ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: การเห็นว่า เป็นอนิจจัง ควรเริ่มอย่างไรในการภาวนา ครับ ^_^  (อ่าน 6764 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

อัจฉริยะ

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +2/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 123
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
การเห็นว่า เป็นอนิจจัง ควรเริ่มอย่างไรในการภาวนา ครับ ?

   เรียนถามชาวธรรม ทุกท่านนะครับ ว่าการมองเห็นอนิจจัง มีหลักการภาวนาปฏิบัติอย่างไร ในการมองเห็นอนิจจัง หรือเข้าใจเห็นแจ้ง อนิจจัง เกี่ยวกับสิ่งนี้มีวิธีการปฏิบัติอย่างไรครับ

   :c017: :s_hi:
บันทึกการเข้า

arlogo

  • 1.บรรพชิต
  • โยคาวจรผล
  • *
  • ผลบุญ: +101/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 1176
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0

     พระสุตตันตปิฏก  ทีฆนิกาย  มหาวรรค  [๓.  มหาปรินิพพานสูตร]
      ภิกขุอปริหานิยธรรม เล่มที่ ๑๐ หน้า ๘๖
 [๑๔๐]    ภิกษุทั้งหลาย    เราจะแสดงอปริหานิยธรรม    ๗    ประการอีกหมวดหนึ่งแก่เธอทั้งหลาย    เธอทั้งหลายจงฟัง    จงใส่ใจให้ดี    เราจักกล่าว”    ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว    พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสดังนี้ว่า
            “ภิกษุทั้งหลาย  ๑.  ภิกษุพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว    ไม่มีความเสื่อมเลยตราบเท่าที่ภิกษุยังเจริญอนิจจสัญญา    (กำหนดหมายความไม่  เที่ยงแห่งสังขาร)





พระสุตตันตปิฎก  ทีฆนิกาย  ปาฎิกวรรค  [๑๐.  สังคีติสูตร]
 สังคีติหมวด  ๕ เล่มที่ ๑๑ หน้าที่ ๓๑๔

  สัญญาที่ควรเจริญเพื่อวิมุตติ๑ ๕
    ๑.  อนิจจสัญญา   
        (กำหนดหมายความไม่เที่ยงแห่งสังขาร)
    ๒.  อนิจเจ    ทุกขสัญญา   
        (กำหนดหมายความเป็นทุกข์ในความไม่เที่ยงแห่งสังขาร)
    ๓. ทุกเข    อนัตตสัญญา
        (กำหนดหมายความเป็นอนัตตาในความเป็นทุกข์)
    ๔. ปหานสัญญา
       (กำหนดหมายเพื่อละอกุศลวิตกและบาปธรรมทั้งหลาย)
    ๕. วิราคสัญญา
        (กำหนดหมายวิราคะเป็นธรรมละเอียดประณีต)




บันทึกการเข้า
แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแต่เรา ปัญญาเกิดขึ้นแล้วแต่เรา วิชชาเกิดขึ้นแล้วแต่เรา

arlogo

  • 1.บรรพชิต
  • โยคาวจรผล
  • *
  • ผลบุญ: +101/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 1176
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
      พระสุตตันตปิฎก  สังยุตตนิกาย  ขันธวารวรรค  [๑.ขันธสังยุต]
           มัชฌิมปัณณาสก์  ๕.  ปุปผวรรค  ๑๐.  อนิจจสัญญาสูตร
      พระไตรปิฏก เล่มที่ ๑๗ หน้าที่ ๑๔๕  ถึง  ๑๔๗

               ๑๐. อนิจจสัญญาสูตร
               ว่าด้วยอนิจจสัญญา
            [๑๐๒]    เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
            พระผู้มีพระภาคตรัสว่า    “ภิกษุทั้งหลาย    อนิจจสัญญา    (ความหมายรู้ว่าไม่เที่ยง)    ที่บุคคลเจริญ    ทำให้มากแล้ว    ย่อมครอบงำกามราคะ    (ความติดใจในกามคุณ)    รูปราคะ    (ความติดใจในรูปธรรม)    ภวราคะ    (ความติดใจในภพ)    และอวิชชา(ความไม่รู้จริง)    ทั้งปวงได้    ถอนอัสมิมานะ    (ความถือตัวว่าเป็นเรา)    ทั้งปวงได้
 
