ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
  • สนง.ส่งเสริมพระกรรมฐาน
แสดงกระทู้
This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.
  Messages   Topics   Attachments  

  Topics - ดนัย
หน้า: [1]
1  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / การสวดคาถาพญาไก่เถื่อน เมื่อ: สิงหาคม 31, 2017, 07:49:07 pm
กิจวัตรประจำวัน
1.   สวดมนต์ไหว้พระตามปกติ
2.   ทำบุญปัจจัย เก็บไว้ไปทำที่วัด
3.   เตรียมตัวก่อนสวด
        3.1 จัดที่นั่งให้ดี เพราะขณะสวดอยู่ห้ามขยับ
        3.2 บอกคนใกล้ชิด ห้ามรบกวนขณะสวด เพราะถ้าหยุดสวดทำกิจอื่นต้องสวดใหม่ไม่นับ
        3.3 เตรียมลูกประคำไว้สำหรับสวด 1 รอบลูกประคำจะได้จำนวน 108 จบ แต่ถ้าไปค้างที่อื่นไม่
        ได้นำลูกประคำไป ให้ใช้กระดาษปากกา จดทุกครั้งที่สวดจบ 1 จบ
4.   กล่าวคำอธิษฐานสั้นๆ “ข้าพเจ้าขอตั้งสัจจะสวดคาถาพญาไก่เถื่อน 108 จบ บุญกุศลใดที่จะเกิดจากการสวดในครั้งนี้ ขอจงเป็นปัจจัยให้ ....” การสวด 1 คาบ (108 จบ) ใช้เวลาประมาณ 40-45 นาที ถ้าชำนาญแล้วต้องการฝึกจิตของตนเอง ก็อธิษฐานสวด 216 จบ ใช้เวลาประมาณ 1.30 ชม.
5.   เริ่มสวดก็นับประคำไปเรื่อยๆ 1 จบ ก็ 1 เม็ดประคำ ใจก็นึกถึงพระพุทธเจ้าแต่ละคำที่สวด
6.   เมื่อสวดครบก็ให้อธิษฐาน “ขอผลบุญที่ข้าพเจ้าได้ทำแล้วในครั้งนี้ จงเป็นปัจจัยให้...” อธิษฐานให้เหมือนกับตอนแรก
7.   แผ่เมตตา ตามแบบของพระอาจารย์สนธยา แล้วก็อุทิศส่วนกุศลให้โอปปาติกะที่ดูแลเรา

ข้อห้าม
1.   ห้ามผิดสัจจะ ตั้งใจสวดกี่จบก็ต้องตามนั้น ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้นก็ตาม เช่น
   •   ง่วง
   •   เบื่อ
   •   ร้อน
   •   หนาว
   •   เมื่อย
   •   ตะคริวกิน
   •   หิวน้ำ
   •   เหนื่อย
   •   คนรบกวน
   •   โทรศัพท์ดัง
   •   ได้ยินเสียงแปลกๆ ที่น่ากลัว
   •   เห็นนิมิตที่น่ากลัว
   •   ฯลฯ

2.   ห้ามหยุดสวดแม้แต่ 1 วัน ไม่ว่าจะมีธุระอะไรก็ตาม ต้องสวดให้ได้ทุกวัน อย่างน้อยวันละ 1 คาบ
3.   ห้ามโกงตัวเอง ถ้าเราไม่แน่ใจว่านับประคำไปแล้วหรือยัง ให้เริ่มสวดใหม่ทั้งหมดตั้งแต่แรก ต้องรักษาสัจจะ
4.   ห้ามหลงนิมิตใดๆ ที่เกิดในระหว่างสวด ทั้งที่ดีและไม่ดี ดีก็ฟุ้งซาน ไม่ดีก็หวาดกลัว สิ่งที่ต้องทำก็คือแค่สวด
5.  ไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้นห้ามลืมตาระหว่างสวด
6.   ห้ามสวดเกิน 2 คาบ ต่อเนื่องกัน เพราะฝืนร่างกายเกินไป การสวดกับการทำสมาธิต่างกัน ถ้าจะสวดให้ได้เยอะๆ ให้สวดทีละคาบ แล้วพัก ถึงกลับมาสวดใหม่
7.   ห้ามสวดเร็วเกินไป ให้สวดพอดีๆ สวดให้ได้เวลา 30 นาทีขึ้นไปต่อ 1 คาบ สวดช้าไม่เป็นไร แต่ต้องระวังง่วง

2  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / คำถามเกี่ยวกับ วิญญาณ เมื่อ: สิงหาคม 25, 2015, 12:11:29 am
 ask1

๑.   วิญญาณในตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ทั้งหมดเป็น ธาตุวิญญาณหรือไม่?

๒.   การเข้าถึงมนธาตุ ใช้วิญญาณอันไหนเข้าถึง?

๓.   วิญญาณทั้ง ๖ เป็นวิญญาณอันเดียวกันหรือไม่ แยกกัน หรือเป็นวิญญาณอันเดียวกันที่ไปรู้ในตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ

๔.   เวลาที่เราคิด มโนวิญญาณทำงานอย่างไร ทำงานสัมพันธ์กับจิตหรือไม่ อย่างไร?

๕.   ความเข้าใจ ธาตุวิญญาณ ส่งเสริมต่อ สมาธิ หรือ วิปัสสนา หรือทั้ง ๒ อย่าง หรือไม่เกี่ยวกับทั้ง ๒ อย่าง ?

