ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ธรรมะ ๕ ประการ ในการรับมือกับ 'ความพลัดพราก' : วิปัสสนาบนหน้าข่าว  (อ่าน 1670 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28366
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0

ธรรมะ ๕ ประการ ในการรับมือกับ 'ความพลัดพราก' : วิปัสสนาบนหน้าข่าว
โดยพิสุทธิ์ เกรียงบูรพา เรื่อง ศูนย์ภาพ เนชั่น ภาพ

และแล้ว เวลาที่คุณแม่ของ “พี่ต้น” เพื่อนสนิทคนหนึ่งของผู้เขียน ต้องจากโลกนี้ไปในวัย ๗๙ ปี อันเป็นการแสดงบทบาทของธรรมชาติที่ยิ่งใหญ่ เกินใครจะไปเบี่ยงเบนหรือเลี่ยงหลบได้ แต่เพื่อนผมกลับทำใจไม่ได้อยู่พักหนึ่ง ถึงกับปรารภกับผมว่า ...พี่นั้นร้องไห้จนไม่เหลือน้ำตาจะร้องแล้ว ... แล้วยังพูดตัดพ้อกับผมอีก  "พี่อยากจะตายก่อนคุณแม่จริงๆ เลย"

อาการของความโศกเศร้า อาลัย ทุกข์ใจเช่นนี้ คืออาการของ “ความพลัดพราก”

ทำให้ผมย้อนนึกไปถึงตอนเสียคุณแม่ยาย ซึ่งท่านถูกทะเลซัดจมน้ำเสียชีวิตที่หัวหินในวัย ๖๙ ปี ในวันที่พวกเรากำลังรวมญาติกันทั้งหมด ๑๗ คนต่อหน้าต่อตาคนที่รักท่านทุกคน ณ นาทีสุดท้ายในห้องไอซียู เมื่อรู้ว่าคุณแม่ตายแล้ว มี ๒ คนเกิดควบคุมความโศกเศร้าไม่ได้ คล้ายคนสติแตก หนึ่งในนั้นคือ “ภรรยา” ของผมเอง เธอเอาแต่เพ้อพร่ำรำพัน ซ้ำไปวนมาในห้องดับจิตว่า...
         ใครก็ได้ ช่วยทำอะไรหน่อยๆๆๆ...
         นี่คืออาการของคนเมื่อเกิด “ความพลัดพราก”

 :25: :25: :25: :25:

วันนั้น บังเอิญผู้เขียนได้ดู ซีรีส์ "พระพุทธเจ้า มหาศาสดาโลก" ซึ่งเป็นภาพยนตร์ที่ทรงคุณค่ามากๆ ถึงตอนสำคัญพอดี ตอนที่เจ้าชายสิทธัตถะกำลังเสด็จออกบวช...

บทสนทนาหนึ่ง ระหว่างเจ้าชายสิทธัตถะ กับ นายฉันนะ มีความว่า...
 
ฉันนะ : พระองค์ให้กระหม่อมกลับวัง แล้วจะทูลปลอบใจพระราชา (พระเจ้าสุทโธทนะ ราชบิดา) ว่ายังไง แม้แต่กระหม่อมเองยังไม่อาจหยุดร้องไห้ได้เลย  แล้วจะให้ทูลองค์หญิงยโสธรา อย่างไรว่า ทำไมกลับมาคนเดียว ทั้งๆ ที่พระนางรับสั่งให้อยู่กับเจ้าชายตลอดเวลา
 
สิทธัตถะ : ฉันนะ. แค่ให้บอกพวกเขาว่า...ความพลัดพรากเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต!