           ในสารทฤดู    ชาวนาเมื่อไถนาด้วยไถคันใหญ่    ย่อมไถทำลายราก    (หญ้า)    ที่เกี่ยวเนื่องทุกชนิด    แม้ฉันใด    อนิจจสัญญาที่บุคคลเจริญ    ทำให้มากแล้ว    ก็ฉันนั้นเหมือนกัน    ย่อมครอบงำกามราคะ    รูปราคะ    ภวราคะ    และอวิชชาทั้งปวงได้ถอนอัสมิมานะทั้งปวงได้

        คนเกี่ยวหญ้ามุงกระต่าย    เกี่ยวเสร็จแล้ว    จับปลาย    เขย่า    ฟาด    สลัดออกแม้ฉันใด    อนิจจสัญญาที่บุคคลเจริญ    ทำให้มากแล้ว    ก็ฉันนั้นเหมือนกัน    ฯลฯถอนอัสมิมานะทั้งปวงได้
 
           เมื่อพวงมะม่วงขาดจากขั้ว    บรรดามะม่วงเหล่านั้น    มะม่วงที่ยังติดอยู่ที่ขั้วทั้งหมดก็หลุดไปตามพวงมะม่วงนั้น    แม้ฉันใด    อนิจจสัญญาที่บุคคลเจริญ    ทำให้มากแล้ว    ก็ฉันนั้นเหมือนกัน    ฯลฯ    ถอนอัสมิมานะทั้งปวงได้

            กลอนของเรือนยอดทั้งหมดทอดไปถึงยอด    รวมลงที่ยอด    ยอดเรือนชาวโลกกล่าวว่าเลิศกว่ากลอนเหล่านั้น    แม้ฉันใด    อนิจจสัญญาที่บุคคลเจริญ    ทำให้มากแล้วก็ฉันนั้นเหมือนกัน    ฯลฯ    ถอนอัสมิมานะทั้งปวงได้

            กลิ่นหอมที่เกิดจากรากชนิดใดชนิดหนึ่ง    กฤษณาชาวโลกกล่าวว่าเลิศกว่ากลิ่นหอมที่เกิดจากรากเหล่านั้น    แม้ฉันใด    อนิจจสัญญาที่บุคคลเจริญ    ทำให้มากแล้ว    ก็ฉันนั้นเหมือนกัน    ฯลฯ    ถอนอัสมิมานะทั้งปวงได้

            กลิ่นหอมที่เกิดจากแก่นชนิดใดชนิดหนึ่ง    จันทน์แดงชาวโลกกล่าวว่าเลิศกว่ากลิ่นหอมที่เกิดจากแก่นเหล่านั้น    แม้ฉันใด    อนิจจสัญญาที่บุคคลเจริญ    ทำให้มากแล้ว    ก็ฉันนั้นเหมือนกัน    ฯลฯ    ถอนอัสมิมานะทั้งปวงได้
 
           กลิ่นหอมที่เกิดจากดอกชนิดใดชนิดหนึ่ง    ดอกมะลิชาวโลกกล่าวว่าเลิศกว่ากลิ่นหอมที่เกิดจากดอกเหล่านั้น    แม้ฉันใด    อนิจจสัญญาที่บุคคลเจริญ    ทำให้มากแล้ว    ก็ฉันนั้นเหมือนกัน    ฯลฯ    ถอนอัสมิมานะทั้งปวงได้
 
           พระราชาผู้มีอำนาจน้อยทั้งปวง    ย่อมคล้อยตามพระเจ้าจักรพรรดิ    พระเจ้าจักรพรรดิชาวโลกกล่าวว่าเลิศกว่าพระราชาผู้มีอำนาจน้อยเหล่านั้น    แม้ฉันใดอนิจจสัญญาที่บุคคลเจริญ    ทำให้มากแล้ว    ก็ฉันนั้นเหมือนกัน    ฯลฯ    ถอนอัสมิ-มานะทั้งปวงได้
 
