สนง.ส่งเสริมพระกรรมฐาน

กรรมฐาน มัชฌิมา => ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน => ข้อความที่เริ่มโดย: ธัมมะวังโส ที่ กรกฎาคม 02, 2015, 07:55:13 am



หัวข้อ: มารไม่มี บารมี ไม่แก่กล้า
เริ่มหัวข้อโดย: ธัมมะวังโส ที่ กรกฎาคม 02, 2015, 07:55:13 am
(https://scontent-kul1-1.xx.fbcdn.net/hphotos-xta1/v/t1.0-9/11692785_843697872378335_2358298578753908126_n.jpg?oh=769a66f0a0e1b569aad7706cf39f3963&oe=5620E8A5)

พระพุทธเจ้า ผู้เป็นครูของเหล่าเทวดา และมนุษย์ ทรงชนะมาด้วย ผลแห่งทาน ทานบารมี อุปบารมี ปรมัตถบารมี เป็นบารมี สำคัญ ทุกภพทุกชาต ของความเป็นมนุษย์ และ เทวดา บารมีที่ปรากฏแล้ว ทุกชาติ ย่อมปรากฏ ทานบารมี เป็นหลัก อันว่าผลแห่งทาน คือ ปีติ และ สุข นั่นเอง....


หัวข้อ: ที่ไม่ภาวนาไม่ได้ เพราะ ไม่ละ อุปกิเลส 16 ประการ นั่นเอง
เริ่มหัวข้อโดย: ธัมมะวังโส ที่ กรกฎาคม 02, 2015, 07:56:31 am
อุปกิเลส หรือ จิตตอุปกิเลส 16
(ธรรมเครื่องเศร้าหมอง, สิ่งที่ทำให้จิตขุ่นมัว รับคุณธรรมได้ยาก ดุจผ้าเปรอะเปื้อนสกปรก ย้อมไม่ได้ดี — mental defilements)
1. อภิชฌาวิสมโลภะ (คิดเพ่งเล็งอยากได้ โลภไม่สมควร, โลภ กล้า จ้องจะเอาไม่เลือกควรไม่ควร — greed and covetousness; covetousness and unrighteous greed)
2. พยาบาท (คิดร้ายเขา — malevolence; illwill)
3. โกธะ (ความโกรธ — anger)
4. อุปนาหะ (ความผูกโกรธ — grudge; spite)
5. มักขะ (ความลบหลู่คุณท่าน, ความหลู่ความดีของผู้อื่น, การลบล้างปิดซ่อนคุณค่าความดีของผู้อื่น — detraction; depreciation; denigration)
6. ปลาสะ (ความตีเสมอ, ยกตัวเทียมท่าน, เอาตัวขึ้นตั้งขวางไว้ ไม่ยอมยกให้ใครดีกว่าตน — domineering; rivalry; envious rivalry)
7. อิสสา (ความริษยา — envy; jealousy)
8. มัจฉริยะ (ความตระหนี่ — stinginess; meanness)
9. มายา (มารยา — deceit)
10. สาเถยยะ (ความโอ้อวดหลอกเขา, หลอกด้วยคำโอ้อวด — hypocrisy)
11. ถัมภะ (ความหัวดื้อ, กระด้าง — obstinacy; rigidity)
12. สารัมภะ (ความแข่งดี, ไม่ยอมลดละ มุ่งแต่จะเอาชนะกัน — presumption; competing contention; contentiousness; contentious rivalry; vying; strife)
13. มานะ (ความถือตัว, ทะนงตน — conceit)
14. อติมานะ (ความถือตัวว่ายิ่งกว่าเขา, ดูหมิ่นเขา — excessive conceit; contempt)
15. มทะ (ความมัวเมา — vanity)
16. ปมาทะ (ความประมาท, ละเลย, เลินเล่อ — heedlessness; negligence; indolence)
พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม พิมพ์ครั้งที่ ๑๒ พ.ศ. ๒๕๔๖