พวกเรามีธรรมะของพระพุทธเจ้ากันอยู่บ้าง ไม่มากก็น้อย ไม่ว่าจะเป็นการตายจากกัน หรือ การจากกันไปไกลก็ตาม ช่วงเวลาแห่ง “ความพลัดพราก” นี้แหละครับ ที่เราจะต้องตั้ง “สติ” ให้ดีๆ แล้วนำ “ปัญญา” (ธรรมาวุธ) มาใช้ให้ทันท่วงที จะร้องไห้ก็ได้ แต่เอาแค่พอดี ตัดพ้อบ้างก็พอไหว ให้ได้ระบาย แต่ต้องไม่ทิ้งธรรม ธรรมประการแรกที่ใช้รับมือกับความพลัดพรากก็คือ...เห็นมันเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต


 st12 st12 st12 st12

   ครั้งหนึ่งหลวงพ่อโต (สมเด็จพระพุฒาจารย์โตฯ พรหมรังสี) ท่านเคยให้พร ญาติโยมบ้านหนึ่งว่า...
   "ขอให้ปู่ตายก่อนพ่อ พ่อตายก่อนลูก ลูกตายก่อนหลาน"

   วันนั้น สมาชิกในบ้าน โกรธเคืองหลวงพ่อโตฯ เป็นฟืนเป็นไฟ โวยวายกับท่านว่า
   "ทำไมอวยพรอัปมงคลเช่นนั้น"

   แต่หลวงพ่อโตฯ กลับตอบว่า ...
   จะเป็นอัปมงคลได้ยังไง การตายอย่างเป็นลำดับลำดาแบบนี้ ถือเป็นมงคลที่สุดแล้ว 
  (หรือจะให้หลานตายก่อนลูก ลูกตายก่อนพ่อฯ คนผมหงอกไปเผาคนผมดำ จะดีไปได้ยังไง.?)
           
นี้คือธรรมประการที่ ๒...คือเห็นการตาย  การพลัดพรากเป็นสิ่งธรรมดา หากมันเกิดอย่างเป็นลำดับลำดา ยิ่งถือเป็นมงคล ด้วยซ้ำ


 st11 st11 st11 st11

ผู้อำนวยการสร้างภาพยนตร์จีนกำลังภายใน ผู้โด่งดังมากสมัยผมยังเป็นเด็ก กลัวความตายมาก เขารู้ตัวว่าป่วยเป็นเบาหวานในวัยเกือบ ๖๐ หลังจากนั้น แกก็เริ่มฟื้นฟูดูแลรักษาร่างกายอย่างสมบูรณ์แบบ คัดสรรอาหารการกินอย่างประณีต ออกกำลังกายสม่ำเสมอ ว่ากันว่า ไท้เก็ก เป็นสิ่งที่แกต้องทำเป็นประจำในทุกเช้า ไม่เคยขาดแม้แต่วันเดียว สุขภาพจึงเริ่มดีขึ้น หน้าตาดูอ่อนกว่าวัยถึง ๑๐ ปี และไม่มีทีท่าว่าจะป่วยเลย มีชีวิตอยู่จนเกือบร้อย

ชาวฮ่องกงวงใน ทราบกันดีว่า เวลาใครจะเข้าไปอวยพรแก หากกล่าวว่า ขอให้มีอายุยืนเป็นร้อยปี แกจะไม่พอใจอย่างมาก ต้องให้พูดว่า เป็นพันๆ ปี ! ที่สุดแล้ว ไม่ว่ามหาเศรษฐีคนนี้จะดูแลตัวเองดีอย่างไรก็ตาม แกก็ต้องพลัดพรากจากโลกนี้ไปในวัย ๑๐๒ ปี (ในขณะที่จิตของแกนั้น ยังปรารถนาที่จะมีชีวิตอยู่ต่ออีกตั้งหลายร้อยปี)

การตาย ความพลัดพรากจากโลกนี้ไป เป็นกฎธรรมชาติ ใครที่เข้าใจและยอมรับมันโดยดุษณี ย่อมมีจิตอันสงบ เป็นวิถีอันประเสริฐ แม้ว่าจะตายเมื่ออายุเท่าไรก็ตาม แต่หากใครที่ปฏิเสธ ไม่ยอมรับมาก ปรารถนาแต่จะหลีกหนีพญามัจจุราช ต่อให้มีชีวิตถึง ๒๐๐ ปี ก็เป็นการไม่ประเสริฐเอาเสียเลย (เพราะต้องมีชีวิตอยู่อย่างปฏิเสธความจริงไปวันๆ)