           แสงสว่างของดวงดาวทั้งหมด    ไม่ถึงเสี้ยวที่    ๑๖    แห่งแสงสว่างของดวงจันทร์แสงสว่างของดวงจันทร์ชาวโลกกล่าวว่าเลิศกว่าแสงสว่างของดวงดาวเหล่านั้น    แม้ฉันใด    อนิจจสัญญาที่บุคคลเจริญ    ทำให้มากแล้ว    ก็ฉันนั้นเหมือนกัน    ฯลฯถอนอัสมิมานะทั้งปวงได้
 
           ในสารทฤดู    เมื่อฝนขาดหาย    ปราศจากเมฆ    ดวงอาทิตย์อุทัยขึ้นสู่ท้องฟ้ากำจัดความมืดที่มีอยู่ในอากาศทั้งหมด    ย่อมส่องแสง    แผดแสง    และแจ่มกระจ่างแม้ฉันใด    อนิจจสัญญาที่บุคคลเจริญ    ทำให้มากแล้ว    ก็ฉันนั้นเหมือนกัน    ย่อมครอบงำกามราคะ    รูปราคะ    ภวราคะ    และอวิชชาทั้งปวงได้    ถอนอัสมิมานะทั้งปวงได้
 
           อนิจจสัญญาที่บุคคลเจริญ    ทำให้มากแล้วอย่างไร    จึงครอบงำกามราคะทั้งปวงได้    ฯลฯ    ถอนอัสมิมานะทั้งปวงได้
 
           คือ    อนิจจสัญญาที่บุคคลเจริญ    ทำให้มากแล้วอย่างนี้ว่า   
           ‘รูปเป็นดังนี้ความเกิดขึ้นแห่งรูปเป็นดังนี้    ความดับแห่งรูปเป็นดังนี้   
           เวทนาเป็นดังนี้  ความเกิดขึ้นแห่งเวทนเป็นดังนี้    ความดับแห่งเวทนาเป็นดังนี้
           สัญญาเป็นดังนี้ ความเกิดขึ้นแห่งสัญญาเป็นดังนี้    ความดับแห่งสัญญาเป็นดังนี้
           สังขารเป็นดังนี้  ความเกิดขึ้นแห่งสังขารเป็นดังนี้    ความดับแห่งสังขารเป็นดังนี้
           วิญญาณเป็นดังนี้    ความเกิดขึ้นแห่งวิญญาณเป็นดังนี้ความดับแห่งวิญญาณเป็นดังนี้
 
           ภิกษุทั้งหลาย    อนิจจสัญญาที่บุคคลเจริญ    ทำให้มากแล้วอย่างนี้แล    ย่อมครอบงำกามราคะ    รูปราคะ    ภวราคะ    และอวิชชาทั้งปวงได้    ถอนอัสมิมานะทั้งปวงได้”
 
              อนิจจสัญญาสูตรที่ ๑๐ จบ

บันทึกการเข้า
แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแต่เรา ปัญญาเกิดขึ้นแล้วแต่เรา วิชชาเกิดขึ้นแล้วแต่เรา

lamai54

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 138
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
   อยากได้วิธีการปฏิบัติ สำหรับ อนิจจสัญญา คะ คืออ่านพระสูตรแล้วยังไม่ค่อยจะเข้าใจคะ เพื่อน ๆ ท่านใด ช่วยขยายวิธีการปฎิบัติ ได้หรือไม่คะ
  :c017:
บันทึกการเข้า
แข่งขันในโครงการ yamaha นะฮะ อย่าเข้าใจว่าเป็นพวกเสื้อแดง.... เราไม่ใช่....

