ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: อยากทราบว่า การเล่นแร่แปรธาตุ เกี่ยวข้องกันกับ กรรมฐาน หรือไม่คะ  (อ่าน 6687 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

sunee

  • มีเหตุมีผล
  • ****
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 301
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
อยากทราบว่า การเล่นแร่แปรธาตุ เกี่ยวข้องกันกับ กรรมฐาน หรือไม่คะ
ตามหัวข้อเลยนะคะ เพราะเห็นกล่าวเรื่องธาตุ กันบ่อย ๆ ในห้องกรรมฐาน คิดว่านำมาถามห้องนี้น่าจะได้คำตอบที่เข้าใจง่ายกว่า ห้องนั้นคะ ( ห้องนั้นรู้สึกยิ่งอ่าน ยิ่งไม่ค่อยจะรู้ คะ )
  :hee20hee20hee: :hee20hee20hee:

 อาจจะเป็นเพราะเป็นผู้ติดตามธรรม อย่างฉาบฉวยกระมังคะ จึงยังไม่แจ่มแจ้งเข้าใจคะ

 ขอบคุณทุกท่านที่ตอบนะคะ

   :c017: :c017: :c017:
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มิถุนายน 28, 2012, 06:32:38 pm โดย vichai »
บันทึกการเข้า

ธรรมะ ปุจฉา

  • http://www.facebook.com/srikanet?ref=tn_tnmn
  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +2/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 713
  • ปัญญสโก ภิกขุ (พระที) ..... คณะ ๓/๓ วัดพลับ
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
อยากทราบว่า การเล่นแร่แปรธาตุ เกี่ยวข้องกันกับ กรรมฐาน หรือไม่คะ


เกี่ยวข้องจ๊ะ

   มากกว่านั้น ส่วนตัวคิดว่า เราๆเองยังไม่ควรรู้ ถึงรู้ก็ยังไม่สามารถทำได้
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มิถุนายน 28, 2012, 06:32:48 pm โดย vichai »
บันทึกการเข้า
ยาดี มิได้ทำให้คนหายไข้   คนหายไข้ เพราะได้กินยาดี
ธรรมะ มิได้ทำให้คนดี       คนดีได้  เพราะปฏิบัติธรรม

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28431
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0
อยากทราบว่า การเล่นแร่แปรธาตุ เกี่ยวข้องกันกับ กรรมฐาน หรือไม่คะ
ตามหัวข้อเลยนะคะ เพราะเห็นกล่าวเรื่องธาตุ กันบ่อย ๆ ในห้องกรรมฐาน คิดว่านำมาถามห้องนี้น่าจะได้คำตอบที่เข้าใจง่ายกว่า ห้องนั้นคะ ( ห้องนั้นรู้สึกยิ่งอื่น ยิ่งไม่ค่อยจะรู้ คะ )
  :hee20hee20hee: :hee20hee20hee:

 อาจจะเป็นเพราะเป็นผู้ติดตามธรรม อย่างฉาบฉวยกระมังคะ จึงยังไม่แจ่มแจ้งเข้าใจคะ

 ขอบคุณทุกท่านที่ตอบนะคะ

   :c017: :c017: :c017:


เล่นแร่แปรธาตุ
  ก. พยายามทําโลหะที่มีค่าตํ่าเช่นตะกั่วให้กลายเป็นทองคําตามความเชื่อแต่โบราณ, โดยปริยายหมายความว่า สับเปลี่ยนของที่มีราคาให้เป็นของที่มีราคาต่ำกว่า.


ที่มา พจนานุกรมอิเล็กทรอนิกส์ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒


   
    การเล่นแร่แปรธาตุไม่เกี่ยวกับกรรมฐาน..นะขอรับ
    ส่วนเรื่องธาตุในกรรมฐาน พรุ่งนี้จะมาคุยอีกที

     :49:
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28431
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0


ธาตุ ๑, ธาตุ-
    [ทาด, ทาตุ-, ทาดตุ-] น. สิ่งที่ถือว่าเป็นส่วนสําคัญที่คุมกันเป็นร่างของสิ่งทั้งหลาย โดยทั่ว ๆ ไปเชื่อว่ามี ๔ ธาตุ ได้แก่ ธาตุดิน ธาตุนํ้า ธาตุไฟ ธาตุลม แต่ก็อาจมีธาตุอื่น ๆ อีก เช่น อากาศธาตุ วิญญาณธาตุ ธาตุไม้ ธาตุทอง ธาตุเหล็ก. (ป.).


