ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
  • สนง.ส่งเสริมพระกรรมฐาน
แสดงกระทู้
This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.
  Messages   Topics   Attachments  

  Topics - ประสิทธิ์
หน้า: 1 [2] 3 4
41  เรื่องทั่วไป / ข่าวสารเพื่อนถึงเพื่อน / ขอเชิญเข้าร่วมปฏิบัติธรรม วันเสาร์ที่25-อาทิตย์ที่26 กุมภาพันธ์ 2555 ที่คณะ ๕ เมื่อ: มกราคม 30, 2012, 01:06:13 pm
กำหนดการปฏิบัติธรรมเดือนกุมภาพันธ์วันเสาร์ที่

25  – วันอาทิตย์ที่ 26 ก.พ.55

ที่คณะ 5 วัดราชสิทธาราม

ซ.อิสรภาพ 23 แขวงวัดอรุณ เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพฯ
รถเมล์ สาย 40-59-56 -149




 วันเสาร์ที่ 25 กุมภาพันธ์ 2555 ขึ้น 4 ค่ำ เดือน  4

     เวลา 09.30-10.15             ลงทะเบียน รับอาหารเช้า รับศีล ขึ้นกรรมฐาน 

     เวลา 10.15-11.00           รับประทานอาหารกลางวัน  ปฏิบัติธรรมตามอัธยาศัย

     เวลา  13.00-14.00           ฟังธรรมบรรยาย ถามปัญหา พักดื่มน้ำปานะ

     เวลา 14.00-16.30            เจริญจิตภาวนา เดินจงกรม อาบน้ำ  ทำธุระส่วนตัว

     เวลา 16.30-17.00            ทำวัตรเย็น

 วันอาทิตย์ที่ 26 กุมภาพันธ์ 2555 ขึ้น 5 ค่ำ เดือน4

   เวลา    06.30                   สวดมนต์ทำวัตรเช้า       

   เวลา 07.00                    รับประธานอาหารเช้า

   เวลา 10.15-11.00           รับประทานอาหารกลางวัน  ปฏิบัติธรรมตามอัธยาศัย

 


   
   เวลา  13.00-14.00           ฟังธรรมบรรยาย ถามปัญหา พักดื่มน้ำปานะ

   เวลา 14.00-16.30            เจริญจิตภาวนา เดินจงกรม อาบน้ำ  ทำธุระส่วนตัว

   เวลา 16.30-17.00            ทำวัตรเย็น ลาศีลเดินทาง กลับบ้าน


http://www.somdechsuk.org/node/247

 :49: :25: :25: :25: :25:
42  เรื่องทั่วไป / แจ้งปัญหาการใช้งานบอร์ด / แจ้งปัญหา RDN 21-1-55 ครับ เมื่อ: มกราคม 21, 2012, 09:26:13 am

วันนี้ขึ้นแบบนี้ ครับ ฟังไม่ได้เช่นกันครับ
43  เรื่องทั่วไป / แจ้งปัญหาการใช้งานบอร์ด / ร่มแดง มองสถานี RDN เป็น virus ครับ รับฟังไม่ได้ ครับ เมื่อ: มกราคม 19, 2012, 09:07:12 am


ตามภาพเลยนะครับ ขอคำแนะนำด้วยนะครับ ว่าจะให้ทำอย่างไร ? เพื่อจะฟังรายการได้ โดยไม่ต้องปิด antivirus
44  เรื่องทั่วไป / IT สาระประโยชน์ชาวธรรม / โปรแกรม IDM ไม่ทำงานหลังจาก Upgrad firefox เวอร์ชั่นใหม่ ไม่ต้องเซ็ง ตามมาครับ เมื่อ: มกราคม 03, 2012, 01:46:22 pm
โปรแกรม IDM ไม่ทำงานหลังจาก Upgrad firefox เวอร์ชั่นใหม่ แล้วปรากฏว่า
โปรแกรม IDM ที่เคยใช้งานได้ ใน การที่ ดูด วิดีโอ เพลง เกมส์ ไม่ทำงานซะนี่

   เลยเกิด อาการ เซ็งเป็ด และ อยากกลับไปเวอร์ชั่นเก่า  แต่ไหน ๆ มาแล้วก็ลอง
เสริช หา หนทางแก้ไขดู คิดว่าไม่ได้มีเราคนเดียว ที่เซ็งเป็ด ต้องมีคน เซ้งห่าน เซ้งไก่ ด้วยกันแน่ๆ

ได้การ เสริช ไปมาเยอะแยะ วิธีแก้ไข ก็บางคน ก็ยุ่งเหยิง ดี ครับ จนผมพบวิธีง่าย ๆ นะครับ

ดังนั้น ขอให้ท่าน คลิ๊กที่ ลิงก์ ที่ผมให้ไปเลยนะครับ
และไปคลิ๊กปู่ม รูป install  ง่าย ๆ ไม่ถึง 10 วินาที IDM ก็จะกลับมาทำงานได้ดั่งเดิม

 http://www.internetdownloadmanager.com/support/firefox_integration.html







เครดิตเว็บนี้ด้วยนะครับ
http://notebook-lookup.blogspot.com/2011/06/internet-download-manager-firefox-4.html
45  เรื่องทั่วไป / IT สาระประโยชน์ชาวธรรม / ใช้ facebook อยู่ ไม่อยากพิมพ์ แชท ตามมาครับ ของฟรี ๆ ดี ๆ มาแว้ว เมื่อ: มกราคม 03, 2012, 01:31:28 pm

ก่อนอื่นไปดาวน์โหลดโปรแกรม ที่นี่ครับ
http://www.chatvibes.com/

ส่วนวิธีใช้งาน ตามนี้เลยครับ


ดีมากครับ สามารถใช้งาน facebook เป็น วีดีโอคอล เหมือน msn และ skyte ครับ

ถ้าชอบก็ดาวน์โหลด ได้ที่ลิงก์นี้เลยครับ

http://d2ooso48yflzn8.cloudfront.net/chatvibes108.exe


เชิญเลยครับ

ใช้ได้ดี ใน Firefox รุ่นใหม่ ๆ นะครับ เท่่าที่ทดสอบ เวอร์ชั่น 9. ไทย ก็ดี ครับ
ดาวน์โหลด firefox 9. thai ที่ลิงก์ ด้านล่างครับ

 http://downloadsoftware.bangtee.com/2011/firefox/firefox-9-%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%A9%E0%B8%B2%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2/
46  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / สังยุตตนิกาย นิทานวรรค สัทธรรมปฏิรูปกสูตร เมื่อ: ธันวาคม 26, 2011, 10:10:38 am
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๖  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๘
สังยุตตนิกาย นิทานวรรค
สัทธรรมปฏิรูปกสูตร

[๕๓๑] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของ
ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ท่านพระมหากัสสปเข้า
ไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ครั้นเข้าไปเฝ้าแล้ว ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ
ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นพระมหากัสสปนั่งเรียบร้อยแล้วได้กราบทูลถามว่า ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ อะไรหนอแล เป็นเหตุ เป็นปัจจัย ให้เมื่อก่อนสิกขาบทมีน้อย
และภิกษุตั้งอยู่ในพระอรหัตผลมีมาก และอะไรเป็นเหตุ เป็นปัจจัย ให้บัดนี้
สิกขาบทมีมาก และภิกษุตั้งอยู่ในพระอรหัตผลมีน้อย ฯ
            [๕๓๒] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรกัสสป ข้อนั้นเป็นอย่างนี้คือ
เมื่อหมู่สัตว์เลวลง พระสัทธรรมกำลังเลือนหายไป สิกขาบทจึงมีมากขึ้น ภิกษุที่
ตั้งอยู่ในพระอรหัตผลจึงน้อยเข้า สัทธรรมปฏิรูปยังไม่เกิดขึ้นในโลกตราบใด
ตราบนั้นพระสัทธรรมก็ยังไม่เลือนหายไป และสัทธรรมปฏิรูปเกิดขึ้นในโลกเมื่อ
ใด เมื่อนั้นพระสัทธรรมจึงเลือนหายไป ทองเทียมยังไม่เกิดขึ้นในโลก ตราบใด
ตราบนั้นทองคำธรรมชาติก็ยังไม่หายไป และเมื่อทองเทียมเกิดขึ้น ทองคำธรรม-
*ชาติจึงหายไป ฉันใด พระสัทธรรมก็ฉันนั้น สัทธรรมปฏิรูปยังไม่เกิดขึ้นในโลก
ตราบใด ตราบนั้นพระสัทธรรมก็ยังไม่เลือนหายไป เมื่อสัทธรรมปฏิรูปเกิดขึ้น
เมื่อใด เมื่อนั้นพระสัทธรรมจึงเลือนหายไป ฯ
            [๕๓๓] ดูกรกัสสป ธาตุดินยังพระสัทธรรมให้เลือนหายไปไม่ได้ ธาตุ
น้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม ก็ยังพระสัทธรรมให้เลือนหายไปไม่ได้ ที่แท้โมฆบุรุษใน
โลกนี้ต่างหาก เกิดขึ้นมาก็ทำให้พระสัทธรรมเลือนหายไป เปรียบเหมือนเรือจะ
อัปปาง ก็เพราะต้นหนเท่านั้น พระสัทธรรมยังไม่เลือนหายไปด้วยประการฉะนี้ ฯ
            [๕๓๔] ดูกรกัสสป เหตุฝ่ายต่ำ ๕ ประการเหล่านี้ ย่อมเป็นไปพร้อม
เพื่อความฟั่นเฟือน เพื่อความเลือนหายแห่งพระสัทธรรม เหตุฝ่ายต่ำ ๕ ประการ
เป็นไฉน คือ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ในธรรมวินัยนี้ ไม่เคารพ
ยำเกรงในพระศาสดา ๑ ในพระธรรม ๑ ในพระสงฆ์ ๑ ในสิกขา ๑ ในสมาธิ
๑ เหตุฝ่ายต่ำ ๕ ประการเหล่านี้แล ย่อมเป็นไปพร้อมเพื่อความฟั่นเฟือน เพื่อ
ความเลือนหายแห่งพระสัทธรรม ฯ
            [๕๓๕] ดูกรกัสสป เหตุ ๕ ประการเหล่านี้แล ย่อมเป็นไปพร้อมเพื่อ
ความตั้งมั่น ไม่ฟั่นเฟือน ไม่เลือนหายแห่งพระสัทธรรม เหตุ ๕ ประการเป็น
ไฉน คือ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ในธรรมวินัยนี้ มีความเคารพ
ยำเกรงในพระศาสดา ๑ ในพระธรรม ๑ ในพระสงฆ์ ๑ ในสิกขา ๑ ในสมาธิ
๑ เหตุ ๕ ประการเหล่านี้แล ย่อมเป็นไปพร้อมเพื่อความตั้งมั่น ไม่ฟั่นเฟือน
ไม่เลือนหายแห่งพระสัทธรรม ฯ




http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=16&A=5846&Z=5888
47  เรื่องทั่วไป / IT สาระประโยชน์ชาวธรรม / สมัครเล่น Facebook ต่อไปไม่ฟรี แล้วนะครับ เมื่อ: ธันวาคม 22, 2011, 09:58:19 pm
เป็นประสบการณ์ วันนี้เองครับ หลังจากเห็นทางเว็บ www.madchima.org มีการชักชวนเข้าร่วม join กันใน FB ผมเองจึงได้สมัคร ก็สมัครผ่านหมดครับ แต่เวลา Login แล้วจะมาติตอยู่ที่หน้า นี้ครับ

 

  ทาง FB แจ้งว่าต้องใส่หมายเลข โทรศัพท์มือถือกลับไป
 
   
  จะขึ้นคำเตือนสีแดง คือ ไม่สามารถใช้หน้า Facebook จนกว่าจะใส่ Code

 

  เมื่อใส่เบอร์มือถือลงไปแล้ว ก็ได้รับข้อความว่า

     คุณต้องการสมัครใช้ facebook security พิมพ์ F ส่งมาที่ 4265 เพื่อขอรับ Code   
     ค่าบริการสัปดาห์ละ 9 บาท ใช้งานฟรี 7 วัน


  ผมพิจารณาแล้วเห็นว่า การใช้ Facebook จะต้องมีค่าใช้จ่าย สรุปแล้วไม่ฟรี นะครับ
จึงไม่ได้สมัครต่อ ดังนั้นจึงมาเล่าประสพการณ์ ให้ท่านฟังกันนะครับ เขาหักเงินจริง ๆแล้วนะครับ
มีกระทู้ แสดงให้ทราบ รู้สึกจะเริ่มมาตั้งแต่ 23 nov และเริ่มใช้วันนี้นะครับ  22 DEC
 ก็ยังคิดอยู่ว่า ใครจะมาให้ใช้ ฟรีกันอยู่นะครับ

 

ดูข้อมูลการเสียเงิน ต่าง ๆ ที่เว็บเกี่ยวข้องกันตอนนี้ครับ
http://www.pantip.com/cafe/mbk/topic/T11339280/T11339280.html
   
48  เรื่องทั่วไป / ข่าวสารเพื่อนถึงเพื่อน / ขอเชิญบริจาคช่วยน้ำท่วม ทั่วประเทศ ร่วมกับ วัดราชสิทธาราม คณะ 5 เมื่อ: ตุลาคม 15, 2011, 09:34:55 am
ขอเชิญบริจาค อาหาร เครื่องอุปโภค ช่วย น้ำท่วมได้ที่

คณะ 5 วัดราชสิทธาราม

 ซ.อิสรภาพ 23 แขวงวัดอรุณ เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพฯ

โทร.084-651-7023 บริจาคได้ทุกวัน

หรือโอนเข้าบัญชี กสิกรไทย สาขาโพธิ์สามต้น เลขที่ 067-2-83847-9

 ในนามพระวีระ สุขมีทรัพย์





http://www.facebook.com/weerasukmetup
49  เรื่องทั่วไป / IT สาระประโยชน์ชาวธรรม / ไอที ( อิท ) 24 ทำงานได้แม้ไฟดับ เมื่อ: ตุลาคม 12, 2011, 09:48:09 am
http://202.170.123.23/Krobkruakao/Upload/video/it24/it-06102554.mp4


ทำงานได้แม้ ไฟดับ
50  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / พุทธศาสนิกชน ตลอดจนนักท่องเที่ยวนับหมื่นคน ออกมาร่วมประเพณีตักบาตรเป็งปุ๊ด เมื่อ: ตุลาคม 12, 2011, 09:46:00 am
วันพุธ ที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2554

www.krobkruakao.com

พุทธ ศาสนิกชน ตลอดจนนักท่องเที่ยวนับหมื่นคน ออกมาร่วมประเพณีตักบาตรเป็งปุ๊ด หรือตักบาตรเที่ยงคืน ขณะที่คณะสงฆ์เตรียมนำสิ่งของใส่บาตรไปช่วยผู้ประสบภัยน้ำท่วม

เวลา 00.01 น. ย่างเข้าสู่วันพุธคืน วันที่ 12 ตุลาคม 2554 (วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 วันเป็งปุ๊ด) ที่บริเวณหอนาฬิกาเฉลิมพระเกียรติ ในเขตเทศบาลนครเชียงราย ทั้งสองข้างทางถนน บรรดาพุทธศาสนิกชนจังหวัดเชียงราย ตลอดจนนักท่องเที่ยวจำนวนหลายหมื่นคน ได้นำข้าวสาร อาหารแห้ง น้ำดื่ม ไปทำบุญตักบาตรเป็งปุ๊ด หรือที่หลายคนเรียกว่าตักบาตรเที่ยงคืน เพื่อความเป็นสิริมงคลแก่ชีวิต และฟื้นฟูอนุรักษ์ขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีงามของชาวล้านนา

สำหรับ ประเพณีการตักบาตรเที่ยงคืน(วันเป็งปุ๊ด) ทางสำนักงานเทศบาลนครเชียงราย ได้ทำพิธีอาราธนาพระอุปคุตขึ้นบุษบก แห่นำพระสงฆ์สามเณรออกรับบิณฑบาต ไปรอบตัวเมือง โดยเชื่อกันว่าพระอุปคุต คือ พระอรหันต์ที่บำเพ็ญเพียรอยู่ใต้มหาสมุทร มีอิทธิฤทธิ์และความเป็นเลิศในทางโชคลาภและป้องกันปราบมาร เมื่อถึงวันเพ็ญขึ้น 15ค่ำ “เป็งปุ๊ด”ผู้ใดได้ใส่บาตรแก่ท่านจะบังเกิดโชคลาภ ร่ำรวยไม่อับจน ทำให้ประชาชนออกมาร่วมงานกันเป็นจำนวนมากกว่าทุกปีที่ผ่านมา

ทั้ง นี้ ประเพณีตักบาตรเป็งปุ๊ดหรือตักบาตรเที่ยงคืน ถือเป็นอรุณรุ่งวันใหม่ที่พระภิกษุ-สามเณร จะออกบิณฑบาตตอนเที่ยงคืน ในทุกปีที่มีวันขึ้น 15 ค่ำ ที่ตรงกับวันพุธ โดยไม่จำเพาะเจาะจงต้องอยู่ในเดือนใดบางปีอาจมีแค่ครั้งเดียว สองครั้ง หรือบางปีก็ไม่มี ซึ่งในปี้นี้ถือว่าประเพณีตักบาตรเที่ยงคืนได้มีขึ้นถึงสองครั้ง

