ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: กิงฉันทชาดก-ชาดกว่าด้วยโทษที่ฉกฉวยเอาประโยชน์ของคนอื่น  (อ่าน 1908 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

นิรตา ป้อมนาวิน

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +20/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 1212
  • อย่างน้อยชาตินี้ขอปิดอบายภูมิ
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์


กิงฉันทชาดก-ชาดกว่าด้วยโทษที่ฉกฉวยเอาประโยชน์ของคนอื่น


ในความยาวนานเป็นอสงไขยแห่งห้วงอนันตจักรวาลนี้ ทุกชีวิตล้วนเคยเกิดและตายมานับครั้งไม่ถ้วนจนกระดูกของคนนับได้ว่ากองเท่าภูเขาและสูงใหญ่ได้เท่ากับผู้อยู่ใกล้ตัวที่ต้องร่วมกรรมต้องกันมาทุกชาติทุกชีวิต มีความเป็นไปเช่นนี้เหมือนกันหมด
เหตุดังนี้สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า สัตว์โลกล้วนเป็นไปตามกรรม กรรมนี้มองไม่เห็นแต่ให้แสงสว่างและความมืดมนแก่เราได้ เหมือนเช่นไฟฟ้านั่นเอง บุรุษผู้ประพฤติกุศลกรรมคือทำความดี
เมื่อดับชีวิตลงในโลกมนุษย์แล้ว บุญซึ่งเป็นผลได้จากการทำงานและสร้างความดีต่อผู้อื่นก็จะส่งให้ไปจุติในภพภูมิใหม่ที่ดี คือสรวงสวรรค์ชั้นต่างๆ ตามกระแสบุญ สตรีก็ไม่ได้แตกต่างกัน การจุติคือเกิดทันทีที่สิ้นชีวิตอันเป็นปกติของสังสารวัฏ ก็จะอยู่ในการควบคุมของบาปและบุญเช่นกัน
 เทพอัปสรหรือเหล่านางฟ้า ธิดาสวรรค์ชั้นต่างๆ จึงล้วนจุติขึ้นมาได้เพราะการก่อกุศลกรรมทำดีไว้ในโลกมนุษย์ ในทางกลับกันผู้กระทำความชั่ว คิดชั่ว พูดชั่ว ทำชั่ว กรณีต่างๆ เมื่อสิ้นชีวิตก็จะตก ลงยังอบายภูมิ
คือสถานอันมืดมนขุมต่างๆ แม้ผู้กระทำดีแต่ยังมีชั่วติดตัวมาก็มิอาจเสวยสวรรค์ได้ทุกเวลา หากยังต้องจุติเป็นเปรต เป็นอสูรหลากหลายชนิดชดใช้กรรมและรอผลบุญ เมื่อพ้นขุมนรกก่อน ข้อกังขาที่ว่า แม้มีผู้ก่อบาปไว้แต่ได้ประกอบบุญอยู่ด้วยในเวลาเดียวกัน คนผู้นั้นได้ตกทุกข์หรือเสวยสุขสถานใด
 พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ เชตะวันมหาวิหาร ทรงปรารภอุโบสถกรรมตรัสพระธรรมเทศนา “ดูก่อนอุบาสก อุบาสิกาทั้งหลาย พวกท่านรักษาอุโบสถหรือ เมื่อเขากราบทูลให้ทรงทราบแล้ว ตรัสว่าท่านทั้งหลายทำการรักษาอุโบสถจัดว่าได้ทำความดี
 โบราณบัณฑิตทั้งหลายได้รับยศอันยิ่งใหญ่ ก็เพราะผลของอุโบสถกรรมกึ่งหนึ่ง” อันพวกอุบาสก อุสิกากราบทูลอาราธนา จึงทรงนำอดีตนิทานมาตรัส ในอดีตกาลเมื่อพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ในพระนครพาราณสีโดยธรรม
