ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ไม่ควรพูดจนเกินกาล ไม่ควรนิ่งเสมอไป  (อ่าน 2076 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28444
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
ไม่ควรพูดจนเกินกาล ไม่ควรนิ่งเสมอไป
« เมื่อ: มิถุนายน 13, 2016, 11:11:46 am »
0







ไม่ควรพูดจนเกินกาล ไม่ควรนิ่งเสมอไป

นาติเวลํ ปภาเสยฺย   น ตุณฺหี สพฺพทา สิยา
อวิกิณฺณํ มิตํ วาจํ    ปตฺเต กาเล อุทีริเย.


"ไม่ควรพูดจนเกินกาล ไม่ควรนิ่งเสมอไป เมื่อถึงเวลาก็ควรพูดพอประมาณ ไม่ฟั่นเฝือ"

(พุทธ) ขุ. ชา. มหา. ๒๘/๓๓๘.

การพูดนั้นถือว่าเป็นหัวใจสำคัญในการติดต่อสื่อสารระหว่างมนุษย์กับมนุษย์ที่อาศัยอยู่บนพื้นโลกนี้ จะต้องอาศัยภาษาเป็นการสื่อสารคืออาศัยการพูดเป็นสื่อนั่นเอง มนุษย์ที่เกิดมาพูดได้กันทุกคน (ถ้าไม่ผิดปกติ) แต่ว่าการพูดได้กับการพูดเป็นและถูกกาลเทศะนั้นต่างกัน พูดได้หมายถึงพูดอะไรก็ได้ที่สื่อความหมายให้คนอื่นรู้เรื่องก็ได้ ไม่รู้เรื่องก็ได้ แต่การพูดเป็นนั้นจะต้องพูดหรือสื่อความหมายให้คนอื่นรู้เรื่องและถูกกาลเทศะอีกด้วย การพูดที่ดีนั้นจะต้องอาศัยองค์ประกอบหลายอย่าง เช่น เมื่อได้รับเชิญให้พูดในโอกาสต่างๆ ภายในเวลา ๑๐ นาที จะต้องพูดให้ครบตามเวลาที่กำหนดหรือต่ำกว่านั้นก็ได้ แต่อย่าให้เกินเวลาที่กำหนดไว้หรือว่าเกินเวลานิดหน่อยก็ไม่เป็นไร แต่ถ้ามากไปก็ไม่สมควรอย่างยิ่ง จะทำให้เกินความพอดี

เมื่อถึงเวลาที่จะต้องพูดในการให้เหตุผลต่างๆ ก็ควรพูดบ้างพอประมาณ มิใช่นิ่งเสียไปทุกเรื่องไม่ยอมพูดอะไร และจะต้องพูดด้วยวาจาสุภาพคือวาจางามที่ประกอบด้วยองค์ ๕ คือ
     ๑. พูดถูกกาลเทศะ
     ๒. พูดจริง
     ๓. พูดอ่อนหวาน
     ๔. พูดในสิ่งที่มีประโยชน์
     ๕. พูดด้วยจิตเมตตา


จาก : พุทธศาสนสุภาษิต เล่ม ๒ ฉบับมาตรฐาน (โรงพิมพ์เลี่ยงเชียง)
http://www.watpitch.com/buddhist-proverb-485.html
อ้างอิง : วิธุรชาดก พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๘  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๐ ขุททกนิกาย ชาดก ภาค ๒
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=28&A=5626&Z=6510
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