ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
หน้า: [1] 2 3 ... 10
 1 
 เมื่อ: วันนี้ เวลา 08:40:59 am 
เริ่มโดย raponsan - กระทู้ล่าสุด โดย raponsan
.



พาไปรู้จัก "ประเพณีบุญลูกหนู" หาดูยากของชาวมอญ ที่วัดยอดพระพิมลเมืองนนท์

รายการกินไปทั่วมั่วบ้านงาน สัปดาห์นี้ พาไปรู้จัก "ประเพณีบุญลูกหนู" วัดยอดพระพิมล ต.ขุนศรี อ.ไทรน้อย จ.นนทบุรี

ประเพณีบุญลูกหนู วัดยอดพระพิมล ต.ขุนศรี อ.ไทรน้อย จ.นนทบุรี หรือ ประเพณีแข่งจุดลูกหนู เป็นประเพณีอย่างหนึ่งในงานฌาปนกิจของพระสงฆ์ชาวมอญระดับเจ้าอาวาส ในสมัยก่อนการเผาศพพระสงฆ์มอญ ไม่ใช้มือจุดแต่จะจุดไฟเผาด้วยลูกหนู

ต่อมาภายหลังกลายเป็นประเพณีการแข่งขัน โดยจะให้ลูกหนูวิ่งไปชนตัวปราสาท หรือโลงศพจำลอง ที่ยอดปราสาทจะคล้ายกับยอดเมรุ โดยถ้าลูกหนูใครยิงไปโดนป้าย หรือยอดเมรุให้ล่วงลงพื้นก็จะมีรางวัล

โดยก่อนที่จะทำการแข่งขันแต่ละทีมจะต้องนำลูกหนูแห่รอบเมรุเวียนซ้ายเสียสามรอบก่อน เพื่อแสดงความเคารพถึงครูบาอาจารย์ หลังจากนั้นจึงแห่ออกไปยังสนามแข่งขัน และเริ่มทำการแข่งขัน โดยวิธีการแข่งแต่ละทีมจะมีลูกหนู 12 ลูก จุดวนไปจนครบทุกลูก ผู้ชนะก็คือผู้ที่สามารถชนยอดปราสาทหลังใหญ่ (เป้า) ให้ตกถึงพื้นได้

สำหรับเมรุที่ใช้ในงานพระราชทานเพลิงศพ จะเป็นเมรุลอยปราสาท 9 ยอด พร้อมโลงศพแบบมอญ โดยก่อนที่จะมีพิธีพระราชทานเพลิงศพ จะมีประเพณี “วอญย์แฝะ” การโล้ปราสาทแย่งศพ เพื่อแสดงความเคารพ และระลึกถึงครูบาอาจารย์ ซึ่งทั้ง 2 ประเพณีนี้ทุกวันนี้หาดูได้ยาก

ชมวิดีโอได้ที่ : https://youtu.be/Unu0FSdmh08

















 
Thank to : https://www.amarintv.com/news/detail/214631
18 เม.ย. 67

 2 
 เมื่อ: วันนี้ เวลา 08:30:06 am 
เริ่มโดย raponsan - กระทู้ล่าสุด โดย raponsan
.



เปิดภาพ "พิธีบวงสรวงคันไถ" งานพระราชพิธีพืชมงคล จรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ปี 2567

กระทรวงเกษตรฯ จัดพิธีบวงสรวงคันไถงานพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญปี 2567 เพื่อความเป็นสิริมงคลและสร้างขวัญกำลังใจให้แก่เจ้าหน้าที่และผู้ปฏิบัติงาน

วันที่ 18 เมษายน 2567 นายประยูร อินสกุล ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานพิธีบวงสรวงคันไถในงานพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ประจำปี 2567 โดยมีผู้บริหารกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เทพีคู่หาบทอง และเทพีคู่หาบเงิน เข้าร่วม ณ บริเวณปะรำพิธีอาคารจัดเก็บคันไถ กรมส่งเสริมการเกษตร