ธาตุ ๒
    [ทาด, ทาตุ-] น. กระดูกของพระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า และพระอรหันต์ โดยทั่ว ๆ ไปเรียกรวม ๆ ว่า พระธาตุ, ถ้าเป็นกระดูกของพระพุทธเจ้า เรียก พระบรมธาตุ หรือ พระบรมสารีริกธาตุ, ถ้าเป็นกระดูกของพระอรหันต์ เรียกว่า พระธาตุ, ถ้าเป็นกระดูกส่วนใดส่วนหนึ่งของพระพุทธเจ้า ก็เรียกตามความหมายของคํานั้น ๆ เช่น พระอุรังคธาตุ พระทันตธาตุ, ถ้าเป็นผมของพระพุทธเจ้า เรียกว่า พระเกศธาตุ; ชื่อคัมภีร์ในพระพุทธศาสนาซึ่งว่าด้วยธาตุ เช่น ธาตุกถา ธาตุปาฐ. (ป., ส.); (ถิ่น-อีสาน) เจดีย์ที่บรรจุกระดูกคนที่เผาแล้ว.


ธาตุ ๓
    [ทาด] (วิทยา) น. สารเนื้อเดียวล้วนซึ่งประกอบด้วยบรรดาอะตอมที่มีโปรตอนจํานวนเดียวกันในนิวเคลียส.


ธาตุ ๔
    [ทาด] น. รากศัพท์ของคําบาลีสันสกฤตเป็นต้น เช่น ธาตุ มาจาก ธา ธาตุ สาวก มาจาก สุ ธาตุ กริยา มาจาก กฺฤ ธาตุ.


ที่มา พจนานุกรมอิเล็กทรอนิกส์ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒
ขอบคุณภาพจาก http://www.thaigoodview.com/




ธาตุ ๑- สิ่งที่ทรงสภาวะของมันอยู่เองตามธรรมดาของเหตุปัจจัย,
       ธาตุ ๔ คือ
           ๑. ปฐวีธาตุ สภาวะที่แผ่ไปหรือกินเนื้อที่ เรียกสามัญว่า ธาตุแข้นแข็งหรือธาตุดิน
           ๒. อาโปธาตุ สภาวะที่เอิบอาบดูดซึม เรียกสามัญว่า ธาตุเหลวหรือธาตุน้ำ
           ๓. เตโชธาตุ สภาวะที่ทำให้ร้อน เรียกสามัญว่า ธาตุไฟ
           ๔. วาโยธาตุ สภาวะที่ทำให้เคลื่อนไหว เรียกสามัญว่า ธาตุลม ;
       ธาตุ ๖ คือ เพิ่ม
           ๕. อากาสธาตุ สภาวะที่ว่าง
           ๖. วิญญาณธาตุ สภาวะที่รู้แจ้งอารมณ์ หรือ ธาตุรู้


ธาตุ ๒- กระดูกของพระพุทธเจ้าและพระอรหันต์ทั้งหลาย เรียกรวมๆ ว่า พระธาตุ
       (ถ้ากล่าวถึงกระดูกของพระพุทธเจ้าโดยเฉพาะเรียกว่า พระบรมธาตุ พระบรมสารีริกธาตุ พระสารีริกธาตุ หรือระบุชื่อกระดูกส่วนนั้นๆ เช่น พระทาฐธาตุ)


โลกธาตุ แผ่นดิน; จักรวาลหนึ่งๆ

ธาตุกัมมัฏฐาน กรรมฐานที่พิจารณาธาตุเป็นอารมณ์,
       กำหนดพิจารณาร่างกายแยกเป็นส่วนๆ ให้เห็นว่าเป็นแต่เพียงธาตุ ๔ คือ ดิน น้ำ ไฟ ลม ประชุมกันอยู่ ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่ตัวตนของเรา