นี้คือธรรมประการที่ ๓ ...การมีชีวิตอยู่อย่างเห็นสัจธรรม เพียง ๑ วัน ย่อมประเสริฐกว่า มีชีวิตอยู่เป็นร้อยปี แต่ไม่เห็นสัจธรรม (เอาแต่ดิ้นรน หลีกลี้ หนีความตาย ความพลัดพราก)


 :91: :91: :91: :91:

อันชาวพุทธเรา ต้องน้อมนำเรื่องความพลัดพรากจากไป ความตาย มาคิดคำนึงเป็นธรรมอยู่เสมอ พระองค์ตรัสไว้ มรณานุสติ พึงกระทำทุกวันๆ ละหลายๆ ครั้ง จึงเป็นการไม่ประมาท วัฏฏะวนอันเป็นธรรมดาแห่งชีวิต เมื่อมีเกิด ย่อมมีดับ เราเกิดมาเป็นคน ย่อมบากหน้าเข้าสู่วันตาย เข้ามาทุกทีๆ ใครจะหนีความตายไปไม่พ้น ต่อให้ไปหลบซ่อนอยู่ตามหลืบผา หรือใต้ทะเล แม้จะมีตังค์จ่ายค่ากระสวย เดินทางไปสิงสถิตอยู่บนดวงจันทร์ ก็ยังต้องตายอยู่วันยังค่ำ

ทุกคนจึงต้องตาย ไม่วันนี้ก็วันหน้า ไม่นาทีนี้ก็นาทีหน้า ไม่ลมหายใจเฮือกนี้ก็เฮือกหน้า นี้คือธรรมประการที่ ๔ ในเมื่อทุกสิ่งเป็นเช่นนี้เอง เช่นนี้เอง แล้วไซร้ ...ไยเราไม่หาวิธีการที่จะหลุดพ้นจากวังวน ความพลัดพราก เกิด-แก่-เจ็บ-ตาย ให้เบ็ดเสร็จเด็ดขาดเสียเล่า.?

    ความคิดแบบนี้ มีมาตั้งแต่ครั้นพุทธกาลแล้วล่ะครับ ดังที่เคยเขียนไว้ในหลายบทความด้วยกันแล้ว ถึงท่านโมฆราช ซึ่งเป็น ๑ ใน ๑๖ มาณพผู้มีไอคิวสูง ถามคำถามสะเทือนจักรวาลต่อพระบรมครูของพวกเราว่า...
    ทำอย่างไร จึงจะไม่ตาย.?

    จึงขอโอกาสอัญเชิญคาถาอันเป็นคำตอบจากองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า อีกครั้ง ณ ที่นี้ว่า ....
             สุญโต โลกัง อเวกขัสสุ โมฆราช สทาสโต
             อัตตานุทิฎฐิ อูหัจจะ เอวัง มจุตโรสิยา
             เอวัง โลกัง อเวกขันตัง มจุราชา นปัสสติฯ

    ตามที่ท่านเนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ นำคำแปลพระคาถาบทนี้ มาประพันธ์เสียใหม่ ให้เข้าใจได้ง่ายขึ้นว่า ....
             มองเห็นความไม่มี (ความว่าง) ในความมี
             ถอนยึดถือ ออกทุกที่ อย่ามีไหน
             มองโลกว่าง อย่างนี้ ทุกทีไป
             ความตายก็ จะไม่ มองเห็นเราฯ


