ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: อวิชชาสูตร ๆ ที่ไม่ควรมองข้าม ครับ  (อ่าน 2212 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ประสิทธิ์

  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +14/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 639
  • จิตว่าง ก็เป็นสุข
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
อวิชชาสูตร ๆ ที่ไม่ควรมองข้าม ครับ
« เมื่อ: เมษายน 23, 2011, 03:18:56 pm »
0
ธัมมกถิกวรรคที่ ๒

๑. อวิชชาสูตร

ว่าด้วยความหมายของอวิชชา

             [๓๐๐] พระนครสาวัตถี. ครั้งนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่ง เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ ประทับ ฯลฯ

ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่เรียกว่า อวิชชา  อวิชชาดังนี้  อวิชชาเป็นไฉนหนอแล?

และบุคคลเป็นผู้ประกอบด้วยอวิชชา ด้วยเหตุเพียงเท่าไร?

พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ดูกรภิกษุ ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับแล้วในโลกนี้

ไม่รู้ชัดซึ่ง รูป

ไม่รู้ชัดซึ่งเหตุเกิดแห่ง รูป

ไม่รู้ชัดซึ่งความดับแห่ง รูป

ไม่รู้ชัดซึ่งปฏิปทาอันให้ถึงความดับแห่ง รูป

(ข้างต้นเป็นการแสดง อวิชชา ความไม่รู้ตามความจริงในเรื่องทุกข์เพื่อการดับทุกข์)

ไม่รู้ชัดซึ่ง เวทนา ฯลฯ (เหมือนข้างต้น แค่เปลี่ยนเป็นเวทนา  เป็นการแสดงเกิดแต่เหตุแบบต่างๆกล่าวคือ เกิดแต่ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ นั่นเอง)

ไม่รู้ชัดซึ่ง สัญญา ฯลฯ (เหมือนข้างต้น แค่เปลี่ยนเป็นสัญญา  เป็นการแสดงเหตุแบบต่างๆ)

ไม่รู้ชัดซึ่ง สังขาร ฯลฯ (เหมือนข้างต้น แค่เปลี่ยนเป็นสังขาร  เป็นการแสดงเหตุแบบต่างๆ)

ไม่รู้ชัดซึ่ง วิญญาณ  ไม่รู้ชัดซึ่งเหตุเกิดวิญญาณ  ไม่รู้ชัดซึ่งความดับวิญญาณ  ไม่รู้ชัดซึ่งปฏิปทาอันให้ถึงความดับวิญญาณ.

ดูกรภิกษุ นี้เรียกว่า อวิชชา และบุคคลเป็นผู้ประกอบด้วยอวิชชา ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล.

จบ สูตรที่ ๑.

(พึงพิจารณาหรือเจริญวิปัสสนาในขันธ์ ๕ หรือ ปฏิจจสมุปบาท ย่อมเห็นในสิ่งเหล่านั้นได้)

------------------

พระไตรปิฎก ฉบับสยามรัฐ เล่มที่ ๑๘

อวิชชาวรรคที่ ๑

อวิชชาสูตร

             [๕๖] พระนครสาวัตถี ฯลฯ ครั้งนั้นแล ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้า พระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ

ถวายอภิวาทแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้น แล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บุคคลเมื่อรู้อย่างไร เห็นอย่างไร จึงจะละอวิชชาได้ วิชาจึงจะเกิดขึ้น

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุ บุคคลรู้อยู่ เห็นอยู่ซึ่งจักษุ โดยความเป็นของไม่เที่ยง จึงจะละอวิชชาได้  วิชาจึงจะเกิด

บุคคลรู้อยู่ เห็นอยู่ซึ่งรูป ... จักษุวิญญาณ จักษุสัมผัส สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย โดย ความเป็นของไม่เที่ยง จึงจะละอวิชชาได้ วิชาจึงจะเกิดขึ้น

