ดำรงตำแหน่งรองเจ้าคณะจังหวัดบุรีรัมย์ เป็นรูปที่ ๓
     - พระวชิรกิตติบัณฑิต (ทองขาว) ฉายา กิตฺติธโร อายุ ๖๖ พรรษา ๔๖ วัดนายาว ตำบลเสาเดียว อำเภอหนองหงส์ จังหวัดบุรีรัมย์ ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง เจ้าอาวาสวัดนายาว และรองเจ้าคณะอำเภอหนองหงส์ ให้ดำรงตำแหน่งรองเจ้าคณะจังหวัดบุรีรัมย์ เป็นรูปที่ ๔
     - พระครูสิริคณารักษ์ (ผล) ฉายา ปิยธมฺโม อายุ ๕๘ พรรษา ๓๙ วัดจำปา ตำบลประโคนชัย อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์ ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง เจ้าอาวาสวัดจำปา และเจ้าคณะอำเภอประโคนชัย ให้ดำรงตำแหน่งรองเจ้าคณะจังหวัดบุรีรัมย์ ที่กำกับดูแลที่พักสงฆ์




๖. มติมหาเถรสมาคมอนุมัติ เรื่อง การแต่งตั้งพระสังฆาธิการให้ดำรงตำแหน่งรองเจ้าคณะจังหวัดชัยภูมิ จำนวน ๓ รูป ดังนี้
     - พระปริยัติกิจวิธาน (สมวงษ์) ฉายา สีลภูสิโต อายุ ๗๓ พรรษา ๕๑ วัดชัยภูมิวนาราม ตำบลในเมือง อำเภอเมืองชัยภูมิจังหวัดชัยภูมิ ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง เจ้าอาวาสวัดชัยภูมิวนาราม และเจ้าคณะอำเภอเมืองชัยภูมิ ให้ดำรงตำแหน่งรองเจ้าคณะจังหวัดชัยภูมิ
     - พระครูสิริวชิรากร (สมพร) ฉายา อริยปญฺโญ อายุ ๗๒ พรรษา ๔๙ วัดวิเชียรธรรมาราม ตำบลบ้านแท่น อำเภอบ้านแท่น  จังหวัดชัยภูมิ ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง เจ้าอาวาสวัดวิเชียรธรรมาราม และเจ้าคณะอำเภอบ้านแท่น ให้ดำรงตำแหน่งรองเจ้าคณะจังหวัดชัยภูมิ เป็นรูปที่ ๓
     - พระครูพิทักษ์ชยานุกิจ (กิตติพศ) ฉายา สุมโน อายุ ๖๖ พรรษา ๓๔ วัดชัยภูมิพิทักษ์ ตำบลกุดชุมแสง อำเภอหนองบัวแดง จังหวัดชัยภูมิ ปัจจุบันดำรงตำแหน่งเจ้าคณะอำเภอเกษตรสมบูรณ์ ให้ดำรงตำแหน่งรองเจ้าคณะจังหวัดชัยภูมิ ที่กำกับดูแลที่พักสงฆ์

๗. มติมหาเถรสมาคมอนุมัติ เรื่อง ขอเสนอแต่งตั้งที่ปรึกษาเจ้าคณะภาค ๙ ที่ปรึกษาเจ้าคณะจังหวัดขอนแก่น และที่ปรึกษาเจ้าคณะอำเภอชนบท รวมจำนวน ๖ รูป ดังนี้
     - พระครูปริยัติสารโกศล (สอน) ฉายา รวิวณฺโณ อายุ ๙๐ พรรษา ๗๐ เจ้าอาวาสวัดสระแก้ว ตำบลเก่างิ้ว อำเภอพล จังหวัดขอนแก่น ที่ปรึกษาเจ้าคณะจังหวัดขอนแก่น ให้เป็นที่ปรึกษาเจ้าคณะภาค ๙
     - พระครูศรีวิสุทธิสารเมธี (ปาน) ฉายา สุขจิตฺโต อายุ ๘๙ พรรษา ๖๘ เจ้าอาวาสวัดดงกลาง ตำบลบ้านโต้น อำเภอพระยืน จังหวัดขอนแก่น ที่ปรึกษาเจ้าคณะอำเภอพระยืน ให้เป็นที่ปรึกษาเจ้าคณะจังหวัดขอนแก่น
     - พระครูรัตนทีปาภิบาล (บัวลา) ฉายา พุทฺธวโร อายุ ๘๔ พรรษา ๖๓ เจ้าอาวาสวัดเกาะแก้ว ตำบลหนองบัว อำเภอบ้านฝาง จังหวัดขอนแก่น  ที่ปรึกษาเจ้าคณะอำเภอบ้านฝาง ให้เป็นที่ปรึกษาเจ้าคณะจังหวัดขอนแก่น
     - พระครูมงคลสารกิจ (ทองหลาง) ฉายา ฉินฺนาลโย อายุ ๘๐ พรรษา ๖๐ เจ้าอาวาสวัดศิริชัยมงคล ตำบลป่าปอ อำเภอบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น เจ้าคณะอำเภอบ้านไผ่ ให้เป็นที่ปรึกษาเจ้าคณะจังหวัดขอนแก่น
     - พระครูมัชฌิมธรรมโสภณ (วุฒิพัน) ฉายา โสภโณ อายุ ๖๗ พรรษา ๔๗ เจ้าอาวาสวัดกลาง ตำบลในเมือง อำเภอเมืองขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น เจ้าคณะตำบลในเมือง เขต ๑ ให้เป็นที่ปรึกษาเจ้าคณะจังหวัดขอนแก่น
     - พระครูวิบูลสารโสภณ (บุญเต็ม) ฉายา ชนาสโภ อายุ ๘๓ พรรษา ๔๕ เจ้าอาวาสวัดศรีภูบาล ตำบลห้วยแก อำเภอชนบท จังหวัดขอนแก่น ที่ปรึกษาเจ้าคณะตำบลห้วยแก ให้เป็นที่ปรึกษาเจ้าคณะอำเภอชนบท

๘. มติมหาเถรสมาคมรับทราบ เรื่อง รายงานการแต่งตั้งผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาสพระอารามหลวง ดังนี้
     - พระธรรมสุธี (นรินทร์) ฉายา นรินฺโท อายุ ๘๐ พรรษา ๖๐ วัดหัวลำโพง พระอารามหลวง แขวงสี่พระยา เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร ปัจจุบันดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดหัวลำโพง พระอารามหลวง และที่ปรึกษาเจ้าคณะภาค ๑ เป็นผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาสวัดมหาพฤฒาราม วรวิหาร กรุงเทพมหานคร

@@@@@@@

๙. มติมหาเถรสมาคมอนุมัติ เรื่อง เสนอขอแต่งตั้งพระสังฆาธิการขึ้นเป็นที่ปรึกษาเจ้าคณะ ดังนี้
     - พระครูสุทธิสารนันท์ (เผชิญ) ฉายา นนฺทิสาโร อายุ ๘๖ พรรษา ๖๖ วัดท่าสุทธาวาส ตำบลบางเสด็จ อำเภอป่าโมก จังหวัดอ่างทอง ปัจจุบันดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดท่าสุทธาวาส และที่ปรึกษาเจ้าคณะอำเภอป่าโมก ให้เป็นที่ปรึกษาเจ้าคณะจังหวัดอ่างทอง
     - พระเทพสุวรรณนี (ประถม) ฉายา กนฺตสีโล อายุ ๗๗ พรรษา ๕๕ วัดต้นสน ตำบลตลาดหลวง อำเภอเมืองอ่างทอง จังหวัดอ่างทอง ปัจจุบันดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดต้นสน และเจ้าคณะจังหวัดอ่างทอง ให้เป็นที่ปรึกษาเจ้าคณะภาค ๒
     - พระครูพิศาลประชานุกิจ (ดำรงค์) ฉายา จกฺกวโร อายุ ๘๐ พรรษา ๕๘ วัดหนองใหญ่ศิริธรรม ตำบลหนองใหญ่ อำเภอหนองใหญ่ จังหวัดชลบุรี ปัจจุบันดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดหนองใหญ่ศิริธรรม และเจ้าคณะอำเภอหนองใหญ่ ให้เป็นที่ปรึกษาเจ้าคณะอำเภอหนองใหญ่

๑๐. มติมหาเถรสมาคมอนุมัติ เรื่อง การเสนอขอแต่งตั้งผู้ช่วยเจ้าอาวาสพระอารามหลวง ในเขตปกครองคณะสงฆ์หนเหนือ จำนวน ๔ รูป ดังนี้
     - พระมหาทองกอ สิริธมฺโม อายุ ๕๖ พรรษา ๓๑ วัดพระบรมธาตุ ตำบลในเมือง อำเภอเมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร ให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดพระบรมธาตุ พระอารามหลวง ชั้นตรี ชนิด สามัญ ในหน้าที่ฝ่ายการศึกษาสงเคราะห์
     - พระมหาพิจิตร ธมฺมวิจิตฺโต อายุ ๓๒ พรรษา ๑๒ วัดท่าหลวง ตำบลในเมือง อำเภอเมืองพิจิตร จังหวัดพิจิตร ให้ดำรงตำแหน่ง ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดท่าหลวง พระอารามหลวง ชั้นตรี ชนิด สามัญ ในหน้าที่ฝ่ายการศึกษา
     - พระครูสมุห์โกเมนทร์ คุณวีโร อายุ ๔๕ พรรษา ๒๓ วัดสวนดอก ตำบลสุเทพ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ ให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดสวนดอก พระอารามหลวง ชั้นตรี ชนิด สามัญ ในหน้าที่ฝ่ายการเผยแผ่
    - พระครูใบฎีกาทิพย์พนากรณ์ ชยาภินนฺโท อายุ ๔๓ พรรษา ๒๑ วัดสวนดอก ตำบลสุเทพ อำเภอเมืองเชียงใหม่จังหวัดเชียงใหม่ ให้ดำรงตำแหน่ง ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดสวนดอก พระอารามหลวง ชั้นตรี ชนิด สามัญ ในหน้าที่ฝ่ายการปกครอง

๑๑. มติมหาเถรสมาคมเห็นชอบ เรื่อง ขอยกพระสังมาธิการขึ้นเป็นที่ปรึกษาเจ้าคณะจังหวัดนราธิวาส จำนวน ๒ รูป ดังนี้
     - พระครูปัญญาประยุต อายุ ๗๙ พรรษา ๕๙ เจ้าอาวาสวัดราษฎร์สโมสร อำเภอรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส และเจ้าคณะอำเภอรือเสาะ – ศรีสาคร ให้เป็นที่ปรึกษาเจ้าคณะจังหวัดนราธิวาส
     - พระครูการุณยนิวิฐ อายุ ๗๙ พรรษา ๕๖ เจ้าอาวาสวัดตันหยงมัส อำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาสและเจ้าคณะอำเภอระเงะ – จะแนะ – เจาะไอร้อง ให้เป็นที่ปรึกษาเจ้าคณะจังหวัดนราธิวาส







Thank to : https://thebuddh.com/?p=77006
ภาพ/ข่าว : กลุ่มประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ
170  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / 4 เครื่องดื่มอันตราย ก่อโรค เมื่อ: มกราคม 31, 2024, 07:22:11 am
.



4 เครื่องดื่มอันตราย ก่อโรค



เครื่องดื่มอันตราย อาจอยู่ในบ้าน โดยไม่รู้ตัว

เครื่องดื่มที่เราเห็นว่ามีหลากหลายชนิดในท้องตลาดนั้นมีการกำหนดความหมายและแบ่งประเภทโดย คณะกรรมการอาหารและยา ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ควบคุมความปลอดภัยและกำหนดมาตรฐานด้านอาหารตั้งแต่จุดเริ่มต้น โดยแบ่งเครื่องดื่มเป็น 2 ประเภทหลักๆ คือ เครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ บางชนิดก็เป็น เครื่องดื่มอันตราย ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้

เครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์ มี 4 ประเภทย่อย

    • น้ำผลไม้ เช่น น้ำผลไม้แท้ น้ำผลไม้ผสม น้ำหวานเข้มข้นผสมน้ำผลไม้
    • เครื่องดื่มอัดแก๊ส เช่น น้ำโซดา น้ำอัดลม
    • เครื่องดื่มกระตุ้นประสาท เช่น ชา กาแฟ เครื่องดื่มชูกำลังหรือเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน
    • น้ำนม เช่น นมสด นมผสมจากนมผง นมปรุงแต่งรส น้ำนมถั่วเหลือง

เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์

ตามพระราชบัญญัติสุรา พ.ศ. 2493 แบ่งเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ออกเป็น 2 ประเภทย่อย

    • สุราแช่หรือเมรัย คือ ผลที่ได้จากการหมักส่า ให้เกิดสุราที่มีความเข้มข้น แอลกอฮอล์ไม่เกิน 15 ดีกรี และไม่มีการกลั่น เช่น เบียร์ ไวน์ แชมเปญ หรือสุรากลั่นจากผลไม้ต่าง ๆ
    • สุรากลั่น คือผลที่ได้จากการหมักส่าให้เกิดมีแอลกอฮอล์แล้วกลั่น และบางชนิดต้องเก็บไว้นานเพื่อให้มีคุณภาพดี อาจปรุงแต่ง ให้มีความเข้มข้นของแอลกอฮอล์ตามความต้องการ เช่น บรั่นดี วิสกี้ เหล้าขาว เชียงชุน





เครื่องดื่มอันตราย ผลกระทบต่อสุขภาพ

รายงานของ สถาบันเด็กแห่งชาติมหาราชินี ระบุว่า ปัจจุบันนี้เด็กไทย 6 ใน 10 คนบริโภคน้ำตาลเกินเกณฑ์มาตรฐานที่องค์การอนามัยโลกแนะนำ ส่วนใหญ่จะมาจากนมหวาน รองลงไปจะเป็นขนมหวานและน้ำอัดลม ส่งผลให้เด็กไทยป่วยด้วยโรคฟันผุ โรคอ้วน เบาหวาน โรคหัวใจ มากขึ้นเป็นประวัติการณ์

ต่อมาในวัยรุ่นและวัยทำงานพบว่า สุราแทบจะกลายเป็นส่วนหนึ่งในชีวิต องค์การอนามัยโลกระบุว่า ประชากรไทยติดอันดับชาติที่ดื่มสุราสูงสุดเป็นอันดับ 5 ของโลก โดยชายวัยทำงานอายุ 20-45 ปี ดื่มสุราสูงสุดถึงร้อยละ 75  เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่วัยรุ่นหญิงนิยมดื่ม ได้แก่ สุราต่างประเทศ สุราผสมผลไม้ หรือ ไวน์คูลเลอร์ เพราะเชื่อว่ามีแอลกอฮอล์น้อยดื่มแล้วไม่เมา ในต่างประเทศมีการวิจัยพฤติกรรมการบริโภคสุราผสมผลไม้ หรือ RTD (Ready To Drink) พบว่า เครื่องดื่มประเภทนี้เป็นประตูบานแรกที่เปิดให้เยาวชนกลายเป็นผู้เสพติดสุราในที่สุด

@@@@@@@

น้ำรสผลไม้ให้แต่น้ำตาล

ส่วนประกอบ

สารแต่งกลิ่น สี รส ปริมาณสารปรุงแต่งเหล่านี้ถึงแม้จะไม่มากแต่ก็ไปสะสมที่ตับและร่างกายส่วนอื่น เพิ่มโอกาสให้เกิดความผิดปรกติของเซลล์จนกลายเป็นมะเร็งได้

เมื่อคุ้นชินกับการดื่มเครื่องดื่มที่มีรสหวานเสียตั้งแต่ยังเล็ก ทำให้เมื่อเติบโตขึ้นเป็นอาการติดน้ำตาล บางรายอาจจะแสดงออกด้วยอาการทางจิต เช่น ซึมเศร้า กระสับกระส่าย เดี๋ยวอารมณ์ดีเดี๋ยวอารมณ์ร้าย สมาธิสั้น มีแนวโน้มที่จะกลายเป็นคนที่มีพฤติกรรมก้าวร้าว

ผลกระทบต่อสุขภาพร่างกาย

เพิ่มโอกาสเสี่ยงโรคอ้วน โรคเบาหวาน โรคหัวใจและหลอดเลือดหัวใจอุดตัน และภาวะไฮโปไกลซีเมีย หรือภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ มีอาการแพ้ที่ผิวหนัง ปรากฏเป็นผื่นคันหรือลมพิษขึ้นเป็นปื้นๆ ตามนิ้ว แขนขาชา ก่อโรคในช่องปาก ฟันผุ





น้ำอัดลมซ่ากว่าที่คิด

ส่วนประกอบ

น้ำตาล : ในน้ำอัดลม 1 กระป๋องขนาด 250 มิลลิลิตร มีปริมาณน้ำตาลราว 3 ช้อนชา
น้ำอัดลมอันตรายน้ำอัดลม 1 กระป๋อง มีน้ำตาล 3 ช้อนชา (วันหนึ่งควรกินไมเกิน 6 ช้อนชา)

กรดคาร์บอนิก : น้ำอัดลมยังมีการปรุงแต่งที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพเพิ่มอีก 2 ประการ ได้แก่ การเติมกรดปรุงแต่งรสในน้ำอัดลม ซึ่งมีค่า ph โดยประมาณเท่ากับ 3.4 ซึ่งค่าความเป็นกรดนี้สามารถกัดกร่อนฟันและกระดูกได้ ส่วนการอัดแก๊สที่เติมเข้าไปอีกนั้นช่วยให้เกิดความซ่าชวนดื่ม อาจทำให้ท้องอืดเพราะมีแก๊สในกระเพาะอาหารมากเกินไป เกิดอาการระคายแก่ผนังกระเพาะอาหาร เสี่ยงต่อการเป็นโรคแผลในกระเพาะอาหารในระยะยาว กระดูกและเคลือบฟันผุกร่อนเร็วกว่าปรกติ ด้วยเหตุนี้ทำให้น้ำอัดลมจึงเป็นเครื่องดื่มต้องห้ามในผู้สูงอายุที่มีปัญหาเกี่ยวกับกระดูกและผู้ป่วยด้วยโรคกระเพาะอาหาร

สารปรุงแต่งรสและสารกันบูด : สารเหล่านี้อาจตกค้างในร่างกายและสะสมในตับ ทำให้การทำงานของตับลดลง ไปสู่โรคเกี่ยวกับตับ เช่น มะเร็งตับ ได้

คาเฟอีน : ส่วนประกอบในน้ำอัดลมประเภทน้ำสีดำที่สกัดได้จากเมล็ดโคคาจึงมีคาเฟอีนตามธรรมชาติอยู่ แม้กระนั้นก็ยังมีการเติมคาเฟอีนเพิ่มในกระบวนการผลิตซ้ำอีก ดังนั้นจึงมีคาเฟอีนเป็นส่วนประกอบในปริมาณสูง เด็กและสตรีมีครรภ์จึงไม่ควรดื่ม ส่วนน้ำอัดลมประเภทที่มีสีใส ประเภทแต่งสีแต่งกลิ่นเลียนแบบผลไม้ แม้ไม่มีคาเฟอีนผสมอยู่แต่ก็มีความหวานจัด

ผลกระทบต่อสุขภาพร่างกาย

ผลจากการดื่มน้ำอัดลมมีให้เห็นในภาพยนต์สารคดีเรื่อง Supersize Me อันโด่งดัง ซึ่งเรื่องจริงของ มอร์แกน สเปอร์ล๊อค ชายหนุ่มชาวอเมริกันผู้ทดลองกินอาหารฟาสต์ฟู้ดและดื่มน้ำอัดลมแก้วโตทุกมื้อติดต่อกัน เป็นเวลา 30 วัน     เมื่อครบกำหนดการทดลอง ปรากฏว่า น้ำหนักตัวของมอร์แกนเพิ่มขึ้นอีกเกือบ 10 กิโลกรัม พุงโย้ กล้ามเนื้อเหี่ยว ร่างกายขาดสารอาหารจำเป็นประเภทวิตามิน เกลือแร่เกือบทุกตัว ตับและไตถูกทำลายไปมากกว่าครึ่ง และแพทย์ลงความเห็นว่า หากมอร์แกนไม่หยุดการทดลองเขาอาจช็อคและเสียชีวิตจากอาการไตวายได้





เครื่องดื่มเกลือแร่ทำลายสุขภาพคุณแน่

เครื่องดื่มประเภทนี้ได้รับการโฆษณาว่า เหมาะกับผู้ที่ออกกำลังกายหรือสูญเสียเหงื่อมาก มีรสหวานและเค็มเล็กน้อย มีการปรุงแต่งรสด้วยสีและกลิ่นผลไม้

ส่วนประกอบ

น้ำตาลและสารปรุงแต่งรส มีปริมาณไม่สูงมากเมื่อเทียบกับน้ำอัดลมและน้ำหวานรสผลไม้

เกลือแร่ต่างๆ เช่น โซเดียม โพแทสเซียม ไบคาร์บอนเนต จากส่วนประกอบดังกล่าวบวกกับเทคนิคในการโฆษณาทำให้ประชาชนรู้สึกว่า เครื่องดื่มชนิดนี้เหมาะกับนักกีฬาและผู้ที่มีเหงื่อออกมาก

เครื่องดื่มเกลือแร่ควรใช้กับผู้ที่เสียเหงื่อมากๆ โดยผิดจากภาวะปรกติที่ร่างกายเคยชิน เช่น ในกรณีนักกีฬาที่เคยอยู่ในเขตหนาว เมื่อมาแข่งขันในแถบร้อน แล้วร่างกายปรับตัวไม่ทัน จะพบว่าเหงื่อออกมากขณะลงสนาม และอ่อนเพลียจากการสูญเสียเกลือแร่ได้ เป็นต้น ถ้าเป็นการเสียเหงื่อจากการออกกำลังกายตามปรกติ รองศาสตราจารย์ ดร.กัลยา ให้คำแนะนำว่า การดื่มน้ำเปล่าเพื่อชดเชยเหงื่อที่เสียไปก็เพียงพอ และถ้ายิ่งเป็นนักกีฬาที่มีการฝึกซ้อมทุกวันด้วยแล้ว ก็แทบจะไม่จำเป็นต้องดื่มเครื่องดื่มเกลือแร่เสริมอีก เพราะร่างกายจะสามารถปรับตัวต่อการเสียเหงื่อเป็นประจำโดยไม่จำเป็นต้องให้เกลือแร่ชดเชย

ผลกระทบต่อสุขภาพร่างกาย

การบริโภคเครื่องดื่มเกลือแร่ที่มีเกลือโซเดียมมากเกินไป อาจเป็นอันตรายโดยเฉพาะในผู้ที่ป่วยโรคหัวใจ หรือโรคไต ในกรณีของเด็กและทารกไม่ควรดื่ม เพราะอาจเกิดการเสียสมดุลของเกลือแร่ในร่างกายได้





เครื่องดื่มชูกำลังให้คาเฟอีนมากเกิน

ส่วนประกอบ

น้ำตาล วิตามินต่างๆ ผู้ดื่มอาจรู้สึกสดชื่นนั้นเนื่องจากได้รับน้ำตาลเข้าไป ส่วนวิตามินและสารอื่นๆ เช่น สารกลูคูแฟโรโนแลคโตน สารอันโนซีทอล สารเทาริน ที่ฉลากข้างขวดมักจะระบุว่า มีส่วนช่วยบำรุงตับ หัวใจนั้น ในความเป็นจริงยังไม่ปรากฏผลทางวิชาการมารับรองว่า ร่างกายจะได้รับประโยชน์จากการดื่มสารเหล่านั้นเข้าไปโดยตรง

คาเฟอีนสังเคราะห์ ในเครื่องดื่มประเภทนี้มีการเติมคาเฟอีนสังเคราะห์ซึ่งไม่ใช้คาเฟอีนธรรมชาติเหมือนที่พบในน้ำอัดลมหรือกาแฟ โดยปริมาณคาเฟอีนที่ผสมจะอยู่ที่ 50-100 มิลลิกรัม ต่อ ขวดบรรจุ 100 มิลลิลิตร ซึ่งนับว่าค่อนข้างสูง

ผลกระทบต่อสุขภาพร่างกาย

บุคคลทั่วไปไม่ควรบริโภคคาเฟอีนเกินวันละ 300 มิลลิกรัม ดังนั้นเมื่อพิจารณาจากปริมาณคาเฟอีนที่ผสมอยู่จึงมีคำเตือนว่า ไม่ควรดื่มเกินวันละ 2 ขวด เด็กและสตรีมีครรภ์ไม่ควรดื่ม เพราะนอกจากจะมีผลกระทบต่อการทำงานของตับแล้ว ยังมีผลต่อการเจริญเติบโตของเด็กและทารกในครรภ์

ในส่วนของวิตามินที่อ้างว่าผสมในเครื่องดื่มประเภทนี้กว่า 10 ชนิดนั้น หากเรารับประทานผักผลไม้เพียงพอแล้ว ร่างกายก็ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องเสริมวิตามินหรือสารอาหารอื่นๆจากการดื่มเครื่องดื่มเหล่านี้เข้าไปอีก

หลายเครื่องดื่มให้โทษทั้งกด และกระตุ้นประสาท …แต่เครื่องดื่มอีกหลายชนิด ยังทำให้เกิด “อาการติด” ได้อีกด้วย





เครื่องดื่มผสมแอลกอฮอล์นำไปสู่การเสพติด

เครื่องดื่มกลุ่มนี้ถือเป็นก้าวแรกที่นำวัยรุ่น ไปสู่ถนนนักดื่มได้โดยง่าย เพราะมีรสหวานเนื่องจากมีการปรุงรส สี กลิ่นหรือผสมน้ำผลไม้ ทำให้ชวนดื่ม ไม่มีรสขมจัดอย่างเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ในดีกรีสูงๆ

ส่วนประกอบ

น้ำหวานรสผลไม้หรือน้ำผลไม้ : ปริมาณน้ำตาลไม่สูงเท่าน้ำอัดลมและน้ำหวานรสผลไม้

แอลกอฮอล์ แม้จะมีประมาณแอลกอฮอล์ที่ดูเหมือนไม่มากนัก คือ เฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 6-9 แต่หากดื่มติดต่อกันตั้งแต่ 5 ขวด(ปริมาณบรรจุขวดละ 250 มิลลิลิตร) ขึ้นไปก็ทำให้มึนเมาได้

ผลกระทบต่อสุขภาพร่างกาย

สถาบันวิจัยยาเสพติด ร่วมกับ สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ระบุว่า การที่เด็กเริ่มต้นทำตัวเป็นนักดื่มตั้งแต่ก่อนอายุ 13 ปี มีโอกาสติดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ไปจนโต ซึ่งมีกลุ่มเยาวชนอายุต่ำกว่า 10 ปี ประมาณร้อยละ 4.7 ที่เริ่มดื่ม เมื่อเทียบอายุเฉลี่ยของคนไทยที่เริ่มดื่มแอลกอฮอล์ อยู่ที่ 20.5 ปี จะเห็นว่าเร็วจนน่าตกใจมาก

@@@@@@@

หากเครื่องดื่มยอดนิยมมีผลลบต่อสุขภาพเช่นนี้แล้ว เราควรเลือกดื่มเครื่องประเภทใดแทน…

นอกจากรับประทานอาหารครบทั้ง 5 หมู่แล้ว ร่างกายยังต้องการน้ำเฉลี่ยวันละ 2.5 ลิตรหรือราว 8 แก้ว เพื่อนำไปใช้ในระบบต่างๆของร่างกาย หากไม่ดื่มน้ำให้เพียงพอ ร่างกายจะเกิดภาวะขาดน้ำ เกิดขึ้นเมื่อร่างกายสูญเสียน้ำอย่างรุนแรง ส่งผลให้ระดับของโซเดียม โปแตสเซียม และคลอไรด์ ไม่สมดุล

เครื่องดื่มเสริมอื่นๆอาจมีความความจำเป็นในบางช่วงวัย เช่น วัยเด็กที่กำลังเจริญเติบโตและผู้สูงอายุที่มีภาวะกระดูกพรุน อาจมีการเสริมแคลเซี่ยมโดยให้ดื่มนมถั่วเหลืองเป็นประจำ หรือ ขณะที่บางโรคอาจต้องมีการเสริมปริมาณเครื่องดื่ม ยกตัวอย่างเช่น การดื่มน้ำเกลือแร่โออาร์เอสในผู้ป่วยโรคท้องร่วง การดื่มน้ำให้มากขึ้นเพื่อช่วยในการขับถ่ายในกรณีของผู้ป่วยที่มีปัญหาท้องผูก เป็นต้น

รองศาสตราจารย์ ดร.กัลยา สรุปในตอนท้ายว่า สำหรับวิถีชีวิตของคนโดยทั่วไปแล้ว น้ำสะอาดที่ผ่านการต้มแล้วนับว่าเป็นเครื่องดื่มที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย เหมาะกับทุกเพศทุกวัย ในราคาประหยัด ถ้าหากสนใจจะหาซื้อเครื่องดื่มอื่นๆมาบริโภค ควรอ่านฉลากโภชนาการที่แสดงไว้บริเวณด้านข้างของผลิตภัณฑ์ เพื่อเป็นข้อมูลช่วยตัดสินใจว่า เครื่องดื่มชนิดนั้นให้ประโยชน์ต่อร่างกาย ไม่ก่อโรค และมีราคาคุ้มค่ากับเงินที่จ่ายไปหรือไม่

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

6 เครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ เติมความสดชื่นให้ร่างกายในตอนเช้า
หยุด! ดื่ม บรรดาเครื่องดื่มแบบนี้ ถ้าไม่อยากมีไขมันพอกตับ






Thank to : https://cheewajit.com/body/health-education/8284.html
ดูแลสุขภาพ | January 30, 2024 | By Riya   
171  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / พระพุทธรูปสมัยอยุธยา หายจากวัด 36 ปี อาถรรพ์เล่าปากต่อปาก คนขโมยไม่ตายดี เมื่อ: มกราคม 29, 2024, 07:55:03 am
.



พระพุทธรูปสมัยอยุธยา หายจากวัด 36 ปี อาถรรพ์เล่าปากต่อปาก คนขโมยไม่ตายดี

ตามคืนได้แล้ว! พระพุทธรูปสมัยอยุธยา หายจาก วัดบ้านน้อย 36 ปี ลือโดนเวรกรรมเล่นงาน ผู้ครอบครองของไม่ใช่ของตน ล้มตายปริศนา

เมื่อเวลา 08.00 น. วันที่ 25 มกราคม 2567 ผู้สื่อข่าวได้รับแจ้งจากชาวบ้านบ้านน้อย ตำบลดอนเจดีย์ อำเภอพนมทวน จังหวัดกาญจนบุรี ว่าพบพระพุทธรูปที่หายไปจากวัดบ้านน้อยนานกว่า 36 ปี แล้วนำกลับคืนสู่วัดบ้านน้อยในสภาพที่สมบูรณ์ จึงได้รีบเดินทางไปตรวจสอบ

เมื่อมาถึงพบชาวบ้านบ้านน้อยจำนวนมากกำลังทำพิธีแห่พระพุทธรูปองค์ดังกล่าว มีความสูงประมาณ 2 เมตร ยาวประมาณ 1 เมตร ทำจากทองเหลืองทั้งองค์ เป็นพระพุทธรูปทรงเครื่องจักรพรรดิ ซึ่งเป็นพระพุทธรูปเก่าแก่อายุประมาณ 400 ปี อยู่ในสมัยอยุธยาตอนกลาง โดยชาวบ้านและอัญเชิญมาไว้ในโบสถ์โบราณที่มีอายุกว่า 400 ปี






โดยชาวบ้านให้ข้อมูลว่าพระพุทธรูปดังกล่าวนั้นได้หายไปจากวัดเมื่อ 36 ปีที่แล้ว โดยมีคนเอาไปจากโบสถ์หลังเก่าที่มีการบูรณะซ่อมแซม จากนั้นก็ไม่มีใครรู้อีกเลยว่าพระพุทธรูปองค์นี้หายไปที่ไหน

กระทั่งมีผู้ที่มีบุญญาธิการล่วงรู้ได้ว่ามีบุคคลได้นำไปฝากไว้ที่วัดแห่งหนึ่งในพื้นที่ดอนเจดีย์ เนื่องจากผู้ที่ครอบครองไว้ได้รับผลกรรม ถึงกับล้มตายก็มี

หลังจากทราบแล้วว่าพระพุทธรูปองค์ดังกล่าวนั้นอยู่ที่ไหน ทางนายกเทศมนตรีตำบลดอนเจดีย์ ก็ได้เดินทางไปพูดคุยและนำพระพุทธรูปองค์ดังกล่าวนั้นกลับมาประดิษฐานยังโบสถ์โบราณวัดบ้านน้อยแห่งนี้ตามเดิม ซึ่งชาวบ้านเชื่อกันว่าพระพุทธรูปองค์นี้เมื่อกลับมาอยู่ยังสถานที่ที่เคยอยู่จะทำให้บริเวณดังกล่าวนั้นร่มเย็น ทำให้ชาวบ้านต่างดีใจกันมากที่ได้พระพุทธรูปกลับคืนมา




นายมนตรี เนียมหอม นายกเทศมนตรีตำบลดอนเจดีย์ เปิดเผยว่า โบสถ์เก่าวัดบ้านน้อย ซึ่งโบสถ์หลังนี้ ถ้าเราได้ดูการสร้างและวัตถุต่างๆที่ ที่มีให้เห็นอยู่ เป็นสมัยอยุธยาตอนกลาง บางสิ่งบางอย่างก็มีสิ่งของสมัยอยุธยาตอนปลาย ปะปนมาบ้าง แต่ในความเชื่อของตนนั้นก็คือเป็นสมัยอยุธยาตอนกลาง ซึ่งตรงกับสมัยขององค์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช และในวันนี้ก็เป็นวันแรก ที่เราทำการเปิดโบสถ์โบราณตรงนี้ให้ประชาชนได้เข้ามาสักการะ

ซึ่งแต่ก่อนในโบสถ์นี้จะไม่มีพระพุทธรูปอยู่ และวันนี้ก็เป็นฤกษ์งามยามดี ถึงเวลาแล้วที่ทุกคนจะได้เข้ามาสักการะ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ ยังสถานที่แห่งนี้ ก็คือโบสถ์เก่าบ้านน้อยที่มีอายุกว่า 400 ปี และช่วงเช้าวันนี้ก็มีการอัญเชิญ พระพุทธรูปอันศักดิ์สิทธิ์ ที่เราคิดว่าน่าจะประดิษฐานอยู่ ณ ที่แห่งนี้มาก่อน นำมาให้ประชาชนเข้ามาสักการะบูชา เป็นสิ่งที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของเราทุกคน

พระพุทธรูปที่ตั้งอยู่ด้านหลังเป็น เป็นพระพุทธรูปสมัยกรุงศรีอยุธยา ซึ่งตอนนี้เราก็ได้นิมนต์มาจากวัดแห่งหนึ่งในตำบลดอนเจดีย์ ซึ่งมีคนได้เอามาฝากไว้ ซึ่งเจ้าของเองก็ไม่รู้ไปไหนแล้ว ซึ่งตนก็เห็นสมควรว่าพระพุทธรูปองค์นี้เหมาะสมแล้วที่จะมาอยู่ยังสถานที่ศักดิ์สิทธิ์แห่งนี้ เพื่อให้ประชาชนได้เข้ามาสักการะบูชากราบไหว้ และอีกองค์หนึ่งก็คือพระสังกัจจายน์ ที่อยู่คู่กับวัดบ้านน้อยมาอย่างยาวนาน




ส่วนประวัติของพระสังกัจจายน์องค์นี้มาอยู่ที่วัดบ้านน้อยได้อย่างไร ตนเองก็ไม่ทราบเช่นกัน ถึงวันนี้แล้วถือว่าทุกอย่างสมบูรณ์แบบ พระทั้งสามองค์ได้มาอยู่ครบรวมกันเรียบร้อยที่นี่ เพื่อให้ทุกคนได้เข้ามากราบสักการะบูชา ซึ่งวัดบ้านน้อยแห่งนี้ก็อยู่ห่างจาก อนุสาวรีย์องค์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช เพียง 1 กิโลเมตรเท่านั้น ซึ่งอยู่ทางด้านทิศเหนือ ซึ่งตามพงศาวดารเป็นสถานที่ที่องค์สมเด็จพระนเรศวร ทำยุทธหัตถีกับมหาอุปราชาอีกด้วย

นายมนตรี บอกต่อว่า ก็มีอะไรหลายอย่างที่เข้ามาโดยที่เราไม่ได้คาดคิด บุคคลที่สามารถสื่อได้ บอกว่าพระที่อยู่ตรงนี้น่าจะเป็นยุคเดียวกันกับโบสถ์โบราณแห่งนี้ ซึ่งตนได้ถามว่าพระองค์นี้อยู่ที่ไหนโดยบุคคลที่สื่อได้ก็บอกว่า อยู่ที่วัดแห่งหนึ่งในตำบลดอนเจดีย์ โดยก่อนหน้านั้น ผู้ครอบครองพระองค์นี้ได้นำมาให้กับทางผู้ใหญ่ ซึ่งทางผู้ใหญ่ดูแล้วก็รู้สึกว่าไม่ค่อยดี ก็เลยนำไปถวายวัด แต่ในส่วนของผู้ครอบครองพระเองก็จะมาตามกลับคืนไป ก็เกิดเหตุเสียชีวิตโดยไม่ทราบสาเหตุกันหมดเลย ตนเองก็เลยเดินทางไปขอนิมนต์พระองค์นี้กับมาตั้งยังโบสถ์โบราณซึ่งคาดว่าน่าจะเป็นจุดเดิมที่พระองค์นี้เคยตั้งประดิษฐานอยู่

นายมนตรี บอกต่ออีกว่า นี่เป็นครั้งแรกที่มีการ เปิดโบสถ์โบราณในรอบ 400 ปี สมัยก่อนบริเวณโบสถ์โบราณแห่งนี้มีหญ้าขึ้นรก มีน้ำท่วม และไม่มีใครกล้าเข้า




ตนเองจะเล่าในด้านความเชื่อให้ฟังว่าเมื่อ 2 อาทิตย์ที่ผ่านมาลูกน้องตน ก็มีรถตู้มา 2 คัน ให้ผ่านมาเที่ยวที่โบสถ์บ้านน้อย โดยลูกน้องตนถ่ายภาพ ปรากฏว่ากดถ่ายยังไงก็ไม่ติด กล้องถ่ายเท่าไหร่ก็ไม่ติด จนสุดท้ายกดถ่ายอีกครั้งปรากฏว่าภาพที่ออกมาบุคคลที่อยู่ในภาพไม่มีหัว อีกคนก็ไม่มีขา แต่ในส่วนของลูกน้องตนเองที่อยู่ในภาพด้วยนั้นเห็นเต็มตัว ซึ่งบุคคลที่อยู่ในภาพก็เกิดความกลัวแล้วให้ลบภาพดังกล่าวนั้นทิ้งไป แล้วก็มีปรากฏการณ์ให้น่าเชื่อว่าโบสถ์เก่าสถานที่โบราณแห่งนี้มีสิ่งศักดิ์สิทธิ์ปกปักรักษาอยู่

เมื่อวันก่อนตนได้คุยกับทางแม่ชี แล้วก็ทางพระอาจารย์ ในการจัดงานวันนี้จะต้องกางเต็นท์เพื่อป้องกันแสงแดดให้กับแขกที่มาร่วมงานด้วยหรือไม่ ซึ่งถ้าหากไม่กางเต็นท์คนที่มาร่วมงานน่าจะร้อน ซึ่งแม่ชีก็ได้พูดว่าไม่ต้องกางเต็นท์

เมื่อถึงเวลานั้น ก็คือวันนี้ปรากฏว่า มีฝนโปรยลงมาในช่วงเช้ามืด พร้อมกับมีอากาศที่หนาวเย็น ลมเย็นสบายตลอดทั้งวัน ตนเองเชื่อว่าสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่อยู่เบื้องบนรับรู้ได้ว่าชาวบ้านตั้งใจที่จะทำให้สถานที่ตรงนี้เจริญรุ่งเรืองมีคนเข้ามาสักการะกราบไหว้ เป็นที่พึ่งทางใจ และทำให้ทุกคนรู้จักไปทั่วประเทศ ซึ่งทุกวันนี้ตนเองก็เป็นห่วงพระพุทธรูปเกรงว่าจะมีผู้ไม่หวังดีมาขโมยไป ซึ่งตอนนี้ก็ได้วางมาตรการดูแลคุ้มครองพระพุทธรูปองค์นี้อย่างรัดกุม






Thank to : https://www.amarintv.com/news/detail/204474
28 ม.ค. 67
172  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / ‘วัดพระรามอโยธยา’ ปมขัดแย้ง 2 ศาสนา สู่นัยทางการเมืองอินเดีย เมื่อ: มกราคม 29, 2024, 07:46:44 am
.