 อุปสรรค การภาวนา ถ้ามีตัวใด อยู่ อุปสรรค ที่ภาวนาไม่ได้ก็สูง นี่แหละคือตัวปัญหา จริง ๆ ที่ผู้ภาวนา ๆ เท่าใด ก็ไม่สำเร็จสักที
ดังนั้น วันนี้นำ ทั้ง 16 ตัว มาให้ท่านทั้งหลาย เช็คตัวเอง ก่อนตั้งคำถามกับมาที่ฉัน ว่า ตัวเอง มีอะไรอยู่ ใน 16 ตัว บางทีอาจจะไม่ต้องถามฉันก็ได้ ว่า เพราะอะไร จึงภาวนาไม่สำเร็จ


หัวข้อ: Re: มารไม่มี บารมี ไม่แก่กล้า
เริ่มหัวข้อโดย: Mario ที่ กรกฎาคม 02, 2015, 08:01:48 am
 st11 st12 st12


หัวข้อ: Re: มารไม่มี บารมี ไม่แก่กล้า
เริ่มหัวข้อโดย: PRAMOTE(aaaa) ที่ กรกฎาคม 02, 2015, 08:51:54 pm

    ขออนุโมทนาสาธุ ธรรม


หัวข้อ: Re: มารไม่มี บารมี ไม่แก่กล้า
เริ่มหัวข้อโดย: ดนัย ที่ กรกฎาคม 02, 2015, 11:38:17 pm
อุปกิเลสทั้งหมด ผมมีครบเลยครับ บางตัวก็มาก บางตัวก็น้อย บางตัวเกิดบ่อย บางตัวเกิดไม่บ่อย เวลาตั้งใจไว้ดีแล้ว พอถูกกระทบจากบุคคลอื่น หรือแม้แต่อารมณ์ที่เกิดขึ้นภายในใจเอง แม้เหตุการณ์นั้นจะผ่านไปแล้ว อุปกิเลสตัวนั้นก็เกิด ห้ามได้ยาก วางได้ยาก
โดยเฉพาะเวลาใดอธิษฐานปรารถนาเข้าถึงคุณธรรมเบื้องต้น ก็ถูกกระทบบ่อยขึ้น มากขึ้น หนักขึ้น ทำให้จิตเศร้าหมอง จิตตก สมาธิตก ไม่ตั้งมั่น
กราบขอคำแนะนำจากพระอาจารย์ครับ





หัวข้อ: อุปกิเลส ชนะหรือ สยบ ได้ด้วยการสร้างบารมี
เริ่มหัวข้อโดย: ธัมมะวังโส ที่ กรกฎาคม 03, 2015, 01:39:23 am
ก่อนอื่น ต้องยก คำก่อนว่า บารมี หมายความว่าอะไร ?
 
   คำว่า บารมี มาจากคำบาลีว่า ปารมี
   แปลเอาใจความว่า  คุณสมบัติที่เต็ม หรือ ความเต็มรอบ ความไม่ขาด ความสมบูรณ์ด้วยคุณ

  บารมี ในพระพุทธศาสนา มี 10 ประการ
  ทาน ศีล เนกขัมมะ (การออกจากกาม คือ ถือบวช) ปัญญา วิริยะ ขันติ สัจจะ อธิฐาน เมตตา อุเบกขา
 
  บารมี มี 3 ระดับ
   สามัญญบารมี คือ เติมอย่างทั่วไป  เป้าหมาย คือ ทำอย่างธรรมดา
   อุปบารมี คือ เติมด้วยอย่างพิเศษ   เป้าหมาย คือ ทำอย่างพิเศษ
   ปรมัตถบารมี คือ เติมด้วยอย่างที่สุด  เป้าหมาย คือ ทำอย่างเหนือโลก