 ทรงเป็นผู้มีศรัทธาปสาทะ ไม่ประมาทในทาน ศีล และอุโบสถกรรม ปุโรหิตผู้เก่งทั้งการเมือง ทั้งการค้าและตัดสินคดีจึงมีพระบัญชาให้ปุโรหิตผู้เก่งกาจของพระองค์จัดการดูแล “รับด้วยเกล้า พระเจ้าค่ะ ข้าพระองค์จะรับราชโองการอย่างซื่อสัตย์เต็มกำลังพระเจ้าค่ะ”
  ปุโรหิตผู้นี้เก่งกล้าและมากบารมีก็จริง แต่มีข้อบกพร่องอยู่เป็นมลทินอย่างหนึ่ง คือฉ้อฉล คดโกงและไม่เป็นธรรมต่อการตัดสินคดีเลย “ถ้าจำเลยไม่จ่ายตามที่เราเรียกไป ก็เพิ่มโทษให้แล้วส่งไปเข้าคุกซะ”
 พระเจ้ากรุงพาราณสีบำเพ็ญบุญ สมาทานศีล ไม่ช้านานชาวบ้านก็พากันเดือดร้อนกินนอนไม่เหมือนเก่า “ฮ้า น้ำผึ้งทั้งหม้อก็ยังไม่พอเรอะ ต้องเป็นเงินทองตามที่ท่านเรียกด้วยเหรอ โอ้..คดีสามีข้าคงแพ้แน่ๆ แล้ว แน่ละ ก็ดูฝ่ายโน้นเค้าให้มาซะถุงใหญ่เลย”
 ปุโรหิตตัดสินคดีความต่างๆ ตามความมากน้อยของสินบน ก่อบาปกรรมบนความทุกข์ของประชาชนเช่นนี้สืบมา มิได้อาทรต่อบาปใดๆ “ฮึมให้ถุงเล็กไปนะ ถูกขังต่ออีกแล้ว!..” แต่ในอีกด้านหนึ่งปุโรหิตได้ปลูกศาลาในบ้านให้คนจรและผู้เดินทางมารอตัดสินคดีต่างๆ ได้พักและรับอาหารเป็นทานภัต ถือเป็นกุศลกรรมของข้าราชการขี้ฉ้อผู้นี้ทางหนึ่ง
  การทำทานเช่นนี้ถูกเล่าขานกันในหมู่ข้าราชการบริพารในพระราชทาน พระเจ้าพรหมทัตจึงเข้าใจว่า ปุโรหิตของพระองค์สมาทานศีลอุโบสถเป็นนิจเช่นกัน “อานิสงส์ของการทำอุโบสถศีล คือศีลแปดนี้จะให้พ้นนรกได้ พวกท่านจงทำเถิด”
 ทรงชมเชยปุโรหิตแก่ข้าราชบริพารทั้งหลาย “วันนี้เป็นวันถืออุโบสถศีล ปุโรหิตท่านได้กระทำอุโบสถแล้วรึยัง” ความจริงแล้วปุโรหิตมิได้ถือศีลใดๆ แต่เพื่อมิให้พระราชากริ้วก็จำต้องทูลความเท็จ
 “เช้านี้ข้าพระองค์ทำอุโบสถศีลแล้วพระเจ้าค่ะ” “สาธุ ดีมากเราขออนุโทนาบุญด้วยนะ” เมื่อเสด็จขึ้นตำหนักแล้วจึงถูกจับเท็จจากชาวราชสำนักที่รู้ทัน “ถ้าอย่างท่านปุโรหิตถือศีล พวกเราเนี่ยเป็นเทพกันไปหมดแล้วหละ” “ใช่ กล้าดียังไง มุสาต่อหน้าพระบาทได้เนี่ย”
 “พวกท่านอย่าเอ็ดอึงไป เอาหละๆ เราจะกลับไปถืออุโบสถศีลคืนนี้ทดแทนก็แล้วกัน" ปุโรหิตมิได้กล่าวพอพ้น หากแต่คิดทำกุศลถือศีลในคืนนั้นจริงๆ เขารีบกลับบ้านสั่งคนรับใช้ตระเตรียมสถานที่สมาทานศีลและที่ว่างเดินจงกลม
