ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ยุทธการผ้าซิ่น  (อ่าน 635 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28439
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
ยุทธการผ้าซิ่น
« เมื่อ: มิถุนายน 14, 2016, 11:40:52 am »
0



ยุทธการผ้าซิ่น

ข้อมูลทางตำนาน และคำบอกเล่า ยืนยันว่า คนไทลื้อ ราษฎรอาณาจักรเชียงรุ่งนั้น มิใช่เจ้าถิ่นหรือคนพื้นเมืองของสิบสองปันนา มาก่อน ประวัติศาสตร์สิบสองปันนา จากตำนานและนิทานพื้นบ้าน (ศ.ยรรยง จิระนคร ดร.รัตนาพร เศรษฐกุล มูลนิธิวิถีทรรศน์ พ.ศ.2542)

ตำนานปฐมกัลป์ พรหมสร้างโลก เป็นเอกสารเนื้อร้องคำขับอักษรไทลื้อ เริ่มจากกำเนิดฟ้าดินถึงไฟไหม้โลก คนออกจากน้ำเต้าหาพันธุ์ข้าว กำหนดวันเดือนปีแบ่งฤดูกาล จนถึงคำขับบท ย้ายบ้านย้ายเมือง เล่าว่า...ชาวลื้อเดิมตั้งหลักแหล่งอยู่ที่เมืองลื้อหลวง (มณฑลกุ้ยโจว) เกิดโรคห่าระบาด คนและสัตว์เลี้ยงตาย

ย่าคำแดง ได้นำพาชาวลื้อจำนวนหนึ่งแสนอพยพลงใต้ ผ่านแถบป่าหนาวไปสู่แถบป่าร้อน มีขุนเขาร่วมแสนลูก ผ่านทุ่งราบร่วมสามพัน ใช้เวลาเดินทาง 2 ปี ในที่สุดก็ถึงลุ่มน้ำโขง จึงเริ่มตั้งถิ่นฐาน แผ่นดินเมืองลื้อใหม่ หรือต่อมาก็คืออาณาจักรเชียงรุ่ง เดิมทีเป็นแว่นแคว้นสามสิบสองขอนหมอนม้า คนของแคว้นนี้ชาวลื้อเรียกเขาว่า “ม่อน” (เผ่าปลัง จีนเรียก ปู้หลาง) ซึ่งหมายถึงชาวเขาชาวดอย มีนิสัยดุร้ายป่าเถื่อน

แคว้นสามสิบสองขอนหมอนม้า มีเมืองหลวงชื่อขอนมาง หรือเมืองคาน ตั้งอยู่ฟากตะวันออกแม่น้ำโขงระหว่างเมืองยางและเมืองเชียงเหนือปัจจุบันป ระมุขแคว้น เรียกกันว่าเจ้าฟ้าสี่ตา เล่าลือกันว่า นอกจากมีอีกสองตาด้านหลังศีรษะ แล้วยังมีหูทิพย์มีขุนพลที่เชี่ยวชาญการรบ 6 คน ที่ขึ้นชื่อลือชาสองคน เจ้าพูอุ่น เจ้าพูวาด


 :96: :96: :96: :96: :96:

แคว้นสามสิบสองขอนหมอนม้า แบ่งการปกครองเป็น 32 ขอนส่วนใหญ่อยู่แถบภูเขาของเมืองยางเมืองเชียงเหนือ และเมืองบ่าง ฟากตะวันออกของแม่น้ำโขง ส่วนน้อยอยู่แถวเชียงรุ่ง เมืองฮาย เมืองแซ่ เมืองลวง เมืองสูง ฟากตะวันตกของแม่น้ำโขง

ชาวลื้อมาทีหลัง เมื่อเริ่มตั้งหลักแหล่ง ก็ต้องรบกับพวกข้าสี่แสนหมอนม้า ภายใต้การนำของ 6 ขุนพลคนเก่ง แต่ก็สู้ไม่ไหว เพราะประมุขของพวกข้าสี่แสนหมอนม้า คือเจ้าฟ้าสี่ตา มีตาทิพย์มองไปได้ไกลมีหูทิพย์รู้ความเคลื่อนไหวทุกอย่าง

ผู้นำไทลื้อ (เดาว่า น่าจะเป็นผู้หญิง สืบทอดอำนาจมาตั้งแต่รุ่นย่าคำแดง) วางแผนเลือกสาวงามไทลื้อ ไปรับใช้ และสุดท้าย ก็ได้เป็นนางเมืองเจ้าฟ้าสี่ตา เมื่อได้โอกาสนางเมืองก็ใช้ผ้าซิ่นเก่าเย็บเป็นหมวก ให้เจ้าฟ้าสี่ตาสวมใส่ แล้วก็ใช้ผ้าซิ่นเก่าเย็บเป็นผ้าเช็ดหน้า

 :96: :96: :96: :96: :96:

อิทธิฤทธิ์ของผ้าซิ่นเก่า ทำให้เจ้าฟ้าสี่ตา เริ่มเวียนศีรษะ และไม่ช้า สองตาด้านหลังก็ร่วงหล่น อภินิหารและความขลังที่เคยมีคุ้มกันตัว...ก็หมดไป

ผู้นำไทลื้อ เริ่มแผนสอง ให้พ่อหมอทำพิธีบวงสรวงแทงควายเผือก เซ่นไหว้แด่เจ้าฟ้าสี่ตา ชาวไทลื้อ มีความเชื่อดั้งเดิมว่า เจ้าเรือนตาย กลายเป็นผีเรือนเจ้าบ้านตาย เป็นผีบ้าน เจ้าเมืองตาย เป็นเสื้อเมือง ด้วยความเชื่อนี้ ผู้นำไทลื้อ พร้อมใจกันยกให้เจ้าฟ้าสี่ตาเป็นพระเสื้อเมือง เมืองคาน และจะเลี้ยงสังเวยด้วยควายเผือกทุกปี เสร็จพิธีบวงสรวง เจ้าฟ้าสี่ตาก็ตาย

บรรดาข้าสี่แสนหมอนม้าตกใจแตกตื่นหนีข้ามแม่น้ำโขงไปสู่เมืองยอง ไทลื้อก็ลงหลักปักฐาน สร้างเมืองไทลื้อใหม่...รุ่งเรืองเฟื่องฟูเป็นอาณาจักรเชียงรุ่ง อีกหลายร้อยปี


 ans1 ans1 ans1 ans1 ans1

ผมชอบยุทธการผ้าซิ่นของคนไทลื้อ เอาชนะข้าศึกได้โดยไม่ต้องเสียเลือดเสียเนื้อ แต่โบราณนานมา เรื่องของข้าศึกนั้น ไม่ว่าจะเป็นพวกบู๊บ้าดีเดือด หรือพวกหมอผี ไม่จำเป็นต้องใช้ไม้แข็ง ส่งโดรนบินไปดูลาดเลา เตรียมส่งรถถังลุย หรือใช้ ฮ.รบชิงตัว ลองใช้ไม้อ่อนๆ อย่างยุทธการผ้าซิ่นดูก็น่าจะได้ผลกว่า ยิ่งเป็นพวกจอมคาถา รายไหนก็รายนั้น ผมเห็นมานักต่อนัก เสร็จผ้าซิ่นทุกราย ไม่เชื่อก็ลอง.

        กิเลน ประลองเชิง



คอลัมน์ ชักธงรบโดย กิเลน ประลองเชิง 8 มิ.ย. 2559 05:01
http://www.thairath.co.th/content/633611
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