จตุธาตุววัตถาน การกำหนดธาตุ ๔
       คือ พิจารณาร่างกายนี้ แยกแยะออกไปมองเห็นแต่ส่วนประกอบต่างๆ ที่จัดเข้าไปในธาตุ ๔ คือ ปฐวี อาโป เตโช วาโย ทำให้รู้ภาวะความเป็นจริงของร่างกาย ว่าเป็นแต่เพียงธาตุ ๔ ประชุมกันเข้าเท่านั้น ไม่เป็นตัวสัตว์บุคคลที่แท้จริง


นิพพานธาตุ ภาวะแห่งนิพพาน;
       นิพพาน หรือ นิพพานธาตุ ๒ คือ
           ๑. สอุปาทิเสสนิพพาน ดับกิเลสมีเบญจขันธ์เหลือ
           ๒. อนุปาทิเสสนิพพาน ดับกิเลสไม่มีเบญจขันธ์เหลือ


ที่มา พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)
ขอบคุณภาพจาก http://www.saimahayana.com/
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28431
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0


ธาตุที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติกรรมฐาน

    ขอแนะนำให้ศึกษาและทำความเข้าใจ ดังนี้

ธาตุ ๔ (สิ่งที่ทรงสภาวะของตนอยู่เอง คือมีอยู่โดยธรรมดา เป็นไปตามเหตุปัจจัย ไม่มีผู้สร้าง ไม่มีอัตตา มิใช่สัตว์ มิใช่ชีวะ) ได้แก่ ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ และ วาโยธาตุ คือ มหาภูต หรือ ภูตรูป ๔ นั่นเอง.

ธาตุกัมมัฏฐาน ๔ (กรรมฐานคือธาตุ, กรรมฐานที่พิจารณาธาตุเป็นอารมณ์ กำหนดพิจารณากายนี้แยกเป็นส่วนๆ ให้เป็นว่าเป็นเพียงธาตุสี่แต่ละอย่างไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ตัวตนของเรา)
     ๑. ปฐวีธาตุ  คือ ธาตุที่มีลักษณะแข้นแข็ง ภายในตัวก็มี ภายนอกตัวก็มี กล่าวเฉพาะที่เป็นภายใน สำหรับกำหนด พอให้สำเร็จประโยชน์เป็นอารมณ์ของกรรมฐาน ได้แก่ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ม้าม หัวใจ ตับ พังผืด ไต ปอด ไส้ใหญ่ ไส้น้อย อาหารใหม่ อาหารเก่า หรือสิ่งอื่นใดก็ตามในตัว ที่มีลักษณะแข้นแข็งเป็นต้น อย่างเดียวกันนี้
     ๒. อาโปธาตุ คือ ธาตุที่มีลักษณะเอิบอาบ ภายในตัวก็มี ภายนอกตัวก็มี กล่าวเฉพาะที่เป็นภายใน สำหรับกำหนด พอให้สำเร็จประโยชน์เป็นอารมณ์ของกรรมฐาน ได้แก่ ดี เสลด หนอง เลือด เหงื่อ มันข้น น้ำตา เปลวมัน น้ำลาย น้ำมูก ไขข้อ มูตร หรือสิ่งอื่นใดก็ตามในตัว ที่มีลักษณะเอิบอาบเป็นต้น อย่างเดียวกันนี้.
     ๓. เตโชธาตุ  คือ ธาตุที่มีลักษณะร้อน ภายในตัวก็มีภายนอกตัวก็มี กล่าวเฉพาะที่เป็นภายใน สำหรับกำหนด พอให้สำเร็จประโยชน์เป็นอารมณ์ของกรรมฐาน ได้แก่ ไฟที่ยังกายให้อบอุ่น ไฟที่ยังกายให้ทรุดโทรม ไฟที่ยังกายให้กระวนกระวาย ไฟที่ยังอาหารให้ย่อย หรือสิ่งอื่นใดก็ตามในตัว ที่มีลักษณะร้อนเป็นต้น อย่างเดียวกันนี้
     ๔. วาโยธาตุ  คือ ธาตุที่มีลักษณะพัดผันเคร่งตึง ภายในตัวก็มี ภายนอกตัวก็มี กล่าวเฉพาะที่เป็นภายในสำหรับกำหนด พอให้สำเร็จประโยชน์เป็นอารมณ์ของกรรมฐาน ได้แก่ ลมพัดขึ้นเบื้องบน ลมพัดลงเบื้องต่ำ ลมในท้อง ลมในไส้ ลมซ่านไปตามตัว ลมหายใจ หรือสิ่งอื่นใดก็ตามในตัว ที่มีลักษณะพัดผันไปเป็นต้น อย่างเดียวกันนี้


