ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ถ้าจัด อิริยาบถ เกี่ยวกับธาตุ แล้ว ควรจัดไว้อย่างไร ครับในการดำเนินธาตุ  (อ่าน 2584 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

เสกสรรค์

  • มีเหตุมีผล
  • ****
  • ผลบุญ: +3/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 419
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ถ้าจัด อิริยาบถ เกี่ยวกับธาตุ แล้ว ควรจัดไว้อย่างไร ครับในการดำเนินธาตุ คือมองตาม ธาตุบรรพ ของกายานุปัสสนาสติปัฏฐาน แล้ว อิริยาบถ นั้นเนื่องด้วยธาตุ ใช่หรือไม่ครับ

 :c017: :25:
บันทึกการเข้า

kobyamkala

  • โยคาวจรผล
  • ******
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 2236
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
เมื่อวานฟังเรื่อง จงกรมธาตุ อยู่ เกี่ยวข้องกันหรือไม่คะ ?

 :25: :58:
บันทึกการเข้า
แล้วลองแอบมาแย้มกะลา
เพื่อดูโลก เห็นแล้วตกใจโลกนี้กว้างใหญ่จริง ๆ

PRAMOTE(aaaa)

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 3598
  • ความศรัทธาคือเชื่อเรื่องการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
การจัดอิริยาบทคือรูปแบบภายนอก ที่เป็นการสมมุติให้เป็น
   แต่การเข้าถึงธาตุในภาษาของครูอาจารย์นั้น เป็นการเข้าถึงธาตุ เข้าถึงธรรมภายใน คือสภาวะธรรม ถ้าได้มาจากข้างใน ข้างนอกก็ไม่ต้องดูต้องจัด เพราะได้ด้วย เมื่อรูปดับก็ทิ้งกาย ก็คือกายาที่ว่า กายดับรูปดับ แต่กายนี้ก็มีทั้ง รูปกาย นามกาย
      ถ้าหาก วิตก วิจาร หรือแปลก็คือ ความคิด ความอ่าน ถ้าสององค์นี้ดับ เหลือแต่ ปีติ สุข เอกัคคตา
         ในสมาธิสูตรของพระพุทธเจ้า
             อสวิตักวิจาร คือสมาธิที่ไม่มีวิตก วิจาร มีแต่ ปีติ สุข เอกัคคตา
    ก็ต้องเข้าให้ถึงธาตุ รวมธาตุ และปล่อยธาตุ
        ฝึก ศิล สมาธิ ปัญญา ก็ตั้งธาตุ ปล่อยธาตุ นี่แหละ ถ้าตั้งไม่ได้มันก็ปล่อยไม่ได้ เพราะมีธาตุ4แล้วธาตุที5จึงจะมี ลักษณะไม่ได้ รัศมีไม่เกิด เอาง่ายๆแบบนี้แล้วกัน

     ถ้าตั้งธาตุไม่ได้ปล่อยธาตุไม่ได้ แล้วความคิดความอ่านที่ยกมาให้เป็นสมการข้างต้น มันจะถูกปล่อยออกไปทางไหนได้ ก็รูมันไม่มี ธาตุรวมไม่ได้ มันก็ไม่ระเบิด ถ้ารวมสําเร็จมันก็ระเบิด เกิดธาตุที่5 มันจึงมีรูออก ความคิดความอ่าน หรือ วิตก วิจาร มันก็ระเบิดออกรูนี้นี่เอง ก็ทําฌาน5-ถึงฌาน8 ต่อต้องใช้ไฟรัศมีทําฌานอรูป เพราะวิตกเมื่อชนธาตุอากาศแล้วกําลังไม่พอแหวกว่าย ต้องใช้ไฟรัศมีเป็นไฟฉาย แหวกว่ายไปหากายพุทธะ จะได้ไม่หยุดนอนนิ่ง
    เพราะมี ความคิด ความอ่าน จึงมีการจัดอิริยาบท หรือจัดรูปแบของกาย เรียกว่าปรุงแต่งกาย ปรุงแต่งจิต ถ้ากายดับแต่จิตไม่ดับกายก็ยังไม่ดับ เพราะยังเหลือ นามกาย เพราะนามก็คือกายเรียกว่านามกาย แสดงว่าจิตก็คือกายด้วย จิงชื่อนามกาย อุปาทายรูป อุปาทานขันธ์5 คือกายเป็นรูปด้วย
   ถ้าหากจะดับเพื่อความสิ้นสุดของวัฏทุกข์ คือความไม่มาเกิด ก็ต้องดับให้หมด
   กรรมฐาน มัชฌิมา แบบลําดับ เป็นกรรมฐานสองส่วน เรียนทั้งสองส่วน รู้ทั้งสองส่วน ดับทั้งสองส่วน
       คืออนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ดับทั้งกายทั้งจิต คือ ดับทั้งรูปและนาม
 เมื่อปล่อยรูปได้ทั้งดินและไฟรูปนามออกไปหมุนได้ ก็ใกล้อานาปาน
 ถึงกระบวนการธาตุล้างธาตุ ไฟดับดิน นําดับไฟ ลมดับนํา อากาศดับลม วิปัสสนานามสุขดับรูปกาย
     วิปัสสนานามสุข ก็คือนามกาย
นามกายดับรูปกาย รูปกายดับนามกาย นามดับรูป รูปดับนาม แถวๆ อานาปาน จึงชื่อปฏิสัมภิทามรรค กระบวนการธาตุล้างธาตุ

      หากเข้าถึงธาตุ วิตก วิจารดับ
     อิริยาบทดับ ไม่ต้องไปจัด เพราะมันดับ

     การเข้าถึงสภาวะธรรมภายใน ภายนอกก็ได้ด้วย นั่นเป็นของแถมให้มีความสุข ให้เป็นสุขในเวลาที่เหลืออยู่ แต่ปณิธานเพื่อความไม่ต้องกลับมาเกิดเป็นมนุษย์นั้นต้องมาก่อน ของแถมเป็นแค่แพคเกตยังไงมันก็ต้องได้อยู่แล้ว
     เข้าให้ถึงจิตล้วนๆ พระอนาคามีอย่างตําทาให้ได้ เพื่อความไม่มาเกิดยังโลก
    พระอนาคาคือผู้ที่ไม่กลับมา
         ก็ว่ากันไปตามตามวิสัยทัศ
บันทึกการเข้า
การมีกัลยาณมิตร ครูบาอาจารย์ ที่สั่งสอนธรรม เป็นเรื่องที่ดี
..เชื่อเรื่องการตรัสรู้ธรรม ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
...และเชื่อในพระธรรมที่เป็นตัวแทนของพระศาสดา