ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: “คนตกปลาได้ขึ้นสวรรค์ คนปฏิบัติธรรมได้ไปนรก”  (อ่าน 943 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0


“คนตกปลาได้ขึ้นสวรรค์ คนปฏิบัติธรรมได้ไปนรก”

คำพูดในลักษณะอย่างนี้ มีความหมาย สองแง่สองง่าม มีโอกาสทำให้คนเกิดความเห็นผิด (เป็นมิจฉาทิฏฐิ) ได้, เหมือนคำพูดที่ว่า “ทำดีได้ดี มีที่ไหน, ทำชั่วได้ดี มีถมไป” คือ อาจจะมีคนบางจำพวกที่เข้าใจว่า

    - ทำบาป มีการฆ่าสัตว์เป็นต้น ไปสวรรค์ก็ได้ด้วยการฆ่าสัตว์นั้น เหมือนแนวคิดของลัทธิต่างๆ ที่มีการฆ่าสัตว์เพื่อบูชา เซ่นสรวง แล้วเข้าใจว่า การฆ่า การบูชาเซ่นสรวงนั้น จะเป็นเหตุนำให้ตนไปเกิดในสวรรค์ หรือได้รับความสุขต่างๆ การกระทำของพวกลัทธินั้นๆ ก็คือว่า เมื่อถึงเทศกาลครั้งหนึ่งๆ พวกเขาก็เชือดเป็ด ไก่ แพะ แกะ เพื่อบูชา เซ่นสรวง หรือแม้แต่แนวคิดของชาวพุทธบางจำพวก ที่บอกว่า “ฆ่าไก่ ไปวัดทำบุญ ก็ขึ้นสวรรค์ได้” ก็มีลักษณะทำนองเดียวกัน

    - ทำบุญให้ทาน ไปวัดฟังธรรมไปนรกก็ได้ เข้าข่ายลักษณะพวกอกิริยทิฏฐิ คือ มีความเห็นว่า ไม่เป็นอันทำ เพราะการกระทำนั้นไม่เป็นบุญ หรือแม้เห็นว่าเป็นบุญ แต่บุญนั้นก็ไม่มีประโยชน์ คือไม่สามารถนำไปสู่สวรรค์ได้

จริงๆ ลักษณะแนวคิดทั้ง ๒ อย่างนี้ ก็เข้าข่ายอกิริยทิฏฐิ, และอเหตุกทิฏฐิ ปฏิเสธผล, ปฏิเสธเหตุ เป็นมิจฉาทิฏฐิอย่างหนึ่ง ในนิยตมิจฉาทิฏฐิ ๓ อย่าง

@@@@@@@

พุทธศาสนา ไม่ได้ปฏิเสธว่า คนฆ่าสัตว์จะไปสวรรค์ไม่ได้, หรือคนทำบุญจะไปสู่อบายไม่ได้ แต่ต้องเข้าใจว่า

    - การไปสวรรค์นั้น ไม่ได้ไปด้วยอำนาจของการฆ่าสัตว์นั้น แต่ไปด้วยอำนาจของบุญกุศล ที่เขาเคยกระทำไว้แล้ว
    - และคนที่ทำบุญแล้วตกนรกนั้น ก็ไม่ได้หมายความว่า เขาตกนรกเพราะการทำบุญนั้น แต่เขาตกนรกด้วยอำนาจของบาปอกุศลที่เคยกระทำไว้แล้วต่างหาก

มันเป็นความจริงที่ว่า ช่วงระยะเวลาการเวียนว่ายตายเกิดในวัฏฏะสงสารของบุคคลนั้น ย่อมกระทำทั้งบุญทั้งบาป (ดีบ้าง ชั่วบ้าง) คละเคล้ากันไป และไม่ใช่การทำบุญและบาปในชาติเดียว ทุกครั้งที่เวียนว่ายตายเกิด ย่อมทำทั้งสองอย่างนั้นมานับครั้งไม่ถ้วนจนถึงชาติปัจจุบัน บุคคลหนึ่งๆ ก็ทำทั้งบุญและบาป และผลแห่งบุญและผลแห่งบาปนั้น ก็จะติดตามบุคคลนั้นๆ ไป เหมือนเงาตามตัว, และเหมือนล้อเกวียนหมุนตามรอยเท้าโค ฉะนั้น

   - ช่วงใดที่ผลแห่งบุญมันส่งผล บุคคลก็จะประสบความสุข มีลาภมียศ และความสรรเสริญ ถือกำเนิดในภพดีๆ
   - ช่วงใดที่ผลแห่งบาปมันให้ผล บุคคลก็จะประสบความทุกข์ มีทุกข์ในอบายเป็นต้น และประสบเคราะห์กรรมต่างๆ ในภพนั้นๆ มีความทุกข์กาย-ใจ เสื่อมลาภ,เสื่อมยศ,ถูกนินทา เป็นต้น

@@@@@@@

สำหรับข้อความในภาพตามที่ยกมานั้น มีผู้อธิบายต่อๆ มาว่า

    “คนที่ตกเบ็ด หรือหว่านแหอยู่ ได้ยินเสียงพระสวดมนต์ ก็อนุโมทนาสาธุ อนุโมทนาบุญ”
    “ส่วนคนที่ไปวัด ทำบุญให้ทาน รักษาศีล เห็นคนหว่านแห หาปลาก็นึกคิดรังเกียจ หรือตำหนิคนตกเบ็ด ด่าว่าอยู่ในใจ”

     ก็เลยมีคำพูดว่า “คนตกปลาได้ไปสวรรค์, ส่วนคนเข้าวัดปฏิบัติธรรม กลับไปนรก”
     พูดสองแง่สองง่ามอย่างนี้แล้ว ก็ต้องแยกให้ถูก ว่า
    “ไปสวรรค์ เพราะกรรมอะไร.? ตกนรก เพราะกรรมอะไร.? 
     คนที่พูดแล้วแยกไม่ถูก มันจะหนักกว่าคนที่ตกเบ็ด และคนไปวัดอีกนะ..จะบอกให้.!!




ขอบคุณ : dhamma.serichon.us/2018/10/31/เรื่องคนตกเบ็ดขึ้นสวรร/
By VeeZa ,๓๑ ตุลาคม ๒๕๖๑
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: เมษายน 22, 2021, 06:39:36 am โดย raponsan »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