AP


‘วัดพระรามอโยธยา’ ปมขัดแย้ง 2 ศาสนา สู่นัยทางการเมืองอินเดีย

เมื่อวันที่ 22 มกราคมที่ผ่านมา ชาวอินเดียที่นับถือศาสนาฮินดูนับหลายพันคนได้เข้าร่วมเป็นสักขีพยานการเปิด “วัดพระรามอโยธยา” ในเมืองอโยธยา รัฐอุตตรประเทศของอินเดีย โดยมีนายนเรนทรา โมดี นายกรัฐมนตรีอินเดีย เป็นประธานในพิธี วัดดังกล่าวเป็นโบสถ์พราหมณ์ที่สร้างขึ้นเพื่ออุทิศให้แก่พระราม เทพที่ได้รับการเคารพนับถือมากที่สุดในศาสนาฮินดู อย่างไรก็ตาม ประวัติที่มาของวัดแห่งนี้กลับเต็มไปด้วยความขัดแย้งทางศาสนา ความเชื่อ และนัยทางการเมือง ก่อนหน้าที่การเลือกตั้งทั่วไปของอินเดียจะมีขึ้นภายในเดือนพฤษภาคมนี้ ที่นายกรัฐมนตรีโมดีของอินเดียหวังที่จะสร้างประวัติศาสตร์ ด้วยการชนะการเลือกตั้งเป็นสมัยที่ 3 ติดต่อกัน นับตั้งแต่ขึ้นดำรงตำแหน่งในปี 2014

ที่ดินพิพาท รอยร้าว ‘ฮินดู-อิสลาม’ สู่จุดแตกหักนองเลือด

มหากาพย์ รามายณะ ของอินเดีย หรือที่รู้จักกันดีในชื่อ รามเกียรติ์ ได้ระบุว่าเมืองอโยธยา ในรัฐอุตตรประเทศ ทางตอนเหนือของประเทศอินเดีย เป็นสถานที่ประสูติของพระราม ปัญหาความขัดแย้งระหว่างศาสนาฮินดูและอิสลามเกี่ยวกับวัดแห่งนี้เริ่มขึ้นเมื่อจักรพรรดิบาบูร์ จักรพรรดิองค์แรกของจักรวรรดิโมกุล ที่นับถือศาสนาอิสลามได้เข้ารุกรานเมืองอโยธยาและรื้อถอนวัดพระรามที่ตั้งอยู่ก่อนหน้า และสร้างมัสยิดบาบรีขึ้นแทนที่วัดดังกล่าว ในปี 1528 ในจุดที่ชาวฮินดูเชื่อว่าเป็นตำแหน่งที่ประสูติของพระรามเมื่อกว่า 7,000 ปีก่อน ต่อมาในเดือนธันวาคม 1949 ทางการอินเดียได้เข้ายึดมัสยิดดังกล่าวหลังนักเคลื่อนไหวชาวฮินดูได้นำเทวรูปของพระรามไปตั้งอยู่ภายในมัสยิดบาบรี ต่อมา ศาลอินเดียได้มีคำสั่งห้ามไม่ให้เคลื่อนย้ายเทวรูปพระรามดังกล่าว ทำให้มัสยิดบาบรีไม่สามารถใช้ประกอบพิธีในศาสนาอิสลามได้อีกต่อไป

ทั้งกลุ่มชาวฮินดูและอิสลามต่างฝ่ายต่างยื่นการอ้างสิทธิเป็นเจ้าของมัสยิดและที่ดินที่ตั้งของมัสยิดดังกล่าว และศาลสูงสุดของอินเดียได้ตัดสินให้มีการรักษาสถานะเดิมของมัสยิดบาบรีไปก่อนในปี 1989 กลุ่มของทั้งสองศาสนาพยายามที่จะคลี่คลายข้อพิพาทระหว่างกันโดยใช้การเจรจาพูดคุย แต่ความพยายามกลับไม่เป็นผล ในปี 1990 พรรคภารติยะชนตะ (BJP) พรรคชาตินิยมฮินดูของนายโมดี ได้เริ่มการรณรงค์ทั่วประเทศให้มีการสร้างวัดพระรามของฮินดูขึ้นอีกครั้ง

นายลัล กฤษณะ อัดวานี (Lal Krishna Advani) ประธานของพรรค BJP ในขณะนั้นได้ลงทุนขึ้นท้ายรถบรรทุกที่ตกแต่งให้มีลักษณะคล้ายกับรถม้าโบราณเพื่อรณรงค์ทั่วประเทศ ปลุกกระแสชาวฮินดูขึ้นมา และส่งให้พรรคก้าวขึ้นมามีบทบาทในสนามการเมืองอินเดียมากขึ้น แต่ก็ได้สร้างรอยร้าวที่ลึกขึ้นระหว่างชาวฮินดูและมุสลิมในอินเดีย

การรณรงค์ของพรรค BJP ได้พุ่งแตะจุดเดือดในวันที่ 6 ธันวาคม 1992 เมื่อกลุ่มผู้ประท้วงชาวฮินดูได้บุกเข้าไปในมัสยิดบาบรี พร้อมกับใช้ขวานและค้อนทุบทำลายโดมของมัสยิดดังกล่าวจนพังเสียหายทั้งหลัง ปลุกให้เกิดการจลาจลระหว่าง 2 ศาสนาในหลายพื้นที่ทั่วอินเดีย จนมีผู้เสียชีวิตราว 2,000 คน โดยจำนวนดังกล่าวส่วนใหญ่เป็นชาวมุสลิม ถือเป็นเหตุจลาจลทางศาสนาที่เลวร้ายที่สุดในประวัติศาสตร์อินเดีย นับตั้งแต่ที่อินเดียประกาศเอกราชจากอังกฤษ

การต่อสู้ทางกฎหมายระหว่างชาวฮินดูและมุสลิมได้ยุติลงในปี 2019 หลังศาลสูงสุดของอินเดียได้มอบที่ดินผืนดังกล่าวให้แก่ชาวฮินดูและจัดสรรที่ดินอีกผืนให้แก่ชาวมุสลิมเพื่อก่อสร้างมัสยิดแห่งใหม่ วัดพระรามอโยธยา จึงเริ่มการก่อสร้างในปี 2020 โดยมีนายกรัฐมนตรีโมดีเป็นผู้วางศิลาฤกษ์ วัดแห่งนี้มีขนาดราว 18.2 ไร่ ในที่ดินขนาดทั้งสิ้น 177 ไร่ มีมูลค่าในการก่อสร้างราว 217 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือเป็นเงินไทยราว 7,730 ล้านบาท โดยเงินจำนวนดังกล่าวได้มาจากการบริจาค วัดแห่งนี้มีขนาดความสูงเทียบเท่ากับตึก 3 ชั้น ถูกสร้างด้วยหินทรายสีชมพู แกะสลักด้วยลวดลายสลับซับซ้อน และจะมีประตูทั้งสิ้น 46 บาน ในจำนวนดังกล่าว 42 บานจะตกแต่งด้วยทอง รวมถึงภายในวัดจะมีรูปปั้นพระรามที่ทำจากหินสีดำขนาดความสูง 130 เซนติเมตรอีกด้วย

วัดใหม่กับวาระซ่อนเร้นทางการเมือง

พิธีเปิดในวันที่ 22 มกราคมที่ผ่านมา เป็นไปอย่างยิ่งใหญ่ และมีผู้คนเกือบ 7,500 คน ตั้งแต่นักการเมืองขาใหญ่ นักธุรกิจผู้ร่ำรวย และดาราคนดัง ร่วมพิธีเปิดที่บริเวณด้านนอกของวัด พรรค BJP ของนายโมดีและกลุ่มชาตินิยมฮินดูอื่นๆ พยายามฉายภาพการเปิดวัดพระรามอโยธยาให้เป็นศูนย์กลางของวิสัยทัศน์ในการฟื้นคืนความภาคภูมิใจของชาวฮินดู ที่พวกเขามองว่าหายไปในช่วงที่จักรวรรดิโมกุลและช่วงที่อินเดียอยู่ภายใต้อาณานิคมของอังกฤษ เมืองอโยธยาก็มีการพัฒนาปรับปรุงเมืองครั้งใหญ่ก่อนหน้าพิธีเปิด มีการขยายถนนที่นำทางไปสู่วัดดังกล่าว มีการสร้างสนามบิน สถานีรถไฟ และโรงแรมแห่งใหม่เพื่อรองรับผู้แสวงบุญที่จะหลั่งไหลกันมาที่วัดแห่งนี้



Press Information Bureau via AP

ด้านรัฐบาลของนายโมดีพยายามทำให้พิธีเปิดดังกล่าวเป็นวาระแห่งชาติ มีการตั้งจอยักษ์ฉายพิธีเปิดทั่วประเทศ ติดธงสีเหลืองอมส้ม (Saffron) ซึ่งเป็นสีของศาสนาฮินดู ตามท้องถนนทั่วอินเดีย สถานีโทรทัศน์ช่องต่างๆ ถ่ายทอดสดเกาะติดพิธีดังกล่าว และตลาดหุ้นอินเดียปิดทำการในวันงานอีกด้วย

นักวิเคราะห์และนักวิจารณ์มองว่าความพยายามทั้งหมดนี้ มีขึ้นเพื่อหวังจะช่วยส่งให้นายโมดีชนะการเลือกตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีอินเดียต่อเป็นสมัยที่ 3 และพิธีเปิดวัดพระรามอโยธยา ทั้งที่ยังสร้างไม่เสร็จจะช่วยปลุกคะแนนความนิยมให้แก่นายโมดีในหมู่ชาวฮินดูและถือเป็นการเริ่มต้นการหาเสียงก่อนการเลือกตั้งในประเทศอินเดียที่ประชาชน 80% เป็นชาวฮินดู

นิลันจัน มุกโภทัย ผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับชาตินิยมฮินดูและผู้เขียนหนังสือเกี่ยวกับนายกรัฐมนตรีโมดีของอินเดีย กล่าวว่า “นายกรัฐมนตรีอินเดียคนก่อนหน้าโมดีเคยไปวัดอื่นๆ มาก่อน แต่พวกเขาไปในฐานะผู้นับถือศาสนา แต่นี่เป็นครั้งแรกที่โมดีไปวัดในฐานะคนประกอบพิธีทางศาสนา”

นอกจากนั้นแล้ว แม้ชาวอินเดียจำนวนมากต่างออกมาแสดงความดีใจกับการเปิดวัดพระรามอโยธยาและคาดว่าจะมีชาวฮินดูมากถึง 150,000 คนเดินทางมาที่วัดแห่งนี้ต่อวัน แต่ก็ไม่ใช่ทุกคนที่จะยินดีกับพิธีเปิดวัดพระรามอโยธยา เช่น หน่วยงานหลักด้านศาสนาฮินดู 4 แห่ง ปฏิเสธที่จะเข้าร่วมในพิธีเปิด โดยให้เหตุผลว่าการเปิดวัดที่ยังสร้างไม่เสร็จ ขัดกับหลักพระคัมภีร์ฮินดู และบอกว่าโมดีไม่ได้เป็นผู้นำทางศาสนา ทำให้เขาไม่มีคุณสมบัติที่จะเป็นผู้นำพิธีเปิดได้ ขณะที่บรรดาผู้นำพรรคฝ่ายค้านหลักของพรรครัฐบาลอย่าง BJP บอยคอตพิธีเปิดเมื่อวันที่ 22 มกราคม และหลายคนกล่าวหาโมดีว่านำพิธีเปิดวัดพระรามอโยธยามาเรียกคะแนนเสียงทางการเมืองในอินเดียที่ระบุตามรัฐธรรมนูญว่าเป็นประเทศฆราวาส

สำหรับชาวมุสลิมแล้ว พิธีเปิดของวัดพระรามอโยธยาได้ปลุกความกังวลและความทรงจำที่แสนเจ็บปวดให้กลับมาอีกครั้ง ประเทศเพื่อนบ้านของอินเดียอย่าง ปากีสถาน ที่ประชาชนส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม ให้ความเห็นว่าการสร้างวัดในจุดที่มัสยิดเคยถูกทำลายยังคงเป็นรอยด่างพร้อยบนความเป็นประชาธิปไตยของอินเดีย กระทรวงต่างประเทศปากีสถานระบุในแถลงการณ์ว่า มีมัสยิดในอินเดียจำนวนมากขึ้นที่กำลังเจอกับภัยคุกคามที่คล้ายคลึงกันว่าจะเกิดการดูหมิ่นและถูกทำลาย หลังจากที่กลุ่มชาตินิยมฮินดูได้ยื่นฟ้องต่อศาลอินเดียเพื่อหวังที่จะเข้ามามีสิทธิเป็นเจ้าของมัสยิดโบราณหลายร้อยแห่งในอินเดีย รวมถึงข้อพิพาทที่กลุ่มชาวฮินดูอ้างว่ามีมัสยิดโบราณอย่างน้อย 3 แห่งทางตอนเหนือของอินเดีย สร้างบนพื้นที่ที่เคยเป็นโบสถ์พราหมณ์ในอดีต

ด้านกระทรวงต่างประเทศปากีสถานยังเรียกร้องให้ประชาคมโลกช่วยกันรักษาโบราณสถานของศาสนาอิสลามในประเทศอินเดียจาก “กลุ่มหัวรุนแรง” และทำให้มั่นใจว่าจะมีการปกป้องสิทธิของชาวอิสลาม ที่เป็นประชากรส่วนน้อยในอินเดีย

ทุกคนคงทราบดีว่าประเด็นทางศาสนาถือเป็นเรื่องละเอียดอ่อนและต้องระมัดระวังมาก แต่ความขัดแย้งก็มีโอกาสเกิดขึ้นได้ท่ามกลางความหลากหลายทางศาสนา หากทุกฝ่ายสามารถหลีกเลี่ยงการเผชิญหน้าและแก้ปัญหาด้วยการเจรจาพูดคุยให้สำเร็จ การนองเลือดอย่างเช่นในปี 1992 อาจไม่เกิดขึ้นซ้ำรอยและทุกฝ่ายคงอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติ





ขอขอบคุณ :-
ที่มา : นสพ. มติชนรายวัน
ผู้เขียน : ศุภวิชญ์ เจียรรุ่งแสง
เผยแพร่ : วันที่ 28 มกราคม 2567
ปริทรรศน์โลก | โฟกัสโลกรอบสัปดาห์ | วันที่ 29 มกราคม 2567 - 06:30 น.   
URL : https://www.matichon.co.th/foreign/indepth/news_4396019?utm_source=msn_news&utm_medium=footer_click
173  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / (คลิป)ศรัทธาล้น.! พระ-โยมโหนสลิงสูงเฉียด 60 เมตร ทำความสะอาดยอดพระธาตุพนม เมื่อ: มกราคม 28, 2024, 08:12:00 am
.



(คลิป)ศรัทธาล้น.! พระ-โยมโหนสลิงสูงเฉียด 60 เมตร ทำความสะอาดยอดพระธาตุพนม

นครพนม-หนึ่งปีมีครั้งเดียว พระ โยม ศิษยานุศิษย์ โชว์ผาดโผนโหนสลิง ความสูงเกือบ 60 เมตร จากยอดพระธาตุพนม โรยตัว สรงน้ำทำความสะอาดองค์พระธาตุพนม ประจำปี เตรียมพร้อมทำบุญใหญ่อีสานงานนมัสการองค์งพระธาตุพนม 9 วัน 9 คืน กระตุ้นเศรษฐกิจท่องเที่ยวนครพนมและจังหวัดใกล้เคียง




ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่ วัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร อ.ธาตุพนม จ.นครพนม ที่ตั้งองค์พระธาตุพนม สิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมือง เป็นที่เคารพศรัทธาของพุทธศาสนิกชนทั่วโลก ภายในบรรจุพระอุรังคธาตุ กระดูกส่วนหน้าอกของพระพุทธเจ้า อายุเก่าแก่กว่า 2,500 ปี ทุกปี

ก่อนจัดงานนมัสการองค์พระธาตุพนม ถือเป็นอานิสงค์ยิ่งใหญ่ หนึ่งปีมีครั้งเดียว พลังศรัทธา ทั้งพระภิกษุสงฆ์ สามเณร ข้าโอกาสพระธาตุพนม ต่างร่วมกันสรงน้ำทำความสะอาดองค์พระธาตุพนม เพื่อความสง่างามเตรียมพร้อม การจัดงานบุญประเพณีใหญ่ของอีสาน “งานนมัสการองค์พระธาตุพนม”ถือเป็นงานบุญประเพณีที่สำคัญจัดยิ่งใหญ่ทุกปี

สำหรับปีนี้กำหนดจัดขึ้น ระหว่างวันที่ 17 – 25 กุมภาพันธ์ 2566 รวม 9 วัน 9 คืน เชื่อว่าจะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจการท่องเที่ยวในท้องถิ่นทั้งจังหวัดนครพนมและจังหวัดใกล้เคียง มีประชาชน นักท่องเที่ยว พลังศรัทธา ทั้งชาวไทย ชาวลาว เดินทางมาทำบุญปีละนับแสนคน




ที่สำคัญก่อนการจัดงานนมัสการองค์พระธาตุพนมทุกปี ประชาชน นักท่องเที่ยว จะได้เห็นภาพการแสดงออกของพลังศรัทธา เชื่อกันว่าเป็นอานิสงค์ยิ่งใหญ่ ได้มีข้าโอกาส ลูกศิษย์พระธาตุพนม ทั้งภิกษุสงค์ สามเณร ข้าราชการ ตำรวจ ทหาร ที่มีความชำนาญ เรื่องการปีนที่สูง

ขึ้นไปติดตั้งลวดสลิง รอบองค์พระธาตุพนม จากยอดความสูงเกือบ 60 เมตร เพื่อโรยตัว สรงน้ำทำความสะอาด ตั้งแต่ยอดองค์พระธาตุพนม ลงมาถึงฐานองค์พระธาตุพนม เพื่อให้เกิดความงดงาม สวยสง่างาม รวมถึงเป็นการถวายเป็นพุทธบูชา ถือเป็นประเพณีปฏิบัติทุกปี ก่อนที่จะมีการจัดงานนมัสการขึ้น






อาจารย์หมง อภัยโส ในฐานะประธานชมรมศิษย์พระธาตุพนม เปิดเผยว่า งานนมัสการองค์พระธาตุพนม ถือเป็นงานประเพณีที่ถือปฏิบัติสืบทอดกันมายาวนาน ตั้งแต่การก่อสร้างองค์พระธาตุพนม สิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมือง เป็นที่เคารพของพุทธศาสนิกชน ภายในบรรจุพระอุรังคธาตุ กระดูกส่วนหน้าอกของพระพุทธเจ้า

โดยทุกปีจะมีงานบุญเดือน 3 นมัสการองค์พระธาตุพนม เปิดโอกาสให้ ข้าโอกาสพระธาตุพนม ทั้งชาวไทย ชาวลาว ชาวต่างชาติ มาสักการะบูชาแบบใกล้ชิด อีกทั้งเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยว กำหนดจัดขึ้น รวม 9 วัน 9 คืน




สิ่งสำคัญที่ขาดไม่ได้ก่อนจัดงาน นอกจากการเตรียมสถานที่ รองรับสายบุญประชาชนนักท่องเที่ยว จะต้องมีการสรงน้ำล้างทำความสะอาดพระธาตุพนม จากพลังศรัทธา ทั้งพระภิกษุสงฆ์ สามเณร ลูกศิษย์วัดพระธาตุพนม บรรดาตำรวจทหาร ที่มี่ความชำนาญ เรื่องความสูง มาร่วมแสดงออกถึงพลังศรัทธา

ปีนขึ้นไปบนยอดพระธาตุพนม โรยตัวทำความสะอาด ล้างสิ่งปฏิกูลมูลนก หรือฝุ่นละออง ต่างๆ ให้มีความสง่างาม ถือเป็นอีกกิจกรรมสำคัญ ที่แสดงออกถึงความเคารพศรัทธา ไม่ว่าจะมีความสูงหรืออันตราย แต่ศิษย์วัดพระธาตุพนม ยังมีความมุ่งมั่นที่จะสรงน้ำทำความสะอาด เพื่อเกิดอานิสงค์ผลบุญ และเชื่อว่าไม่มีอันตราย เนื่องจากองค์พระธาตุพนมคุ้มครองปกปักรักษา หากใครได้มากราบทำบุญบูชาขอพรองค์พระธาตุพนม ถือเป็นบุญกุศลยิ่งใหญ่ในชีวิต

ชมวิดีโอคลิปได้ที่ : https://www.facebook.com/watch/?v=1403227850325314&t=1





Thank to : https://mgronline.com/local/detail/9670000007963?tbref=hp
เผยแพร่ : 27 ม.ค. 2567 11:59 ,ปรับปรุง : 27 ม.ค. 2567 12:03 ,โดย : ผู้จัดการออนไลน์
174  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / กองทัพมองโกล 20,000 นาย บุก “ล้านนา” ทำไม? เมื่อ: มกราคม 28, 2024, 07:07:37 am
.

ภาพวาดกองทัพมองโกล


กองทัพมองโกล 20,000 นาย บุก “ล้านนา” ทำไม.?

มองโกล ได้ชื่อว่ามีนักรบบนหลังม้าที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ จักรวรรดิมองโกลขึ้นชื่อว่าเป็นจักรวรรดิที่แผ่อำนาจปกครองดินแดนไปกว่าค่อนโลก

ผู้นำคนสำคัญของมอลโกลอย่าง เจงกิสข่าน ที่เป็นนักการทหารที่ประสบความสำเร็จในการพิชิตอาณาจักรน้อยใหญ่ แผ่อำนาจตั้งแต่แม่น้ำฮวงโหในจีน ไปจรดแม่น้ำดานูบในยุโรป หากเทียบกับแผนที่ยุคปัจจุบันกองทัพมองโกลเคยเหยียบย่ำไปกว่า 30 ประเทศทั่วโลก ซึ่งหนึ่งในจำนวนนั้น คือ อาณาจักรล้านนา ทางตอนเหนือของไทย

เรื่องนี้ดังกล่าวนี้ โจวปี้เผิง เรียบเรียงไว้ใน “ล้านนาสวามิภักดิ์” (มติชน, 2565) ดังนี้ (จัดย่อหน้าใหม่และสั่งเน้นคำโดยผู้เขียน)

ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 13 กองทัพมองโกลยกทัพจากภาคเหนือของจีนแผ่ขยายอำนาจไปในดินแดนชายขอบ ส่วนในภาคตะวันตกเฉียงใต้ของจีน กองทัพมองโกลเข้าไปรุกรานยูนนาน พม่า และอันนัม (ไดเวียด) หลังจากยึดครองราชวงศ์ซ่งใต้ได้สำเร็จจึงสร้างราชวงศ์หยวน อันเป็นอาณาจักรที่มีพื้นที่กว้างใหญ่ที่สุดที่ไม่เคยมีมาก่อน และก่อนหน้าที่ราชวงศ์หยวนจะสามารถยึดครองเมืองต้าหลี่และปกครองเชอหลี่ จีนและล้านนายังไม่มีดินแดนติดต่อกัน

ราชวงศ์หยวนได้ตั้งสำนักปกครองกองทัพที่ยูนนาน เพื่อปกป้องความมั่นคงในพื้นที่ชายแดน และมีนโยบายขยายอำนาจไปสู่พื้นที่ตอนบนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งรวมถึงพม่า ปาไป่สีฟู่ (ล้านนา) อันนัม และลาว

ในเวลาเดียวกัน พระญามังรายได้ขยายอำนาจจากเมืองเชียงรายลงไปยังเมืองฝาง ทรงรวบรวมเมืองหริภุญชัยไว้ในอำนาจได้สำเร็จ จึงสร้างเมืองเชียงใหม่และสถาปนาอาณาจักรล้านนา การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างจีนกับล้านนาจึงเริ่มพบในสถานภาพการขยายอำนาจของราชวงศ์หยวนและราชวงศ์มังราย


@@@@@@@

การปกครองยูนนานเป็นเงื่อนไขที่ขาดไม่ได้หากจะขยายอำนาจไปถึงพม่า ล้านนา และลาว ใน ค.ศ. 1253 ฮูปเล่อข่าน (忽必烈-จักรพรรดิหยวนซื่อจู่) ยึดครองเมืองต้าหลี่ได้สำเร็จ ราชวงศ์หยวนจึงเริ่มตั้งหน่วยงานของตนเอง และปรับระบบการปกครองของยูนนาน ให้อู้เหลียงเหอไท้ (兀良合台) ปกป้องชายแดนและโจมตีพวกหมานที่ยังไม่ยอมสวามิภักดิ์ [1] ตั้งหลิวสีจง (刘时中) เป็นเซวียนผู้สื่อ (宣抚使) [2] ร่วมมือปกครองเมืองต้าหลีกับตระกูลต้วน [3]

กองทัพของเมืองต้าหลี่จึงอยู่ภายใต้อำนาจของราชวงศ์หยวน และได้ตั้งหยวนไซว่ฝู่ (元帅府) [4] ที่เมืองต้าหลี่ใน ค.ศ. 1263 และใน ค.ศ. 1271 ได้ปรับเปลี่ยน 37 ภูมิภาคของเมืองต้าหลี่เป็น 3 ลู่ ( 路-ลู่เป็นหน่วยงานการปกครองระดับที่หนึ่งภายใต้ซินเสินหรือว่ามณฑล) ด้วยนโยบายดังกล่าวทำให้ราชวงศ์หยวนสามารถปกครองเมืองต้าหลี่ได้ค่อนข้างมั่นคง [5]

ราชวงศ์หยวนรักษากองทัพไว้ที่ยูนนาน และขยายอำนาจต่อไปโดยรุกรานภาคเหนือของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ระหว่าง ค.ศ. 1280-1300 ราชวงศ์หยวนยกทัพโจมตีเหมียนก๊ก (缅国- อาณาจักรพุกาม) และอันนัม ทั้งยังวางแผนจะยึดครองปาไป่สีฟู่ (ล้านนา) ด้วย

ใน ค.ศ. 1284 ราชวงศ์หยวนให้ปู้หลู่เหอต๋า [6] ไปตีปาไป่สีฟู่ ซึ่งเป็นครั้งแรกที่จะไปโจมตี แต่เมื่อเดินทางถึงเชอหลี่ (คาดว่าเชอหลี่เป็นสถานที่ที่อยู่ของเจ้าเมือง) กองทัพราชวงศ์หยวนยังขาดความรู้เกี่ยวกับปาไป่สีฟู่ ซึ่งมีหลักฐานที่ว่า “เจ้าพระยานามว่าโคว่โค่วให้ปู้หลู่เหอต๋านำทหารม้าสามร้อยคนไปเกลี้ยกล่อม (ล้านนา) ให้สวามิภักดิ์ แต่เจ้าเมืองไม่ยินยอม จึงยกกำลังทัพเข้าตี โฮ่วเจิ่ง ผู้มีตำแหน่งเป็นตูเจิ้นฝู่เสียชีวิต ปู้หลู่เหอต๋าทำลายประตูด้านทิศเหนือแล้วรุกเข้ายึดค่าย เชอหลี่จึงสงบราบคาบลงทั้งหมด” [7]

@@@@@@@

ในช่วงเดียวกัน พระญามังรายก็ขยายอำนาจไปเมืองเชียงราย และเมืองฝาง เนื่องจากได้พบการขยายอำนาจของราชวงศ์หยวนทางตอนเหนือ พระญามังรายจำเป็นต้องขยายอำนาจสู่ทางใต้ และยึดครองเมืองหริภุญชัยได้สำเร็จในราว ค.ศ. 1292 โดยร่วมมือกับพระญางำเมืองและพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ในปีเดียวกัน (ค.ศ. 1292) ราชวงศ์หยวนก็ได้วางแผนจะส่งกองทัพไปโจมตีปาไป่สีฟู่ [7]

ทว่ากุบไลข่านสิ้นพระชนม์ใน ค.ศ. 1294 เตมูร์ข่านได้ขึ้นปกครองต่อ ในรัชกาลของพระองค์ทรงหยุดทำสงครามขยายอำนาจ แต่กลับสร้างสันติภาพกับรัฐเพื่อนบ้าน เช่น ไดเวียด จามปา เป็นต้น พระองค์ทรงมุ่งเน้นปรับการปกครองทางด้านการทหารและการเมือง ถึงแม้พื้นที่ยูนนานส่วนใหญ่จะยอมการปกครองของราชวงศ์หยวนแล้ว

แต่เมืองเล็กที่อยู่ชายแดนและถูกปกครองโดยชนเผ่าต่างๆ อย่างเชอหลี่ยังควบคุมไม่ได้เต็มที่ ซึ่งพื้นที่บริเวณนี้เป็นเขตสำคัญที่ติดต่อกับปาไป่สีฟู่และพม่า เป็นรัฐที่ราชวงศ์หยวนต้องการให้อยู่ภายใต้อำนาจของตนเอง ในช่วง ค.ศ. 1296 ราชวงศ์หยวนตั้งเชอหลี่จวินหมินจงก่วน (彻里军民总管府-เมืองปกครองทหารและราษฎรสิบสองปันนา) [8] เพื่อปกครองเมืองเชอหลี่อย่างใกล้ชิดและตั้งกองทัพที่นั่น

ในปีเดียวกันนั้น พระญามังรายได้ย้ายไปสร้างเมืองเชียงใหม่ หลังจากนี้ ดินแดนที่พระญามังรายทรงปกครองค่อยก่อรูปเป็นอาณาจักรล้านนา (ปาไป่สีฟู่) มีพื้นที่ตั้งอยู่ในทิศตะวันออกของพม่า ทิศตะวันตกของลาว ทิศใต้ของเชอหลี่ (สิบสองปันนา) และทิศเหนือของปอเล่อ (สุโขทัย)

พระญามังรายพยายามปกป้องรัฐของตนเองโดยร่วมมือกับเมืองที่อยู่ใกล้เพื่อต่อสู้กับราชวงศ์หยวน “ค.ศ. 1297 ปาไป่สีฟู่เป็นกบฏและเข้าไปตีเชอหลี่ ราชวงศ์หยวนให้เหย่เซียนปู้ฮัว (也先不花) นำทหารไปปราบปรามปาไป่สีฟู่” 2-3 ปีต่อมา ปาไปสีฟู่ยั่วยุชายแดนจีนหลายครั้ง ทำให้ราชวงศ์หยวนส่งหลิวเซินนำกองทัพไปปราบปราม ถึงแม้มีขุนนางเสนอว่า ปาไปสีฟู่เป็นพวกหมานอี๋อยู่ในดินแดนที่ห่างไกล สามารถใช้คนไปเกลี้ยกล่อมได้ ไม่ควรสร้างความลำบากให้แก่จีน [9] แต่จักรพรรดิไม่รับฟัง


@@@@@@@

ดังนั้น ใน ค.ศ. 1301 ราชวงศ์หยวนเตรียมตัวยกทัพโดยจัดตั้งกองทหารปราบปาไป่สีฟู่เฉพาะที่รวมทหารมองโกลและทหารท้องถิ่นของยูนนาน จักรพรรดิ “ส่งหลิวเซิน เหอล่าไต้ เจิ้งโย่วนำทหารสองหมื่นนายไปปราบปาไป่สีฟู่” “ส่งทหารยูนนานตีปาไป่สีฟู่” “ส่งนักโทษจากเสฉวนและยูนนานมาเป็นทหารในกองทัพ” และ “ตั้งกองพลปราบปาไป่สีฟูว่านฮู่ฝู่ (八百媳妇万户府-เมืองหมื่นครัว เรือนสนมแปดร้อย) 2 กอง ตั้งผู้บัญชาการ 4 นาย” “ตั้งหลิวเซิน (刘深) และเหอล่าไต้ (合剌带) เป็นจงซูโย่วเฉิง (中书右丞-รองเสนาบดีขวา) เจิ้งโย่ว (郑祐) เป็นชานจือเจิ้งซื่อ (参知政事-รองเสนาบดี) ให้ถือตราพยัคฆ์ทั้งสิ้น” นอกจากนี้ยัง “ให้ม้าห้าตัวต่อทหารสิบนาย หากไม่พอให้เสริมแทนด้วยวัวควาย” “ให้เงินแก่ทหารปราบปาไป่สีฟู่ รวมทั้งสิ้นเก้าหมื่นสองพันก้อนเศษ” [10]

แต่ในขณะที่ราชวงศ์หยวนส่งกองทัพไปปราบปรามปาไป่สีฟู่ ระหว่างนั้นเกิดกบฏในท้องที่ยูนนานและมีการทำสงครามกับพม่า จีนสูญเสียกำลังทัพจำนวนมาก ซึ่งส่งผลกระทบถึงสงครามปราบปาไป่สีฟู่ เมื่อหลิวเซิน ผู้เป็นจงซูโย่วเฉิง (เสนาบดีขวา) แห่งมณฑลยูนนาน จะไปปราบปรามปาไป่สีฟู่ นำทหารเข้าไปทางซุ่นหยวน [11] และได้เกณฑ์ราษฎรท้องถิ่นมารบ ถู่กวนซ่งหลงจี้ (ข้าหลวงท้องที่ยูนนาน) จึงเป็นผู้นำกบฏโดยขู่ว่า “ทางการเกณฑ์กำลังพวกท่าน ต้องตัดผมสักหน้าเป็นทหาร พลีกายในการศึก ลูกเมียต้องตกเป็นเชลย” [12] ทำให้ราษฎรท้องถิ่นไม่ยอมรับใช้ราชวงศ์หยวน

ราชวงศ์หยวน “ให้มณฑลยูนนานรับสมัครทหารอาสา 2,000 นายเพื่อตีปาไป่สีฟู่ ให้เบี้ยคนละ 60 พวง” และ “บัญชาการให้มณฑลยูนนานแบ่งมือธนูมองโกลไปตีปาไป่สีฟู่” ถึงเดือนกันยายน “กองทัพที่ยกไปตีพม่ากลับมาถูกจินฉือ (金齿-ฟันทอง) สกัดไว้ ทหารตายในการศึกมาก จากนั้นปาไป่สีฟู่กั่ว (อาณาจักรสนมแปดร้อย) และแคว้นหมานทั้งหลายก็พากันไม่จ่ายภาษีอากร โจรฆ่าขุนนาง และเจ้าหน้าที่จึงยกทัพไปปราบ” [13] ผลกระทบเหล่านี้ทำให้ราชวงศ์หยวนลำบากยิ่งขึ้น

@@@@@@@

ราชวงศ์หยวนทุ่มเทกำลังทหารอย่างน้อย 2-3 หมื่นคนเพื่อไปตีปาไป่สีฟู่ แต่สุดท้ายไม่สำเร็จ ทำให้ราชวงศ์หยวนเสียหายอย่างหนัก ทั้งคน ม้า และเงิน ในอีกด้านหนึ่งยังทำให้เมืองต่างๆ ในชายแดน เกิดความวุ่นวาย จึงมีขุนนางเสนอว่า “หลิวเซินเดินทัพไกลไปตีปาไป่สีฟู่กั๋ว เป็นการศึกซึ่งไม่ยุติ ทำให้ราษฎรเดือดร้อนและเกิดจลาจล ในระหว่างทางหลิวเซินปราบการกบฏไม่ได้ ยังทิ้งทหารหลบหนี ใน ค.ศ. 1302 เดือนมีนาคม จักรพรรดิปลดหลิวเซินและขุนนางทั้งหลายที่ไปปราบปาไป่สีฟู่ และปีต่อไป หลิวเซิน และขุนนางอีกสองคนถูกประหารชีวิต เนื่องจากแพ้ศึกและเสียไพร่พลในการปราบปาไป่สีฟู่” [14] สุดท้าย การใช้กำลังทหารบังคับล้านนาให้ยอมรับอำนาจของราชวงศ์หยวนจึงล้มเหลวโดยสิ้นเชิง

ในความคิดของชาวฮั่น ดินแดนพวกหมานอี๋ไม่มีประโยชน์ต่อประเทศ ถึงแม้ยึดครองดินแดนได้ทั้งหมด แต่ความคิดของชาวมองโกลในราชวงศ์หยวนยังต้องการยึดเอาล้านนาไว้ใต้อำนาจด้วย เพราะเหตุที่ราชวงศ์หยวนยังป้องกันชายแดนให้สงบและดึงอำนาจจากพม่าและลาว แต่พระญามังรายไม่ยอมสวามิภักดิ์และต่อสู้กับราชวงศ์หยวน ด้วยพระญามังรายกำลังขยายอำนาจและสถาปนาอาณาจักรของตนเอง จึงไม่ยอมให้อาณาจักรของตนเองตกในอำนาจของจักรพรรดิอื่น

เนื่องจากล้านนาอยู่ห่างไกลจากศูนย์กลางของราชวงศ์หยวน และลักษณะทางภูมิศาสตร์ ในตอนเหนือของล้านนามีความซับซ้อนด้วยพื้นที่เป็นป่าและมีภูเขาสูงการทำสงครามต้องพึ่งพากองทัพท้องถิ่นของยูนนาน แต่การปกครองบริเวณชายขอบยูนนานยังไม่ค่อยสงบ ผู้ปกครองท้องถิ่น (土官-ถู่กวน) ยังก่อการกบฏบ่อยครั้ง นอกจากนี้ ขุนนางบางคนของยูนนานยังติดสินบนกับผู้ปกครองท้องถิ่น ดังนั้น การใช้กำลังทหารบังคับและปราบปรามให้ล้านนายอมรับอำนาจของราชวงศ์หยวนจึงไม่สำเร็จ


@@@@@@@

หลังจากการขยายอำนาจและทำสงครามกับรัฐต่างๆ ติดต่อกันหลายปี กองทัพและงบประมาณของราชวงศ์หยวนเสียหายหนักขึ้น ทั้งยังมีการแย่งชิงอำนาจภายใน เนื่องจากเฉิงจองเถี่ยมู่เอ่อร์ (成宗铁穆耳) สิ้นพระชนม์ใน ค.ศ. 1307 ทำให้การปกครองของราชวงศ์หยวนไม่ค่อยมั่นคง ราชวงศ์หยวนจึงเริ่มปรับวิธีเชื่อมต่อกับปาไป่สีฟู่ และเมืองต่างๆ ในชายแดน

เมื่อ ค.ศ. 1309 ปาไปสีฟู่ เชอหลี่ใหญ่ และเชอหลี่น้อยก่อกบฏอีกครั้ง ราชวงศ์หยวนส่งซ่วนจือเอ๋อร์เวย (算只儿威) ผู้ดำรงตำแหน่งจงซูโย่วเฉิง (เสนาบดีขวา) แห่งมณฑลยูนนานไปเกลี้ยกล่อม แต่ปาไป่สีฟู่ไม่ยอม กลับมาร่วมมือกับเชอหลี่ใหญ่และเชอหลี่น้อยบุกชายแดนของราชวงศ์หยวนอีกครั้งใน ค.ศ. 1311 เพื่อป้องกันชายแดนของตนเองและช่วยเชอหลี่ใหญ่และเชอหลี่น้อยซึ่งเป็น “ประตูกั้นทาง” ระหว่างปาไป่สีฝู่กับราชวงศ์หยวน ดังนั้น จักรพรรดิจึงให้ “อ๋องแห่งยูนนานและโย่วเฉิงแห่งยูนนานไปปราบกบฏปาไป่สีฟู่ [14]

ทว่ายังไม่ถึงขั้นทำสงคราม สถานการณ์การเมืองของทั้ง 2 รัฐ เริ่มมีความเปลี่ยนแปลง ทำให้ความสัมพันธ์ปรับเปลี่ยนไป ใน ค.ศ. 1311 ราชวงศ์หยวนเปลี่ยนรัชกาลจากอู่จง (武宗) ขึ้นปกครอง ค.ศ. 1307-1311 เป็นเหรินจง (仁宗) ขึ้นปกครอง ค.ศ. 1311-1320 ซึ่งช่วงนี้การเมืองภายในราชวงศ์หยวนไม่มั่นคงเช่นกัน ใน ค.ศ. 1312 “วันที่ 13 เดือนที่ 2 รัชศกหวงซิ่ง (21 มีนาคม ค.ศ. 1312) ปาไป่สีฟู่มาถวายช้างที่ฝึกแล้วสองเชือก” [15] เป็นการถวายบรรณาการแก่ราชวงศ์หยวนครั้งแรกของปาไป่สีฟู่ตามที่หยวนสื่อบันทึกไว้

@@@@@@@

ในเดือนกันยายน ราชวงศ์หยวนยังเตรียมกองทัพมองโกล ตามกองทัพยูนนานไปปราบปาไป่สีฟู่ แม้ในสถานการณ์นี้ล้านนาจะเริ่มถวายบรรณาการแก่จีน แต่ยูนนานยังคงต้องการส่งกองทัพไปตีล้านนา อาจเพราะความสัมพันธ์ในระดับท้องถิ่นไม่ราบรื่น และราชสำนักได้รับการชักจูงจากกรมการยูนนานให้ไปโจมตีปาไป่สีฟู่ ซึ่งได้เชอหลี่ใหญ่กลับคืนในการปกครองไปแล้ว [16]

จึงแสดงให้เห็นว่าในความจริง จักรพรรดิยังหวังว่าจะปราบล้านนาไว้ใต้การปกครองโดยใช้กำลังทหาร แต่ถูกบังคับโดยสถานภาพของราชวงศ์หยวน ไม่ควรทำสงครามอีก ซึ่งก่อนกองทัพจะเคลื่อนพลมีขุนนางกราบบังคมทูลว่า “เรื่องของหมานอี๋นั้นเน้นการผูกพัน มิควรที่จะต้องไปปราบปรามให้ทหารล้มตายและสูญเสียมาก อีกทั้งประหารขุนนางในท้องถิ่น” [17]


อ่านเพิ่มเติม :-

    • อ่านล้านนาจากหลักฐานจีน เรียกอาณาจักร “สนมแปดร้อย” และธนูอาบยาพิษของพระนางจามเทวี
    • การทำบุญของคนล้านนาเมื่อ 500 ปีก่อน ภาพสะท้อนถึงความมั่งคั่ง





ขอขอบคุณ :-
ผู้เขียน : คนไกล วงนอก
เผยแพร่ : วันเสาร์ที่ 27 มกราคม พ.ศ.2567
เผยแพร่ในระบบออนไลน์ครั้งแรก : เมื่อ 6 กรกฎาคม 2565
URL : https://www.silpa-mag.com/history/article_89353?utm_source=msn_news&utm_medium=footer_click

เชิงอรรถ :-
[1] 李云泉,万邦来朝  朝贡制度史论(新华岀版社,2014)p.157
[2] 宋濂,元史(中华书局,1976)p.47
[3] เซวียนฝู่สื่อ ตำแหน่งที่ปกครองท้องถิ่น
[4] ตระกูลต้วน (大理段民) เป็นตระกูลกษัตริย์ที่ปกครองรัฐต้าหลี่
[5] หยวนไซว่ผู้เป็นหน่วยงานกํากับทหาร
[6] 杨长玉,“元代车里行政区划的设置及相关问题考论”, 西南古籍研究 ( 云南大学岀版社,2011) : 230.
[6] ปู้หลู่เหอต๋า เป็นชื่อตำแหน่งแม่ทัพ
[7] วินัย พงศ์ศรีเพียร และคณะกรรมการสืบค้นประวัติศาสตร์ไทยในเอกสารภาษาจีน, ปาไป่สีฟู่-ปาไป่ต้าเตี้ยน (กรุงเทพฯ: รุ่งแสงการพิมพ์, 2539), น. 166.
[8] 宋濂,元史(中华书局,1976)p.366
[9] Ibid., p. 407.
[10] วินัย พงศ์ศรีเพียร และคณะกรรมการสืบค้นประวัติศาสตร์ไทยใน เอกสารภาษาจีน, ปาไป่สีฟู่-ปาไป่ต้าเตี้ยน, น. 166.
[11] 宋濂,元史(中华书局,1976)p.433-434
[12] ซุ่นหยวน คือพื้นที่เมืองกุ้ยหยางมณฑลกุ้ยโจวในปัจจุบัน
[13] กนกพร นุ่มทอง, “หลักฐานล้านนาในเอกสารโบราณจีน: บันทึกเกี่ยวกับอาณาจักรสนมแปดร้อยในเอกสารโบราณสมัยราชวงศ์หมิงและราชวงศ์ชิง,” วารสารจีนศึกษา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 13, 2 (2563): 209.
[14] เรื่องเดียวกัน, น. 179
[15] เรื่องเดียวกัน, น. 180.
[16] เรื่องเดียวกัน, น. 182.
[17] 宋濂,元史(中华书局,1976)p.550
175  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / แก้เกมเด็กติดถ่าย TikTok โดดเรียนถี่ 9 ครั้งต่อวัน รร.ถอดกระจกห้องน้ำเกลี้ยง เมื่อ: มกราคม 28, 2024, 06:43:01 am




แก้เกมเด็กติดถ่าย TikTok โดดเรียนถี่ 9 ครั้งต่อวัน รร.ถอดกระจกห้องน้ำเกลี้ยง

โรงเรียนถอดกระจกในห้องน้ำออกทั้งหมด แก้ปัญหานักเรียนโดดเรียน ซ่อนในห้องน้ำเพื่อถ่ายคลิป เพราะติด TikTok อย่างหนัก!