PRAMOTE(aaaa)

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 3598
  • ความศรัทธาคือเชื่อเรื่องการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
เอาตําราแบบง่ายๆนะ ยกของครูอาจารย์มา คร่าวๆ
      เอาขั้นกาย ก็แล้วกัน เป็นการกําหนด อิริยาบท ง่ายๆก็แล้วกัน เอายืน เดิน นั่ง นอน ตามที่เราเป็น
           กําหนดเป็น เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป-อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
         คําถาม อนิจจัง แปลว่า ความไม่เที่ยง ไม่คงทน เปลียนแปลง แปรปรวน ไม่คงที่ ไม่คงทน ทนอยู่ไม่ได้
                คราวนี้มารู้จักรูป และนามกันก่อน ปฏิบัติธรรม รู้จัก รูป-นามกันบ้างหรือยัง
เริ่มเลยนะ
              เมื่อเรา        ยืน    ให้รู้อย่างนี้ว่า  ท่ายืน เป็น รูป ความรู้สึกว่าเรายืนอยู่ เป็นนาม
          ตรงนี้อธิบายเพิ่มให้รู้จักรูป-นาม กันก่อน
 ...............ต่อไปกําหนด อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา แปล ก็คือ เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป
                  ถ้าเรายืนอยู่ ก็กําหนดว่า ยืนเกิดขึ้น ยืนตั้งอยู่ ยืนดับไป
                         เปลี่ยนท่าเป็นเดิน                                เดินเกิดขึน เดินตั้งอยู่ เดินดับไป
                        คราวนี้นั่ง                                 นั่งเกิดขึ้น นั่งตั้งอยู่ นั่งดับไป
เราสามารถเปลียนอิริยาบทไป นอน กิน ดืม เคี้ยว กลืน มีทั้งอิริยาบทใหญ่ และ อิริยาบทย่อย
 ใหญ่ -ยืน เดิน นั่ง นอน
 ย่อย-มีมากเลย เอาแค่ใหญ่ ไม่ให้หลงก็พอ ไม่ผิดก็พอ ไม่ขาดก็พอ
              จะสามารถเล็งเห็นว่า รูปของเรา เป็นอนิจจัง ไม่เที่ยง แปลสภาพ อยู่ตลอดเวลา
    ส่วนการกําหนดเวทนา ก็ทําแบบนี้เช่นกัน แต่เปลียนรูปเป็น นามกาย รูปรัศมี คือ สุขทุกข์ ไม่สุขไม่ทุกข์ (เฉย)
       แต่ว่าการเเห็นแบบนี้เป็นการกําหนด หรือเราสร้างให้เกิด ยังมีสังขตะ
      และไม่ใช่เห็นด้วยอารมณ์ เหมือนที่ได้จาก ภาวนามัย
    หากได้สมาธิอัน ประกอบด้วย สมถะ วิปัสสนา แล้วก็จะเป็นการเห็นคนละอย่าง
    เห็นแบบกําหนด กับเห็นตามความเป็นจริง ก็คงไม่เหมือนกัน
          คร่าวๆพอหอมปากหอมคอ
           

             
บันทึกการเข้า
การมีกัลยาณมิตร ครูบาอาจารย์ ที่สั่งสอนธรรม เป็นเรื่องที่ดี
..เชื่อเรื่องการตรัสรู้ธรรม ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
...และเชื่อในพระธรรมที่เป็นตัวแทนของพระศาสดา

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
หลักในการเจริญ อนิจจสัญญา นั้น หากท่านทั้งหลายได้อ่านกันมาตามที่ได้ยกพระสูตร ก็เพื่อให้ท่านทั้งหลายได้มั่นใจ ในการภาวนานี้ตรงตามพระสูตร ซึ่งเป็นพระดำรัสกันของพระพุทธเจ้าก่อน ดังนั้นเมื่อท่านทั้งหลายได้อ่านกันมาแล้ว จะได้เพิ่มเติม และสรุปเนื้อหาในเบื้องต้นนี้ก่อน

คำถามที่ 1 ทำไมต้องเจริญภาวนา อนิจจสัญญา

     ตอบ เพราะอัสสมิมานะ ของแต่ละคน ที่มีอยู่นั้นเป็นเครี่องขวางคุณธรรมในการทำใจให้อ่อนโยน ความถือดี ความยะโส ความเย่อหยิ่ง ความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ มลทินอื่น ๆ ที่มีจากมานะ นั้นเป็นเครื่องขวางธรรมอย่างรุนแรง ดังนั้นเพื่อได้ทำลาย อัสสมิมานะ ที่มีอยู่ พระพุทธเจ้าทรงตรัสแสดง ธรรมหลายประการ ในชื่อที่เรียกว่า อนิจจสัญญา
 
 คำถามที่ 2 อนิจจสัญญา คือ อะไร


      ตอบ อนิจจสัญญา คือ การกำหนดสติ ทิฏฐิ หมายรู้ให้จำได้ว่า ทุกสิ่งทุกอย่าง สัตว์บุรุษบุคคล ทั้งหลายทั้งปวง ไม่เที่ยง มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา

 คำถามที่ 3 กำหนดอนิจจสัญญา และ จะได้คุณธรรมอะไร ?