3  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / ความรู้ ความเข้าใจเรื่องจิตกับใจ สนับสนุนการเจริญพระกรรมฐาน เมื่อ: สิงหาคม 02, 2015, 05:44:36 pm
                                             

          ผมเคยได้ยิน ได้ฟัง ได้ศึกษามาว่า การเจริญพระกรรมฐานนั้น จุดสำคัญคือเราต้องไปเห็น ไปแจ้ง ว่าแท้จริงแล้วสิ่งที่เป็นเราคืออะไร อะไรที่เป็นเรา สิ่งไหนที่ไปเกิด ในภพชาติต่าง ๆ

          การเข้าไปเห็น ไปแจ้ง เกี่ยวกับตัวเรา นอกจากจะทำให้จิตตั้งมั่นเป็นสมาธิสูงขึ้นแล้ว ยังสามารถทำให้เรารู้แจ้งพระธรรมของพระพุทธเจ้าด้วย

          ตามความเข้าใจของผม ผมว่าเรื่องจิตกับใจ น่าจะเกี่ยวข้องกับการเป็นตัวเรา
         
         อย่างที่หลวงปู่ดุลย์ อตุโล สอนไว้ว่า

          “จิตที่ส่งออกนอก เป็นสมุทัย
                    ผลอันเกิดจากจิตที่ส่งออกนอก เป็นทุกข์
          จิตเห็นจิตอย่างแจ่มแจ้ง เป็นมรรค
                    ผลอันเกิดจากจิตเห็นจิตอย่างแจ่มแจ้ง เป็นนิโรธ”

          ท่านใดมีความเห็น หรือธรรมะของครูอาจารย์องค์ไหน ที่พูดถึงจิตกับใจ ก็นำมาลงรวมกันไว้ได้นะครับ เพื่อเป็นธรรมทานกับนักปฏิบัติท่านอื่น ให้ศึกษาไว้ก่อนจะได้ทราบเป้าหมายของการภาวนา หรือการเจริญพระกรรมฐาน
         
          ในด้านสมาธิ ที่ผมศึกษามาครูอาจารย์ส่วนใหญ่ก็พูดตรงกันในส่วนขององค์ฌาน เช่น ฌาน ๑ มี วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา เป็นต้น

          ในด้านคุณธรรม การเป็นพระอริยเจ้า ครูอาจารย์ก็พูดตรงกันเรื่องการละสังโยชน์ ๑๐


          ดังนั้นถ้าท่านใดเจริญสมาธิแล้วยังเข้าอัปปนาสมาธิไม่ได้ ก็ควรทำความเข้าในเรื่อง จิตกับใจ

         ท่านใดเจริญพระกรรมฐานเพื่อละสังโยชน์ ๑๐ ก็ยิ่งควรทำความเข้าใจว่าอะไรที่เป็นตัวเรา อะไรที่ไปเกิดในภพ ชาติ ต่าง ๆ อะไรที่ต้องทำให้บริสุทธิ์ปราศจากสังโยชน์ ๑๐



ขอบคุณภาพประกอบจาก : http://www.dhammada.net/2011/12/06/12467/
4  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / อานิสงส์การเจริญ พุทธานุสสติกรรมฐาน เมื่อ: สิงหาคม 02, 2015, 01:02:56 pm
                                   


ผู้ถาม : “หลวงพ่อคะ การสร้างพระพุทธรูป กับการถวายปัจจัยอย่างไหนมีอานิสงส์ดีกว่าคะ...?”

หลวงพ่อ : การสร้างพระพุทธรูปจัดว่าเป็น พุทธบูชา ถ้าในเรื่องกรรมฐานจัดเป็น พุทธานุสสติกรรมฐาน ถ้าตายจากคนไปเกิดเป็นเทวดา มีรัศมีกายสว่างไสวมาก ถ้าถวายปัจจัยถวายเป็นของสงฆ์ จัดว่าเป็น พุทธบูชา ธรรมบูชา สังฆบูชา จัดเป็น จาคานุสสติกรรมฐาน เกิดมาชาติหน้าก็รวย
          การสร้างพระถวาย ด้วยอำนาจพุทธบูชาทำให้มีรัศมีกายมาก เป็นคนสวย ตามที่พระพุทธเจ้าตรัสว่า
          “พุทธบูชา มหาเตชะวันโต”
          “การบูชาพระพุทธเจ้ามีเดชอำนาจมาก”
          แต่ถ้ามีอำนาจแต่ขาดสตางค์ก็อดตายนะ  ใช่ไหม... แต่งตัวเป็นจอมพลแต่ไม่มีสตางค์ในกระเป๋า แย่นะ...
          อีกแบบหนึ่ง มีสตางค์มาก ๆ แต่ขาดอำนาจราชศักดิ์ก็โดนโจรปล้นอีก ฉะนั้นทำมันเสีย ๒ อย่างเลยดีไหม...?”


ผู้ถาม : “หลวงพ่อเจ้าคะ การสร้างพระพุทธรูป ทำด้วยโลหะกับทำด้วยปูน อย่างไหนจะดีกว่ากัน เจ้าคะ...?”

หลวงพ่อ : “ถ้าเป็นเจตนาของฉันนะ ชอบให้ทำด้วยปูนมากกว่าปั้นด้วยปูนแล้วก็ปิดทอง เพราะอะไรรู้ไหม...เพราะพระปูนไม่มีใครขโมย พระโลหะเผลอหน่อยเดียวคนตัดเศียรแล้วดีไม่ดีเอาไปทั้งองค์ ฉะนั้นปูนดีกว่า มีอานิสงส์เท่ากัน ราคาถูกกว่า ทนทานและรักษาง่ายกว่า”