อย่าง ไรก็ตาม ทางคณะสงฆ์ที่ออกรับบิณฑบาตรจากวัดมิ่งเมือง อำเภอเมืองเชียงราย เตรียมนำสิ่งของทั้งหมดที่ประชาชนนำมาทำบุญส่งไปช่วยผู้ประสบภัยน่ำท่วมทุก จังหวัดในภาคกลาง รวมไปถึงพระตามวัดต่างๆที่เดือดร้อน

ส่วน ตามวัดต่างๆ เช้านี้ ชาวพุทธในจังหวัดเชียงราย ได้จัดเตรียมภัตตาหาร และสังฆทาน เพื่อร่วมทำบุญถวายแด่พระภิกษุสงฆ์ เนื่องในวันออกพรรษา วันสำคัญอีกวันหนึ่งของศาสนาพุทธ ซึ่งทางภาคเหนือยังมีประเพณีทานขันข้าว เป็นวัฒนธรรมที่แสดงถึงความกตัญญูอีกแบบหนึ่งของชาวไทยล้านนา โดยการนำสำรับกับข้าวไปถวายพระที่วัด ซึ่งหลังจากออกพรรษาแล้ว 1 วัน จะมีประเพณีการตักบาตรเทโวโรหณะให้ประชาชนได้ร่วมตักบาตรเพื่อความเป็นสิริ มงคลแก่ตนเองและครอบครัวด้วย


51  เรื่องทั่วไป / IT สาระประโยชน์ชาวธรรม / BB CODE เทคนิค การโพสต์ ข้อความให้บอร์ดสวยครับ เมื่อ: กันยายน 09, 2011, 09:14:50 am
การจะโพสต์ ข้อความให้ กระทู้สวย ๆ ได้ มีประสิทธิภาพ นั้่นจะต้องเข้าใจ คำสั่ง BB Code ด้วยนะครับ
แนะนำลิงก์ นะครับ ติดตามได้ในเว็บนี้ นะครับ

http://www.sudipan.net/phpBB2/faq.php?mode=bbcode#0


http://www.dmc.tv/forum/index.php?act=legends&CODE=bbcode&s=


http://rcw.ms/forum/showthread.php/1520-%E0%B9%81%E0%B8%99%E0%B8%B0%E0%B8%99%E0%B8%B3%E0%B9%81%E0%B8%97%E0%B9%87%E0%B8%81-BB-Code-%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B9%81%E0%B8%95%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%95%E0%B8%B1%E0%B8%A7%E0%B8%AD%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%A3%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%97%E0%B8%B9%E0%B9%89
52  ธรรมะสาระ / ห้อง_ด า ว น์ โ ห ล ด / เรียนภาษาบาลี สำหรับ พระภิกษุสามเณร ที่ยังหาอาจารย์สอนไม่ได้ เชิญครับ เมื่อ: สิงหาคม 03, 2011, 10:40:03 am


ที่เหลือ ก็คลิ๊กเข้าไปที่  www.youtube.com เลยนะครับ

มีประโยชน์มากครับ

  :13: :13: :13:

ขอขอบคุณ

วีดีโอสอนบาลีไวยากรณ์ โดยพระมหาธวัชชัย กลฺยาโณ เจ้าอาวาสวัดพังตรุ รองเจ้าคณะอำเภอพนมทวน

อัปโหลดโดย phangtru
53  ธรรมะสาระ / ห้อง_ด า ว น์ โ ห ล ด / ตัวอย่างการวิเคราะห์พระพุทธพจน์-01 เมื่อ: สิงหาคม 03, 2011, 10:38:56 am
ตัวอย่างการวิเคราะห์พระพุทธพจน์-01



ตัวอย่างการวิเคราะห์พระพุทธพจน์-02



54  ธรรมะสาระ / ห้อง_ด า ว น์ โ ห ล ด / วีดีโอสอนหลักการแปลภาษาบาลี มีหลายตอนครับ สำหรับผู้ที่สนใจเรื่องภาษาบาลี เมื่อ: สิงหาคม 03, 2011, 10:30:32 am
วีดีโอสอนหลักการแปลภาษาบาลี ตอน๑



วีดีโอสอนหลักการแปลภาษาบาลี ตอน ๒



วีดีโอสอนหลักการแปลภาษาบาลี ตอน ๓



วีดีโอสอนหลักการแปลภาษาบาลี ตอน๔



วีดีโอสอนหลักการแปลภาษาบาลี ตอน๕



วีดีโอสอนหลักการแปลภาษาบาลี ตอน๖



วีดีโอสอนหลักการแปลภาษาบาลี ตอน๗



วีดีโอสอนหลักการแปลภาษาบาลี ตอน8

http://www.youtube.com/watch?v=CGRj6R2Vzpw# (Embedding disabled, limit reached)


55  เรื่องทั่วไป / ข่าวสารเพื่อนถึงเพื่อน / ปฏิบัติธรรม ครั้งที่ 19 ระหว่างวันที่ 10 - 14 สิงหาคม 2554 “วันแม่แห่งชาติ” เมื่อ: กรกฎาคม 26, 2011, 09:22:52 am


กำหนดการปฏิบัติธรรม ณ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ประจำปี 2554
โครงการ อบรมวิปัสสนากัมมัฏฐานแก่ประชาชนทั่วไป  ประจําปี 2554   ณ อาคารหอฉัน   มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย   อําเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

    กําหนดการ

    ครั้งที่ 18 ระหว่างวันที่ 29 - 31 กรกฎาคม 2554

    ครั้งที่ 19 ระหว่างวันที่ 10 - 14 สิงหาคม 2554 ปฏิบัติธรรม “วันแม่แห่งชาติ”

    ครั้งที่ 20 ระหว่างวันที่ 26 – 28 สิงหาคม 2554

    ครั้งที่ 21 ระหว่างวันที่ 5 - 11 กันยายน 2554

    ครั้งที่ 22 ระหว่างวันที่ 23 - 25 กันยายน 2554

ติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่ ฝ่ายวิปัสสนาธุระ ส่วนธรรมนิเทศ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย อยุธยา   โทร. 0-3524-8000 ต่อ 8782, 8816, 8817   มือถือ 08-9772-9240

    ดาวน์โหลดใบสมัครได้ที่  http://www.vipassanathai.com/

    สมัครปฏิบัติธรรมออนไลน์  http://www.thailandsoft.com/vipassanathai/
56  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / การอยู่ป่าเปลี่ยว ไม่ได้ทำให้สมาธิเจริญทุกคน เมื่อ: มิถุนายน 14, 2011, 09:35:47 am
การอยู่ป่าเปลี่ยว ไม่ได้ทำให้สมาธิเจริญทุกคน
อุบาลี ! เสนาสนะอันสงัด คือป่าหรือป่าเปลี่ยวอยู่ได้ยาก ปวิเวกทำได้ยาก
ความอยู่คนเดียวเป็นสิ่งที่ยินดีได้ยาก ป่ามักจะนำไปเสียซึ่งใจของภิกษุผู้ไม่ได้สมาธิอยู่
อุบาลี ! ผู้ใดพูดว่า “เราไม่ได้สมาธิ เราจักไปอยู่ในเสนาสนะอันสงัดคือป่าหรือป่าเปลี่ยว” ดังนี้.
เขานั้นพึงหวังผลข้อนี้ คือ จิตจะจมลงหรือจิตจักปลิวไป

อุบาลี ! เปรียบเหมือนห้วงน้ำใหญ่ มีอยู่
ช้างพลายสูงเจ็ดรัตน์ หรือเจ็ดรัตน์ครึ่ง มาสู่ที่นั้นแล้วคิดว่า
“เราจะลงสู่ห้วงน้ำนี้ แล้วเล่นน้ำ ล้างหูบ้าง เล่นน้ำ ล้างหลังบ้าง ปรารถนา” ดังนี้
ช้างนั้น กระทำได้ดังนั้น, เพราะเหตุไร ?
อุบาลี ! เพราะเหตุว่า ช้างนั้นตัวใหญ่ จึงอาจหยั่งลงในห้วงน้ำลึกได้
ครั้งนั้น กระต่ายหรือแมวป่า มาเห็นช้างนั้นแล้วคิดว่า
“ช้างจะเป็นอะไรที่ไหนมา เราก็จะเป็นอะไรที่ไหนไป
ดังนั้นเราจะลงสู่ห้วงน้ำนี้ แล้วเล่นน้ำ ล้างหูบ้าง เล่นน้ำ ล้างหลังบ้าง
แล้วพึงอาบ พึงดื่ม พึงขึ้นจากห้วงน้ำแล้วหลีกไปตามปรารถนา” ดังนี้
กระต่าย หรือแมวป่านั้นกระโจนลงสู่ห้วงน้ำนั้น โดยไม่พิจารณา
ผลที่มันหวังได้ก็คือ จมดิ่งลงไป หรือลอยไปตามกระแสน้ำ.
ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า ?
เพราะว่ากระต่ายหรือแมวป่านั้นตัวมันเล็ก จึง
ไม่อาจหยั่งลงในห้วงน้ำลึก, นี้ฉันใด

อุบาลี ! ข้อนี้ก็ฉันนั้นกล่าวคือ ผู้ใดพูดว่า
“เราไม่ได้สมาธิ เราจักไปอยู่ในเสนาสนะอันสงัด คือป่าหรือป่าเปลี่ยว” ดังนี้.
เขานั้น พึงหวังผลข้อนี้คือจิตจะจมลง หรือจิตจะปลิวไป

ทสก. อํ. ๒๔/๒๑๖/๙๙
http://www.etipitaka.com/read?language=thai&number=172&volume=24
57  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / วิธีเลือกสถานที่ บุคคล ..ฯ.. ตามความเห็นพระศาสดา เมื่อ: มิถุนายน 14, 2011, 09:34:13 am
วิธีเลือกสถานที่ บุคคล ..ฯ.. ตามความเห็นพระศาสดา
ภิกษุ ท. ! ภิกษุในกรณีนี้ เข้าไปอาศัย วนปัตถ์(ป่าทึบ) แห่งใดแห่งหนึ่งอยู่
สติที่ยังตั้งขึ้นไม่ได้ ก็ไม่ตั้งขึ้นได้, จิตที่ยังไม่ตั้งมั่น ก็ไม่ตั้งมั่น,
อาสวะที่ยังไม่สิ้น ก็ไม่ถึงความสิ้น, และอนุตตรโยคักเขมธรรมที่ยังไม่บรรลุ ก็ไม่บรรลุ
...(ปัจจัย ๔)...อันบรรพชิตจะแสวงหามาเพื่อเป็นบริขารของชีวิตนั้น ก็หามาได้โดยยาก...
ภิกษุ ท. ! ภิกษุนั้น พิจารณาเห็นโดยประจักษ์ดังนี้แล้ว
ไม่ว่าจะเป็นเวลากลางวันหรือกลางคืน พึงหลีกไปเสียจาก วนปัตถ์ นั้น, อย่าอยู่เลย

ภิกษุ ท. ! อนึ่ง ภิกษุในกรณีนี้ เข้าไปอาศัย วนปัตถ์ แห่งใดแห่งหนึ่งอยู่
สติที่ยังตั้งขึ้นไม่ได้ ก็ไม่ตั้งขึ้นได้, จิตที่ยังไม่ตั้งมั่น ก็ไม่ตั้งมั่น,
อาสวะที่ยังไม่สิ้นก็ไม่ถึงความสิ้น, และอนุตตรโยคักเขมธรรมที่ ยังไม่บรรลุก็ไม่บรรลุ
...(ปัจจัย ๔)...อันบรรพชิตจะแสวงหามาเพื่อเป็นบริขารของชีวิตนั้น ก็หามาได้โดยไม่ยาก...
ครั้นพิจารณาเห็นดังนี้แล้ว ภิกษุนั้น พึงหลีกไปจาก วนปัตถ์ นั้น, อย่าอยู่เลย.

ภิกษุ ท. ! ภิกษุในกรณีนี้เข้าไปอาศัย วนปัตถ์ แห่งใดแห่งหนึ่งอยู่,
สติที่ยังตั้งขึ้นไม่ได้ ก็ตั้งขึ้นได้, จิตที่ยังไม่ตั้งมั่น ก็ตั้งมั่น,
อาสวะที่ยังไม่สิ้น ก็ถึงความสิ้น, และอนุตตรโยคักเขมธรรมที่ยังไม่บรรลุ ก็บรรลุ
...(ปัจจัย ๔)...อันบรรพชิตจะแสวงหามาเพื่อเป็นบริขารของชีวิตนั้น ก็หามาได้โดยยาก...
ครั้นพิจารณาเห็นดังนี้แล้ว ภิกษุนั้น พึงอยู่ใน วนปัตถ์ นั้นอย่าหลีกไปเสียเลย

ภิกษุ ท. ! อนึ่ง ภิกษุในกรณีนี้ เข้าไปอาศัย วนปัตถ์ แห่งใดแห่งหนึ่งอยู่,
สติที่ยังตั้งขึ้นไม่ได้ ก็ตั้งขึ้นได้, จิตที่ยังไม่ตั้งมั่น ก็ตั้งมั่น,
อาสวะที่ยังไม่สิ้น ก็ถึงความสิ้น, และอนุตตรโยคักเขมธรรมที่ยังไม่บรรลุ ก็บรรลุ
...(ปัจจัย ๔)...อันบรรพชิตจะแสวงหามาเพื่อเป็นบริขารของชีวิตนั้น ก็หาได้โดยไม่ยาก...
ภิกษุ ท. ! ภิกษุนั้น พิจารณาเห็นโดยประจักษ์ดังนี้แล้ว
พึงอยู่ในวนปัตถ์นั้น จนตลอดชีวิต, อย่าหลีกไปเสียเลย
มู. ม. ๑๒ / ๒๑๒- ๒๑๘ / ๒๓๕- ๒๔๒.

http://www.etipitaka.com/read?language=thai&number=147&volume=12


58  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / ผู้รับ ผู้ให้ เมื่อ: มิถุนายน 11, 2011, 02:22:11 pm

ขอบคุณภาพประกอบจาก http://www.dhammajak.net

อูเมชุ ซิบิ เป็นพ่อค้าผู้มั่งคั่งแห่งเมืองเอโด ทราบว่าท่านอาจารย์เซอิเซตสุ มีความประสงค์จะขยายศาลาโรงธรรม เพราะที่มีอยู่เดิมคับแคบไม่พอกับผู้ที่มาฟังธรรม อูเมชุ ซิบิ จึงตกลงใจที่จะเป็นผู้บริจาคปัจจัย เพื่อเป็นค่าก่อสร้างเสียเอง เป็นจำนวนเงินถึง 500 เหรียญทอง ซึ่งในสมัยนั้นนับว่ามากที่สุดแล้ว เพราะว่าเงินเพียง 3 เหรียญทอง ก็สามารถใช้สอยอยู่กินได้ตลอดปีแล้ว ท่านพ่อค้าได้หิ้วถุงเงินเข้าไปหาท่านอาจารย์ แล้วน้อมถวายบอกความประสงค์ให้ทราบ ท่านอาจารย์ ก็กล่าวแต่เพียงว่า

"ดีแล้ว อาตมาจะรับไว้" แล้วก็นั่งนิ่งเงียบ

อูเมชุ ซิบิ นั่งรอ ด้วยหวังว่าท่านอาจารย์คงจะกล่าวอนุโมทนาและอวยพรให้ตนโชคดีทำมาค้าขึ้นต่อๆ ไป แต่เห็นท่านอาจารย์ก็ยังคงนั่งนิ่งเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น จึงนั่งกระสับกระส่ายฟุ้งซ่านต่างๆ นานา แหมเงินตั้ง 500 เหรียญทองเชียวนะ ท่านอาจารย์ไม่เห็นกล่าวอนุโมทนาเลยสักนิด คิดแล้วก็ทำใจกล้ากราบเรียนว่า

"หลวงพ่อครับ เงินในถุงใส่ไว้ครบ 500 เหรียญเลยครับ"

"เมื่อตะกี้ เธอบอกแล้วไม่ใช่เรอะ ?" หลวงพ่อตอบ

ท่านพ่อค้ายิ่งตีสีหน้าไม่ถูก นั่งนิ่งกันไปอีกพักใหญ่ ท่านพ่อค้าก็เลยตัดสินใจอีกครั้ง กล่าวเลียบเคียงให้หลวงพ่อโมทนาให้พร

"หลวงพ่อครับ เงินจำนวน 500 เหรียญทองนี่ แม้ผมจะค้าขายใหญ่โต ก็ยังรู้สึกว่ามันมากอยู่นะครับ"