  ยกตัวอย่าง
   การให้ทาน
    ทานบารมี ( ปกติไม่เติมคำว่า สามัญ ) ก็ให้ทาน อย่างทั่วไป เช่นการให้ทรัพย์ สิ่งของ วัตถุ ปัจจัย 4 เงิน ทอง ของตน ให้แก่ทั้งผู้ตกทุกข์ได้ยาก ให้แก่คนที่มีอยู่ มีความสุขแล้วก็ตาม อย่างนี้เรียกว่า ให้อย่างทั่วไป คือ ใครเขาก็ให้กันได้ ไม่ลำบากในการให้ เช่นพบขอทาน ก็ให้ไป 1 2 3 4 5 10 50 100 1000 เป็นต้น อย่างนี้เรียกว่าให้โดยไม่ลำบาก ไม่เกินวิสัยของคนที่จะให้

    อุปบารมี ก็ให้ทานเช่นกัน แต่ในที่นี้ หมายมั่นเป็นการให้ อวัยวะ ของตนเพื่อผู้อื่น เช่น สละดวงตา แขน ขา เพื่อรักษาชีวิต ของบุคคลอื่น ๆ ( ไม่ใช่ของตน )นี่เรียกว่า ไม่ใช่เรื่องที่จะให้ใคร ง่าย ๆ เช่น สละไต 1 ข้าง ให้กับญาต สนิท สหาย สละดวงตา ให้กับผู้ที่เป็นที่รัก หรือ ไม่เป็นที่รัก อย่างนี้เป็นต้น

    ปรมัตถบารมี ก็ให้ทานเช่นกัน แต่ในที่นี้ กล่าวว่า ให้ทานโดย ทิ้งชีวิต คือ สละชีวิตของตน เพื่อผู้อื่น ไม่ว่าผู้ที่สละชีวิตให้ จะดี หรือ ชั่วก็ตาม ไม่มีเหตุผลใด ๆ แต่ต้องการ สละชีวิต ตนเอง เพื่อรักษาชีวิตผู้อื่น ในขณะนั้น ต้องกล่าวว่าเพียงรักษา เพราะจะสละ หรือ ไม่สละ บั้นปลายของทุกคนก็คือความตาย ดังนั้นในที่นี้ หมายถึงการสละชีวิตของตนเป็น เพื่อรักษาชีวิตของผู้อื่น ในขณะนั้น
    สำหรับปรมัตถบารมีนั้น ไม่ใช่เรื่อง ทำได้ง่าย ๆ เพราะการสละชีวิตของตนเอง นับว่า ต้องใช้คุณธรรมสูง จึงจะสละชีวิตได้

    ที่นี้ เรื่องของ บารมี นั้น ต้องเป็นการทำเพื่อพระนิพพาน เท่านั้น ไม่ว่าจะเป็น สามัญญะ อุปบารมี หรือ ปรมัตถบารมี ก็ต้องทำเพื่อเป้าหมายในการทำ พระนิพพานให้แจ้ง ดังนั้น การสร้างบารมี จึงมีสองแนวทาง คือ

     การสร้างบารมี เพื่อ เป็น อนุพุทธสาวก คือ ผู้ตรัสรู้ตามพระพุทธเจ้า
     การสร้างบารมี เพื่อ เป็น พระพุทธเจ้า แบบใดแบบหนึ่ง ตั้งแต่ พระปัจเจกพุทธเจ้า จนถึง พระสัมมาสัมพุทธเจ้า นั่นเอง

     การสร้างบารมี เป็น ข่ม อุปกิเลส ในตัว
     
     อุปกิเลส มี 16 ตัว โดยย่อในทางกรรมฐาน
     อุปกิเลส บางตัวไม่สามารถขนะ เขาได้ โดยการทำแบบธรรมดา ที่เรียกว่า สามัญ
     อุปกิเลส บางตัวไม่สามารถชน เขาได้ โดยการทำแบบธรรมดา และ แบบพิเศษ
     อุปกิเลส บางตัวจะสามารถสยบ ลงได้ โดยการทำแบบปรมัตถ์ เท่านั้น