ตัวอย่างธาตุที่แสดงข้างต้นนี้ ในปฐวีธาตุมี ๑๙ อย่าง ในอาโปธาตุมี ๑๒ อย่าง เติมมัตถลุงค์ คือมันสมอง เข้าเป็นข้อสุดท้ายในปฐวีธาตุ รวมเป็น ๓๒ เรียกว่า อาการ ๓๒ หรือ ทวัตติงสาการ.

    ธาตุกัมมัฏฐานนี้ เรียกอย่างอื่นว่า ธาตุมนสิการ (การพิจารณาธาตุ) บ้าง
    จตุธาตุววัฏฐาน (การกำหนดธาตุสี่) บ้าง
    เมื่อพิจารณากำหนดธาตุ ๔ ด้วยสติสัมปชัญญะ มองเห็นความเกิดขึ้นและความเสื่อมสลายไปในกาย ตระหนักว่ากายนี้ก็สักว่ากาย มิใช่สัตว์ บุคคล ตัวตน เราเขา ดังนี้
    จัดเป็นกายานุปัสสนาสติปัฏฐานส่วนหนึ่ง (หมวดที่ ๕ คือ ธาตุมนสิการบรรพ).


อ้างอิง ที.ม.๑๐/๒๗๘/๓๒๙; ม.มู.๑๒/๓๔๒/๓๕๐; ม.อ.๑๔/๖๘๔-๗/๔๓๗; วิสุทธิ.๒/๑๖๑.



ธาตุ ๖ ได้แก่ธาตุ ๔ หรือมหาภูต ๔ คือ ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ และ วาโยธาตุ นั้น กับเพิ่มอีก ๒ อย่าง คือ
     ๕. อากาสธาตุ (สภาวะที่ว่าง โปร่งไป เป็นช่อง)
     ๖. วิญญาณธาตุ (สภาวะที่รู้แจ้งอารมณ์, ธาตุรู้ ได้แก่ วิญญาณธาตุ ๖ คือ จักขุวิญญาณธาตุ โสต~ ฆาน~ ชิวหา~ กาย~ มโนวิญญาณธาตุ )


อ้างอิง ม.อุ.๑๔/๑๖๙/๑๒๕; อภิ.วิ.๓๕/๑๑๔/๑๐๑.


ธาตุกัมมัฏฐาน ๖ ได้แก่ ธาตุกัมมัฏฐาน ๔ นั้น และเพิ่มอีก ๒ อย่าง คือ
     ๕. อากาสธาตุ คือ ธาตุที่มีลักษณะเป็นช่องว่าง ภายในตัวก็มีภายนอกตัวก็มี กล่าวเฉพาะภายใน สำหรับกำหนด พอให้สำเร็จประโยชน์ เป็นอารมณ์ของกรรมฐาน ได้แก่ ช่องหู ช่องจมูก ช่องปาก ช่องทวารหนัก ทวารเบา ช่องแห่งอวัยวะทั้งหลาย หรือที่อื่นใดที่มีลักษณะเป็นช่องว่างอย่างเดียวกันนี้
     ๖. วิญญาณธาตุ คือ ธาตุที่มีลักษณะเป็นเครื่องรู้แจ้งอารมณ์ กล่าวคือ วิญญาณธาตุ ๖.