"เธออยากให้ฉันขอบใจเธอใช่หรือเปล่าล่ะ ?" หลวงพ่อเดาใจ

"ครับ นิดหนึ่งก็ยังดีครับ" พ่อค้าตอบอย่างดีใจ

"ทำไมต้องให้ฉันขอบใจด้วยล่ะ ผู้ใดเป็นผู้ให้ทาน ผู้นั้นต่างหากที่ควรจะขอบใจ"

ท่านอาจารย์เซอิเสตสุตอบ แล้วนิ่งเงียบอืก

ถ้ามองอย่างสามัญแล้ว เมื่อมีการให้ย่อมอยากได้รับการตอบสนองกลับบ้าง ความจริงการให้หรือการทำบุญนั้น เป็นอุบายอย่างหนึ่งในการทำลายความยึดมั่นว่าตัวกูของกูลง แต่จะมองเห็นกันหรือไม่เท่านั้น



" kitty.in.th "
A Just-for-Fun Website
59  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / การหลอกลวงใหม่ใน Facebook เมื่อ: พฤษภาคม 27, 2011, 10:59:43 am

ตอนนี้มีการหลอกลวงใหม่มาในรูปใหม่ใน Facebook ซึ่งแจ้งว่าระบบใช้งานไม่ได้ให้ทำการคลิกปุ่ม Dislike เพื่อทำการเปิดใช้งานแอคคานท์ของคุณ

พวกผู้ไม่ประสงค์ดีได้เปลี่ยนเอาปุ่ม Share แล้วแทนที่ด้วย Enable Dislike ซึ่งปุ่มนี้ก็เอารูปของปุ่ม Like มาดัดแปลง เมื่อกดปุ่ม Enable Dislike ก็จะการรัน Javascript และเปิดช่องให้ผู้ไม่หวังดีเข้ามาทำอะไรๆ ไม่ดีๆ ได้อีก





แม้ว่าทาง Facebook จะมีความพยายามในการป้องกันการหลอกลวง แต่การดัดแปลงปุ่มการใช้งานจริงที่มีอยู่มาใช้ก็ทำให้ผู้คนหลงเชื่อได้

การหลอกลวงอีกวิธีหนึ่งที่นิยมกันมากก็คือ การบอกให้ก็อบปี้โค้ด Javascript ไปวางที่ Address bar เพื่อข้ามระบบป้องกันทั้งหลายของ Facebook

ใครที่เจอก็อย่าเผลอไปกดนะค รับ

ขอบคุณข้อมูลดีๆจาก facebookgoo.com
60  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / อาหารที่ไม่ควรกินคู่กัน เพราะอาจทำให้เสียชีวิตได้ (จริงหรือไม่ พิจารณาเองนะครับ) เมื่อ: พฤษภาคม 26, 2011, 08:54:43 am
อาหารที่ไม่ควรกินคู่กัน เพราะอาจทำให้เสียชีวิตได้
อาหาร ที่เรารับประทานเข้าไปในแต่ละวัน บางอย่างมีประโยชน์ บางอย่างไม่มีประโยชน์ แต่คุณ ทราบหรือไม่ว่า อาหารบางอย่างที่เราทานเข้าไปทุกวันๆ เราคิดว่ามีประโยนช์มากมายนั้น บางอย่างก็ไม่ได้เป็นอย่างที่เราคิด มาดูดีกว่าว่ามีอาหารชนิดไหนบ้าง  (เพิ่งรู้ โปรดใช้วิจารณญาณในการอ่าน)

ขอบคุณภาพประกอบจาก http://www.vcharkarn.com

1. เหล้าขาวกับลูกพลับ - ห้ามรับประทานด้วยกัน จะทำให้เป็นพิษ
2. หัวไชเท้ากับเห็ดหูหนู ทั้งดำและขาว - ห้ามรับประทารด้วยกัน จะเป็นโรคผิวหนัง
3. เต้าหู้กับน้ำผึ้ง - ห้ามรับประทานด้วยกันจะทำให้หูหนวก
4. มันฝรั่งกับกล้วยทุกชนิด - ห้ามรับประทานรวมกัน จะทำให้หน้าเป็นฝ้า
5. กล้วยกับเผือก - ห้ามรับประทานด้วยกัน จะทำให้ท้องอืด
6. ถั่วลิสงกับฟักทอง - ห้ามรับประทานรวมกัน จะทำให้ทำร้ายร่างกายและลำไส้อักเสบ
7. มันเทศกับลูกพลับ - ห้ามรับประทานรวมกัน จะทำให้เกิดนิ่วในกระเพาะอาหาร
8. มันฝรั่งกับลูกพลับ - ห้ามรับประทานรวมกัน จะทำให้เป็นนิ่วในท่อปัสสาวะ
9. หัวไชเท้ากับผลไม้ทุกชนิด - ห้ามรับประทานรวมกัน จะทำให้เกิดคอพอก
10. น้ำเต้าหู้ นมสด - ห้ามใส่ไข่ เพราะจะทำให้ท้องผูกและเส้นเลือดตับ
11. ผักป๋วยเล้ง - ห้ามรับประทานกับเต้าหู้ จะทำให้เป็นนิ่วที่ไขสันหลัง
12. กล้วยมะละกอ แตงโม - ห้ามรับประทานด้วยกัน จะทำให้เป็นโรคไตกับโรคเบาหวาน
13. ส้มกับมะนาว - ห้ามรับประทานด้วยกัน จะทำให้กระเพาะทะลุ
14. เหล้าขาวกับเบียร์ - ห้ามรับประทานด้วยกัน จะทำให้เส้นเลือดในสมองแตก
15. ปลาทุกชนิด - ห้ามต้มกับผักกาดดอง จะทำให้เป็นโรคมะเร็ง
16. ขิงดอง - ห้ามเข้าตู้เย็น กินแล้วจะเป็นโรค มะเร็ง
17. น้ำเต้าหู้ - ห้ามใส่น้ำตาลแดง จะทำให้เสียวิตามิน
18. น้ำข้าว - ห้ามใส่กับนม จะทำให้เสียวิตามิน
19. น้ำผึ้ง - ห้ามชงด้วยน้ำที่ร้อนจะทำให้เสียวิตามิน
20. บวบ ซือกวย ไชเท้า - ห้ามรับประทานวันเดียวกัน จะทำให้เป็นเบาหวาน ทำให้เชื้ออสุจิอ่อนไม่แข็งแรง
21. มังคุดกับน้ำตาล- กินรวมกันจะทำให้เสียชีวิต
61  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / ภัยจากมิจฉาชีพรูปแบบใหม่ Phone scams เมื่อ: พฤษภาคม 26, 2011, 08:42:47 am
ภัยจากมิจฉาชีพรูปแบบใหม่ Phone scams

เมล์ฉบับนี้ Forward มาจากผู้เสียหายรายหนึ่ง

มีพนักงานโทรหาผู้เสียหายรายหนึ่ง อ้างว่าเป็นพนักงานบริษััทโทรศัพท์แห่งหนึ่ง ให้ผู้เสียหายทำการปิดโทรศัพท์มือถือประมาณ 2 ชั่วโมงเพื่อที่จะทำการ update ข้อมูล ผู้เสียหายไม่ทันรอบคอบและสอบถามให้แน่ชัด จึงได้ทำการปิดโทรศัพท์มือถือ จากนั้นเป็นเวลาเกือบ 45 นาที ผู้เสียหายนึกแปลกใจว่าพนักงานคนดังกล่าว ไม่ได้แจ้งชื่อและรายละเอียดใดๆที่ชัดเจน จึงตัดสินใจเปิดเครื่อง เขาพบว่ามีคนในครอบครัวและคนอื่นๆโทรหาเขาหลายสาย เขาจึงรีบโทรหาพ่อกับแม่ และเขาก็ต้องตกใจที่พ่อแม่ถามเขาว่าปลอดภ ัยดีหรือไม่ พ่อแม่ของผู้เสียหายเล่าว่า มีคนโทรศัพท์มาหา และต้องการให้พวกเขาโอนเงินเพื่อช่วยลูกเขาที่กำลังตกอยู่ในอันตราย พวกเขาได้ยินเสียงผู้เสีหายร้องขอความช่วยเหลือ และพ่อแม่ของผู้เสียหายรายนี้กำลังรอโทรศัพท์ เพื่อที่จะโอนเงินให้กลุ่มมิจฉาชีพรายนี้ แต่ผู้เสียหายได้โทรหาพ่อกับแม่ได้ทันเวลา

อย่างไรก็ตามผู้เสียหายได้เข้าแจ้งความและลงบันทึกประจำวันไว้แล้ว และอยากให้เพื่อนๆทุกคนให้สอบถามรายละเอียดให้รอบคอบ ก่อนที่จะตัดสินใจทำอะไร รวมทั้งระมัดระวังกลุ่มมิจฉาชีพกลุ่มนี้ เพราะหากพลาดพลั้งหลงกลไปแล้ว ก็ยากที่จะได้เงินส่วนนั้นกลับคืนมา

โปรดช่วยกัน Forward mail นี้เพื่อเตือนเพื่อนๆที่รักของเรา เพราะไม่แน่วันข้างหน้าเราอาจจะประสบเรื่องแบบนี้ กับเพื่อนๆหรือตัวเราก็เป็นได้...
62  เรื่องทั่วไป / IT สาระประโยชน์ชาวธรรม / วิธีการฝากภาพ และ นำภาพมาใช้ในบอร์ด ของ www.madchim.net เมื่อ: พฤษภาคม 19, 2011, 08:27:03 pm


หมายเลข 1
จากภาพจะเห็นว่า ที่เว็บสามารถ upload ได้ครั้งละ 5 โดยใช้เครื่องหมาย +
เปิดช่องขึ้นมา

ที่สำคัญที่หมายเลข 2 ต้องติ๊กด้วย อย่างน้อยต้องยอมรับระเบียบและกฏของเว็บ

หมายเลข 3 เลือกภาพ

หมายเลข 4 พร้อมแล้วก็ upload ภาพขึ้นเว็บ



เลือกไฟล์ และ ตอบ open




ส่วน code ที่จะนำมาใส่ในบอร์ด มี 2 ส่วน

หมายเลข 1 นำไปใส่บอร์ด ตามขั้นตอนการใส่ภาพ

ส่วนหมายเลข 2 นำไปวางในบอร์ดได้เลย โดยไม่ต้องเพิ่ม code ใด ๆ ทั้งสิ้นนะครับ
63  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / อยากให้ท่านผู้รู้ นิยาม คำดังนี้หน่อยครับ เมื่อ: พฤษภาคม 13, 2011, 06:43:40 pm
อยากให้ท่านผู้รู้ นิยามจำกัดวงในคำเหล่านี้ด้วยครับ เพราะเกรงว่าผมจะใช้คำไม่ถูกความหมายครับ


1. อุดมคติ

2. อุดมการณ์

3. อุดมธรรม

4. อุดมปัญญา

   :s_hi:
64  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / กระพี้ เปลือก แก่น ธรรม ควรจะส่งเสริมอันไหนดีครับ ? เมื่อ: พฤษภาคม 13, 2011, 06:41:09 pm
ถ้าจัดการภาวนา ธรรม เป็น กระพี้

                        เป็น เปลือก

                        เป็น แก่น

 ถ้าเราจะส่งเสริม ธรรม ควรจะส่งเสริมข้อธรรมอันไหนดีครับ

   :c017:
65  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / ญาณ๑๖ หรือ โสฬสญาณ เมื่อ: เมษายน 24, 2011, 08:56:45 am
ญาณ๑๖ หรือ โสฬสญาณ

และ วิปัสสนาญาณ

       เป็นการรวบรวมลำดับญาณขึ้นในภายหลังโดยพระอรรถกถาจารย์ เพื่อเป็นการจำแนกให้เห็นลำดับญาณหรือภูมิรู้ภูมิธรรมทางปัญญาที่เกิดขึ้น,  ในญาณทั้ง๑๖นี้ มีเพียงมรรคญาณ และผลญาณเท่านั้นที่เป็นญาณขั้นโลกุตระ  คือ เหนือหรือพ้นจากทางโลก จึงหลุดพ้นหรือจางคลายจากทุกข์ตามมรรค,ตามผลนั้นๆ   ส่วนที่เหลือยังจัดเป็นขั้นโลกียะทั้งสิ้น,  นักปฏิบัติไม่ต้องปฏิบัติตามเป็นลำดับขั้น  เป็นเพียงแค่การแสดงภูมิญาณในวิปัสสนาญาณต่างๆที่เกิดขึ้นเพียงเท่านั้น  เพื่อให้เป็นเพียงเครื่องรู้ เครื่องระลึก เครื่องเตือนสติ ในการปฏิบัติว่าดำเนินไปอย่างถูกต้องแนวทางการวิปัสสนา กล่าวคือ เพื่อพิจารณาการปฏิบัติว่าเป็นไปเพื่อส่งเสริมหรือสั่งสมให้เกิดวิปัสสนาญาณ ต่างๆเหล่านี้ หรือไม่,   อันญาณต่างๆเหล่านี้ล้วนจักเกิดขึ้นเองตามเหตุปัจจัยจากความรู้เข้าใจอัน แจ่มแจ้งและการปฏิบัติเท่านั้น  จึงยังให้เกิดญาณ ที่หมายถึง การรู้เข้าใจอย่างแจ่มแจ้งตามความเป็นจริงนั้นๆ ด้วยปัญญาจักขุ ที่หมายถึงปัญญานั่นเอง กล่าวคือ ไม่เห็นเป็นไปตามความเชื่อหรือความอยากความยึดของตนเอง แต่เห็นเป็นไปหรือเข้าใจอย่างถูกต้องตามความเป็นจริงของสิ่ง(ธรรม)นั้นๆด้วย ปัญญา

       ส่วนวิปัสสนาญาณนั้น เป็นการจำแนกแตกธรรม ที่จัดแสดงเน้นว่าญาณใดในโสฬสญาณทั้ง ๑๖ ข้างต้น ที่จัดเป็นการปฏิบัติวิปัสสนาหรือการปฏิบัติหรือวิธีการเรืองปัญญาในการดับ ทุกข์  ซึ่งได้จำแนกออกเป็น ๙  กล่าวคือ ข้อ ๔- ๑๒ ในโสฬสญาณนั่นเอง

โสฬสญาณ หรือญาณ ๑๖

ญาณ ๑๖  ญาณที่เกิดแก่ผู้บำเพ็ญวิปัสสนาจนถึงจุดหมาย  คือมรรคผลนิพพาน ๑๖ อย่าง คือ
      ๑. นามรูปปริจเฉทญาณ ญาณกำหนดแยกนามรูป คือปัญญากำหนดรู้เข้าใจในนามและรูป
      ๒. (นามรูป) ปัจจัยปริคคหญาณ ญาณกำหนดจับปัจจัยแห่งนามรูป คือปัญญากำหนดรู้ทั้งในนามและรูปว่าล้วนเกิดแต่เหตุปัจจัย
      ๓. สัมมสนญาณ ญาณพิจารณานามรูปโดยไตรลักษณ์
      ๔. - ๑๒. ตรงกับวิปัสสนาญาณ ๙
      ๑๓. โคตรภูญาณ ญาณครอบโคตรคือหัวต่อที่ข้ามพ้นภาวะปุถุชน
      ๑๔. มรรคญาณ(มัคคญาณ) ญาณในอริยมรรค เช่น โสดาปัตติมรรค
      ๑๕. ผลญาณ ญาณในอริยผล เช่น โสดาปัตติผล เป็นพระโสดาบัน
      ๑๖. ปัจจเวกขณญาณ ญาณที่พิจารณาทบทวน
      ญาณ ๑๖ นี้เรียกเลียนคำบาลีว่า โสฬสญาณ หรือ เรียกกึ่งไทยว่า ญาณโสฬส

วิปัสสนาญาณ  ญาณที่นับเข้าในวิปัสสนาหรือญาณที่จัดเป็นวิปัสสนามี ๙ อย่าง คือ
      ๑. อุทยัพพยานุปัสสนาญาณ ญาณตามเห็นความเกิดและความดับแห่งนามรูป
      ๒. ภังคานุปัสสนาญาณ ญาณตามเห็นจำเพาะความดับเด่นขึ้นมา
      ๓. ภยตูปัฏฐานญาณ ญาณอันมองเห็นสังขารปรากฏเป็นของน่ากลัว
      ๔. อาทีนวานุปัสสนาญาณ ญาณคำนึงเห็นโทษ
      ๕. นิพพิทานุปัสสนาญาณ ญาณคำนึงเห็นด้วยความหน่าย
      ๖. มุจจิตุกัมยตาญาณ ญาณหยั่งรู้อันให้ใคร่จะพ้นไปเสีย
      ๗. ปฏิสังขานุปัสสนาญาณ ญาณอันพิจารณาทบทวนเพื่อจะหาทาง
      ๘. สังขารุเปกขาญาณ ญาณอันเป็นไปโดยความเป็นกลางต่อสังขาร
      ๙. สัจจานุโลมิกญาณ ญาณเป็นไปโดยควรแก่การหยั่งรู้อริยสัจจ์
ดังมีรายละเอียดพอสังเขปดังนี้