     ดังนั้นผู้ภาวนาต้องศึกษา และ เข้าใจ ในอุปกิเลส ทั้ง 16 ตัวว่า ยามใด ควรใช้ บารมี แบบไหน เป็นต้น ยกตัวอย่าง
      มานะ อติมานะ อุปกิเลสสองตัวนี้ไม่สามารถดับได้ แม้กระทั่งจิตเป็นฌาน แต่จะสามารถดับได้ โดยการเป็น พระอรหันต์ เท่านั้น ดังนั้น อุปกิเลสตัวนี้ สามัญ และ อุปบารมี ใช้ไม่ได้ ต้องเป็น ระดับ ปรมัตถ์ เท่านั้น ด้วยการ ตั้ง บารมีทั้ง 10 เพื่อพระนิพพาน

      มทะ ปมาทะ อุปกิเลสสองตัวนี้ สามารถดับได้ชั่วคราว โดย สามัญญะบารมี ด้วยการ อธิษฐาน และ ตั้งสัจจะ เป็นต้น

      อภิชฌาวิสมโลโภ พยาปาทะ อุปนาหะ เป็นต้นนี้ สามารถระงับได้ได้ชั่วคราว ใน ฌานจิตวิถี ด้วย อุปบารมี เป็นต้น ฌานจิต จัดเป็น อุปบารมี เพราะคนทั่วไปทำไม่ได้ ต้องมีคุณสมบัติทางจิตเป็นพิเศษขึ้นมา จึงจักทำได้ บารมี โดยตรง ก็คือ วิริยะ และ ปัญญา เป็นต้น

      จะเห็นได้ว่า ชนะมาร ต้อง ชนะ ด้วย บารมี การสร้างบารมี จึงเป็นเรื่องที่ควรทำเพราะ บารมี ต้องใช้เวลาไม่ใช่ จะเติมเต็มได้ทันที พระพุทธเจ้า ใช้เวลา 500000 อสงไขยชาติ จึงเต็ม ดังนั้นพวกเรา ที่ยังมีชีวิตตอนนี้ อาจจะเกิน 500000 อสงไขยแล้ว ก็ได้ แต่ที่แน่นอน ถ้าหัวใจของท่าน จิตของท่าน วิญญาณของท่าน ยังมีการสร้างบารมีมาอยู่ ก็จะมีคุณสมบัติ ในใจ คือ ความหน่าย ต่อ สังสารวัฏฏ์ อยู่เป็นปกติ นี่เรียกว่า พระโยคาวจร เวลาภาวนาธรรม ถ้าจิตของ พระโยคาวจร ตื่นขึ้นมา การดำเนินตามวิถีธรรม ก็จักเป็นไปโดยธรรมชาติแห่ง ผู้บำเพ็ญบารมี ดังนั้น เป้าหมายธรรมเบื้องต้น ก็คือ การตื่น

       การตื่น จะมีได้ ก็ต้องตั้งมั่น ใน ศีล สมาธิ และ ปํญญา
     
       การตื่น มี สามอย่าง ที่เรียกว่า ตื่น
         ตื่น ด้วย ศีล
         ตื่น ด้วย สมาธิ
         ตื่น ด้วย ปัญญา
     
      ตื่น ด้วย ศีล คือ อย่างไร ?
        เมื่อพระโยคาวจร ผู้บำเพ็ญภาวนามาใน วัฏฏะสงสาร นี้ไม่ว่าจะกี่ชาติก็ตาม เมื่อตื่น จะเป็นผู้ตั้งมั่น และมั่นคง ในศีล 5 ถึงแม้ไม่หมดจด แต่ก็คิดทำลายศีล การตื่น หมายถึง ธรรมสองอย่าง นั่นก็คือ หิริ และ โอตตัปปะ  นั่นเอง
   
      ตื่น ด้วย สมาธิ คือ อย่างไร ?
       เมื่อพระโยคาวจร ผู้บำเพ็ญภาวนามาใน วัฏฏะสงสาร นี้ไม่ว่าจะกี่ชาติก็ตาม เมื่อตื่น จะเป็นผู้น้อมจิตเข้าไปด้วยความแน่วแน่ แห่งสมาธิ ตั้งแต่ อุปจาระฌาน จนถึงอัปปนาฌาน ญาณที่เคยสั่งสมย่อมเกิดขึ้นตามวาสนาที่ได้สั่งสมมา เช่น ระลึกชาติได้ เป็นต้น การตื่นในสมาธิ หมายถึง ธรรมสองอย่าง คือ สติ สัมปชัญญะ นั่นเอง