บุคคลรู้อยู่ เห็นอยู่ ซึ่งหู จมูก ลิ้น กาย ใจ ธรรมารมณ์ มโนวิญญาณ มโนสัมผัส สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย โดยความเป็นของไม่เที่ยง จึงจะละอวิชชาได้ วิชาจึงจะเกิด

ดูกรภิกษุ บุคคลรู้อยู่ อย่างนี้ เห็นอยู่อย่างนี้แล จึงจะละอวิชชาได้  วิชาจึงจะเกิด ฯ

จบสูตรที่ ๑

(พึงพิจารณาหรือเจริญวิปัสสนาในพระไตรลักษณ์)

--------------------

พระไตรปิฎก ฉบับสยามรัฐ เล่มที่ ๑๘

อวิชชาสูตรที่ ๑

             [๙๕] ครั้งนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ฯลฯ

ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมข้อหนึ่ง ซึ่งเมื่อภิกษุละได้แล้ว ย่อมละอวิชชาได้ วิชชาย่อมเกิดขึ้น มีอยู่หรือ พระเจ้าข้า

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุ ธรรมข้อหนึ่งซึ่งเมื่อภิกษุละได้แล้ว ย่อมละ อวิชชาได้ วิชชาย่อมเกิดขึ้น มีอยู่ ฯ

             ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมข้อหนึ่งซึ่งเมื่อภิกษุละได้แล้ว ย่อมละ อวิชชาได้ วิชชาเกิดขึ้นนั้น เป็นไฉน พระเจ้าข้า ฯ

             พ. ดูกรภิกษุ ธรรมข้อหนึ่ง คือ อวิชชาแล ซึ่งเมื่อภิกษุละได้แล้ว ย่อมละอวิชชาได้ วิชชาย่อมเกิดขึ้น ฯ

             ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็เมื่อภิกษุรู้อยู่อย่างไร เห็นอยู่อย่างไร จึง ละอวิชชาได้ วิชชาจึงเกิดขึ้น พระเจ้าข้า ฯ

             พ. ดูกรภิกษุ เมื่อภิกษุรู้อยู่ เห็นอยู่ซึ่งจักษุโดยความเป็นของไม่เที่ยง จึงละอวิชชาได้ วิชชาจึงเกิดขึ้น เมื่อภิกษุรู้อยู่เห็นอยู่ซึ่งรูปทั้งหลาย ฯลฯ ซึ่ง สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัส เป็นปัจจัย โดยความเป็นของไม่เที่ยง จึงละอวิชชาได้ วิชชาจึงเกิดขึ้น

ดูกรภิกษุ เมื่อภิกษุรู้อยู่อย่างนี้ เห็นอยู่อย่างนี้แล จึงละอวิชชาได้ วิชชาจึงเกิดขึ้น ฯ

จบสูตรที่ ๖

--------------------

พระไตรปิฎก ฉบับสยามรัฐ เล่มที่ ๑๘

อวิชชาสูตรที่ ๒

             [๙๖] ครั้งนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่ง ฯลฯ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมข้อหนึ่ง ซึ่งภิกษุละได้แล้ว ย่อมละอวิชชาได้ วิชชาย่อมเกิดขึ้น มีอยู่หรือหนอแล ฯ

             พ. ดูกรภิกษุ ธรรมข้อหนึ่งซึ่งภิกษุละได้แล้ว ย่อมละอวิชชาได้ วิชชา ย่อมเกิดขึ้น มีอยู่ ฯ

             ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมข้อหนึ่งซึ่งภิกษุละได้แล้ว ย่อมละ อวิชชาได้ วิชชาย่อมเกิดขึ้น เป็นไฉน พระเจ้าข้า ฯ

             พ. ดูกรภิกษุ ธรรมข้อหนึ่ง คือ อวิชชาแล ซึ่งภิกษุละได้แล้ว ย่อมละ อวิชชาได้ วิชชาย่อมเกิดขึ้น ฯ

             ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็เมื่อภิกษุรู้อย่างไร เห็นอยู่อย่างไร จึงละอวิชชาได้  วิชชาจึงเกิดขึ้น  พระเจ้าข้า ฯ

             พ. ดูกรภิกษุ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ได้สดับว่า ธรรมทั้งปวงไม่ควรยึดมั่น 

เธอย่อมรู้ยิ่งซึ่งธรรมทั้งปวง ครั้นรู้ยิ่งซึ่งธรรมทั้งปวงแล้ว

ย่อมกำหนดรู้ธรรมทั้งปวง ครั้นกำหนดรู้ธรรมทั้งปวงแล้ว

ย่อมเห็นนิมิตทั้งปวงโดยประการอื่น(บ้าง หมายถึง แตกฉานจนเห็นรายละเอียดประการอื่นๆขึ้นอีกได้) คือเห็น จักษุ โดยประการอื่น

เห็นรูป จักษุวิญญาณ จักษุสัมผัส สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย โดยประการอื่น

เห็นเสียง โสตวิญญาณ โสตสัมผัส สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะโสตสัมผัสเป็นปัจจัย โดยประการอื่น

เห็นกลิ่น ฆนะวิญญาณ ฆนะสัมผัส สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะฆนะสัมผัสเป็นปัจจัย โดยประการอื่น

เห็นรส ชิวหาวิญญาณ ชิวหาสัมผัส สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะชิวหาสัมผัสเป็นปัจจัย โดยประการอื่น

เห็นโผฏฐัพพะ กายวิญญาณ กายสัมผัส สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะกายสัมผัสเป็นปัจจัย โดยประการอื่น

เห็นใจ ธรรมารมณ์ มโนวิญญาณ มโนสัมผัส สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย โดยประการอื่น

ดูกรภิกษุ เมื่อภิกษุรู้อยู่อย่างนี้  เห็นอยู่อย่างนี้แล  จึงละอวิชชาได้ วิชชา จึงเกิดขึ้น ฯ

จบสูตรที่ ๗

------------------------

พระไตรปิฎก ฉบับสยามรัฐ เล่มที่ ๑๙

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

๑. มัคคสังยุต

อวิชชาวรรคที่ ๑

อวิชชาสูตร

ว่าด้วยอวิชชา และวิชชาเป็นหัวหน้าแห่งอกุศลและกุศล

            [๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้:-

            สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระดำรัสพระผู้มีพระภาคว่า พระพุทธเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคได้ ตรัสพระพุทธพจน์นี้ว่า.             

            [๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อวิชชาเป็นหัวหน้าในการยังอกุศลธรรมให้ถึงพร้อม

เกิดร่วม กับความไม่ละอายบาป ความไม่สะดุ้งกลัวบาป

ความเห็นผิดย่อมเกิดมีแก่ผู้ไม่รู้แจ้ง (เพราะ)ประกอบด้วยอวิชชา

ความดำริผิดย่อมเกิดมีแก่ผู้มีความเห็นผิด

เจรจาผิดย่อมเกิดมีแก่ผู้มีความดำริผิด

การงานผิดย่อมเกิดมีแก่ผู้เจรจาผิด

การเลี้ยงชีพผิดย่อมเกิดมีแก่ผู้ทำการงานผิด

พยายามผิดย่อมเกิด มีแก่ผู้เลี้ยงชีพผิด

ระลึกผิดย่อมเกิดมีแก่ผู้พยายามผิด

ตั้งใจผิดย่อมเกิดมีแก่ผู้ระลึกผิด.