อ้างอิง ม.อุ.๑๔/๖๘๔-๙/๔๓๗-๔๔๐.
ที่มา พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)
ขอบคุณภาพจาก http://forums.apinya.com/,http://www.good4u.co.th/,http://lampfs.in.th/




    ในพระไตรปิฎก กล่าวถึง ธาตุ ๔ , ธาตุ ๕ และธาตุ ๖

    ธาตุ ๔ อยู่ใน มหาสติปัฏฐานสูตร เรื่อง"ธาตุมนสิการบรรพ"
    พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๐ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒ ทีฆนิกาย มหาวรรค

    http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=10&A=6257&Z=6764&pagebreak=0

    ธาตุ ๕ อยู่ใน มหาราหุโลวาทสูตร หัวข้อ "ธาตุ ๕ และ ภาวนาเสมอด้วยธาตุ ๕"
    พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๓ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๕ มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์

    http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=13&A=2541&Z=2681&pagebreak=0

    ธาตุ ๖ อยู่ใน ธาตุวิภังคสูตร
    พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๖ มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์

    http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=14&A=8748&Z=9019&pagebreak=0

    ธาตุ ๖ อยู่ใน อภิธรรม เรื่อง "ธาตุวิภังค์ สุตตันตภาชนีย์ ธาตุ ๖"
    พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๕ พระอภิธรรมปิฎก เล่มที่ ๒ วิภังคปกรณ์

    นัยที่ ๑ http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=35&A=2064&Z=2171&pagebreak=0
    นัยที่ ๒  http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=35&A=2172&Z=2203&pagebreak=0

   ข้อความในพระไตรปิฎกอ่านยากและเข้าใจยาก ผมขอแนะนำกระทู้ในเว็บมัชฌิมา ที่น่าจะอ่านง่ายกว่า มีสองกระทู้

    การพิจารณา"ธาตุกรรมฐาน"
    http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=5260.msg19399#msg19399

    ธาตุจักรวาลวิปริต! เหตุ'อกุศลจิตของมนุษย์'
    http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=7639.msg28085#msg28085

    สงสัยอะไรก็สอบถามกันมาได้นะครับ

     :25:
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มิถุนายน 29, 2012, 01:19:36 pm โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

intro

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 77
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
การเล่นแร่แปรธาตุ น่าจะหมายถึง ธาตุ ใด ธาตุ หนึ่ง ให้เป็นอีกธาตุ หนึ่ง กระมังครับ

เช่นการเปลี่ยน ผิวเหล็กให้เป็น ผิงทองแดง เงิน นาค ทอง เป็นต้น

    ใช่หรือไม่ ? ก็ไม่กล้าฟังธง

   เพราะผมไม่ถนัด เล่น แร่ แปร ธาตุ

   ถนัด แต่ เล่นเน็ต เป็น ตังค์ ครับ

   :s_hi: :hee20hee20hee:

บันทึกการเข้า

ธรรมะ ปุจฉา

  • http://www.facebook.com/srikanet?ref=tn_tnmn
  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +2/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 713
  • ปัญญสโก ภิกขุ (พระที) ..... คณะ ๓/๓ วัดพลับ
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
อย่าเพิ่งไปรู้กันเลยจะดีกว่า  :72: ยังมองไปเห็นที่จักเกิดประโยชน์ในตอนนี้ เช่น  ว่าจักเอาความรู้นี้ ไปทำประโยชน์อะไร ให้แก่ตนได้  ในตอนนี้   :smiley_confused1:
บันทึกการเข้า
ยาดี มิได้ทำให้คนหายไข้   คนหายไข้ เพราะได้กินยาดี
ธรรมะ มิได้ทำให้คนดี       คนดีได้  เพราะปฏิบัติธรรม

sunee

  • มีเหตุมีผล
  • ****
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 301
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ขอบคุณ ทุกท่านที่ให้คำตอบ กับ เรา นะจ๊ะ อ่านแล้วได้ความรู้ขึ้นมากเลยคะ
ที่ถามอย่างนี้ไม่ถามในห้องกรรมฐาน โดยตรง ก็เพราะว่า จะได้กลับเข้าไปอ่านในห้องนั้นได้เข้าใจคะ เพราะช่วงหลัง ๆ มานี่เข้าไปอ่านไม่ค่อยจะเข้าใจ คะ

