ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ย้อนอ่าน! พบโครงสร้างปริศนา ใต้อาณาบริเวณ”นครวัด” เมื่อ ปี 58  (อ่าน 637 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28435
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0
ภาพนี้แสดงให้เห็นแนวโครงสร้างรูปสี่เหลี่ยมขดเป็นเกลียวทรงสี่เหลี่ยมด้านนอกคูน้ำของนครวัด (ภาพ-KhmerArchaeologyLidarConsortium-KALC)



ย้อนอ่าน! พบโครงสร้างปริศนา ใต้อาณาบริเวณ”นครวัด” เมื่อ ปี 58 ก่อนพบเมืองโบราณที่สาบสูญ

เป็นข่าวไปทั่วโลกเมื่อ ดร.ดาเมียน อีแวนส์ (Damian Evans) นักโบราณคดีชาวออสเตรเลีย เตรียมเผยรายงานการค้นพบเมืองโบราณ อายุราว 900-1,400 ปี หลายแห่งไม่ไกลจากนครวัด ที่ซุกซ่อนอยู่ใต้ผืนป่าของกัมพูชาและมิได้มีการบันทึกมาก่อน หลังทำการสำรวจด้วยเลเซอร์ทางอากาศ ในผืนป่าไม่ไกลจาก “นครวัด” โดยเป็นเมืองที่มีขนาดใหญ่พอๆ กับ “พนมเปญ” โดยเตรียมแถลงข่าวในวันนี้ (13 มิ.ย.59)

ย้อนไปเมื่อเดือนธันวาคม 2558 “มติชนออนไลน์” ได้เผยแพร่ข่าวเกี่ยวกับการค้นพบโครงสร้างปริศนาใต้อาณาบริเวณนครวัด ก่อนจะมีการค้นพบเพิ่มเติมตามข่าวล่าสุด โดยเนื้อหามีดังนี้
น่าทึ่ง! พบโครงสร้างปริศนา ใต้อาณาบริเวณ”นครวัด”

การสำรวจนครวัดและอาณาบริเวณโดยรอบครั้งล่าสุดด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่ ส่งผลให้มีการค้นพบหลายสิ่งหลายอย่างเพิ่มขึ้นอีกมากมาย รวมทั้งโครงสร้างปริศนา ที่นักโบราณคดียังไม่แน่ใจนักว่ามีขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์อะไร รวมทั้งซากสิ่งปลูกสร้างใต้ดินที่เชื่อว่าเคยเป็นหอสูงซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในกระบวนการก่อสร้างวิหารนครวัด


 :25: :25: :25: :25:

นครวัดเป็นวิหารฮินดูสร้างขึ้นในราวคริสต์ศตวรรษที่12โดยพระเจ้าสุริยะวรมันที่2โปรดฯให้สร้างขึ้นเพื่อถวายปฏิบัติบูชาแด่องค์วิษณุเทพ โครงสร้างหลักของนครวัดคือ วิหารกลางสูง 65 เมตร รายล้อมโดยรอบด้วยหอต่างๆ และกำแพงปิดล้อมหลายชั้น ผังการก่อสร้างเป็นการสื่อถึง “เขาพระสุเมร” ที่มี “ทะเลกษีรธารา” (ทะเลน้ำนม) รายล้อมอยู่โดยรอบตามคติฮินดู

การค้นพบใหม่นี้เผยแพร่ผ่านข้อเขียนของ โรลันด์ แฟลทเชอร์ ศาสตราจารย์ด้านโบราณคดี ของมหาวิทยาลัยแห่งซิดนีย์ ประเทศออสเตรเลีย และดาเมียน อีแวนส์ นักวิจัยด้านโบราณคดีจาก เอกอล ฟรองเซส์ เด๊กตรีม ออคริยองต์ ซึ่งเผยแพร่ผ่านเว็บไซต์ของมหาวิทยาลัยซิดนีย์ และแอนติควิตี วารสารวิชาการด้านโบราณคดีประจำเดือนธันวาคมนี้

โครงสร้างขนาดใหญ่ ยาวถึงกว่า 1.5 กิโลเมตร กว้าง 600 เมตร ออกแบบวนขดเป็นเกลียวทรงสี่เหลี่ยม ดังกล่าวนี้ แฟลทเชอร์ระบุว่า ถือเป็นการค้นพบที่น่าทึ่งที่สุดที่เกี่ยวเนื่องกับนครวัดเท่าที่มีมาจนถึงเวลานี้ และยังไม่มีใครรู้แน่ชัดว่าโครงสร้างนี้ทำหน้าที่อะไร เนื่องจากไม่เคยมีการพบเจออะไรทำนองนี้มาก่อนในยุคอังกอเรียนที่ช่วยให้สามารถเทียบเคียงได้

 st12 st12 st12 st12

จากการตรวจสอบทั้งโครงสร้างปริศนานี้และซากหอสูงที่ค้นพบใหม่ ทีมวิจัยประเมินอายุของทั้งสองอย่างย้อนหลังกลับไปตั้งแต่เมื่อครั้งเริ่มมีการก่อสร้างนครวัดขึ้น

โครงสร้างเกลียวขดสี่เหลี่ยมดังกล่าวนี้ทีมนักโบราณคดีค้นพบโดยใช้”ไลดาร์”หรือเทคโนโลยีการสแกนพื้นดินด้วยเลเซอร์ซึ่งช่วยให้สามารถตรวจสอบพบโครงสร้างต่างๆที่อยู่ลึกลงไปใต้ผิวดินที่มีการเพาะปลูกและสิ่งปลูกสร้างสมัยใหม่ปิดทับอยู่