นี้ถือว่าเป็น ธรรมประการที่ ๕ ในการรับมือต่อความพลัดพราก จากบุคคลที่เรารัก สิ่งของที่เราหวงแหน รวมถึงตัวเราเองด้วย


      ans1 ans1 ans1 ans1

      ด้วยธรรมะทั้ง ๕ ประการอันผมได้ยกมาอ้างอิง หวังว่าจะเป็นเครื่องช่วยบรรเทา ความทุกข์โศกจากความพลัดพราก อันเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตท่านได้บ้าง ไม่มากก็น้อย บอกตามตรง ไม่อยากเห็นน้ำตาของใคร ต้องมาหลั่งไหล พรั่งพรู กับสิ่งที่มันจะต้องเป็นเช่นนั้นของมันอยู่แล้ว จริงๆ เลยนะครับ


ขอบคุณภาพและบทความจาก
http://www.komchadluek.net/detail/20150708/209349.html
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28366
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
จะพิจารณาเห็นโลกอย่างไร มัจจุราชจึงจะไม่เห็น.?
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: กรกฎาคม 10, 2015, 08:16:35 pm »
0
   

พระโมฆราชเถระ
เอตทัคคะในทางผู้ยินดีในจีวรเศร้าหมอง

    พระโมฆราช เกิดในตระกูลพราหรมณ์ ชาวเมืองสาวัตถี เมื่อมีอายุพอสมควรแก่การศึกษาศิลปะวิทยาตามประเพณีพราหมณ์ จึงได้ไปฝากตัวเป็นศิษย์ของพราหมณ์พาวรี ผู้เป็นปุโรหิตที่ปรึกษาของพระเจ้าปเสนทิโกศล

    ต่อมา พราหมณ์พาวรี เบื่อหน่ายชีวิตการครองเรือน จึงได้กราบทูลลาพระเจ้าปเสนทิโกศล ออกบวชเป็นชฎิล บำเพ็ญพรตตามประเพณีพราหมณ์ ตั้งสำนักอยู่ที่ริมฝั่งแม่น้ำโคธาวารี ระหว่างเมืองอัสสกะและเมืองอาฬกะ ตัวเองเป็นเจ้าสำนักและเป็นอาจารย์ใหญ่ ทำหน้าที่ทั้งรับและอบรมสั่งสอนไตรเพทแก่ศิษย์ทั่วไป โมฆราชมาณพ พร้อมกับเพื่อศิษย์อีกหลายคนได้ออกบวชติดตามด้วยพราหมณ์พาวรี แม้จะบวชเป็นฤาษีชฎิลเช่นเดียวกับตระกูลกัสสปะ ๓ พี่น้อง แต่คนทั่วไปก็นิยมเรียก “พราหมณ์พาวรี” อยู่เช่นเดิม ไม่นิยมเรียกว่า “ชฎิล” เหมือนตระกูลกัสสปะ

      ask1 ask1 ask1 ask1

     ทรงสอบการตรัสรู้
    เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะ ผู้เป็นพระราชโอรสของพระเจ้าสุทโธทนศากยราชา ผู้ครองนครกบิลพัสดุ์ เสด็จออกบรรพชาได้ตรัสรู้พระอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณแล้วเที่ยวสั่งสอนเวไนยสัตว์ให้เกิดศรัทธาเลื่อมใสออกบวชประพฤติพรหมจรรย์ ติดตามพระองค์มากมาย พราหมณ์พาวรีได้ทราบข่าวเป็นลำดับ แต่ก็ยังเคลือบแคลงใจในการตรัสรู้ขององค์พระสัพพัญญโคดมเจ้า จึงตั้งปัญหาขึ้น ๑๖ หมวด แล้วมอบให้ศิษย์ ๑๖ คน นำไปกราบทูลถามพระบรมศาสดา ซึ่งขณะนั้นประทับอยู่ที่ปาสาณเจดีย์ แคว้นมคธ และโมฆราชมาณพก็เป็นหนึ่งในจำนวนศิษย์เหล่านั้น อชิตมาณพ ผู้เป็นหัวหน้าได้พาคณะศิษย์อีก ๑๕ คน คือ
    ๑. ติสสเมตเตยยะ ๒. ปุณณกะ ๓. เมตตคู ๔. โธตกะ ๕. อุปสีวะ ๖. นันทกะ
    ๗. เหมกะ ๘. โตเทยยะ ๙. กัปปะ ๑๐. ชตุกัณณี ๑๑. ภัทราวุธะ ๑๒. อุทยะ
    ๑๓. โปสาละ ๑๔. ปิงคิยะ และ ๑๕. โมฆราช
    รวมทั้งสิ้นจำนวน ๑๖ คน พากันไปเข้าเฝ้าพระบรมศาสดาเพื่อทูลถามปัญหา ณ ปาสาณเจดีย์แห่งหนึ่ง