       ๑. นามรูปปริจเฉทญาณ หรือ สังขารปริเฉท  ญาณหรือความรู้ความเข้าใจในรูปและนาม คือแยกออกด้วยความเข้าใจว่าสิ่งใดเป็นรูปธรรม อันสัมผัสได้ด้วยอายตนะทั้ง๕ อันมี ตา หู จมูก ลิ้น  กาย    สิ่งใดเป็นนามธรรม อันเพียงสัมผัสได้ด้วยใจอย่างถูกต้อง   เหล่านี้เป็นความเข้าใจขั้นพื้นฐานในการพิจารณาธรรมให้เข้าใจยิ่งๆขึ้นไป (เป็นการเห็นด้วยปัญญาว่า สักแต่ว่า นาม กับ รูป ไม่มีตัวตนแท้จริง)  -  เรียกง่ายๆว่าเห็น นาม รูป

       ๒. นามรูปปัจจัยปริคคหญาณ หรือ สัมมาทัสสนะ  ญาณที่เข้าใจในเหตุปัจจัย คือรู้เข้าใจว่านามและรูปว่าล้วนเกิดแต่เหตุปัจจัย  พระอรรถกถาจารย์ในภายหลังๆเรียกว่าเป็น "จูฬโสดาบัน" คือพระโสดาบันน้อย ที่ถือว่าเป็นผู้มีคติหรือความก้าวหน้าอย่างแน่นอนในพระศาสนา (เห็นด้วยปัญญาว่า สิ่งทั้งหลายสักแต่ว่าเกิดแต่เหตุปัจจัย)  -  เห็นความเป็นเหตุเป็นปัจจัยกันจึงเกิดขึ้น

       ๓. สัมมสนญาณ  ญาณพิจารณา  พิจารณาเห็นการเกิด การตั้งอยู่อย่างแปรปรวน การดับไป คือเห็นด้วยปัญญา(ปัญญาจักขุ)ใน ความไม่เที่ยง,แปรปรวนและดับไปทั้งหลายตามแนวทางพระไตรลักษณ์นั่นเอง (เห็นด้วยปัญญาว่า สิ่งทั้งหลายสักแต่ว่า ล้วนไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตาไม่เป็นแก่นแกนแท้จริง)  -  เห็นพระไตรลักษณ์

       ๔. อุทยัพพยญาณ (อุทยัพพยานุปัสสนาญาณ - เรียกแบบ วิปัสสนาญาณ) ญาณอันเห็นการเกิดดับของขันธ์ ๕ หรือเบญจขันธ์  หรือการเห็นการเกิดดับของรูปและนามนั่นเอง  คือพิจารณาจนเห็นตามความเป็นจริงในการการเกิดขึ้นและดับไปของขันธ์ ๕ จนเห็นได้ด้วยปัญญา(ปัญญาจักขุ)ในปัจจุบันจิตหรือปัจจุบันธรรมคือในขณะที่ เกิดและค่อยๆดับสลายลงไป (เห็นและเข้าใจสภาวะธรรมดังกล่าวในแง่ปรมัตถ์ เช่นเห็นสังขารขันธ์ความคิดที่ผุดว่าเพราะสังขารนี้จึงเป็นทุกข์  ไม่ใช่รายละเอียดปลีกย่อยของความคิดนั้นๆ  และไม่ปรุงแต่งต่อในสิ่งที่เห็นนั้นๆด้วยถ้อยคิดใดๆ  ดังการปฏิบัติในสติปัฏฐาน ๔ เป็นต้น)  -  เห็นการเกิดดับของรูปและนาม หรือกระบวนธรรมของขันธ์๕ ทางปัญญา

       ๕. ภังคานุปัสสนาญาณ (ภังคานุปัสสนาญาณ - เรียกแบบ วิปัสสนาญาณ)  ญาณอันเห็นการแตกดับ เมื่อเห็นการเกิดดับบ่อยๆ ถี่ขึ้น ชัดเจนขึ้น ก็จักเริ่มคำนึงเด่นชัดขึ้นด้วยปัญญา ในความดับไป มองเห็นเด่นชัดขึ้นที่จิตที่หมายถึงปัญญานั่นเอง ถึงการต้องดับสลายไปของนาม รูป  หรือของขันธ์ต่างๆ   การดับไปจะเห็นได้ชัด ถ้าอุเบกขา ที่หมายถึง การเป็นกลางวางทีเฉย รู้สึกอย่างไรไม่เป็นไร แต่ไม่เอนเอียงแทรกแซงด้วยถ้อยคิดปรุงแต่งใดๆ  ก็จะเห็นการดับไปด้วยตนเองชัดแจ้งเป็นลำดับ โดยปัจจัตตัง -  เห็นการดับ

       ๖. ภยญาณ (ภยตูปัฏฐานญาณ - เรียกแบบ วิปัสสนาญาณ)  ญาณอันมองเห็นสังขารหรือนามรูปว่า เป็นของที่มีภัย  เพราะความที่ไปเห็นด้วยปัญญาว่า สังขารหรือนามรูปต่างล้วนไม่เที่ยง ต้องแปรปรวน แตกสลาย ดับไป ไม่มีแก่นแกนตัวตนอย่างแท้จริง  ถ้าไปยึดไปอยากย่อมก่อทุกข์โทษภัย  เวียนว่ายตายเกิดในสังสารวัฎต่อไปไม่มีที่สิ้นสุด  -  เห็นสังขารเป็นของมีภัย ต้องแตกดับเป็นธรรมดา  จึงคลายความอยากความยึดในสังขารต่างๆ

       ๗. อาทีนวญาณ (อาทีนวานุปัสสนาญาณ - เรียกแบบ วิปัสสนาญาณ)  ญาณคำนึงเห็นโทษ เมื่อเห็นสิ่งต่างล้วนต้องดับแตกสลายไปล้วนสิ้น จึงคำนึงเห็นโทษ ที่จักเกิดขึ้น  ว่าจักเกิดทุกข์โทษภัยขึ้น จากการแตกสลายดับไปของสังขารหรือนามรูปต่างๆถ้าไปอยากหรือยึดไว้   เกิดสังสารวัฏการเวียนว่ายตายเกิดในภพในชาติอันเป็นทุกข์อันเป็นโทษ  -  เห็นโทษ

       ๘. นิพพิทาญาณ (นิพพิทานุปัสสนาญาณ - เรียกแบบ วิปัสสนาญาณ)  ญาณอันคำนึงถึงด้วยความหน่าย จากการไปรู้ตามความเป็นจริงของสังขารหรือขันธ์๕ ว่าล้วนไม่เที่ยง แปรปรวน และแตกดับไปเป็นที่สุด ไม่สามารถควบคุมบังคับได้ตามปรารถนาเป็นที่สุด  จึงเกิดความหน่ายต่อสังขารต่างๆเพราะปัญญาที่ไปรู้ตามความเป็นจริงอย่างที่ สุดนี่เอง  -  ความหน่ายคลายความยึดความอยากหรือเหล่าตัณหาทั้งปวงจากการไปรู้ความจริง

       ๙. มุญจิตุกัมยตาญาณ (มุจจิตุกัมยตาญาณ - เรียกแบบ วิปัสสนาญาณ)   ญาณหยั่งรู้ มีความหยั่งรู้ว่าต้องการพ้นไปเสียจากสังขารชนิดก่อทุกข์  คือ ปรารถนาที่จะพ้นไปจากสังขารหรือขันธ์๕ที่ก่อให้เกิดทุกข์ (หมายถึงอุปาทานขันธ์๕)  -  ปรารถนาพ้นไปจากทุกข์

       ๑๐. ปฏิสังขาญาณ (ปฏิสังขานุปัสสนาญาณ - เรียกแบบ วิปัสสนาญาณ)  ญาณพิจารณาทบทวนเพื่อให้เห็นทางหลุดพ้นไปเสียจากภัยเหล่านั้น  ดังเช่น โยนิโสมนสิการหรือปัญญาหยิบยกสังขารหรือขันธ์๕(นามรูป)ขึ้นมาพิจารณาโดยพระ ไตรลักษณ์ เพื่อหาอุบายที่จะปลดเปลื้องหรือปล่อยวางในสังขารหรือขันธ์๕เหล่านี้   เพื่อให้หลุดพ้นจากภัยเหล่านั้น  -  ทบทวนพิจารณา

       ๑๑. สังขารุเปกขาญาณ (สังขารุเปกขาญาณ - เรียกแบบ วิปัสสนาญาณ)  ญาณอันเป็นไปโดยความเป็นกลาง(อุเบกขา)ต่อสังขาร  เมื่อรู้เข้าใจตามความเป็นจริงของสิ่งทั้งหลายทั้งปวงด้วยปัญญา เช่น สังขารอย่างปรมัตถ์แล้ว ก็วางใจเป็นกลางต่อสังขาร และกายสังขารได้ ไม่ยินดี ไม่ยินร้าย ไม่ติดใจในสังขารทั้งหลาย  จึงโน้มน้อมที่จะมุ่งสู่ความหลุดพ้นหรือพระนิพพาน  -  วางใจเป็นกลางต่อสังขารทั้งปวง

       ๑๒. อนุโลมญาณ (สัจจานุโลมิกญาณ - เรียกแบบ วิปัสสนาญาณ)  ญาณอันเป็นไปโดยการหยั่งรู้อริยสัจ เมื่อวางใจเป็นกลางต่อสังขารทั้งหลายแล้ว ญาณอันคล้อยตามอริยสัจย่อมเกิดขึ้นในลำดับถัดไป  เป็นขั้นสุดท้ายของวิปัสสนาญาณ

       ๑๓. โคตรภูญาณ ญาณครอบโคตร หรือญาณอันเกิดแต่ปัญญาที่เป็นหัวต่อระหว่างภาวะปุถุชนและภาวะอริยบุคคล

       ๑๔. มรรคญาณ ญาณอันสำเร็จให้เป็นอริยบุคคลต่อไป

       ๑๕. ผลญาณ เมื่อมรรคญาณเกิดขึ้นแล้ว ผลญาณก็เกิดขึ้นเป็นลำดับถัดไปจากมรรคญาณนั้นๆในชั่วมรรคจิต  ตามลำดับแต่ละขั้นของอริยบุคคล

       ๑๖. ปัจจเวกขณญาณ ญาณที่เกิดขึ้นเพื่อพิจารณามรรค ผล กิเลสที่ละแล้ว กิเลสที่ยังเหลืออยู่ และพิจารณานิพพาน (เว้นพระอรหันต์ไม่มีการพิจารณากิเลสที่ยังเหลืออยู่) เป็นอันจบกระบวนการบรรลุมรรคผลในขั้นหนึ่งๆคืออริยบุคคลขั้นหนึ่งๆ   หรือถึงพระนิพพาน

นำมาจาก
http://nkgen.com/715.htm
66  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / อวิชชาสูตร ๆ ที่ไม่ควรมองข้าม ครับ เมื่อ: เมษายน 23, 2011, 03:18:56 pm
ธัมมกถิกวรรคที่ ๒

๑. อวิชชาสูตร

ว่าด้วยความหมายของอวิชชา

             [๓๐๐] พระนครสาวัตถี. ครั้งนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่ง เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ ประทับ ฯลฯ

ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่เรียกว่า อวิชชา  อวิชชาดังนี้  อวิชชาเป็นไฉนหนอแล?

และบุคคลเป็นผู้ประกอบด้วยอวิชชา ด้วยเหตุเพียงเท่าไร?

พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ดูกรภิกษุ ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับแล้วในโลกนี้

ไม่รู้ชัดซึ่ง รูป

ไม่รู้ชัดซึ่งเหตุเกิดแห่ง รูป

ไม่รู้ชัดซึ่งความดับแห่ง รูป

ไม่รู้ชัดซึ่งปฏิปทาอันให้ถึงความดับแห่ง รูป

(ข้างต้นเป็นการแสดง อวิชชา ความไม่รู้ตามความจริงในเรื่องทุกข์เพื่อการดับทุกข์)

ไม่รู้ชัดซึ่ง เวทนา ฯลฯ (เหมือนข้างต้น แค่เปลี่ยนเป็นเวทนา  เป็นการแสดงเกิดแต่เหตุแบบต่างๆกล่าวคือ เกิดแต่ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ นั่นเอง)

ไม่รู้ชัดซึ่ง สัญญา ฯลฯ (เหมือนข้างต้น แค่เปลี่ยนเป็นสัญญา  เป็นการแสดงเหตุแบบต่างๆ)

ไม่รู้ชัดซึ่ง สังขาร ฯลฯ (เหมือนข้างต้น แค่เปลี่ยนเป็นสังขาร  เป็นการแสดงเหตุแบบต่างๆ)

ไม่รู้ชัดซึ่ง วิญญาณ  ไม่รู้ชัดซึ่งเหตุเกิดวิญญาณ  ไม่รู้ชัดซึ่งความดับวิญญาณ  ไม่รู้ชัดซึ่งปฏิปทาอันให้ถึงความดับวิญญาณ.

ดูกรภิกษุ นี้เรียกว่า อวิชชา และบุคคลเป็นผู้ประกอบด้วยอวิชชา ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล.

จบ สูตรที่ ๑.

(พึงพิจารณาหรือเจริญวิปัสสนาในขันธ์ ๕ หรือ ปฏิจจสมุปบาท ย่อมเห็นในสิ่งเหล่านั้นได้)

------------------

พระไตรปิฎก ฉบับสยามรัฐ เล่มที่ ๑๘

อวิชชาวรรคที่ ๑

อวิชชาสูตร

             [๕๖] พระนครสาวัตถี ฯลฯ ครั้งนั้นแล ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้า พระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ

ถวายอภิวาทแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้น แล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บุคคลเมื่อรู้อย่างไร เห็นอย่างไร จึงจะละอวิชชาได้ วิชาจึงจะเกิดขึ้น

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุ บุคคลรู้อยู่ เห็นอยู่ซึ่งจักษุ โดยความเป็นของไม่เที่ยง จึงจะละอวิชชาได้  วิชาจึงจะเกิด

บุคคลรู้อยู่ เห็นอยู่ซึ่งรูป ... จักษุวิญญาณ จักษุสัมผัส สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย โดย ความเป็นของไม่เที่ยง จึงจะละอวิชชาได้ วิชาจึงจะเกิดขึ้น

บุคคลรู้อยู่ เห็นอยู่ ซึ่งหู จมูก ลิ้น กาย ใจ ธรรมารมณ์ มโนวิญญาณ มโนสัมผัส สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย โดยความเป็นของไม่เที่ยง จึงจะละอวิชชาได้ วิชาจึงจะเกิด

ดูกรภิกษุ บุคคลรู้อยู่ อย่างนี้ เห็นอยู่อย่างนี้แล จึงจะละอวิชชาได้  วิชาจึงจะเกิด ฯ

จบสูตรที่ ๑

(พึงพิจารณาหรือเจริญวิปัสสนาในพระไตรลักษณ์)

--------------------

พระไตรปิฎก ฉบับสยามรัฐ เล่มที่ ๑๘

อวิชชาสูตรที่ ๑

             [๙๕] ครั้งนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ฯลฯ

ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมข้อหนึ่ง ซึ่งเมื่อภิกษุละได้แล้ว ย่อมละอวิชชาได้ วิชชาย่อมเกิดขึ้น มีอยู่หรือ พระเจ้าข้า

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุ ธรรมข้อหนึ่งซึ่งเมื่อภิกษุละได้แล้ว ย่อมละ อวิชชาได้ วิชชาย่อมเกิดขึ้น มีอยู่ ฯ

             ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมข้อหนึ่งซึ่งเมื่อภิกษุละได้แล้ว ย่อมละ อวิชชาได้ วิชชาเกิดขึ้นนั้น เป็นไฉน พระเจ้าข้า ฯ

             พ. ดูกรภิกษุ ธรรมข้อหนึ่ง คือ อวิชชาแล ซึ่งเมื่อภิกษุละได้แล้ว ย่อมละอวิชชาได้ วิชชาย่อมเกิดขึ้น ฯ

             ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็เมื่อภิกษุรู้อยู่อย่างไร เห็นอยู่อย่างไร จึง ละอวิชชาได้ วิชชาจึงเกิดขึ้น พระเจ้าข้า ฯ

             พ. ดูกรภิกษุ เมื่อภิกษุรู้อยู่ เห็นอยู่ซึ่งจักษุโดยความเป็นของไม่เที่ยง จึงละอวิชชาได้ วิชชาจึงเกิดขึ้น เมื่อภิกษุรู้อยู่เห็นอยู่ซึ่งรูปทั้งหลาย ฯลฯ ซึ่ง สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัส เป็นปัจจัย โดยความเป็นของไม่เที่ยง จึงละอวิชชาได้ วิชชาจึงเกิดขึ้น

ดูกรภิกษุ เมื่อภิกษุรู้อยู่อย่างนี้ เห็นอยู่อย่างนี้แล จึงละอวิชชาได้ วิชชาจึงเกิดขึ้น ฯ