หลวงพ่อ : “การสร้างพระพุทธรูปนี่เป็น พุทธบูชา เป็น พุทธานุสสติ ในกรรมฐาน ๔๐ กอง ท่านบอกว่ากำลัง พุทธานุสสติ เป็นเหตุให้ถึงนิพพานได้ง่ายที่สุด ง่ายกว่ากองอื่น ก็เห็นจะจริง เพราะว่าพระพุทธเจ้าท่านอยู่ที่นิพพานนี่ และท่านก็เป็นต้นตระกูลของพระนิพพาน ใช่ไหม...ทีนี้ถ้าเราต้องการสร้างให้สวยตามที่เราชอบ เห็นแล้วก็ทำให้จิตใจสดชื่น จิตมันก็นึกถึงพระอยู่เสมอ ถ้าจิตนึกถึงพระพุทธรูปองค์นั้นอยู่เสมอ ก็จัดเป็น พุทธานุสสติกรรมฐาน ถ้าใจเราเกาะพระพุทธเจ้าเป็นปกติ ตายแล้วลงนรกไม่เป็น ฉะนั้นถ้าหากโยมเห็นว่าพระที่ทำด้วยโลหะสวยกว่าชอบมากกว่า โยมก็สร้างแบบนั้น”



จากหนังสือ หลวงพ่อตอบปัญหาธรรม ฉบับพิเศษ เล่ม ๑ โดยพระราชพรหมยาน วัดท่าซุง จ. อุทัยธานี
5  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / คำแนะนำในการเลือกสายปฏิบัติธรรม สำหรับนักปฏิบัติใหม่ เมื่อ: กรกฎาคม 30, 2015, 10:29:46 pm
                   


          การเลือกสายปฏิบัติธรรม หรือการเลือกครูอาจารย์เพื่อปฏิบัติธรรม เป็นเรื่องที่บุคคลทั่วไปพูดถึงกันมาก  แม้ตัวผมเองเมื่อก่อนก็สนใจมากเช่นกัน ไปพบไปศึกษากับครูอาจารย์หลายท่าน หรือบางท่านที่มรณภาพไปแล้วก็ศึกษาคำสอนจากหนังสือที่บรรดาลูกศิษย์ลูกหาท่านร่วมกันจัดทำ และช่วยกันรักษาคำสอนของครูอาจารย์ที่ตนเองเคารพนับถือ เป็นเรื่องน่าชื่นใจสำหรับครูอาจารย์ที่มีศิษย์แบบนี้

          คำแนะนำในการเลือกสายปฏิบัติธรรม ผมตั้งใจจะเล่าประสบการณ์ของผมให้ฟัง ซึ่งอาจจะไม่ใช่แนวทางที่ดีอะไรมากสำหรับผู้ปฏิบัติธรรมมานานแล้ว แต่คงเป็นประโยชน์บ้างสำหรับนักปฏิบัติธรรมที่พึ่งเข้ามาศึกษาธรรมะของพระพุทธเจ้า

          ผมเองเริ่มปฏิบัติธรรมด้วยตัวเองจากหนังสือพระ จำไม่ได้ว่า หนังสือโลกทิพย์หรืออะไรประมาณนั้น ที่มีการบอกเล่าถึงคำสอนของพระสายต่าง ๆ โดยเฉพาะสายปลุกเสก เคยลองทำดูพอมีผลบ้าง แต่ไม่มากนัก แต่ก็พอจะทำให้ผมเชื่อเรื่องพลังจิต และพลังสมาธิ ช่วงนั้นประมาณตอนเรียนอยู่ ม.ปลาย

          หลังจากนั้นก็เริ่ม ศึกษาสายหลวงปู่มั่นท่านสอนภาวนา พุทโธ กำหนดพร้อมกับลมหายใจ ก็ลองทำดู ก็พอได้ความสงบบ้าง แต่มีอยู่ครั้งแม่มาเห็น ท่านห้ามไม่ให้ทำ ท่านบอกว่าเดี๋ยวก็เป็นบ้าหรอก เป็นเด็กเป็นเล็กหัดทำสมาธิไม่ได้ จิตยังไม่แข็ง ก็เป็นความห่วงใยของคนเป็นแม่ แต่ผมก็แอบทำไม่ให้แม่เห็น ก็ทำบ้างไม่ทำบ้างประมาณสักปี ก็ถึงช่วงต้องเอนทรานซ์ ต้องอ่านหนังสือมากจึงหยุดไปพักใหญ่
6  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / วิปัตติสัมปทาสูตร (วิบัติ ๓ สัมปทา ๓) เมื่อ: กรกฎาคม 25, 2015, 11:01:44 am
ขอรวมกระทู้ ตายแล้วไปไหน ๒ และ ตายแล้วไปไหน ๓ เข้าด้วยกัน

     เนื่องจากบางท่าน อาจไม่ได้อ่านกระทู้ทั้ง ๒ จนครบ

เพราะพระพุทธเจ้ามีปกติแสดงธรรมเป็น คู่

     การศึกษาธรรมก็ควรศึกษาเป็น คู่

เมื่อรู้จัก วิบัติ ๓ ก็ควรรู้จัก สัมปทา ๓

     เมื่อรู้จัก สัมปทา ๓ ก็ควรรู้จัก วิบัติ ๓

เหมือนเราจะละอกุศล เจริญกุศล เราก็ต้องรู้จักธรรมส่วนที่เป็นอกุศล เราต้องรู้จักธรรมส่วนที่เป็นกุศล

     เราถึงจะละธรรมที่เป็นส่วนอกุศลได้ และยึดธรรมที่เป็นกุศลได้

ถ้าเราศึกษาแต่ธรรมที่เป็นอกุศล เราก็รู้แต่ธรรมที่ควรละ ควรสลัดออกจากใจ แต่เราไม่รู้ธรรมที่ควรยึดถือ ควรน้อมนำเข้าสู่ใจเรา

     ถ้าเราศึกษาแต่ธรรมที่เป็นกุศล เราก็รู้แต่ธรรมที่ควรยึดถือ ควรน้อมนำเข้าสู่ใจเรา แต่เราไม่รู้ธรรมที่ควรละ ควรสลัดออกจากใจ
7  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / ตายแล้วไปไหน ๓ เมื่อ: กรกฎาคม 23, 2015, 02:19:53 am
               