ระบบโรงเรียน Alamance-Burlington ในสหรัฐอเมริกา เพิ่งตัดสินใจถอดกระจกในห้องน้ำออกทั้งหมด หลังจากจับได้หลายครั้งว่านักเรียนแอบโดดเรียนไปซ่อนอยู่ที่นั่นเพื่อถ่าย TikTok นักเรียนบางคนถูกจับได้ว่าเข้าห้องน้ำมากถึง 9 ครั้งต่อวัน เพราะพวกเขาติดถ่ายคอนเทนต์มาก

นายแอตกินส์ เจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ของ Alamance-Burlington School System กล่าวว่า กระจกในห้องน้ำโรงเรียน ปรากฏบ่อยครั้งในวิดีโอที่นักเรียนมัธยมปลายโพสต์บน TikTok นอกจากนี้ โรงเรียนยังได้ใช้ระบบดิจิทัลเพื่อให้นักเรียนเช็คอินเข้าชั้นเรียน ช่วยให้สามารถติดตามว่าใช้เวลาในชั้นเรียนนานเท่าใด

@@@@@@@

ซึ่งหลังจากกระจกถูกถอดออกพบว่า นักเรียนเข้าห้องน้ำน้อยลงอย่างเห็นได้ชัด และใช้เวลาอยู่ในห้องน้ำน้อยลง “เรากำลังพยายามให้ความรู้แก่นักเรียนว่า ทุกคนมีโทรศัพท์มือถือแล้ว และคุณต้องเรียนรู้วิธีใช้อย่างถูกต้อง โดยรู้ว่าเมื่อใดควรวางลง ” นายแอตกินส์กล่าว

การตัดสินใจนี้เกิดขึ้นโดยเพียงไม่กี่เดือนหลังจากผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีชาวอเมริกันหลายคนเตือนว่า Gen Z จะติดและพึ่งพา TikTok มากขึ้น อย่างไรก็ดี การตัดสินใจของโรงเรียนครั้งนี้ ต้องเผชิญกับการต่อต้านเนื่องจากส่งผลกระทบต่อนักเรียนคนอื่นๆ ที่ไม่ได้ละเมิดกฎ

จากข้อมูลของสถาบันวิจัย Pew วัยรุ่น 1 ใน 6 ในสหรัฐอเมริกากล่าวว่าพวกเขาใช้ TikTok และ YouTube "เกือบตลอดเวลา" ซึ่งการติด TikTok ทำให้นักเรียนหลายคนลดความสนใจในการเรียนทุกวัน โรงเรียนหลายแห่งทั่วสหรัฐอเมริกาพยายามค้นหาวิธีที่มีประสิทธิภาพเพื่อป้องกันไม่ให้นักเรียนติดหรือเสียสมาธิไปกับ TikTok


 



ขอขอบคุณ
ข้อมูล : vtc.vn | 27 ม.ค. 67 (13:15 น.)
S! News (Rewrite) : สนับสนุนเนื้อหา
URL : https://www.sanook.com/news/9198214/
176  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / ชี้เป้า 5 เกจิอาจารย์ ที่ช่วยแก้กรรมลดเคราะห์ ให้ชีวิตดีขึ้นได้ เมื่อ: มกราคม 28, 2024, 06:38:53 am




ชี้เป้า 5 เกจิอาจารย์ ที่ช่วยแก้กรรมลดเคราะห์ ให้ชีวิตดีขึ้นได้

หลายๆ ท่านคงเคยได้ยินคำว่า “เกจิอาจารย์” กัน แต่แอดเชื่อว่ามีหลายคนที่ยังไม่ทราบถึงความหมายของคำๆ นี้ค่ะ คำว่า เกจิ แปลว่า บางพวกหรือบางกลุ่ม เมื่อนำมารวมกับคำว่าอาจารย์แล้ว จะมีความหมายว่า อาจารย์บางพวกหรืออาจารย์บางกลุ่ม ที่มีวิชาอาคมแก่กล้า มีความชำนาญ ศักดิ์สิทธิ์ น่าเลื่อมใสและศรัทธา ซึ่งวันนี้แอดจะมาแนะนำ เกจิอาจารย์ที่ครั้งหนึ่งในชีวิต หากมีโอกาสควรไปกราบไหว้ขอพร เพื่อเสริมมงคลชีวิตให้ดีขึ้น พร้อมแล้วไปดูกันเลยค้า

@@@@@@@

1. หลวงพ่อเลิศ (พระครูปราโมทย์ปัญญาวัฒน์) เป็นเจ้าอาวาสวัดปราโมทย์ซึ่งมีความสามารถเรื่อง “พิธีตัดกรรมแบบโบราณ” จะทำบ่อยครั้งแค่ไหนก็ขึ้นอยู่กับแต่ละคน แต่ละครั้งใช้เวลาราว 2 ชั่วโมง คนที่จะมาร่วมพิธีตัดกรรม จะได้รับ “ศีล” คือการทำบุญอย่างหนึ่ง, “ถวายสังฆทาน” คือ บุญชนิดหนึ่ง, เวลาสวดก็นั่ง “กรรมฐาน” คือ ภาวนาก็เป็นบุญชนิดหนึ่ง รวมแล้วก็จะเป็นบุญครบ 3 ชนิด ทานมัย ศีลมัย และภาวนามัย สมบูรณ์แบบ

2. ครูบาน้อย เตชปญฺโญ วัดศรีดอนมูล จ.เชียงใหม่ “ครูบาน้อย” เป็นเกจิอาจารย์ชื่อดังจากแดนล้านนา ที่มีชื่อเสียงและมีผู้คนเคารพนับถือเลื่อมใสกันเป็นอย่างมาก โดยครูบาน้อยได้รับฉายาว่า “เตชปญฺโญ” ซึ่งแปลว่าผู้มีปัญญาเป็นเดช ท่านสามารถปะพรมน้ำมนต์ในการทำตะกรุด ทำเทียนสะเดาะห์เคราะห์ เทียนสืบชะตา และอื่นๆ

3. ครูบาชัยยาปัถพี ชยฺยรตฺนจิตฺโต แห่งสถานธรรมดอยแก้วสัพพัญญู ต.เวียงกาหลง อ.เวียงป่าเป้า จ.เชียงราย ซึ่งครูบาท่านนี้ ได้รับคำกล่าว จาก ครูบาบุญชุ่มว่า "นี่เณรน้อยรูปนี้ไม่ธรรมดา ท่านผู้นี้อีกหน่อยจะได้เป็นกำลังของพระศาสนา จะได้เป็นที่พึ่งของศรัทธาแน่นอนในอนาคต" และยังได้รับการยกย่อง เรียกว่าเป็น ครูบา มาตั้งแต่เป็นสามเณร และว่ากันว่า ครูบารูปนี้ เป็นตนบุญผู้สืบทอดวิชาเก่าแก่ของล้านนา

ท่านเคยทำเทียนมงคลต่างๆ ที่มีผู้ไปใช้แล้วเห็นผล การทำวัตถุมงคล ตะกรุตเครื่องราง ก็มีประสบการณ์มากมายเป็นที่กล่าวขาน และที่จะไม่กล่าวถึงไม่ได้เลยนั้นก็คือ ยันต์นกยูงทองที่ถือเป็นเอกลักษณ์ของครูบาชัยยาปัถพี ท่านใช้ยันต์นี้ทั้งเจิมบ้าน บริษัท ห้างร้าน เจิมรถ และเป็นยันต์ในวัตถุมงคลต่างๆ ซึ่งเกิดสิริมงคลแก่ผู้บูชาทั้งหลายให้เจริญรุ่งเรือง ร่ำรวยเงินทอง มีเสน่ห์เมตตามหานิยม และเเคล้วคลาดปลอดภัย

4. หลวงปู่แผ้ว ปวโร วัดรางหมัน นครปฐม พระเถราจารย์ชื่อดังแห่งวัดประชาราษฎร์บำรุง (วัดรางหมัน) ต.รางพิกุล อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม ปัจจุบันอายุ กว่า 101 ปี ได้รับการขนานนามว่าเป็นเทพเจ้าแห่งเมืองกำแพงแสน ท่านไม่ปรารถนายศตำแหน่งใดๆ ในทางปกครองของคณะสงฆ์เลย และยังใช้ชีวิตด้วยความสมถะ เรียบง่าย เคร่งครัดในพระธรรมวินัย จึงทำให้ท่านเป็นที่เคารพนับถือของบรรดาลูกศิษย์ตลอดจนพุทธศาสนิกชนทั่วไป

นอกจากนี้วัตถุมงคลของท่านยังมีชื่อเสียงและมีความขลังมาก จนผู้ที่ได้ไปบูชานั้นต่างกล่าวขานร่ำลือกันว่าวัตถุมงคลของหลวงปู่แพ้วนั้นมีพุทธคุณเข้มขลังที่สุด โด่งดังมากที่สุด หากมีโอกาสแนะนำให้ไปกราบท่านเพื่อเป็นสิริมงคลแก่ชีวิต

5. พระครูบาบุญชุ่ม “ครูบาบุญชุ่ม ญาณสํวโร” เจ้าอาวาสวัดพระธาตุดอนเรือง เมืองพง จ.ท่าขี้เหล็ก ประเทศเมียนมาร์ เป็นพระเกจิที่เป็นที่เคารพนับถือของประชาชนชาวไทย โดยเฉพาะในแถบภาคเหนือ ประเทศลาว ประเทศพม่า รวมทั้งสมาชิกพระราชวงศ์ภูฏานด้วย ตลอดช่วงเวลาที่ผ่านมาท่านมุ่งมั่นแน่วแน่ในการศึกษาปฏิบัติธรรมและได้สร้างธรรมนุสรณ์จากการอนุโมทนาบุญโดยพุทธศาสนิกชนหลายแห่ง เช่น พระธาตุดอยเวียงแก้ว ที่วัดพระธาตุดอยวังแก้ว ต.ศรีดอนมูล อ.เชียงแสน และอื่นๆ อีกมากมาย


@@@@@@@@

​สุดท้ายนี้ สิ่งที่จะทำให้เราพ้นเคราะห์หรือหมดกรรมได้นั้นอยู่ที่การปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ ปฏิบัติธรรมภาวนาเพื่ออุทิศให้เจ้ากรรมนายเวรเป็นหลัก การทำพิธีหรือพกเครื่องรางต่างๆ ก็เพื่อความสบายใจและดึงสิ่งดีๆ เข้ามาให้เราได้เลือกทำให้ชีวิตดีขึ้นเหมือนคำกล่าวที่ว่า คิดดี ทำดี ได้ดี ก็ให้ทุกท่านพบเจอแต่สิ่งที่ดีตลอดปี และตลอดไปนะคะ






Thank to : https://www.sanook.com/horoscope/271371/
27 ม.ค. 67 (13:30 น.) | Horosociety199 : สนับสนุนเนื้อหา
177  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / “วุฒิสภา” ลงพื้นที่แก้ปัญหา “วัดพระพุทธบาทบัวบก” ตั้งมา 107 ปี สร้างโบสถ์ไม่ได้ เมื่อ: มกราคม 27, 2024, 08:17:13 am
.



“วุฒิสภา” ลงพื้นที่แก้ปัญหา “วัดพระพุทธบาทบัวบก” ตั้งมา 107 ปี สร้างโบสถ์ไม่ได้ เพราะไม่มีโฉนดที่ดิน

วันที่ 26 มกราคม 2567 วานนี้เวลา 10.00 น. ที่ศาลาหลวงปู่เทสก์ เทสก์รังสี วัดพระพุทธบาทบัวบก ต.เมืองพาน อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี นพ.พลเดช ปิ่นประทีป รองประธานคณะกรรมาธิการแก้ไขปัญหาความยากจนและลดความเหลื่อมล้ำ วุฒิสภาคนที่ 1 ได้รับมอบหมายจาก ศ.ดร.สังศิต พิริยะรังสรรค์ ประธานคณะกรรมาธิการฯ ให้แก้ไขปัญหาเรื่อง การขอออกโฉนดที่ดิน 2525 ไร่ของวัดพระพุทธบาทบัวบก

โดยมี ดร.สุขอนันต์ วังสุนทร ที่ปรึกษาประจำตัว และเป็นประธานโครงการ “วัดยิ้ม” ขององค์การสืบสวนการทุจริต (FIO) และนางสุรางค์ เอกโชติ อดีตหัว หน้าผู้ตรวจกรมราชทัณฑ์ ผู้ที่นำคณะเข้ายื่นหนังสือร้องทุกข์ต่อ ประธานคณะกรรมาธิการ ฯ ได้เข้าประชุมร่วมกับ พระพุทธบทบริรักษ์ เจ้าอาวาสวัดพระพุทธบาทบัวบก และรองเจ้าคณะอำเภอบ้านผือ และประชาชนชาวบ้านผือจำนวนมาก




นพ.พลเดช ปิ่นประทีป กล่าวว่าวันนี้ได้มาในฐานะประธานคณะกรรมการที่จะช่วยดูแลปัญหาช่วยร้องทุกข์ที่มีผู้ร้องทุกข์ร้องเรียนไป เกี่ยวกับการออกโฉนดที่ดินของวัด ว่ามีอุปสรรคมานานาประการ วัดตั้งอยู่ที่นี่ 100 ร้อยปี มีโบราณสถาน โบราณวัตถุมากมาย แต่ว่าป่าไม้ กฎหมายซึ่งมาทีหลัง ได้มีข้ออาจจะขัดแย้งกัน ก็จะหาทางออกอย่างไร

เราได้ประชุมคณะทำงานอยู่ที่กรุงเทพฯ เชิญหน่วยงาน 5 หน่วยด้วยกัน คือ กรมป่าไม้ ที่ ดิน กรมอุทยาน สำนักพระพุทธศาสนาและกรมศิลปากร มาปรึกษาหารือกันว่า สภาพปัญหามันเป็นอย่างไร ตอนนี้พอจะมีแนวทางอยู่ว่า ให้ยึดกฎหมายเป็นสำคัญ ทุกหน่วยงานก็มีกฎหมาย แต่ว่ากฎหมายมันคนละฉบับนี่ มีข้อที่มองแตกต่างกันบ้าง แต่ว่าอย่างไรก็ตามในหลักของกฎ หมายก็ต้องมี ข้อยุติที่เรียกว่า ยุติธรรม ก็ต้องใช้หลักอันนั้นเป็นสำคัญ ตนก็จะประชุมอีกครั้งหนึ่ง เป็นครั้งที่ 3 ใน 2 สัปดาห์ข้างหน้า

วันนี้ที่ตนมาที่นี่ก็เพื่อที่จะดูข้อเท็จจริง และก็มากราบเยี่ยมหลวงพ่อด้วย และก็มาดูสถานที่ เท่าที่เห็นก็โดยสภาพโดยรวม ๆ แต่ว่าต้องไปดูในแง่ของข้อกฎหมาย และความเป็นไปได้ ในที่สุด เรื่องก็ต้องยุติไม่น่าจะคาราคาซังไปกว่านี้ ถ้ายุติแล้วเราอยากเห็นที่นี่ เป็นป่าที่อุดมสมบูรณ์ อาจจะเป็นป่าชุมชนแบบหนึ่งที่อุดมสมบูรณ์ สิงห์สาราสัตว์ที่ไม่เป็นพิษอยู่กับมนุษย์ได้จะกลับคืนมา และประชาชนก็สามารถจะใช้ประโยชน์จากวัดและจากป่าได้ด้วย




ตนดีใจที่ทางกรมศิลปากรก็จะ เสนอโครงการนี้เป็นมรดกโลก นี่ก็น่าดีใจและชาวอุดรธานีชาวบ้านผือ ทุกคนควรจะสนับสนุน ทำไปสู่จุดนั้นให้ได้ ไปสู่จุดนั้นแล้ว มันต้องผ่านด่านอะไรอีกหลายด่าน ซึ่งการทำเรื่องให้ชัดเจนในเรื่องของกฎหมาย ในเรื่องของกรรมสิทธิ์ที่ดิน ว่าที่ตรงนี้ใครจะเป็นคนดูแล ถึงแม้ว่าวัดเป็นคนดูแล วัดก็ถือว่าเป็นหน่วยงานของรัฐประเภทหนึ่งและเป็นนิติบุคคล และมีกฎหมาย พ.ร.บ.ลักษณะการปกครองสงฆ์บังคับกำกับดูแลอยู่ และวัดก็เป็นกำลังที่จะสามารถดูแลป่าได้

ถ้าวัดดูแลป่าได้อุดมสมบูรณ์ขึ้นมา ไม่แพ้หรือดีกว่าเจ้าหน้าที่รัฐ เช่นเจ้าหน้าที่ป่าไม้ เพราะมองเห็นสภาพป่าหมดไปด้วยมือของเจ้าหน้าที่ป่าไม้เป็นจำนวนมาก เรามาลองดูว่าวัดและชุมชน สามารถจะดูแลป่าได้ไหม ถ้าทำได้จะเป็นปัจจัยสนับสนุนสำคัญ ที่จะได้มรดกโลกในอนาคต ถ้าเกิดมีธุดงคสถานของประเทศไทย จะมุมไหน จะดูโขลดหินไหน และ อันนี้เป็นความฝัน คิดว่าเป็นสมบัติของแผ่นดินเลยนะ ถ้าพูดตามภาษาทันสมัยนี่ ที่ตนพูดมาก็คือซอร์ฟพาวเวอร์




พระพุทธบทบริรักษ์ เจ้าอาวาสวัดพระพุทธบาทบัวบก กล่าวว่า วัดพระพุทธบาทบัวบก สร้างเมื่อ พ.ศ. 2460 เดิมชื่อวัดพระบาทภูกู่เวียง หรือวัดกู่เวียงเป็นวัดร้างเก่าแก่สมัยทวารวดี เป็นวัดเก่าแก่ในภาคอีสาน ตั้งอยู่บนไหล่เขาภูพระบาท ซึ่งเชื่อมกับเทือกเขาภูพาน ที่ บ้านติ้ว หมู่ที่ ๖ ตำบลเมืองพาน อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ที่ดินตั้งวัดมีเนื้อที่ ๒๕๐๐ ไร่ มีที่ธรณีสงฆ์จำนวน ๑ แปลง เนื้อที่ ๒๕ ไร่

วัดนี้สร้างขึ้นในบริเวณที่เคยเป็นศาสนสถาน และแหล่งอาศัยของคนโบราณมาก่อน ตามเพิงหินต่าง ๆ มักพบรอยถูกดัดแปลงเป็นที่อยู่อาศัย ภายในบริเวณวัดมีสิ่งก่อสร้างทางพระพุทธศาสนาหลายอย่าง เช่น รอยพระพุทธบาท เสมาหิน และโบสถ์สมัยโบราณ

พระพุทธบทบริรักษ์ เจ้าอาวาสวัดพระพุทธบาทบัวบก กล่าวว่า วัดพระพุทธบาทบัวบก เป็นวัดราษฎร์สังกัดคณะสงฆ์ฝ่ายมหานิกาย ตั้งอยู่ในตำบลเมืองพาน อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี ที่ดินตั้งวัดมีเนื้อที่ 2,500 ไร่ มีที่ธรณีสงฆ์จำนวน 1 แปลง เนื้อที่ 25 ไร่ เดิมชื่อ วัดพระบาทภูกู่เวียง หรือ วัดกู่เวียง เป็นวัดร้างเก่าแก่สมัยทวารวดี ต่อมาปี พ.ศ.2459 คณะสงฆ์และชาวบ้านได้เข้ามาบูรณปฏิสังขรณ์สร้างขึ้นเป็นวัดอีกครั้งหนึ่ง

โดยมีพระอาจารย์สีทัตถ์ สุวรรณมาโจ ญาณสัมปันโน พระวิปัสสนากรรมฐานที่มีชื่อเสียงในภาคนี้ เป็นผู้นำในการบูรณะเจดีย์และสร้างวัดขึ้นใหม่โดยใช้หินภูเขาเผาให้สุกผสมกับยางไม้ ยางมงและหนังสัตว์ที่เน่าและหัวกล้วยเน่ามาผสมกันนำมาก่อสร้างเสนาสน นอกจากนั้นพระคำผง พระคำเม้าได้แกะสลักลายต่างๆ บนองค์เจดีย์ครอบรอยพระพุทธบาท ตั้งเป็นวัดเมื่อ พ.ศ. 2460 ด้านการศึกษามีโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกธรรม เปิดสอนเมื่อ พ.ศ. 2506

@@@@@@@

โบราณสถานที่สำคัญในวัดคือ พระพุทธบาทบัวบก เชื่อว่าพระพุทธเจ้าได้ประทับไว้โดยมีข้อ ความกล่าวอ้างถึงไว้ในตำนานพระเจ้าเลียบโลกว่า พระพุทธองค์ได้เสด็จมาปราบนาคสองพี่น้องที่ภูกูเวียน(ภูพระบาท) เมื่อนาคทั้งสองพ่ายแพ้แล้ว ได้ทูลขอให้พระพุทธองค์ประทับรอยพระพุทธบาทไว้ 2 แห่ง คือ รอยพระพุทธบาทบัวบกแห่งนี้ และรอยพระพุทธบาทบัวบานอีกแห่งหนึ่ง

ตามประวัติว่าแต่เดิมมีอุบมง (มณฑป) ขนาดเล็กสร้างครอบพระพุทธบาทไว้ ต่อมาเมื่อปีพ.ศ. 2463 พระอาจารย์สีทัตถ์ สุวรรณมาโจ ได้ธุดงค์มาพบ จึงได้ปฏิสังขรณ์สร้างพระธาตุครอบใหม่ดังปรากฏในปัจจุบัน โดยใช้เวลาสร้างตั้งแต่ปี พ.ศ.2463 แล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2476

สำหรับวัดนี้ได้มีบูรพาจารย์หลายรูป อาทิ เช่น หลวงปู่เสาร์ กันตสีโล หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต หลวงปู่บุญ ขันธโชติ หลวงปู่แหวน สุจิณโณ หลวงปู่ขาว อนาลโย หลวงปู่เทสก์ เทสก์รังสี หลวงปู่ชอบ ฐานสโม หลวงปู่ฝั้น อาจาโร หลวงปู่จิ๋ว พุทธญาโณได้มาธุดงค์ตามจุดต่าง ๆ ทั่วเขตแดนวัดแห่งนี้มาแล้ว




พระครูพุทธบทบริรักษ์ กล่าวต่อไปว่า อาตมาได้บวชเรียนมาตั้งแต่ พ.ศ.2511 และอยู่วัดนี้มาตั้งแต่ปี พ.ศ.2520 ในฐานะเจ้าอาวาสรุ่นที่ 5 จนถึงปัจจุบัน ได้พิจารณาเห็นว่า วัดพระพุทธบาทบัวบก ไม่สามารถขอพระราชทานวิสุงคามสีมา อันเป็นเครื่องหมายแสดงความมั่นคงและยั่งยืนให้แก่พระพุทธศาสนาสืบไปได้ เพราะการขอออกโฉนดที่ดินของวัด มีปัญหาอุปสรรคมากมาย

กล่าวคือ ภายหลังที่สำนักงานที่ดิน สาขาบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี ได้ออกมาทำการรังวัดที่ดินเป็นที่เรียบร้อย ตามคำขอรังวัด กระบวนการรังวัดเริ่มตั้งแต่วันที่ 17 สิงหาคม 2565 ถึงวันที่ 15 พฤศจิกายน 2565 มีพื้นที่รวม 2,397 ไร่ 3 งาน 39.1 ตารางวา น้อยกว่าเดิม 102 ไร่ 60.5 ตารางวา และแจ้งว่า การรังวัดได้มีการคัดค้านจาก 3 หน่วยงานคือ กรมศิลปากร กรมป่าไม้ และกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช

และในระหว่างที่คณะตรวจพิสูจนสิทธิ์จังหวัดรอผลการตรวจสอบตำแหน่งที่ดินกับระวางแผนที่ทางอากาศ ประการสำคัญ ประชาชนเป็นผู้เดือดร้อน เป็นเหตุผลให้กระทบการทำมาหากิน และพื้นที่ ส.ป.ก.4-01 เดือดร้อนทั้งหมดใน 3 ตำบลใกล้เคียง อีกทั้ง ยังมีกลุ่มบุคคลเข้ามาข่มขู่ คุกคาม อาตมาภาพขอเรียนว่าวัดพระพุทธบาทบัวบก มีมติที่ประชุมคณะสงฆ์เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน 2531 “ให้กรมศิลปากรยืมเพื่อใช้ประโยชน์โดยไม่มีกำหนด แต่จะให้ลดเนื้อที่วัดให้จำกัดกว่าเดิมไม่ได้” เป็นหลักฐาน

พระครูพุทธบทบริรักษ์ กล่าวในตอนท้ายว่า อาตมาจึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณาดำเนินการแก้ไขปัญหา อุปสรรคในการออกโฉนดที่ดินของ วัดพระพุทธบาทบัวบกเป็นกรณีพิเศษ เร่งด่วน และเป็นธรรม ถูกต้องตามหลักฐานทางราชการ ให้สอดคล้องตามกฎหมายรัฐธรรมนูญพุทธศักราช 2560 มาตรา 67 เพื่อเป็นประโยชน์ต่อพระพุทธศาสนา ความสงบสุขของประชาชน และความมั่นคงของสถาบันหลักของชาติโดยรวมด้วย.






ขอบคุณ : https://thebuddh.com/?p=76936
178  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / วัดหลักสี่ฯ อ.บ้านแพ้ว ร่วมกับมูลนิธิธรรมาภิบาลทางการแพทย์ ตรวจสุขภาพพระภิกษุฟรี เมื่อ: มกราคม 27, 2024, 08:05:17 am
.



วันอาทิตย์นี้ “วัดหลักสี่ ฯ” อำเภอบ้านแพ้ว ร่วมกับมูลนิธิธรรมาภิบาลทางการแพทย์ ตรวจสุขภาพพระภิกษุฟรี เพื่อถวายพระกุศลแด่ “สมเด็จพระสังฆราช”

วันที่ 25 ม.ค. 2567  แหล่งข่าวจากสำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดสมุทรสาคร แจ้งว่า ในวันอาทิตย์ที่จะถึงนี้ พระมงคลพัฒนาภรณ์  เจ้าคณะจังหวัดสมุทรสาคร เจ้าอาวาสวัดหลักสี่ราษฎร์สโมสร อ.บ้านแพ้ว จ.สมุทรสาคร ร่วมกับมูลนิธิธรรมาภิบาลทางการแพทย์  และนักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรธรรมาภิบาลทางการแพทย์ สำหรับผู้บริหารระดับสูง รุ่นที่ 10

จะจัดโครงการหน่วยแพทย์อาสาถวายพระกุศล แด่สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ  สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ในวันอาทิตย์ที่ 28 มกราคม 2567 ณ วัดหลักสี่ราษฎร์สโมสร อ.บ้านแพ้ว จ.สมุทรสาคร ตั้งแต่เวลา 08.30-12.00 น. เพื่อถวายการตรวจสุขภาพพระภิกษุสงฆ์ที่ได้สำรวจล่วงหน้าไว้ก่อนแล้ว ประมาณ 400 รูป โดยจะทำการตรวจ 11 ชนิด อาทิ เลือด คลื่นไฟฟ้าหัวใจ ฟัน ปอด ตา หู จมูก และ กระดูกข้อ รวมทั้งโรคผิวหนัง และมีคลินิคแพทย์แผนจีน คลินิกแพทยแผนไทย เป็นต้น




ขอบคุณ : https://thebuddh.com/?p=76918
179  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / 10 เรื่องเกี่ยวกับ ความคิด ที่สำคัญสุดๆ แต่แทบไม่มีใครรู้.!! เมื่อ: มกราคม 27, 2024, 07:38:53 am
.



10 เรื่องเกี่ยวกับ ความคิด ที่สำคัญสุดๆ แต่แทบไม่มีใครรู้.!! โดยคุณพศิน อินทรวงค์

1. ความคิด และจิต ไม่ใช่สิ่งเดียวกัน

แต่มีส่วนสัมพันธ์กัน ความคิดคือจิตสำนึก อุปนิสัยและการตอบสนองคือสิ่งที่ถูกส่งมาจากจิตใต้สำนึก ส่วนธรรมชาติของจิตเดิมแท้นั้นอยู่ลึกลงไปกว่าจิตสำนึก จิตใต้สำนึก และเป็นยิ่งกว่าจิตไร้สำนึก แท้จริงแล้ว เราไม่ใช่ความคิด และความคิดก็ไม่ใช่เรา

2. ความคิด และอุปนิสัยของคนเรานั้น เกิดจากการสะสมสัญญาหมายจำหลายภพชาติ

ไม่ได้เกิดจากประสบการณ์ชาตินี้เพียงชาติเดียว การแก้ปัญหาความคิดโดยการพยายามคิดดีเพียงอย่างเดียวจึงเป็นไปไม่ได้ เพราะธรรมชาติของจิตย่อมมีการปรุงแต่งทั้งความคิดดีและร้ายสลับกันไปมา พระพุทธเจ้าจึงนำเสนอหนทางใหม่ที่ดีกว่า “การควบคุมความคิด” นั่นคือ “การเห็นความคิด” เมื่อเราคิด เราจะกลายเป็นส่วนหนึ่งของสถานการณ์ ต่อเมื่อเราเห็นความคิด เราจะหลุดออกจากสถานการณ์ เมื่อเห็นความคิดแล้ว จะนำไปสู่ความรู้ที่ว่าความคิดไม่ใช่เรา เมื่อรู้ว่าความคิดไม่ใช่เราแล้วจะนำไปสู่การไม่ยึดติดความคิด จึงเป็นการแก้ไขปัญหาความคิดที่ได้ผลถาวร

3. สิ่งที่เราเรียกว่าการใช้ความคิดของคนส่วนใหญ่

ไม่ใช่การใช้ความคิด…แต่เป็นแค่การปรุงแต่ง และความฟุ่งซ่าน เป็นแค่ความกังวลไร้ประโยชน์ที่ผุดขึ้นมาระหว่างกำลังเผลอเรอ ถ้าเป็นการใช้ความคิดจริง จะไม่ก่อให้เกิดโทษและความทุกข์ตามมา การใช้ความคิดที่แท้จริงจะเกิดได้ ก็ต่อเมื่อเรามีสมาธิพุ่งเป้าไปสู่สิ่งที่อยู่ตรงหน้า เป็นการขับเคลื่อนชีวิตโดยใช้กำลังแห่งปัจจุบันขณะไปเรื่อยๆ โดยไม่มีความคิดอดีต และอนาคตเข้ามาเกี่ยวข้อง

@@@@@@@

4. ทุกข์ทั้งหมด ล้วนเกิดจากความคิดปรุงแต่ง

ไม่ว่าจะเรียกมันว่า ทุกข์เพราะอะไร แต่รากก็มาจากสิ่งเดียวกัน นั่นคือความคิด ถ้าใครแก้ปัญหาความคิดได้ บุคคลผู้นั้นก็จะไม่มีความทุกข์เลยชั่วชีวิต

5. การยุติความทุกข์ให้เหลือศูนย์เปอร์เซ็นต์

เป็นสิ่งที่ทำได้จริง ไม่ใช่เรื่องหลอกลวง หรือเรื่องอุปมาอุปไมย

6. ทุกจุดที่มนุษย์ทุกคนยืนอยู่ ล้วนมีทั้งสุข และทุกข์

ไม่มีใครมีความสุขอยู่ตลอดเวลา ไม่มีใครมีความทุกข์อยู่ตลอดเวลา การที่คนเราจะพบความสุขที่แท้จริงได้ จึงไม่ใช่เรื่องที่ว่า เราเป็นใคร มีฐานะอย่างไร มีการศึกษาแค่ไหน แต่เป็นเรื่องที่ว่า เราสามารถเท่าทันความคิดของเราได้แค่ไหน คิดเก่ง ไม่ได้แปลว่าเท่าทันความคิด และเท่าทันความคิด ก็ไม่จำเป็นต้องคิดเก่ง หากแต่ต้องมีความสามารถใช้ความคิดได้ในเวลาที่เหมาะสม เป็นนายของความคิด ไม่ใช่เป็นทาสที่ถูกความคิดลากจูงไปสู่หนทางแห่งความทุกข์

7. สติคือสิ่งสำคัญที่สุดในชีวิตคนเรา

เพราะสติคือตัวควบคุมความคิด และการควบคุมสติ ไม่ใช่เรื่องของความรู้ แต่เป็นทักษะที่ต้องฝึกฝนทำอย่างต่อเนื่องจนเกิดความชำนาญ การอ่าน การฟัง จึงไม่สามารถทำให้คนเรามีสติที่แข็งแกร่งได้ เป็นแต่เพียงการทำความเข้าใจเบื้องต้น เพื่อเข้าสู่กระบวนการฝึกฝนทางจิตที่ถูกต้องเท่านั้น


@@@@@@@

8. โหมดของความคิดนั้นมีด้วยกันห้าโหมด

หนึ่ง. คิดร้ายอันได้แก่คิดปรุงแต่งหรืออกุศลทั้งหลาย
สอง. คิดดีหรือคิดเป็นกุศล คิดในลักษณะเมตตา หรือคิดในการทำหน้าที่อย่างไร้กังวล
สาม. ดับความคิด หรือทำงานด้วยจิตว่าง หรืออยู่ในฌานสมาธิทั้งแปดระดับ
สี่. เห็นความคิด นั่นคือ เห็นการเคลื่อนไหวของร่างกาย ความรู้สึก เห็นการปรุงแต่งของความคิด เห็นความจริงแห่งการเกิดดับของสิ่งต่างๆ
ห้า. เห็นว่า ความคิดไม่ใช่ตัวตน เห็นว่า แม้แต่จิตก็ไม่ใช่เรา

9. ปกติแล้วคนเราจะมีความคิดอยู่ในโหมดคิดร้ายมากที่สุด

ถ้ามีสติขึ้นหน่อยก็จะสามารถประคับประคองตนเองให้อยู่ในโหมดคิดดีได้มากขึ้น แต่อย่างไรก็ตาม ไม่นานก็จะย้ายความคิดไปอยู่ในโหมดคิดร้ายอีก สลับไปมาอยู่อย่างนั้น ส่วนโหมดดับความคิดจะต้องมีการฝึกฝนสมาธิเข้ามาเกี่ยวข้อง และถ้าจะเข้าสู่การเห็นความคิด และรู้ว่าความคิดไม่ใช่ตัวตน ก็จำเป็นต้องฝึกฝนวิปัสสนากรรมฐานควบคู่ไปด้วย

10.ใครก็ตามที่เห็นการทำงานของความคิดบ่อยๆ

ความคิด และจิตจะแยกออกจากกัน จากนั้นความคิดที่ขึ้นๆ ลงๆ ดีๆ ร้ายๆ สุขๆ ทุกข์ๆ จะเข้าสู่ภาวะความเป็นกลางมากขึ้นโดยไม่ต้องควบคุม สิ่งเหล่านี้จะเป็นไปโดยธรรมชาติ ส่งผลให้บุคคลผู้นั้นกลายเป็นคนที่มีความสงบนิ่ง สุขุม มีปัญญาเฉียมคม ไม่ตกเป็นทาสของความต้องการชนิดต่างๆ ต่อเมื่อจิตเห็นการทำงานของความคิดบ่อยเข้าๆ ก็จะเห็นว่าแม้แต่ตัวจิตเองก็มีลักษณะเกิดดับอยู่ตลอดเวลา เมื่อเห็นว่าจิตมีลักษณะเกิดดับแล้ว กระบวนการที่จิตจะเข้าไปสำคัญมั่นหมายว่า สิ่งนั้นสิ่งนี้เป็นของเราจะถูกทำลาย ความยึดมั่นถือมั่นจึงถูกทำลายลงไปด้วย สิ่งนี้เองคือจุดมุ่งหมายของการเกิดมาเป็นมนุษย์ เป็นการทำหน้าที่ของความเป็นมนุษย์ได้อย่างสมบูรณ์แบบ

@@@@@@@

สิ่งเหล่านี้สามาถทำได้จริง เพียงแค่ตั้งใจจริง ฝึกฝนจริง  ก็จะได้สิ่งที่เป็นของจริง ซึ่งคู่ควรกับผู้ที่เป็นคนจริงเท่านั้น





ขอขอบคุณ :-
เรื่องโดย : พศิน อินทรวงค์
URL : https://cheewajit.com/healthy-mind/79076.html
สุขใจ | January 17, 2024 | cheewajitmedia   
180  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / พาลูก 5 ขวบ ลงแช่แม่น้ำคงคา เชื่อช่วยรักษามะเร็ง-ยืดอายุ แต่ผลลัพธ์ช็อกใจสลาย เมื่อ: มกราคม 27, 2024, 07:25:32 am
.



พาลูก 5 ขวบ ลงแช่แม่น้ำคงคา เชื่อช่วยรักษามะเร็ง-ยืดอายุ แต่ผลลัพธ์ช็อกใจสลาย

ครอบครัวพาเด็กชายวัย 5 ขวบ ลงแม่น้ำคงคา เชื่อช่วยรักษามะเร็ง-ยืดอายุ แต่ผลลัพธ์ตรงกันข้าม กลายเป็นช็อกใจสลาย

เว็บไซต์ CTWANT รายงานเหตุการณ์โศกนาฏกรรมในครอบครัวที่มาจากความเชื่อเรื่องเหนือธรรมชาติ ซึ่งเกิดขึ้นที่ประเทศอินเดีย เมื่อครอบครัวหนึ่งซึ่งอาศัยในเมืองเดลี พาลูกชายวัย 5 ขวบ ซึ่งป่วยด้วยโรคร้ายนั่งรถไปไกลกว่า 370 กิโลเมตร เพื่อมาแช่น้ำคงคา เพราะเชื่อว่าจะรักษาและยืดอายุของเด็กน้อย แต่ผลลัพธ์ที่ได้กับตรงกันข้าม

ตามรายงานของสื่อท้องถิ่น NDTV เผยว่า เด็กชายวัย 5 ขวบ ป่วยเป็นมะเร็งเม็ดเลือดระยะสุดท้าย แพทย์วินิจฉัยว่าเขาไม่สามารถรักษาได้ แต่ทางครอบครัวไม่ยอมแพ้ เมื่อวันที่ 24 ม.ค. ที่ผ่านมา เวลาประมาณ 09.00 น. พวกเขาได้พาลูกชายที่กำลังป่วยนั่งแท็กซี่ออกจากเมืองเดลี เดินทางไปยังแม่น้ำคงคา ที่เมืองหริทวาร ของรัฐอุตตราขัณฑ์ ซึ่งเป็นหนึ่งในสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ตามความเชื่อของศาสนาฮินดู

ครอบครัวของเด็กชายเชื่อว่าแม่น้ำศักดิ์สิทธิ์จะช่วยรักษาเยียวยาลูกชายได้ เมื่อไปถึงก็จัดการทำพิธีกรรม ทางพ่อแม่ของเด็กชายได้สวดมนต์อยู่บนฝั่ง ในขณะที่ผู้เป็นป้าของเด็กชายได้พาหลานลงไปจุ่มใต้น้ำ ท่ามกลางอากาศหนาวเหน็บ และน้ำในแม่น้ำเย็นเฉียบ




กระทั่งผู้คนที่อยู่รอบ ๆ สังเกตว่า เด็กชายอยู่ในน้ำนานเกินไป จึงบอกให้ทางครอบครัวหยุด แต่พวกเขาก็ไม่เชื่อ พลเมืองดีที่จะเข้าไปช่วยดึงตัวเด็กชายขึ้นมาจากน้ำ ยังถูกป้าของเด็กชายขัดขืน และถึงขั้นจะทำร้ายพวกเขาที่เข้าขัดขวาง

กระทั่งเมื่อเด็กชายถูกพาขึ้นมาจากน้ำก็พบว่าเขาแน่นิ่งไม่ได้สติ แม้ขณะนั้นป้าของเด็กชายยังนั่งเฉยข้างร่างของหลาน โดยเชื่อว่าเด็กชายจะฟื้นกลับมามีชีวิตอีกครั้ง

ในที่สุดมีคนแจ้งหน่วยฉุกเฉิน นำตัวเด็กชายส่งโรงพยาบาล แต่แพทย์ไม่สามารถช่วยยื้อชีวิตได้ เด็กชายเสียชีวิตไประยะหนึ่งแล้ว เนื่องจากขาดอากาศหายใจจากการจมน้ำ

ซึ่งทางเจ้าหน้าที่ตำรวจในพื้นที่จึงได้เข้ามาควบคุมตัวพ่อและแม่ของเด็กชาย รวมทั้งป้าของเขาไปสอบสวนเพื่อดำเนินการทางกฎหมายแล้ว

ด้าน คนขับแท็กซี่ที่พาครอบครัวนี้มาส่ง เล่าว่า ตอนนั้นเด็กชายป่วยหนักอย่างเห็นได้ชัด ก่อนที่จะได้ทราบจากครอบครัวว่าเด็กป่วยด้วยโรคร้าย แต่เขาก็ยังใจสู้นั่งรถระยะทางกว่า 370 กิโลเมตร ไม่คาดคิดว่าเด็กชายจะจมน้ำทั้งเป็นด้วยฝีมือของครอบครัวของเขาจากเหตุการณ์นี้

ชมภาพทั้งหมดได้ที่ : https://www.sanook.com/news/9196114/gallery/





ขอขอบคุณ
ข้อมูล : CTWANT,NDTV
Annika K. : ผู้เขียน:  27 ม.ค. 67 (06:00 น.)
URL : https://www.sanook.com/news/9196114/
181  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / Re: ถวายสังฆทานให้ถูกวิธี เมื่อ: มกราคม 25, 2024, 12:41:06 pm
.



บทความรายการธรรมธารา : เรื่อง “วิธีทำบุญ”

ของกองอนุศาสนาจารย์ กรมยุทธศึกษาทหารเรือ , ออกอากาศทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย กรมประชาสัมพันธ์ ,วันอาทิตย์ที่ ๑๐ มกราคม ๒๕๔๒ , นาวาเอก ทองย้อย แสงสินชัย บรรยาย




 :25: :25: :25:

สวัสดีครับ ท่านผู้ฟังที่เคารพ เมื่อปลายปี ๒๕๔๑ มีข่าวกระทบความรู้สึกของชาวพุทธในเมืองไทยอยู่เรื่องหนึ่ง ข่าวนั้นนำไปสู่คำถามว่า ทำบุญด้วยทรัพย์สินเงินทองมากๆย่อมได้บุญมาก จริงหรือ.? และวิธีทำบุญนั้นต้องบริจาคเงินจำนวนมากๆ เท่านั้นหรือ.? จึงจะเป็นบุญ ไม่มีวิธีทำบุญแบบอื่นหรือ.?