จบสูตรที่ ๖

--------------------

พระไตรปิฎก ฉบับสยามรัฐ เล่มที่ ๑๘

อวิชชาสูตรที่ ๒

             [๙๖] ครั้งนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่ง ฯลฯ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมข้อหนึ่ง ซึ่งภิกษุละได้แล้ว ย่อมละอวิชชาได้ วิชชาย่อมเกิดขึ้น มีอยู่หรือหนอแล ฯ

             พ. ดูกรภิกษุ ธรรมข้อหนึ่งซึ่งภิกษุละได้แล้ว ย่อมละอวิชชาได้ วิชชา ย่อมเกิดขึ้น มีอยู่ ฯ

             ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมข้อหนึ่งซึ่งภิกษุละได้แล้ว ย่อมละ อวิชชาได้ วิชชาย่อมเกิดขึ้น เป็นไฉน พระเจ้าข้า ฯ

             พ. ดูกรภิกษุ ธรรมข้อหนึ่ง คือ อวิชชาแล ซึ่งภิกษุละได้แล้ว ย่อมละ อวิชชาได้ วิชชาย่อมเกิดขึ้น ฯ

             ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็เมื่อภิกษุรู้อย่างไร เห็นอยู่อย่างไร จึงละอวิชชาได้  วิชชาจึงเกิดขึ้น  พระเจ้าข้า ฯ

             พ. ดูกรภิกษุ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ได้สดับว่า ธรรมทั้งปวงไม่ควรยึดมั่น 

เธอย่อมรู้ยิ่งซึ่งธรรมทั้งปวง ครั้นรู้ยิ่งซึ่งธรรมทั้งปวงแล้ว

ย่อมกำหนดรู้ธรรมทั้งปวง ครั้นกำหนดรู้ธรรมทั้งปวงแล้ว

ย่อมเห็นนิมิตทั้งปวงโดยประการอื่น(บ้าง หมายถึง แตกฉานจนเห็นรายละเอียดประการอื่นๆขึ้นอีกได้) คือเห็น จักษุ โดยประการอื่น

เห็นรูป จักษุวิญญาณ จักษุสัมผัส สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย โดยประการอื่น

เห็นเสียง โสตวิญญาณ โสตสัมผัส สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะโสตสัมผัสเป็นปัจจัย โดยประการอื่น

เห็นกลิ่น ฆนะวิญญาณ ฆนะสัมผัส สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะฆนะสัมผัสเป็นปัจจัย โดยประการอื่น

เห็นรส ชิวหาวิญญาณ ชิวหาสัมผัส สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะชิวหาสัมผัสเป็นปัจจัย โดยประการอื่น

เห็นโผฏฐัพพะ กายวิญญาณ กายสัมผัส สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะกายสัมผัสเป็นปัจจัย โดยประการอื่น

เห็นใจ ธรรมารมณ์ มโนวิญญาณ มโนสัมผัส สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย โดยประการอื่น

ดูกรภิกษุ เมื่อภิกษุรู้อยู่อย่างนี้  เห็นอยู่อย่างนี้แล  จึงละอวิชชาได้ วิชชา จึงเกิดขึ้น ฯ

จบสูตรที่ ๗

------------------------

พระไตรปิฎก ฉบับสยามรัฐ เล่มที่ ๑๙

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

๑. มัคคสังยุต

อวิชชาวรรคที่ ๑

อวิชชาสูตร

ว่าด้วยอวิชชา และวิชชาเป็นหัวหน้าแห่งอกุศลและกุศล

            [๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้:-

            สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระดำรัสพระผู้มีพระภาคว่า พระพุทธเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคได้ ตรัสพระพุทธพจน์นี้ว่า.             

            [๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อวิชชาเป็นหัวหน้าในการยังอกุศลธรรมให้ถึงพร้อม

เกิดร่วม กับความไม่ละอายบาป ความไม่สะดุ้งกลัวบาป

ความเห็นผิดย่อมเกิดมีแก่ผู้ไม่รู้แจ้ง (เพราะ)ประกอบด้วยอวิชชา

ความดำริผิดย่อมเกิดมีแก่ผู้มีความเห็นผิด

เจรจาผิดย่อมเกิดมีแก่ผู้มีความดำริผิด

การงานผิดย่อมเกิดมีแก่ผู้เจรจาผิด

การเลี้ยงชีพผิดย่อมเกิดมีแก่ผู้ทำการงานผิด

พยายามผิดย่อมเกิด มีแก่ผู้เลี้ยงชีพผิด

ระลึกผิดย่อมเกิดมีแก่ผู้พยายามผิด

ตั้งใจผิดย่อมเกิดมีแก่ผู้ระลึกผิด.

             [๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ส่วนวิชชา เป็นหัวหน้าในการยังกุศลธรรมให้ถึงพร้อม

เกิดร่วม กับความละอายบาป ความสะดุ้งกลัวบาป

ความเห็นชอบย่อมเกิดมีแก่ผู้รู้แจ้ง ประกอบด้วย วิชชา

ความดำริชอบ ย่อมเกิดมีแก่ผู้มีความ เห็นชอบ

เจรจาชอบ ย่อมเกิดมีแก่ผู้มีความ ดำริชอบ

การงานชอบ ย่อมเกิดมีแก่ผู้ เจรจาชอบ

การเลี้ยงชีพชอบ ย่อมเกิดมีแก่ผู้ทำ การงานชอบ

พยายามชอบ ย่อมเกิดมีแก่ผู้ เลี้ยงชีพชอบ

ระลึกชอบ ย่อมเกิดมีแก่ผู้ พยายามชอบ

ตั้งใจชอบ ย่อมเกิด มีแก่ผู้ ระลึกชอบ แล.

(หรือก็คือ มรรค ๘  อันมี เห็นชอบ ---> ดำริชอบ ---> เจรจาชอบ ---> การงานชอบ ---> เลี้ยงชีพชอบ ---> พยายามชอบ ---> ระลึกชอบ ---> ตั้งใจชอบ)

จบ สูตรที่ ๑

-----------------------

พระไตรปิฎก ฉบับสยามรัฐ เล่มที่ ๑๙

อวิชชาสูตร

ว่าด้วยอวิชชา

             [๑๖๙๔] ภิกษุนั้นนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่เรียกว่า อวิชชาๆ ดังนี้  อวิชชาเป็นไฉน  และด้วยเหตุเพียงเท่าไร บุคคล จึงจะชื่อว่าตกอยู่ในอวิชชา?

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุ  ความไม่รู้ในทุกข์  ในเหตุให้ เกิดทุกข์  ในความดับทุกข์  ในทางที่จะให้ถึงความดับทุกข์ นี้เรียกว่าอวิชชา

และด้วยเหตุเพียงเท่านี้  บุคคลย่อมชื่อว่าตกอยู่ในอวิชชา

ดูกรภิกษุ เพราะฉะนั้นแหละ เธอพึงกระทำความเพียร เพื่อรู้ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา.

(ความไม่รู้ในอริยสัจ ๔)

จบ สูตรที่ ๗

------------------

พระไตรปิฎก ฉบับสยามรัฐ เล่มที่ ๒๔

ยมกวรรคที่ ๒

อวิชชาสูตร

             [๖๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เงื่อนต้นแห่งอวิชชาย่อมไม่ปรากฏในกาลก่อน  แต่นี้ อวิชชาไม่มี

แต่ภายหลังจึงมี เพราะเหตุนั้น เราจึงกล่าวคำนี้อย่างนี้ว่า

ก็เมื่อเป็นเช่นนั้น  อวิชชา มีข้อนี้เป็นปัจจัยจึงปรากฏ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมกล่าว อวิชชาว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร

ก็อะไรเป็นอาหารของอวิชชา ควรจะกล่าวว่านิวรณ์ ๕   

แม้นิวรณ์ ๕ เราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร

ก็อะไรเป็นอาหารของนิวรณ์ ๕ ควรกล่าวว่า ทุจริต ๓

แม้ทุจริต ๓ เราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร

ก็อะไรเป็นอาหารของทุจริต ๓ ควร กล่าวว่า การไม่สำรวมอินทรีย์

แม้การไม่สำรวมอินทรีย์เราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้ กล่าวว่าไม่มีอาหาร

ก็อะไรเป็นอาหารแห่งการไม่สำรวมอินทรีย์ ควรกล่าวว่าความ ไม่มีสติ สัมปชัญญะ

แม้ความไม่มีสติสัมปชัญญะเราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้ กล่าวว่าไม่มีอาหาร

ก็อะไรเป็นอาหารของความไม่มีสติสัมปชัญญะ ควรกล่าวว่า การกระทำไว้ในใจโดยไม่แยบคาย

แม้การทำไว้ในใจโดยไม่แยบคายเราก็กล่าวว่า มีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร

ก็อะไรเป็นอาหารของการทำไว้ในใจโดยไม่แยบคาย ควรกล่าวว่าความไม่มีศรัทธา

แม้ความไม่มีศรัทธาเราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร

ก็อะไรเป็นอาหารของความไม่มีศรัทธา ควรกล่าวว่า การไม่ฟังสัทธรรม

แม้การไม่ฟังสัทธรรมเราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร

ก็อะไรเป็นอาหารของการไม่ฟังสัทธรรม ควรกล่าวว่า การไม่คบสัปบุรุษ

        ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ด้วยประการดังนี้

การไม่คบสัปบุรุษที่บริบูรณ์ ย่อมยังการไม่ฟัง สัทธรรมให้บริบูรณ์

การไม่ฟังสัทธรรมที่บริบูรณ์ ย่อมยังความไม่มีศรัทธาให้ บริบูรณ์

ความไม่มีศรัทธาที่บริบูรณ์ ย่อมยังการทำไว้ในใจโดยไม่แยบคายให้ บริบูรณ์

การทำไว้ในใจโดยไม่แยบคายที่บริบูรณ์ ย่อมยังความไม่มีสติสัมปชัญญะ ให้บริบูรณ์

ความไม่มีสติสัมปชัญญะที่บริบูรณ์ ย่อมยังการไม่สำรวมอินทรีย์ให้ บริบูรณ์

การไม่สำรวมอินทรีย์ที่บริบูรณ์ ย่อมยังทุจริต ๓ ให้บริบูรณ์

ทุจริต ๓ ที่บริบูรณ์ ย่อมยังนิวรณ์ ๕ ให้บริบูรณ์

นิวรณ์ ๕ ที่บริบูรณ์ ย่อมยังอวิชชาให้ บริบูรณ์

อวิชชานี้มีอาหารอย่างนี้ และบริบูรณ์อย่างนี้ ฯ

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนเมื่อฝนเม็ดหยาบตกลงเบื้องบนภูเขา เมื่อฝนตกหนักๆ อยู่ น้ำนั้นไหลไปตามที่ลุ่ม ย่อมยังซอกเขา ลำธารและห้วย ให้เต็ม ซอกเขา ลำธารและห้วยที่เต็ม ย่อมยังหนองให้เต็ม หนองที่เต็มย่อม ยังบึงให้เต็ม บึงที่เต็มย่อมยังแม่น้ำน้อยให้เต็ม แม่น้ำน้อยที่เต็มย่อมยังแม่น้ำใหญ่ ให้เต็ม แม่น้ำใหญ่ที่เต็มย่อมยังมหาสมุทรสาครให้เต็ม มหาสมุทรสาครนั้น มีอาหารอย่างนี้ และเต็มเปี่ยมอย่างนี้ แม้ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย การไม่คบ สัปบุรุษที่บริบูรณ์ ย่อมยังการไม่ฟังสัทธรรมให้บริบูรณ์ ... นิวรณ์ ๕ ที่บริบูรณ์ ย่อมยังอวิชชาให้บริบูรณ์ อวิชชานี้มีอาหารอย่างนี้ และบริบูรณ์อย่างนี้ ฉันนั้น เหมือนกันแล ฯ

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าววิชชาและวิมุตติว่ามอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มี อาหาร

ก็อะไรเป็นอาหารของวิชชาและวิมุตติ ควรกล่าวว่า โพชฌงค์ ๗   

แม้โพชฌงค์ ๗ เราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร

ก็อะไรเป็นอาหารของ โพชฌงค์ ๗ ควรกล่าวว่า สติปัฏฐาน ๔   

แม้สติปัฏฐาน ๔ เราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร

ก็อะไรเป็นอาหารของสติปัฏฐาน ๔ ควรกล่าวว่า สุจริต ๓   

แม้สุจริต ๓ เราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร

ก็อะไรเป็นอาหารของ สุจริต ๓ ควรกล่าวว่า การสำรวมอินทรีย์

แม้การสำรวมอินทรีย์เราก็กล่าวว่า มีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร

ก็อะไรเป็นอาหารของการสำรวมอินทรีย์ ควรกล่าวว่า สติ สัมปชัญญะ

แม้สติสัมปชัญญะเราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่า ไม่มีอาหาร

ก็อะไรเป็นอาหารของสติสัมปชัญญะ ควรกล่าวว่า การทำไว้ในใจโดยแยบคาย   

แม้การทำไว้ในใจโดยแยบคายเราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่า ไม่มีอาหาร

ก็อะไรเป็นอาหารของการกระทำไว้ในใจโดยแยบคาย ควรกล่าวว่า ศรัทธา

แม้ศรัทธาเราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร

ก็อะไรเป็น อาหารของศรัทธา ควรกล่าวว่า การฟังสัทธรรม

แม้การฟังสัทธรรมเราก็กล่าวว่า มีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร

ก็อะไรเป็นอาหารของการฟังสัทธรรม ควรกล่าวว่า การคบสัปบุรุษ

        ดูกรภิกษุทั้งหลาย ด้วยประการดังนี้

การคบสัปบุรุษที่บริบูรณ์ ย่อมยังการฟังสัทธรรมให้บริบูรณ์

การฟังสัทธรรมที่บริบูรณ์ ย่อมยังศรัทธาให้ บริบูรณ์

ศรัทธาที่บริบูรณ์ ย่อมยังการทำไว้ในใจโดยแยบคายให้บริบูรณ์

การทำไว้ในใจโดยแยบคายที่บริบูรณ์ ย่อมยังสติสัมปชัญญะให้บริบูรณ์

สติสัมปชัญญะ ที่บริบูรณ์ ย่อมยังการสำรวมอินทรีย์ให้บริบูรณ์

การสำรวมอินทรีย์ที่บริบูรณ์ ย่อม ยังสุจริต ๓ ให้บริบูรณ์

สุจริต ๓ ที่บริบูรณ์ ย่อมยังสติปัฏฐาน ๔ ให้บริบูรณ์

สติปัฏฐาน ๔ ที่บริบูรณ์ ย่อมยังโพชฌงค์ ๗ ให้บริบูรณ์

โพชฌงค์ ๗ ที่บริบูรณ์ ย่อมยังวิชชาและวิมุตติให้บริบูรณ์

วิชชาและวิมุตตินี้มีอาหารอย่างนี้ และบริบูรณ์ อย่างนี้ ฯ

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนเมื่อฝนเม็ดหยาบตกลงเบื้องบนภูเขา  เมื่อฝนตกหนักๆ อยู่ น้ำนั้นไหลไปตามที่ลุ่ม ย่อมยังซอกเขา ลำธารและห้วย ให้เต็ม ซอกเขา ลำธารและห้วยที่เต็มย่อมยังหนองให้เต็ม หนองที่เต็ม ย่อมยังบึงให้เต็ม บึงที่เต็มย่อมยังแม่น้ำน้อยให้เต็ม แม่น้ำน้อยที่เต็ม ย่อมยัง แม่น้ำใหญ่ให้เต็ม แม่น้ำใหญ่ที่เต็ม ย่อมยังมหาสมุทรสาครให้เต็ม มหาสมุทร สาครนั้นมีอาหารอย่างนี้ และเต็มเปี่ยมอย่างนี้ แม้ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย การคบสัปบุรุษที่บริบูรณ์ ย่อมยังการฟังสัทธรรมให้บริบูรณ์ ... โพชฌงค์ ๗ ที่ บริบูรณ์ ย่อมยังวิชชาและวิมุตติให้บริบูรณ์ วิชชาและวิมุตตินี้มีอาหารอย่างนี้ และ บริบูรณ์อย่างนี้ ฉันนั้นเหมือนกันแล ฯ

จบสูตรที่ ๑

------------

        อนึ่งพึงระลึกและเข้าใจว่า อวิชชานั้น พึงบังเกิดขึ้นแก่ปุถุชนทุกคน ที่ถือกำเนิดเกิดขึ้นมาเป็นธรรมดาหรือตถตา  จนกว่าจะได้สดับหรือเรียนรู้ในธรรมของพระองค์ท่านอย่างแจ่มแจ้ง  กล่าวคือ จนกว่าจักได้วิชชาของพระองค์ท่าน  ซึ่งเป็นวิชชาที่ล้วนเนื่องสัมพันธ์ด้วย เรื่องของทุกข์ เพื่อการดับไปแห่งทุกข์เท่านั้น  เพื่อความเป็นโลกุตตระ  ธรรมทั้งปวงจึงล้วนเนื่องสัมพันธ์เกี่ยวกับการให้รู้จักทุกข์เพื่อใช้ไปในการดจึงเป็นไปดังพระพุทธดำรัสที่ตรัสไว้ว่า