             [๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ส่วนวิชชา เป็นหัวหน้าในการยังกุศลธรรมให้ถึงพร้อม

เกิดร่วม กับความละอายบาป ความสะดุ้งกลัวบาป

ความเห็นชอบย่อมเกิดมีแก่ผู้รู้แจ้ง ประกอบด้วย วิชชา

ความดำริชอบ ย่อมเกิดมีแก่ผู้มีความ เห็นชอบ

เจรจาชอบ ย่อมเกิดมีแก่ผู้มีความ ดำริชอบ

การงานชอบ ย่อมเกิดมีแก่ผู้ เจรจาชอบ

การเลี้ยงชีพชอบ ย่อมเกิดมีแก่ผู้ทำ การงานชอบ

พยายามชอบ ย่อมเกิดมีแก่ผู้ เลี้ยงชีพชอบ

ระลึกชอบ ย่อมเกิดมีแก่ผู้ พยายามชอบ

ตั้งใจชอบ ย่อมเกิด มีแก่ผู้ ระลึกชอบ แล.

(หรือก็คือ มรรค ๘  อันมี เห็นชอบ ---> ดำริชอบ ---> เจรจาชอบ ---> การงานชอบ ---> เลี้ยงชีพชอบ ---> พยายามชอบ ---> ระลึกชอบ ---> ตั้งใจชอบ)

จบ สูตรที่ ๑

-----------------------

พระไตรปิฎก ฉบับสยามรัฐ เล่มที่ ๑๙

อวิชชาสูตร

ว่าด้วยอวิชชา

             [๑๖๙๔] ภิกษุนั้นนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่เรียกว่า อวิชชาๆ ดังนี้  อวิชชาเป็นไฉน  และด้วยเหตุเพียงเท่าไร บุคคล จึงจะชื่อว่าตกอยู่ในอวิชชา?

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุ  ความไม่รู้ในทุกข์  ในเหตุให้ เกิดทุกข์  ในความดับทุกข์  ในทางที่จะให้ถึงความดับทุกข์ นี้เรียกว่าอวิชชา

และด้วยเหตุเพียงเท่านี้  บุคคลย่อมชื่อว่าตกอยู่ในอวิชชา

ดูกรภิกษุ เพราะฉะนั้นแหละ เธอพึงกระทำความเพียร เพื่อรู้ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา.

(ความไม่รู้ในอริยสัจ ๔)

จบ สูตรที่ ๗

------------------

พระไตรปิฎก ฉบับสยามรัฐ เล่มที่ ๒๔

ยมกวรรคที่ ๒

อวิชชาสูตร

             [๖๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เงื่อนต้นแห่งอวิชชาย่อมไม่ปรากฏในกาลก่อน  แต่นี้ อวิชชาไม่มี

แต่ภายหลังจึงมี เพราะเหตุนั้น เราจึงกล่าวคำนี้อย่างนี้ว่า

ก็เมื่อเป็นเช่นนั้น  อวิชชา มีข้อนี้เป็นปัจจัยจึงปรากฏ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมกล่าว อวิชชาว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร

ก็อะไรเป็นอาหารของอวิชชา ควรจะกล่าวว่านิวรณ์ ๕   

แม้นิวรณ์ ๕ เราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร

ก็อะไรเป็นอาหารของนิวรณ์ ๕ ควรกล่าวว่า ทุจริต ๓

แม้ทุจริต ๓ เราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร

ก็อะไรเป็นอาหารของทุจริต ๓ ควร กล่าวว่า การไม่สำรวมอินทรีย์

แม้การไม่สำรวมอินทรีย์เราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้ กล่าวว่าไม่มีอาหาร

ก็อะไรเป็นอาหารแห่งการไม่สำรวมอินทรีย์ ควรกล่าวว่าความ ไม่มีสติ สัมปชัญญะ

แม้ความไม่มีสติสัมปชัญญะเราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้ กล่าวว่าไม่มีอาหาร

ก็อะไรเป็นอาหารของความไม่มีสติสัมปชัญญะ ควรกล่าวว่า การกระทำไว้ในใจโดยไม่แยบคาย

แม้การทำไว้ในใจโดยไม่แยบคายเราก็กล่าวว่า มีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร

ก็อะไรเป็นอาหารของการทำไว้ในใจโดยไม่แยบคาย ควรกล่าวว่าความไม่มีศรัทธา

แม้ความไม่มีศรัทธาเราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร

ก็อะไรเป็นอาหารของความไม่มีศรัทธา ควรกล่าวว่า การไม่ฟังสัทธรรม

แม้การไม่ฟังสัทธรรมเราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร

ก็อะไรเป็นอาหารของการไม่ฟังสัทธรรม ควรกล่าวว่า การไม่คบสัปบุรุษ

        ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ด้วยประการดังนี้

การไม่คบสัปบุรุษที่บริบูรณ์ ย่อมยังการไม่ฟัง สัทธรรมให้บริบูรณ์

การไม่ฟังสัทธรรมที่บริบูรณ์ ย่อมยังความไม่มีศรัทธาให้ บริบูรณ์

ความไม่มีศรัทธาที่บริบูรณ์ ย่อมยังการทำไว้ในใจโดยไม่แยบคายให้ บริบูรณ์

การทำไว้ในใจโดยไม่แยบคายที่บริบูรณ์ ย่อมยังความไม่มีสติสัมปชัญญะ ให้บริบูรณ์

ความไม่มีสติสัมปชัญญะที่บริบูรณ์ ย่อมยังการไม่สำรวมอินทรีย์ให้ บริบูรณ์

การไม่สำรวมอินทรีย์ที่บริบูรณ์ ย่อมยังทุจริต ๓ ให้บริบูรณ์

ทุจริต ๓ ที่บริบูรณ์ ย่อมยังนิวรณ์ ๕ ให้บริบูรณ์

นิวรณ์ ๕ ที่บริบูรณ์ ย่อมยังอวิชชาให้ บริบูรณ์

อวิชชานี้มีอาหารอย่างนี้ และบริบูรณ์อย่างนี้ ฯ

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนเมื่อฝนเม็ดหยาบตกลงเบื้องบนภูเขา เมื่อฝนตกหนักๆ อยู่ น้ำนั้นไหลไปตามที่ลุ่ม ย่อมยังซอกเขา ลำธารและห้วย ให้เต็ม ซอกเขา ลำธารและห้วยที่เต็ม ย่อมยังหนองให้เต็ม หนองที่เต็มย่อม ยังบึงให้เต็ม บึงที่เต็มย่อมยังแม่น้ำน้อยให้เต็ม แม่น้ำน้อยที่เต็มย่อมยังแม่น้ำใหญ่ ให้เต็ม แม่น้ำใหญ่ที่เต็มย่อมยังมหาสมุทรสาครให้เต็ม มหาสมุทรสาครนั้น มีอาหารอย่างนี้ และเต็มเปี่ยมอย่างนี้ แม้ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย การไม่คบ สัปบุรุษที่บริบูรณ์ ย่อมยังการไม่ฟังสัทธรรมให้บริบูรณ์ ... นิวรณ์ ๕ ที่บริบูรณ์ ย่อมยังอวิชชาให้บริบูรณ์ อวิชชานี้มีอาหารอย่างนี้ และบริบูรณ์อย่างนี้ ฉันนั้น เหมือนกันแล ฯ

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าววิชชาและวิมุตติว่ามอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มี อาหาร

ก็อะไรเป็นอาหารของวิชชาและวิมุตติ ควรกล่าวว่า โพชฌงค์ ๗   

แม้โพชฌงค์ ๗ เราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร

ก็อะไรเป็นอาหารของ โพชฌงค์ ๗ ควรกล่าวว่า สติปัฏฐาน ๔   

แม้สติปัฏฐาน ๔ เราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร

ก็อะไรเป็นอาหารของสติปัฏฐาน ๔ ควรกล่าวว่า สุจริต ๓   

แม้สุจริต ๓ เราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร

ก็อะไรเป็นอาหารของ สุจริต ๓ ควรกล่าวว่า การสำรวมอินทรีย์

แม้การสำรวมอินทรีย์เราก็กล่าวว่า มีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร

ก็อะไรเป็นอาหารของการสำรวมอินทรีย์ ควรกล่าวว่า สติ สัมปชัญญะ

แม้สติสัมปชัญญะเราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่า ไม่มีอาหาร

ก็อะไรเป็นอาหารของสติสัมปชัญญะ ควรกล่าวว่า การทำไว้ในใจโดยแยบคาย   

แม้การทำไว้ในใจโดยแยบคายเราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่า ไม่มีอาหาร

ก็อะไรเป็นอาหารของการกระทำไว้ในใจโดยแยบคาย ควรกล่าวว่า ศรัทธา

แม้ศรัทธาเราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร

ก็อะไรเป็น อาหารของศรัทธา ควรกล่าวว่า การฟังสัทธรรม

แม้การฟังสัทธรรมเราก็กล่าวว่า มีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร

ก็อะไรเป็นอาหารของการฟังสัทธรรม ควรกล่าวว่า การคบสัปบุรุษ

        ดูกรภิกษุทั้งหลาย ด้วยประการดังนี้

การคบสัปบุรุษที่บริบูรณ์ ย่อมยังการฟังสัทธรรมให้บริบูรณ์

การฟังสัทธรรมที่บริบูรณ์ ย่อมยังศรัทธาให้ บริบูรณ์

ศรัทธาที่บริบูรณ์ ย่อมยังการทำไว้ในใจโดยแยบคายให้บริบูรณ์

การทำไว้ในใจโดยแยบคายที่บริบูรณ์ ย่อมยังสติสัมปชัญญะให้บริบูรณ์

สติสัมปชัญญะ ที่บริบูรณ์ ย่อมยังการสำรวมอินทรีย์ให้บริบูรณ์

การสำรวมอินทรีย์ที่บริบูรณ์ ย่อม ยังสุจริต ๓ ให้บริบูรณ์

สุจริต ๓ ที่บริบูรณ์ ย่อมยังสติปัฏฐาน ๔ ให้บริบูรณ์

สติปัฏฐาน ๔ ที่บริบูรณ์ ย่อมยังโพชฌงค์ ๗ ให้บริบูรณ์

โพชฌงค์ ๗ ที่บริบูรณ์ ย่อมยังวิชชาและวิมุตติให้บริบูรณ์

วิชชาและวิมุตตินี้มีอาหารอย่างนี้ และบริบูรณ์ อย่างนี้ ฯ

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนเมื่อฝนเม็ดหยาบตกลงเบื้องบนภูเขา  เมื่อฝนตกหนักๆ อยู่ น้ำนั้นไหลไปตามที่ลุ่ม ย่อมยังซอกเขา ลำธารและห้วย ให้เต็ม ซอกเขา ลำธารและห้วยที่เต็มย่อมยังหนองให้เต็ม หนองที่เต็ม ย่อมยังบึงให้เต็ม บึงที่เต็มย่อมยังแม่น้ำน้อยให้เต็ม แม่น้ำน้อยที่เต็ม ย่อมยัง แม่น้ำใหญ่ให้เต็ม แม่น้ำใหญ่ที่เต็ม ย่อมยังมหาสมุทรสาครให้เต็ม มหาสมุทร สาครนั้นมีอาหารอย่างนี้ และเต็มเปี่ยมอย่างนี้ แม้ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย การคบสัปบุรุษที่บริบูรณ์ ย่อมยังการฟังสัทธรรมให้บริบูรณ์ ... โพชฌงค์ ๗ ที่ บริบูรณ์ ย่อมยังวิชชาและวิมุตติให้บริบูรณ์ วิชชาและวิมุตตินี้มีอาหารอย่างนี้ และ บริบูรณ์อย่างนี้ ฉันนั้นเหมือนกันแล ฯ