เมื่อมีการสำรวจภาคพื้นดินหลังการตรวจพบดังกล่าว ก็พบว่าโครงสร้างนี้สร้างขึ้นจากทรายก่อรูปเป็นเนินในลักษณะดังกล่าว เนินทรายดังกล่าวนี้ไม่มีชิ้นส่วนทางโบราณคดีปรากฏอยู่ และพบด้วยว่าโครงสร้างปริศนานี้ไม่ได้ใช้งานอยู่นานมากนัก อยู่ระหว่างราวตอนกลางเรื่อยมาจนถึงตอนปลายศตวรรษที่ 12 เท่านั้น และพบด้วยว่ามีแนวคลองสร้างขึ้นตัดขวางโครงสร้างนี้ คาดว่าจะถูกขุดขึ้นในราวตอนปลายศตวรรษที่ 12



ภาพแสดงที่ตั้งของซากหอ 8 หอบริเวณใกล้กับทางเข้าด้านตะวันตกของนครวัด ซึ่งเชื่อว่าเดิมเคยใช้เป็นวิหารชั่้วคราว (ภาพ-Till Sonnemann and image base courtesy of ETH Zurich)


นักวิจัยด้านโบราณคดีทั้งสองระบุว่า ยังไม่มีใครแน่ใจว่าโครงสร้างดังกล่าวถูกสร้างขึ้นเพื่อประโยชน์อะไร ข้อสันนิษฐานประการหนึ่งก็คือ โครงสร้างดังกล่าวถือแนวสวนซึ่งใช้สำหรับเพาะปลูกสิ่งที่ใช้ประกอบในพิธีกรรมของวิหารนครวัดและใช้สำหรับบริโภคในเวลานั้นทั้งสองยังตั้งข้อสังเกตด้วยว่ารูปแบบที่ขดวนเป็นเกลียวอย่างที่พบนั้นมีความเป็นไปได้ที่จะมีนัยสำคัญในเชิงจิตวิญญาณประการหนึ่ง

การค้นพบใหม่อีกอย่างที่เป็นผลมาจากการใช้เทคโนโลยีไลดาร์และการสำรวจด้วยการขุดค้นภาคพื้นดินก็คือซากของสิ่งปรักหักพังที่เชื่อว่าเป็นหอสูงรวม8หอซึ่งมีร่องรอยการรื้อทำลาย หอสูงเหล่านี้สร้างขึ้นจากหินทรายและศิลาแลงตั้งอยู่บริเวณด้านตะวันตกของนครวัด ข้างประตูทางเข้าที่ใช้สำหรับข้ามคูน้ำรอบวิหารนั่นเอง

ทีมวิจัยยังไม่สามารถระบุอายุของหอเหล่านี้ได้ชัดเจนแต่ดูเหมือนหอหลายๆหอในจำนวนนี้ถูกสร้างขึ้นระหว่างช่วงต้นจนถึงราวกลางศตวรรษที่12ซึ่งเป็นช่วงที่กำลังมีการก่อสร้างนครวัดจุดที่ตั้งของหอสูงบางส่วนรวมกันแล้วเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสเป็นกลุ่มๆ ราวกับถูกสร้างขึ้นเพื่อรองรับโครงสร้างอื่นที่อยู่เหนือขึ้นไป และหลายๆ หอถูกสร้างขึ้นก่อนหน้าที่จะมีการสร้างกำแพงพร้อมประตูทางเข้า


 :96: :96: :96: :96: :96:

นักโบราณคดีทั้งสองตั้งสมมุติฐานเอาไว้ว่าหอสูงต่างๆเหล่านี้น่าจะเป็นส่วนฐานรองรับวิหารชั่วคราวซึ่งถูกใช้งานในระหว่างที่การก่อสร้างวิหารนครวัดดำเนินอยู่ก่อนที่จะถูกรื้อทำลายในช่วงเวลาที่การก่อสร้างกำแพงวิหารและประตูทางเข้าด้านตะวันตกเริ่มต้นขึ้น

ไลดาร์ยังเปิดเผยให้เห็นความลับอีกหลายๆอย่างของนครวัดอย่างเช่นกลุ่มบ้านเรือนและสระที่เชื่อว่าเป็นที่อยู่ของคนที่ทำหน้าที่รับใช้ในวิหารนอกจากนั้นยังพบว่า ในตอนปลายของประวัติศาสตร์นครวัด เมื่อวิหารแห่งนี้ถูกปรับเปลี่ยนให้เป็นศาสนสถานเพื่อรองรับพิธีกรรมทางพุทธศาสนาแทนที่จะเป็นฮินดู และมีการก่อสร้างป้อมค่ายสำหรับใช้ทางด้านการทหารด้วยโครงสร้างไม้เพื่อปกป้องวิหารแห่งนี้

แฟลทเชอร์ระบุว่าป้อมค่ายดังกล่าวถือเป็นการก่อสร้างใหญ่ครั้งสุดท้ายที่นครวัดและอาจเป็นสิ่งบ่งชี้ถึงจุดจบของยุคนครวัดในที่สุด



ปราสาทนครวัด


ขอบคุณภาพและบทความจาก
http://www.matichon.co.th/news/172111
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