วิปัตติสัมปทาสูตร

ว่าด้วยวิบัติ  และสัมปทา


สัมปทา  ๓  ประการนี้
     
     สัมปทา  ๓  ประการ  อะไรบ้าง  คือ
     ๑.  สีลสัมปทา      (ความถึงพร้อมด้วยศีล)
     ๒.  จิตตสัมปทา     (ความถึงพร้อมด้วยจิต)
     ๓.  ทิฏฐิสัมปทา     (ความถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ)
     
<สีลสัมปทา>  เป็นอย่างไร
      คือ  บุคคลบางคนในโลกนี้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์  การลักทรัพย์  การประพฤติ ผิดในกาม  การพูดเท็จ  การพูดส่อเสียด  การพูดคำหยาบ  และการพูดเพ้อเจ้อ  นี้เรียกว่า  สีลสัมปทา


<จิตตสัมปทา>  เป็นอย่างไร
      คือ  บุคคลบางคนในโลกนี้ไม่เพ่งเล็งอยากได้ของเขา  ไม่มีจิตพยาบาท  นี้เรียกว่า จิตตสัมปทา


<ทิฏฐิสัมปทา>  เป็นอย่างไร
      คือ  บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นสัมมาทิฏฐิ(เห็นชอบ)  มีความเห็นไม่วิปริตว่า “ทานที่ให้แล้วมีผล  ยัญที่บูชาแล้วมีผล  การเซ่นสรวงมีผล  ผลวิบากแห่งกรรมที่ทำไว้ดีและชั่วมี  โลกนี้มี  โลกหน้ามี  มารดามีคุณ  บิดามีคุณ  โอปปาติกสัตว์มีสมณพราหมณ์ผู้ประพฤติดีปฏิบัติชอบทำให้แจ้งโลกนี้และโลกหน้าด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้วสอนผู้อื่นให้รู้แจ้งมีอยู่ในโลก”  นี้เรียกว่า  ทิฏฐิสัมปทา


เพราะสีลสัมปทาเป็นเหตุ  สัตว์ทั้งหลายหลังจากตายแล้วจึงไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ 

เพราะจิตตสัมปทาเป็นเหตุ  สัตว์ทั้งหลายหลังจากตายแล้วจึงไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ 

เพราะทิฏฐิสัมปทาเป็นเหตุ  สัตว์ทั้งหลายหลังจากตายแล้วจึงไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์

ภิกษุทั้งหลาย  สัมปทา  ๓  ประการนี้แล




พระสุตตัตนตปิฎก 
อังคุตตรนิกาย  ทุกนิบาต  [๓. ตติยปัณณาสก์]  ๒. อาปายิกวรรค ๕. วิปัตติสัมปทาสูตร




ขอบคุณภาพประกอบจาก :http://my.uamulet.com/BlogDetail.aspx?ID=767404
8  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / ตายแล้วไปไหน ๒ เมื่อ: กรกฎาคม 23, 2015, 02:01:26 am
                                             

วิปัตติสัมปทาสูตร

ว่าด้วยวิบัติ  และสัมปทา


ภิกษุทั้งหลาย  วิบัติ  ๓  ประการนี้
     วิบัติ  ๓  ประการ  อะไรบ้าง  คือ
     ๑.  สีลวิบัติ       (ความวิบัติแห่งศีล)
     ๒.  จิตตวิบัติ      (ความวิบัตแห่งจิต)
     ๓.  ทิฏฐิวิบัติ      (ความวิบัติแห่งทิฏฐิ)
     
<สีลวิบัติ>  เป็นอย่างไร
      คือ  บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้ฆ่าสัตว์  ลักทรัพย์  ประพฤติผิดในกาม  พูดเท็จ พูดส่อเสียด  พูดคำหยาบ  พูดเพ้อเจ้อ  นี้เรียกว่า  สีลวิบัติ


<จิตตวิบัติ>  เป็นอย่างไร
      คือ  บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นมิจฉาทิฏฐิ(เห็นผิด)  มีจิตพยาบาท  นี้เรียกว่า จิตตวิบัติ

<ทิฏฐิวิบัติ>  เป็นอย่างไร
      คือ  บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นมิจฉาทิฏฐิ  มีความเห็นวิปริตว่า  “ทานที่ให้แล้วไม่มีผล  ยัญที่บูชาแล้วไม่มีผล  การเซ่นสรวงไม่มีผล  ผลวิบากแห่งกรรมที่ทำดีและชั่วก็ไม่มี  โลกนี้ไม่มี  โลกหน้าไม่มี  มารดาไม่มีคุณ  บิดาไม่มีคุณ  โอปปาติกสัตว์ไม่มี สมณพราหมณ์ผู้ประพฤติดีปฏิบัติชอบทำให้แจ้งโลกนี้และโลกหน้าด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้วสอนผู้อื่นให้รู้แจ้งก็ไม่มีในโลก”  นี้เรียกว่า  ทิฏฐิวิบัติ


เพราะสีลวิบัติเป็นเหตุ  สัตว์ทั้งหลายหลังจากตายแล้วจึงไปเกิดในอบาย  ทุคติ วินิบาต นรก 

เพราะจิตตวิบัติเป็นเหตุ  สัตว์ทั้งหลายหลังจากตายแล้วจึงไปเกิดใน อบาย  ทุคติ  วินิบาต  นรก 

เพราะทิฏฐิวิบัติเป็นเหตุ  สัตว์ทั้งหลายหลังจากตายแล้วจึงไปเกิดอบาย  ทุคติ  วินิบาต  นรก

ภิกษุทั้งหลาย  วิบัติ  ๓  ประการนี้แล



พระสุตตัตนตปิฎก 
อังคุตตรนิกาย  ทุกนิบาต  [๓. ตติยปัณณาสก์]  ๒. อาปายิกวรรค ๕. วิปัตติสัมปทาสูตร