" ในกาลก่อนก็ตาม ในบัดนี้ก็ตาม เราตถาคต บัญญัติขึ้นสอนแต่เรื่องทุกข์ และ(เพื่อ)การดับไม่เหลือแห่งทุกข์เท่านั้น "

ขอบคุณที่ีมา
http://nkgen.com/403.htm
67  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / เวลาที่ต้องการสมาธิ แต่จิตไม่รวมลง เสียทีเพราะความวิตกควรทำอย่างไรครับ เมื่อ: มีนาคม 26, 2011, 06:26:48 pm
อาจจะกล่าวได้ว่า เหมือนตกม้าตายครับ

   คือปกติ เวลาที่ผมใจสงบ ปกติ ไม่มีเรื่องกวนใจ ก็จะสามารถฝึกสมาธิได้ และจิตรวมได้ไว

แต่ถ้าวันไหน มีความพะว้าพะวง หรือ มีเรื่องคิดกลุ้ม แม้แต่ขั้นแรก ก็ทำไม่ได้ครับ อันนี้เป็นเพราะอะไรครับ

ต้องแก้อย่างไรครับ

  :17:
68  เรื่องทั่วไป / แจ้งปัญหาการใช้งานบอร์ด / server มีปัญหา ดิสก์แคช 1 ชม. 11.07 - 12.10 น. เมื่อ: กุมภาพันธ์ 16, 2011, 12:14:22 pm
ตั้งแต่เวลา 11.07 - 12.10 น.

http://www.hostinglotus.com/hosting/serverstatus.php
เช็คจะถูกระงับ http และ ขึ้น not available

พบปัญหา เรื่องเข้าเว็บไม่ได้

บันทึกไว้ให้ทางเว็บมาสเตอร์ทราบครับ
69  เรื่องทั่วไป / ข่าวสารเพื่อนถึงเพื่อน / เวียนเทียนกลางน้ำ วันมาฆบูชา ที่วัดติโลกอาราม กว๊านพะเยา แห่งเดียวในโลก เมื่อ: กุมภาพันธ์ 07, 2011, 09:41:11 am







เวียนเทียนกลางน้ำ วันมาฆบูชา
ที่วัดติโลกอาราม กว๊านพะเยา แห่งเดียวในโลก


วัดติโลกอาราม เป็นโบราณสถานแห่งหนึ่งที่จมอยู่ในกว๊านพะเยา
เป็นวัดที่พระเจ้าติโลกราช แห่งราชอาณาจักรล้านนา โปรดให้พระยายุทธิษถิระ เจ้าเมืองพะเยา
สร้างขึ้นในราวปี พ.ศ. 2019-2029 ในบริเวณที่เรียกว่า บวกสี่แจ่ง
และเป็นที่เดียวที่มีการลอยเรือเวียนเทียนกลางน้ำ ในวันมาฆะบูชา วิสาขบูชา และอาสาฬหบูชา


ขอบคุณรูปภาพประกอบจาก

http://images.thaiza.com
http://www.chiangmaiphotoclub.com

70  ธรรมะสาระ / บทสวดมนต์ มนต์พิธี / บทสวด กรณียเมตตสูตร ทำนองอินเดีย ฟังดีครับ ใครที่ท่องจำยาก ลองฟังครับ เมื่อ: กุมภาพันธ์ 05, 2011, 11:06:29 am
บทสวด กรณียเมตตสูตร ทำนองอินเดีย ฟังดีครับ ใครที่ท่องจำยาก ลองฟังครับ
ผมฟังแล้ว จำได้ง่ายดีครับ

http://www.youtube.com/watch?v=7Z28YnAvDS4&feature=player_embedded# (Embedding disabled, limit reached)
71  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / เทคนิคเพิ่มพูนความจำ ครับ ( เห็นว่าใช้ได้ดีและผมก็ใช้ด้วย ) เมื่อ: มกราคม 18, 2011, 11:40:00 am
รู้ไหมว่า...วัน ๆ หนึ่ง เราต้องใช้สมองจดจำอะไรบ้าง...

จำศัพท์ภาษาอังกฤษ จำ tense ตารางธาตุ ประวัติศาสตร์ อักษรสูง กลาง ต่ำ ชื่อเพื่อน หน้าเพื่อน จำเนื้อเพลง วันเกิดพ่อแม่พี่น้อง เบอร์โทรศัพท์ และจำ จำ จำ อีกหลาย ๆ อย่าง โดยเฉพาะจำอะไรที่เป็นวิชาการ มันช่างจำได้ยากเย็นเต็มที ถึงแม้จะมีคำกล่าวว่า "การเรียนด้วยความเข้าใจนั้นดีที่สุด" แต่จะมีใครกล้าปฏิเสธมั๊ยล่ะว่าเราเรียนได้โดยไม่ต้องใช้การท่องจำ...

เทคนิคแรก  โยงสิ่งที่ต้องจำไปหาสิ่งที่จำง่ายและติดตากว่า

เช่น ภาษาอังกฤษคำว่า "sue" แปลว่าฟ้องร้อง การออกเสียงคำว่า "sue" คล้ายกับคำว่า "สู้" ของไทย แต่การสู้ในที่นี้ เราต้องสู้กันในศาล เพราะฉะนั้นก็หมายความว่าฟ้องร้องนั่นเอง (สำหรับการท่องศัพท์ภาษาอังกฤษ ขอแนะนำเพิ่มเติมว่าควรจะท่องกลุ่มคำที่มีความหมายเหมือนกัน จะได้จำไปคราวเดียว ไม่ต้องท่องหลายรอบ เช่น purpose-goal-aim-intention-objective)

เทคนิคที่สอง  ใส่ทำนองร้องเป็นเพลง

ถ้าอยากจะจำอะไรสักอย่างหนึ่งยาว ๆ ลองใส่ทำนองเข้าไปแล้วลองร้องออกมา นอกจากจะสนุกสนานล้ว อาจจะจำได้ดีขึ้นด้วย แต่จะไพเราะเสนาะหูขนาดไหน อันนี้ก็ขึ้นอยู่กับความสามารถเฉพาะตัว

เทคนิคที่สาม  วิธีจำโดยสังเกตตัวอักษรที่เหมือนกัน

ใช้ได้ผลดีกับวิชาภาษาไทย เช่น คำนวน ต้องเขียนว่า คำนวณ ใช้ "ณ" เหมือนคำว่า คณิตศาสตร์ หรือ เข้าฌาน สะกดด้วย "น" เพราะเป็นการนั่งแบบ "นิ่ง ๆ"

เทคนิคที่สี่  ประโยคเด็ดช่วยจำ

แต่งประโยคหรือเรียบเรียงเรื่องที่ต้องจำเป็นข้อความสั้น ๆ และถ้าสามารถ อาจแต่งให้คล้องจองกัน จะช่วยให้จำได้ง่ายยิ่งขึ้น เช่น ประโยคยอดฮิตที่ว่า "ไก่ จิก เด็ก ตาย บน ปาก โอ่ง" ทำให้พวกเราจำอักษรกลางได้อย่างง่ายดาย

เทคนิคที่ห้า จำเป็นรูปภาพ

สมองคนเราจำรูปได้ดีกว่าข้อความ ดังนั้นพวกสูตรคณิตศาสตร์ต่าง ๆ ลองเขียนเป็นตัวใหญ่ ๆ ทำให้โดดเด่นมีสีสัน แปะไว้ข้างฝาบ้าน มองทุกวัน หลาย ๆวัน เราจะจำภาพหรือสูตรนั้นได้โดยอัตโนมัติ ที่สำคัญอย่าลืมมองเจ้าสิ่งที่แปะบ่อย ๆ ด้วย
เทคนิคการจำก็เป็นความสามารถเฉพาะตัวเหมือนกัน ต้องมีการฝึกฝนและพลิกแพลงให้เข้ากับสถานการณ์ การจำเรื่องยาก ๆ อาจต้องใช้หลายเทคนิคหรือเทคนิคขั้นสูงต่อไป

ขอบคุณข้อมูลจาก : วารสารกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษษ ฉบับเดือนมากราคม - มีนาคม 2553
72  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / สมณศักดิ์ ของสงฆ์ไทย ที่มา และ ลำดับชั้น เมื่อ: มกราคม 14, 2011, 01:23:46 pm
สมณศักดิ์ ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 หมายความว่า ยศพระสงฆ์ที่ได้รับพระราชทานมีหลายชั้น แต่ละชั้นมีพัดยศเป็นเครื่องกำหนด อาจกล่าวได้ว่า สมณศักดิ์ คือบรรดาศักดิ์ หรือยศที่พระมหากษัตริย์พระราชทานแก่พระสงฆ์ผู้ประพฤติดี ประพฤติชอบให้ดำรงมั่นอยู่ในสมณเพศ เพื่อเป็นกำลังสืบต่ออายุพระพุทธศาสนาและเพื่อให้การปกครองคณะสงฆ์เป็นไปโดยเรียบร้อย เพราะการที่พระสงฆ์รูปใดได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ ย่อมได้รับมอบหมายภาระหน้าที่ในการปกครองหมู่คณะแห่งสงฆ์ไปพร้อมกันด้วย
เนื้อหา
[ซ่อน]

    * 1 ความเป็นมาของสมณศักดิ์
    * 2 ชั้นยศสมณศักดิ์ของพระสงฆ์ไทยในปัจจุบัน
    * 3 ลำดับพัดยศสมณศักดิ์ ฐานานุกรม เปรียญในงานพระราชพิธี - รัฐพิธี
    * 4 การพิจารณาแต่งตั้งสมณศักดิ์
    * 5 พิธีทรงตั้งสมณศักดิ์
    * 6 อ้างอิง
    * 7 ดูเพิ่ม

[แก้] ความเป็นมาของสมณศักดิ์

ในสมัยพุทธกาล พระพุทธเจ้าได้ทรงใช้จิตวิทยาในการปกครองพระสงฆ์สาวก โดยการยกย่องผู้ที่ควรยกย่อง ป้องปรามผู้ที่ควรป้องปราม ดังจะเห็นได้จากทรงยกย่องพระสารีบุตรและพระมหาโมคคัลลานะเป็นพระอัครสาวก ฝ่ายซ้าย ฝ่ายขวา และทรงตั้งเอตทัคคะ กล่าวคือ ทรงยกย่องพระสาวกอีกส่วนหนึ่งว่ามีความเป็นเลิศในด้านต่างๆ แต่อย่างไรก็ตาม กรณีดังกล่าวยังมิได้ถือว่าเป็นสมณศักดิ์

เมื่อพระพุทธองค์เสด็จดับขันธ์ปรินิพพานไปแล้ว เพื่อสามารถสืบทอดเจตนารมณ์ของพระพุทธศาสนา พระประมุขแห่งประเทศต่างๆ ที่นับถือพุทธศาสนา จึงได้มีการพระราชทานสมณศักดิ์แก่พระสงฆ์ โดยปรากฏหลักฐานว่ามีการพระราชทานสมณศักดิ์ และพัดยศพร้อมทั้งเครื่องประกอบสมณศักดิ์อื่นๆ ได้รับแบบอย่างมาจากประเทศศรีลังกา

สำหรับประเทศไทยนั้นระบบสมณศักดิ์ของพระสงฆ์ เริ่มใช้มาตั้งแต่สมัยสุโขทัยในรัชสมัยพระมหาธรรมราชลิไทย พระองค์ได้ทรงโปรดให้ราชบัณฑิตไปอาราธนาพระมหาสามีสังฆราชมาจากประเทศลังกา เพื่อให้ประกาศพระพุทธศาสนาลัทธิลังกาวงศ์ในกรุงสุโขทัย พระมหาสามีสังฆราชคงจะได้ถวายพระพรให้พระมหาธรรมราชาลิไททรงตั้งสมณศักดิ์ ถวายแด่พระสงฆ์ตามราชประเพณีที่ถือปฏิบัติในประเทศลังกา ระบบสมณศักดิ์ในสมัยสุโขทัยไม่สลับซับซ้อนเพราะมีเพียง 2 ระดับชั้นเท่านั้น คือ พระสังฆราชและพระครู พอมาถึงสมัยกรุงศรีอยุธยาระบบสมณศักดิ์ได้รับการปรับให้มีระดับชั้นเพิ่ม ขึ้นเป็น 3 ระดับคือ สมเด็จพระสังฆราช พระสังฆราชคณะหรือพระราชาคณะและพระครู
[แก้] ชั้นยศสมณศักดิ์ของพระสงฆ์ไทยในปัจจุบัน

   1. สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก 1 พระองค์
   2. สมเด็จพระราชาคณะ ชั้นสุพรรณบัฏ 8 รูป
   3. พระราชาคณะ เจ้าคณะรอง ชั้นหิรัญบัฏ 19 รูป
   4. พระราชาคณะชั้นธรรม 35 รูป
   5. พระราชาคณะชั้นเทพ 66 รูป
   6. พระราชาคณะชั้นราช 144 รูป
   7. พระราชาคณะชั้นสามัญ 394 รูป
   8. พระครูสัญญาบัตรชั้นตรี-โท-เอก-พิเศษ(ไม่จำกัดจำนวน)
   9. พระครูฐานานุกรม ตั้งได้ตามจำนวนที่ปรากฏในสัญญาบัตรของพระราชาคณะ
  10. พระครูประทวนสมณศักดิ์ (พระครูผู้อุปการะการศึกษา)(ไม่จำกัดจำนวน)

[แก้] ลำดับพัดยศสมณศักดิ์ ฐานานุกรม เปรียญในงานพระราชพิธี - รัฐพิธี
พัดแฉกงาพิเศษประดับพลอยของสมเด็จพระสังฆราช

ปรับปรุงใหม่ พ.ศ. 2541 โดยความเห็นชอบของมหาเถรสมาคมในการประชุมครั้งที่ 6/2541 เมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2541 [1]

สมเด็จพระราชาคณะ

1. สมเด็จพระสังฆราชเจ้า

2. สมเด็จพระสังฆราช

3. สมเด็จพระราชาคณะ ชั้นสุพรรณบัฏ (ตามอาวุโสโดยสมณศักดิ์)

พระราชาคณะ

4. พระราชาคณะ เจ้าคณะรอง ชั้นหิรัญบัฏ

5. พระราชาคณะ เจ้าคณะรอง ชั้นสัญญาบัตร

6. พระราชาคณะ ชั้นธรรม

7. พระราชาคณะ ชั้นเทพ

8. พระราชาคณะ ชั้นราช

9. พระราชาคณะ ชั้นสามัญ

- พระราชาคณะปลัดขวา-ปลัดซ้าย-กลาง (พระสมุหวรคณิสสรสิทธิการ วัดพระเชตุพนฯ เป็นพระปลัดกลาง รูปแรก)

- พระราชาคณะ รองเจ้าคณะภาค

- พระราชาคณะ เจ้าคณะจังหวัด

- พระราชาคณะ รองเจ้าคณะจังหวัด

- พระราชาคณะ ชั้นสามัญเปรียญ ฝ่ายวิปัสสนาธุระ

- พระราชาคณะ ชั้นสามัญเปรียญ ป.ธ.9-ป.ธ.8-ป.ธ.7-ป.ธ.6-ป.ธ.5-ป.ธ.4-ป.ธ.3

- พระราชาคณะ ชั้นสามัญเทียบเปรียญ ฝ่ายวิปัสสนาธุระ

- พระราชาคณะ ชั้นสามัญเทียบเปรียญ

- พระราชาคณะ ชั้นสามัญยก ฝ่ายวิปัสสนาธุระ

- พระราชาคณะ ชั้นสามัญยก

พระครูสัญญาบัตร

10. พระครูสัญญาบัตร เจ้าคณะจังหวัด (จจ.)

11. พระครูสัญญาบัตร รองเจ้าคณะจังหวัด (รจจ.)

12. พระครูสัญญาบัตร เจ้าอาวาสพระอารามหลวง ชั้นเอก (จล.ชอ.)

13. พระครูสัญญาบัตร เจ้าคณะอำเภอ ชั้นพิเศษ (จอ.ชพ.)

14. พระครูสัญญาบัตร เทียบเจ้าคณะอำเภอ ชั้นพิเศษ (ทจอ.ชพ.)

15. พระครูปลัดของสมเด็จพระราชาคณะ

16. พระเปรียญธรรม 9 ประโยค

17. พระครูสัญญาบัตร เจ้าอาวาสพระอารามหลวง ชั้นโท (จล.ชท.)

18. พระครูสัญญาบัตร เจ้าคณะอำเภอ ชั้นเอก (จอ.ชอ.)

19. พระครูสัญญาบัตร เทียบเจ้าคณะอำเภอ ชั้นเอก (ทจอ.ชอ.)

20. พระครูสัญญาบัตร เจ้าอาวาสพระอารามหลวง ชั้นตรี (จล.ชต.)