โดยพิธีบวงสรวงคันไถได้เริ่มขึ้นในเวลา 09.00 น. ประธานในพิธีจุดเทียนธูปบูชาเครื่องสังเวยบวงสรวงคันไถ พระมหาราชครูพิธีศรีวิสุทธิคุณ กล่าวนำคำอธิษฐานจิต จากนั้นประธานปักธูปบนเครื่องสังเวยบวงสรวงคันไถ นายพีรพันธ์ คอทอง อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร พร้อมด้วยเทพีคู่หาบทอง หาบเงิน ปักธูปบนเครื่องสังเวยบวงสรวงคันไถ พระมหาราชครูฯ อ่านโองการ ประพรมน้ำเทพมนตร์ และเจิมคันไถ




ลำดับต่อมาประธานและอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร นำพวงมาลัยคล้องคันไถตามลำดับ จากนั้นประธานโปรยข้าวตอกดอกไม้ บริเวณเครื่องสังเวยเพื่อความเป็นสิริมงคล ผู้บริหารที่ร่วมในพิธี เทพีคู่หาบทอง หาบเงิน ร่วมวางพวงมาลัยบนพานหน้าคันไถเพื่อสักการะ เป็นอันเสร็จพิธี

นายประยูรกล่าวว่า กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้มอบหมายให้กรมส่งเสริมการเกษตร เป็นผู้จัดเก็บ ดูแล รักษา ซ่อมแซม ปรับปรุง และจัดเตรียมคันไถ สำหรับเข้าร่วมวันซ้อมย่อย วันซ้อมใหญ่ และวันงานพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญประจำปี 2567 ซึ่งกรมส่งเสริมการเกษตรได้ปฏิบัติหน้าที่นี้มาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน

โดยในช่วงเดือนเมษายน ก่อนพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญของทุกปี กรมส่งเสริมการเกษตรจะดำเนินการซ่อมแซม ปรับปรุงคันไถให้มีสภาพสมบูรณ์พร้อมใช้งาน และปี 2567 นี้ ได้กำหนดจัดพิธีบวงสรวงคันไถ เพื่อความเป็นสิริมงคลและสร้างขวัญกำลังใจให้แก่เจ้าหน้าที่และผู้ปฏิบัติงาน




ทั้งนี้ ในอดีต คันไถเป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการเตรียมดินก่อนปลูกข้าว ใช้แรงงานสัตว์ เช่น โค กระบือ ในการขับเคลื่อน ซึ่งถูกนำมาใช้ประกอบพิธีไถหว่านในพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญทุกปี โดยพระราชพิธีฯ มีมาแต่โบราณตั้งแต่กรุงสุโขทัยเป็นราชธานีจนกระทั่งกรุงรัตนโกสินทร์ ในสมัยรัชกาลที่ 4 ได้ทรงโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้มีพิธีสงฆ์ เรียกว่า “พระราชพิธีพืชมงคล” ร่วมด้วย จึงทำให้พระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ มีพระราชพิธีพืชมงคลรวมกับพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ซึ่งเป็นพิธีพราหมณ์ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา

ซึ่งพระราชพิธีนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อเป็นตัวอย่างแก่ราษฎรในการทำนา เป็นสิริมงคลและบำรุงขวัญแก่เกษตรกร กำหนดจัดขึ้นในเดือนหก ทางจันทรคติ หรือเดือนพฤษภาคม ซึ่งเป็นระยะเวลาเหมาะสมในการเริ่มต้นการทำนาของทุกปี โดยในปี 2567 สำนักพระราชวังกำหนดให้มีพระราชพิธีพืชมงคล ในวันพฤหัสบดีที่ 9 พฤษภาคม 2567 ณ พระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม และพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ในวันศุกร์ที่ 10 พฤษภาคม 2567 ณ มณฑลพิธีท้องสนามหลวง