      ตื่น ด้วย ปัญญา คือ อย่างไร ?
       เมื่อพระโยคาวจร ผู้บำเพ็ญภาวนามาใน วัฏฏะสงสาร นี้ไม่ว่าจะกี่ชาติก็ตาม เมื่อตื่น จะเป็นผู้น้อมจิตเข้าไปพิจารณา ธรรม คือ ความทุกข์ เหตุแห่งความทุกข์ การก้าวล่วงความทุกข์ และหนทางแห่งการก้าวล่วงแห่งความทุกข์ การพิจารณาธรรม สำหรับ อนุพุทธะ ก็คือ อริยะสัจจะ 4 ประการ สำหรับ พระโพธิสัตว์ ที่จักเป็นพระพุทธเจ้าองค์ต่อไป จะพิจารณา ทุกข์ และ สาเหตุแห่งทุกข์เท่านั้น ส่วนการการก้าวล่วง และ หนทางแห่งการก้าวล่วง ไม่สามารถเห็นได้ เพราะต้องไปตรัสรู้เอาเอง ในฐานะ พระโพธิสัตว์ ผู้บำเพ็ญธรรมเพื่อเป็น พระพุทธเจ้า จะมีเพียง อนุพุทธะเท่านั้น ที่สามารถน้อมธรรม คือ อริยะสัจจะทั้ง 4 ( ในพระพุทธเจ้าพระองค์ นี้ ) เพราะว่าธรรมที่สำคัญในการพิจารณา ด้วยปัญญาต่างกัน ด้วยการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
       ดังนั้นการตื่น ด้วย ปัญญา ของพระอนุพุทธะ ก็คือ สัมมาทิฏฐิ นั่นเอง

    เจริญธรรม / เจริญพร

 
   
     

 
   


หัวข้อ: จะเห็นได้ว่า การบำเพ็ญ บารมี อาศัย เวลา ดังนั้นผู้ฉลาด จึงต้องก้าวล่วง เวลา
เริ่มหัวข้อโดย: ธัมมะวังโส ที่ กรกฎาคม 03, 2015, 02:05:53 am
อุปสรรค ใหญ่ ของการสร้าง บารมี ก็คือ เวลา
และ เวลา แต่ละคน นั้น เพื่อทำ บารมี ให้เต็ม ไม่เท่ากัน
บางท่าน ก็อาจจะใช้เวลามาก
บางท่าน ก็อาจจะใช้เวลาอย่างยาวนาน
บางท่าน ก็อาจจะใช้เวลาอย่างยาวนานมาก ๆ

   ดังนั้น การก้าวล่วงเวลา เป็นสิ่งที่พระโยคาวจร ที่ฉลาด มักจะใช้กันในการเข้าถึงธรรม
  การก้าวล่วงเวลา ( เหนือกาลเวลา ) มีได้ในสภาวะเดียวก คือ สภาวะ อัปปนาจิต

  ดังนั้น ตั้งแต่อดีต แม้พระพุทธเจ้าเอง พระองค์ ก็จะอาศัยสมาธิ เป็นหลักในการเข้าถึงธรรม แม้เสวยวิมุตติ ก็อาศัยสมาธิ แม้ขณะแห่งการตรัสรู้ ก็อาศัย สมาธิ

  ดังนั้น ความสำคัญ ของ การบรรลุธรรม จริง ๆ อยู่ที่ การบำเพ็ญ สมาธิ
  ดังนั้นเวลาเราไปปฏิบัติธรรม การใช้ปัญญา การรักษาศีลนั้น ไม่ใช่เป็นเรื่องหนัก สำหรับผู้ภาวนา แต่ การใช้สมาธิ ตั้งแต่ อุปจาระสมาธิ ถึง อัปปนาสมาธิ เป็นเรื่องที่ผู้ภาวนาฝ่าด่านนี้ได้ยาก จากอดีต ถึงปัจจุบัน ก็ไม่เปลี่ยนแปลง