ขอบคุณภาพประกอบจาก : http://khunsamatha.com/blog/dhammakaya-C3.html
9  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / ตายแล้วไปไหน ๑ เมื่อ: กรกฎาคม 22, 2015, 11:54:15 pm
                                                 
                               

ตายแล้วไปไหน ๑


     ท่านสหธรรมมิกทั้งหลาย เคยมั้ยที่เราสนทนากับผู้อื่น เราพูดถึงสิ่งที่เราไปรู้ ไปเห็น ไปแจ้ง มาด้วยตนเอง แต่ก็ไม่สามารถจะแสดงหลักฐานใด ๆ ให้ผู้อื่นเห็นได้ เพื่อเป็นเครื่องพิสูจน์ว่าสิ่งที่เรารู้ เราเห็น เราแจ้ง เป็นเรื่องจริง

     จุลินทรีย์ สิ่งมีชีวิตขนาดเล็กซึ่งมองด้วยตาเปล่าไม่เห็น สมมติว่าถ้าเราต้องอธิบายให้กับปู่ ย่า ตา ยาย บิดา มารดา ที่ท่านไม่เคยศึกษาวิชาวิทยาศาสตร์ ไม่เคยใช้กล้องจุลทรรศน์ ว่าจุลินทรีย์มีอยู่จริง จะอธิบายอย่างไร?

    ถ้าท่านปฏิเสธว่าไม่เชื่อ แล้วบอกให้เราพิสูจน์ให้ดู ให้เห็นกับตา ถึงจะเชื่อ เราจะทำอย่างไร?

     ถ้าเราไม่เอากล้องจุลทรรศน์พร้อมตัวอย่างจุลินทรีย์มาให้ท่านดู เราก็คงต้องพาท่านไปที่ห้องปฏิบัติการเพื่อพิสูจน์กันใช่มั้ย?

     แต่ถ้าเราไม่มีความสามารถจะเอามาให้ท่านดู หรือจะพาท่านไปดู หรือไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใดก็ตาม ทำให้เราไม่สามารถ ทำให้ท่านเห็นด้วยตาตัวเองได้

    สิ่งมีชีวิตขนาดเล็กที่เรียกว่า จุลินทรีย์ ก็ยังคงมีอยู่ ไม่เปลี่ยนแปลงใช่มั้ย? หรือว่าพอ ปู่ ย่า ตา ยาย บิดา มารดา ของเราปฏิเสธที่จะเชื่อ แล้วสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กที่เรียกว่า จุลินทรีย์ จะหายไปจากโลก?


     เชื้อโรคเองก็เช่นกัน ตอนนี้เปิดทีวีก็ต้องมีข่าวโรคเมอร์ส ซึ่งผู้ป่วยเกิดการติดเชื้อไวรัสชนิด corona เป็นแล้วรักษาให้หายขาดยาก ตายไปก็เยอะ แล้วมีใครเคยเห็นเชื้อไวรัสชนิดนี้กับตาตัวเองบ้าง?

     แพทย์แนะนำว่า ให้สวมหน้ากากอนามัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเวลาไปที่โรงพยาบาล หรือประเทศที่มีการระบาด หรือในพื้นที่ที่มีการแพร่ระบาด

     ถ้าเราจำเป็นต้องไปในที่ที่มีโอกาสติดเชื้อโรคเมอร์ส ถึงแม้เราจะไม่รู้ว่ามันติดต่อทางการหายใจได้หรือไม่ แต่เราก็รู้ด้วยตัวเองใช่มั้ยว่า ควรต้องสวมหน้ากากอนามัย

ฉันใดก็ฉันนั้น
     จะมีใครสามารถเอา นรก หรือสวรรค์ มาแสดงแก่เราได้
     จะมีใครสามารถเอา สัตว์นรก หรือเทวดา พรหม มาแสดงแก่เราได้


เราควรเชื่อว่ามี นรก สวรรค์ สัตว์นรก เทวดา พรหม
     เพราะว่าเรามีความเห็นว่า ผู้ใดไม่มีศีล มีจิตเป็นอกุศล ตายจากโลกนี้แล้วไปสู่ทุคติ มี นรก เป็นต้น ย่อมมีกายเป็นสัตว์นรก
     เพราะว่าเรามีความเห็นว่า ผู้ใดมีศีล มีจิตเป็นกุศล ตายจากโลกนี้แล้วไปสู่สุคติ มี สวรรค์ เป็นต้น ย่อมมีกายเป็น เทวดา หรือ นางฟ้า


หรือว่า
เราไม่ควรเชื่อว่า มี นรก สวรรค์ สัตว์นรก เทวดา พรหม
     เพราะเราไม่เคยเห็น สัตว์นรก เทวดา พรหม
     เพราะเรามีความเห็นว่า เทวดา พรหม เป็นความเชื่อของพวกพราหมณ์






ขอบคุณภาพประกอบจาก : http://9poto.com/ละครย้อนหลัง/พระมหาชนก-the-story-of-mahajanaka



     


10  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / พระอริยะเขาดูกันอย่างไร? (โดย พระราชพรหมยาน) เมื่อ: กรกฎาคม 19, 2015, 02:50:55 am
                   



ผู้ถาม      :  “มีคนเขาถามผมมาอย่างนี้ครับหลวงพ่อ แต่ผมไม่รู้จะตอบเขาว่าอย่างไร เขาถามว่าท่าน (ขอสงวนนาม) เป็นพระอริยะหรือเปล่าครับ…?”