สำหรับคันไถ ที่ใช้ประกอบพระราชพิธีฯในปัจจุบัน ถูกสร้างขึ้นเมื่อปี 2539 โดยเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมหนองโพ อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี น้อมเกล้าน้อมกระหม่อมสร้างถวายพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ซึ่งมีชุดองค์ประกอบ ดังนี้

1) คันไถ ขนาดความสูงวัดจากพื้นถึงเศียรนาค 2.26 เมตร และยาวจากเศียรนาคถึงปลายไถ 6.59 เมตร ทาสีแดงชาดตลอดคันไถ หัวคันไถทำเป็นเศียรพญานาคลงรักปิดทอง ลวดลายประดับคันไถเป็นลายกระจังตาอ้อยลงรักปิดทองตลอดคัน ปลายไถหุ้มผ้าขาวขลิบทองสำหรับมือจับ

2) แอกเทียมพระโค ยาว 1.55 เมตร ตรงกลางแอกประดับด้วยรูปครุฑยุดนาคหล่อด้วยทองเหลืองลงรักปิดทองอยู่บนฐานบัว ปลายแอกทั้งสองด้านแกะสลักเป็นรูปเศียรพญานาคลงรักปิดทอง ลวดลายประดับเป็นลาย กระจังตาอ้อยลงรักปิดทองตลอดคัน ปลายแอกแต่ละด้านมีลูกแอกทั้งสองด้านสำหรับเทียมพระโคพร้อมเชือกกระทาม

3) ฐานรอง เป็นที่สำหรับรองรับคันไถพร้อมแอก ทำด้วยไม้เนื้อแข็งทาด้วยสีแดงชาด มีลวดลายประดับเป็นลายกระจังตาอ้อยลงรักปิดทองทั้งด้านหัวไถและปลายไถ

4) ธงสามชาย เป็นธงประดับคันไถติดตั้งอยู่บนเศียรนาคทำด้วยกระดาษและผ้าสักหลาด เขียนลวดลายลงรักปิดทองประดับด้วยกระจกแวว มีพู่สีขาวประดับเป็นเครื่องสูงชนิดหนึ่ง เพื่อประดับพระเกียรติ ธงสามชายมีลักษณะเป็นรูปสามเหลี่ยม ฐานยาว 41 เซนติเมตร สูง 50 เซนติเมตร และเสาธงยาว 72 เซนติเมตร





ขอบคุณที่มา : https://www.prachachat.net/economy/news-1545410
วันที่ 18 เมษายน 2567 - 13:57 น.

 3 
 เมื่อ: วันนี้ เวลา 06:23:35 am 
เริ่มโดย aventure1 - กระทู้ล่าสุด โดย aventure1
ดันกระทู้ 

 4 
 เมื่อ: เมษายน 18, 2024, 10:36:35 pm 
เริ่มโดย todaytimepost11 - กระทู้ล่าสุด โดย todaytimepost11
ขออนุญาต อัพเดทกระทู้

 5 
 เมื่อ: เมษายน 18, 2024, 08:19:32 pm 
เริ่มโดย todaytimepost11 - กระทู้ล่าสุด โดย todaytimepost11
ขออนุญาต อัพเดทกระทู้

 6 
 เมื่อ: เมษายน 18, 2024, 05:53:23 pm 
เริ่มโดย todaytimepost11 - กระทู้ล่าสุด โดย todaytimepost11
ขออนุญาต อัพเดทกระทู้

 7 
 เมื่อ: เมษายน 18, 2024, 12:48:19 pm 
เริ่มโดย aventure1 - กระทู้ล่าสุด โดย aventure1
ดันกระทู้ 

 8 
 เมื่อ: เมษายน 18, 2024, 09:38:50 am 
เริ่มโดย aventure1 - กระทู้ล่าสุด โดย aventure1
ดันกระทู้ 

 9 
 เมื่อ: เมษายน 18, 2024, 07:02:57 am 
เริ่มโดย raponsan - กระทู้ล่าสุด โดย raponsan
.