      ตอบ เมื่อท่านทั้งหลาย กำหนดอนิจจสัญญาได้ ท่านจะได้คุณธรรม โดยตรงคือ ละ อัสสมิมานะ ได้ตามเป้าหมาย สนับสนุนวิปัสสนา คือการเข้าไปเห็นตามความเป็นจริงส่วนที่สอง คือ ทุกขัง เมื่อท่านกำหนด ความไม่เที่ยง ก็จะหนด ทุกขัง ได้

   
  คำถามที่ 4 ทุกขังในที่นี้ คือ อะไร

     ตอบ ทุกขัง ในที่นี้ หมายถึง ทุกข์ในพระไตรลักษณะ เท่านั้น มิได้ไม่ได้ถึงความไม่สบายกาย ไม่สบายใจ แต่หมายถึง สภาพที่ทนอยู่อย่างนั้นไม่ได้ สิ่งใดก็ตาม มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา สิ่งนั้นล้วนมีความทนอยู่ไม่ได้ คือ คงอยู่อย่างนั้นไม่ เรียกว่า มีความดับไปเป็น ธรรมดา ดังนั้นเมื่อท่านทั้งหลายเจริญ อนิจจสัญญา กันมา ก็จะได้คุณธรรม ส่วนนี้ด้วยจัดเป็นรากฐาน ของวิปัสสนาที่มีมาช้านาน ก่อนจะมีพระพุทธเจ้า ซึ่งบรรดาลัทธิทั้งหลาย ก็สอนกันในส่วนนี้ คือสอนให้เห็นว่า ไม่เที่ยง มีความแปรปรวน และ คงอยู่ไม่ได้ ตราบเท่าจนพระพุทธเจ้ามาอุบัติในโลกนี้ ธรรมสองประการนี้นับเนื่องว่าเป็นพื้นฐาน ในการศึกษาธรรมเพื่อไปสู่ อนัตตลักษณะ

    ดังนั้นการเห็น ความเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป จัดเป็นส่วนของการมองเห็น และรู้แจ้งในส่วนของ อนิจจัง และ ทุกขัง เท่านั้นหามิได้เกี่ยวข้องกับการเข้าถึงอนัตตลักษณะ

   ดังนั้นใครเข้าใจสองส่วนนี้ จัดว่าได้ดวงตาเห็นธรรมเบื้องต้น แต่ก็ยังละกิเลสไม่ได้ เพราะยังมีกิเลส อีก 7 ส่วนที่ร้อยรัดมนุษย์อยู่

   ถึงท่านเข้าใจไม่เที่ยง เป็นทุกข์ คงอยู่ไม่ได้ มีความเกิดขึ้น เสื่อมไป เป้นธรรมดาจิตของท่านก็ยังไม่สามารถดับกิเลสได้ นะจ๊ะ

    คำถามที่ 5 วิธีเจริญอนิจจสัญญา ทำอย่างไร
   มาถึงเนื้อเรื่องสำคัญ กับวิธีการกำหนด อนิจจสัญญา
   
   ตอบ
   การกำหนดอนิจจสัญญา นี้ส่วนนี้จะแนะนำในส่วนวิปัสสนาพื้นฐาน
   วิธีการ คือ การกำหนดรู้เท่าทัน รูป คือ มหาภูตรูป 4 ว่าไม่เที่ยง
               การกำหนดรู้เท่าทัน เวทนา คือ สุข ทุกข์ กลาง ๆ  ว่าไม่เที่ยง
               การกำหนดรู้เท่าทัน สัญญา คือ ความจำได้ ว่าไม่เที่ยง
               การกำหนดรู้เท่าทัน สังขาร คือ ความคิด ว่าไม่เที่ยง
               การกำหนดรู้เท่าทัน วิญญาณ คือ ความรับรู้ ว่าไม่เที่ยง
     