    ยังไม่สรุปนะคะ ว่า กรรมฐาน เกี่ยวกับการเล่นแร่แปรธาตุ หรือไม่คะ
    แต่ คุณ Nathaponson ช่วยยืนยันแล้วว่าไม่เกี่ยว อันนี้คำอธิบายก็คล้อยตามหลายส่วนแล้วคะ

    แต่ คุณ Mr.งังจัง บอกว่า เกี่ยว ก็อยากฟังว่าเกี่ยวอย่างไรบ้างนะคะ ช่วยแจกความรู้ด้วยนะคะ

   :c017: :25: :88:
บันทึกการเข้า

PRAMOTE(aaaa)

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 3598
  • ความศรัทธาคือเชื่อเรื่องการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ดูจะออกแนวมีฤทธิ์มีเดชนะ แปรธาตุก็คือเปลี่ยนธาตุได้
     ขอยกของครูบาอาจารย์มาแล้วกัน เอาของพระพุทธเจ้าก่อน พระองค์ใช้อํานาจทางกายไปได้จนถึงพรหมโลก
        มีเฉพาะพระพุทธเจ้า และพระอริยเจ้าชั้นสูงที่ เข้าสุขสัญญา ลหุสัญญาได้ และที่ได้นวหรคุณ และอานาปานสติเก้าจุด เดินธาตุ ปล่อยธาต เรียกธาตุเข้าตัว ปล่อยธาตุออกตัว วิชาธาตุภูสิโต ของหลวงปู่ก็มี และที่เป็นพระอาจารย์กรรมฐาน ที่ได้กรรมฐานเหล่านี้ และยังมีตํารากรรมฐานรักษาโรค อีกด้วย
    การเปลียนธาตุ ขอยกของสมเด็จพระสังฆราชสุก ไก่เถื่อน
        ท่าน เดินบนผิวนํา ท่านเปลียน ของเหลวเป็นของแข็ง เปลียนนําเป็นดิน
  ขอยกแค่ตัวอย่างเดียว ท่านคงพอจะนึกออกกันแล้ว ของพระพุทธเจ้าก็มีมากมาย
          นั่นเป็นฤทธิ์ของผู้มีบุญที่ได้อิทธิบาทสี่ทั้งหมด ก็ขออิงที่พระพุทธเจ้าไว้ก่อน
       แต่ในเชิงกรรมฐานขอลําดับไว้แบบที่ได้ยินมาอย่างนี้ ธาตุไฟดับธาตุดิน
            ธาตุนําดับธาตุไฟ
           ธาตุลมดับธาตุน้า
          ธาตุอากาศดับธาตุลม
              ใครจะเห็นอย่างไรก็อย่าไปเถียงกันเลยแล้วแต่ความเห็นของใครของมันก็แล้วกัน ไม่ว่ากัน
     
บันทึกการเข้า
การมีกัลยาณมิตร ครูบาอาจารย์ ที่สั่งสอนธรรม เป็นเรื่องที่ดี
..เชื่อเรื่องการตรัสรู้ธรรม ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
...และเชื่อในพระธรรมที่เป็นตัวแทนของพระศาสดา

ธรรมะ ปุจฉา

  • http://www.facebook.com/srikanet?ref=tn_tnmn
  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +2/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 713
  • ปัญญสโก ภิกขุ (พระที) ..... คณะ ๓/๓ วัดพลับ
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
ก็ที่เห็นได้ใกล้ตัว  ก็ตอนที่ท่านทั้งหลาย ได้ปรับเปลี่ยนธาตุ ต่างๆในกายของท่านยังไง