รายการธรรมธาราวันนี้ จึงจะขอถือโอกาสตอบคำถามดังกล่าวนี้ เท่าที่เวลาจะอำนวย

คำถามที่ว่า ทำบุญด้วยทรัพย์สินเงินทองมากๆ ย่อมได้บุญมาก จริงหรือ.?

ข้อนี้ต้องเข้าใจให้ถูกต้องเสียก่อนว่า คำว่าบุญในคำที่ว่า “ได้บุญ” นี้ หมายถึง ประโยชน์และความสุข หมายความว่า ผู้ทำก็ได้ความสุข ผู้รับก็ได้ประโยชน์ ถ้าผู้รับประโยชน์จากบุญนั้นมีมากก็เป็นบุญมาก ถ้าได้ประโยชน์น้อยคน บุญก็น้อย

ตัวอย่างเช่น ถวายรถยนต์ให้พระภิกษุ ก ไว้ใช้ส่วนตัว ก็ได้ประโยชน์น้อยหน่อย แต่ถ้าถวายรถยนต์ให้วัดไว้ใช้รับส่งพระภิกษุสามเณรทั้งวัดก็ได้ประโยชน์มาก ย่อมจะได้บุญมาก หรือสร้างพระพุทธรูปถวายวัดที่มีพระพุทธรูปบริบูรณ์อยู่แล้ว ก็ได้ประโยชน์มาก นี่มองในแง่เป็นประโยชน์

ส่วนในแง่ความสุขของผู้ทำหรือผู้ให้นั้น ท่านว่าจะได้บุญมากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับเจตนา หรือความตั้งใจ เต็มใจ ซึ่งมีอยู่ ๓ ระยะ คือ ก่อนทำ เรียกว่า บุพเจตนา ขณะทำ เรียกว่า มุญจนเจตนา และ หลังทำ เรียกว่า อปรเจตนา ถ้าเจตนาทั้ง ๓ ระยะนี้มีอยู่เต็มที่เต็มเปี่ยม ผ่องใสตลอดเวลา แม้ไทยธรรมคือทรัพย์สิ่งของที่บริจาคจะมีจำนวนเล็กน้อย แต่ก็ย่อมได้อานิสงส์มาก

ตรงกันข้าม แม้บริจาคมาก แต่ถ้าเจตนาทั้ง ๓ ระยะไม่ผ่องใส ทำบุญแล้วถูกหวย ทำบุญแล้วคลายแคล้วจากอุบัติเหตุ ทำบุญแล้วหายจากโรคภัยไข้เจ็บ ผลดังกล่าวนี้ไม่จำเป็นต้องเกิดจากการทำบุญให้ทานโดยตรง แต่เป็นเหตุโดยอ้อม หรือเป็นเพียงผลพลอยได้ ซึ่งอาจจะเกิดหรือไม่เกิดก็ได้ ที่ต้องย้ำเพราะมักจะมีคนทำบุญจำพวกหนึ่งคร่ำครวญเสมอว่า ทำบุญตั้งมากมายทำไมไม่ถูกหวยสักที ทำบุญแล้วทำไมยังประสบความเดือดร้อนอยู่อีก ซึ่งการคร่ำครวญเช่นนี้เกิดจากความไม่เข้าใจเรื่องผลบุญ หรือเรียกร้องเอาผลบุญแบบไม่สมเหตุสมผลนั่นเอง

ส่วนคำถามที่ว่า ต้องบริจาคทรัพย์สินเงินทองเป็นจำนวนมากๆ เท่านั้นหรือจึงเป็นบุญ ไม่มีวิธีทำบุญแบบอื่นอีกหรือ ก็ขอตอบว่า วิธีทำบุญมีหลายวิธี ว่าตามหลักในพระพุทธศาสนาแล้ว วิธีทำบุญซึ่งท่านเรียกเป็นคำศัพท์ว่า บุญกิริยาวัตถุนั้น มึถึง ๑๐ วิธี
     ๑. ทาน
     ๒. ศีล
     ๓. ภาวนา
     ๔. อปจายนะ
     ๕. เวยยาวัจจะ
     ๖. ปัตติทาน
     ๗. ปัตตานุโมทนา
     ๘. ธัมมัสสวนะ
     ๙. ธัมมเทสนา
    ๑๐. ทิฏฐุชุกรรม

ดูตามรายการวิธีทำบุญทั้ง ๑๐ วิธีนี้แล้ว จะเห็นว่า การบริจาคทรัพย์สินเงินทองของกินของใช้ทั้งหลายทั้งปวงนั้น เป็นเพียง ๑ ใน ๑๐ วิธีของการทำบุญเท่านั้น คือ เป็นวิธีทำบุญที่ท่านเรียกว่า ทาน ซึ่งแปลว่า การให้

@@@@@@@

วิธีทำบุญวิธีที่ ๑. คือ ทาน การให้

ทานนี้เป็นที่นิยมกันมาก คงเป็นเพราะทำได้ค่อนข้างสะดวก คือเพียงแค่มีของที่จะให้ และเจตนาคิดจะให้ เท่านี้ก็พอแล้ว บุญที่ทำด้วยวิธีนี้เรียกว่า ทานมัย บุญที่สาเร็จด้วยการให้ ของที่จะให้นั้นก็สรุปลงในจำพวกของกินกับของใช้ ซึ่งเป็นของที่ต้องมีอยู่ในชีวิตประจาวันอยู่แล้ว ต้องการเพียงแค่เจตนา คือ ความคิดที่จะแบ่งออกให้แก่ผู้อื่นบ้างเท่านั้น

เมื่อมีเจตนาหรือความคิดอยากจะให้ การทำบุญด้วยวิธีบริจาคทานก็สามารถทำได้แล้ว เพราะผู้รับนั้นมีทั่วไปอยู่แล้ว หาไม่ยาก อาจเป็นเพราะความสะดวกเช่นนี้ คนจึงนิยมทำบุญโดยวิธีบริจาคทานกันมาก จนกระทั่งเมื่อเอ่ยถึงคำว่าทำบุญ เรามักจะนึกถึงการตักบาตร การถวายภัตตาหาร หรือการบริจาคเงิน การชักชวนเชิญชวนให้บริจาคทรัพย์สินเงินทอง ก็เป็นวิธีการที่ถูกนามาใช้กันอย่างแพร่หลายที่สุด ในเมื่อจะบอกให้คนทำบุญ จนดูเป็นว่าการทำบุญมีวิธีเดียว คือ บริจาคเงิน

สรุปว่า คนทำบุญก็เข้าใจแต่เพียงว่าจะทำบุญก็ต้องบริจาคทรัพย์สินเงินทอง คนชักชวนก็มุ่งแต่ชวนให้บริจาค ตกลงว่านิยมบุญกันอยู่วิธีเดียว คือทาน หรือบริจาคทรัพย์สินเงินทอง ผู้ให้ก็สุขใจว่าตนได้ทำบุญ ผู้รับก็ได้ประโยชน์ นี่คือสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นในหมู่คนไทยชาวพุทธทุกวันนี้

วิธีทำบุญวิธีที่ ๒. คือ ศีล การควบคุมพฤติกรรมทางกายและวาจา

การควบคุมพฤติกรรมทางกายและวาจา ให้อยู่ในสภาพปกติเรียบร้อย การถือศีลหรือรักษาศีลเป็นวิธีทาบุญอีกวิธีหนึ่ง ที่ไม่ต้องใช้ทรัพย์สินเงินทอง ใช้เพียงการตั้งเจตนาที่จะงดเว้นการกระทำ คำพูด ที่ผิดที่ชั่วหยาบ จะเป็นการงดเว้น ๕ ประการ ที่เรียกว่าศีลห้า หรืองดเว้น ๘ ประการ ๑๐ ประการ ตามประเภทของศีลนั้นๆ ก็แล้วแต่ เมื่อตั้งเจตนางดเว้นแล้วประพฤติตามที่ตั้งนั้นได้โดยตลอดเรียบร้อย ก็ถือว่าได้ทำบุญแล้ว เรียกบุญชนิดนี้ว่า ศีลมัย บุญที่สำเร็จด้วยการรักษาศีล นี่ก็เป็นบุญอีกชนิดหนึ่งที่สมควรทำ

วิธีทำบุญวิธีที่ ๓. คือ ภาวนา การฝึกอบรมจิตให้เกิดความสงบ

การฝึกอบรมจิตให้เกิดความสงบ ให้เจริญงอกงามด้วยคุณธรรม มีความเข้มแข็ง มั่นคง เบิกบาน สงบสุข ผ่องใส พร้อมด้วยความเพียร สติ และสมาธิ และการฝึกอบรมเจริญปัญญาให้รู้เท่าทัน เข้าใจสิ่งทั้งหลายตามความเป็นจริง จนมีจิตใจเป็นอิสระ ไม่ถูกครองงำด้วยกิเลสและความทุกข์ หมั่นทำหมั่นอบรมบ่มจิตใจและปัญญาอยู่เช่นนี้ ก็ถือว่าได้ทำบุญแล้ว เรียกบุญชนิดนี้ว่า ภาวนามัย บุญที่สำเร็จด้วยภาวนา การอบรมบ่มจิตใจ นี่ก็เป็นบุญอีกชนิดหนึ่งที่สมควรทำ

วิธีทำบุญวิธีที่ ๔. คือ อปจายนะ การประพฤติอ่อนน้อมถ่อมตน

การประพฤติอ่อนน้อมถ่อมตน ที่เราพูดกันว่ารู้จักที่สูงที่ต่ำ รู้ว่าผู้มีมีชาติวุฒิ วัยวุฒิ และคุณวุฒิ สูงกว่าตน ควรปฏิบัติต่อท่านอย่างไร คนเสมอกันและคนต่ำกว่า ควรปฏิบัติอย่างไร ไม่เป็นคนกระด้าง ก้าวร้าว เย่อหยิ่งถือตัว การอ่อนน้อมถ่อมตนนี้ ต้องพร้อมทั้งไตรทวาร คือพร้อมทั้งการกระทำ คำพูด และความคิดจิตใจ มิใช่เป็นลิงหลอกเจ้า หรือปากปราศรัยน้ำใจเชือดคอ หรือปากหวานก้นเปรี้ยว ทำได้อย่างนี้ก็เป็นการทำบุญเช่นกัน เรียกว่าบุญชนิดนี้ว่า อปจายนมัย บุญที่สำเร็จด้วยการอ่อนน้อมถ่อมตน นี่เป็นบุญอีกชนิดหนึ่งที่สมควรทำ

วิธีทำบุญวิธีที่ ๕. คือ เวยยาวัจจะ การช่วยขวนขวายในกิจที่สมควร

การช่วยขวนขวายในกิจที่สมควร คือ การช่วยเหลือรับใช้ผู้อื่น หรือการทำตัวให้ เป็นประโยชน์ต่อผู้อื่น การบำเพ็ญประโยชน์ต่อสังคม การไม่นิ่งดูดายในเมื่อเห็นว่าจะเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม แม้แต่ในเรื่องเล็กๆน้อยๆ เช่น เห็นเศษไม้ ก้อนหิน อยู่กีดขวางทางเดิน ช่วยเก็บออกไปให้พ้น เห็นน้ำประปา ไฟฟ้าสาธารณะ ถูกเปิดทิ้งไว้โดยไร้ประโยชน์ ช่วยปิดให้เรียบร้อย ทำอย่างนี้ก็เป็นบุญ เรียกบุญชนิดนี้ว่า เวยยาวัจจมัย บุญที่สำเร็จด้วยการช่วยขวนขวายให้กิจที่เป็นประโยชน์ แต่บุญแบบต้องทำด้วยความบริสุทธิ์ใจเป็นที่ตั้ง คือ ทำเพราะมุ่งประโยชน์ต่อผู้อื่น มิใช่ทำเพราะหวังชื่อเสียง หวังเป็นข่าว หวังได้ออกโทรทัศน์ จึงจะเป็นบุญบริสุทธิ์ นี่ก็เป็นบุญอีกชนิดหนึ่งที่สมควรทำ

วิธีทำบุญวิธีที่ ๖. คือ ปิตติทาน การให้ส่วนบุญ 

การให้ส่วนบุญ หรือการเฉลี่ยส่วนแห่งความดีให้แก่ผู้อื่น การทำบุญด้วยวิธีนี้คือ เมื่อเราได้ทำบุญ คือ ทำความดีอย่างใดๆ ก็ตาม ก็นำเอาเรื่องการทำดีนั้นไปบอกกล่าวแก่ผู้อื่น เพื่อให้เขาชื่นชมยินดีด้วย การบอกกล่าวนั้นก็บอกกล่าวอย่างเป็นกลางๆ มิใช่บอกเพื่อจะอวดอ้างคุณความดีของตัวเอง ตัวเองที่คนไทยนิยมปฏิบัติกันมา ก็เช่น ไปทำบุญที่วัดในวันพระ ขากลับเดินผ่านบ้านคนที่รู้จักกัน ก็ร้องบอกเข้าไปว่า “ฉันไปทาบุญมา ขอแบ่งส่วนบุญให้ด้วยนะ” เท่านี้ก็เป็นอันสำเร็จคนในบ้านก็จะร้องตอบออกมาว่า จ้ะ อนุโมทนาด้วยจ้ะ บุญที่เกิดจากการให้ส่วนบุญเช่นนี้ เรียกว่า ปัตติทานมัย บุญที่สำเร็จด้วยการให้ส่วนบุญ

การแบ่งส่วนบุญเช่นนี้ ยังมีผลพลอยได้อีกอย่างหนึ่ง คือ เป็นการจูงใจให้ผู้อื่นอยากจะทำความดีเช่นนั้นหรือทำความดีอื่น ๆ อีกด้วย ยังมีการให้ส่วนบุญอีกแบบหนึ่ง คือ การอุทิศส่วนบุญให้แก่ผู้ล่วงลับไปแล้ว ที่นิยมเรียกว่า กรวดน้ำ การกรวดน้ำอุทิศส่วนบุญก็เป็นปัตติทานมัยเช่นกัน ผู้ที่ทำบุญด้วยวิธีที่เรียกว่าปัตติทานนี้ ชื่อว่าได้บุญ ๒ ชั้น คือ ได้ทำบุญอย่างใดอย่างหนึ่งมาแล้วชั้นหนึ่ง และได้ให้ส่วนบุญนั้นแก่ผู้อื่นอีกชั้นหนึ่ง นี่ก็เป็นบุญอีกชนิดหนึ่งที่สมควรทำ

วิธีทำบุญวิธีที่ ๗. คือ ปัตตานุโมทนา การอนุโมทนาส่วนบุญ

การอนุโมทนาส่วนบุญ หรือ ทำบุญด้วยการยินดีในการทำดีของผู้อื่น กล่าวคือ เมื่อได้ยิน ได้รู้ ได้เห็น ว่าใครเขาทำบุญหรือทำความดีด้วยประการใด ๆก็ตาม ก็แสดงกิริยาวาจาพลอยยินดีกับการทำบุญนั้นด้วย มีคำที่นิยมพูดกันว่า “ยกมือท่วมหัว” เป็นคำพูดที่มองเห็นภาพการพลอยอนุโมทนา และอาจจะได้ยินเสียง “สาธุ” ประกอบกันไปด้วย นั่นคือ กิริยาวาจาพลอยยินดีกับการทำดีของผู้อื่น บุญที่ทำด้วยวิธีเช่นนี้ เรียกว่า ปัตตานุโมทนามัย บุญที่สำเร็จด้วยการอนุโมทนาส่วนบุญ

การทำบุญวิธีนี้จะว่าง่ายก็ง่ายมาก ไม่ต้องลงทุน ไม่ต้องเหน็ดเหนื่อย อะไรเลย เพียงแค่ทำใจให้พลอยยินดีด้วยก็จะสำเร็จเป็นบุญแล้ว แต่จะว่ายาก ก็ยากมาก เพราะใจคนมักจะมีความมริษยาอยุ่ลึกๆ เห็นใครได้ดี เห็นใครทำดีแล้วไม่ค่อยอยากยินดีด้วย คนที่จะทำบุญด้วยวิธีนี้ได้จะต้องเอาชนะกิเลสในใจตัวเองให้ได้เสียก่อน หาไม่แล้ว เรื่องง่าย ๆ นี่แหละก็ทำยากนักหนา นี่ก็เป็นบุญอีกชนิดหนึ่งที่สมควรทำ

วิธีทำบุญวิธีที่ ๘. คือ ธัมมัสสวนะ การฟังธรรม

พอพูดว่า ฟังธรรม เราก็จะนึกถึงการฟังพระสงฆ์แสดงพระธรรมเทศนา ตามรูปแบบธรรมเนียมที่ปฏิบัติกันมา มีพระสงฆ์ขึ้นนั่งบนธรรมาสน์ มีการอาราธนาธรรมแล้วพระสงฆ์ก็แสดงธรรม จบแล้วก็อนุโมทนายถาสัพพี แต่โดยเนื้อหาแล้ว ไม่ว่าจะเป็นพระสงฆ์หรือผู้ใดผู้หนึ่งผู้รู้ธรรม จะแสดงธรรมด้วยวิธีการใดๆ คือจะขึ้นธรรมาสน์เทศน์ หรือแสดงปาฐกถา หรือแม้แต่พูดอธิบายธัมมีสสวนะทั้งสิ้น บุญที่ทำด้วยวิธีการเช่นนี้เรียกว่า ธัมมัสสวนมัย บุญที่สำคัญด้วยการฟังธรรมคำสั่งสอน จะเห็นได้ว่า พระพุทธศาสนาให้ความสำคัญแก่การฟังมาก ถึงกับจัดเป็นบุญชนิดหนึ่ง เพราะการฟังเป็นทางมาแห่งความรู้ ผู้ทรงความรู้ ท่านเรียกว่า พหูสูต ซึ่งก็แปลว่า ผู้ฟังมากนั่นเอง นี่ก็เป็นบุญอีกชนิดหนึ่งที่สมควรทำ

วิธีทำบุญวิธีที่ ๙. คือ ธัมมเทสนา การแสดงธรรม

การทำบุญวิธี นี้เป็นคู่กับการฟังธรรม เพราะจะมีการฟังธรรมได้ ก็ต้องมีผู้แสดงธรรม ถ้าไม่มีใครแสดงธรรม การฟังธรรมก็ไม่เกิด การแสดงธรรมจึงมีความสำคัญมาก นอกจากจะเป็นบุญในตัวเองแล้ว ยังเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้ทำบุญด้วยวิธีธัมมัสสวนะอีกด้วย การแสดงธรรมนั้นมีทั้งที่เป็นการแสดงตามแบบธรรมเนียม ที่เรียกว่าเทศน์ และการแสดงด้วยวิธีอื่นๆ เช่น ปาฐกถา อภิปราย การสอน การสนทนา รวมไปจนถึงการแนะนำสั่งสอน การแสดงข้อคิดเห็นต่างๆ การบอกแจ้งข้อมูลเรื่องราวต่างๆ แม้แต่กิจเล็กๆน้อยๆ เช่น การชี้บอกหนทางให้แก่คนที่ไม่รู้ เป็นต้น ก็รวมอยู่ในคำว่าธัมมเทสนาได้ทั้งสิ้น บุญที่ทำด้วยวิธีนี้ เรียกว่า ธัมมเทสนามัย บุญที่สำเร็จด้วยการแสดงธรรม นี่ก็เป็นบุญอีกชนิดหนึ่งที่สมควรทำ

วิธีทำบุญวิธีที่ ๑๐. คือ ทิฏฐุชุกรรม การทำความเห็นให้ตรง

การทำความเห็นให้ตรง หมายความว่า การแก้ไขปรับปรุงความคิดเห็นให้ตรงนั้น เป็นบุญได้อย่างไง เรื่องนี้ต้องเข้าใจแนวคิดพื้นฐานทางพระพุทธศาสนาก่อน คือ พระพุทธศาสนามองว่า สภาวะในโลกนี้มี ๒ อย่าง คือ
    - สมมุติสัจจะ สภาวะที่เป็นจริงตามสมมุติ คือตามที่ตกลงกันสมมุติกันว่าเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ เป็นนั่นเป็นนี่ นี่อย่างหนึ่ง
    - และอีกอย่างหนึ่งคือ ปรมัตถสัจจะ สภาวะที่เป็นจริงตามที่มันเป็น แม้ใครจะสมมุติอย่างไร มันก็ไม่เป็นไปตามที่สมมุติ แต่จะคงเป็นตามที่มันเป็นอยู่เช่นนั้น

ตัวอย่างเช่น คนคนหนึ่ง เกิดมาแล้วสมมุติกันว่าชื่อนั้นชื่อนี้ โตขึ้นมีตำแหน่งเป็นนั่นเป็นนี่ มีอำนาจมีหน้าที่อย่างนั่น อย่างนี้ นี่เป็นสมมุติสัจจะ แต่โดยปรมัตถสัจจะแล้ว คนคนนั้นเป็นเพียงธาตุ ๔ มาประชุมกัน มีวิญญาณเข้าครองมีชีวิต เป็นโน่นเป็นนี่ตามเหตุปัจจัย เมื่อหมดเหตุหมดปัจจัย ก็แยกสลายไป ไม่มีอะไรที่เป็นตัวจริงตัววแท้ของคนคนนั้น

คนที่มีความเห็นไม่ตรง ก็จะเข้าไปยึดมั่นว่าเป็นเราเป็นของเรา คือไปยึดเอาสมมุติว่าเป็นแก่นแท้แน่นอน แล้วก็หลงทา หลงพูด หลงคิดไปต่างๆ เพื่อจะให้สิ่งนั้นๆ เป็นเราเป็นของเราตลอดไป ทำให้เกิดปัญหา เกิดทุกข์แก่ตนเอง และก่อทุกข์โทษให้แก่ผู้อื่นอีกด้วย นี่คือ ผลของการมีความเห็นไม่ตรงตามความเป็นจริง

ถ้ามีความเห็นถูกต้องตรงตามความเป็นจริงแล้ว เขาก็จะไม่หลงยึดมั่น ทำผิด พูดผิด คิดผิด แต่จะทำชีวิตซึ่งไม่มีสาระให้เป็นสาระ เพื่อประโยชน์เพื่อความสุขแก่เพื่อนร่วมโลก แทนที่จะกอบโกยเพื่อตนเอง ก็จะมีแต่ความเมตตาหวังให้คนอื่นเป็นสุข สังคมก็จะมีแต่ความสงบร่มเย็น นี่คืออานิสงส์ของการมีความคิดเห็นที่ถูกต้อง

อาจกล่าวได้ว่า ที่สังคมเกิดปัญหาสารพัด หาความสงบสุขไม่ได้อยู่ทุกวันนี้ ต้นตอก็เพราะคนมีความเห็นผิด ไม่มองชีวิตให้ถูกต้องตามความเป็นจริง หลงยึดมั่นว่าเป็นของเรานี่เอง การทำความเห็นให้ตรง คือแก้ไขปรับปรุงความคิดเห็นให้ถูกต้อง จึงถือว่าเป็นการทำบุญอย่างหนึ่ง และเป็นบุญที่สำคัญที่สุดด้วย เพราะถ้าความคิดเห็นไม่ถูกต้องเสียแล้ว ความคิดที่จะทำบุญทำความดีอื่นๆ ก็ไม่อาจจะเกิดมีขึ้นได้เลย ข้อนี้ก็เป็นบุญอีกชนิดหนึ่งที่สมควรทำ


@@@@@@@

เป็นที่น่าสังเกตว่า พระพุทธศาสนาก็สอนไว้อย่างชัดเจนว่าเราทำบุญได้ถึง ๑๐ วิธี ไม่ใช่เรื่องลี้ลับลึกซึ้งอะไรเลย แต่สำนักบอกบุญทั้งหลายในบ้านเมืองของเรา มักนิยมเน้นบอกกล่าวชักชวนให้ทำบุญกันเฉพาะวิธีบริจาคทานเสียเป็นส่วนใหญ่ ทั้งๆที่เป็นวิธีที่ต้องเสียทรัพย์ ส่วนอีก ๙ วิธีนั้น แม้ไม่มีทรัพย์เลยก็ทำได้ แต่ก็ไม่ค่อยจะมีสานักบอกบุญที่ไหนโฆษณาเชิญชวนให้เอิกเกริกเหมือนวิธีที่ต้องบริจาคทรัพย์

ที่กล่าวเช่นนี้ มิใช่ว่าเราไม่ควรทำบุญด้วยวิธีบริจาคทานกันเลย ตรงกันข้าม เราควรทำบุญทุกๆวิธี จึงจะถูกต้อง หมายความว่า ทานก็บริจาค ศีลก็รักษา ภาวนาก็อบรม อ่อนน้อมถ่อมตนก็ต้องมี ประโยชน์ส่วนรวมก็บำเพ็ญแผ่ความดีให้ผู้อื่นก็ทำ ชื่นชมยินดีความดีผู้อื่นก็ได้ ใครแนะนำสั่งสอนก็ยินดีรับฟัง แนะนำสั่งสอนคนอื่นก็ทำเป็นความคิดเห็นก็ปรับปรุงให้ถูกต้อง

ทำบุญให้ครบถ้วนเช่นนี้จึงนับว่าดี และชักชวนกันให้ทำบุญให้ครบถ้วนเช่นนี้ จึงจะนับว่าประเสริฐ ไม่ใช่ชักชวนกันอยู่เพียงวิธีเดียว แล้วก็ทำกันอยู่เพียงวิธีเดียว ดังเช่นที่ปรากฏอยู่ทุกวันนี้ ซึ่งเป็นทางที่ให้คนมีปัญญาแอบ เฉโกคือ คนหัวแหลม คิดหากำไรด้วยวิธีที่แนบเนียน คือ เอาบุญบังหน้าชักชวนคนที่มีศรัทธาเป็นตัวนำ แต่ขาดปัญญา ทำให้บุญด้วยวิธีบริจาคทานเป็นการใหญ่ เน้นหนักกันอยู่แต่เรื่องทานมัยบุญที่สำเร็จด้วยความควักกระเป๋า เปิดบัญชี ซึ่งทำไปเท่าไรๆ ก็ไม่รู้จักพอ

ขณะเดียวกันก็พากันละเลย หลงลืม มองข้ามทาเป็นไม่รู้ไม่ชี้กับวิธีทาบุญอีกตั้ง ๙ วิธี ซึ่งแม้ไม่มีเงินสักบาทเดียวก็ทำได้ ทั้งเป็นประโยชน์เป็นความสุข และเป็นสิ่งที่สังคมก็ต้องพอๆ กับการบริจาคทรัพย์สินเงินทองของกินของใช้ ทั้งอาจต้องการมากกว่านี้ด้วยซ้ำไป ถ้าท่านผู้มีหน้าที่เกี่ยวกับเรื่องนี้ ร่วมมือกับท่านผู้มีอำนาจในบ้านเมือง ช่วยกันสังคายนาการทำบุญในบ้านเรากันเสียใหม่ ก็จะเป็นมหากุศลยิ่งนัก

แต่ในฐานะของชาวพุทธ เราแต่ละคนไม่ต้องรอใคร คือไม่ต้องรอจนกว่าคนที่มีหน้าที่กับคนที่มีอำนาจท่านลงมือแก้ไขจนเรียบร้อยเสียก่อน เพราะท่านจะแก้ไขเมื่อไหร่ เราก็ทราบไม่ได้ เพราะฉะนั้น ไม่ต้องรอ แล้วก็ไม่ควรเอาแต่ตำหนิติเตียนบ่นว่าท่าเดียว แต่ควรลงมือทาบุญทั้ง ๑๐ วิธีด้วยตัวของเราเองเดี๋ยวนี้ทีเดียว

โปรดอย่าลืมว่า บุญนั้นไม่มีขาย อยากได้ต้องทำเอาเอง และชีวิตของมนุษย์นั้นไม่ยาวพอที่จะมัวผัดวันประกันพรุ่ง เพราะพรุ่งนี้เราอาจไม่มีโอกาสทำบุญเสียแล้วก็ได้

รายการธรรมธาราวันนี้ ขอยุติไว้ด้วยเวลาเพียงเท่านี้ ขอความสุขสวัสดี จงมีแก่ผู้ฟังตลอดปี ๒๕๔๒ นี้ และตลอดไป

         
หน้า ๓๗-๔๘
182  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / Re: ถวายสังฆทานให้ถูกวิธี เมื่อ: มกราคม 25, 2024, 11:18:49 am
.
 :25: :25: :25:


๑๒. ถวายสังฆทานเวลาไหน

ขอย้ำว่าสังฆทานมิได้ขึ้นอยู่กับสิ่งของที่จะถวาย แต่ขึ้นอยู่กับเจตนาในการถวายว่า จะถวายเป็นของสงฆ์ แต่เมื่อถามว่า จะถวายสังฆทานเวลาไหนได้บ้าง ก็ต้องดูกันที่ของถวายว่า เป็นของประเภทไหน ซึ่งมีหลักง่ายๆ อยู่ว่า ถ้าเป็นของใช้ ถวายได้ตลอดวัน ถ้าเป็นของฉัน(คือของกิน) ต้องถวายก่อนเที่ยง ที่ว่าของกินต้องถวายก่อนเที่ยง ก็เพราะพระสงฆ์จะรับประเคนของกินได้เฉพาะเวลาก่อนเที่ยงเท่านั้น เนื่องจากหลังเที่ยงไปแล้วพระสงฆ์จะฉันอาหารมิได้ จนกว่าจะถึงเวลาอรุณขึ้นในวันใหม่

ของกินที่ว่านี้ไม่ว่าจะเป็นของสด คือ อาหารหวานคาวที่กินได้เลย หรือของแห้ง คือ อาหารที่เก็บไว้กินได้หลายวัน พระสงฆ์จะรับประเคนหลังเที่ยงไม่ได้ทั้งนั้น ดังเป็นที่รู้เข้าใจกันทั่วไปอยู่แล้วว่า หลังเที่ยงไปแล้วจะเอาอาหารไปถวายพระไม่ได้

ปัญหาที่พบเสมอก็คือ ของที่จัดไปถวายสังฆทานมักมีของแห้ง เช่น ปลากระป๋อง ผลไม้กระป๋อง รวมอยู่ด้วยกับของใช้ เมื่อกล่าวคำถวายแล้ว ผู้ถวายก็ยกประเคนพระ ฝ่ายพระก็รับประเคนง่ายๆ จะเป็นด้วยต้องการรักษาศรัทธาญาติโยม หรือเพราะไม่ตระหนักในวินัย อย่างใดอย่างหนึ่ง กลายเป็นทำบุญผิดวิธี แทนที่จะได้บุญบริสุทธิ์ กลับมีโทษติดอยู่ด้วย

     เรื่องนี้มีคำแนะนำดังนี้

     ๑. ควรแยกของกินออกจากของใช้ให้เด็ดขาดกันไป อย่าเอามารวมกัน
     ๒. ถ้าถวายก่อนเที่ยง ก็ถวายได้ทั้งของกินของใช้ เฉพาะของกินควรมีอาหารคาวหวานที่พร้อมจะรับประทานได้ทันทีเป็นหลัก ของอื่นเป็นบริวาร
     ๓. ถ้าถวายหลังเที่ยง ก็ถวายเฉพาะของใช้
     ๔. ของกินที่เป็นอาหารสด ไม่ถวายหลังเที่ยงเด็ดขาด
     ๕. ถ้าถวายหลังเที่ยง และมีของแห้งรวมอยู่ด้วย ต้องแยกออกไว้ต่างหาก และประเคนเฉพาะของใช้ ส่วนของแห้งไม่ต้องประเคน

@@@@@@@

๑๓. วิธีถวายสังฆทาน

การถวายสังฆทานทำได้ ๒ วิธี คือ

๑. ถวายแบบไม่ต้องมีพิธี การถวายแบบนี้ก็คือ มีของที่จะถวาย มีเจตนาที่ตั้งใจจะถวายเป็นสังฆทาน (ตามความหมายที่พูดมาแล้ว) เมื่อพร้อมแล้วก็นำของนั้นไปที่วัด หรือจะนิมนต์พระไปที่บ้านก็แล้วแต่จะสะดวก แล้วก็บอกกล่าวแก่พระสงฆ์ให้เข้าใจเจตนาของผู้ถวายว่า ขอถวายของสิ่งนี้ๆให้เป็นของสงฆ์ เมื่อพระสงฆ์รับรู้รับทราบและรับสิ่งของนั้นไปแล้ว ก็เป็นอันเสร็จสมบูรณ์เป็นสังฆทานทันที วิธีนี้เหมาะสำหรับผู้ที่ชอบทำอะไรเอาแต่สาระ ไม่ชอบพิธีรีตอง

๒. ถวายแบบมีพิธี ปฏิบัติดังนี้
    - เตรียมของถวาย
    - เตรียมจัดสถานที่ คือจัดที่บูชา ตั้งพระพุทธรูป มีดอกไม้ธูปเทียนสำหรับสักการะ และจัดอาสนะสาหรับพระสงฆ์
    - นิมนต์พระสงฆ์ตามจำนวนที่ต้องการ (ไม่ต้องระบุตัว)
    - เมื่อพร้อมแล้ว คือ พระสงฆ์มาพร้อมแล้ว ยกของถวายไปตั้งวางตรงหน้าพระสงฆ์ จุดธูปเทียน กล่าวำคำบูชาพระรัตนตรัย แล้วอาราธนาศีล
    - พระสงฆ์ให้ศีล
    - จบแล้ว กล่าวคำถวายสังฆทาน (ตามแบบเก่านิยมตั้งนะโม ๓ จบ แล้วสวดสังฆคุณ จบแล้วกล่าวคำถวายสังฆทานเป็นภาษาบาลี ต่อด้วยคาแปล)
    - ประเคนของถวายที่สมควรจะประเคน
    - พระสงฆ์อุปโลกน์ (ถ้าในที่นั้นมีพระภิกษุครบองค์สงฆ์ และต้องการแจกของกันให้เสร็จสิ้นไปเลย)
    - พระสงฆ์อนุโมทนา ผู้ถวายกรวดน้ำ เป็นอันเสร็จพิธี

วิธีนี้เหมาะสำหรับผู้ชอบทำอะไรตามแบบแผน ผลดีของวิธีนี้คือ นอกจากจะได้ทำบุญด้วยวิธีถวายทานแล้ว ยังได้สมาทานศีลเป็นการย้ำเตือนให้งดเว้นบาป ชื่อว่าได้ทำบุญด้วยวิธีรักษาศีลอีกทางหนึ่ง ทั้งยังเป็นการรักษาแบบแผนประเพณีไว้อีกด้วย



หน้า ๒๒-๒๕




๑๔. คำถวายสังฆทาน

ขอกล่าวซ้ำอีกทีว่า สังฆทานเป็นชื่อของเจตนาที่จะถวายสิ่งของให้เป็นของสงฆ์ ไม่ใช่เป็นชื่อสิ่งของที่จะถวาย ขอให้สังเกตคำถวายสังฆทานที่รู้กันโดยทั่วไป คือ

อิมานิ มะยัง ภันเต ภัตตานิ สะปะริวารานิ…. ซึ่งแปลว่า ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอน้อมถวาย ซี่งภัตตาหารพร้อมทั้งของบริวารทั้งหลายเหล่านี้……

คำถวายนี้ที่จริงแล้ว ก็คือคำถวายภัตตาหารนั่นเอง ไม่มีคำว่า สังฆทาน อยู่ด้วยเลย แต่เมื่อตั้งเจตนากล่าวคำถวายเช่นนี้แล้ว ภัตตาหารที่ถวายนี้ก็ได้ชื่อว่าเป็นสังฆทาน

เพราะฉะนั้น คำถวายสังฆทานจึงขึ้นอยู่กับว่า จะถวายอะไร เช่น
ถ้าถวายภัตตาหาร ก็ระบุว่า ขอน้อมถวายซึ่งภัตตาหาร กรณีนี้ภัตตาหารก็เป็นสังฆทานไป
ถ้าถวายจีวรก็ระบุว่า ขอน้อมถวายซึ่งผ้าจีวร กรณีนี้ผ้าจีวรก็เป็นสังฆทานไป
ถ้าถวายกุฏิก็ระบุว่า ขอน้อมถวายซึ่งกุฏิ กรณีนี้กุฏิก็เป็นสังฆทานไป
ถ้าถวายยารักษาโรคก็ระบุว่า ขอน้อมถวายซึ่งยารักษาโรค กรณีนี้ยารักษาโรคก็เป็นสังฆทานไป

เพราะฉะนั้นในเรื่องนี้ถ้าจะพูดให้ถูก เราต้องพูดว่า "ถวายสิ่งของนั้นๆให้เป็นสังฆทาน ไม่ใช่ถวายสังฆทาน" แต่เวลาพูด เราพูดกันสั้นๆว่าถวายสังฆทาน คือ พูดละไว้ในฐานที่เข้าใจกัน แต่เมื่อพูดกันไปพูดกันมา ก็ทำท่าจะเข้าใจไขว้เขว คือ เข้าใจกันว่าสังฆทานเป็นสิ่งของอะไรชนิดหนึ่ง จึงปรากฏว่ามีผู้ผูกคำถวายสังฆทานขึ้นมาใหม่ คือเปลี่ยนคำว่า ภัตตานิ เป็น สังฆะทานิ อย่างนี้ก็มี

สรุปความเข้าใจไขว้เขวในคำถวายสังฆทาน ก็มีดังนี้

     ๑. เข้าใจว่าถ้าจะถวายสังฆทาน ไม่ว่าของที่ถวายจะเป็นอะไรก็ตาม และไม่ว่าจะถวายเวลาไหนก็ตาม คำถวายก็มีอยู่อย่างเดียวคือ อิมานิ มะยัง ภันเต ภัตตานิ สะปะริวารานิ….. พวกนี้คือไม่รับรู้ว่า ภัตตานิ แปลว่าอะไร จึงฝังใจอยู่แต่ว่า ถ้าจะถวายสังฆทานก็ต้อง…..ภัตตานิ แม้ของถวายจะไม่ใช่ อาหาร ก็ยัง ภัตตานิ และแม้จะถวายหลังเที่ยงซึ่งพระสงฆ์รับ อาหารไม่ได้ ก็ยังคง ภัตตานิ อยู่นั่นเอง (แต่พอถึงคำแปลก็ไม่แปลว่า ซึ่งภัตตาหาร ตามศัพท์ แต่ไพล่ไปแปลว่า ซึ่งสังฆทาน)

     ๒. พวกที่พอจะรู้อยู่บ้างว่า ภัตตานิ แปลว่า ภัตตาหาร ซึ่งหลังเที่ยงแล้วพระรับไม่ได้ รับได้เฉพาะก่อนเที่ยง เมื่อถวายก่อนเที่ยงก็ยังใช้คำว่า ภัตตานิ แม้ของถวายจะไม่ใช่อาหารหรือไม่มีของกินรวมอยู่ด้วยเลย (คือเข้าใจเหมือนกับในข้อ ๑ ว่า ถ้าถวายสังฆทานก็ต้องใช้คำว่า ภัตตานิ เสมอ) แต่เมื่อถวายหลังเที่ยงก็เลี่ยงคำว่า ภัตตานิ เสีย ผูกศัพท์ขึ้นใหม่ โดยเอาคำว่า สังฆทานที่พูดกันจนคุ้นปากแล้วนั่นเอง มาเทียบกับคำว่า ภัตตานิ เห็นมีคำ
ว่า นิ ลงท้าย จึงผูกศัพท์เป็น สังฆะทานิ ซึ่งไม่ถูกตามหลักไวยากรณ์

ถ้าจะให้ถูกต้องเป็น สังฆะทานัง หรือ สังฆะทานานิ แต่แม้จะประกอบศัพท์เป็น สังฆะทานานิ ถูกตามหลักไวยากรณ์ ก็ยังคลาดเคลื่อนจากแบบแผนของการถวายทาน ตามหลักที่ว่า เราถวายของสิ่งนี้ๆ ให้เป็นสังฆทาน เมื่อกล่าวคำถวายตามพิธีการ ก็ต้องระบุลงไปว่า ของสิ่งนั้นคืออะไร เช่น เป็นภัตตาหาร เป็นจีวร เป็นกุฏิ เป็นยารักษาโรค เป็นร่ม เป็นรองเท้า ฯลฯ

แต่สิ่งของที่มีชื่อเฉพาะว่าสังฆทานนั้นไม่มี การใช้คำว่า สังฆะทานานิ ในคำถวาย จึงไม่รู้ว่าถวายอะไร คำว่า สังฆะทานัง หรือ สังฆะทานานิ แปลตามศัพท์ว่า ทานเพื่อสงฆ์, ให้เป็นของสงฆ์, ของที่ให้เป็นของสงฆ์ ตามศัพท์เท่านี้ ก็ไม่รู้ว่าของที่ให้เป็นของสงฆ์ นั้นคืออะไร อยู่นั่นเอง

เนื่องจากคำถวายขึ้นอยู่กับสิ่งของที่จะถวาย จึงขอแยกเพื่อให้เห็นชัดเจน ดังนี้

     ๑. ถวายเฉพาะอาหาร ไม่มีของอื่นประกอบ (ต้องถวายก่อนเที่ยง) คำถวายว่า อิมานิ มะยัง ภันเต ภัตตานิ ภิกขุสังฆัสสะ… (…ซึ่งภัตตาหารเหล่านี้)

     ๒. ถวายอาหาร มีของอื่นประกอบด้ว (ต้องถวายก่อนเที่ยง) คำถวายว่า อิมานิ มะยัง ภันเต ภัตตานิ สะปะริวารานิ ภิกขุสังฆัสสะ.... (…ซึ่งภัตตาหาร พร้อมทั้งของบริวารทั้งหลายเหล่านี้) (แบบนี้เป็นคำถวายที่ใช้กันทั่วไป แต่ก็เป็นคำถวายอาหารนั่นเอง)

     ๓. ถวายสิ่งของเพียงชิ้นเดียว (เช่น ร่มคันเดียว รองเท้าคู่เดียว เก้าอี้ตัวเดียว) ไม่มีของอื่นประกอบ คำถวายว่า อิมัง มะยัง ภันเต (ต่อจากนี้เป็นศัพท์ภาษาบาลีที่ระบุชื่อของสิ่งนั้น ผูกเป็นรูปเอกพจน์ ทุติยาวิภัตติ) ภิกขุสังฆัสสะ… (คำแปลก็ระบุลงไปว่าขอน้อมถวาย ซึ่งอะไร)