หลวงพ่อ  : “ก็ตอบไม่ยากนี่คุณ ให้ไปถามท่านเองซิ คนอื่นจะรู้เรื่องของตัวเองได้อย่างไรล่ะ มันเป็น ปัจจัตตัง แล้วพระอริยะองค์ไหนท่านจะบอกเป็นอริยะ ไม่มีพระอริยะองค์ไหนบอกตนเองว่าเป็นพระอริยะ และก็ไม่มีพระที่ไม่ใช่พระอริยะองค์ไหนที่ไม่บอกตัวเองว่าเป็นพระอริยะ ใช่ไหม...ไอ้คนมีสตางค์มาก ๆ ทำจ๋อง ไอ้คนไม่ค่อยจะพอค่าก๋วยเตี๋ยวละเบ่ง อันนี้ไปพยากรณ์ไม่ได้หรอก เราจะพยากรณ์เขาได้อย่างไร เราไม่รู้จิตใจเขานี่ ใช่ไหม...

   พระอริยะน่ะเขาดูจริยาไม่ได้ พระอริยะนี่ถ้าดูที่จริยาภายนอกผิดหมด เพราะพระอริยนี่เป็นคนใจเปิด ถ้าเป็นพระอรหันต์เมื่อใดก็ดูเหมือนเด็ก ๆ ตอนเด็ก ๆ หรือก่อนบวชเป็นยังไงท่านจะใช้จริยานั้น เพราะเป็นพระไม่มีการผูกต่อไป จึงไม่มีมายา นิสัยเดิม ๆ เป็นอย่างไรพระอริยะก็ใช้นิสัยนั้น ท่านปล่อยตามสบาย เพราะจิตท่านไม่มีอะไร

   อย่าง พระสารีบุตร ท่านไปกับพระพุทธเจ้ากับพระสงฆ์ พอถึงลำราง พระองค์อื่น ๆ ค่อย ๆ ย่องไป พระสารีบุตรขัดเขมรโดดแพล้บ นั่นพระอัครสาวกเบื้องขวานะ ภายหลังมีพระถามพระพุทธเจ้าว่า “ทำไมพระอัครสาวกเบื้องขวาจึงขัดเขมรโดด” พระพุทธเจ้าบอก “อย่าไปว่าท่านเลย ลูกตถาคตไม่มีอะรไหรอกก็มาจากลิง”

  ที่นี้ที่คุณถามว่า เราจะรู้ได้อย่างไรว่าพระองค์นั้นองค์นี้เป็นพระอริยะ ถามคนอื่นมันจะถูกรึ ถ้าหากว่าคุณกินแกง แล้วถามคนอื่นว่า เค็มไหม...เขาจะรู้ไหม...?”

  “เรื่องของความเป็นอริยะ เรื่องของฌานสมาบัติก็เหมือนกัน มันเป็นเรื่องของจิตใจ ในเมื่อท่านไม่บอก เราก็รู้ไม่ได้ ไอ้เรื่องที่จะรู้ได้ต้องเป็นเรื่องของสัพพัญญู แปลว่ารู้ทั้งหมด รู้ทุกอย่างก็มีพระพุทธเจ้าองค์เดียว พระสาวกไม่มีสิทธิ์จะตอบ”


11  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / การปฏิบัติธรรมเพื่อออกจากสังสารวัฏ (อัปเดต ๒๐ กรกฏาคม ๒๕๕๘) เมื่อ: กรกฎาคม 18, 2015, 03:14:38 pm
                         


   เนื่องด้วยการปฏิบัติธรรมในสมัยนี้มีอุปสรรคมากมายหลายประการ เป็นเครื่องบั่นทอน ศรัทธาและวิริยะ ต่อผู้ปฏิบัตธรรม ทั้งผู้ปรารถนา พุทธภูมิ และสาวกภูมิ ผมจึงลองค้นคว้าในพระไตรปิฎกพบว่า แม้ในครั้งพุทธกาล พระสงฆ์สาวกก็มิได้ไร้อุปสรรคเสียทีเดียว หลาย ๆ กรณีก็ไม่ต่างจากที่เราพบในปัจจุบัน ดังนั้นเพื่อเป็นการสร้างกำลังใจในการปฏิบัติธรรม

ผมขอเชิญชวน

   ท่านสหธรรมิก แสดงมุทิตาจิตแด่พระสงฆ์สาวกของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าครั้งพุทธกาล โดยการโพสข้อความจากพระไตรปิฎก ที่แสดงถึง ศรัทธาและวิริยะ ของบรรดาพระอริยะสงฆ์เจ้า ที่ท่านฟันฝ่าอุปสรรคนานา ๆ ประการ เพื่อออกจากสังสารวัฏ

ข้อความที่โพสนั้นอาจมีลักษณะดังนี้

๑.   พระสงฆ์สาวกกำลังบำเพ็ญเพียร เพื่อการบรรลุมรรคผล ในระหว่างนั้นท่านประสบกับ ปัญหา อุปสรรค ตกระกำลำบาก ท้อแท้ใจ กลัดกลุ้มใจ เป็นต้น แต่ท่านสามารถรักษา ศรัทธาและวิริยะต่อไปเพื่อมรรค ผล นิพพาน

๒.   พระสงฆ์สาวกบรรลุมรรคผลแล้ว กำลังเผยแผ่พระพุทธศาสนา แม้ว่าท่านบรรลุมรรคผลแล้ว บรรลุคุณธรรมอันประเสริฐแล้ว ก็ไม่พ้นจากการถูกนินทา ติเตียน กลั่นแกล้ง อาฆาตมาดร้ายจากผู้อื่น เป็นต้น แต่ท่านก็ไม่ละความพยายามในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา

๓.   ข้อความอื่นๆ ที่แสดงถึง ศรัทธาและวิริยะ ของพระสงฆ์สาวก


ขอบคุณภาพประกอบจาก: http://www.dhammajak.net/



   "สหธรรมิกท่านใดปรารถนา พุทธภูมิ เสียสละเวลาที่จะอยู่กับกามคุณ ๕ ค้นคว้าธรรมะในพระไตรปิฎก มาลงในกระทู้นี้หรือกระทู้อื่นก็ตาม หรือแม้แต่เสียสละเวลามาอ่านกระทู้นี้หรือกระทู้อื่นก็ตาม ขอกุศลที่ทำไว้นี้ส่งผลให้บารมี ๑๐ มีเนกขัมมบารมี เป็นต้น เต็มโดยเร็วไว"

   "สหธรรมิกท่านใดปรารถนา สาวกภูมิ เสียสละเวลาที่จะอยู่กับกามคุณ ๕ ค้นคว้าธรรมะในพระไตรปิฎก มาลงในกระทู้นี้หรือกระทู้อื่นก็ตาม หรือแม้แต่เสียสละเวลามาอ่านกระทู้นี้หรือกระทู้อื่นก็ตาม ขอกุศลที่ทำไว้นี้ ทำให้อุปสรรคในการปฏิบัติธรรมเบาบางลง บรรเทาลง ส่งผลให้เข้าถึงธรรม มีพระโสดาบัน เป็นต้น โดยเร็วไว"


 st11 st12 st12

12  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / ธาตุ-ขันธ์-อายตนะ สัมพันธ์ (โดย หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี) เมื่อ: กรกฎาคม 17, 2015, 11:44:51 pm
                                   

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต, อะระหะโต, สัมมาสัมพุทธัสสะ
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์นั้น ซึ่งเป็นผู้ไกลจากกิเลส
เป็นผู้ตรัสรู้ด้วยพระองค์เอง โดยชอบ

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต, อะระหะโต, สัมมาสัมพุทธัสสะ
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์นั้น ซึ่งเป็นผู้ไกลจากกิเลส
เป็นผู้ตรัสรู้ด้วยพระองค์เอง โดยชอบ

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต, อะระหะโต, สัมมาสัมพุทธัสสะ
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์นั้น ซึ่งเป็นผู้ไกลจากกิเลส
เป็นผู้ตรัสรู้ด้วยพระองค์เอง โดยชอบ


ธาตุ-ขันธ์-อายตนะ สัมพันธ์

    ธรรมบรรยายที่จะแสดงต่อไปนี้ เป็นธรรมที่มีอยู่ในตัวของพวกเราท่านทั้งหลายแล้วทุกคน แต่โดยมากพวกเราไม่ค่อยจะสนใจโดยเข้าใจว่า ธรรมคือ ตำราที่ท่านจารึกเป็นอักษรไว้ในหนังสือหรือคัมภีร์ต่างๆ หากไม่ได้ศึกษาเล่าเรียนในนั้นแล้วจะไม่รู้ ไม่เห็น ไม่ได้ ไม่เข้าถึงธรรมดังนี้ เป็นต้น

    หรือบางท่านก็จะเข้าใจไปเสียว่าธรรมนั้นเราศึกษาเล่าเรียนไว้ให้มากๆ แล้ว ได้โอกาสจึงปฏิบัติเอา เหมือนกับเราหาทรัพย์ไว้ให้มากๆ แล้วจึงนั่งกินนอนกิน ดังนี้ก็มี หรือมิฉะนั้นเราก็เห็นไปว่า ธรรมเป็นเรื่องของพระที่อยู่ในวัด มิใช่เรื่องของฆราวาส หรือธรรมเป็นของสูงเหลือวิสัยที่จะปฏิบัติได้ หรือเห็นว่าเป็นของล้าสมัยไปเสียแล้ว ฯลฯ

    ขอโทษท่านผู้อ่านทั้งหลาย ความเข้าใจทั้งหมดดังที่ว่ามานั้น ยังไม่ตรงกับความจริง และถูกต้องตามประสงค์ของพระพุทธองค์อย่างแท้จริง แต่มันไปถูกตามพระประสงค์ของพระเจ้าของเรา (คือ กิเลส) ข้อเท็จจริงถ้าท่านสนใจสักหน่อย ขอกรุณาได้ติดตามธรรมบรรยาย ที่ข้าพเจ้าจะแสดงต่อไปนี้

    อาจพบธรรมว่ามีอยู่พร้อมในตัวของเรานี้แล้ว ไม่ต้องหาธรรมที่อื่นและเห็นหรือได้หรือเข้าถึงที่อื่นเลย ลงมือพิจารณาคิดค้นได้แล้ว มิใช่เรื่องของใครทั้งหมดแต่มันเป็นของแต่ละบุคคลจะต้องพิจารณาให้รู้ให้เข้าใจ เห็นด้วยปัญญาอันชอบของตนเองเท่านั้น เป็นของไม่สูง ไม่ต่ำ ไม่นอก ไม่ใน ไม่ลึก ไม่ตื้น ไม่หยาบ ไม่ละเอียด พอดีๆ แก่นิสัย วาสนาของตนๆ ซึ่งบุญกรรมตกแต่งมาให้ไว้เป็นสมบัติของแต่ละบุคคลเพื่อให้มาใช้ มาดู มารู้ มาเห็น อันจะเป็นประโยชน์แก่ตัวของตัวเอง เมื่อพากันเข้าใจอย่างนี้แล้ว ขอเชิญตรวจดูบรรยายธรรมต่อไปได้เลย


13  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / คุณธรรม ที่ทุกคนควรจะตั้งใว้ประจำตัว (พระราชดำรัสในหลวงฯ) เมื่อ: กรกฎาคม 17, 2015, 10:16:15 pm
                 


     ขออัญเชิญพระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว


   
"...คุณธรรม ที่ทุกคนควรจะตั้งไว้ประจำตัวประจำใจให้มั่นเสมอประการหนึ่ง
         
      ก็คือการรู้จักคิด พิจารณาให้จนกระจ่างชัด


ไม่ว่าจะพิจารณาเรื่องราว ปัญหา สถานการณ์ หรือแม้บุคคลใดๆ ก็ตาม
           
     ก็พยายามพิจารณาด้วยจิตใจที่มั่นคงเป็นกลาง


ไม่หวั่นไม่สะเทือนด้วยอคติ เพื่อจิตใจที่มั่นคงเป็นกลางนั้น
     
    จักได้ประคับประครองความคิดความเห็นให้พุ่งตรงเข้าสู่สาระ


คือแก่นและความสำคัญของเรื่อง ทั้งจับเหตุจับผลของเรื่องนั้นๆ

    ซึ่งเกี่ยวเนื่องถึงกันและกันเป็นกระบวนการได้ทั้งหมดทุกขั้นตอน


ทำให้ความรู้ ความเห็นในเรื่องที่พิจารณากระจ่างแจ่มแจ้ง
   
    และสามารถจำแนกแจกแจง ประเด็นได้โดยถูกต้องแม่นยำ


ว่าสิ่งใดผิดสิ่งใดถูก สิ่งใดดี สิ่งใดชั่ว

   สิ่งใดควรทำไม่ควรทำ อย่างไร เพียงใด.


การทำความรู้ความคิดให้แจ้งนี้คือ ปัญญา
   
   ซึ่งมีอุปการะแก่การปฏิบัติตัว ปฏิบัติงานเป็นอันมาก


เพราะเป็นปัจจัยสร้างสรรค์ความดีความเจริญทุกอย่างได้อย่างวิเศษสุด..."

14  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / พรหมจรรย์ของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าพระองค์ไหนดำรงอยู่นานหรือไม่นาน (๒๑/๗/๕๘) เมื่อ: กรกฎาคม 16, 2015, 09:55:31 pm
                                         


(๑/๓)

พระสารีบุตรทูลถามถึงเหตุที่ทำให้พรหมจรรย์ (พระศาสนา) ดำรงอยู่นานและไม่นาน

ครั้งนั้น  ท่านพระสารีบุตรหลีกเร้นอยู่ในที่สงัด  รำพึงขึ้นมาอย่างนี้ว่า
   “พรหมจรรย์ (พระศาสนา) ของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าพระองค์ไหนดำรงอยู่ไม่นาน ของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าพระองค์ไหนดำรงอยู่นาน” 

ครั้นเวลาเย็นจึงออกจากที่พักเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ครั้นถึงแล้วได้ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้วนั่งลง ณ  ที่สมควร  ท่านพระสารีบุตรผู้นั่งอยู่  ณ  ที่สมควรแล้ว  ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า 
  “พระพุทธเจ้าข้า  เมื่อข้าพระองค์หลีกเร้นอยู่ในที่สงัด  ได้เกิดความรำพึงขึ้นมาอย่างนี้ว่า  ‘พรหมจรรย์ของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าพระองค์ไหนดำรงอยู่ไม่นาน  ของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าพระองค์ไหนดำรงอยู่นาน’  พระพุทธเจ้าข้า”

พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า 
   “สารีบุตร  พรหมจรรย์ของพระพุทธเจ้าวิปัสสี พระพุทธเจ้าสิขี  พระพุทธเจ้าเวสสภู  ดำรงอยู่ไม่นาน  พรหมจรรย์ของพระพุทธเจ้ากกุสันธะ  พระพุทธเจ้าโกนาคมนะ  และพระพุทธเจ้ากัสสปะ  ดำรงอยู่นาน”

“อะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัยทำให้พรหมจรรย์ของพระพุทธเจ้าวิปัสสี พระพุทธเจ้าสิขี  และพระพุทธเจ้าเวสสภู  ดำรงอยู่ไม่นาน  พระพุทธเจ้าข้า”

   “สารีบุตร  พระพุทธเจ้าวิปัสสี  พระพุทธเจ้าสิขี  พระพุทธเจ้าเวสสภู  ทรงผ่อนคลายที่จะแสดงธรรมโดยพิสดารแก่สาวก  สุตตะ  เคยยะ  เวยยากรณะ  คาถา  อุทาน อิติวุตตกะ  ชาดก  อัพภูตธรรม  เวทัลละ (รวมเรียกว่า  “นวังคสัตถุศาสน์)  ของพระพุทธเจ้าทั้ง  ๓  พระองค์จึงมีน้อย มิได้ทรงบัญญัติสิกขาบทไว้แก่สาวก  ไม่มีการแสดงปาติโมกข์  เมื่อหมดพระพุทธเจ้าและสาวกผู้ตรัสรู้ตามแล้ว  สาวกชั้นหลัง ๆ  ต่างชื่อ  ต่างโคตร  ต่างชาติวรรณะ  ได้เข้ามาบวชจากต่างตระกูล  เธอเหล่านั้นพาให้พรหมจรรย์สูญสิ้นไปเร็วพลัน  เหมือนดอกไม้นานาพรรณกองอยู่บนแผ่นกระดาน  ยังไม่ร้อยด้วยด้าย  ย่อมถูกลมพัดกระจัดกระจายไป  เพราะเหตุไร  เพราะไม่ได้เอาด้ายร้อยไว้  ข้อนี้ฉันใด  เมื่อหมดพระพุทธเจ้าและสาวกผู้ตรัสรู้ตามแล้ว  สาวกชั้นหลังๆ  ต่างชื่อ  ต่างโคตร  ต่างชาติวรรณะ  ได้เข้ามาบวชจากต่างตระกูล  เธอเหล่านั้นพาให้พรหมจรรย์สูญสิ้นไปเร็วพลันฉันนั้น

ขอบคุณภาพประกอบจาก http://www.jetovimut.com/
หน้า: [1]