     หลายครั้ง ที่เราๆ มีร่างกายที่ไม่สบาย เป็นโน้นเป็นนี่   ส่วนหนึ่ง ก็มากจาก ความไม่สมดุลในธาตุของร่างกาย  ทางการแพทย์แผนโบราณ ของไทยเรา ก็จะใช้ยาช่วยในการปรับธาตุให้สมดุล เช่น ยาธาตุน้ำขาว ยาธาตุน้ำแดง เป็นต้น แต่ในส่วนการปฏิบัติกรรมฐานแล้ว จะมีส่วนเข้าไปปรับธาตุของเราให้ดีขึ้น เห็นได้ชัดเจนอย่างเช่น การหายใจไม่คร่อง หายใจคัดมีเสลดในคอ พอได้นั่งปฏิบัติแล้ว พอช่วงเวลาหนึ่ง สามารถเดินจิตเป็นสมาธิได้ดีแล้ว สามารถหายใจได้ถูกวิธี เดินปราณได้ ร่างกายได้รับอ๊อกซิเจ้น ได้เต็มที่ ระบบเลือดไหลเวียนได้ดีสะดวก ความสมดุลทางร่างกายเกิด ธาตุในร่างกายถูกปรับเปลี่ยนไปในทางที่ดีขึ้น สมดุลมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด หรืออาจจะคุยในเรื่อง กรรมฐานรักษาโรค เช่นนี้ คือตัวอย่าง ง่ายและใกล้ตัว ที่อย่างมาก ก็อย่างเช่น จะเห็นได้ว่า  พระผู้ปฏิบัติหลายท่าน เมื่อละสังขารแล้ว กายของท่านเกิดการปรับเปลี่ยน เป็นพระธาตุ นี้ก็อย่างหนึ่ง ไม่ต้องไปพูดถึง การปรับเปลี่ยนธาตุในธรรมชาติ ให้เป็นอะไรๆตามที่เราต้องการ  เอาแค่เรื่องแรกที่ว่ามา  ทำให้ได้ก่อน  หากไม่เรื่องอื่นๆคงไม่ต้องคิด ก็ขนาดกายตัวเองยังปรับเปลี่ยนให้ธาตุในร่างกายของเรา เป็นธาตุที่ดีที่สมบูรณ์ไม่ได้เลย ยังมีเจ็บป่วยอยู่มากเลย  ถ้าเกิดเจ็บป่วยน้อยแล้วไซร้ค่อยว่ากัน  อย่าไปคิดกันมากนะจ๊ะ เกิดอยากจะได้ อยากจะทำ จะไปทำ  ให้จิตติดอยากมีฤทธิ์ จักทำให้ปฏิบัติกรรมฐานไม่ได้นะจ๊ะ   :smiley_confused1:
บันทึกการเข้า
ยาดี มิได้ทำให้คนหายไข้   คนหายไข้ เพราะได้กินยาดี
ธรรมะ มิได้ทำให้คนดี       คนดีได้  เพราะปฏิบัติธรรม

PRAMOTE(aaaa)

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 3598
  • ความศรัทธาคือเชื่อเรื่องการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
การปรับธาตุ ล้างธาตุ เสริมธาตุ หรือบางทีก็เรียกว่าการฟอกธาตุฟอกขันธ์ ในทางกรรมฐาน
     เริ่มกระบวนการทํางาน ตั้งแต่ อนุโลม-ปฏิโลม เข้าวัด-ออกวัด เริ่มจากตรงนี้ขึ้นไป
      นั่นเป็นการเริ่มกระบวนการรักษา ของกาย ของใจ ทั้งรูปและนาม ก็ว่าไปตามลําดับ ตามครูบาอาจารย์อย่าให้คลาดเคลื่อน.
      ส่วนการปรับแบบปรกติในชีวิต ท่าน งังจัง ได้อธิบายไว้แล้ว
บันทึกการเข้า
การมีกัลยาณมิตร ครูบาอาจารย์ ที่สั่งสอนธรรม เป็นเรื่องที่ดี
..เชื่อเรื่องการตรัสรู้ธรรม ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
...และเชื่อในพระธรรมที่เป็นตัวแทนของพระศาสดา