ปลัดมท.นำพุทธศาสนิกชน ประกอบพิธียกฉัตรยอดเจดีย์เสมาจตุรทิศ ณ วัดปรมัยยิกาวาส วรวิหาร

เจ้าประคุณสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ พร้อมด้วยปลัดมหาดไทยและนายกสมาคมแม่บ้านมหาดไทย นำพุทธศาสนิกชน ประกอบพิธียกฉัตรยอดเจดีย์เสมาจตุรทิศ ณ วัดปรมัยยิกาวาส วรวิหาร โอกาสมงคลวาระครบรอบ 150 ปีการฉลองพระอาราม และร่วมบูรณปฏิสังขรณ์ศาสนสถานเพื่อความเป็นสิริมงคลแก่ชาวไทยเชื้อสายมอญและพุทธศาสนิกชนทั่วไป

เมื่อเวลา 17.17 น. วันที่ 17 เมษายน ที่วัดปรมัยยิกาวาส วรวิหาร ตำบลเกาะเกร็ด อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี เจ้าประคุณสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (สุชิน อคฺคชิโน) ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม ราชวรวิหาร เมตตาเป็นประธานฝ่ายสงฆ์ พร้อมด้วย นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย ดร.วันดี กุญชรยาคง จุลเจริญ นายกสมาคมแม่บ้านมหาดไทย เป็นประธานฝ่ายฆราวาสพิธียกฉัตรยอดเจดีย์เสมาจตุรทิศ พระอุโบสถวัดปรมัยยิกาวาส วรวิหาร โดยได้รับเมตตาจาก พระครูพิพิธเจติยาภิบาล (บัวทอง ถาวโร) ป.ธ.5 เจ้าอาวาสวัดปรมัยยิกาวาส วรวิหาร ร่วมประกอบพิธี

โดยมี นายสุธี ทองแย้ม ผู้ว่าราชการจังหวัดนนทบุรี พลเอก พิสิษฐ์ นพเมือง รองเจ้ากรมพระธรรมนูญ นายประสพโชค อยู่สำราญ ที่ปรึกษาปลัดกระทรวงมหาดไทย นายภิรมย์ ชุมนุม นายอำเภอปากเกร็ด นายวิชัย บรรดาศักดิ์ นายกเทศมนตรีนครปากเกร็ด นายสมชาย ทัดชัง นายกองค์การบริหารส่วนตำบลเกาะเกร็ด พลโท ชาติวัฒน์ งามนิยม ไวยาวัจกรวัดปรมัยยิกาวาส วรวิหาร นายบรรหาญ เนาวรัตน์ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลโก่งธนู หัวหน้าส่วนราชการ คณะอุบาสก อุบาสิกา พุทธศาสนิกชน ร่วมพิธีเป็นจำนวนมาก




โอกาสนี้ นายสุทธิพงษ์จุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัย จากนั้น พระครูพิพิธเจติยาภิบาล เจ้าอาวาสวัดปรมัยยิกาวาส วรวิหาร นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย ดร.วันดี กุญชรยาคง จุลเจริญ นายกสมาคมแม่บ้านมหาดไทย นายสุธี ทองแย้ม ผู้ว่าราชการจังหวัดนนทบุรี และผู้ร่วมพิธี เข้าถวายสักการะแด่เจ้าประคุณสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ เจ้าหน้าที่กล่าวคำบูชาพระรัตนตรัยและอาราธนาศีลแบบรามัญ จบแล้ว เจ้าประคุณสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม ราชวรวิหาร ประธานฝ่ายสงฆ์ ปิดทองยอดฉัตร ผูกผ้าชมพู และคล้องมาลัยฉัตร แล้วประกอบพิธียกฉัตร จนครบทั้ง 4 ทิศ พระสงฆ์เจริญชัยมงคลคาถา ถวายเครื่องไทยธรรม พระสงฆ์อนุโมทนา กรวดน้ำ รับพร เป็นอันเสร็จพิธี