    ดังนั้น รูปแบบของการทำสมาธิ จึงมีแตกแขนงออกไปตามครูอาจารย์ กันมาก ในที่นี้จะไม่ขอกล่าว จะกล่าวเฉพาะที่พระพุทธเจ้า ทรงรับรองว่า เป็นการทำสมาธิ อย่างเลิศ นั่นก็คือ

      1.กายคตาสติ เป็นกรรมฐานแรก ที่ถูกส่งมอบให้แก่ ผู้บรรพชา ตั้งแต่เป็นสามเณร บทแรกก็คือ ตจปัญจกกรรมฐาน ว่า ด้วย เกสา โลมา นขา ทันตา ตโจ มีพระอรหันต์ อายน้อย ๆ ที่สำเร็จกรรมฐาน ส่วนนี้มากมาย เช่น สามเณรสังกิจจะ สามเณรทัพพะมัลละบุตร เป็นต้น
   
       2.พุทธานุสสติ เป็นกรรมฐานองค์ที่ 2 ที่พระพุทธเจ้าตรัสว่าเป็นธรรมอันเอก อันให้ถึงพระนิพพาน การเข้าถึง พระพุทธานุสสติ นั้นจัดว่าเป็นกรรมฐาน สำคัญ ประเทศไทย เรายุคนี้ ตามวัดต่าง ก็ใช้กรรมฐานนี้เป็นหลัก และดูเหมือนจะเป็นกรรมฐาน ที่ พื้นฐานอย่างมาก

      3.อานาปานสติ เป็นกรรมฐาน ที่พระพุทธเจ้า ตรัสไว้อย่างเสมอ ๆ ว่าที่สุด แม้พระองค์เองก็ทรงอยู่ ดำรงค์อยู่ ด้วย อานาปานสติ แม้ดับขันธ์ปรินิพพาน ก็ด้วยอานาปานสติ นั่นเอง
 
      4.โพชฌงค์ 7 อันสหรคต ด้วย กรรมฐานกองอื่น ๆ อันนี้อาจจะไปนิดสำหรับ พระโยคาวจร แต่จะไม่ยากเลย ถ้าเป็นพระโสดาบัน ไปแล้ว เพราะโพชฌงค์ อาศัย ผลสมาบัติ ในการเจริญภาวนา

      5.มหาสติปัฏฐาน 4 กรรมฐานส่วนนี้ เกื้อกูลสำหรับ ปัญญาวิมุตติ เป็นหลัก เป็นกรรมฐานที่ไม่ลำบากในการเจริญ แบบปัญญาวิมุตติ  ถึงแม้ บรรพะต่าง ๆ นั้นจะมีหลายหมวด แต่ส่วนใหญ่ ผู้ภาวนาจะหนักข้างทาง วิปัสสนา คือ ไปสายปัญญาวิมุตติ เป็นส่วนใหญ่ ดังนั้นแต่ มหาสติปัฏฐาน 4 เองนั้น เป็นธรรรม ที่เกื้อกูลทั้งสองสาย คือ เจโตวิมุตติ และ ปัญญาวิมุตติ
     ( แต่ปัจจุบัน จากที่ไปสังเกตการณ์ หลายสำนักแม้ สำนักใหญสายนี้ หนักข้างปัญญาวิมุตติ ยังไม่มีใครให้คำตอบ ทาง ด้าน ฌาน อัปปนาจิต หรือ วิธีการเข้า วิปัสสนา ผ่านอัปปนาจิต ให้ กับอาจารย์ได้ถูกต้องสักรูป ส่วนใหญ่จะแคลนออกไปว่า สู้สติ ไม่ได้ ประมาณนี้ นั่นก็หมายความว่า พัฒนา สติ เป็น สมาธิ พื้นฐาน แล้วกระทำการพิจารณาธรรม ตาม หมวดธรรม ตามหมวด ตามหมวดเวทนา แต่ แต่คนที่สอนก็ไม่สามารถเข้า ฌานจิตได้ ทดสอบมาหลายรูปแล้ว ส่วนใหญ่ เป็นนักคิด นักพูด เท่านั้น ข้อเสีย ในปัจจุบัน ที่ไปฟังและ คลุกคลีในสายนี้มา เป็น ปัญญาปรมัตถ์เทียม สละกิเลสได้ชั่วคราว ไม่สามารถสละได้ถาวร ส่วนตัวจึงไม่แนะนำในสายนี้ กับลูกศิษย์ เพราะถ้าไม่เอาดี ทางสมาธิ ซึ่งเป็นองค์สำคัญ ในระดับอุปจาระสมาธิ แล้ว ก็ยังผิดพลาดได้ ถึงแม้บางทีแสดงความเห็นว่า ขณิกะสมาธิ ก็สามารถหยั่งวิปัสสนา ได้ แต่นั่นหมายถึง อุคติตัญญ และ วิปจิตัญญู บุคคล นะ ที่จะสำเร็จธรรมได้ในขณะนั้น โอกาสมีน้อยมาก ที่จะได้บุคคลเหล่านี้ในปัจจุบัน )