     ๔. ถวายสิ่งของชิ้นเดียว มีของอื่นประกอบ คำถวายว่า อิมัง มะยัง ภันเต (ศัพท์ภาษาบาลีระบุชื่อของสิ่งนั้นผูกเป็น รูปเอกพจน์ ทุติยาวิภัตติ) สะปะริวารัง ภิกขุสังฆัสสะ…

     ๕. ถวายสิ่งของชนิดเดียว แต่มีหลายชิ้น (เช่น ถวายร่มเพียงอย่างเดียว แต่มีหลายคัน) ไม่มีของอื่นประกอบ

     ๖. ถวายสิ่งของชนิดเดียว มีหลายชิ้น และมีของอื่นประกอบด้วยในข้อ ๕ และ ๖ นี้ ต้องดูว่าของสิ่งนั้นคืออะไร ศัพท์ภาษาบาลีจะใช้คำว่าอะไร แล้วประกอบศัพท์นาม สรรพนาม และคาขยาย ของคำนั้นๆ ให้ถูกตามหลักไวยากรณ์ เพื่ออำนวยความสะดวกในเรื่องนี้ จึงมีผู้รู้จัดทำคำถวายทานต่างๆ ขึ้น ผู้ต้องการจะกล่าวคำถวาย
ให้ถูกต้องพึงแสวงหามาใช้เป็นคู่มือเถิด

     ๗. ถวายสิ่งของ(ของใช้) หลายชนิด ไม่อาจแยกแยะระบุชื่อได้ หรือแม้จะแยกแยะได้ แต่ก็ไม่ทราบว่าจะใช้คำศัพท์บาลีเรียกของสิ่งนั้นสิ่งนี้ว่าอย่างไร อีกทั้งรวมกันอยู่หลายอย่าง (ของถวายสังฆทานที่เห็นอยู่ทุกวันนี้มักมีลักษณะเช่นนี้) กรณีเช่นนี้ มีคำที่ใช้เรียกสิ่งของเหล่านั้นอยู่ว่า กัปปิยะภัณฑะ แปลว่า “สิ่งของอันสมควรแก่สมณบริโภค” เรียกทับศัพท์ว่า กัปปิยภัณฑ์ ตามปกติเมื่อเป็นของหลายๆ อย่างเช่นนี้ย่อมไม่อาจระบุได้ว่า ของสิ่งใดเป็นหลัก ของสิ่งใดเป็นของประกอบ(ของบริวาร) ในคำถวายจึงไม่ควรมีคำศัพท์ว่า สะปะริวารานิ คำถวายกัปปิยภัณฑ์ให้เป็นสังฆทานว่า อิมานิ มะยัง ภันเต กัปปิยะภัณฑานิ ภิกขุสังฆัสสะ…

     ๘. ถวายสิ่งของให้เป็นสังฆทานเพื่อผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว ท่านให้เติมคำว่า "มะตะกะ" ซึ่งแปลว่า “ผู้ตาย” เข้าข้างหน้าชื่อของที่ถวาย เช่น มะตะกะภัตตานิ (ภัตตาหารเพื่อผู้ตาย) มะตะกะ จีวะรานิ (จีวรเพื่อผู้ตาย) และให้เติมศัพท์ว่า กาละกะ ตานัง ญาตะกานัง เข้าในท่อนท้ายของคำถวายด้วย (แปลว่า-แก่ญาติทั้งหลาย ผู้ล่วงลับไปแล้ว) ในข้อนี้มีแนวปฏิบัติอยู่ว่า โดยปกติชาวพุทธเรา เมื่อทำบุญอย่างใดๆ แล้ว นิยมอุทิศส่วนบุญหรือแบ่งส่วนบุญให้แก่ผู้อื่นด้วย เพราะถือว่าได้บุญอีกชั้นหนึ่ง ดังนั้น เมื่อถวายทานเพื่อตัวเองแล้ว ก็ควรมีคำที่แสดงเจตนาแบ่งส่วนบุญให้ผู้อื่นด้วยเสมอไป

@@@@@@@

เท่าที่แยกไว้นี้ เพียงเพื่อให้เห็นว่าการถวายทานนั้นมีหลายกรณี คำถวายจึงต้องแยกไปตามกรณีนั้นๆ แต่ความเป็นจริงอาจไม่เกิดขึ้นทุกกรณีไป ในที่นี้ จึงจะขอแสดงคำกล่าวถวายทานเต็มๆ ไว้เป็นแบบแผนเพียง ๒ แบบที่มักทำกันบ่อย คือ ถวายภัตตาหารมีของอื่นประกอบ และถวายสิ่งของหลายชนิด ไม่อาจแยกแยะได้ (คือที่กล่าวถึงในหมายเลข ๒ และ ๗ ในหัวข้อนี้)

คำถวายสังฆทานแบบมีภัตตาหารเป็นหลัก(ถวายก่อนเที่ยง)

อิมานิ มะยัง ภันเต/ ภัตตานิ/ สะปะริวารานิ/ ภิกขุสังฆัสสะ/ โอโณชะยามะ/ สาธุ โน ภันเต/ ภิกขุสังโฆ/ อิมา
นิ/ ภัตตานิ/ สะปะริวารานิ/ ปะฏิคคัณหาตุ/ อัมหากัญเจวะ/ มาตาปิตุ/ อาทีนัญจะ/ ญาตะกานัง/ ทีฆะรัตตัง/ หิตายะ/ สุขายะ

ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ/ ข้าพเจ้าทั้งหลาย/ ขอน้อมถวาย/ ซึ่งภัตตาหาร/ พร้อมทั้งของบริวารทั้งหลายเหล่านี้/ แด่พระภิกษุสงฆ์/ ขอพระภิกษุสงฆ์/ จงรับ/ ซึ่งภัตตาหาร/ พร้อมทั้งของบริวารทั้งหลายเหล่านี้/ ของข้าพเจ้าทั้งหลาย/ เพื่อประโยชน์/ เพื่อความสุข/ แก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย/ และแก่ญาติทั้งหลาย/ มีมารดาบิดาเป็น
ต้น/ ตลอดกาลนาน เทอญ

คำถวายสังฆทานแบบมีเฉพาะของใช้หลายชนิด(ถวายได้ตลอดวัน)

อิมานิ มะยัง ภันเต/ กัปปิยะภัณฑานิ/ ภิกขุสังฆัสสะ/ โอโณชะยามะ/ สาธุ โน ภันเต/ ภิกขุสังโฆ/ อิมานิ/กัปปิยะภัณฑานิ/ ปะฏิคคัณหาตุ/ อัมหากัญเจวะ/ มาตา-ปิตุ/ อาทีนัญจะ/ ญาตะกานัง/ ทีฆะรัตตัง/ หิตายะ/ สุขายะ

ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ/ ข้าพเจ้าทั้งหลาย/ ขอน้อมถวาย/ ซึ่งกัปปิยภัณฑ์เหล่านี้/ แด่พระภิกษุสงฆ์/ ขอ
พระภิกษุสงฆ์/ จงรับ/ ซึ่งกัปปิยภัณฑ์เหล่านี้/ ของข้าพเจ้าทั้งหลาย/ เพื่อประโยชน์/ เพื่อความสุข/ แก่ข้าพเจ้า
ทั้งหลาย/ และแก่ญาติทั้งหลาย/ มีมารดาบิดาเป็นต้น/ ตลอดกาลนาน เทอญ

    มีคำแนะนำดังนี้

     - ผู้ถวายควรกล่าวด้วยตนเอง
     - ถ้าว่าไม่ได้ ควรขอให้ผู้ที่ว่าได้มากล่าวนำ
     - ในที่นี้ได้ทำเครื่องหมาย / ไว้ แสดงว่า ถ้ามีการกล่าวนำ ให้หยุดเป็นวรรคๆ ตามเครื่องหมาย
     - ไม่ควรให้พระสงฆ์เป็นผู้กล่าวนำ



หน้า ๒๕-๓๒
 


@@@@@@@

๑๕. องค์ประกอบที่เป็นเหตุให้การถวายทานได้อานิสงส์เลิศ

ทานที่บริจาคแล้ว จะเป็นทานอันยอดเยี่ยม มีผลมาก มีอานิสงส์มาก อาจเห็นผลทันตา ต้องประกอบด้วยความสมบูรณ์พรั่งพร้อม ที่เรียกว่า สัมปทา ๔ อย่าง คือ

     ๑. วัตถุสัมปทา ถึงพร้อมด้วยวัตถุ คือ ปฏิคาหกผู้รับทานเป็นผู้ทรงคุณธรรม เช่น เป็นพระอรหันต์ หรือพระอนาคามี ผู้เข้านิโรธสมาบัติได้

     ๒. ปัจจยสัมปทา ถึงพร้อมด้วยปัจจัย คือ สิ่งที่จะให้ที่จะถวายเป็นของบริสุทธ์ ได้มาโดยชอบธรรม

     ๓. เจตนาสัมปทา ถึงพร้อมด้วยเจตนา คือ มีเจตนาในการให้ สมบูรณ์ครบทั้ง ๓ กาล ทั้งก่อนให้ ขณะให้ และหลังให้ จิตโสมนัส ประกอบด้วยปัญญา

     ๔. คุณาติเรกสัมปทา ถึงพร้อมด้วยคุณส่วนพิเศษ คือ ปฏิคาหกเป็นผู้มีคุณสมบัติพิเศษ เช่น ออกจากนิโรธ-สมาบัติใหม่ๆ

@@@@@@@

๑๖. คำขอร้อง

ในที่สุดนี้ ขอฝากคำขอร้องไปยังผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการถวายสังฆทานดังนี้

     • สำหรับวัดหรือสงฆ์ ขอร้องว่า อย่าทำให้การถวายสังฆทานเบี่ยงเบนไปเป็นพิธีกรรมอันศักดิ์สิทธิ์ เพื่อสะเดาะเคราะห์ต่อชะตาหรือเสริมสิริมงคล แม้แต่จะอ้างว่าเป็นอุบายชักจูงให้คนทำบุญ เพราะการล่อให้คนทำบุญด้วยความหลงอยู่แค่นั้น ไม่ใช่วิถีทางของพระพุทธศาสนา ควรกำหนดนโยบายที่แน่นอนและถูกต้องตามพระธรรมวินัยว่า ของที่รับสังฆทานมาแล้วนั้น จะนำไปใช้เพื่อการอันใด อย่าเห็นแก่ลาภและมุ่งแต่จะหาเงิน โดยละเลยหรือหลีกเลี่ยงหลักการของสังฆทาน
       ตรงกันข้าม ควรจะเผยแพร่หลักการของสังฆทานที่ถูกต้อง ให้ประชาชนได้รู้ได้เข้าใจ ประชาชนจะได้เข้าใจเรื่องสังฆทานและปฏิบัติได้ถูกต้อง วัดหรือสงฆ์ไม่ควรเป็นตัวการทำให้เรื่องสังฆทานเลอะเลือน คลาดเคลื่อนไขว้เขวออกไปจากหลักการที่ถูกต้องเสียเอง

     • สำหรับตัวพระภิกษุผู้รับสังฆทาน ขอร้องว่า ควรศึกษาหลักการของสังฆทานให้เข้าใจถูกต้องถ่องแท้ ควรรู้วิธีการว่า เมื่อจะไปเป็นผู้รับสังฆทานนั้นต้องเตรียมตัวอย่างไร และเมื่อรับของสังฆทานแล้ว ต้องนำไปทำอย่างไร จึงจะถูกต้องตามพระธรรมวินัย ไม่ควรทาให้ผิดพลาดคลาดเคลื่อน อันจะเป็นเหตุให้เจตนาในการถวายสังฆทานของญาติโยมต้องเป็นหมันไป

     • สำหรับเจ้าภาพผู้ถวายสังฆทาน ขอร้องว่า ควรศึกษาไว้ให้พอสมควร ว่าของสิ่งใดควรหรือไม่ควรแก่สมณบริโภค ถวายเวลาไหน ควรจะมีหรือไม่ควรมีของสิ่งใดบ้าง ตลอดจนฉลาดเลือกของที่มีคุณภาพและคุณประโยชน์ อย่าหลงไปตามพ่อค้าที่เขามุ่งประโยชน์ในทางพาณิชย์
       อนึ่ง ถ้าจะทาพิธีถวายสังฆทาน ก็ควรจะมีความรู้ในขั้นตอนของพิธีไว้บ้าง เช่น ไหว้พระ บูชาพระว่าอย่างไร รับศีลว่าอย่างไร คำถวายว่าอย่างไร หากไม่มีมรรคนายกเป็นผู้นำ ก็อย่าถึงกับต้องให้พระสงฆ์ว่านำให้ทุกอย่าง ที่สำคัญที่สุดคืออย่าหลงไปตามคำล่อว่า การถวายสังฆทานเป็นวิธีสะเดาะเคราะห์ ต่อชะตา เสริมสิริมงคล เพราะการทำบุญด้วยศรัทธาที่ขาดปัญญานั้น มิใช่วิถีของชาวพุทธเลย

     • สำหรับมรรคนายกหรือผู้ทำพิธี ขอร้องว่า ควรศึกษาขั้นตอนของพิธีให้ถูกต้องถ่องแท้ กล่าวคำถวายให้ถูกต้องตามหลักภาษาและถูกต้องตามชนิดของสิ่งที่ถวาย อย่าทำอย่ากล่าวตามๆ กันไปส่งเดช โดยเข้าใจเอาเองว่าถูก เพราะการนำไปในทางผิดพลาด ย่อมทำให้เกิดความคลาดเคลื่อนเลือนหลงไปเรื่อยๆ ก่อให้เกิดโทษอย่างมหันต์

     • สำหรับร้านค้า ขอร้องว่า อย่าฉวยโอกาสเอาความไม่รู้ของประชาชนเป็นเหยื่อขายสินค้าโดยไม่คำนึงถึงความถูกผิด อย่าอำนวยความสะดวกในทางที่ผิดพลาด เช่นเอาของกินปนไปในเครื่องสังฆทานที่ถวายหลังเที่ยง อย่าเห็นแก่ตัว อย่ามุ่งแต่จะขายสินค้า ด้วยการเอาสินค้าที่หมดอายุแล้ว หรือเสื่อมคุณภาพบรรจุลงในภาชนะหีบห่อที่อ้างว่าเป็น “เครื่องสังฆทาน” ข้อสำคัญ อย่าแนะนำประชาชนผิดๆว่า ถ้าจะถวายสังฆทานก็ต้องซื้อของอย่างนี้ๆ ถ้าไม่มีของสิ่งนี้ๆ จะไม่เป็นสังฆทาน เพียงเพื่อว่าจะได้ขายของ เพราะนั่นเป็นการหลอกลวงที่น่าละอายที่สุด

     และสุดท้าย ขออนุโมทนาคารวะต่อผู้ที่ปฏิบัติอย่างถูกต้องในเรื่องสังฆทาน สาธุ สาธุ อะนุโมทามิ



หน้า ๓๓-๓๖
183  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / พระเขี้ยวแก้ว เมื่อ: มกราคม 25, 2024, 08:25:43 am
.

พระเขี้ยวแก้วที่วัดพระธาตุเขี้ยวแก้ว เมืองแคนดี ประเทศศรีลังกา ขอบคุณภาพจาก : https://www.thaipbs.or.th/news/content/255922


พระเขี้ยวแก้ว

พระธาตุเขี้ยวแก้วของพระพุทธเจ้า มีอยู่ ๔ องค์ด้วยกัน แต่ที่อยู่ในโลกมนุษย์ในปัจจุบันมีเพียง ๒ องค์หรือ ๒ ชิ้น เท่านั้น คือ

     ๑. อยู่ที่วัดพระธาตุเขี้ยวแก้ว เมืองแคนดี ประเทศศรีลังกา
     ๒. อยู่ที่วัดหลิงกวง กรุงปักกิ่ง ประเทศจีน

พระธาตุองค์ที่อยู่วัดหลิงกวง กรุงปักกิ่ง ประเทศสาธารณประชาชนจีน เคยนำมาให้คนไทยได้กราบไหว้หลายปีมาแล้วที่พุทธมณฑล คนไปกราบ ไปไหว้ เป็นแสน เป็นล้านคน แต่พระธาตุเขี้ยวแก้วที่กรุงแคนดี ประเทศศรีลังกา ไม่เคยนำออกนอกประเทศ เพราะต้องการรักษาความปลอดภัย รักษายิ่งชีวิตทีเดียว

การรักษาพระธาตุเขี้ยวแก้วนั้น ผู้ถือกุญแจที่จะเปิดสถูป หรือเจดีย์ทองคำที่ครอบพระธาตุเขี้ยวแก้วนี้มีอยู่สามท่านด้วยกัน ทางมหานายกะ หรือพระสังฆราชของศรีลังกา ได้นิมนต์พระผู้นำทั่วโลกหลายสิบประเทศไปร่วมประชุม แล้วเปิดแสดงพระธาตุเขี้ยวแก้วเฉพาะชาวต่างประเทศ ถ้าจะเปิดให้คนศรีลังกาชมต้องครบ ๕ ปีก่อน คนไทยที่ไปชมเข้าแถวรอชมยาวตั้ง ๓ กิโลเมตร



พระเขี้ยวแก้วที่วัดหลิงกวง กรุงปักกิ่ง ประเทศจีน ขอบคุณภาพจาก : dhamdeetour.com/shop/the-best-of-china-ครั้งหนึ่งในชีวิต-กร/


ประชุมพุทธชยันตี แปลว่า ฉลองวันเกิดพระพุทธเจ้าช่วงวิสาขบูชาที่ผ่านมาถึงวันวิสาขบูชาที่ประเทศศรีลังกานั้น เขานับ พ.ศ.ใหม่ทันที เป็นพ.ศ. ๒๕๕๐ ประเทศเรายังเป็น พ.ศ. ๒๕๔๙ แต่ว่าประเทศศรีลังกาเปลี่ยน พ.ศ. ตรงกับวันวิสาขบูชา ฉลองกันใหญ่ นิมนต์พระผู้ใหญ่จากทั่วโลกไปร่วมงาน แล้วเปิดพระธาตุเขี้ยวแก้วให้กราบไหว้สักการะ

เมื่อเข้าไปข้างในนั้น ก็ได้เห็นการถอดของมีค่าออกทีละชิ้นๆ เช่น สังวาลย์ทองคำ เป็นรูปอินทรีย์ มีเพชรนิลจินดาประดับยกออกมาทีละชิ้นๆ ที่วางไว้ครอบยอดพระสถูปทองคำที่สูงประมาณ ๒ ศอก ใช้เวลาประมาณครึ่งชั่วโมงจึงเอาลงมาหมด ใส่ถาดเก็บไว้ทีละชิ้นๆ มีสักขีพยานดูว่าต้องครบทุกชิ้น

บางชิ้นพระสังฆราชอธิบายว่า ของสิ่งนี้เป็นสังวาลย์ที่พระเจ้ากีรติราชสิงหะ เมื่อ ๒๕๐ ปีมาแล้วทรงสวมเมื่อขึ้นครองราชย์ เสร็จแล้วนำมาถวายพระธาตุเขี้ยวแก้ว แต่ละชิ้นมีประวัติยาวนานเป็น ๑๐๐ ปี นี่แค่ของที่มาบูชา พอใส่ถาดต้องยกกันหลายคน ถึงจะยกขึ้น เฉพาะทองคำเพชรนิลจินดามากชิ้น จากนั้นก็ถึงเวลาเปิดผอบทองคำ สถูปทองคำ มี ๗ ชั้นด้วยกัน ห้ามถ่ายรูป เพื่อรักษาความปลอดภัย






ขอขอบคุณ :-
ข้อธรรม : บันทึกจากเจ้าอาวาส ลำดับที่ ๑๑๖ , จากพระธรรมเทศนา ๕๗ กัณฑ์ เรื่องอัปปมาทกถา ว่าด้วยความไม่ประมาท , สมัยดำรงสมณศักดิ์ที่ พระธรรมโกศาจารย์ (ประยูร ธมฺมจิตฺโต ป.ธ.๙.,Ph.D) แสดงในวันธรรมสวนะณ พระอุโบสถวัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร , เมื่อวันอังคารที่ ๒๘ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๐
URL : https://www.watprayoon.com/main.php?url=about1&code=content154&id=165
184  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / พระพุทธเจ้า ทรงสอนเรื่องใด มากที่สุด.? เมื่อ: มกราคม 25, 2024, 07:57:39 am
.



พระพุทธเจ้า ทรงสอนเรื่องใด มากที่สุด.?

เคยมีคนถามพระอานนท์ว่า พระพุทธเจ้าทรงสอนเรื่องใดมากที่สุด พระอานนท์ตอบว่า พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมเรื่องไตรสิกขามากที่สุด ไตรสิกขาประกอบด้วย ศีล สมาธิ ปัญญา ซึ่งเป็นเรื่องกว้าง ๆ เกี่ยวข้องกับการละเว้นความชั่ว การทำความดี การทำจิตใจให้บริสุทธิ์ ซึ่งเหมาะกับคนทุกระดับ และสามารถนำไปสู่การหลุดพ้นได้

พระธรรมอันทรงแสดงนั้นมีทั้งหมด 84,000 พระธรรมขันธ์ ซึ่งนับว่ามากมายมหาศาล จึงมีคนสงสัยมาตั้งแต่ครั้งพุทธกาลว่า ในจำนวน 84,000 พระธรรมขันธ์นั้น ถ้าจะรู้เพียงเรื่องเดียวควรรู้อะไร ซึ่งคำถามนี้ หลวงปู่ขาว อนาลโย เคยเทศน์สอนไว้ว่า

    “โดยทำนองเดียวกันที่รอยเท้าของบรรดาสัตว์ทั้งหลายทั้งปวงในโลกนี้ อาจจะรวมลงไปในรอยเท้าของช้าง พระธรรมคำสั่งสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้ง 84,000 พระธรรมขันธ์ก็อาจรวมลงได้ในธรรมข้อเดียวคือ สติ”

เพราะสติเป็นเครื่องกั้นความเศร้าหมอง กั้นกิเลส คนเราจะทำพลาดทำชั่วก็เริ่มที่การขาดสติ เพราะฉะนั้นจึงต้องหันมาฝึกสติให้มาก

อย่างไรก็ดี นอกจากชาวพุทธจะเข้าใจพุทธศาสนาจากพระธรรมคำสอนแล้ว หากดูพระพุทธองค์เป็นแบบอย่าง ก็สามารถเรียนรู้ธรรมได้เช่นกัน สิ่งหนึ่งที่เข้าใจได้ทันทีคือ ด้วยอัตภาพของความเป็นมนุษย์ ก็เพียงพอที่จะทำให้เราหลุดพ้นได้ เพราะพระพุทธองค์ก็ทรงแสวงหาในแบบที่มนุษย์ทั่วไปแสวงหา ทรงใช้วิธีที่มนุษย์คนใดก็ทำได้ และทรงประสบกับความทุกข์ความลำบากไม่ยิ่งหย่อนกว่าใครทั้งสิ้น

@@@@@@@

ยกตัวอย่างเรื่องการทรงงาน เนื่องจากทรงรู้ด้วยญาณว่าพระองค์จะมีเวลาเผยแผ่พระธรรมเพียงแค่ 45 ปี จึงทรงงานอย่างหนัก พุทธกิจประจำวันของพระพุทธเจ้าตลอด 45 ปีมีดังนี้

เช้า : เสด็จออกบิณฑบาต (โปรดสัตว์)
เย็น : ทรงแสดงธรรม
ค่ำ : ประทานโอวาทแก่ภิกษุทั้งหลาย
เที่ยงคืน : แก้ปัญหาของเหล่าเทวดาทั้งหลาย
ใกล้รุ่ง : ทอดพระเนตรดูสัตว์ที่ควรโปรดและไม่ควรโปรด เช่น ตอนที่ทอดพระเนตรเห็นว่าองคุลิมาลเป็นผู้ที่สามารถฝึกได้ แต่ถ้าพลั้งมือสังหารมารดาของตนจะต้องรับกรรมหนัก ก็เสด็จไปโปรดองคุลิมาลทันที

พระพุทธเจ้าทรงงานหนักมาก และมีเวลาพักผ่อนเพียงน้อยนิด ซึ่งตลอดเวลา 45 ปีนั้น พระพุทธองค์ก็ไม่ได้ทรงมีชีวิตที่ราบรื่นเสมอไป บางครั้งทรงบิณฑบาตไม่ได้ ต้องเสวยข้าวแดงนาน 3 เดือน บางเวลาต้องเสวยอาหารอย่างสุนัขกิน ซึ่งเรื่องนี้ไม่ได้เกิดขึ้นในขณะที่พระพุทธองค์ยังไม่ตรัสรู้ แต่เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในตอนที่พระองค์สำเร็จอรหัตผลบรรลุธรรมเป็นพระพุทธเจ้าแล้ว

นอกจากนี้ก็ยังทรงพระประชวร มีโรค “ปักขันทิกาพาธ” (โรคท้องร่วง) เป็นโรคประจำพระองค์ อันเป็นผลจากการบำเพ็ญทุกรกิริยาตั้งแต่วัยหนุ่ม


@@@@@@@

นอกจากเรื่องทางพระวรกายแล้ว พระพุทธเจ้ายังต้องทรงเผชิญกับความบีบคั้นทางใจหลายประการ เช่น การที่พระบิดา พระมเหสี พระญาติ อำมาตย์ และประชาชนไม่เห็นด้วยในการออกบวชช่วงแรก ๆ ทรงมีศัตรูผู้คอยจองล้างจองผลาญพระองค์ตลอดเวลา คือ พระเทวทัต ซึ่งที่จริงเป็นพระญาติที่ใกล้ชิดอย่างยิ่ง และทรงต้องเผชิญกับเหตุการณ์ที่เหล่าพระญาติสังหารกันเองจนมีผู้ล้มตายจำนวนมหาศาล โดยที่ไม่อาจทัดทานได้

ซึ่งเหตุการณ์นั้นก็คือเรื่องของ เจ้าชายวิฑูฑภะ พระโอรสของ พระเจ้าปเสนทิโกศล แห่งกรุงสาวัตถีกับ นางวาสภขัตติยา ธิดาของพระญาติฝ่ายศากยวงศ์แห่งกรุงกบิลพัสดุ์ที่เกิดจากมารดาซึ่งเป็นนางทาสี วันหนึ่งเจ้าชายวิฑูฑภะเสด็จไปเยี่ยมพระญาติที่กรุงกบิลพัสดุ์ และทรงทราบว่า หลังจากที่พระองค์เสด็จกลับมาแล้ว พระญาติเหล่านั้นได้สั่งให้นางทาสีใช้น้ำผสมน้ำนมมาล้างกระดานทุกแผ่นที่เจ้าชายประทับ ซึ่งเชื่อกันว่าน้ำชนิดนี้จะล้างความเป็นกาลกิณีได้ พระองค์กริ้วมาก

ภายหลังจึงทรงยกทัพมาสังหารพระญาติเหล่านี้ แม้แต่เด็กทารกก็ไม่ทรงละเว้น แล้วรับสั่งให้เอาโลหิตจากพระศอของพระญาติมาล้างแผ่นกระดานที่พระองค์เคยประทับ เหตุการณ์นี้พระพุทธองค์เสด็จมาเตือนสติเจ้าชายถึง 3 ครั้ง แต่สุดท้ายก็ไม่อาจยับยั้งได้

@@@@@@@

หรือแม้แต่ในหมู่สงฆ์เอง ในพรรษาที่ 9 หลังจากตรัสรู้ ก็เกิดความแตกแยกในหมู่ภิกษุในเมืองโกสัมพีขึ้น ถึงขนาดที่พระพุทธเจ้าประทานโอวาทแล้วก็ยังดื้อดึงตกลงกันไม่ได้ ความขัดแย้งบานปลายจนถึงขั้นต้องแบ่งแยกกันทำอุโบสถ ฝ่ายหนึ่งทำอุโบสถสังฆกรรมภายในสีมา แต่อีกฝ่ายหนึ่งออกไปทำอุโบสถสังฆกรรมภายนอกสีมา การแตกแยกกันถึงขั้นนี้เรียกว่า “สังฆเภท”

ด้วยเหตุนี้พระพุทธองค์จึงทรงปลีกพระองค์ไปประทับอยู่ที่ตำบลปาริเลยยกะ ซึ่งเป็นดินแดนที่เงียบสงบแต่เพียงองค์เดียว โดยมีพญาช้างปาริเลยยกะคอยอุปัฏฐาก


“การพ้นทุกข์” ของพระพุทธองค์จึงไม่ได้หมายความว่าจะไม่เจอทุกข์อีกเลย แต่หมายถึงการอยู่กับทุกข์โดยไม่ทุกข์ ดังที่ทรงกระทำให้เห็นมาตลอดพระชนมชีพของพระองค์


 



ขอขอบคุณ :-
ที่มา : พระพุทธเจ้า 5 พระองค์ – กองบรรณาธิการนิตยสาร Secret สำนักพิมพ์อมรินทร์ธรรมะ
URL : https://cheewajit.com/healthy-mind/119820.html
October 22, 2018 | cheewajitmedia   | Secret Magazine (Thailand)
photo by terimakasih0 on pixabay
185  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / “วัดเจดีย์เจ็ดแถว” ที่ศรีสัชนาลัย หลายคนนับไม่ได้ 7 แถว แต่ทำไมคนไทยเรียกชื่อนี้ เมื่อ: มกราคม 25, 2024, 07:46:13 am
.

หนึ่งในเจดีย์ราย ที่ วัดเจดีย์เจ็ดแถว อ. ศรีสัชนาลัย จ. สุโขทัย (ภาพ : กลุ่มเผยแพร่ฯ กรมศิลปากร)


“วัดเจดีย์เจ็ดแถว” ที่ ศรีสัชนาลัย หลายคนนับไม่ได้ 7 แถว แต่ทำไม คนไทยเรียกชื่อนี้.?

“วัดเจดีย์เจ็ดแถว” เป็นศาสนสถาน ตั้งอยู่ใน อ. ศรีสัชนาลัย จ. สุโขทัย ซึ่งในวัดมีโบราณสถานสำคัญมากมาย ไม่ว่าจะเป็น เจดีย์ประธานรูปดอกบัวตูมด้านหลังพระวิหาร, เจดีย์ราย รวมไปถึงนานาอาคารขนาดเล็กใหญ่ที่มีรูปแบบแตกต่างกันไปถึง 33 องค์

ทว่าเมื่อหลายคนไปเยี่ยมชม อาจสงสัยว่าเพราะเหตุใดถึงเรียกสถานที่แห่งนี้ว่า “วัดเจดีย์เจ็ดแถว” ทั้งที่หลายคนอาจจะนับไม่ได้ 7 แถวอย่างที่ว่า

อย่างที่ได้กล่าวไปแล้วว่า วัดเจดีย์เจ็ดแถวตั้งอยู่ในพื้นที่อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย อ. ศรีสัชนาลัย จ. สุโขทัย เต็มไปด้วยโบราณสถานมากมาย หนึ่งในนั้นก็คือ “เจดีย์ประธาน” ที่มีทรงยอดดอกบัวตูม ทั้งยังรายล้อมไปด้วยเจดีย์เล็กใหญ่มากมาย อย่าง เจดีย์ประจำมุม ประจำทิศ เจดีย์ราย ซึ่งจะแทรกอยู่ระหว่างเจดีย์ประจำทิศ

ทั้งหมดนี้ล้วนแล้วแต่เป็นความสวยงามที่ผสมผสานกันอย่างลงตัวตามแบบแผนปราสาทเขมร ศิลปะพุกาม ทรงปราสาทยอดฉบับล้านนา รวมไปถึงปลีกย่อย และเจดีย์ทรงยอดดอกบัวตูมของศิลปะสุโขทัย (มีบางข้อมูลกล่าวว่า อาจได้รับอิทธิพลมาจากลังกาและศรีวิชัยด้วย)

ว่ากันว่า วัดแห่งนี้ถูกสร้างขึ้นในสมัยคราวที่พญาลิไทเป็นอุปราชครองอยู่ ก่อนจะเสด็จไปขึ้นครองราชย์ที่สุโขทัย ซึ่งเหตุที่ทำให้พญาลิไททรงสร้างวัดแห่งนี้ขึ้น อาจเป็นเพราะพระองค์ทรงต้องการแสดงว่าทรงรู้เห็นศิลปะและวัฒนธรรมของเมืองต่าง ๆ อย่างกว้างขวาง

ต่อมา สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ สันนิษฐานว่า วัดแห่งนี้น่าจะเป็นที่ประดิษฐานพระอัฐิของราชวงศ์สุโขทัย

@@@@@@@

แล้วเหตุใดสถานที่แห่งนี้ถึงได้ชื่อว่า “วัดเจดีย์เจ็ดแถว” เรื่องนี้มีหลายคนตั้งข้อสมมติฐานไว้มากมาย หากเป็นหลักฐานลายพระหัตถ์ สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ หรือ “สมเด็จครู” ที่บันทึกไว้คราวเสด็จมาสำรวจวัดนี้ เมื่อก่อน พ.ศ. 2506 จะปรากฏไว้ว่า “ชื่อวัดเจดีย์เจ็ดแถวคงเกิดจากคนแรกเรียกชื่อ เห็นว่ามีเจดีย์เป็นแถวแนวจำนวนมาก จำนวนเจ็ดคนไทยนับว่าเป็นมงคล แต่พระองค์นับอย่างไรก็ไม่ได้จำนวนเจ็ด”

ด้านหนังสือ วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญา จังหวัดสุโขทัย ได้อธิบายไว้ว่า เหตุที่ทำให้ชื่อวัดเจดีย์เจ็ดแถวเป็นเพราะ “วัดเจดีย์เป็นชื่อที่ตั้งขึ้นภายหลังโดยราษฎรในท้องถิ่น สาเหตุที่เรียกเนื่องจากพบเจดีย์จำนวนรมากมายหลายแถวภายในวัด”

ส่วนวิธีการนับอย่างไรให้ได้เจ็ดแถวเหมือนชื่อนั้น ยังไม่พบปรากฏหลักฐานชัดเจน


อ่านเพิ่มเติม :-

     • จังหวัดนครปฐมมาจากไหน พระปฐมเจดีย์มีที่มาอย่างไร
     • “วัดเจดีย์หลวง” จ. เชียงใหม่ วัดกลางเมืองสำคัญที่ “ครูบาศรีวิชัย” ไม่เลือกบูรณะ
     • เจดีย์ทรงระฆัง-ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์-ทรงปรางค์ มาจากไหน อย่างไร
     • เจดีย์ที่ไม่มีใครรู้จัก กลายเป็น “เจดีย์ยุทธหัตถี” เพราะ “รีบสรุป” ก่อนศึกษา






ขอขอบคุณ :-
ผู้เขียน : ปดิวลดา บวรศักดิ์
เผยแพร่ : วันพุธที่ 24 มกราคม พ.ศ.2567
เผยแพร่ในระบบออนไลน์ครั้งแรก : เมื่อ 24 ธันวาคม 2567
website : https://www.silpa-mag.com/history/article_126094?utm_source=msn_news&utm_medium=footer_click

อ้างอิง :-
- สันติ เล็กสุขุม. โบราณกาลปัจจุบัน. กรุงเทพฯ : มติชน, 2566.
- คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุ ในคณะกรรมการอำนวยการจัดงานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ. วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญา จังหวัด สุโขทัย. กรมศิลปากร : กรุงเทพฯ, 2544.
186  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / ถวายสังฆทานให้ถูกวิธี เมื่อ: มกราคม 24, 2024, 12:00:22 pm
.



ถวายสังฆทานให้ถูกวิธี

โดย นาวาเอก ทองย้อย แสงสินชัย ป.ธ. ๙, ร.บ. ,อนุศาสนาจารย์กองทัพเรือ
สพฺพทาน ธมฺมทาน ชินาติ - การให้ธรรมชนะการให้ทั้งปวง (พิมพ์แจกเป็นธรรมทาน ห้ามจำหน่าย)

ถวายสังฆทานให้ถูกวิธี โดย นาวาเอก ทองย้อย แสงสินชัย
ISBN 974-87114-5-5 พิมพ์ครั้งที่ ๓ ธันวาคม ๑,๐๐๐ เล่ม
ปก : วัดพระธาตุเชิงชุม จ.สกลนคร , โดย ธีรภาพ โลหิตกุล



คำนำ

ในพจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ ของพระเทพเวที(ประยุทธ์ ปยุตฺโต) ได้นิยาม"สังฆทาน" ว่า ทานเพื่อสังฆ์, การถวายแก่สงฆ์ คือ ถวายเป็นกลางๆ ไม่จำเพราะจงภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง สังฆทาน ได้ชื่อว่าเป็นยอดแห่งทาน มีอานิสงส์มาก

ดังที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าของพวกเรา ได้ตรัสแนะให้พระนางมหาปชาบดีโคตมีถวายผ้าห่ม ซึ่งพระนางได่ทรงทอด้วยตนเองนั้น แก่สงฆ์ว่า อย่าได้ถวายเจาะจงแก่พระพุทธองค์เลย เพราะเมื่อพระนางถวายผ้าห่มนั้นแก่สงฆ์ ก็เท่ากับว่าพระนางได้บูชาทั้งพระพุทธองค์และพระสงฆ์ด้วย

หนังสือถวายสังฆทานให้ถูกวิธีนี้ เหมาะที่สาธุชนพึงมีไว้ เป็นคู่มือในการทำบุญส่วนที่เกี่ยวกับสังฆทาน อันได้ชื่อว่าเป็นยอดของทานนี้ได้เป็นอย่างดี

     นาวาเอก ทองย้อย แสงสินชัย
     อนุศาสนาจารย์กองทัพเรือ
     ๑๑ ธันวาคม ๒๕๔๔




     สารบัญ (เรื่อง - หน้า)

     ความเข้าใจหลายหลากเกี่ยวกับการถวายสังฆทาน - ๑
     ความเข้าใจคลาดเคลื่อนเกี่ยวกับสังฆทาน - ๓
     วิธีทำบุญ - ๔
     ประเภทของทาน - ๕
     สังฆทานคืออะไร - ๖
     ทำไมต้องสังฆทาน - ๖
     หลักการที่ถูกต้องของสังฆทาน - ๑๐
     ผู้เกี่ยวข้องในการบำเพ็ญทาน - ๑๒
     จำนวนพระสงฆ์ที่รับสังฆทาน - ๑๓
     ถวายสังฆทานเวลาไหน - ๒๒
     เครื่องสังฆทาน - ๑๙
     การอุปโลกน์ - ๑๖
     วิธีถวายสังฆทาน - ๒๕
     คำถวายสังฆทาน - ๒๕
     องค์ประกอบที่เป็นเหตุให้การถวายทานได้อานิสงส์เลิศ - ๓๓
     คำขอร้อง - ๓๓
     บทความเรื่อง “วิธีทำบุญ” - ๓๗







๑. ความเข้าใจหลายหลากเกี่ยวกับการถวายสังฆทาน

การถวายสังฆทานที่ทำๆกันอยู่ทุกวันนี้ ดูเหมือนจะมีหลายวิธี เช่น

    - จัดของถวายพระแล้วไปที่วัด บอกแก่พระหรือคนวัดว่า จะมาถวายสังฆทาน ขอให้จัดพระมาให้เท่านั้นเท่านี้รูป แล้วก็ทำพิธีถวายกันไป

    - เตรียมของสำหรับตักบาตร แล้วออกมาดักรอพระที่ออกบิณฑบาต เห็นพระรูปไหนผ่านมา ก็นิมนต์ให้ท่านเข้าไปในบ้านบอกว่าจะถวายสังฆทาน แล้วก็ทำพิธีถวาย

    - ซื้อของตามร้านค้าที่เขาจัดไว้เรียบร้อยแล้ว ซึ่งอ้างว่าเป็นเครื่องสังฆทาน นำไปถวายพระที่วัด เสร็จแล้วก็เข้าใจกันว่า ได้ถวายสังฆทานแล้ว

    - บางวัดอำนวยความสะดวกให้แก่ญาติโยม ด้วยการจัดเตรียมของถวายแบบสาเร็จรูปเป็นถังพลาสติกสีเหลืองไว้ให้ใครอยากถวายสังฆทาน ก็เพียงแต่ไปติดต่อพระหรือคนวัดที่เป็นเจ้าหน้าที่ แล้วจ่ายเงินตามอัตราที่กำหนดหรือตามศรัทธา (ซึ่งไม่ควรจะน้อยนัก) ทางวัดก็จะจัดพระมาให้ญาติโยมทาพิธีถวาย ได้ปัจจัยเข้าวัดหรือเป็นอติเรกลาภของพระท่าน ส่วนของถวายนั้นก็เอามาให้หมุนเวียนถวายสังฆทานกันไปเรื่อย ๆ

    - บางท่านเข้าใจว่า หลักสำคัญของการถวายสังฆทานอยู่ที่ต้องเขียนชื่อผู้ตายลงบนแผ่นกระดาษ แล้วกรวดน้ำพร้อมกับเผากระดาษอุทิศส่วนบุญให้แก่ผู้ตาย จึงจะเป็นสังฆทาน

    - บางท่านก็ยืนยันว่า จะเป็นสังฆทานได้ ต้องถวายแก่พระภิกษุอย่างน้อย ๔ รูป ถ้าน้อยกว่านี้ไม่เป็นสังฆทาน

    - บางท่านว่าสังฆทานต้องถวายก่อนเที่ยง หลังเที่ยงไปแล้วห้ามถวาย แต่บางท่านก็ว่า ถวายได้ตลอดวัน

    - บางท่านว่า จะเป็นสังฆทานได้ พระสงฆ์จะต้องทำ "อปโลกนกรรม" (คือที่เราเรียกกันว่า อุปโลกน์ ถ้าไม่อุปโลกน์ ไม่เป็นสังฆทาน ฯลฯ

@@@@@@@

๒. ความเข้าใจคลาดเคลื่อนเกี่ยวกับสังฆทาน

  ก. ฝ่ายผู้ถวาย
      - เข้าใจว่าของถวายสังฆทานต้องใส่ถังพลาสติกสีเหลืองตามแบบที่ร้านค้าจัดไว้จำหน่าย ถ้าไม่มีถังเช่นว่านี้ ไม่เป็นสังฆทาน
      - เข้าใจว่าสังฆทานนั้นถวายเมื่อมีผู้รู้ทางดวงชะตาทำนายทายทักว่า ดวงไม่ดีควรถวายสังฆทานเป็นการสะเดาะเคราะห์ต่อชะตา เสริมสิริมงคล
      - เข้าใจว่าเครื่องสังฆทานทั้งหมดถวายได้ทุกเวลา

  ข. ฝ่ายผู้รับ
      - พระสงฆ์ที่รับสังฆทาน ต้องมีจำนวน ๔ รูปขึ้นไป น้อยกว่านี้รับไม่ได้
      - รับสังฆทานแล้วต้องอุปโลกน์ ถ้าไม่อุปโลกน์ สังฆทานไม่สมบูรณ์
      - รับแล้ว นำของถวายนั้นไปเป็นของส่วนตัวได้เลย

