ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: กาญจนักขันธชาดก(ธรรมะมีค่าดั่งทอง)  (อ่าน 2264 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

นิรตา ป้อมนาวิน

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +20/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 1212
  • อย่างน้อยชาตินี้ขอปิดอบายภูมิ
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
กาญจนักขันธชาดก(ธรรมะมีค่าดั่งทอง)
« เมื่อ: กุมภาพันธ์ 27, 2012, 04:18:05 pm »
กาญจนักขันธชาดก(ธรรมะมีค่าดั่งทอง)

  ในอดีตกาล ณ กรุงพาราณสี มีชายชาวนาผู้ขยันคนหนึ่ง ได้จับจองที่ดินรกร้างว่างเปล่า เพื่อถากถางเป็นที่นาของตน ซึ่งที่ดินแห่งนี้เมื่อในอดีต เคยเป็นที่ตั้งบ้านของเศรษฐีผู้มาก่อน 

 ชายหนุ่มได้ออกไปไถนาทุกวัน วันหนึ่งขณะที่กำลังไถนาอยู่นั้น ผาลไถ ( เหล็กสำหรับสวมหัวหมูเครื่องไถ) ก็ไปสะดุดติดอยู่กับของแข็งๆ ท่อนหนึ่งในดิน วัวที่เทียมไถไม่สามารถลากต่อไปได้จึงหยุดยืนนิ่งอยู่กับที่ เมื่อแรกเขาคิดว่าเป็นรากไม้ จึงเอามือขุดคุ้ยก้อนดินดู แต่กลับเป็นแท่งทองคำขนาดใหญ่ฝังอยู่ในดิน ทองคำแท่งนี้ เศรษฐีเจ้าของบ้านคนเดิมได้ฝังซ่อนไว้ แล้วอพยพครอบครัวไปอยู่ที่อื่น กลายเป็นที่รกร้างว่างเปล่า

ขณะนั้นเพิ่งจะบ่าย ยังมีเวลาเหลืออีกมาก ชาวนาผู้รักงานจึงค่อยๆ ทำงานต่อ แล้วโกยดินกลบท่อนทองคำไว้ดังเดิม จนกระทั่งโพล้เพล้ เขาจึงหยุดทำงาน แล้วย้อนกลับไปยังที่ฝังแท่งทองคำ คุ้ยดินออก ตั้งใจจะแบกกลับบ้าน แต่ทองมีน้ำหนักมากแบกไปไม่ไหว เขาจึงคิดที่จะแบ่งแท่งทองนี้ออกเป็นสี่ส่วน ส่วนที่ ๑ ขายนำทรัพย์มาเลี้ยงชีพ ส่วนที่ ๒ ฝังไว้ที่เดิมเก็บไว้ยามขัดสน ส่วนที่ ๓ เป็นทุนค้าขาย ส่วนที่ ๔ ทำบุญให้ทาน

เขาจึงตัดทองคำออกแบกกลับบ้านคราวละท่อนๆ นำไปใช้ตามจุดประสงค์นั้น โดยไม่มีความกังวลว่า ทองคำส่วนที่กลบดินจะสูญหายหรือไม่ แต่เพื่อความไม่ประมาท ชาวนาจึง ไม่ปริปากแพร่งพรายเรื่องนี้ให้ใครทราบแม้แต่กับลูกเมีย ยิ่งกว่านั้น แม้แต่การจับจ่ายภายในบ้าน ก็ยังให้เป็นไปตามปกติ จนไม่มีใครล่วงรู้เบื้องหลังในความเป็นผู้มั่งมีของเขาเลย เข้าใจเอาเองว่า เป็นเพราะความขยันขันแข็งในการทำงานของเขา

สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงตรัสพระคาถาว่า...

“ นรชนใด มีจิตร่าเริงแล้ว มีใจเบิกบานแล้ว บำเพ็ญธรรมเป็นกุศล เพื่อบรรลุความเกษมจากโยคะ นรชนนั้น พึงบรรลุความสิ้นสังโยชน์ทุกอย่างได้โดยลำดับ”

 ครั้นแล้วจึงทรงประชุมชาดกว่า "ชาวนา" ได้มาเป็นพระองค์เอง

ข้อคิดจากชาดก

๑. ผู้ที่เป็นครูอาจารย์ ต้องศึกษาอัธยาศัยของผู้รับคำสอนเสียก่อน แล้วพลิกแพลงวิธีการให้เหมาะสม มิฉะนั้น จะกลายเป็นยัดเยียดคำสอน อย่างไรก็ดี ก็ต้องเตรียมตัวให้พร้อม โดยฝึกคุณสมบัติ ๔ ประการ คือ ( ๑) แตกฉานในการขยายความ ( ๒) แตกฉานในการย่อความ ( ๓) แตกฉานในการพูดโน้มน้าวให้สนใจ ( ๔) มีปฏิภาณไหวพริบ ในการถามและตอบปัญหา

๒. ถ้าต้องการให้งานใหญ่สำเร็จ ต้องรู้จักแบ่งงานเป็นส่วนย่อย

๓. ผู้นำต้องฉลาดในการเก็บความลับด้วย เรื่องบางอย่างบอกใครไม่ได้






ที่มา http://www.intaram.org/index.php?lay=show&ac=article&Ntype=34&thispage=2
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