21. พระครูสัญญาบัตร เจ้าคณะอำเภอ ชั้นโท (จอ.ชท.)

22. พระครูสัญญาบัตร รองเจ้าอาวาสพระอารามหลวง ชั้นเอก (รจล.ชอ.)

23. พระครูสัญญาบัตร รองเจ้าอาวาสพระอารามหลวง ชั้นโท (รจล.ชท.)

24. พระครูสัญญาบัตร รองเจ้าอาวาสพระอารามหลวง ชั้นตรี (รจล.ชต.)

25. พระครูสัญญาบัตร ผู้ช่วยเจ้าอาวาสพระอารามหลวง ชั้นพิเศษ หรือเทียบเท่า (ผจล.ชพ. หรือทผจล.ชพ.)

26. พระครูสัญญาบัตร ผู้ช่วยเจ้าอาวาสพระอารามหลวง ชั้นเอก ฝ่ายวิปัสสนาธุระ หรือเทียบเท่า(ผจล.ชอ.วิ. หรือ ทผจล.ชอ.วิ.)

27. พระครูสัญญาบัตร ผู้ช่วยเจ้าอาวาสพระอารามหลวง ชั้นเอก หรือเทียบเท่า (ผจล.ชอ. หรือทผจล.ชอ.)

28. พระครูปลัดของพระราชาคณะ เจ้าคณะรอง ชั้นหิรัญบัฏ

29. พระครูปลัดของพระราชาคณะ เจ้าคณะรอง ชั้นสัญญาบัตร

30. พระครูฐานานุกรมชั้นเอกของสมเด็จพระสังฆราช

31. พระเปรียญธรรม 8 ประโยค

32. พระครูสัญญาบัตร ผู้ช่วยเจ้าอาวาสพระอารามหลวง ชั้นโท หรือเทียบเท่า (ผจล.ชท. หรือทผจล.ชท.)

33. พระเปรียญธรรม 7 ประโยค

34. พระครูปลัดของพระราชาคณะ ชั้นธรรม

35. พระครูฐานานุกรมชั้นโท ของสมเด็จพระสังฆราช (พระครูปริต)

36. พระครูสัญญาบัตร รองเจ้าคณะอำเภอ ชั้นเอก (รจอ.ชอ.)

37. พระครูสัญญาบัตร รองเจ้าคณะอำเภอ ชั้นโท (รจอ.ชท.)

38. พระครูสัญญาบัตร เจ้าคณะตำบล ชั้นเอก ฝ่ายวิปัสสนาธุระ (จต.ชอ.วิ.)

39. พระครูสัญญาบัตร เจ้าคณะตำบล ชั้นเอก (จต.ชอ.)

40. พระครูสัญญาบัตร เจ้าคณะตำบล ชั้นโท (จต.ชท.)

41. พระครูสัญญาบัตร เจ้าคณะตำบล ชั้นตรี (จต.ชต.)

42. พระครูสัญญาบัตร เจ้าอาวาสวัดราษฎร์ ชั้นเอก (จร.ชอ.)

43. พระครูสัญญาบัตร เจ้าอาวาสวัดราษฎร์ ชั้นโท ฝ่ายวิปัสสนาธุระ (จร.ชท.วิ.)

44. พระครูสัญญาบัตร เจ้าอาวาสวัดราษฎร์ ชั้นโท (จร.ชท.)

45. พระครูสัญญาบัตร เจ้าอาวาสวัดราษฎร์ ชั้นตรี (จร.ชต.)

46. พระครูสัญญาบัตร รองเจ้าอาวาสวัดราษฎร์ (รจร.)

47. พระครูสัญญาบัตร ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดราษฎร์ (ผจร.)

48. พระเปรียญธรรม 6 ประโยค

49. พระเปรียญธรรม 5 ประโยค

50. พระครูปลัดของพระราชาคณะ ชั้นเทพ

51. พระครูปลัดของพระราชาคณะ ชั้นราช

52. พระครูวินัยธร

53. พระครูธรรมธร

54. พระครูคู่สวด

55. พระเปรียญธรรม 4 ประโยค

56. พระปลัดของพระราชาคณะ ชั้นสามัญ

57. พระเปรียญธรรม 3 ประโยค

58. พระครูรองคู่สวด

59. พระครูสังฆรักษ์

60. พระครูสมุห์

61. พระครูใบฎีกา

62. พระสมุห์

63. พระใบฎีกา

64. พระพิธีธรรม
[แก้] การพิจารณาแต่งตั้งสมณศักดิ์
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชทานพัดยศพระแด่พระสงฆ์ซึ่งได้รับพระมหากรุณาธิคุณ ทรงเลื่อนและตั้งสมณศักดิ์ ณ พระที่นั่งอมรินทร์วินิจฉัย ในพระบรมมหาราชวัง

ในอดีตการพิจารณาแต่งตั้งและเลื่อนสมณศักดิ์แก่พระสงฆ์เป็นพระราชอำนาจ และเป็นพระราชกรณียกิจของพระมหากษัตริย์ เมื่อทรงเห็นหรือทรงทราบด้วยพระเนตรพระกรรณว่า พระภิกษุรูปใดมีความรู้ความเชี่ยวชาญในพระไตรปิฏก มีศิลาจารวัตรน่าเลื่อมใส มีความสามารถในการปกครองหมู่คณะให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย ทั้งยังเป็นศูนย์รวมแห่งศรัทธาของประชาชนแล้วก็จะพระราชทานสมณศักดิ์เพื่อ เป็นเกียรติและกำลังใจ ในการจะได้ช่วยกันจรรโลงพระพุทธศาสนาสืบไป


ต่อมา ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นช่วงเวลาที่สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ทรงดำรงตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราชเจ้า สกลมหาสังฆปริณายกอยู่นั้น เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะโปรดพระราชทานสมณศักดิ์แก่พระสงฆ์รูปใด ก็จะทรงปรึกษากับสมเด็จพระมหาสมณเจ้าฯ ก่อนทุกครั้ง ตรงนี้ถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นที่ทรงให้พระสงฆ์ได้มีส่วนร่วมในการพิจารณาเสนอ ความคิดเห็นได้

ปัจจุบัน เป็นหน้าที่ทางคณะสงฆ์จะช่วยกันพิจารณาให้ความเห็นชอบตามลำดับขั้น คือ จากเจ้าอาวาส เจ้าคณะตำบล เจ้าคณะอำเภอ เจ้าคณะจังหวัด เจ้าคณะภาค และเจ้าคณะใหญ่ เมื่อได้รับความเห็นชอบจากเจ้าคณะผู้ปกครองตามลำดับแล้ว สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ จึงได้เสนอเรื่องเพื่อนำความขึ้นกราบบังคมทูลพระกรุณาขอพระราชทานสมณศักดิ์ ตามระเบียบของทางราชการต่อไปแต่ในการพระราชทานสมณศักดิ์ชั้นสูง เช่น สมเด็จพระสังฆราชหรือสมเด็จพระราชาคณะ ทางคณะสงฆ์ชอบที่จะถวายพระเกียรติแด่องค์พระมหากษัตริย์ด้วยการเสนอนามพระ เถระที่เห็นสมควรขึ้นไปหลายรูปเพื่อให้ทรงพิจารณาตามพระราชอัธยาศัย เป็นธรรมเนียมปฏิบัติเสมอมา เพราะพระราชอำนาจส่วนนี้เป็นของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเพียงพระองค์ เดียว

ที่มา
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B8%93%E0%B8%A8%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B9%8C
73  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / ครีมขัดทองเหลือง ทำเอง ง่าย ๆ เมื่อ: มกราคม 14, 2011, 12:58:45 pm
ภาชนะทองเหลืองที่เก็บไว้ไม่ได้ใช้เป็นเวลานานมักจะเป็นคราบดำ หรือสีหมองไม่สดใส ถ้าจะขัดก็ต้องใช้เวลานาน เดลินิวส์ออนไลน์จึงนำเคล็ดลับขัดทองเหลืองมาฝาก

เพียงใช้ผงชูรสและผงซักฟองผสมน้ำพอเปียก พอกทิ้งไว้ที่ภาชนะทองเหลืองสักครู่ จากนั้นใช้ผ้าหรือแปรงขัดออก ภาชนะทองเหลืองก็จะสะอาดสดใสเหมือนเป็นของใหม่โดยไม่ต้องเสียเงินซื้อน้ำยา ขจัดคราบหรือเปลืองแรงและเวลาขัด นอกจากนี้ยังใช้วิธีนี้ได้กับคราบไหม้ที่ก้นหม้อหรือกระทะอีกด้วย.
74  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / แม่ใจเด็ด โยนลูกออกจากอก ก่อนถูกกระบะชนดับคาที่ เมื่อ: มกราคม 13, 2011, 02:57:22 pm
แม่ใจเด็ด โยนลูกออกจากอก ก่อนถูกกระบะชนดับคาที่

จ.พิษณุโลก (15 ก.ย) เจ้าหน้าที่ตำรวจประจำสถานีตำรวจย่อยม.นเรศวร รับแจ้ง เหตุรถยนต์ชนกับรถจักรยานยนต์ที่ถ.สายพิษณุโลก-นครสวรรค์ จุดเกิดเหตุมีผู้เสียชีวิตและผู้ได้รับบาดเจ็บ  เมื่อไปถึงยังสถานที่เกิดเหตุ พบ รถจักรยานยนต์ยี่ห้อยาม่าฮ่า รุ่นเมท สีน้ำเงิน อยู่ในสภาพพังยับเยิน ใกล้กันพบผู้ศพผู้ชีวิตกระเด็นตกไปร่องน้ำข้างทาง ทราบชื่อต่อมาคือ นายปรีดา เพ็งนุ่ม อายุ 25 ปี อีกรายเป็นหญิงไม่ทราบชื่ออายุประมาณ 25 ปี

ด้านรถยนต์คู่กรณีจอดห่างไปประมาณ 100 เมตร เป็นรถยนต์ยี่ห้อมิตซูบิชิ รุ่นไทตัน สีบรอนเงิน สภาพด้านหน้ารถพังยับเยิน คนขับคือ จ.ส.อ.สุรชัย แสงเลิศ อายุ 49 ปี ยืนรอให้การกับเจ้าหน้าที่ตำรวจอยู่ในที่เกิดแหตุ  ใน ขณะที่เจ้าหน้าที่กำลังตรวจสอบพื้นที่อยู่ได้ยินเสียงเด็กทารกร้องไห้มาจาก โพรงหญ้า จึงได้ให้เจ้าหน้าที่กู้ภัยไปค้นหาจนพบร่างของเด็กทารกดังกล่าว

ซึ่งเจ้าหน้าที่ได้ประมวลเหตุการณ์ว่า เด็ก ทารกเป็นบุตรของผู้เสียชีวิตทั้งสองราย ชื่อ ด.ช.ธันวา เพ็งนุ่ม อายุ 8 เดือน ก่อนที่ผู้เสียชีวิตจะโดนรถพุ่งชนสันนิษฐานว่าอาจจะโยนลูกน้อยเข้าไปในกอ หญ้าเพื่อลูกจะได้ปลอดภัย ซึ่งสภาพของเด็กทารกมีบาดแผลฟกช้ำตามร่างกายหลายแห่ง และได้นำส่งโรงพยาบาลเพื่อเหลือแล้ ว

จากการสอบสวนเบื้องต้นทราบว่า ก่อนเกิดเหตุ นายปรีดา ได้ขับรถจักรยานยนต์พาภรรยาและด.ช.ธันวา ไปกินข้าวที่ร้านอาหารใบตอง ขณะ ขี่รถกลับบ้านได้ถูกรถยนต์ของ จ.ส.อ.สุรชัย ที่ขับมาด้วยความเร็วสูงพุ่งชนท้ายรถจักรยานยนต์อย่างจัง เป็นจังหวะเดียวกับที่แม่ของ ด.ช.ธันวา เห็นว่ามีรถยนต์กำลังจะพุ่งชน จึงได้ตัดสินใจโยนลูกทิ้งทันที เพื่อให้ลูกรอดชีวิต
75  กรรมฐาน มัชฌิมา / เกี่ยวกับ วัด พระสงฆ์ พระธาตุ พระเครื่อง / หลวงพ่อมุ่ยวัดดอนไร่ ฉายา พุทธรักขิโต เมื่อ: มกราคม 11, 2011, 11:38:27 am

พระครูสุวรรณวุฒาจารย์ หลวงพ่อมุ่ยวัดดอนไร่ ฉายา พุทธรักขิโต เกิดเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2432 ตรงกับวันขึ้น 13 ค่ำ เดือนอ้าย ปีฉลู รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่5

ตระกูล โยมบิดาเป็นคนบ้านทึง อ.สามชุก สุพรรณบุรี โยมมารดาเป็นคนหนองผักนาก อ.สามชุก จ.สุพรรณบุรี โดยโยมบิดาชื่อ นายเหมือน โยมมารดา ชื่อ นางชัง นามสกุลมีศรีไชย มีพี่น้องทั้งสิ้น 5 คน คือ

1. นางน้ำอ้อย จันทร์สุวรรณ

2. นางน้ำตาล จีนสุกแสง

3. นายช่อง มีศรีไชย

4. หลวงพ่อมุ่ย พุทธรักขิโต (นามเดิมว่าเชื่อม)

5. นางสาคู มีศรีไชย

หลวงพ่ออุปสมบท 2 ครั้ง ครั้งแรก ประมาณปี พ.ศ. 2452-2453 โดยพระครูกฤษณ์เป็นพระอุปัชฌาย์ และหลวงพ่ออิ่ม วัดหัวเขา กับ อาจารย์กูล วัดบ้านทึง เป็นคู่สวด บวชได้ประมาณ 10 กว่าพรรษา ก็ได้ลาสิกขาออกมาตามคำขอของญาติเพื่อเข้าพิธีแต่งงาน แต่ด้วยบุญญาธิการของหลวงพ่อ ไม่สามารถเข้าพิธีแต่งงานได้ หลวงพ่อได้ล้มป่วยลงถึงขั้น เอาซองใส่มือเลยทีเดียว หลวงพ่อได้ตั้งจิต อฐิษฐานว่า ถ้าหาย จะบวชบำเพ็ญเพียรตลอดโดยจะไม่ขอสึกอีกต่อไป น่าอัศจรรย์ หลวงพ่อก็หายวันหายคืน

กระทั่งเมื่อวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2465 จึงได้บวชอีกเป็นครั้งที่ 2 ฉายาว่า" พุทธรักขิโต " หลวงพ่อท่านเป็นผู้มีความจำดีเป็นเลิศ ท่านได้ตั้งใจ ปฏิบัติ บำเพ็ญเพียร ภาวนา และได้ร่ำเรียนวิชาต่างๆกับหลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า และหลวงพ่อ อิ่ม วัดหัวเขา จนเป็นที่เคารพบูชาของเหล่าสาธุชนโดยทั่วไป

และสัจะรรมแห่งชีวิตได้ดำเนินมาถึงอย่างเที่ยงตรง หลวงพ่อซึ่งดำรงสังขารมาได้ 84 ปี กับ 41 วัน ก็ถึงแก่กาลมรณภาพ ละสังขาร ด้วยอาการอันสงบ ตรงกับวันอังคารที่ 15 มกราคมพ.ศ. 2517 เวลา 07.15 นาที ช่วงเวลาพระออกบิณฑบาต

ดุจ ดังเทียนส่องสว่างดับวูบลง คงเหลือไว้แต่ความดีทั้งหลายเป็นเอนกนานัปการให้กับลูกหลาน ศิษยานุศิษยื รำลึกบูชากราบไหว้ไปอีกตราบนานเท่านาน(ปัจจุบัน สังขารของหลวงพ่อ ยังอยู่ในโลงแก้ว ไม่เน่า ไม่เปื่อย) ท่านที่เคารพศรัทธา ขอเชิญมากราบไหว้บูชาได้ที่วัดดอนไร่ได้ทุกวันครับ.