    คำถามที่ 6 กำหนดอย่างว่าไม่เที่ยง กำหนดตอนไหน กำหนดอะไรก่อน
 
       ตอบ กำหนดในขันธ์ 5 ว่าไม่เที่ยง กำหนดได้ทุกขณะที่มีสติ กำหนดอะไรก่อนก็ได้ตามสภาวะที่มีสติ นึกได้ หมายรู้

    คำถามที่ 7 ถ้าในสมถะกำหนดอย่างไร ในกรรมฐานกำหนดอย่างไร
     
       ตอบ โดยปกติในส่วนสมถะจะยังไม่ให้กำหนดในห้องพระพุทธคุณ 3 ห้องนั้นให้เว้นจากวิปัสสนา เพื่อให้จิตเป็นสมาธิ แต่จะให้กำหนดใน ห้องที่สี่ คือ พระอานาปานสติ ตั้งแต่ สโตริกาญาณที่ 3 ขึ้นไป ตรงส่วนนั้นจะเริ่มใช้ อุปาทายรูป แทน รูป เพราะผู้ฝึกกรรมฐานจะเข้าใจส่วน ธาตุ มนะธาตุ มนายตะธาตุ หทัยรูป อุปาทายรูป ดังนั้นในส่วนสมถะจะยังไม่สอนสำหรับที่ยังสอบไม่ผ่านสามห้อง หรือยังไม่ได้ขึ้นพระอานาปานสติ เพราะหากสอนท่านไป ก็จะทำให้เกิด วิปัสนูกิเลส เรียกว่า ญานัง ( รู้มากรู้เกิน )

           

   
[/size][/color][/b]
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กรกฎาคม 27, 2012, 04:10:19 pm โดย arlogo »
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
คำถามที่ 8 การกำหนดอนิจจัง อย่างง่าย ๆ มีหรือไม่ที่เข้าใจได้ง่าย อยากทำเป็นแบบสมถะด้วยวิปัสสนาด้วย ขอแบบง่าย ๆ นะครับ ( ตอบให้ด่วนเลยนะ )

 ตอบ ก็ตอบให้เลยนะ วิธิการปฏิบัติ เอาแบบง่ายทีสุดเลยนะจ๊ะ
   1.ให้นำเทียนมาเล่มหนึ่ง ให้นั่งมองเทียน ใช่เล่มเล็กก็พอ จุดตั้งไว้ด้านหน้า ในขณะมองนั้นก็รวมสติไปที่เทียนแล้วภาวนาว่า รูปเทียนนี้ไม่เที่ยง   รูปเทียนนี้ไม่เที่ยง   รูปเทียนนี้ไม่เที่ยง 
   เอาเท่านี้ก็พอ นะ

  ;)
   
 
 
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กรกฎาคม 27, 2012, 04:24:13 pm โดย ธัมมะวังโส »
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

kobyamkala

  • โยคาวจรผล
  • ******
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 2236
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
อนุโมทนา คะ พระอาจารย์ตอบไวมากคะ ขอบพระคุณมากคะ
 :25: :25: :25: :c017:
บันทึกการเข้า
แล้วลองแอบมาแย้มกะลา
เพื่อดูโลก เห็นแล้วตกใจโลกนี้กว้างใหญ่จริง ๆ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
ท่านที่ เมลมาถาม เรื่องการภาวนา อนิจจสัญญา ขอให้ทบทวนหัวข้อนี้กันด้วยนะจ๊ะ
ท่านที่ยังมี อัสสมิมานะ อยู่ก็ขอให้ทบทวนด้วย

   เป้าหมายให้เห็น

  สิ่งใดสิ่งหนึ่ง มีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา

  สิ่งนั้นล้วนมีความดับไปเป้นธรรมดา

   ท่านทั้งหลายรู้อย่างนี้จะภาวนาต่อไปได้ในขั้นที่สูง ขึ้นคือการสละละกิเลสซึ่งมีความสำคัญมาก

 เจริญพร

   ;)
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