    กราบทูลถามปัญหาเป็นคนที่ ๑๕
    ในบรรดามาณพทั้ง ๑๖ คนนั้น โมฆราชมาณพ นับว่าเป็นผู้มีปัญญาดีกว่ามาณพทั้งหมด จึงคิดที่จะทูลถามปัญหาเป็นคนแรก แต่เห็นว่าอชิตมาณพอยู่ในฐานะเป็นหัวหน้าผู้นำมาจึงเปิดโอกาสให้ถามเป็นคนแรก เมื่ออชิตะ ทูลถามจบแล้ว โมฆราชมาณพ ปรารถนาจะถามเป็นคนที่ ๒
    แต่พระพุทธองค์ตรัสห้ามว่า
    “ดูก่อนโมฆราช ท่านจงรอให้มาณพคนอื่น ๆ ถามก่อนเถิด”

    เมื่อมาณพคนอื่น ๆ ถามไปโดยลำดับถึงคนที่ ๘ โมฆราชมาณพ ก็แสดงความประสงค์จะทูลถามเป็นคนที่ ๙ พระพุทธองค์ก็ตรัสห้ามไว้อีกครั้ง จนถึงลำดับคนที่ ๑๔ ผ่านไปแล้ว โมฆราชมาณพ จึงได้มีโอกาสทูลถามเป็นคนที่ ๑๕ โดยกราบทูลถามว่า:-

    “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ โลกนี้ก็ดี โลกอื่นก็ดี พรหมโลกกับทั้งเทวโลกก็ดี ย่อมไม่ทราบความเห็นของพระองค์ เหตุดังนั้น จึงมีปัญหามาถึงพระองค์ ผู้มีปรีชาญาณเห็นล่วงสามัญชนทั้งปวงอย่างนี้ ข้าพระพุทธเจ้า จะพิจารณาเห็นโลกอย่างไร มัจจุราชคือความตายจึงจะไม่แลเห็น คือ จักไม่ตามทัน พระเจ้าข้า” (ใจความของปัญหาข้อนี้ ก็คือจะพิจารณาเห็นโลกอย่างไร มัจจุราชคือความตายจึงจะแลไม่เห็น คือตามไม่ทัน)


     ans1 ans1 ans1 ans1

    พระบรมศาสดา ตรัสพยากรณ์ว่า:-
    “ดูก่อนโมฆราช ท่านจงมีสติพิจารณาดูโลกโดยความเป็นของว่างเปล่า ถอนความเห็นว่าตัวของเราเสียทุกเมื่อเถิด ท่านจะข้ามล่วงมัจจุราชเสียได้ด้วยอุบายนี้ท่านพิจารณาเห็นโลกอย่างนี้แล้ว มัจจุราชคือความตายจักแลไม่เห็น”

