สนง.ส่งเสริมพระกรรมฐาน

กรรมฐาน มัชฌิมา => ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน => ข้อความที่เริ่มโดย: เสกสรรค์ ที่ พฤศจิกายน 14, 2012, 09:22:36 am



หัวข้อ: สัมมาทิฏฐิ มีคอนเซ็บตื เหมือนสมการ คณิตศาสตร์ หรือไม่ครับ
เริ่มหัวข้อโดย: เสกสรรค์ ที่ พฤศจิกายน 14, 2012, 09:22:36 am
สัมมาทิฏฐิ มีคอนเซ็บตื เหมือนสมการ คณิตศาสตร์ หรือไม่ครับ

 คือมอง ว่า การเห็นอริยสัจจะ 4 เป็น สมการในการภาวนา หรือ การเรียน นะครับ เช่น
  ตั้ง สมการว่า  ทุกข์ มีเพราะมี เรา เรา มีเพราะมี ความไม่รู้ อย่างนี้เป็นต้น ใช่หรือไม่ครับ ดังนั้น สมการต้องเป็นอย่างนี้ เสมอใช่หรือไม่ครับ


  :s_hi: :c017:


หัวข้อ: Re: สัมมาทิฏฐิ มีคอนเซ็บตื เหมือนสมการ คณิตศาสตร์ หรือไม่ครับ
เริ่มหัวข้อโดย: SAWWALUK ที่ พฤศจิกายน 14, 2012, 09:31:06 am
น่าจะเหมือน นะคะ พระธรรม มักจะเรียกว่า พระสูตร เพราะเหตุนี้ มั้ง คะ

  :25:


หัวข้อ: Re: สัมมาทิฏฐิ มีคอนเซ็บตื เหมือนสมการ คณิตศาสตร์ หรือไม่ครับ
เริ่มหัวข้อโดย: PRAMOTE(aaaa) ที่ พฤศจิกายน 15, 2012, 03:06:58 am
สัมมาทิฏฐิ ไม่ใช่สมการคณิตศาสตร์
สัมมาทิฏฐิ คือมรรคมีองค์แปด เป็นความเห็นถูกต้อง ของแท้ ไม่เป็นอย่างอื่น
       ไม่เป็นอย่างอื่นก็คือไม่มีเปรียบเทียบว่าเป็นอย่างนั้น อย่างนี้
     เพราะอะไรจึงเปรียบเทียบ เพราะสุขทุกข์ยังไม่ดับใช่หรือไม่
     
      หากมองว่า อริยสัจจะ เป็นสมการ ก็ยิ่งไปกันใหญ่ เพราะอริยสัจจะสี่ เป็นธรรม
       ธรรมตามอริยสัจจะสี่ คือธรรมที่เป็นของแท้ตามความเป็นจริง
         สัจจะ แปลว่าความจริง เป็นของแท้ ไม่เป็นอย่างอื่น


       ความเห็นในอริยสัจจะสี่นั้น
      ถ้าสิ่งนั้นหรือความจริงนั้นคือ ข้าวจานหนึ่ง
     ผู้ที่ได้มาทางเจโต ได้กินข้าวจานนั้นเลย
     ผู้ที่ได้มาทางฝ่ายสุขวิปัสสก จะรูสึกเหมือนว่าได้กิน แต่จริงๆไม่ได้กิน
  ก็จึงมีเปรียบเทียบว่ารสชาติคงเป็นแบบนี้ คงอร่อยแบบนั้น แบบนี้ แต่จะถูกหรือไม่ถูกก็ไม่รู้ คิดความอร่อยไว้เป็นสิบๆแบบ เปรียบเปรยรสชาติความอร่อย สมมุติเอาไว้มากมาย เพราะไม่ได้กิน
    แต่อาจจะไม่ถูกเลยเพราะไม่ได้กินจริงๆ
     เพราะไม่ได้เห็นความจริง เพราะไม่ได้กินข้าวจานหนึ่งนั้น

        จึงมีความเห็น และคําอธิบาย เกี่ยวกับขันธ์ เกี่ยวกับธาตุ เกี่ยวกับอสุภะ ไว้มากมาย ที่เปรียบเทียบ เปรียบเปรย
         เพราะผู้ที่สําเร็จก็มีหลายแบบ
  แบบที่ต้องเปรียบเทียบ กับแบบที่ไม่ต้องเปรียบเทียบ
สายทางฝ่ายเจโตเห็นเป็นอย่างเดียวกัน เหมือนได้กินข้าวจานนั้น เห็นเหมือนกัน
     ในการทําสังคายนาตั้งแต่ครั้งพุทธกาลมาที่มีให้เห็น ต้องเป็นเจโตปฏิสัมภิทา จะได้ไม่มีอะไรคัดค้านกัน เพราะเห็นเหมือนกัน ก็คือเห็นความจริง เหมือนกันนั่นเอง จึงไมคําอธิบายใดๆ
    เพราะถึงความจริงคือความดับ ดับจริง
   ในเมือ ตากระทบรูปดับ หูกระทบเสียงดับ จมูกได้กลิ่นดับ ลิ้นกระทบรสดับ กายกระทบดับ ใจกระทบดับ ดับในรูปเลย
  เมื่อรัศมีนามกายดับ เมื่ออรูปเป็นรูป เอาอะไรไปเห็น เพราะอารมณ์ดับ
จึงไม่มีสุขทุกข์ใดให้เปรียบเทียบ คําอธิบายจึงไม่มี
   แต่มี มีทางมา ก็คือ การหงายของที่ถูกปิด หรือ เปิดของที่ควํา
   พระพุทธองค์ตรัสไว้ว่า เราตถาคต เเป็นได้แต่เพียงผู้บอก ก็คือ บอกทาง คือ ศิล สมาธิ ปัญญา เท่านั้นเป็นทาง ดับจริง และถึงความจริง
   เป็นอริยสัจจะสี่ประการ คือความจริงสี่ประการ
 ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค
   ก็ว่ากันไป ไม่มีผิด ไม่มีถูก เล่าสู่กันฟังไปตามวิสัย