ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: เราภาวนา กรรมฐาน ประจำ แต่ไม่ได้สวดมนต์ แบบคนอื่น อย่างนี้เป็นไรหรือไม่คะ  (อ่าน 2763 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

Lux

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 113
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
เราภาวนา กรรมฐาน ประจำ แต่ไม่ได้สวดมนต์ แบบคนอื่น อย่างนี้เป็นไรหรือไม่คะ
 
 คือ คนวัดมักจะตำหนิ ว่า ไม่สวดมนต์ เอาแต่นั่งกรรมฐาน อย่างเดียว ไม่ดี.....

 ก็เลย อึ้ง ไปเลย คะ

    คือ ก่อนจะไปทำงาน และ ก่อนนอน จะนั่งกรรมฐาน ประมาณ 30 - 45 นาที คะ สวดมนต์บท พุทธคุณ เท่านั้นแต่ไม่ได้สวด อย่าง พวกคุณยาย คุณย่า คะ พวกท่านสวดกันอย่างเดียว สวดกันนาน ๆ คะ

 อยากทราบว่า การภาวนา ของ เรานั้น เป็นการเพิ่มบารมีธรรม กรรมฐาน หรือไม่คะ

 thk56 ทุกท่านที่แนะนำคะ

บันทึกการเข้า
อยากให้ทุกคนได้มีรอยยิ้ม มีความสุข แม้แบบชาวโลก
อยากให้ทุกคนไม่มีทุกข์ มีแต่สุข ในการภาวนา
อยากหนอ .... ก็ทุกข์หนอ ใช่หรือไม่จ๊ะ

komol

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +7/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 643
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ก็ทำไปตาม อัธยาศัย ของเรา เลยสิครับ ไม่ต้องไปสนใจ คนรอบข้างก็ได้ เราทำเป็นการส่วนตัว ภาวนาเป็นการส่วนตัว ที่สำคัญ คือ ควรภาวนาสมำ่เสมอ ครับ

  st12
บันทึกการเข้า
พลังจิต พลังปราณ พลังสมาธิ เป็นพลังสมดุลย์ เพื่อปัญญา

PRAMOTE(aaaa)

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 3598
  • ความศรัทธาคือเชื่อเรื่องการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
การภาวนา เป็น บาทฐานของการสร้างความดี กรรมดี คือ มรรค ไปสู่ ผล สู่นิพพาน ที่เป็นสุขอย่างยิ่ง ที่พระตถาคตตรัส สรรเสริญ
       
     ก็ลองสวด อาราธนาศิล เพิ่มอีกนิด ก่อนภาวนา ไม่ยาว สั้นๆ

       เป็นชาวพุทธศาสนิกชน ต้องมีศิล และอาราธนา ศิล

       เพราะศิล นําไปสู่ ความสู่ ความปกติสุข

        ศิล สมาธิ ปัญญา

       คือทาง แห่ง มรรค และ ผล

       ศิล สมาธิ คือทางเดินของเรา และเป็นมรรค

      ปัญญา คือสําเร็จแล้ว ตรงนั้น คือผล เป็นผล

        ขอให้ท่านโชคดี
บันทึกการเข้า
การมีกัลยาณมิตร ครูบาอาจารย์ ที่สั่งสอนธรรม เป็นเรื่องที่ดี
..เชื่อเรื่องการตรัสรู้ธรรม ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
...และเชื่อในพระธรรมที่เป็นตัวแทนของพระศาสดา

kindman

  • พอพึ่งพาได้
  • ***
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 272
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ผมว่า ควรจะต้องทบทวน ว่าเราภาวนาเพื่ออะไรกันครับ

   ภาวนา สักว่า ตามเขา
   ภาวนา สักว่า แฟชั่น
   ภาวนา เพราะว่า ว่างไม่มีอะไรทำ
   ภาวนา เพราะอะไร โปรดทบทวน ครับ

   :s_hi: :67:
บันทึกการเข้า

ธรรมะ ปุจฉา

  • http://www.facebook.com/srikanet?ref=tn_tnmn
  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +2/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 713
  • ปัญญสโก ภิกขุ (พระที) ..... คณะ ๓/๓ วัดพลับ
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
เหตุที่ทำให้มนต์เสื่อมเป็นต้น
อสชฺฌายมลา  มนฺตา          อนุฏฺฐานมลา  ฆรา
มลํ  วณฺณสฺส  โกสชฺชํ        ปมาโท  รกฺขโต  มลํ.

                                        (ธมฺมปท)

  มนตราเว้นบ่นพร่ำ            เกิดมละ นา
คร้านเกียจแผ้วฆรา             ไป่เกลี้ยง
สกนธ์บ่ชำระ                     เหม็นสาบ ท่านเนอ
ประมาทเลินเล่อเพี้ยง           ทรัพย์ท่านเสียหายฯ

                                        (ญ.ญ.ม.)
   มนต์ไม่หมั่นสาธยายก็ลืมเลือน  บ้านเรือนไม่หมั่นปัดกวาดเช็ดถูก็สกปรก
ร่างกายไม่หมั่นขัดสีฉวีวรรณก็เศร้าหมอง มีหน้าที่เฝ้าดูแลแต่เผลอเรอ
ข้าวของก็เสียหาย ฯ

แต่หากจำได้ทำตามได้ ตามที่เราสวดได้ ก็คงไม่ต้อง (สำหรับผู้ที่จำได้แล้ว ปฏิบัติตามคำสั่งสอนของพระพุทธองค์ ที่อยู่ในบทต่าง ๆ )

แต่หากจะสวดเพื่อสืบทอดเพื่อทรงจำ เพื่อให้ผู้มาใหม่ได้ ได้ยินว่าเขาสวดกันอย่างไรสวดแบบไหนเป็นการสวดที่ถูกต้อง เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการสืบต่อศาสนา ก็เป็นการดี

หลาย ๆ ครั้ง เวลาเราจะปฏิบัติ บางที่ก็ลืม จะจำได้ก็ต้องมาท่องมาสวดทวนกัน จึงจำได้ทำถูกตามคำที่พระพุทธองค์สอน

แต่ที่นี้ ตัวเราเองคงจะเป็นผู้ที่จะรู้ได้ดีที่สุดว่า เราจะสวดมนต์ตอนไหน จะนั่งกรรมฐานตอน คนอื่น มาพูดว่า เขาก็ไม่ได้ประโยชน์นอกจากเราเอง ถ้าท่านมาถึงตรงจุดนี้แล้ว ก็ไม่ต้องไปสนใจใคร

แต่ถ้าเป็นผู้มาใหม่ยังทำอะไรต่ออะไรไม่เป็น ก็คงต้องอาศัยกัลญานมิตรที่ดี ค่อยแนะนำบอกสอยเรา ดังนี้แล
[/color][/size]
บันทึกการเข้า
ยาดี มิได้ทำให้คนหายไข้   คนหายไข้ เพราะได้กินยาดี
ธรรมะ มิได้ทำให้คนดี       คนดีได้  เพราะปฏิบัติธรรม