  ค. ฝ่ายร้านค้า (พยายามสร้างความเข้าใจให้แก่ผู้ซื้อว่า)
     - สังฆทาน คือ ของที่จัดใส่ถังพลาสติกสีเหลือง
     - ไทยทาน คือ ของที่จัดเป็นห่อๆ (เป็นการนำเอาคำสองคำมาเข้าคู่กัน)


หน้า ๑-๒-๓


@@@@@@@

๓. วิธีทำบุญ

การจะเข้าใจเรื่องสังฆทานได้ดี ควรเข้าใจเรื่องวิธีทำบุญก่อน วิธีทำบุญสาหรับชาวพุทธที่เป็นคฤหัสถ์ ท่านวางหลักไว้ ๓ ขั้น เรียกว่า บุญกิริยาวัตถุ คือ
    ทาน ให้ปันสิ่งของของตนแก่ผู้อื่น
    ศีล รักษาการกระทำและคำพูดให้เรียบร้อย
    ภาวนา อบรมบ่มจิตใจให้สงบและรู้แจ้งเข้าใจสิ่งทั้งหลายตามเป็นจริง

จะเห็นว่า ทานเป็นบันไดขั้นต้นเท่านั้น ของการบำเพ็ญบุญ ยังมีบันไดขั้นสูงต่อไปอีก ที่จะต้องดำเนิน คือ ศีล และภาวนา

อนึ่งวิธีทำบุญดังกล่าวนี้ ท่านยังแจกแจงเพิ่มออกไปอีก ๗ วิธี รวมกับของเดิม ๓ วิธี เป็น ๑๐ วิธี เรียกว่า บุญกิริยาวัตถุ ๑๐ กล่าว คือ เพิ่ม

     อปจายนะ การอ่อนน้อมถ่อมตน มีสัมมาคารวะ รู้จักเคารพกราบไหว้
     เวยยาวัจจะ การช่วยขวนขวายรับเป็นภาระธุระในกิจการที่ถูกที่ชอบ
     ปัตติทาน การให้ส่วนบุญ คือเฉลี่ยส่วนแห่งความดี ให้แก่ผู้อื่น
     ปัตตานุโมทนา การอนุโมทนาส่วนบุญ คือยินดีในความดีของผู้อื่น
     ธัมมัสสวนะ การฟังธรรมคาสั่งสอน ศึกษาหาความรู้ในทางความดี
     ธัมมเทสนา การแสดงธรรม สั่งสอนธรรม ให้วิชาความรู้
     ทิฏฐุชุกรรม การทำความคิดความเห็นให้ถูกให้ตรง ไม่เห็นผิดเป็นชอบ

@@@@@@@

๔. ประเภทของทาน

ทาน แปลว่า การให้ โดยทั่วไปแบ่งเป็น ๒ คู่ คือ
    คู่ที่ ๑. มุ่งถึงสิ่งที่จะให้ ได้แก่ อามิสทาน ให้สิ่งของ และธรรมทาน ให้ธรรม (ให้คำแนะนา อบรมสั่งสอน ให้วิชาความรู้ เป็นต้น)
    คู่ที่ ๒. มุ่งถึงเจตนาในการให้ ได้แก่ ปาฏิบุคลิกทาน ให้เจาะจงแก่บุคคลผู้ใดผู้หนึ่งโดยเฉพาะ และ สังฆทาน ให้แก่สงฆ์ คือ ให้เป็นของส่วนรวม

นอกจากนี้ยังมีทานอีกประเภทหนึ่ง คือ อภัยทาน ให้ความไม่มีภัย ให้อภัย ไม่ทำร้าย ไม่ถือโทษโกรธเคือง ไม่เอาผิดกันอีกต่อไป

@@@@@@@

๕. สังฆทานคืออะไร

ทานในบุญกิริยาวัตถุหรือวิธีทำบุญนั้น ท่านหมายเอาอามิสทาน คือการให้ปันสิ่งของของตนแก่ผู้อื่น การให้อามิสทานนั้น มี ๒ ลักษณะตามเจตนาของการให้ คือ
    ๑. ให้เป็นของเฉพาะตัวหรือเจาะจงตัวผู้รับ (ปาฏิบุคลิกทาน)
    ๒. ให้เป็นของส่วนรวม ไม่เจาะจงตัวผู้รับ (สังฆทาน)

เพราะฉะนั้น ความหมายของสังฆทาน ก็คือการให้ปันสิ่งของของตนแก่ผู้อื่นโดยไม่เฉพาะเจาะจงตัว แต่ให้เป็นของส่วนรวม หรือให้เป็นของส่วนกลาง หรือให้เป็นสาธารณประโยชน์ เพื่อให้ผู้รับได้ใช้หรือได้รับประโยชน์โดยทั่วกัน

ขอได้โปรดจำความหมายที่ถูกต้องนี้ไว้ให้ดี ความหมายอื่นๆที่มิได้เป็นไปตามนัยที่กล่าวนี้ คือความหมายที่คลาดเคลื่อน เป็นความหมายที่พูดกันเอาเอง เข้าใจกันเอาเองทั้งนั้น

@@@@@@@

๖. ทำไมต้องสังฆทาน

โปรดเข้าใจให้ถูกต้องว่า สังฆทานไม่ใช่พิธีกรรมที่ทำขึ้นเพื่อความขลังความศักดิ์สิทธิ์ ไม่ใช่พิธีกรรมหรือวิธีการสะเดาะเคราะห์ต่อชะตา ล้างบาปล้างซวย ไม่ใช่พิธีกรรมเพื่อเสริมสิริมงคลให้เกิดลาภผลถูกโฉลกโชคดี ไม่ใช่พิธีกรรมเพื่อปัดรังควานป้องกันภัยพิบัติอุปัทวันตราย มิใช่พิธีกรรมเพื่อติดต่อขอร้องเจ้ากรรมนายเวรมิให้มาเบียดเบียน ฯลฯ

ตามที่มักจะมีผู้เชื่อและสนับสนุนให้เชื่อ การเชื่อเช่นนั้นเป็นเรื่องที่เชื่อกันเองทั้งสิ้น โปรดจำไว้ว่า สังฆทาน ก็คือวิธีทำบุญ ๑ ใน ๓ หรือ ๑ ใน ๑๐ วิธีเท่านั้นเอง

กล่าวคือ วิธีทำบุญที่ท่านเรียกว่า ทานมัย = บุญที่สาเร็จด้วยการให้ปันสิ่งของของตนแก่คนอื่น ถึงจะไม่ทำบุญด้วยวิธีทานมัย ก็ยังสามารถทำบุญด้วยวิธีอื่นๆ ได้อีกหลายวิธี ทานเป็นเพียงบันไดขั้นต้นของการทำบุญหรือทำความดี อันที่จริงควรจะบอกกันว่า อย่าเพียงแต่ทำสังฆทานอย่างเดียว ควรจะพัฒนาต่อไปด้วยการรักษาศีล บำเพ็ญจิตภาวนา และทำบุญกิริยาวัตถุอื่นๆ อีกด้วย

เหตุที่สังฆทานมีความหมายพิเศษ ก็มีแต่เพียงว่า เป็นการให้ปันที่แสดงออกถึงน้ำใจที่กว้างขวาง ถ้าใช้คำว่า รัก แทนก็เท่ากับพูดว่า “มิใช่รักเฉพาะพ่อแม่ ลูกเมียของตัวเอง แต่รักเพื่อนร่วมทุกข์ เกิด แก่ เจ็บ ตาย ด้วยกันหมดทั้งโลก”

สังฆทาน ก็คือ มิใช่ให้เฉพาะคนนั้นคนนี้ แต่ให้แก่ส่วนรวมทั้งหมด-นั่นเอง หัวใจของสังฆทานอยู่ตรงนี้ แม้ปากจะพูดว่าถวายสังฆทาน และใจก็ตั้งเจตนาจะถวายสังฆทาน แต่ไปเจาะจงว่าอยากถวายแก่พระภิกษุรูปนั้นรูปนี้ อย่างนี้ก็หาใช่สังฆทานไม่ กลายเป็นอยากถวายสังฆทาน แต่ไม่เข้าใจเรื่องสังฆทานไป


หน้า ๔-๕-๖-๗


อันที่จริง การให้ทานหรือถวายทานนั้น ก็มิได้มีข้อกำหนดตายตัวว่าต้องถวายแก่พระพุทธเจ้า หรือแก่พระสาวก หรือถวายแก่พระวัดนั้นวัดนี้ หรือรูปนั้นรูปนี้ หรือจะต้องให้ต้องถวายแก่ใครคนไหนจึงจะได้บุญ แต่สำหรับชาวพุทธเรา ถือว่าพระสงฆ์เป็นเนื้อนาบุญ (คือเปรียบการทำบุญด้วยวิธีให้ทานว่า เหมือนการทำนา ถ้าที่นาดี ข้าวที่หว่านดำลงไปก็จะงอกงามได้ผลดี ถ้าผู้รับทานเป็นคนดี ทานที่ทำลงไปก็จะมีผลดี)

ชาวพุทธถือว่าพระสงฆ์เป็นบุญเขต คือเป็นผู้ควรรองรับการทำบุญ เราจึงนิยมทำบุญถวายทานแก่พระสงฆ์ ทั้งในแบบถวายเจาะจงแก่พระภิกษุรูปใดรูปหนึ่งโดยเฉพาะ (ปาฏิบุคลิกทาน) และแบบถวายเป็นของสงฆ์หรือถวายเพื่อส่วนรวม (สังฆทาน) แต่กระนั้นก็นิยมกันว่า สังฆทานมีอานิสงส์มากกว่า ดังที่ตรัสไว้ในทักขิณาวิภังคสูตร (พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ วิภังควรรค พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๔ ข้อ ๗๐๖) ซึ่งสรุปความได้ดังนี้

เมื่อพระพุทธเจ้าตรัสรู้แล้ว ได้ทรงประกาศพระธรรมคาสั่งสอนของพระองค์จนมีผู้เลื่อมใสเข้ามาบวชเป็นพระภิกษุ และได้บรรลุธรรมเป็นพุทธสาวกเป็นจำนวนมาก สมัยหนึ่งก็ได้เสด็จไปยังกรุงกบิลพัสดุ์เพื่อโปรดพระประยูรญาติ และประทับอยู่ ณ นิโครธาราม ซึ่งพวกเจ้าศากยะสร้างถวาย

ครั้งนั้นพระนางมหาปชาบดีโคตมี ผู้เป็นพระน้านาง และได้เคยบริบาลพระพุทธองค์มาตั้งแต่เพิ่งประสูติได้เพียง ๗ วัน ทรงมีศรัทธาทอผ้าเนื้อดีด้วยพระองค์เอง แล้วนำไปถวายแก่พระพุทธเจ้า

พระพุทธองค์ไม่ทรงรับ แต่ตรัสแนะนำให้ถวายแก่สงฆ์แทน และตรัสว่า ทานที่ถวายแก่สงฆ์ (สังฆทาน) มีอานิสงส์มากกว่าทานที่ถวายเจาะจงแก่ภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง(ปาฏิบุคลิกทาน) ครั้นแล้วได้ตรัสถึง บุคคลผู้รับทานแบบปาฏิบุคลิกทาน ๑๔ จำพวก และผู้รับทานแบบสังฆทาน ๗ จำพวก

@@@@@@@

ต่อจากนั้นได้ทรงแสดงอานิสงส์ของทานไว้ว่า

     - ให้ทานแก่ สัตว์เดรัจฉาน ซึ่งเป็นปฏิคาหกชั้นต่ำสุด ได้อานิสงส์ร้อยเท่า(หมายความว่า ได้อายุ วรรณะ สุขะ พละ และปฏิภาณ อย่างละร้อยชาติ)
     - ให้ทานแก่คนไร้ศีลธรรมได้อานิสงส์พันเท่า
     - ให้ทานแก่กัลยาณปุถุชน ได้อานิสงส์แสนเท่า
     - ให้ทานแก่คนนอกพระพุทธศาสนาที่ปราศจากความกำหนัดในกาม ได้อานิสงส์แสนโกฏิเท่า
     - ให้ทานแก่ผู้ปฏิบัติธรรมเพื่อเป็นพระโสดาบันได้อานิสงส์นับไม่ถ้วน
     - อานิสงส์ที่นับไม่ถ้วนนี้ จะทวีขึ้นไปเรื่อยๆ จนถึงให้ทานแก่พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งเป็นปฏิคาหกชั้นสุดยอด ก็จะยิ่งนับไม่ถ้วนมากที่สุด

แต่ถึงกระนั้นก็ยังมีอานิสงส์ไม่เท่าสังฆทานชั้นต่ำสุด (ปฏิคาหกของสังฆทานชั้นต่ำสุด คือ ภิกษุณีในฐานะเป็นตัวแทนของภิกษุณีสงฆ์)

พระพุทธเจ้ายังตรัสในเชิงพยากรณ์ด้วยว่า ในอนาคตกาลนักบวชในพระพุทธศาสนา จะมีแต่เพียงผ้าเหลืองผูกคอเป็นสัญลักษณ์ ส่วนความประพฤติจะเลวทรามต่ำช้า มีครอบครัวบุตรภรรยา ประกอบอาชีพเยี่ยงชาวบ้าน แม้ถึงอย่างนั้น การถวายสังฆทานแก่นักบวชประเภทผ้าเหลืองผูกคอ แต่เป็นตัวแทนของสงฆ์ ก็ยังมีอานิสงส์มากกว่าปาฏิบุคลิกทาน แม้ที่ถวายแก่พระอรหันต์

    เหตุผลในข้อนี้ก็คือ ปาฏิบุคลิกทานนั้นเจตนาของผู้ถวายยังคับแคบอยู่ ทั้งผลประโยชน์จากทานก็ตกเป็นของส่วนตัวของบุคคลเท่านั้น
    ส่วนสังฆทานนั้น เจตนากว้างขวางกว่าผลประโยชน์ก็ตกอยู่แก่ส่วนรวม เผื่อแผ่ไปถึงคนหมู่มาก

คนโบราณในเมืองไทยนี้ท่านนิยมบริจาคทานและอุดหนุนกิจที่เป็นสาธารณประโยชน์ เช่น ขุดบ่อ ขุดสระ สร้างศาลาที่พักริมทาง สร้างสะพาน สร้างทาง ฯลฯ และที่เรายังได้เห็นสืบเนื่องมาจนถึงคนในสมัยปัจจุบันก็มีหลายอย่าง เช่น สร้างโรงเรียนสร้างโรงพยาบาล เป็นต้น

กิจเหล่านี้โดยเนื้อแท้แล้วคือ สังฆทานนั่นเอง มิใช่อย่างอื่นเลย สังฆทานจึงมีอานิสงส์มากด้วยประการฉะนี้

@@@@@@@

๗. หลักการที่ถูกต้องของสังฆทาน

เบื้องต้นต้องเข้าใจก่อนว่า หลักการของสังฆทานก็คือ ต้องถวายแก่สงฆ์ คือถวายเป็นของส่วนรวม หรือเป็นส่วนกลางของสงฆ์ ไม่ใช่ถวายเป็นสิทธิ์ขาดส่วนตัวแก่ภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง พูดให้เข้าใจง่ายๆ ก็คือ ของที่ถวายเป็นสังฆทานนั้น เมื่อถวายแล้วจะต้องตกเป็นของส่วนกลางของวัด โดยคณะสงฆ์ในวัดนั้นจะประชุมพิจารณาเพื่อตกลงกันว่า จะนำสิ่งของนั้นไปใช้ในเรื่องไหน หรือว่าจะยินยอมพร้อมใจยกให้แก่ใคร

ว่าโดยเจตนา คือ ความตั้งใจที่จะให้เป็นสังฆทานบริสุทธิ์ ก็คือการไม่เจาะจงตัวบุคคล บางท่านตั้งเจตนากว้างถึงกับไม่เจาะจงวัดด้วย เพราะการเลือกว่าจะต้องไปถวายที่วัดนั้นวัดนี้ ก็ยังมีลักษณะเจาะจงอยู่นั่นเอง จึงตัดความเจาะจงเสียตั้งแต่ต้นเลยทีเดียว ตั้งจิตให้เป็นกุศลอย่างแน่วแน่ว่า จะถวายเป็นของสงฆ์เป็นของส่วนรวมจริงๆ วัดไหนก็ได้ พระภิกษุรูปไหนจะมารับก็ได้ ไม่มีอาการเลือกที่รักผลักที่ชัง

เมื่อหลักการมีอยู่เช่นนี้ เวลาจะถวายสังฆทานจึงต้องตั้งเจตนาให้ตรงตามหลักการ และจะต้องดำเนินกรรมวิธีใน
การถวายให้เป็นที่เข้าใจได้ชัดเจนว่า พระภิกษุหรือสามเณรที่เป็นตัวแทนสงฆ์มารับของถวายไปนั้น จะรับไปเป็นของส่วนตัวไม่ได้ แต่ต้องรับไปเป็นของส่วนรวม คือเป็นของวัดหรือของสงฆ์

ถึงตรงนี้ ควรทำความเข้าใจด้วยว่า คณะสงฆ์หรือวัดนั้นเป็นสถาบันหรือองค์กรที่ตั้งขึ้นเพื่อประโยชน์ เพื่อควา มสุข เพื่อสงเคราะห์อนุเคราะห์ประชาชนในสังคม นี่เป็นหลักการดั้งเดิมที่มีมาตั้งแต่สมัยพุทธกาลแล้ว ดังนั้น การอุปถัมภ์บำรุงสนับสนุนคณะสงฆ์ ที่เรียกโดยชื่อว่า “ถวายสังฆทาน จึงถือว่าได้บุญหรืออานิสงส์มาก เพราะผลที่ได้นั้นจะไปตกแก่ส่วนรวมในที่สุด


หน้า ๘-๙-๑๐-๑๑





ดังคำที่ว่า พะหุชะนะ หิตายะ พะหุชะนะสุขายะ เพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่ชนหมู่มาก เพื่อความสุขแก่ชนหมู่มาก ข้อนี้แสดงให้เห็นว่า พระพุทธศาสนาให้ความสำคัญแก่สังคมส่วนรวมมากที่สุด มิใช่เป็นศาสนาที่เห็นแก่ตัว หรือสอนให้คนเอาตัวรอดไปคนเดียว ดังที่ผู้รู้ไม่จริงทั้งหลายชอบกระแนะกระแหน

@@@@@@@

๘. ผู้เกี่ยวข้องในการบาเพ็ญทาน

ในการบำเพ็ญทานนี้ จะมีผู้เกี่ยวข้องสำคัญอยู่ ๒ ฝ่าย คือ ฝ่ายผู้ให้ เรียกว่า ทายก และฝ่ายผู้รับ เรียกว่า ปฏิคาหก ปฏิคาหกนั้นท่านจำแนกไว้ถึง ๑๔ ชั้น หรือ ๑๔ กลุ่ม ตามคุณสมบัติจากสูงไปหาต่ำ ดังนี้

     ๑. พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
     ๒. พระปัจเจกพุทธเจ้า
     ๓. พระอรหันตสาวก
     ๔. ท่านผู้ปฏิบัติธรรมเพื่อบรรลุอรหัตผล (ปฏิบัติธรรมเพื่อเป็นพระอรหันต์)
     ๕. พระอนาคามี
     ๖. ท่านผู้ปฏิบัติธรรมเพื่อบรรลุอนาคามิผล (ปฏิบัติธรรมเพื่อเป็นพระอนาคามี)
     ๗. พระสกทาคามี
     ๘. ท่านผู้ปฏิบัติธรรมเพื่อบรรลุสกทาคามิผล (ปฏิบัติธรรมเพื่อเป็นพระสกทาคามี)
     ๙. พระโสดาบัน
   ๑๐. ท่านผู้ปฏิบัติธรรมเพื่อบรรลุโสดาปัตติผล (ปฏิบัติธรรมเพื่อเป็นพระโสดาบัน)
   ๑๑. คนนอกพระพุทธศาสนา ที่ปราศจากความกำหนัดในกาม (ผู้ไม่ได้นับถือพระพุทธศาสนา แต่มีกิเลสเบาบาง)
   ๑๒. กัลยาณปุถุชน (คนธรรมดาทั่วไปที่ยังมีโลภโกรธหลง แต่มีศีลธรรมดำรงชีวิตอยู่ตามปกติ)
   ๑๓. คนที่ไร้ศีลไร้ธรรม (คนชั่วช้าเลวทรามทั้งหลาย)
   ๑๔. สัตว์เดรัจฉาน

ทานแต่ละชั้น มีผลลดหลั่นกันไป ตามคุณสมบัติของปฏิคาหก

@@@@@@@

๙. จำนวนพระสงฆ์ที่รับสังฆทาน

พุทธศาสนิกนั้นมี ๒ ประเภท คือ บรรพชิตและคฤหัสถ์ ในส่วนบรรพชิตนั้นมีอุดมการณ์อยู่ว่า บวชเพื่อทำมรรคผลนิพพานให้แจ้ง บวชเพื่อทำที่สุดแห่งทุกข์ คือ ถ้าเป็นปุถุชนก็อยู่ในกลุ่มผู้ปฏิบัติเพื่อบรรลุโสดาปัตติผลเป็นอย่างต่ำ (กลุ่มหมายเลข ๑๐ ขึ้นไป) ชาวพุทธจึงถือว่า พระสงฆ์เป็นเนื้อนาบุญของชาวโลก คือ เป็นผู้ที่ควรรับการถวายทานนั่นเอง

ท่านจำแนกผู้ที่จะรับสังฆทานไว้ ๗ กลุ่ม กล่าวคือ

     ๑. ภิกษุพร้อมทั้งภิกษุณีสงฆ์ มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข
     ๒. ภิกษุพร้อมทั้งภิกษุณีสงฆ์
     ๓. ภิกษุสงฆ์ฝ่ายเดียว
     ๔. ภิกษุณีสงฆ์ฝ่ายเดียว
     ๕. ภิกษุและภิกษุณี ในฐานะเป็นตัวแทนของสงฆ์ทั้งสองฝ่าย
     ๖. ภิกษุเป็นฐานะเป็นตัวแทนของภิกษุสงฆ์
     ๗. ภิกษุณีในฐานะเป็นตัวแทนของภิกษุณีสงฆ์

ปัจจุบันนี้ผู้รับสังฆทานกลุ่มที่ ๑ ไม่มีแล้ว เพราะพระพุทธองค์ปรินิพพานไปแล้ว กลุ่มที่ ๒ ที่ ๔ ที่ ๕ และที่ ๗ ว่าตามหลักของพระพุทธศาสนาสายเถรวาท ก็ไม่มีแล้ว เพราะภิกษุณีสูญไปแล้ว ยังคงเหลือแต่กลุ่มที่ ๓ คือภิกษุสงฆ์ และกลุ่มที่ ๖ คือ ภิกษุในฐานะเป็นตัวแทนของภิกษุสงฆ์

@@@@@@@

เพราะฉะนั้น จึงยุติได้ว่า จำนวนพระสงฆ์ที่จะรับสังฆทานเป็นคณะภิกษุสงฆ์ กล่าวคือ ภิกษุตั้งแต่ ๔ รูปขึ้นไป ก็ได้ ถ้าครบ ๔ รูปขึ้นไปเช่นนี้ ก็รับในฐานะเป็นสงฆ์ได้เลยทีเดียว หรือจะไม่ครบ ๔ รูป คือ ๓ รูป ๒ รูป หรือรูปเดียวก็ได้ ถ้าเป็นกรณีเช่นนี้ก็เข้าลักษณะกลุ่มที่ ๖ คือ รับในฐานะเป็นตัวแทนของสงฆ์

การรับในฐานะเป็นสงฆ์ได้เลยทีเดียว หมายความว่า เมื่อทายกถวายแล้ว พระสงฆ์ในที่นั้นสามารถตกลงกันได้เลยว่า ของที่รับไว้นั้น จะทำอย่างไรกัน คือจะเอาไปทำอะไร หรือจะให้แก่ใครหรือจะไม่ให้แก่ใคร โดยจะเก็บไว้เป็นของส่วนรวมส่วนกลางต่อไป ก็สามารถตกลงกันได้เลย

การรับในฐานะเป็นตัวแทนของสงฆ์ ก็หมายความว่า จำนวนภิกษุที่รับสังฆทานนั้นไม่ครบองค์สงฆ์ (องค์สงฆ์ หมายถึงจำนวนภิกษุอย่างต่ำที่ต้องมีในการทำกิจต่างๆ ของสงฆ์ ซึ่งกิจแต่ละอย่างได้กำหนดจานวนภิกษุไว้ชัดเจน แต่อย่างน้อยที่สุดต้องไม่ต่ำกว่า ๔ รูป ในกรณีการตกลงใจเรื่องสังฆทานนี้ ท่านกำหนจำนวนภิกษุไว้ต่ำสุดคือ อย่างน้อย ๔ รูป)

เมื่อไม่ครบองค์สงฆ์ภิกษุที่รับสังฆทานนั้น จึงต้องรับในฐานะเป็นตัวแทนของสงฆ์ หมายความว่า ต้องนำของที่รับนั้นไปเข้าที่ประชุมสงฆ์อีกครั้งหนึ่ง จะนำไปเป็นของส่วนตัวไม่ได้ ในทางปฏิบัติคือ ต้องหาภิกษุมาให้ครบองค์สงฆ์ แล้วตกลงกันว่า ของที่รับไว้นั้นจะทำอย่างไรกันต่อไป ถ้าไม่ได้ดำเนินการดังว่านี้ ของนั้นก็ยังคงเป็นของสงฆ์คือของส่วนกลางต่อไป



หน้า ๑๒-๑๓-๑๔-๑๕.


@@@@@@@

๑๐. การอุปโลกน์

การพิจารณาตกลงกันในท่ามกลางที่ประชุมสงฆ์ ว่าจะทำอย่างไรกับของที่รับสังฆทานมานั้น นี่แหละ เรียกเป็นศัพท์ทางศาสนาว่า อุปโลกน์ (อ่านว่า อุ-ปะ-โหลก ศัพท์เดิมว่า อปโลกน์)

การอุปโลกน์ หรือ อปโลกน์ นั้น เป็นรูปแบบสังฆกรรมอย่างหนึ่งมีขั้นตอน มีคำกล่าวที่กำหนดไว้เป็นแบบแผน จะเรียกว่าเป็นพิธีกรรมอย่างหนึ่ง หรือ “ทำพอเป็นพิธี” ก็ได้ แต่โดยเนื้อหาสาระก็คือ เป็นการลงมติของที่ประชุมสงฆ์ หรือเป็นนโยบายของสงฆ์หรือของวัดนั้นๆ ว่าจะทำอย่างไรกับของที่รับสังฆทาน เมื่อตกลงกันว่าอย่างไร หรือนโยบายวางไว้อย่างไร ก็ต้องดำเนินการไปตามนั้น

หลักสำคัญมีเพียงว่า ข้อตกลงหรือนโยบายนั้นๆ เป็นความเห็นของสงฆ์ คือ เห็นร่วมกันพร้อมใจกันเป็นเอกฉันท์ ไม่มีเสียงคัดค้านเป็นอย่างอื่น บางกรณีแม้ไม่ทำพิธีอุปโลกน์ ก็ถือว่าเป็นสังฆทานแล้ว ตัวอย่างเช่น วัดแห่งหนึ่งตกลงกันว่า เมื่อญาติโยมมาทำบุญที่วัดในวันพระ อาหารที่ถวายเป็นสังฆทานแล้วนั้น เมื่อพระฉันแล้ว ให้ญาติโยมรับประทานกันต่อไป เหลือจากรับประทานแล้ว ก็ให้แจกจ่ายในหมู่ญาติโยมต่อไป กรณีอย่างนี้ แม้จะไม่อุปโลกน์ตอนถวายสังฆทาน หรือแม้จะอุปโลกน์โดยไม่ได้ระบุ

ย้ำว่า…ส่วนที่เหลือจากพระฉันแล้ว ให้เป็นของญาติโยมอุบาสอุบาสิกา…(อย่างที่บางวัดนิยมอุปโลกน์ระบุชัดเจนเช่นว่านี้) ก็คงถือว่าสำเร็จเป็นสังฆทานสมบูรณ์แล้ว และญาติโยมสามารถรับประทานอาหารนั้นได้โดยไม่เป็นบาป (ตามที่บางคนคิด) เพราะสงฆ์ได้ตกลงเป็นหลักการไว้เช่นนั้นแล้ว เว้นแต่สงฆ์หรือทางวัดไม่ได้กำหนดนโยบายไว้ และเมื่อรับสังฆทานแต่ละครั้ง ต้องการจะแจกจ่ายให้เป็นของส่วนตัวของพระภิกษุแต่ละรูป อย่างนี้ต้องอุปโลกน์ก่อนจึงจะถือเอาเป็นส่วนตัวได้

@@@@@@@

สรุปหลักการของสังฆทานที่ถวายแล้ว คือ

     ๑. ตามปกติของที่ถวายสังฆทาน เมื่อถวายแล้วรับแล้ว ต้องตกเป็นของส่วนรวม หรือเป็นของส่วนกลาง ที่เรียกว่า “ของสงฆ์” จะถือเอาเป็นของส่วนตัวของภิกษุผู้รับไม่ได้

     ๒. ถ้าต้องการจะแจกแบ่งของสังฆทานนั้น เพื่อยกให้แก่ภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง หรือหลายรูป (ตามจำนวนสิ่งของ) ต้องประชุมสงฆ์คือภิกษุอย่างน้อย ๔ รูป แล้วทำความตกลงกันตามรูปแบบที่กำหนดซึ่งเรียกว่า “อุปโลกน์” มติที่ประชุมต้องเป็นเอกฉันท์

     ๓. ถ้าสงฆ์ในวัดนั้นๆ มีหลักการหรือนโยบายชัดเจนอยู่แล้วว่า ของที่รับสังฆทานแล้วให้นำไปทำอย่างนั้น ๆ (ซึ่งไม่ขัดต่อพระธรรมวินัย) แม้จะไม่ทำพิธีอุปโลกน์ ก็ถือว่าเป็นสังฆทานสมบูรณ์ (คือมิใช่ว่าเป็นสังฆทานตรงที่อุปโลกน์)

ในที่นี้ขอแสดงคำอุปโลกน์ไว้ เพื่อให้เรื่องนี้สมบูรณ์ ดังนี้

คำอุปโลกน์เพื่อแจกของสังฆทาน

(พระภิกษุรูปที่ ๒ เป็นผู้กล่าว) นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ (สามจบ)

อะยัง ปะฐะมะภาโค เถรัสสะ ปาปุณาติ, อะวะเสสา ภาคา อัมหากัง ปาปุณันติ
ทุติยัมปิ อะยัง ปะฐะมะภาโค เถรัสสะ ปาปุณาติ, อะวะเสสา ภาคา อัมหากัง ปาปุณันติ
ตะติยัมปิ อะยัง ปะฐะมะภาโค เถรัสสะ ปาปุณาติ, อะวะเสสา ภาคา อัมหากัง ปาปุณันติ

(พระสงฆ์ทั้งหมดเปล่งเสียงพร้อมกันว่า สาธุ เป็นอันเสร็จพิธี)

ความหมายในคำอุปโลกน์นั้นมีอยู่ว่า สิ่งของส่วนแรกนี้ถึงแก่พระเถระ (คือพระภิกษุที่เป็นประธานอยู่ในที่ประชุมนี้) ส่วนที่เหลือถึงแก่พวกเราทั้งหลาย

@@@@@@@

๑๑. เครื่องสังฆทาน

ทุกวันนี้ เริ่มจะมีผู้เข้าใจคลาดเคลื่อนไปว่า ของถวายสังฆทานจะต้องจัดใส่ถังพลาสติกสีเหลือง มีพลาสติกใสหุ้มปิดปากถัง ถ้าไม่มีถังเช่นว่านี้ไม่ใช่สังฆทาน เมื่อไปเห็นถังมีลักษณะ เช่นว่านี้ตามร้านค้า ก็เลยเข้าใจกันว่า เป็นเครื่องสังฆทาน แม้ทางร้านค้าเองก็มีการพยายามเรียกของถวายพระให้ต่างกัน คือ ถ้าจัดใส่ถังพลาสติกสีเหลือง หรืออาจจะจัดเป็นภาชนะรูปแบบอื่นก็ตามเรียกว่า สังฆทาน ถ้าจัดไว้เป็นห่อกระดาษแก้วสีเหลือง หรือเป็นถาด มีพลาสติกใสหุ้ม เรียกว่า ไทยทาน

ความจริงการจัดของถวายพระใส่ถังพลาสติกสีเหลืองก็ดี จัดเป็นห่อหรือเป็นถาดก็ดี หรือจะจัดทำภาชนะบรรจุเป็นรูปแบบอื่นใดอีกก็ดี เป็นเพียงศิลปะหรือวิธีการ หรือที่นิยมเรียกเป็นคำฝรั่งว่า เป็นเทคนิคของร้านค้า ที่จะจูงใจลูกค้าโดยวิธีอำนวยความสะดวกให้ แต่พร้อมกันนั้นก็เป็นการบังคับขายไปในตัว เพราะลูกค้าไม่ค่อยมีโอกาสเลือกหรือพิสูจน์ก่อนว่า ของที่จัดไว้นั้นมีคุณภาพดีเลวอย่างไร เป็นสินค้าที่หมดอายุแล้วหรือเปล่า เป็นต้น

โปรดเข้าใจว่า ว่าโดยหลักวิชาการแล้ว ท่านไม่ได้แยกของถวายพระออกเป็นสังฆทานอย่างหนึ่ง และไทยทานอีกอย่างหนึ่ง ตามที่ร้านค้าพยายามเรียกแยกเช่นนั้น โปรดจำไว้ให้มั่นว่า สังฆทาน หมายถึง เจตนาที่มุ่งให้ทานโดยไม่จำเพาะเจาะจงแก่ผู้ใด แต่มุ่งให้เป็นของส่วนรวม หรือเป็นของส่วนกลาง หรือเป็นสาธารณประโยชน์

ไม่จำเป็นจะต้องมีถังสีเหลือง หรือต้องมีภาชนะบรรจุของกินของใช้สำหรับจะเอาไปถวายพระ ตามที่ทางร้านค้าจัดทำขึ้นแต่อย่างใดเลย ของถวายนั้นจะบรรจุภาชนะหีบห่ออะไรอย่างไรก็ได้ ยิ่งเป็นของที่ได้เลือกคัดจัดหามาด้วยตัวเองก็ยิ่งดี เพราะได้รู้ได้เห็นเองว่าอะไรเป็นอะไร

@@@@@@@

คำว่า สังฆทาน ควรคู่กับ ปาฏิปุคลิกทาน ซึ่งหมายถึง เจตนาที่มุ่งให้แก่บุคคลเป็นการเฉพาะเจาะจงตัว ไม่ใช่นำมาเรียกขานคู่กับคำว่า ไทยทาน

คำว่า ไทยทาน (ไท-ยะ-ทาน) แปลตามตัวว่า “สิ่งของที่ควรให้” หมายถึง ของที่เหมาะสมแก่การที่จะนำไปถวายพระ มีคำเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ไทยธรรม (ไท-ยะ-ทา) แปลว่า สิ่งของที่ควรให้เช่นกัน และมีคำใช้เรียกรวมๆกัน อีกคำหนึ่งว่า ทานวัตถุ แปลว่า สิ่งของสำหรับให้

ไทยทาน ไทยธรรม และทานวัตถุเหล่านี้ มีความหมายอย่างเดียวกัน

โบราณท่านกำหนดรายการไว้ ๑๐ อย่าง ตามคำบาลีที่ว่า

อันนัง ปานัง วัตถัง ยานัง  มาลา คันธัง วิเลปะนัง
เสยยาวะสะถัง ปะทีเปยยัง  ทานะวัตถู อิเม ทะสะ

มีคำอธิบายว่า ทานวัตถุมี ๑๐ อย่าง ดังต่อไปนี้ คือ

     ๑. อันนะ คือ อาหารหรือของกินทุกชนิด
     ๒. ปานะ คือ เครื่องดื่ม ไม่ว่าจะเป็นน้ำดื่มหรือน้ำผลไม้ รวมทั้งเครื่องประกอบที่ใช้ปรุงเป็นเครื่องดื่มต่างๆ
     ๓. วัตถะ คือ เครื่องนุ่งห่ม รวมทั้งเครื่องใช้จำพวกผ้าทุกชนิด
     ๔. ยานะ คือ ยวดยานพาหนะต่างๆ รวมทั้งอุปกรณ์เครื่องช่วยให้ไปมาสะดวก แม้กระทั่งรองเท้าและร่มก็รวมอยู่ในประเภทนี้
     ๕. มาลา คือ ดอกไม้ทั้งที่ร้อยเป็นพวง หรือจัดให้สวยงาม หรือดอกไม้ธรรมดาๆ
     ๖. คันธะ คือ เครื่องหอม แต่มุ่งถึงเครื่องหอมประเภทสมุนไพร ที่มีผลในทางเป็นยา ไม่ใช่เครื่องหอมประเภทเครื่องสาอาง (ธูป ก็น่าจะสงเคราะห์เข้าในประเภทนี้)
     ๗. วิเลปนะ คือ เครื่องทา มุ่งถึงเครื่องทาประเภทยาเช่นกัน เป็นต้นว่าน้ำมันทานวดเส้นแก้ปวดเมื่อย ไม่ใช่เครื่องทาประเภทประเทืองผิว
     ๘. เสยยะ คือ เครื่องนอน รวมไปถึงโต๊ะ เก้าอี้ เตียงตั่ง เครื่องปูลาดทั้งปวง
     ๙. อาวสถะ คือ ที่พักอาศัย รวมตลอดถึงกุฏิ วิหาร อาคารสถานที่ทั้งปวง
   ๑๐. ปทีเปยยะ คือ เครื่องไฟแสงสว่าง รวมตลอดทั้งเทียนตะเกียง น้ำมันเติมตะเกียง ปัจจุบันนี้ก็รวมอุปกรณ์ไฟฟ้าแสงสว่าง(และอาจจะรวมไปถึงเครื่องใช้ไฟฟ้าทั้งหลายเข้าด้วย)

รายการทานวัตถุเหล่านี้ เป็นของเก่าที่มีอยู่ในสมัยโบราณ ปัจจุบันอาจจะเพิ่มขึ้นเป็นหลายสิบหลายร้อย แต่ถึงกระนั้นก็อาจจัดเป็นประเภทได้เพียง ๒ ประเภทคือ ของฉันคือของกิน กับของใช้ และมีหลักอยู่ว่า ต้องเป็นของที่สมควรแก่สมณบริโภค คือ เหมาะแก่การที่พระสงฆ์จะฉันจะใช้ ไม่ผิดวินัยสงฆ์ และไม่ก่อให้เกิดข้อตำหนิติเตียน



หน้า ๑๖-๑๗-๑๘-๑๙-๒๐-๒๑-(๒๒)
187  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / เมืองสุโขทัย ยุคพ่อขุนรามคำแหง ‘ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว’ จริงหรือ.? เมื่อ: มกราคม 24, 2024, 08:46:23 am
.



เมืองสุโขทัย ยุคพ่อขุนรามคำแหง ‘ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว’ จริงหรือ.?

อ้างกันว่า เมืองสุโขทัยในยุคของผู้ที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้ประดิษฐ์อักษรไทยอย่าง “พ่อขุนรามคำแหง” นั้น “ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว”

แถมนี่ก็ไม่ใช่เรื่องเล่าโคมลอย ไม่มีที่มา และรวมถึงที่ไป เพราะข้อความที่เราได้ยินจนคุ้นหูกันดีประโยคนี้ ปรากฏอยู่ในศิลาจารึกสุโขทัย หลักที่ 1 ดังความที่ว่า “เมืองสุโขทัยนี้ดี ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว” โดยข้อความตอนอื่นในจารึกหลักนี้ก็บอกอยู่ด้วยว่า “เมื่อก่อนลายสือไทยนี้บ่มี” พ่อขุนรามคำแหงจึงทรง “หาใคร่ใจในใจ แลใส่ลายสือไทยนี้ ลายสือไทยนี้ จึงมีเพื่อขุนผู้นั้นใส่ไว้”

สรุปง่ายๆ ว่า พ่อขุนรามคำแหงไม่เพียงแค่มีราชโองการให้สร้างจารึกหลักนี้ แต่ยังทรงประดิษฐ์ “ลายสือ” คือตัว “อักษร” ไทย อีกด้วย

แต่นักประวัติศาสตร์หลายท่านไม่เห็นเป็นอย่างนั้น ท่านว่าศิลาจารึกหลักนี้ ไม่ใช่พ่อขุนรามคำแหงเป็นผู้มีราชโองการให้สร้างขึ้น ดังนั้น พระองค์ยิ่งไม่ควรเป็นผู้ทรงประดิษฐ์อักษรไทย

(อย่างไรก็ตาม ข้อเขียนชิ้นนี้ต้องการกล่าวถึงเฉพาะเพียงข้อความในจารึกหลักนี้ แค่เพียงบางประโยค ซึ่งก็คือข้อความท่อนที่ว่า “ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว” เท่านั้น จึงขออนุญาตไม่กล่าวถึงประเด็นที่เรื่องพ่อขุนรามคำแหงเป็นผู้ประดิษฐ์ตัวอักษรไทยจริงหรือไม่.? และจารึกหลักนี้ถูกสร้างขึ้นโดยโองการของพ่อขุนรามคำแหงจริงหรือเปล่า.?)

และถ้าอย่างนั้นแล้วในสมัยพ่อขุนรามคำแหง “ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว” จริงหรือครับ.?


@@@@@@@

ศ.พิเศษ ดร.พิริยะ ไกรฤกษ์ ซึ่งเป็นผู้ตั้งข้อสงสัยเกี่ยวกับศิลาจารึกหลักนี้คนสำคัญที่สุดคนหนึ่ง ได้เคยตั้งข้อสังเกตไว้ว่า สำนวน “ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว” ไม่เคยปรากฏอยู่ในศิลาจารึกหลักอื่นๆ ในวัฒนธรรมสุโขทัย (ซึ่งไม่มีผู้ตั้งข้อสงสัยว่าเป็นจารึกทำขึ้นในยุคหลังสุโขทัย เหมือนอย่างที่มีผู้ตั้งข้อสงสัยกับจารึกพ่อขุนรามคำแหง) เลยแม้แต่หลักเดียว จึงน่าสงสัยใจเป็นอย่างยิ่งว่า เป็นสำนวนยุคสุโขทัยจริงหรือ.?

