ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ความแตกต่างกันของ "ตัณหา ๓." (กามตัณหา, ภวตัณหา, วิภวตัณหา)  (อ่าน 659 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0



ความแตกต่างกันของ "ตัณหา ๓" (กามตัณหา, ภวตัณหา, วิภวตัณหา)

๑. กามตัณหา คือ โลภะที่มีความยินดีพอใจในกามอารมณ์ (กามจิต ๕๔, เจ.๕๒, รูป ๒๘) เป็นโลภะที่ประกอบด้วย ทิฏฐิ หมายถึง สักกายทิฏฐิเสมอ แต่ประกอบกับมานะได้บางคราว

๒. ภวตัณหา เป็นโลภะที่เจือด้วยทิฏฐิ ที่เรียกว่า “สัสสตทิฏฐิ” (ตามอภิธรรมนัย) คือ เห็นว่าสัตว์ทั้งหลายมีตัวตน และตัวตนนั้นจะไม่ขาดสูญ

อีกอย่างหนึ่ง “ภวตัณหา” ตามสุตตันตมหาวรรคอรรถกถา มี ๕ นัย คือ
     ๑) มีความยินดีพอใจในกามภพ คือการได้เกิดเป็นมนุษย์ เทวดา (ต้องรวมเอาสัตว์ในอบายภูมิ ๔ ด้วย)
     ๒) มีความยินดีพอใจในรูปภพ คือการได้เกิดเป็นรูปพรหม
     ๓) มีความยินดีพอใจในอรูปภพ คือการได้เกิดเป็นอรูปพรหม
     ๔) มีความยินดีพอใจในฌาน-สมาบัติ คือการได้รูปฌาน อรูปฌาน
     ๕) มีความยินดีพอใจที่เจือด้วยสัสสตทิฏฐิ คือเห็นว่าสัตว์ทั้งหลายมีตัวตน และตัวตนนั้นจะไม่ขาดสูญ

@@@@@@@

๓. วิภวตัณหา เป็นโลภะที่เจือด้วยทิฏฐิ คือ ความเห็นผิดว่าขาดสูญ (อุจเฉททิฏฐิ) สัตว์ตายแล้วสูญหายไป ไม่เกิดอีก มีความยินดีพอใจในทิฏฐิคือความเห็นว่าขาดสูญนั้น จึงเรียกว่า “วิภวตัณหา”

ความเข้าใจของพุทธศาสนิกชนบางคน บางจำพวก มักเข้าใจพระนิพพานในทำนองเป็น “วิภวตัณหา” คือ เห็นว่า นิพพานนั้น ขาดสูญจากสัตว์ บุคคล แล้ว ไม่มีความทุกข์แล้ว มีแต่ความสุขอย่างเดียว ไม่มีเกิด แก่ เจ็บ ตาย

แต่ผู้เข้าสู่นิพพาน(อนุปาทิเสสนิพพาน) ยังมีลักษณะคล้ายกับว่า มีตัวตนรับรู้ความสุข หรือเสวยสุขนั้นอยู่ เหมือนอย่างปุถุชนผู้ได้เนวสัญญาณาสัญญายตนะ แล้วเกิดความรู้สึกว่า “เนวสัญญาณาสัญญายตนะนั่นเอง เป็นนิพพาน” ไม่มีความรู้สึกว่าตนมีกิเลส มีสัญญา แต่ตัวรู้ คือนามขันธ์ อันได้แก่จิต และเจตสิกยังมีอยู่

ซึ่งพระพุทธเจ้าปฏิเสธว่า นั่นไม่ใช่นิพพาน ไม่ใช่โมกขธรรม “นิพพาน” ในความมุ่งหมายของพระองค์ต้องไม่มีตัวรู้นั้น คือตัวรู้ได้แก่ จิต เจตสิก หรือวิญญาณขันธ์นั้น ต้องไม่มีด้วย เหมือนกับหุ่นยนต์สังหาร เมื่อฆ่าทำลายหยุ่นยนต์ที่เป็นข้าศึกหมดแล้ว ก็ต้องฆ่า ทำลายตนเองด้วย เพราะตนเองก็ยังชื่อว่า เป็นหุ่นยนต์ ฉันใด, จิตหรือวิญญาณใด เข้าไปรู้พระนิพพาน จิตนั้นก็ต้องดับสูญสิ้นไปด้วย

เพราะฉะนั้น นิพพาน ท่านจึงกล่าวว่า “ดับกิเลสและขันธ์ ๕” (นิพพานํ ปรมํ สุญฺญํ)


 

ขอบคุณ : dhamma.serichon.us/2019/11/25/ความแตกต่างกันของตัณหา/
25 พฤศจิกายน 2019 , By admin.
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มีนาคม 25, 2021, 07:29:07 am โดย raponsan »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