นายสุทธิพงษ์กล่าวว่า วัดปรมัยยิกาวาส วรวิหาร เป็นพระอารามหลวง ชั้นโท ชนิดวรวิหาร เดิมชื่อ วัดปากอ่าว เป็นวัดโบราณสร้างมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา มีชื่อในภาษามอญว่า “เภี่ยมุเกี๊ยะเติ้ง” หมายความว่า วัดหัวแหลม เป็นวัดเก่าแก่ที่ถูกทิ้งร้างหลังจากคราวเสียกรุงครั้งที่ 2 จนกระทั่งถึงปี 2317 สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช โปรดเกล้าฯ ให้ชาวมอญมาตั้งบ้านเรือนที่เกาะเกร็ด พระสุเมธาจารย์ (เถ้า) พระเถระผู้ใหญ่ฝ่ายรามัญได้รวบรวมผู้มีจิตศรัทธาสร้างเจดีย์ทรงรามัญ รวมทั้งพระพุทธไสยาสน์ขึ้น และท่านดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาสองค์แรกของวัดนี้

จวบจนในปี 2417 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินทอดกฐิน ณ วัดปากอ่าว โดยได้เสด็จทอดพระเนตรบริเวณวัดซึ่งเสนาสนะต่างชำรุดทรุดโทรมและบางส่วนปรักหักพัง จึงทรงอนุสรณ์รำลึกนึกถึง สมเด็จพระบรมราชมาตามหัยิกาเธอ กรมพระยาสุดารัตน์ราชประยูร ผู้ทรงอภิบาลพระองค์มาแต่ทรงพระเยาว์ จึงโปรดเกล้าฯ ให้ปฏิสังขรณ์วัดใหม่ทั้งวัดโดยรักษารูปแบบมอญไว้

เพื่อถวายเป็นพระกุศลสนองพระคุณ สมเด็จพระบรมราชมาตามหัยิกาเธอ กรมพระยาสุดารัตน์ราชประยูร ผู้ทรงอภิบาลพระองค์มาแต่ทรงพระเยาว์ และได้พระราชทานนามวัดว่า “วัดปรมัยยิกาวาส” ซึ่งมีความหมายว่า วัดของพระบรมอัยยิกา ปัจจุบันมี พระครูพิพิธเจติยาภิบาล (บัวทอง ถาวโร) ป.ธ.5 เป็นเจ้าอาวาส






“วัดปรมัยยิกาวาส วรวิหาร ได้ดำเนินการบูรณะฉัตรยอดสีมาจตุรทิศ ซึ่งเป็นฉัตรเดิมที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดการพระราชพิธีผูกสีมาขึ้น เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 26 กุมภาพันธ์ พุทธศักราช 2427 จนแล้วเสร็จ และได้รับพระกรุณาจากเจ้าพระคุณสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ทรงเจิมเพื่อความเป็นสวัสติมงคลแล้ว จึงได้กำหนดจัดพิธียกฉัตรยอดเจดีย์สีมาจตุรทิศขึ้น ซึ่งวันนี้ พระครูพิพิธเจติยาภิบาล เจ้าอาวาสวัดปรมัยยิกาวาส วรวิหาร ได้เชิญชวนอุบาสกอุบาสิกา ผู้มีจิตศรัทธา ร่วมกันบูรณะพระอารามวัดปรมัยยิกาวาส วรวิหารแห่งนี้

อันถือว่าเป็นนิมิตหมายอันดีในการสร้างศูนย์รวมให้เกิดความรู้รักสามัคคีขึ้นในชุมชน ได้พร้อมใจกันร่วมประกอบพิธียกฉัตรขึ้นสู่พระอุโบสถ มีเจ้าประคุณสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม ราชวรวิหาร เมตตาเป็นประธานฝ่ายสงฆ์ อันเป็นฤกษ์งามยามดีเนื่องในโอกาสครบรอบ 150 ปีการฉลองพระอาราม และเป็นการบูรณะในรอบ 30 ปี ซึ่งทุกท่านได้มาร่วมกันทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาปฏิบัติบูชาเพื่อเป็นพุทธบูชา ธรรมบูชา สังฆบูชา