โดย อ.พิริยะได้เสนอต่อไปอีกด้วยว่า สำนวนดังกล่าวคงจะดัดแปลงมาจากสำนวนว่า “คุณในปลา ยาในข้าว” ที่มีอยู่ในจารึกสุโขทัยหลักอื่นๆ มากกว่า

สำนวน “คุณในปลา ยาในข้าว” นั้น ปรากฏอยู่ในศิลาจารึกของวัฒนธรรมสุโขทัยอย่างน้อย 2 หลัก ได้แก่ ศิลาจารึกหลักที่ 5 วัดป่ามะม่วง จ.สุโขทัย และศิลาจารึกหลักที่ 64 วัดช้างค้ำ จ.น่าน

ในจารึกวัดป่ามะม่วง ซึ่งพระมหาธรรมราชาที่ 1 หรือที่มักจะเรียกกันสั้นๆ ว่า พระยาลิไท (พ.ศ.1890-1919) โปรดให้สร้างขึ้นนั้น มีข้อความปรากฏว่า “ได้ฝูงใส่ …(ข้อความขาดหาย) นในปลา ยาในข้าวให้กิน แล้วจักให้เถิงที่ล้มที่ตายดังอั้น”

แปลเป็นภาษาไทยปัจจุบันง่ายๆ ว่า “ใส่คุณในปลา และยาในข้าวให้กิน เพื่อจะให้ถึงที่ล้มตายดังนั้น”

ที่ความในจารึกกล่าวอย่างนี้ก็เพราะข้อความก่อนหน้านั้นกล่าวถึง การเอาเชลยศึกมาชุบเลี้ยง แล้วไม่จงรักภักดี จึงต้อง “เอาคุณในยา เอายาในข้าว” เพื่อจะให้ถึงที่ล้มตาย โดยคำว่า “คุณ” ในที่นี้ ก็คือ “คุณไสย” นั่นเอง

ส่วนจารึกจากวัดช้างค้ำ จังหวัดน่าน ที่มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “จารึกคำปู่สบถ” เพราะเป็นคำที่ปู่พระยาเป็นเจ้าได้ “สบถ” คือเปล่งถ้อยคำศักดิ์สิทธิ์ หรือสาปแช่งเอาไว้ มีข้อความกล่าวว่า “(คุ)ณในปลายาในข้าว และอุบายกระทำสรรพ(โทษ)”

@@@@@@@

ข้อความตอนนี้ อ.ฉ่ำ ทองคำวรรณ (ล่วงลับ) นักอ่านจารึกระดับเซียนเหยียบเมฆของสยามประเทศ ได้อธิบายความหมายในจารึกไว้ว่า

    “คำว่า ‘คุณในปลา’ หมายเอาการเสกปลาให้เป็นสื่อใช้ในการทำให้คนรัก เจริญ หรือฉิบหาย ตามลักษณะของมนต์นั้นๆ”

อ.ฉ่ำท่านอธิบายความไว้เท่านี้ แต่ข้อความต่อท้ายที่ว่า “และอุบายกระทำสรรพโทษ” นั้นย่อมทำให้เข้าใจได้ว่า “คุณในปลายาในข้าว” ในจารึกหลักนี้น่าจะมุ่งหมายให้ “ฉิบหาย” มากกว่าที่จะให้มีใครมารัก.?

ก็อย่างที่บอกไว้นะครับว่า อ.พิริยะ ท่านว่าจารึกหลักอื่นของสุโขทัย ไม่มีสำนวน “ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว” ซึ่งนับจนกระทั่งปัจจุบันนี้ ก็ยังไม่มีพบสำนวนดังกล่าวในจารึกหลักไหนเลยจริงๆ

อย่างไรก็ตาม การที่ไม่พบสำนวนที่ว่าในจารึกหลักอื่นก็ไม่ได้จำเป็นต้องหมายความว่า ไม่มีสำนวนนี้ในสมัยสุโขทัยหรือเปล่า.? และในสมัยพ่อขุนรามคำแหง ในน้ำไม่มีปลา ในนาไม่มีข้าวจริงหรือ.?

แต่ที่แน่ๆ ก็คือ สุโขทัยนั้น เป็นเมืองที่แล้งน้ำ เพราะเมืองสุโขทัยตั้งอยู่บนที่สูงเชิงเขา ห่างจากลำน้ำสายใหญ่คือ แม่น้ำยมถึง 12 กิโลเมตร ผู้คนที่เคยอาศัยอยู่ในเมืองสุโขทัยเมื่อครั้งกระโน้นจึงอาศัยน้ำจากลำน้ำยมเป็นหลักไม่ได้ ฤดูฝนก็มีน้ำป่าไหลหลากมาจากเทือกเขามากเกินต้องการ และรุนแรงเสียจนมักจะทำลายเหย้าเรือนหรือเรือกสวนไร่นา ฤดูร้อนก็ร้อนจนระงม แถมยังแล้งน้ำ

ซ้ำร้ายยังไม่มีแหล่งน้ำซึมน้ำซับ เพราะเมื่อคราวกรมศิลปากรเริ่มปรับปรุงพื้นที่เป็นอุทยานประวัติศาสตร์ สุโขทัย ได้มีการนำวิศวกรผู้เชี่ยวชาญทางธรณีวิทยา มาขุดเจาะหาน้ำบาดาล ผลปรากฏว่า แหล่งน้ำใต้ดินอยู่ลึกเกินกว่าจะสามารถนำมาใช้เป็นประโยชน์ได้


@@@@@@@

ยิ่งในสมัยสุโขทัยยิ่งนำมาใช้ไม่ได้ยิ่งกว่าในยุคปัจจุบัน เพราะเทคโนโลยีไม่ถึง ในสมัยนั้นจึงต้องมีการขุดสระน้ำ ที่เรียกว่า “ตระพัง” (มาจากภาษาเขมรว่า ตระเปรียง) เพื่อกว้านเอาน้ำจากฟ้าคือ “น้ำฝน” มากักเก็บไว้ใช้ และมีการพูนคันดินขึ้นมาเป็นแนวเพื่อไว้ใช้ชักน้ำระบายเก็บไว้ในตระพังนั่นเอง

พูนคันดินที่เกิดจากการขุดขึ้นมาก็ทำให้เกิดร่องของดินที่ขุด กลายเป็นคูน้ำ ขนานกันไป แต่แรกเริ่มก็ขุดรอบสถานที่สำคัญ เช่น วัด พอเมืองใหญ่โตซับซ้อนขึ้นก็ขุดรอบเมือง เฉพาะที่เมืองสุโขทัยมีคันดิน และคูน้ำรอบเมืองสามชั้น ที่ในจารึกพ่อขุนรามคำแหงเรียกว่า “ตรีบูร” ซึ่งสะท้อนถึงเทคโนโลยี ความก้าวหน้าในการจัดการน้ำได้เป็นอย่างดี

(ผลการขุดค้น และขุดแต่งทางโบราณคดีทำให้ทราบว่า คูน้ำ คันดิน รอบเมืองสุโขทัยทั้ง 3 ชั้นนั้น สร้างคนละคราวกัน ดังนั้น การที่จารึกพ่อขุนรามคำแหง เรียกคูน้ำคันดินรวมกันทั้ง 3 ชั้นว่า ตรีบูรนั้น จึงออกจะเป็นเรื่องชวนพิศวง)

เมื่อจัดการน้ำได้ มีน้ำกินน้ำใช้ คนสุโขทัยก็จึงทำไร่ทำนาได้นะครับ ข้อมูลจากความก้าวหน้าทางโบราณคดีก็ทำให้เรารู้ว่า สุโขทัยมีที่นาอยู่ตรงบริเวณไหนบ้างด้วยเหมือนกัน

ที่นาสำคัญในของสุโขทัย อยู่ทางตะวันออกนอกคูน้ำคันดินเมืองสุโขทัย บริเวณวัดพระพายหลวง เป็นพื้นที่สี่เหลี่ยมผืนผ้า มีคันดินล้อมรอบขนาด 1,200 x 800 เมตร ติดกับลำน้ำแม่ลำพันที่ไหลเลียบผ่านลงทิศใต้ แล้วมีร่องน้ำลำเหมืองสำหรับชักน้ำและระบายน้ำผ่านบริเวณนี้

@@@@@@@

พื้นที่สี่เหลี่ยมผืนผ้าที่มีคันดินล้อมรอบนี้คือ “นาหลวง” หมายถึงที่นาของหลวง ของเจ้าเมือง หรือกษัตริย์ เป็นพื้นที่ปลูกข้าวและอยู่ในความควบคุมดูแลของรัฐ เพื่อสะสมเสบียงไว้กินในยามแล้ง หรือยามศึกสงคราม ส่วนในยามปกติก็ใช้เป็นที่ปลูกข้าวพันธุ์ดีสำหรับหลวงเป็นการเฉพาะ

ดังนั้น จึงเป็นบริเวณที่ต้องกำหนดไว้เป็นพิเศษ มีผู้ดูแลระบบทดน้ำ ระบายน้ำ เพื่อให้พืชพันธุ์ธัญญาหารที่เพาะปลูกในพื้นที่นาหลวงมีผลผลิตดีเลิศนั่นเอง รอบพื้นที่นาหลวง นอกคูน้ำคันดินเมืองสุโขทัยแต่ยุคแรกเริ่ม กระจายไปทางด้านทิศเหนือ และทิศตะวันออก เป็นที่ราบลุ่ม มีแหล่งน้ำธรรมชาติคือลำน้ำแม่ลำพันเป็นสายหลัก และมีลำน้ำสายเล็กไหลจากที่สูงลงมาหล่อเลี้ยง

ผลจากการศึกษาภาพถ่ายทางอากาศและการสำรวจภาคสนามของนักโบราณคดี ยังพบร่องรอยของการทำฝาย และขุดลำเหมืองเพื่อระบายน้ำ หมายความว่าพื้นที่บริเวณนี้ควรเป็นพื้นที่เพาะปลูกทำไร่นานั่นแหละ

แต่สุโขทัยในยุคนู้นจะอุดมสมบูรณ์เสียจน “ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว” จริงอย่างสำนวนในจารึกพ่อขุนรามคำแหงหรือเปล่า ผมเองก็ไม่รู้หรอกนะครับ รู้ก็แต่ว่า ที่เมืองสุโขทัยมีน้ำกินน้ำใช้ สามารถนำน้ำมาทำเรือกสวนไร่นาได้ ก็เพราะผู้คนในสมัยในนั้นทำความเข้าใจกับธรรมชาติรอบตัวเอง จนสามารถพัฒนาเทคโนโลยี และจัดการกับน้ำได้ต่างหาก •


 




ขอขอบคุณ :-
ที่มา : มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับวันที่ 19 - 25 มกราคม 2567
คอลัมน์ : On History
ผู้เขียน : ศิริพจน์ เหล่ามานะเจริญ
เผยแพร่ : วันอาทิตย์ที่ 21 มกราคม พ.ศ.2567
URL : https://www.matichonweekly.com/column/article_740729
188  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / ศีลกับเป้าหมายชีวิต : บนดิน บนฟ้า เหนือฟ้า เมื่อ: มกราคม 24, 2024, 07:59:57 am
.



ศีลกับเป้าหมายชีวิต

เป้าหมายชีวิตของสรรพสัตว์ทั้งหลายนั้น มีอยู่ด้วยกัน 3 ระดับ (ดังที่กล่าวมาแล้ว) คือ เป้าหมายบนดิน(ปัจจุบันชาติ) เป้าหมายบนฟ้า(ภพชาติเบื้องหน้า) และเป้าหมายเหนือฟ้าหรือเป้าหมายสูงสุด(พระนิพพาน)

     • เป้าหมายบนดิน คือ การดําเนินชีวิตที่มีความสุข มีความสงบ ไม่เดือดร้อนเป็นทุกข์กาย หรือทุกข์ใจ

     • เป้าหมายบนฟ้า คือ การได้บังเกิดในสุคติโลกสวรรค์ หรืออย่างน้อยได้เกิดมาเป็นมนุษย์อีกครั้ง ไม่ต้องพลัดตกไปสู่อบาย คือ เกิดเป็นสัตว์นรก เปรต อสุรกาย หรือสัตว์เดรัจฉาน

     • เป้าหมายเหนือฟ้า คือ การกําจัดกิเลสอาสวะ เพื่อบรรลุมรรคผลนิพพาน

การจะบรรลุถึงเป้าหมายทั้งสามระดับได้นั้น สิ่งที่ต้องกระทําเป็นอับดับแรก คือ ต้องทําทาน เพราะทาน เป็นเหตุให้ได้ทรัพย์สมบัติ ซึ่งเป็นเครื่องหล่อเลี้ยงชีวิตให้มีความสุขสบาย ดังที่ได้ศึกษาในบทที่ ผ่านมา ซึ่งในบทนี้จะกล่าวถึงเรื่อง ศีลกับเป้าหมายชีวิตทั้ง 3 ระดับ เพื่อให้เกิดความเข้าใจเกี่ยวกับเป้าหมาย ชีวิตให้มากขึ้นไปเป็นลําาดับ

@@@@@@@

1. ศีลกับเป้าหมายบนดิน

เมื่อมีสมบัติไว้หล่อเลี้ยงกาย สิ่งที่จําเป็นต้องได้ถัดมา คือ การมีชีวิตที่สงบสุข ปราศจากทุกข์โทษภัย หรือการเบียดเบียนกัน ซึ่งสิ่งที่จะเป็นเครื่องป้องกันมิให้คนในสังคมเบียดเบียนกัน ก็คือศีลนั่นเอง เพราะ ศีลเป็นเครื่องควบคุมกาย วาจา ของคนให้เรียบร้อย ทําให้ไม่มีการเบียดเบียนชีวิตและทรัพย์สินซึ่งกัน และกัน ดังนั้น เพื่อความสุข และความปลอดภัย แต่ละคนจะต้องรักษาศีลของตนเองไว้ให้มั่นคง

2. ศีลกับเป้าหมายบนฟ้า

นอกจากศีลจะเป็นเครื่องควบคุมความประพฤติของคนในสังคมให้อยู่ร่วมกันอย่างสงบสุขแล้ว ศีลยังเป็นหลักประกันที่จะทําให้ไม่ต้องตกไปสู่อบาย หรืออย่างน้อยก็ได้เกิดมาเป็นมนุษย์ ที่มีสุขภาพร่างกาย สมบูรณ์ แข็งแรง มีอายุขัยยืนยาว เพราะว่าไม่ได้ไปเบียดเบียนทําร้ายใคร จึงทําให้ได้ร่างกายที่เหมาะสม สําหรับทําความดี และยังสามารถใช้ทรัพย์ที่มีให้เกิดประโยชน์ได้อย่างเต็มที่อีกด้วย

@@@@@@@

3. ศีลกับเป้าหมายเหนือฟ้า

การรักษาศีลไม่เพียงเป็นเหตุให้ได้บรรลุเป้าหมายของชีวิตในภพชาตินี้ คือ การมีชีวิตที่สงบสุข ปราศจากทุกข์โทษภัยใดๆ หรือบรรลุเป้าหมายในภพชาติเบื้องหน้า คือการได้เกิดในสุคติโลกสวรรค์เท่านั้น แต่ศีลยังเป็นพื้นฐานของการพัฒนาคุณธรรมทั้งหลายของมนุษย์ ประดุจแผ่นดินเป็นที่รองรับของการงานทั้งปวง ดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ใน ปฐมพลกรณียสูตร ว่า

    "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การงานทีบุคคลต้องทําด้วยกำลังอย่างใดอย่างหนึ่ง เขาอาศัยแผ่นดิน ยืนอยู่บนแผ่นดินทั้งนั้นจึงจะทําได้ การงานที่ต้องท่าเหล่านี้ เขาย่อมทําด้วยอาการอย่างนี้ แม้ฉันใด ภิกษุอบรมอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ 8 ทําให้มากซึ่งอริยมรรคมีองค์ 8 ก็อาศัยศีล ตั้งอยู่ในศีล ฉันนั้น”

นอกจากนั้น ศีลก็ยังเป็นพื้นฐานในการพัฒนาคุณธรรมเบื้องสูง คือ สมาธิและปัญญา ดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ใน ภิกขุสูตร ว่า

    “ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอจงทําเหตุเบื้องต้นแห่งกุศลธรรมให้บริสุทธิ์ก่อน เหตุเบื้องต้นของกุศลธรรม คือ ศีลที่บริสุทธิ์ดี และความเห็นตรง เมื่อใดศีลของเธอบริสุทธิ์ดีแล้ว และความเห็นของเธอก็ตรงดีแล้ว เมื่อนั้นเธอ อาศัยศีล ตั้งอยู่ในศีล แล้วจงเจริญสติปัฏฐาน 4 (วิปัสสนา) ต่อไป
     ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อใดเธออาศัยศีล และตั้งอยู่ในศีลแล้ว จะเจริญสติปัฏฐาน 4 เหล่านี้ โดย 3 ส่วนอย่างนี้ เมื่อนั้นเธอพึงหวังความเจริญ ในกุศลธรรมทั้งหลายอย่างเดียวตลอดคืนหรือวันอันจะมาถึง เธอจะไม่มีความเสื่อมเลย”

@@@@@@@

เมื่อเห็นความสําคัญของศีลเช่นนี้ จึงควรที่จะศึกษาเรื่องศีลให้ถ่องแท้ จนเกิดความเข้าใจ และสามารถรักษาศีลได้อย่างถูกต้อง มีความสุขความยินดี เต็มใจที่จะรักษา ทั้งนี้เพื่อให้ได้รับประโยชน์ อันสูงค่าจากที่เรารักษาศีลได้อย่างบริบูรณ์ ดังธรรมภาษิตของท่านพระสีลวเถระ ใน สีลวเถราคา ว่า
 
    “ท่านทั้งหลาย พึงศึกษาศีลในศาสนานี้ ด้วยว่าศีลอันบุคคลศึกษาแล้ว สั่งสมดีแล้ว ย่อมนําสมบัติทั้งปวงมาให้ในโลกนี้ นักปราชญ์เมื่อปรารถนาความสุข 3 ประการ คือ ความสรรเสริญ การได้ความปลื้มใจ และความบันเทิงในสวรรค์เมื่อละไปแล้ว พึงรักษาศีล ด้วยว่าผู้มีศีล มีความสํารวม ย่อมได้มิตรมาก
     ส่วนผู้ทุศีลประพฤติแต่กรรมอันลามก ย่อมแตกจากมิตร นรชนผู้ทุศีล ย่อมได้รับการติเตียนและการเสียชื่อเสียง ส่วนผู้มีศีลย่อมได้รับการสรรเสริญ และชื่อเสียงทุกเมื่อ
     ศีลเป็นเบื้องต้น เป็นที่ตั้ง เป็นบ่อเกิดแห่งคุณความดีทั้งหลาย และเป็นประธานแห่งธรรมทั้งปวง
     เพราะฉะนั้น พึงชําระศีลให้บริสุทธิ์ สังวรศีลเป็นเครื่องกั้นความทุจริต ทําจิตให้ร่าเริง เป็นท่าที่หยั่งลงมหาสมุทร คือ นิพพานของพระพุทธเจ้าทั้งปวง เพราะฉะนั้น พึงชําระศีลให้บริสุทธิ์

     ศีลเป็นกําลังหาที่เปรียบมิได้ เป็นอาวุธอย่างสูงสุด เป็นอาภรณ์อันประเสริฐ เป็นเกราะอันน่าอัศจรรย์
     ศีลเป็นสะพาน เป็นมหาอ่านาจ เป็นกลิ่นหอมอย่างยอดเยี่ยม เป็นเครื่องลูบไล้อันประเสริฐ บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยศีล ย่อมหอมฟุ้งไปทั่วทุกทิศ
     ศีลเป็นเสบียงอันเลิศ เป็นเสบียงเดินทางชั้นเยี่ยม เป็นพาหนะอันประเสริฐยิ่งนัก เป็นเครื่องหอมฟุ้งไปทั่วทิศานุทิศ

     คนพาลผู้มีจิตไม่ตั้งมั่นในศีล ย่อมได้รับการนินทาในเวลาที่มีชีวิตอยู่ในโลกนี้ เมื่อตายไปแล้ว ย่อมได้รับทุกข์โทมนัสในอบายภูมิ ย่อมได้รับทุกข์โทมนัสในที่ทั่วไป
     ธีรชนผู้มีจิตตั้งมั่นด้วยดีในศีล ย่อมได้รับการสรรเสริญในเวลาที่มีชีวิตอยู่ในโลกนี้ ครั้นตายไปแล้ว ก็ได้รับความสุขโสมนัสในสวรรค์ ย่อมรื่นเริงใจในที่ทุกสถานในโลกนี้

     ศีลเท่านั้นเป็นยอด และผู้มีปัญญาเป็นผู้สูงสุดในโลกนี้ ความชนะในมนุษยโลกและเทวโลก ย่อมมีได้เพราะศีลและปัญญา”







ขอบคุณที่มา :-
บทที่ 5. ศีล คือ อะไร ,หน้าที่ 90-92 | SB 101 วิถีชาวพุทธ.pdf | www.webkal.org
ลิขสิทธิ์ : มหาวิทยาลัยธรรมกาย แคลิฟอร์เนีย
คณะผู้จัดทํา : กองวิชาการ มหาวิทยาลัยธรรมกาย แคลิฟอร์เนีย
ภาพ : https://www.pinterest.ca/pin/1105704146002913331/
189  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / “คำขอบคุณ” ให้คุณกว่าที่คิด เมื่อ: มกราคม 23, 2024, 06:41:46 am
.



“คำขอบคุณ” ให้คุณกว่าที่คิด

การใช้ชีวิตในทุกวันนี้ของเราดูจะเป็นการมุ่งไปข้างหน้าอย่างรวดเร็ว มองไปยังเป้าหมายอนาคต ใช้ชีวิตอยู่กับเทคโนโลยีที่พัฒนาอย่างไม่หยุดยั้ง จนบางครั้งเราเองก็มองแต่ข้างหน้า มองแต่เพียง “ตัวเอง”จนลืมที่จะมองข้างหลัง มองสิ่งที่อยู่ข้าง ๆ มองที่ผู้อื่นหรือสิ่งอื่น

นานแค่ไหนแล้วที่เราไม่ได้นึกขอบคุณใครสักคนอย่างล้นใจ ขอบคุณอย่างซาบซึ้ง ขอบคุณแบบที่ไม่ใช่เพียงแค่การเอ่ยว่าขอบคุณตามมารยาทสังคม

หากเป็นการเอ่ยคำว่าขอบคุณที่มาจากใจที่น้อมระลึกขึ้นมาได้ว่าคน ๆ นั้น หรือสิ่งนั้นช่างมีส่วนที่ทำคุณต่อเรา ซาบซึ้งในใจว่าการที่มีตัวเราในทุกวันนี้ เพราะมีคนที่เกื้อกูลเรา มีธรรมชาติที่เกื้อหนุน มีประสบการณ์ที่ผ่านมาที่เราได้เรียนรู้และเติบโต

ความรู้สึกขอบคุณอย่างลึกซึ้งดังกล่าวเป็นสิ่งที่นักจิตวิทยาเรียกว่า ความรู้สึกซาบซึ้งขอบคุณ (Gratitude) เป็นความรู้สึกที่ยินดี ซาบซึ้ง เป็นความรู้สึกที่งดงามที่เรามีต่อผู้อื่น หรือแม้ต่อสิ่งที่ไม่ใช่บุคคล เช่น ธรรมชาติ ประสบการณ์ที่ผ่านมาในชีวิตของเรา

นักจิตวิทยาในกลุ่มจิตวิทยาเชิงบวกได้มีการศึกษาเรื่องความรู้สึกซาบซึ้งขอบคุณนี้ไว้มากมาย จนสามารถกล่าวได้ว่าการขอบคุณอย่างลึกซึ้งเช่นนี้มีผลทางบวกต่อตัวเรามากกว่าที่เราอาจจะเคยนึกถึง โดยผู้นำในการศึกษาเรื่องความรู้สึกซาบซึ้งขอบคุณคือนักจิตวิทยาชาวอเมริกันชื่อ Robert Emmons ได้กล่าวว่า ความรู้สึกซาบซึ้งขอบคุณว่ามีสองสิ่งร่วมอยู่

@@@@@@@

สิ่งแรก คือ ความรู้สึกว่าความดีงามในโลกนี้มีอยู่จริง ๆ และเรามั่นใจได้จากสิ่งต่าง ๆ ที่เราได้รับ
สิ่งที่สอง คือ การที่เราเห็นได้ว่าความดีงามที่มันเกิดขึ้นนั้น เกิดมาจากแหล่งนอกตัวเรา เรามองเห็นการมีส่วนของผู้อื่นที่เข้ามามีต่อเรา

ความรู้สึกซาบซึ้งขอบคุณนี้มีผลทางบวกไม่ใช่เพียงแต่กับคนที่เราเอ่ยคำว่าขอบคุณต่อเขา แล้วเขาจะรู้สึกว่าเราเห็นค่าเขาเท่านั้น หากนักจิตวิทยาได้ทำการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับความรู้สึกซาบซึ้งขอบคุณ และพบถึงผลทางบวกของความความบุคคล และต่อสัมพันธภาพ เช่น งานวิจัยของ Emmons และ McCullough ในปี ค.ศ. 2003 ได้พบว่าความรู้สึกซาบซึ้งขอบคุณมีส่วนช่วยเพิ่มสุขภาวะ

งานวิจัยของ Gordon, Impett, Kogan, Oveis, และ Keltner ในปี ค.ศ. 2012 พบว่าความรู้สึกซาบซึ้งขอบคุณเป็นความรู้สึกที่ช่วยเสริมสร้างสัมพันธภาพที่มีดีขึ้น เนื่องจากเราได้ตระหนักว่าเราได้รับความช่วยเหลือและกำลังใจจากคนเหล่านั้นอย่างไรบ้าง และยังส่งผลสืบเนื่องถึงการรับรู้ว่าสิ่งที่ทำลงไปได้รับการเห็นถึงคุณค่าอีกด้วย

เมื่อเรารู้ถึง “คุณ”ของการขอบคุณว่ามีทั้งต่อเรา และต่อผู้อื่นแล้ว ดังนั้น วันนี้เราน่าจะเริ่มมองสิ่งต่าง ๆ ผู้คนรอบตัวเราอย่างเห็นใน “คุณ” ที่เขามีต่อเรา ใน “ค่า” ที่เขามีสำหรับเรากันเถิดนะคะ

@@@@@@@

ผู้เขียนขอนำเสนอวิธีง่าย ๆ 2 วิธีที่สามารถนำมาใช้ได้กับตัวเองหรือจะใช้ฝึกให้ลูกหลานของเราก็ได้

วิธีแรกเป็นวิธีในการพัฒนาความรู้สึกซาบซึ้งขอบคุณ ที่นักวิจัยมักใช้ในการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับความรู้สึกซาบซึ้งขอบคุณ คือ การเขียนบันทึกถึงความรู้สึกซาบซึ้งขอบคุณ โดยเป็นการเขียนถึง 5 สิ่งที่เรารู้สึกขอบคุณในแต่ละสัปดาห์ การทำเช่นนี้จะทำให้เราพัฒนาการคิดที่มองสิ่งต่างๆ อย่างยินดี และลดความคิดที่มองสิ่งต่างๆอย่างไม่ยินดีค่ะ

อีกวิธีที่อยากจะนำเสนอคือวิธีที่ผู้เขียนเองเห็นว่าง่ายและใช้ได้เป็นประจำ คือ การทบทวนก่อนนอนว่าวันที่กำลังจะผ่านไปวันนี้ เรามีอะไรที่เรารู้สึกขอบคุณบ้าง ลองนึกทบทวนนะคะ ถ้าเราทำเช่นนี้สม่ำเสมอทุกคืนก็จะเป็นการค่อย ๆ ฝึกตัวเราเองให้มองสิ่งต่าง ๆ ด้วยความรู้สึกซาบซึ้งขอบคุณได้ค่ะ

…ขอบคุณพ่อแม่ที่เลี้ยงดูฟูมฟักจนเติบโต
…ขอบคุณสามีที่เอื้ออาทรเปิดโอกาสให้ทำในสิ่งที่รัก
…ขอบคุณลูกที่เกิดมาเป็นลูกแม่ให้แม่รู้จักกับความรักที่แสนยิ่งใหญ่
…ขอบคุณครูที่สั่งสอนจนมีวิชา
…ขอบคุณเพื่อนที่อยู่เคียงข้างฝ่าฟันอุปสรรค
…ขอบคุณโอกาสในการเขียนบทความทำให้ผู้เขียนมีโอกาสทบทวนถึงความรู้สึกดี ๆ เช่นนี้
…ขอบคุณผู้อ่านที่อ่านมาถึงตรงนี้ค่ะ





Thank to :-
URL : https://www.psy.chula.ac.th/th/feature-articles/gratitude-and-swb
บทความโดย : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณัฐสุดา เต้พันธ์ คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ,18 Aug 2017
ภาพจาก : https://www.pexels.com/search/gratitude/

รายการอ้างอิง :-
- Bono, G., Emmons, R. A., & McCullough, M. E. (2004). Gratitude in practice and the practice of gratitude. Positive psychology in practice, 464-481.
- Emmons, R. A., & McCullough, M. E. (2003). Counting blessings versus burdens: an experimental investigation of gratitude and subjective well-being in daily life. Journal of personality and social psychology, 84(2), 377.
- Froh, J. J., Sefick, W. J., & Emmons, R. A. (2008). Counting blessings in early adolescents: An experimental study of gratitude and subjective well-being. Journal of school psychology, 46(2), 213-233.
- Gordon, A. M., Impett, E. A., Kogan, A., Oveis, C., & Keltner, D. (2012). To have and to hold: gratitude promotes relationship maintenance in intimate bonds. Journal of personality and social psychology, 103(2), 257.
190  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / ผู้หวังดี แต่ประสงค์ร้าย | จงพิจารณาเห็นผู้ชี้โทษ เหมือนผู้ชี้ขุมทรัพย์ให้ เมื่อ: มกราคม 23, 2024, 06:18:51 am
.



ผู้หวังดี แต่ประสงค์ร้าย | จงพิจารณาเห็นผู้ชี้โทษ เหมือนผู้ชี้ขุมทรัพย์ให้

นกตัวหนึ่ง มันอยู่ในแถบขั้วโลกเหนือ นกในฝูงนี้ เวลาถึงฤดูหนาวจะอพยพเป็นฝูงเพื่อหนีอากาศหนาว แต่ปีนั้นมีเค้าว่าหนาวไม่มาก นกอพยพหนีกันก็จริงแต่มีนกตัวหนึ่งขี้เกียจ คิดว่าอากาศไม่หนาว ก็เลยไม่ได้เตรียมการอพยพไปพร้อมกับเพื่อน เหมือนคนบางคนเห็นเพื่อนเก็บของขึ้นชั้นบนเพราะกลัวว่าน้ำจะท่วม แต่เขากลับคิดว่าน้ำไม่ท่วมหรอก พอน้ำมาจริง ๆ ตาเหลือกตาลาน ขนของไม่ทัน นกตัวนี้ก็เหมือนคนๆ นั้น ที่ประมาท นึกว่าจะหนาวไม่มากก็ไม่ได้อพยพตามไปกับเพื่อน

พอถึงเวลาอากาศหนาวจริง ๆ มันหนาวกว่าปกติ นกต้องรีบบินอพยพลงมาทางใต้เพื่อมาถึงเส้นศูนย์สูตรแถวประเทศไทย ขณะที่บินมาอากาศเบื้องบนก็หนาว เพราะพระอาทิตย์ไม่ส่องแสง หนาวเย็นยะเยือกหัวใจ นกหมดแรงบินเอาดื้อ ๆ ตกจากอากาศลงมาสู่พื้นหญ้าข้างล่าง เส้นยึดหมดเพราะอากาศหนาวเย็น บินไม่ไหว นอนสยายปีกอยู่ในทุ่งหญ้า นึกว่าจะตายแน่ๆ หมดแรง หมดอาหาร หมดทุกอย่าง ได้ยินเสียงอะไรเดินตึกๆ มาหา เป็นวัวตัวใหญ่เดินคร่อมผ่านไป เกือบจะเหยียบนกตาย

@@@@@@@

ก่อนจากวัวยังถ่ายอุจจาระพรวดรดลงไปบนตัวนก นกด่าใหญ่เลย ว่ามาทำให้เสียฤกษ์ ทำให้เปื้อนจะบินไม่ไหว แต่พอวัวเดินผ่านไป ต้องนึกขอบคุณ มูลของวัวอบอุ่น พอรดลงบนตัวนกอุ่นสบาย เพราะมูลวัวร้อนๆ ออกมาจากท้องวัว สิ่งที่เป็นมูลวัวกลับเป็นประโยชน์ ตอนแรกนกนึกว่าได้สิ่งที่ไม่ดี แต่กลายเป็นเลือดลมเดินพลุ่งพล่าน นกมีความสุขขึ้นมาก็เลยร้องเพลงตามประสานก

ขณะที่นกร้องเพลงอย่างมีความสุข แมวได้ยินเสียงนกก็ตามหาเสียงมาเห็นนกจมอยู่ใต้มูลของโค ก็เลยเขี่ยนกออกมาจากมูลโค ค่อยๆ ทำความสะอาด นกก็ดีใจมีผู้มาทำความสะอาดให้จึงร้องเพลงต่อไป ที่ไหนได้ แมวกัดกินนกเป็นอาหารไปเลย


@@@@@@@

เรื่องนี้สอนให้รู้ว่าอะไรก็ไม่แน่ อะไรก็ไม่เที่ยง อย่าประมาท สิ่งที่ไม่ดี ที่คนเขาให้เรา เช่นคำด่า คำบ่น พ่อแม่ ครูอาจารย์สอนท่านพูดไม่เพราะ พูดจริงไม่เพราะ พูดเพราะไม่จริง เราไม่ค่อยชอบ แต่มันเป็นประโยชน์ เหมือนอุจจาระของวัวทำให้นกมีกำลังกลับขึ้นมา

เพราะฉะนั้น จงพิจารณาเห็นคำตำหนิชี้โทษเป็นสิ่งที่มีประโยชน์ ดังที่พระพุทธเจ้าตรัสว่า นิธีนํ ว ปวตฺตานํ เป็นต้น แปลว่า จงพิจารณาเห็นผู้ชี้โทษเหมือนผู้ชี้ขุมทรัพย์ให้ บางทีผู้ชี้โทษนั้น มาให้พรเราแท้ ๆ แต่เราไม่ชอบก็เลยไม่ต้อนรับ ชีวิตเราจึงไม่มีอะไรใหม่ เวลาพระเทศน์เราไม่ชอบฟัง เพราะว่าพระพูดตรงว่าอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา อย่าประมาท อย่างนี้เราไม่ชอบ แต่ชอบคนประจบเอาใจชอบคนป้อยอ เขาพูดเพราะ มากราบ มาไหว้ด้วยความหวังร้ายก็ได้ ดังที่แมวมาช่วยนกแต่กินนกไปเสีย





ขอขอบคุณ :-
ที่มา : บันทึกจากเจ้าอาวาส ลำดับที่ ๑๒๑ , จากพระธรรมเทศนา ๕๗ กัณฑ์ เรื่องจินตามยกถา ว่าด้วยความสำเร็จตามความคิด , สมัยดำรงสมณศักดิ์ที่ พระธรรมโกศาจารย์ (ประยูร ธมฺมจิตฺโต ป.ธ.๙.,Ph.D) แสดง ณพระอุโบสถวัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร , เมื่อวันที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๕
URL : https://www.watprayoon.com/main.php?url=about1&code=content159&id=170
Photo : https://www.pinterest.ca/pin/20336635811274968/
191  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / พระพุทธรูปสัมฤทธิ์โบราณ อายุกว่า 500 ปี 1 เดียวในล้านนา เมื่อ: มกราคม 23, 2024, 06:07:23 am
.



พระพุทธรูปสัมฤทธิ์โบราณ อายุกว่า 500 ปี 1 เดียวในล้านนา

พระพุทธรูปสัมฤทธิ์โบราณ องค์เดียวมี 3ศิลป 3 สิงห์อายุกว่า 500 ปี 1 เดียวในล้านนา

วันที่ 22 มค. 67 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วัดศรีบุญชุม ตำบลศรีถ้อย อำเภอแม่ใจจังหวัดพะเยา มีพระพุทธรูปโบราณชื่อ พระเจ้าทองสัมฤทธิ์ หรือพระสิงห์สาม สร้างด้วยทองสัมฤทธิ์ ศิลปะเชียงแสนโบราณล้านนา อายุกว่า 500 ปีประดิษฐานอยู่ในอุโบสถวัดศรีบุญชุม เป็นพระพุทธรูปโบราณเก่าแก่ที่เป็นพระพุทธรูปเนื้อทองสัมฤทธิ์องค์เดียว แต่มีศิลป 3 สิงห์ คือศิลปพระสิงห์ 1-2-3 อยู่ในองค์เดียวกัน และมีองค์เดียวในจังหวัดพะเยาหรือในล้านนา และเป็นพระคู่บ้านคู่เมืองของชาวอำเภอแม่ใจอีกองค์หนึ่ง

ที่เชื่อว่ามีความศักดิ์สิทธิ์ และเป็นที่เคารพสักการะของชาวบ้าน ทั้งในและนอกพื้นที่ที่สามารถดลบันดาลประทานพรโชคลาภให้แก่ผู้ที่เข้ามากราบไหว้บูชาขอพร โดยเฉพาะการขอพรในเรื่องของการสอบ การทำงาน มักจะประสบผลสำเร็จ และการบนด้วยด้วยไข่ต้ม 99 ฟองและน้ำพริกปลานึ่งใส่สำหรับมาถวายแก้บน

@@@@@@@

พระครูประยุตสีลสุนทร เจ้าอาวาสวัดศรีบุญชุม เจ้าคณะตำบลศรีถ้อย เล่าว่าพระเจ้าทองสัมฤทธิ์หรือพระสิงห์ 3 เป็นพระพุทธรูปศิลปเชียงแสนโบราณ ซึ่งเป็นพระพุทธรูป 3 ศิลป หรือมี 3 สิงห์ เรียกว่าพระสิงห์ 1-2-3 รวมอยู่ในองค์เดียว สร้างด้วยเนื้อทองสัมฤทธิ์ อดีตเคยอยู่ที่วัดดวงดี เป็นวัดร้างเก่าแก่ชาวบ้านได้อัญเชิญมาประดิษฐานไว้ที่วัดศรีบุญชุม จนถึงทุกวันนี้และจะมีงานประเพณีสรงน้ำพระเจ้าทองสัมฤทธิ์เดือน 6 ช่วงเดือน มค.-กพ. ของทุกปี

สำหรับพระพุทธรูปทองสำฤทธิ์ มีขนาดหน้าตักกว้าง 60 เซนติเมตรความสูง160 เซนติเมตรน้ำหนักครึ่งตัน ประดิษฐานหน้าพระประธานอยู่ภายในอุโบสถวัดศรีบุญชุม ตำบลศรีถ้อย อำเภอแม่ใจ จังหวัดพะเยา และถือว่าเป็นพระพุทธรูปโบราณที่มีอายุเก่าแก่มากกว่า 500 ปี ที่มีความงดงามและความศักดิ์สิทธิ์ จนเป็นที่เคารพนับถือของชาวอำเภอแม่ใจและต่างพื้นที่ที่สำคัญในเรื่องของความศักดิ์สิทธิ์ขององค์พระพุทธรูปองค์จนเป็นที่เลื่อมใสศรัทธาของคนทั่วไป





Thank to : https://www.amarintv.com/news/detail/203818
22 ม.ค. 67
192  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / วิภัชชวาท : การมองแยกแยะ มองหลายมุม เมื่อ: มกราคม 22, 2024, 06:17:57 am
.



วิภัชชวาท : การมองแยกแยะ มองหลายมุม

คำว่า วิภัชชวาท แปลว่า การมองแยกแยะ มองหลายมุม พระพุทธเจ้าทรงเห็นว่าการบำเพ็ญเพียรใดก็ตามที่ทำให้คนเป็นคนดี สิ่งนี้ควรชม บำเพ็ญเพียรที่ทำให้คนไม่ดีมีแต่ความทุกข์ สิ่งนี้ควรตำหนิ เพราะฉะนั้นเรื่องเดียวกัน ถ้าทำให้คนมีความสุข ก็ชมได้แต่ถ้าหากว่า ถ้าทำให้คนมีความทุกข์ ทำให้แตกสามัคคี ก็ตำหนิได้

    เพราะฉะนั้น พระพุทธเจ้าจึงตรัสว่า
   "ปคฺคณฺเห ปคฺคหารหํ - ยกย่องคนที่ควรยกย่อง , นิคฺคณฺเห นิคฺคหารหํ - ข่มคนที่ควรข่ม"
    แต่ไม่ได้หมายความว่า นาย ก. ควรยกย่องก็ยกย่องกันร้อยเปอร์เซ็นต์ นาย ข. ควรตำหนิ ก็ตำหนิกันร้อยเปอร์เซ็นต์ ไม่มีใครที่ควรจะยกย่องร้อยเปอร์เซ็นต์ ไม่มีใครที่ควรจะตำหนิร้อยเปอร์เซ็นต์

คนที่เราควรจะยกย่องร้อยเปอร์เซ็นต์สำหรับชาวพุทธ ก็คือ พระอรหันต์ แต่ถ้าไปถามศาสนาอื่น เขาอาจจะไม่ยกย่องพระอรหันต์ก็ได้ อย่างเช่น พระโมคคัลลานะก็ถูกทำร้ายโดยศาสนาอื่น

     ฉะนั้น อยู่ที่ว่าเรามองในมุมไหนว่าอะไรดี อะไรชั่ว อะไรถูก อะไรผิด
     คำว่ามุมไหนก็คือ ขึ้นอยู่กับสมมติฐาน ที่ว่านี้เป็นเรื่องระดับโลกิยะ ถ้าเป็นเรื่องโลกุตตระ หรือพระนิพพานนั้นถือว่าดีงามอย่างเดียว แต่เมื่อว่าในระดับโลกิยะนั้นเราต้องเทียบเคียงจากหลายมุมมอง


@@@@@@@

หลวงพ่อพุทธทาสถูกถามว่า ระหว่างทานผักกับทานเนื้อ อะไรดีกว่ากัน ในสมัยโน้น เขายกย่องคนที่เป็นมังสวิรัติ ที่รับประทานผักไม่ทานเนื้อ

ผู้สื่อข่าวจึงไปถามท่านพุทธทาสว่า ทานผักดีกว่าทานเนื้อใช่หรือไม่ ซึ่งในกรณีนี้ท่านพุทธทาสท่านก็แยกตอบเป็นวิภัชชวาที ไม่ได้ตอบเพื่อความสะใจว่าใครดีกว่าใคร

ท่านแยกตอบอย่างนี้ว่า ไม่ว่าจะทานผักหรือทานเนื้อ ถ้าทานแล้วไม่ติดในรสอร่อยของสิ่งที่รับประทาน ทานด้วยจิตว่างปฏิบัติธรรมด้วยการไม่ยึดมั่น ถือมั่น ดีทั้งนั้น แต่ถ้าใครก็ตาม ทานเนื้อสัตว์ด้วยความยึดติดในรสอร่อย คนนั้นก็เป็นยักษ์เป็นมาร คนที่ทานผักเป็นมังสวิรัติถ้าติดในรสอร่อยของผักก็เป็นลิงเป็นค่าง

นี่เรียกว่า วิภัชชวาท แปลว่า แยกตอบ






ขอขอบคุณ :-
ที่มา : บันทึกจากเจ้าอาวาส ลำดับที่ ๑๑๙ | จากพระธรรมเทศนา ๕๗ กัณฑ์ เรื่องวิภัชชวาทกถา ว่าด้วยการมองหลายมุม สมัยดำรงสมณศักดิ์ที่ พระธรรมโกศาจารย์ (ประยูร ธมฺมจิตฺโต ป.ธ.๙.,Ph.D) แสดง ณ พระอุโบสถวัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร เมื่อวันที่ ๓๐ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๔
URL : https://www.watprayoon.com/main.php?url=about1&code=content157&id=168
Photo : https://www.pinterest.ca/pin/603552787589507143/
193  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / จันทร์นี้ นายกฯ อินเดียนำทัพเปิดวัดพระรามอโยธยา เมื่อ: มกราคม 22, 2024, 06:04:01 am
.
 :25: :25: :25:

จันทร์นี้ นายกฯ อินเดียนำทัพเปิดวัดพระรามอโยธยา

อินเดียเตรียมทำพิธีเปิดวัดพระรามแห่งศาสนาฮินดูในวันจันทร์ ณ เมืองอโยธยาที่ชาวอินเดียหลายล้านคนเชื่อว่าเป็นสถานที่ประสูติของพระองค์ นายกรัฐมนตรีนเรนทรา โมดี นำขบวนก่อนการเลือกตั้งที่เขาหวังจะเป็นนายกฯ รอบสามในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า






สำนักข่าวรอยเตอร์สรายงานว่า การก่อสร้างวัดพระรามใช้เวลา 35 ปี ถือเป็นคำมั่นสำคัญของพรรคชาตินิยมฮินดู “ภราติยะชนตะ” (บีเจพี) ของ นายกรัฐมนตรีนเรนทรา โมดี และเป็นประเด็นการเมืองสำคัญที่ช่วยให้พรรคได้อำนาจ

กลุ่มฮินดูวาดภาพว่า การเปิดวัดพระรามในเมืองอโยธยาทางตอนเหนือของอินเดีย ถือเป็นการตื่นรู้สูงสุดของชาวฮินดู หลังถูกบดบังโดยชาวมุสลิมและมหาอำนาจอาณานิคมมาหลายร้อยปี ทั้งยังถูกมองว่า เป็นการเปิดตัวแคมเปญหาเสียงที่อิงศาสนาอย่างมากของโมดี สำหรับการเลือกตั้งทั่วไปที่จะมีขึ้นภายในเดือน พ.ค.