เจริญพร


หัวข้อ: Re: มารไม่มี บารมี ไม่แก่กล้า
เริ่มหัวข้อโดย: kobyamkala ที่ กรกฎาคม 03, 2015, 07:08:25 am
 st11 st12 st12 like1
นาน ๆ จะเห็นพระอาจารย์ ตอบยาว แบบนี้


หัวข้อ: Re: มารไม่มี บารมี ไม่แก่กล้า
เริ่มหัวข้อโดย: ดนัย ที่ กรกฎาคม 03, 2015, 11:54:57 am
 st12 st12 st12


หัวข้อ: Re: มารไม่มี บารมี ไม่แก่กล้า
เริ่มหัวข้อโดย: bajang ที่ กรกฎาคม 03, 2015, 01:15:19 pm
 st11 st12 st12
ไม่รู้จะทำอะไร แต่ ก็ชอบอ่าน ข้อความที่นี่ มาก คะ
 like1


หัวข้อ: Re: มารไม่มี บารมี ไม่แก่กล้า
เริ่มหัวข้อโดย: PRAMOTE(aaaa) ที่ กรกฎาคม 04, 2015, 01:21:24 am

    ขออนุโมทนาสาธุ


หัวข้อ: Re: มารไม่มี บารมี ไม่แก่กล้า
เริ่มหัวข้อโดย: doremon ที่ กรกฎาคม 04, 2015, 03:06:16 am
 st11 st12


หัวข้อ: Re: มารไม่มี บารมี ไม่แก่กล้า
เริ่มหัวข้อโดย: KIDSADA ที่ กรกฎาคม 04, 2015, 07:55:46 am
 st11 st12 st12 like1


หัวข้อ: Re: มารไม่มี บารมี ไม่แก่กล้า
เริ่มหัวข้อโดย: Admax ที่ กรกฎาคม 04, 2015, 08:52:17 am
 st12 st12 st12 st12 เป็นคุณประโน์อย่างสูงครับ


หัวข้อ: Re: มารไม่มี บารมี ไม่แก่กล้า
เริ่มหัวข้อโดย: tewada ที่ กรกฎาคม 04, 2015, 11:26:40 am
เรื่องนี้ มีประโยชน์ อย่างยิ่งจริง ๆ ครับ

  st11 st12


หัวข้อ: Re: มารไม่มี บารมี ไม่แก่กล้า
เริ่มหัวข้อโดย: fasai ที่ กรกฎาคม 04, 2015, 01:13:51 pm
 st12 st12 st12 st11


หัวข้อ: Re: มารไม่มี บารมี ไม่แก่กล้า
เริ่มหัวข้อโดย: Admax ที่ กรกฎาคม 13, 2015, 01:17:49 am
 st12 st12 st12


หัวข้อ: Re: มารไม่มี บารมี ไม่แก่กล้า
เริ่มหัวข้อโดย: kobyamkala ที่ กรกฎาคม 13, 2015, 07:32:05 am
 st11 st12 st12 like1