เพื่อให้พระอุโบสถแห่งนี้ เป็นมงคลสถานที่ในการประกอบศาสนกิจของพระเถรานุเถระ ประกอบกิจกรรมทางพระพุทธศาสนาของพุทธศาสนิกชนพื้นที่เกาะเกร็ด อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี และพื้นที่ใกล้เคียง เพื่อสืบสาน รักษา และต่อยอด มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมวิถีมอญ ให้คงอยู่คู่กับชุมชนแห่งนี้ ดำรงคงอยู่ให้กับลูกหลานของเราสืบไป” นายสุทธิพงษ์ กล่าวเพิ่มเติม






นายสุทธิพงษ์กล่าวเพิ่มเติมว่า ขอเชิญชวนพี่น้องประชาชน มาร่วมกันอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณีของพุทธศาสนิกชนคนไทย ด้วยการทำปฏิบัติบูชาโดยเฉพาะอย่างยิ่งในวันสำคัญทางศาสนา โดยการเชิญชวนครอบครัวลูกหลานมาเข้าวัด ฟังเทศน์ฟังธรรม ทำบุญตักบาตร ปลูกต้นไม้ ปล่อยปลา ทำกิจกรรมจิตอาสา สร้างการมีส่วนร่วมในการทำสิ่งที่ดี สร้างเสริมความรักสามัคคี พร้อมถ่ายทอดไปยังเยาวชนคนรุ่นใหม่ ได้น้อมนำเอาหลักศาสนาไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวัน ซึ่งสิ่งสำคัญคือผู้นำทั้งฝ่ายบ้านเมืองและฝ่ายสงฆ์ที่จะต้องช่วยกันสืบสาน รักษา และต่อยอด พร้อมถ่ายทอดวัฒนธรรมประเพณีอันดีงามสู่เยาวชนคนรุ่นใหม่

ด้วยการทำให้ส่งเสริมวัดแห่งนี้ได้เป็นสถานที่ศูนย์รวมจิตใจของพุทธศาสนิกชนตลอดจนเป็นสถานที่ศึกษาหาความรู้ เป็นสัปปายะสถานสำหรับประชาชน ด้วยการบูรณาการความร่วมมือในรูปแบบของพลัง “บวร” คือ บ้าน วัด ราชการ ส่งเสริมสิ่งที่ดีในชีวิต ด้วยการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ส่งเสริมหลักการพึ่งพาตนเอง ตามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการดำเนินการโครงการวัด ประชา รัฐ สร้างสุข ของฝ่ายสาธารณูปการของมหาเถรสมาคม กระทรวงมหาดไทย และภาคีเครือข่าย ซึ่งท้ายที่สุดเมื่อทุกคนในสังคมปฏิบัติแต่สิ่งที่ดีก็จะทำให้สังคมดี คนในสังคมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันนำไปสู่ความสงบสุขของประเทศชาติอย่างยั่งยืนต่อไป





ขอบคุณ : https://www.matichon.co.th/politics/news_4530759
วันที่ 17 เมษายน 2567 - 23:40 น.

 10 
 เมื่อ: เมษายน 18, 2024, 06:52:11 am 
เริ่มโดย raponsan - กระทู้ล่าสุด โดย raponsan


สถานีรถไฟนครราชสีมา


“ปากช่อง” จังหวัดนครราชสีมา ชื่อนี้มาจากไหน.?

“ปากช่อง” คืออำเภอหนึ่งในจังหวัดนครราชสีมา ถือเป็น “ด่านแรก” หรือประตูที่เชื่อมการเดินทางจาก “ถนนมิตรภาพ” เข้าสู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อำเภอปากช่อง โดดเด่นเรื่องสถานที่ท่องเที่ยวตามธรรมชาติ อย่าง อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ที่ยังครอบคลุมพื้นที่อีก 10 อำเภอ ทั้งในนครราชสีมา สระบุรี นครนายก และปราจีนบุรี ปากช่องจึงเป็นจุดหมายปลายทางของนักท่องเที่ยวที่ต้องการสัมผัสธรรมชาติ สูดอากาศสดชื่น

เราได้ยินชื่ออำเภอปากช่องกันจนคุ้นหู แล้ว “ปากช่อง” ที่ว่านี้มาจากไหน.?