สถานที่ตั้งวัดถูกชาวฮินดูและมุสลิมต่างคนต้างอ้างกรรมสิทธิ์ ชาวฮินดูอ้างว่าที่นี่คือ สถานที่ประสูติของพระราม และเป็นที่เคารพนับถือของชาวฮินดูมาโดยตลอด จนถึงสมัยอาณาจักรโมกุลที่เป็นชาวมุสลิมรื้อถอนวัดสร้างมัสยิดบาบรีขึ้นมาแทนในปี 1528 ความขัดแย้งกลายเป็นเหตุปะทะรุนแรงในปี 1992 เมื่อม็อบชาวฮินดูทำลายมัสยิดแห่งนี้

ปี 2019 ศาลอาญาพิพากษาให้ที่ดินเป็นของชาวฮินดู และสั่งจัดสรรที่ดินอีกแปลงให้กับชาวมุสลิม

พิธีเปิดวัดพระรามในวันจันทร์ (22 ม.ค.) นี้โมดีจะร่วมทำพิธีเปิดพร้อมด้วยสมาชิกพรรคบีเจพี องค์กรเครือข่าย ผู้นำศาสนา และผู้ศรัทธาจากทั่วประเทศหลายพันคน ผู้จัดงานเผยว่า ได้เชิญนักธุรกิจชั้นนำ ดาราภาพยนตร์ และนักกีฬาจำนวนหนึ่งมาร่วมงานด้วย

@@@@@@@

ศาสนากับการเมือง

“พระองค์ทรงสร้างให้ผมเป็นเครื่องมือเพื่อเป็นตัวแทนชาวอินเดียทั้งมวลระหว่างกระทำพิธี” โมดีโพสต์ข้อความบน X ขณะเริ่มพิธีกรรมทางจิตวิญญาณ 11 วันก่อนการเปิดวัด โดยโมดีเรียกช่วงเวลาที่พระรามเสด็จมาประทับที่วัดว่า “ช่วงเวลาประวัติศาสตร์”

นายกฯ โมดีของให้ชาวอินเดียจุดตะเกียงที่บ้านและวัดแถวบ้านในเย็นวันจันทร์เพื่อเฉลิมฉลองเทศกาลดิวาลีอีกครั้ง ที่ปกติมักจะตรงกับเดือน ต.ค.-พ.ย.

ด้านปริธวี ดัตตา จันทรา โศภี อาจารย์รัฐศาสตร์มหาวิทยาลัยเครีย (Krea University) ทางตอนใต้ของอินเดียกล่าวว่า พิธีเปิดวัดให้ความรู้สึกเหมือนการเปิดแคมเปญหาเสียงมากกว่าพิธีกรรมทางศาสนา

    “ดูเหมือนนายกรัฐมนตรีกำลังสวมบทบาทจักรพรรดิทำหน้าที่บูชายัญครั้งใหญ่” นักวิชาการกล่าว


@@@@@@@

วัดพระรามมีพื้นที่ 6.75 ไร่ บนพื้นที่โดยรวม 177 ไร่ ซึ่งแล้วเสร็จเพียงเฟสแรกเท่านั้น เฟสสองและสามคาดว่าจะเสร็จสมบูรณ์ในเดือน ธ.ค.2025 โครงการนี้ใช้งบประมาณราว1.5 หมื่นล้านรูปี (6,335 ล้านบาท) ทั้งหมดนี้ได้มาจากการบริจาคภายในประเทศ

ก่อนถึงวันงานชาวฮินดูรู้สึกปลาบปลื้มยินดีเป็นอย่างยิ่ง บ้านเรือนและตลาดติดธงศาสนาดารดาษ จัดพิธีสวดมนต์พิเศษ และมีแผนถ่ายทอดสดพิธีเปิดผ่านทีวีจอยักษ์

อย่างไรก็ตาม งานนี้หนีไม่พ้นเสียงติฉินจากพรรคการเมืองฝ่ายค้านรวมถึงพรรคคองเกรส ที่ปฏิเสธไม่ไปร่วมงานโดยให้เหตุผลว่างานเปิดวัดพระรามกลายเป็นงานการเมืองของโมดีไปแล้ว

ส่วนชาวมุสลิมนั้นไม่ได้ยินดีกับคำพิพากษาศาลฎีกาเมื่อปี 2019 ที่มอบที่ดินให้กับชาวฮินดู แต่ยอมรับคำพิพากษา ผ่านไปเกือบห้าปีถึงเวลาที่พวกเขาต้องมูฟออน

“การก่อสร้างวัดเป็นไปตามทิศทางของศาลฎีกา เรายินดีด้วย ผมไม่คิดว่าชาวมุสลิมจะรู้สึกไม่ดี” นายซูฟาร์ อาหมัด ฟารุกี ประธานมูลนิธิวัฒนธรรมอิสลามอินเดียกล่าว ซึ่งทางมูลนิธิกำลังสร้างมัสยิดแห่งใหม่ในเมืองอโยธยาห่างจากวัดพระรามราว 25 กิโลเมตร





Thank to : https://www.bangkokbiznews.com/world/1109427
By กนกวรรณ เกิดผลานันท์ l kanokthip2004@hotmail.com
21 ม.ค. 2567 เวลา 15:00 น.
194  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / เพิ่งจะรู้.! เหตุผลว่าทำไมขับรถ "ขากลับ" ถึงรู้สึกเร็วกว่า "ขาไป" เมื่อ: มกราคม 22, 2024, 05:50:29 am
.



เพิ่งจะรู้.! เหตุผลว่าทำไมขับรถ "ขากลับ" ถึงรู้สึกเร็วกว่า "ขาไป"

เคยสงสัยหรือไม่ว่าทำไมเวลาขับรถไปต่างจังหวัด เรามักจะรู้สึกว่าขาไปใช้เวลายาวนานกว่าขากลับเสมอ ทั้งๆ ที่ระยะทางของทั้งสองขาก็แทบไม่แตกต่างกัน บทความนี้ Sanook Auto จะพาไปหาคำตอบของปริศนานี้กัน

@@@@@@@

สาเหตุเกิดจาก "จิต" ของมนุษย์เอง

ธรรมดามนุษย์เรามีการรับรู้เกี่ยวกับเวลาได้ไม่ค่อยดีนัก ไม่ว่าจะเป็นหลักวินาที หรือยาวนานนับชั่วโมงก็ตาม บางวันเรารู้สึกว่าเวลาช่างผ่านไปเร็วเหลือเกิน แต่พออีกวันกลับรู้สึกว่าเวลาช่างผ่านไปเชื่องช้า ทั้งๆ ที่แต่ละวันต่างก็มี 24 ชั่วโมงเท่ากัน สิ่งเหล่านี้เกิดจากปัจจัยหลายอย่างที่เข้ามากระทบต่อตัวเรา เช่น เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นรอบตัว, อารมณ์ในแต่ละช่วงขณะ หรือสิ่งที่เรากำลังทำอยู่ เป็นต้น

เช่นเดียวกับความรู้สึกว่าทำไมการเดินทางขับรถขาไป จึงรู้สึกยาวนานกว่าขากลับเสมอ ปรากฏการณ์ที่ว่านี้เรียกกันว่า "Returning trip effect" เมื่อคุณเดินทางไปยังจุดหมายที่ไม่คุ้นเคยแล้วเดินทางกลับ มักจะดูเหมือนว่าขากลับใช้เวลาน้อยกว่าเดินทางขาไป แม้ว่าจะเดินทางด้วยระยะทางเท่ากันก็ตาม


@@@@@@@

สาเหตุที่เป็นเช่นนั้น สามารถตอบตามหลักจิตวิทยาได้หลายรูปแบบ

โดยคำอธิบายหนึ่ง คือ "การใส่ใจกับเวลา" เมื่อคุณใส่ใจกับเวลาที่ผ่านไป จะทำให้คุณรู้สึกเหมือนกับใช้เวลานานขึ้น การที่คุณเดินทางไปในที่ที่ไม่คุ้นเคยมาก่อน ส่งผลให้เกิดความรู้สึกตื่นเต้น กระตือรือร้นที่จะไปถึงจุดหมายโดยเร็ว จึงรู้สึกเหมือนกับว่าเวลาผ่านไปเชื่องช้า ผิดกับการขับรถกลับบ้านที่คุณแทบไม่เหลือความตื่นเต้นอะไรแล้ว คุณจึงให้ความสนใจกับเวลาลดน้อยลง ทำให้รู้สึกว่าขากลับเร็วกว่าขาไปนั่นเอง

อีกสาเหตุหนึ่ง คือ ความคาดหวังของผู้คนสำหรับการเดินทางกลับจะต่ำกว่า เมื่อเรามุ่งหน้าไปยังจุดหมายปลายทาง เรามักจะคาดหวังที่จะได้สัมผัสอะไรบางอย่างที่นั่น การคาดหวังนี้อาจทำให้การเดินทางดูยาวนานขึ้น ในทางกลับกัน เราได้มีประสบการณ์จุดหมายปลายทางแล้วในการเดินทางไปกลับ ดังนั้นเราจึงคาดหวังต่ำลงและการเดินทางจึงดูสั้นลง

เหล่านี้จึงเป็นคำตอบว่า ทำไมการขับรถขากลับจึงรู้สึกเร็วกว่าขาไป นั่นเองครับ





Thank to : https://www.sanook.com/auto/90383/
S! Auto : สนับสนุนเนื้อหา | 19 ม.ค. 67 (13:48 น.)
195  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / 6 วิธีจัดการความเครียดด้วยตัวเอง เมื่อ: มกราคม 21, 2024, 07:01:45 am




6 วิธีจัดการความเครียดด้วยตัวเอง


ความเครียดสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย ซึ่งความเครียดมีสาเหตุมาจาก 2 ปัจจัย ทั้งจากปัจจัยภายนอก เช่น ครอบครัว สิ่งแวดล้อม ปัญหาด้านการเงิน ความกดดันในที่ทำงาน เหตุการณ์บ้านเมือง ฯลฯ และจากปัจจัยภายใน ที่อาจเกี่ยวข้องกับอุปนิสัย ความคิด เช่น มีความคาดหวังสูง ต้องการความสำเร็จสูง มีความอ่อนไหวง่าย เป็นคนปรับตัวยาก ฯลฯ เป็นต้น

6 วิธีจัดการความเครียดง่าย ๆ ด้วยตัวเอง

1. การแก้ไขเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตที่เอื้ออำนวยให้เกิดความเครียด เช่น งานอดิเรกที่ชอบ ฝึกออกกำลังกาย บริหารร่างกายแบบง่าย ๆ เป็นต้น

2. เปลี่ยนแปลงนิสัยและทัศนคติต่อการดำเนินชีวิต เช่น ลดการแข่งขัน ผ่อนปรน ลดความเข้มงวด ในเรื่องต่าง ๆ เพื่อเพิ่มความผ่อนคลายให้ร่างกาย

3. หาความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโภชนาการ เช่น รู้ว่าอาหาร เครื่องดื่มบางประเภท ช่วยส่งเสริมและลดความเครียดจากการบริโภค

4. สำรวจและเปลี่ยนแปลงทัศนคติต่อตัวเองและผู้อื่น เช่น มองตัวเองในแง่ดี มองผู้อื่นในแง่ดี

5. สำรวจและปรับปรุง สัมพันธภาพต่อคนในครอบครัวและสังคมภายนอก

6. ฝึกผ่อนคลายโดยตรง เช่น การฝึกหายใจให้ถูกวิธี การฝึกสมาธิ การออกกำลังกายแบบง่าย ๆ การฝึกผ่อนคลายกล้ามเนื้อ การนวด เป็นต้น





Thank to : https://mgronline.com/goodhealth/detail/9670000002671
เผยแพร่ : 15 ม.ค. 2567, 16:07 ,ปรับปรุง : 15 ม.ค. 2567 16:07 ,โดย : ผู้จัดการออนไลน์
196  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / อัตตโจทนกถา : ว่าด้วยการเตือนตน เมื่อ: มกราคม 21, 2024, 06:31:20 am
.

    
                                                   
อัตตโจทนกถา : ว่าด้วยการเตือนตน

การเตือนตนในช่วงปีใหม่ ๒๕๕๙
   ๑. อ่านตนออก
   ๒. บอกตนได้
   ๓. ใช้ตนเป็น
   ๔. เห็นตนชัด

   (๑) อ่านตนออก สิ่งที่เราจะทำในอนาคตมันตรงกับจุดแข็งจุดเด่นที่เรามีหรือไม่ หาจุดเด่นให้พบ ถ้าไม่มีต้องเสริมจุดด้อยให้เป็นจุดเด่น

   (๒) บอกตนได้ คือ สอนตัวเอง บอกตน เตือนตน แก้ไขจุดอ่อนด้วยการพัฒนาตน ปีหน้าเขาจะรวมกันเป็นอาเซียน เราพูดภาษาอาเซียนไม่ได้ เราต้องทำธุรกิจกับเขาเราจะแก้จุดด้อยไปเรียนภาษาต่างประเทศ อย่างนี้เรียกว่า บอกตนได้

   (๓) ใช้ตนเป็น หมายถึง ตัดสินใจทันเหตุการณ์ เมื่อถึงเวลาต้องทำ อย่ามาโอ้เอ้อืดอาด เวลาไม่คอยท่าใคร
          "เวลาและวารีมิได้มีที่คอยใคร
           เรือเมล์และรถไฟต้องไปตามเวลา
           โอ้เอ้และอืดอาดมักจะพลาดปรารถนา
           พลาดแล้วจะโศกาอนิจจาเราช้าเอง"
ตัดสินใจให้ทันท่วงทีเพราะโอกาสอาจหลุดลอยไป ดังพระบาลีว่า ขโณ โว มา อุปจฺจคา อย่าให้โอกาสหลุดมือไป
         
   (๔) เห็นตนชัด เห็นความไม่เที่ยง เผื่อใจไว้สำหรับความผิดหวังในกรณีที่ไม่เป็นไปตามแผน เตรียมแผนสำรองไว้ด้วย






ขอขอบคุณ :-
ที่มา : บันทึกจากเจ้าอาวาส , บท.วปย. ๐๒/๒๕๕๙  ,จากพระธรรมเทศนา ๖๑ กัณฑ์ เรื่องอัตตโจทนกถา ว่าด้วยการเตือนตน โดยพระพรหมบัณฑิต (ประยูร ธมฺมจิตฺโต ป.ธ.๙,Ph.D.) , แสดงในวันธรรมสวนะ ณ พระอุโบสถวัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร , เมื่อวันที่ ๒๑ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๕๗ 
URL : https://www.watprayoon.com/main.php?url=about1&code=content173&id=185
Photo : https://www.pinterest.ca/pin/1105704146002851225/                       
197  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / ผู้ว่าฯ ท่องเที่ยวและกีฬา พาทัวร์วัดดังเอาใจสายมู ชูเปิดตลาดเที่ยวรูปแบบใหม่ เมื่อ: มกราคม 21, 2024, 06:13:54 am
.



ผู้ว่าฯ ท่องเที่ยวและกีฬา พาทัวร์วัดดังเอาใจสายมู ชูเปิดตลาดเที่ยวรูปแบบใหม่

ผู้ว่าฯ รองผู้ว่าฯ และท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดระยอง นำร่วมกิจกรรมเอาใจสายมูเตลู พาทัวร์ไหว้พระเกจิชื่อดังเมืองระยอง 'เสริมพลังบุญ หนุนพลังใจ รับปีใหม่ 2567' เตรียมสำรวจเส้นทางและกิจกรรมที่หลากหลายเพิ่มไว้รองรับนักท่องเที่ยว

เมื่อวันที่ 20 ม.ค.2567 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายไตรภพ วงศ์ไตรรัตน์ ผวจ.ระยอง นายกัฬชัย เทพวรชัย รอง ผวจ.ระยอง และนางกัญญ์ชลา สุขิตรกูล ท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดระยอง นำหัวหน้าส่วนราชการ ผู้ประกอบการท่องเที่ยวในจังหวัดระยอง ร่วมสำรวจเส้นทางท่องเที่ยวในรูปแบบใหม่ เพื่อรองรับนักท่องเที่ยว ภายใต้กิจกรรมทัวร์วัด 'เสริมพลังบุญ หนุนพลังใจ รับปีใหม่ 2567' เป็นการเอาใจ และดึงดูดนักท่องเที่ยวสายมูเตลู โดยพาไหว้พระและสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ภายในวัดเกจิชื่อดังของจังหวัดระยอง

อาทิ ไหว้พระวัดละหารไร่ มีหลวงปู่ทิม อิสริโก อดีตเจ้าอาวาสวัดเป็นเกจิพระชื่อดังแห่งภาคตะวันออก กราบไหว้สรีระหลวงพ่อสาคร มนุญโญ วัดหนองกรับ ศิษย์เอกหลวงปู่ทิม กราบไหว้บูชาองค์ท้าวเวสสุวรรณ วัดหนองฆ้อ เสริมโชคลาภ เพิ่มความเป็นสิริมงคล นอกจากนี้ยังมีวัดบ้านนา วัดวังหว้า ซึ่งมีอดีตเจ้าอาวาส เป็นเกจิชื่อดังเช่นเดียวกัน และมีวัดเก่าแก่อีกมากมายให้เข้าเที่ยวชมอีกด้วย






นางกัญญ์ชลา กล่าวว่า กิจกรรมที่จัดขึ้นดังกล่าว เป็นนโยบายภายใต้ของกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาที่จะกระตุ้นการท่องเที่ยว อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว หรือการท่องเที่ยวภาคชุมชนทั่วประเทศ ซึ่งนโยบายดังกล่าวสอดคล้องกับนโยบายของจังหวัดระยอง ในการกระตุ้นเศรษฐกิจหลังสถานการณ์โควิด โดยมุ่งหวังให้เกิดรายได้ และเส้นทางการท่องเที่ยวใหม่ๆ เกิดขึ้น เพื่อดึงนักเที่ยวให้เข้ามาท่องเที่ยวเพิ่มมากขึ้น





ท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดระยอง กล่าวต่อว่า กิจกรรมที่เกิดขึ้นดังกล่าวเป็นความร่วมมือของภาคผู้ประกอบการท่องเที่ยวในจังหวัดระยอง และภาครัฐที่เกี่ยวข้องในการกำหนดเส้นทางท่องเที่ยวในพื้นที่ โดยเบื้องต้นได้มีการกำหนด 4 เส้นทาง ทั้งสายศรัทธา หรือมูเตลู และสาย BCG เป็นต้น ซึ่งวันนี้เป็นการสำรวจเส้นทางท่องเที่ยวสายศรัทธา โดยพาไหว้พระวัดเกจิชื่อดังและวัดเก่าแก่ 7 วัด หลังจากมีการสำรวจเส้นทางท่องเที่ยวแล้ว ก็จะมีการนำกลับไปวางแผน เตรียมความพร้อม เพื่อประชาสัมพันธ์เชิญชวนดึงดูดนักท่องเที่ยวให้เข้ามาท่องเที่ยวเพิ่มมากขึ้นต่อไป





ด้าน นายกัฬชัย กล่าวว่า รูปแบบการท่องเที่ยวแบบดังกล่าว เป็นแบบ One Day Trip ซึ่งเป็นการมาสำรวจเส้นทางท่องเที่ยวของภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ก่อนจะนำไปประชาสัมพันธ์ เชิญชวนนักท่องเที่ยวที่มีความศรัทธา เลื่อมใสในพระเกจิชื่อดังของจังหวัดระยอง ได้เข้ามากราบไหว้พระ และขอพรสิ่งศักดิ์สิทธิ์ภายในวัดต่างๆ ของจังหวัดระยอง เพื่อเป็นกระตุ้นให้เกิดรายได้ขึ้นในพื้นที่ต่อไป.




Thank to : https://www.thairath.co.th/news/local/localbusiness/2756766
20 ม.ค. 2567 ,19:20 น. | ข่าว > ทั่วไทย > เศรษฐกิจท้องถิ่น > ไทยรัฐออนไลน์
198  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / ประวัติศาสตร์ของดินแดน และผู้คนไม่จำกัดชาติพันธุ์ เมื่อ: มกราคม 20, 2024, 08:43:55 am
.



ประวัติศาสตร์ของดินแดน และผู้คนไม่จำกัดชาติพันธุ์

“เปิดโฉมหน้าวิชาประวัติศาสตร์ไทย” เป็นความเคลื่อนไหวทางประวัติศาสตร์ไทยของหน่วยงานทางการศึกษาของรัฐบาลไทย ซึ่งเป็นผลจากวิชาประวัติศาสตร์ไทยไม่โดนใจคนทั่วไป ไม่ว่านักเรียนนักศึกษา หรือประชาชนพลเมือง

วิชาประวัติศาสตร์ไทยมีต้นแบบจากประวัติศาสตร์แห่งชาติของไทย (ซึ่งกระทรวงวัฒนธรรมที่มีกรมศิลปากรเกี่ยวข้องโดยตรง) ที่ไม่ซื่อตรงต่อหลักฐานวิชาการทางประวัติศาสตร์โบราณคดี โดยเฉพาะเรื่องสำคัญที่บอกซ้ำแล้วซ้ำอีกจนซ้ำซาก คือ เชื้อชาติ และรัฐชาติ

@@@@@@@

เชื้อชาติ สำนึกเชื้อชาติเริ่มแรกมีในยุโรป แล้วถูกใช้ล่าอาณานิคม จนแผ่ถึงสยามราวต้นกรุงรัตนโกสินทร์ แล้วแพร่หลายในแผ่นดิน ร.6

เป็นที่รู้ภายหลังอย่างทั่วกันว่าในโลกนี้ไม่มีเชื้อชาติ ดังนั้น ประเทศต่างๆ ในโลกทยอยยกเลิกเชื้อชาติมานานแล้ว

แต่ประวัติศาสตร์ไทย “แห่งชาติ” ไม่ซื่อตรง จึงเน้นย้ำประวัติศาสตร์ชนชาติไทย ว่าคนไทย เชื้อชาติไทย สายเลือดบริสุทธิ์มีถิ่นกำเนิดในเมืองจีนแถบเทือกเขาอัลไต

ต่อมาถูกทักท้วงจากนักวิชาการนานาชาติ ก็เลื่อนถิ่นกำเนิดลงไปอยู่ตอนใต้ของจีน แต่ยังรักษาแนวคิด (ทฤษฎี) อพยพยกโขยงถอนรากถอนโคนจากที่ใดที่หนึ่งในเมืองจีน เพื่อธำรงสิ่งเพิ่งสร้างใหม่ว่า “สุโขทัยเป็นราชธานีแห่งแรกของไทย” ซึ่งไม่เคยพบหลักฐานวิชาการใดๆ สนับสนุน

@@@@@@@

รัฐชาติ เป็นที่รู้ทั่วโลกว่าสำนึกเรื่องรัฐชาติเพิ่งมีไม่นานมานี้ เริ่มจากยุโรป แล้วแผ่ถึงไทยสมัยต้นรัตนโกสินทร์ แผ่นดิน ร.4, ร.5 เริ่มทำแผนที่แสดงอาณาเขตประเทศสยาม

แต่ประวัติศาสตร์แห่งชาติของไทยไม่ซื่อตรง ได้เน้นย้ำ “ชาติไทย” มีอย่างน้อยตั้งแต่สมัยสุโขทัย และมีเส้นกั้นอาณาเขตทางทิศใต้ตลอดแหลมมลายู ทั้งๆ ไม่จริง และไม่เคยพบหลักฐานอย่างนั้น แต่ดันทุรังจนทุกวันนี้

ดังนั้น ประวัติศาสตร์ไทยไม่ทำให้เข้าใจตนเองและรากเหง้าของตนเองตามต้องการของหน่วยงานทางการศึกษาของรัฐบาลไทยปัจจุบัน แต่ในทางตรงข้ามประวัติศาสตร์ชนเชื้อชาติไทยของทางการไทยเป็นประวัติศาสตร์บิดเบือน และเป็นประวัติศาสตร์บาดหมางสร้างบาดแผล ดังรู้เห็นเป็นที่ประจักษ์แก่คนทั้งโลกมายาวนานมาก โดยเฉพาะบริเวณสามจังหวัดชายแดนภาคใต้



บรรพชนคนไทยทั้งนั้น (ซ้าย) ขบวนแห่ของละโว้ (ขวา) ขบวนแห่ของสยาม ภาพสลักบนระเบียงปราสาทนครวัด (เมื่อ 917 ปีมาแล้ว) พ.ศ.1650


ผู้คนไม่จำกัดชาติพันธุ์

ประวัติศาสตร์ไทยควรเป็นประวัติศาสตร์ของดินแดนและผู้คนในประเทศไทย ไม่จำกัดชาติพันธุ์ ซึ่งเคยมีต้นแบบเมื่อ 117 ปีที่แล้ว ในพระราชดำรัส ร.5 ทรงเปิดโบราณคดีสโมสร

“เราจะค้นหาข้อความเรื่องราวของประเทศสยามไม่ว่าเมืองใดชาติใดวงษ์ใดสมัยใด รวบรวมเรียบเรียงขึ้นเป็นเรื่อราวของประเทศสยาม”

“กรุงสยามเป็นประเทศที่แยกกันบ้างบางคราว รวมกันบ้างบางคราว ฝ่ายพระเจ้าแผ่นดินผู้ที่ปกครองก็ต่างชาติกันบ้าง ต่างวงศ์กันบ้าง”

@@@@@@@

ประวัติศาสตร์ของดินแดนและผู้คนในประเทศไทย ไม่จำกัดชาติพันธุ์ มีความหมาย ดังนี้

ดินแดน หมายถึง พื้นที่บริเวณประเทศไทย ซึ่งเดิมเรียกประเทศสยาม อันเป็นส่วนหนึ่งซึ่งแยกไม่ได้จากพื้นที่บริเวณอุษาคเนย์ มีความเป็นมาอย่างสรุป ดังนี้

(1.) เริ่มต้นที่ดินแดนสยามซึ่งมีพื้นที่จำกัดแค่บริเวณลุ่มน้ำเจ้าพระยาเท่านั้น หลังจากนั้นขยายไปผนวกดินแดนที่อยู่ต่อเนื่องและใกล้เคียงเข้าด้วยกัน เป็น “ราชอาณาจักรสยาม” หรือ “เมืองไทย” (มีบอกชัดเจนในจดหมายเหตุลา ลูแบร์)

(2.) สมัยแรกไม่มีเส้นกั้นอาณาเขต แต่มีสมัยหลังในแผ่นดิน ร.5

(3.) สมัยดั้งเดิมพื้นที่กว้างขวางรกร้างว่างเปล่ามีมาก ผู้คนไม่มาก จึงทำสงครามกวาดต้อนผู้คนเป็นเชลย (โดยไม่ยึดครองพื้นที่) เมื่อได้เชลยเป็นกำลังการผลิตก็ทำให้มีการประสมประสานทางชาติพันธุ์มากขึ้น

(4.) สยามถูกเปลี่ยนชื่อเป็นประเทศไทยด้วยแนวคิดชาตินิยม “คลั่งเชื้อชาติไทย” สายเลือดบริสุทธิ์ (ทั้งๆ ไม่มีจริง) เมื่อ 85 ปีที่แล้ว (พ.ศ.2482)

@@@@@@@

ผู้คน หมายถึง คนไม่จำกัดชาติพันธุ์ที่อยู่ในดินแดนประเทศไทย ได้แก่ มอญ, เขมร, ลาว, มลายู, จีน, จาม, อินเดีย, อิหร่าน (เปอร์เซีย) ฯลฯ

บรรดาคนหลายชาติพันธุ์เหล่านี้มีจำนวนหนึ่งเป็นชาวสยามที่ต่อไปข้างหน้าเมื่ออยู่ในภาษาและวัฒนธรรมไทยจะกลายตนเป็นไทย

(1.) ชาวสยาม ประกอบด้วยคนหลากหลายชาติพันธุ์ และพูดหลายภาษา จึงเลือกภาษาไท-ไต เป็น “ภาษากลาง” ใช้พูดสื่อสารระหว่างชาติพันธุ์

(2.) ภาษาไท-ไต ที่เป็น “ภาษากลาง” ของคนหลายชาติพันธุ์บริเวณลุ่มน้ำเจ้าพระยา ผสมกับภาษานานาชาติ ได้แก่ ภาษาบาลี-สันสกฤต (อินเดีย), ภาษาเปอร์เซีย (อิหร่าน), ภาษาจีน, ภาษามอญ, ภาษาเขมร, ภาษามลายู ฯลฯ ได้ถูกเรียกชื่อใหม่แบบภาษาบาลีว่า เทยฺย แล้วกลายคำว่าไทย ใช้เรียกภาษาไทย

(3.) ชาวสยามหลายชาติพันธุ์ใช้ภาษากลางสื่อสารทางการค้าคือพูดภาษาไท-ไต ครั้นนานไปก็เปลี่ยนเป็นพูดภาษาไทย แล้วกลายตนเป็นคนไทย และถูกเรียกว่าคนไทย

@@@@@@@

คนไทย หมายถึง คนที่เรียกตนเองว่าไทย และถูกคนอื่นเรียกว่าไทย

คนไทยกลุ่มเริ่มแรกมีในอโยธยา (เมืองต้นกำเนิดอยุธยา) เรือน พ.ศ.1700 พบกฎหมายลักษณะเบ็ดเสร็จเป็นภาษาไทย ตราขึ้นเมื่อ 115 ปีก่อนมีอยุธยา ตรงกับ พ.ศ.1778

ต้นทางประเทศไทย คืออโยธยา เพราะเริ่มแรกมีคนไทย และเรียกประเทศว่าเมืองไทย ต่อจากนั้นอโยธยาสืบเนื่องเป็นกรุงศรีอยุธยา, กรุงธนบุรี, กรุงรัตนโกสินทร์-ประเทศไทย

“ราชธานีแห่งแรกของไทย” (ถ้าอยากมี) คือ อโยธยา (ไม่ใช่สุโขทัย) ดังนั้น การศึกษาประวัติศาสตร์ไทยที่แท้จริงต้องพิทักษ์รักษา “คุณค่า” เมืองอโยธยาเป็นหลักฐานประวัติศาสตร์โบราณคดีซึ่งจะสร้าง “มูลค่า” มหาศาลในอนาคต อย่าให้ถูกทำลายไม่ว่าด้วยเหตุผลใดๆ •


 


ขอขอบคุณ :-
ที่มา : มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับวันที่ 12-18 มกราคม 2567
คอลัมน์ : สุจิตต์ วงษ์เทศ
เผยแพร่ : วันอาทิตย์ที่ 14 มกราคม พ.ศ.2567
URL : https://www.matichonweekly.com/column/article_738320
199  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / สามคน : คนแครอท คนไข่ และคนเมล็ดกาแฟ เมื่อ: มกราคม 20, 2024, 08:33:13 am
.



สามคน : คนแครอท คนไข่ และคนเมล็ดกาแฟ

เขาเปรียบว่าคนเรามี ๓ ประเภท คือ

    • คนประเภทแรก เหมือนแครอท
    • คนประเภทที่สอง เหมือนไข่
    • คนประเภทที่สาม เหมือนเมล็ดกาแฟ

เราเอาน้ำเทใส่ลงในหม้อ ๓ ใบ แล้วตั้งไว้บนกะทะ เอาแครอท ไข่และกาแฟใส่เข้าไปต้มไว้ ๑๕ นาทีให้สังเกตว่า ก่อนที่จะใส่ลงหม้อ แครอทแข็งมาก หลังจากต้มในน้ำร้อน ๑๕ นาทีแครอทอ่อนนุ่มนิ่ม นั่นคือ ก่อนต้ม แครอทแข็ง แต่พอต้มแล้ว แครอทอ่อนตรงกันข้าม

ก่อนจะต้มไข่ในน้ำร้อน ไข่เปราะบางมาก เราสะกิดนิดเดียวไข่ก็แตกแต่พอใส่ไปในหม้อน้ำร้อนจนสุก ไข่จะแข็ง ก่อนต้มไข่เปราะบาง หลังต้มแล้วไข่แข็งขึ้น

ส่วนเมล็ดกาแฟ ก่อนที่จะใส่ไปในน้ำร้อนก็เป็นเมล็ด พอใส่ในหม้อน้ำร้อน เมล็ดกาแฟละลาย น้ำกลายเป็นสีดำ รสชาติของน้ำเป็นรสกาแฟหอมกรุ่น ไม่เหลืออะไรให้เห็นนอกจากสีดำกับกลิ่นหอมกรุ่น

@@@@@@@

ก่อนที่น้ำจะท่วมใหญ่ครั้งนี้ คนไทยก็มี ๓ ประเภทด้วยกัน คือ

    1. คนประเภทแครอท ถ้าคุยว่าน้ำมาก็ไม่กลัว แถมประกาศว่าจะอยู่ตรงนี้ไม่หนีไปไหน แต่พอน้ำมาถึง ตาเหลือกตาลาน ขนของไม่ทัน คุมสถานการณ์ไม่อยู่ อ่อนปวกเปียกกลายเป็นแครอทต้ม แทนที่จะตั้งสติ ป้องกันน้ำ เอาของมีค่าทยอยออกไปบ้างกลายเป็นคนที่หมดกำลังใจ

    2. คนประเภทไข่ เป็นคนที่กลัวน้ำท่วม คิดว่าถ้าน้ำมาก็คงแย่ แต่พอน้ำมาถึงจริงๆ กลับบ้าบิ่น สู้ยิบตาทุกวิถีทาง แต่ไม่ใช้ปัญญา ทางการยังไม่ได้ตัดสายไฟแรงสูง เดินลุยน้ำไปถูกไฟฟ้าช็อตเสียชีวิตไปหลายราย
         
    3. คนประเภทเมล็ดกาแฟ โดนน้ำร้อนแล้วมีกลิ่นหอมฉุย มีรสชาติอร่อย คนประเภทนี้ปรับตัวเข้ากับน้ำท่วมได้ บอกว่าน้ำท่วมกายแต่ไม่ท่วมใจ สามารถทำใจให้เบิกบานแม้น้ำจะท่วม ดำรงชีวิตอยู่ด้วยความไม่ประมาท


@@@@@@@

ฉะนั้น เวลามีปัญหา อย่าหนีปัญหา ให้มีศรัทธา แต่อย่าประมาท อย่าบ้าบิ่น ศึกษาแก้ปัญหาด้วยสติปัญญา รู้ว่าจะต้องทำอย่างไร แก้ปัญหาด้วยจิตใจที่สงบสยบปัญหาใช้ปัญญาแก้ คนอย่างนี้เราเรียกว่าเป็นประเภทเมล็ดกาแฟ คือปรับตัวเก่ง ดังที่คนไทยสมัยโบราณ รู้จักปรับตัวเข้ากับกระแสน้ำ นิยมสร้างบ้านเรือนไทย มีใต้ถุนสูง ทำให้อยู่รอดปลอดภัยจากน้ำท่วมในยามวิกฤตอย่างนี้อย่าทำตัวเป็นแครอท พอน้ำมาก็แตกตื่นตกใจ เก่งแต่ปากอย่าทำตัวเป็นไข่ เจอปัญหาแล้วบ้าบิ่น บอกว่าเอาอยู่แต่ก็สู้น้ำไม่ได้

เราต้องเป็นคนประเภทเมล็ดกาแฟ ดูสถานการณ์ ปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ เปลี่ยนวิกฤตให้เป็นโอกาส เปลี่ยนพินาศให้เป็นพัฒนา เปลี่ยนปัญหาให้เป็นบทเรียน ถ้าหากว่าเราตั้งสติใช้ปัญญาอย่างนี้ ต่อให้ห้วงน้ำใหญ่ไหลมาคนไทยก็สู้ได้ สามารถปรับตัวตามสถานการณ์ดังเมล็ดกาแฟ มหาอุทกภัยครั้งนี้ทำให้เราฉลาดขึ้น เก่งขึ้น มีปัญหามีอุปสรรค แทนที่จะหักโค่น กลับกลายเป็นยืนได้แล้วเก่งกว่าเดิม เข้มแข็งกว่าเดิม ฉลาดกว่าเดิม

         



ขอขอบคุณ :-
ชื่อบทความเดิม : เปรียบคน ๓ ประเภท คือ ๑.เหมือนแครอท อ่อนปวกเปียก ๒.เหมือนไข่ บ้าบิ่น สู้ยิบตาทุกวิถีทาง แต่ไม่ใช้ปัญญา ๓.เหม...| เขียนเมื่อ : 11/6/2558
ที่มา : บันทึกจากเจ้าอาวาส , พระพรหมบัณฑิต (ประยูร ธมฺมจิตฺโต ป.ธ.๙, ศ.,ดร.) เจ้าอาวาสวัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร
URL : https://www.watprayoon.com/main.php?url=about1&code=content158&id=169
Photo : https://www.pinterest.ca/pin/26458716558537111/
200  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / เปิด 4 วิธีที่จะทำให้เงินในบัญชีอยู่กับเรา เมื่อ: มกราคม 20, 2024, 07:43:59 am
.



เปิด 4 วิธีที่จะทำให้เงินในบัญชีอยู่กับเรา

”มิจฉาชีพมักจะใช้หลากหลายวิธีในการที่พยายามจะขโมยเงินที่อยู่ในบัญชีธนาคารของเรา เช่น ส่งลิงก์ให้เรากดเพื่อโหลดแอปฯ แล้วเงินก็จะถูกดูดหมดบัญชี

มิจฉาชีพมักจะใช้หลากหลายวิธีในการที่พยายามจะขโมยเงินที่อยู่ในบัญชีธนาคารของเรา เช่น ส่งลิงก์ให้เรากดเพื่อโหลดแอปฯ แล้วควบคุมโทรศัพท์ในระยะไกล จากนั้นจะดูดเงินในบัญชีของเราจนหมด

ตำรวจสอบสวนกลาง (CIB) จึงนำ 4 วิธีในการป้องกัน ไม่ให้มิจฉาชีพเข้าถึงบัญชีธนาคารของเราได้โดยง่าย




1. ไม่เชื่อม WIFI ทำธุรกรรมทางการเงิน : การใช้ WIFI ที่บ้าน หรือ WIFI ในที่สาธารณะ มีความเสี่ยงที่ทำให้มิจฉาชีพล้วงเอาข้อมูลที่เกี่ยวกับบัญชีธนาคารเราไปได้

2. ตั้งการแจ้งเตือนเมื่อเงินเข้า-ออกในบัญชี : เราควรเปิดรับการแจ้งเตือนไม่ว่าจะ SMS หรือ Email หรือผ่าน Line เพื่อให้เรารับรู้ทุกครั้งที่มีการโอนเงินเข้า โอนเงินออก ดังนั้นหากเมื่อมีเงินออกโดยที่เราไม่ได้ทำการโอนด้วยตัวเองก็อาจจะแก้ไขได้ทันเวลา

3. ตั้งจำกัดวงเงินการถอนต่อวัน : เป็นการจำกัดว่าใน 1 วัน เรานำเงินออกจากบัญชีได้เท่าไหร่ โดยตั้งค่าผ่านแอปพลิเคชันของธนาคารได้เลย (หรือติดต่อไปที่ธนาคาร)

4. ตั้งค่าความเป็นส่วนตัวในแอปพลิเคชันธนาคาร : เพื่อไม่ให้ผู้อื่นเข้ามาในบัญชีธนาคารของเราได้ง่ายๆนั้น เราควรตั้งค่าตั้งรหัสผ่าน 2 ชั้น เช่น การรับ OTP, เปลี่ยนรหัสบ่อย ๆ และที่สำคัญไม่ควรเซฟรหัส หรือ 3 ตัวเลขหลังบัตรไว้ในโทรศัพท์มือถือ





ขอขอบคุณ :-
ที่มา : ตำรวจสอบสวนกลาง
website : https://www.thainewsonline.co/news/social/865878
19 มกราคม 2567
หน้า: 1 ... 3 4 [5] 6 7 ... 706