 เวลานั้นยังมีโอกาสได้ทำทานเพิ่มมาอีก คือมีหญิงชาวชนบทเดินทางมาถึง แต่เรามิได้หุงหาอาหารไว้เธอจึงไม่มีมื้อเย็น คงต้องทนหิวจนเช้า เย็นนั้นปุโรหิตให้หญิงชนบทมารับมะม่วงไปหนึ่งผล “วันนี้เราอาจจะถืออุโบสถจึงไม่มีอาหารเลี้ยงเช่นเคย พี่สาวรับมะม่วงแก้หิวไปก่อนละกันเถิด” “ขอให้ท่านเจริญในบุญทานนะจ๊ะ”
ครั้นได้เวลาปุโรหิตและบริวารในบ้านก็ชำระร่างกาย ห่มขาวดูสะอาดดีแล้วสวดมนต์ทำวัตรเย็น กระทำจิตเป็นกุศลเข้าสู่สมาธิ(Meditation)ภาวนาจนเกิดดวงรัตนะภายในร่างเป็นความสว่างสงบเย็นอย่างไม่เคยเป็นมาก่อน
ตั้งแต่นั้นปุโรหิตก็มิได้กราบทูลความเท็จอีก หากแต่นำบริวารถือศีล เดินจงกลม บำบัดจิตอยู่เป็นนิจจริงๆ ขณะเดียวกันก็ยังเอารัดเอาเปรียบผู้คนอยู่เป็นธุรกิจคดีเช่นเดิม “เอามา มีมากมีน้อย ก็เอามา เราบริการให้ตามจำนวนเงินอยู่แล้ว เฮ้อๆ ๆ”
ปุโรหิตได้เลื่อนตำแหน่งเป็นมหาปุโรหิตได้สิทธิ์พิเศษเพิ่มอีกมากมายในพาราณสี เพราะพระราชาเห็นในความดีที่บำเพ็ญศีลอุโบสถมิได้ขาด ย่อมเป็นความดี
เมื่อถึงกาละของปุโรหิตก็สิ้นชีวิตลง ทรัพย์สมบัติบริวาร คฤหาสน์อันใหญ่โตก็ไม่ได้มีค่าอะไรอีกต่อไป จิตอันเคยก่อกุศลได้ร่ำภาวนายึดอยู่กับพระและบุญที่ทำจนสิ้นลมหายใจ แรงภาวนาทำให้วิญญาณเห็นแสงสว่าง
แรงบุญที่ก่อไว้ทำให้จุติใหม่ในบัดดล เป็นเทพบุตรสวยงามและล่องลอยขึ้นสู่คติสถานอันสมควร เป็นสวนสวรรค์มีนางฟ้ากำนัลขับกล่อมล้อมรอบบริการ มีมะม่วงทิพย์เป็นอาหารเพราะได้เคยเมตตาให้มะม่วงแก่หญิงผู้หิวโหย
มีพรหมทิพย์รองกายเพราะเคยให้ที่พักแก่คนจรผู้มารอคดีความ แต่กฎแห่งกรรมย่อมเป็นกฎหมายอันศักดิ์สิทธิ์เสมอ เพราะยามเมื่อสิ้นแสงทิวานั้นทุกครั้งเทพบุตรปุโรหิตจะถูกกระแสอกุศลกรรมที่เคยเอาเปรียบคนอื่นและกล่าวโกหกว่าทำอุโบสถศีลครั้งนั้น
นำลงต่ำสู่อบายภูมิกลายร่างเป็นผีเปรต เรียกว่า เวมานิกเปรต มีไฟลุกไหม้หัวและหิวโหยจนต้องเอาเล็บกระชากเนื้อหนังของตนมากินอยู่ตลอดเวลา รับทุกขเวทนาใช้กรรมเช่นนี้จนอรุณรุ่งมาเยือน ก็จะได้กระแสบุญกลับไปยังวิมารเทพบุตรอีก สลับทุกข์สุขเช่นนี้นานเป็นกัปกัลป์
ในพุทธกาลนั้นปุโรหิต กำเนิดเป็น พระนวกะภิกษุผู้พูดเท็จในอุโบสถศีล
พระเจ้าพรหมทัต เสวยชาติเป็น พระพุทธเจ้า
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

fasai

  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +20/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 540
  • ทางสายกลาง
    • ดูรายละเอียด
บันทึกการเข้า
ทุกสิ่งทุกอย่าง เป็นไปตามกรรม
ใครสร้างกรรมอย่างไร ก็รับผลกรรมอย่างนั้น