ในอดีต ปากช่องเป็นหมู่บ้านเล็กๆ ในตำบลขนงพระ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่มีการขยายโครงข่ายคมนาคม โดยเฉพาะ “รถไฟ” เพื่อความสะดวกในการปกครองและการเดินทาง ก็มีการสร้างทางรถไฟสายแรก คือ กรุงเทพมหานคร-นครราชสีมา

ทางรถไฟสายนี้ มีการเปิดซองประมูลการก่อสร้างใน พ.ศ. 2434 นายยี. มูเร แกมป์เบลล์ (George Murray Campbell) ชาวอังกฤษจากสิงคโปร์ เป็นผู้ชนะการประมูลในราคา 9.95 ล้านบาท โดยมีห้างซาดินเมเทธชั่นแห่งอังกฤษ เป็นผู้ค้ำประกัน

หลังจากสร้างได้ไม่นาน บริษัทผู้รับสัมปทานไม่สามารถสร้างทางรถไฟได้เสร็จตามสัญญา กรมรถไฟหลวงจึงเลิกจ้าง และดำเนินการก่อสร้างเอง แต่การก่อสร้างก็มีอุปสรรค เพราะการสร้างทางรถไฟช่วงอยุธยาไปชุมทางบ้านภาชี สระบุรี เข้าสู่ดงพญาเย็น ปรากฏว่าคนงานและวิศวกรเสียชีวิตเป็นจำนวนมากจากไข้ป่า

กว่าจะสร้างทางรถไฟ กรุงเทพมหานคร-นครราชสีมา ระยะทางรวม 265 กิโลเมตร แล้วเสร็จ งบประมาณในการก่อสร้างก็บานปลายไปถึง 17.5 ล้านบาท ทั้งยังใช้เวลาก่อสร้างถึง 9 ปี มีพิธีเปิดสถานีรถไฟที่นครราชสีมา เมื่อวันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2443

ส่วนที่ว่าทำไมถึงได้ชื่อว่า “ปากช่อง” ก็เพราะว่าทางรถไฟสายดังกล่าวตัดผ่านกลางหมู่บ้าน ต้องระเบิดภูเขาเป็นช่อง จึงเรียกกันว่า “บ้านปากช่อง”

ต่อมาเมื่อมีการสร้างถนนมิตรภาพ การเดินทางสะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น ทางการจึงยกฐานะของปากช่องขึ้นเป็นกิ่งอำเภอ และขยับขึ้นเป็น อำเภอปากช่อง เช่นที่คุ้นกันในปัจจุบัน

อ่านเพิ่มเติม :-

    • “รถไฟ (จะ) ไปโคราช” เส้นทางรถไฟสายแรกของไทย ที่ฝรั่งทิ้งงาน รัฐต้องรับต่อ 9 ปีถึงสร้างเสร็จ
    • ที่มา “นามสกุล” ชาว “โคราช” หลักฐานสำคัญบ่งชี้ภูมิประเทศถิ่นกำเนิด
    • “สุดบรรทัด-เจนจบทิศ” สู่ “ถนนมิตรภาพ” ช่วยย่นเวลาเดินทางกทม.-โคราชจาก 10 เหลือ 3 ชม.




ขอขอบคุณ :-
ผู้เขียน : กองบรรณาธิการศิลปวัฒนธรรม
เผยแพร่ : วันศุกร์ที่ 12 เมษายน พ.ศ.2567
เผยแพร่ในระบบออนไลน์ครั้งแรก : เมื่อ 11 เมษายน 2567
URL : https://www.silpa-mag.com/culture/article_130696
อ้างอิง : เสมียนนารี. จังหวัดนครราชสีมา จังหวัดที่มีอำเภอมากที่สุดในประเทศไทย.

หน้า: [1] 2 3 ... 10