จบสูตรที่ ๑

------------

        อนึ่งพึงระลึกและเข้าใจว่า อวิชชานั้น พึงบังเกิดขึ้นแก่ปุถุชนทุกคน ที่ถือกำเนิดเกิดขึ้นมาเป็นธรรมดาหรือตถตา  จนกว่าจะได้สดับหรือเรียนรู้ในธรรมของพระองค์ท่านอย่างแจ่มแจ้ง  กล่าวคือ จนกว่าจักได้วิชชาของพระองค์ท่าน  ซึ่งเป็นวิชชาที่ล้วนเนื่องสัมพันธ์ด้วย เรื่องของทุกข์ เพื่อการดับไปแห่งทุกข์เท่านั้น  เพื่อความเป็นโลกุตตระ  ธรรมทั้งปวงจึงล้วนเนื่องสัมพันธ์เกี่ยวกับการให้รู้จักทุกข์เพื่อใช้ไปในการดจึงเป็นไปดังพระพุทธดำรัสที่ตรัสไว้ว่า

" ในกาลก่อนก็ตาม ในบัดนี้ก็ตาม เราตถาคต บัญญัติขึ้นสอนแต่เรื่องทุกข์ และ(เพื่อ)การดับไม่เหลือแห่งทุกข์เท่านั้น "

ขอบคุณที่ีมา
http://nkgen.com/403.htm
บันทึกการเข้า
ใครชอบ ใครชัง ช่างเถิด
ใครเชิด ใครชู ช่างเขา
ใครด่า ใครบ่น ทนเอา
ใจเรา ร่มเย็น เป็นพอ

:;

มานพ

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 86
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: อวิชชาสูตร ๆ ที่ไม่ควรมองข้าม ครับ
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: เมษายน 23, 2011, 05:17:51 pm »
0
อวิัชชา กับ สัมมาทิฏฐิ นี้ใกล้เคียงกันเลยครับในคำตอบที่แสดงจากพระสูตร

  อวิชชา คือ ความไม่รู้ในอริยสัจจะ 4

  สัมมาทิฏฐิ คือ ความรู้ในอริยสัจจะ 4

  :13:
บันทึกการเข้า

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28366
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: อวิชชาสูตร ๆ ที่ไม่ควรมองข้าม ครับ
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: เมษายน 23, 2011, 09:17:22 pm »
0
อวิัชชา กับ สัมมาทิฏฐิ นี้ใกล้เคียงกันเลยครับในคำตอบที่แสดงจากพระสูตร

  อวิชชา คือ ความไม่รู้ในอริยสัจจะ 4

  สัมมาทิฏฐิ คือ ความรู้ในอริยสัจจะ 4

  :13:

อวิชชา อยู่ในสังโยชน์ ข้อสุดท้าย คือ ข้อ ๑๐
อวิชชา คือ  ความไม่รู้จริง, ความหลงอันเป็นเหตุไม่รู้จริง มี ๔ คือ ความไม่รู้อริยสัจ ๔ แต่ละอย่าง (ไม่รู้ทุกข์ ไม่รู้เหตุเกิดแห่งทุกข์ ไม่รู้ความดับทุกข์ ไม่รู้ทางให้ถึงความดับทุกข์)


สัมมาทิฏฐิ อยู่ใน มรรคมีองค์ ๘  หรือ อัฏฐังคิกมรรค (เป็นข้อแรก)
สัมมาทิฏฐิ คือ เห็นชอบ ได้แก่ ความรู้อริยสัจ ๔ หรือ เห็นไตรลักษณ์ หรือ รู้อกุศลและอกุศลมูล กับกุศลและกุศลมูล หรือเห็นปฏิจจสมุปบาท


ความรู้ กับ ความไม่รู้ อยู่ตรงข้ามกัน
 :25:
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