    เมื่อพระบรมศาสดา ตรัสพยากรณ์ปัญหาของโมฆราชมาณพ จบลงแล้วโมฆราชมาณพพร้อมด้วยชฎิลทั้งหมด ได้บรรลุพระอรหัตผลสิ้นอาสวกิเลสทุกคน เว้นแต่ปิงคิยมาณพผู้เดียวเพราะมัวแต่คิดถึงอาจารย์พราหมณ์พาวรีผู้เป็นลุง จึงได้เพียงญาณหยั่งเห็นในธรรมเท่านั้น
    มาณพทั้ง ๑๖ คน กราบทูลขออุปสมบท พระพุทธองค์ประทานด้วยวิธีเอหิภิกขุอุปสัมปทา ได้เป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนา พร้อมบาตรและจีวรอันสำเร็จด้วยบุญฤทธิ์
    ส่วนพระปิงคิยเถระกราบทูลลากลับไปแจ้งข่าวแก่พราหมณ์พาวรี แสดงธรรมตามที่พระพุทธองค์ทรงแก้ปัญหาทั้ง ๑๖ ข้อ ให้ฟังแล้วยังพราหมณ์พาวรี ให้บรรลุธรรมาพิสมัยชั้นเสขภูมิ

      st11 st11 st11 st11

    พระโมฆราชนั้น เมื่ออุปสมบทแล้ว ปรากฏว่าท่านเป็นผู้มักน้อยสันโดษยินดีเฉพาะการใช้สอยจีวรที่เศร้าหมอง ๓ ประการ คือ
       ๑. ผ้าเศร้าหมอง
       ๒. ด้ายเย็บผ้าเศร้าหมอง
       ๓. น้ำย้อมผ้าเศร้าหมอง
    ด้วยเหตุนี้ พระพุทธองค์จึงทรงยกย่องท่านในตำแหน่งเอตทัคคะ เป็นผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลายในทาง ผู้ยินดีในจีวรเศร้าหมอง ท่านโมฆราชเถระ ดำรงอายุสังขารโดยสมควรแก่กาลเวลาแล้วก็ดับขันธปรินิพพาน

____________________________________
ที่มา http://www.84000.org/one/1/13.html



โมฆราชปัญหาที่ ๑๕
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๗
ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต

     [๔๓๙] โมฆราชมาณพทูลถามปัญหาว่า :-
     ข้าแต่พระผู้มีพระภาคผู้ศากยะ ข้าพระองค์ได้ทูลถามปัญหาถึงสองครั้งแล้ว พระองค์ผู้มีพระจักษุไม่ทรงพยากรณ์แก่ข้าพระองค์ แต่ข้าพระองค์ได้สดับมาว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้เป็นเทพฤาษี จะทรงพยากรณ์ในครั้งที่สาม (ข้าพระองค์จึงขอทูลถามว่า)
     โลกนี้ โลกอื่น พรหมโลกกับทั้งเทวโลก ข้าพระองค์ย่อมไม่ทราบความเห็นของพระองค์ผู้โคดม ผู้เรืองยศ ข้าพระองค์มีความต้องการด้วยปัญหา จึงได้มาเฝ้าพระองค์ (ผู้มีปรกติเห็นก้าวล่วงวิสัยของสัตว์โลก) ผู้มีปรกติเห็นธรรมอันงามอย่างนี้ บุคคลผู้พิจารณาเห็นโลกอย่างไร มัจจุราชจึงจะไม่เห็น ฯ


     พระผู้มีพระภาคตรัสพยากรณ์ว่า :-
     ดูกรโมฆราช ท่านจงเป็นผู้มีสติทุกเมื่อ พิจารณาเห็นโลกโดยความเป็นของว่างเปล่าเถิด จงถอนความตามเห็นว่าเป็นตัวตนเสียแล้ว พึงเป็นผู้ข้ามพ้นมัจจุราชได้ด้วยอาการอย่างนี้ บุคคลผู้พิจารณาเห็นโลกอยู่อย่างนี้ มัจจุราชจึงจะไม่เห็น ฯ


     จบโมฆราชมาณวกปัญหาที่ ๑๕


เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕  บรรทัดที่ ๑๑๓๘๗ - ๑๑๔๐๔.  หน้าที่  ๔๙๒.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=25&A=11387&Z=11404&pagebreak=0
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :- http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=439
ขอบคุณภาพจาก
http://news.zubzip.com/
http://image.dek-d.com/
http://www.rmutphysics.com/
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