อยากชมซีดีประวัติหลวงพ่อ

คลิ๊กไปที่ www.masterpormui.com

 
76  กรรมฐาน มัชฌิมา / เกี่ยวกับ วัด พระสงฆ์ พระธาตุ พระเครื่อง / ประวัติ หลวงพ่อนุ่ม ธมฺมาราโม วัดนางในธัมมิการาม เมื่อ: มกราคม 10, 2011, 09:09:45 pm


ประวัติ หลวงพ่อนุ่ม ธมฺมาราโม  วัดนางในธัมมิการาม

หลวงพ่อนุ่มท่านเป็นพระเกจิอาจารย์ที่มีชื่อเสียงโด่งดังของจังหวัด อ่างทอง

ประวัติ พระอุปัชฌาย์นุ่ม ธมฺมาราโม ท่านเกิดเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2426 อ่อนกว่าหลวงพ่อพัก 1 ปี โยมบิดาของท่านชื่อสอน โยมมารดาชื่อแจ่ม นามสกุลศรแก้วดารา หลวงพ่อนุ่มเกิด ที่บ้านสามจุ่น ตำบลวังน้ำซับ อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี ตอนที่ท่านอายุได้ 10 ขวบ ได้ศึกษาภาษาไทยและภาษาขอมกับพระอธิการพ่วง ผู้เป็นพระพี่ชายที่วัดสามจุ่น ซึ่งอยู่ใกล้บ้านของท่าน และเมื่ออายุท่านครบ 20 ปี

จึงได้อุปสมบทที่วัดปลายนา ตำบลปลายนา อำเภอศรีประจันต์ สุพรรณบุรี เมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2446 โดยมีพระครูธรรมสารรักษา (อ้น) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระปลัดดี วัดปู่เจ้า เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอธิการช้าง เป็นพระอนุสาวนาจารย์ และจำพรรษาอยู่ที่วัดสามจุ่น ศึกษาพระธรรมวินัยและพระปริยัติธรรม พรรษาที่ 8 ท่านได้ย้ายมาจำพรรษาอยู่ที่วัดหลวง ตำบลศาลเจ้าโรงทอง

เพื่อสะดวกในการจัดหาวัสดุอุปกรณ์ไปช่วยก่อสร้างอุโบสถวัดสามจุ่น ประชาชนในท้องที่นั้นเคารพศรัทธาเลื่อมใสช่วยสละปัจจัยในการก่อสร้างพระ อุโบสถวัดสามจุ่นจึงสำเร็จด้วยดี เมื่อสร้างพระอุโบสถเสร็จเรียบร้อยแล้ว ท่านก็ได้กลับไปจำพรรษาอยู่ที่วัดสามจุ่นตามเดิม

พอถึงปี พ.ศ. 2459 ท่านก็ย้ายมาเป็นเจ้าอาวาสวัดหลวงอีก 10 ปี ต่อมาจึงได้ย้ายมาเป็นเจ้าอาวาสวัดนางในธัมมิการาม ตำบลศาลเจ้าโรงทอง อำเภอวิเศษชัยชาญ ในปี พ.ศ. 2469 ในสมัยนั้นวัดนางในชำรุดทรุดโทรมมาก ท่านจึงเริ่มบูรณปฏิสังขรณ์วัดนางใน

จนเป็นวัดที่พร้อมด้วยเสนาสนะอันสวยงาม เจริญรุ่งเรืองมาจนทุกวันนี้ ถึงปี พ.ศ. 2477 ท่านจึงได้รับตราตั้งเป็นพระอุปัชฌาย์ ผลงานต่างๆ ของหลวงพ่อมีมากมายหลายสิ่งหลายอย่าง ทั้งในวัดนางในและนอกวัด หลวงพ่อนุ่มปกครอง วัดนางในเป็นเวลา 30 ปี จนกระทั่ง เมื่อวันที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2497 ท่านจึงมรณภาพ สิริอายุได้ 71 ปี พรรษาที่ 51 ในงานประจำปีของวัดนางในทุกปี จะจัดงานตรงกับเทศกาลตรุษจีน เป็นงานที่ใหญ่โตทางวัดเปิดโอกาสให้ประชาชนปิดทองรูปหล่อหลวงพ่อนุ่ม มีประชาชนและชาวอ่างทองไปร่วมงานเป็นหมื่นคนทุกปี

ขอบคุณเนื้อหา

http://www.itti-patihan.com
77  กรรมฐาน มัชฌิมา / เกี่ยวกับ วัด พระสงฆ์ พระธาตุ พระเครื่อง / พระวัดพลับ กรุกระรอกเผือก เมื่อ: มกราคม 10, 2011, 08:54:08 pm

    พระวัดพลับ กรุกระรอกเผือก เป็นเรื่องที่เล่าขานสืบทอดต่อกันมาว่า มีชาวอิสลามบ้านอยู่แถวเจริญพาสน์ ไปไล่จับกระรอกเผือกภายในวัดพลับกับ พรรคพวก เจ้ากระรอกเผือกมันกระโดดหายเข้าไปในโพรงพระเจดีย์เก่าองค์หนึ่ง ชาวอิสลามกับพวกไม่ฟังเสียงใช้ไม้กระทุ้ง และทะลวงโยกคลอนเขย่าเข้าไปในรูโพรงพระเจดีย์ เพื่อต้องการให้กระรอกเผือกหนีออกมา แต่เจ้ากระรอกเผือกตัวนั้น มันหายไปรวดเร็วจัง จากผลที่เอาไม่กระทุ้งทะลวงในโพรงพระเจดีย์ครั้งนั้น เกิดแรงสั่นสะเทือนทำให้มีพระเครื่ององค์เล็กๆสีขาว เท่าเบี้ยจั่น ร่วงหล่นตามไม้ที่แยงขึ้นไปกระทุ้งผสมลงมากับเศษอิฐกากปูนเก่าๆ จำนวนหนึ่งชาวอิสลามไม่นับถือพระอยู่แล้ว จึงไม่สนใจ ที่จะเก็บพระเอาเข้าบ้าน จึงปล่อยให้พระตกเรี่ยราดอยู่แถวบริเวณโพรงพระเจดีย์นั้น ในระหว่างเดินทางกลับบ้านพบปะเพื่อนฝูงก็เล่าเรื่องนี้ให้ฟัง ข่าวนี้ได้ไปกระทบหูชาวพุทธเข้าคนหนึ่งที่สนใจเรื่องพระ เขาจึงรีบตรงไปที่วัดพลับทันที ค้นหาพระเจดีย์องค์ที่มีพระร่วงหล่นออกมาจนพบ ชายผู้นั้น (ไม่ทราบชื่อ) ได้ขนย้ายพระ จำนวนหนึ่งมาเก็บไว้ที่บ้านของตน ต่อมาทางวัดรู้ข่าวจึงได้เปิดกรุเป็นทางการขึ้น นำเอาพระวัดพลับมาเก็บไว้ในที่ปลอดภัย ชาวบ้านเรียกขานพระวัดพลับกรุนี้ว่า" พระวัดพลับ กรุกระรอกเผือก" เพราะเจ้ากระรอกเผือกเป็นตัวการทำให้คนไปพบพระ เข้าโดยบังเอิญ ไม่ได้ตั้งใจ นอกจากนี้ยังมีเรื่องเล่าต่อกันไปอีกว่า เมื่อเด็กๆมาเล่นแถวพระเจดีย์ที่มีพระวัดพลับร่วงหล่นออกมา ก่อนที่ทางวัดจะเปิดกรุ เป็นทางการ ความประสี-ประสาของเด็ก นำพระมาเล่นหยอดหลุมทอยกองกันเล่นสนุกมือ จนกระทั่งพระเณรมาพบเห็นเข้า เรื่องจึงแดงโร่ขึ้น แล้วทางวัดจึงได้เปิดกรุเป็นทางการขึ้น


ขอบคุณภาพและเนื้อหา
http://www.taradpra.com/itemDetail.aspx?itemNo=383389&storeNameEng=tirapatprakhang2&storeNo=4208
78  กรรมฐาน มัชฌิมา / เกี่ยวกับ วัด พระสงฆ์ พระธาตุ พระเครื่อง / หลวงพ่อหร่ำ วัดกร่าง อ.สามโคก จ.ปทุมธานี เมื่อ: มกราคม 10, 2011, 08:42:47 pm
 

   
     ย้อนหลังไปเมื่อสี่สิบกว่าปีมาแล้ว  หลวงพ่อหร่ำ วัดกร่าง อ.สามโคก จ.ปทุมธานี    ได้ถึงแก่กาลมรณ ภาพจากผู้ที่เคารพนับถือไปอย่างไม่มีวันหวนกลับ ซึ่งนับเป็นการสูญเสียพระเกจิอาจารย์ยุคเก่าของ อ.สามโคก จ.ปทุมธานีที่น่าเสียดายอย่างยิ่ง...
     หลวงพ่อหร่ำ วัดกร่างชาตะเมื่อวันที่ ๑๓ พฤษภาคม ๒๔๑๕ ที่บ้านตำบลบางกระบือ อ.สามโคก ปทุม ธานี เป็นบุตรของคุณพ่อแอบและคุณแม่เผือน     ท่านได้ศึกษาหาความรู้ทางอักขระสมัยในวัดบ้านกร่างจนอ่านออกเขียนได้และได้ เข้ารับการบรรพชาเป็นสามเณรจนอายุครบอุปสมบท  พระอธิการนอม วัดกร่างจึงรับเป็นธุระอุปสมบทให้ร่วมกับโยมบิดามารดาของหลวงพ่อหร่ำ
     เมื่อุปสมบทแล้ว  ท่านได้ศึกษาด้านวิปัสสนากัมมัฎฐานจากหลวงพ่อนอมซึ่งเป็นพระผู้เชี่ยวชาญใน ด้านกัมมัฎฐานและพระเวทวิทยาคมยิ่งนัก พระอาจารย์นอมองค์นี้ เป็นสหายทางธรรมกับหลวงพ่อกลั่น ธัมมะโชโตแห่งวัดพระญาติการาม จ.พระนครศรีอยุธยา  ซึ่งคราใดก็ตามที่หลวงพ่อกลั่นท่านเข้ามากรุงเทพ ฯ ท่านจะต้องแวะวัดกร่างเพื่อเยือนหาสู่หลวงพ่อนอมอยู่เสมอ    โดยหลวงพ่อกลั่นอ่อนอาวุโสกว่าหลวงพ่อนอม และนอกจากนี้ หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอกก็ยังเคยมาศึกษาวิชากับหลวงพ่อนอมถึงที่วัดกร่างอีกด้วย พระเวทวิทยาคมที่ถ่ายทอดจากหลวงพ่อนอมสู่หลวงพ่อหร่ำเมื่อครั้งยังเป็นพระ บวชใหม่ จึงมีความเข้มขลังและแกร่งกล้าอย่างยิ่ง
     ครั้นเมื่อหลวงพ่อนอมมรณภาพลง     พระอาจารย์กันต์ที่เป็นคู่สวดของหลวงพ่อหร่ำก็ขึ้นเป็นเจ้าอาวาสแทน  แต่ไม่นานก็สึกลาเพศไป ทางวัดกร่างขาดเจ้าอาวาสสืบแทน   ชาวบ้านจึงพร้อมใจกันอาราธนาหลวงพ่อหร่ำที่เป็นพระผู้สำรวมระวังในพระธรรม วินัยขึ้นครองวัดสืบแทน
     หลวงพ่อหร่ำองค์นี้  ปลายชีวิตหลวงพ่อนอมได้ไว้ใจให้ลงตะกรุดโทนและถวายให้ท่านปลุกเสกกำกับ และตอนหลังหลวงพ่อนอมได้บอกกับญาติโยมว่า " ถ้าต้องการได้ตะกรุดโทนล่ะก้อ ไม่ต้องมาหาฉันเพราะฉันหูตาไม่ดีแล้ว ให้ท่านหร่ำเขาลงให้และปลุกเสกให้     ส่วนถ้าจะให้ฉันปลุกเสกก็ค่อยเอามาให้ตอนหลังก็ได้ ท่านหร่ำเขาก็เสกได้เหมือนฉันนั่นแหละ "
     หลวงพ่อหร่ำนิยมออกธุดงค์เป็นประจำ ท่านได้นำพระกรุเก่าที่ได้จากการธุดงค์มาบรรจุไว้ในวัดกร่างที่มีผู้พบแตก กรุตอนหลัง ซึ่งต่างคิดว่าหลวงพ่อหร่ำท่านสร้างไว้ แต่ความจริงแล้วเข้าใจผิด  เพราะหลวงพ่อไปนำพระเหล่านี้จากกรุเก่าที่ท่านธุดงค์มาบรรจุไว้ ซึ่งสร้างปรากฎการณ์อภินิหารมากมาย
     ตะกรุดโทนของหลวงพ่อหร่ำ   เรื่องมหาอุดสุดยอด  ยิงปืนไม่ลั่น  กระบอกปืนบวมกันมานักต่อนักแล้ว ส่วนเหรียญทำบุญอายุของท่านปี ๒๔๖๙ ที่คณะศิษย์ได้ร่วมใจกันจัดสร้างให้หลวงพ่อหร่ำปลุกเสก    ด้านหน้าเป็นรูปท่านนั่งเต็มองค์  ตรงหน้าหลวงพ่อมีบาตรน้ำมนต์และมีลิงอยู่ด้วย  ซึ่งลิงที่ปรากฎนี้เป็นการแทนความหมายปีเกิดของท่านซึ่งก็คือปีวอก  ด้านหลังเป็นยันต์สี่   เหรียญนี้ทางมหาอุดดังมากจนมีเรื่องเล่าเป็นตำนานสืบต่อมาว่า...
     ในคืนเดือนมืดวันหนึ่ง  มีชายฉกรรจ์สามคนพายเรือมาจอดที่หน้าวัดกร่าง แล้วทั้งสามคนก็เดินขึ้นไปบนกุฎิหลวงพ่อหร่ำซึ่งยังจุดตะเกียงลานเหมือนจะรอ ชายทั้งสามอยู่ พอชายทั้งสามกราบนมัสการหลวงพ่อหร่ำท่านก็พูดลอย ๆ ว่า " ไอ้คนโตเอาหัวของข้าไปปล้นเขากิน   ไอ้คนกลางเอาอกของข้าไปลักวัวความยชาวบ้านเขา ส่วนไอ้คนสุดท้องเอาขาข้าไปย่องเบา  พวกเอ็งมันเอาข้าไปหากินจนเขาเดือนดร้อนกันไปทั่ว  ข้ารอพวกเอ็งมานานแล้ว  รู้ว่าอย่างไรเสียพวกเอ็งก็ต้องมาหาข้า   เพราะเอ็งมันเห็นว่าหลวงตาองค์นี้ช่วยพวกเอ็งหากิน ต่อไปนี้หากเอ็งไปปล้นใครอีก หรือไปขโมยของใครอีก   จะต้องฉิบหายตายโหงแม้โลงก็จะไม่มีใส่ เอาชิ้นส่วนของข้าคืนมาให้หมด "
     ทั้งสามคนตกใจหน้าซีดตัวสั่นปากคอสั่นเพราะไม่เคยมาหาหลวงพ่อหร่ำ    แต่ท่านกลับพูดได้อย่างถูกต้องทุกอย่าง คนโตที่เป็นพี่ใหญ่เคยใช้เหรียญหลวงพ่อหร่ำไปปล้นแล้วถูกเจ้าทรัพย์ยิงเอา แต่ยิงไม่ออก ออกก็ไม่ถูก ถูกก็ไม่เข้า  จึงชวนน้องคนกลางกับคนสุดท้องมาร่วมทำมาหากินในทางลักขโมยโดยเอาเลื่อยตัดแบ่งเหรียญหลวงพ่อหร่ำเป็นสามส่วนเหมือนที่หลวงพ่อหร่ำบอก
     ชายที่เป็นพี่ใหญ่โต้หลวงพ่อหร่ำว่า   " ให้ผมเลิกอาชีพโจรลักเล็กขโมยน้อยไม่ยาก ผมรับปาก เพราะเมื่อหลวงพ่อสาปแช่งแล้วผมก็ไม่อาจจะทำมาหากินทางทุจริตได้อีก     แต่เรื่องให้ผมคืนชิ้นส่วนเหรียญให้หลวงพ่อ ผมทำไม่ได้ ใครจะรับผิดชอบชีวิตของพวกผมเล่า "
     หลวงพ่อหร่ำจึงหยิบเหรียญรุ่นแรกของท่านออกมาจากย่ามสามเหรียญ   แล้วบอกกับพวกโจรว่า " เอาชิ้นส่วนมาแลกเป็นเหรียญเต็ม ๆ ไป ข้าเก็บเอาไว้ให้พวกเอ็งสามเหรียญ จงเลิกอาชีพนี้เสีย ไปประกอบอา ชีพใหม่ให้สุจริต แล้วใครก็ทำอะไรเจ้าไม่ได้ แม้แต่อาญาบ้านเมืองก็จะไม่มาคร่าตัวไปได้ "
     หลวงพ่อหร่ำเป็นพระที่มีพรรษกาลสูง  อายุยืนยาวมาจนถึงวัยอายุ ๘๘ จึงมรณภาพด้วยโรคชราเมื่อวันที่ ๑๘ เมษายน   พ.ศ.๒๕๐๔ ด้วยพรรษที่ ๖๘
     ทุกวันนี้เหรียญรุ่นแรกของหลวงพ่อหร่ำ  หากสวย ๆ ราคาขยับไปอยู่หลักหมื่นกลาง ๆ แม้แต่เหรียญรุ่นสองและรูปถ่ายอัดกระจก ก็มีค่านับเป็นพัน ส่วนพระกรุที่พบในวัด  บางพิมพ์ราคาหลักพันไปจนถึงพันกลางเหมือนกัน แต่ค่อนข้างจะหายาก และนี่ก็คือตำนานของหลวงพ่อหร่ำ วัดกร่างที่ชาวปทุมธานี ไม่มีใครลืมได้มาจนถึงทุกวันนี้...
ขอบคุณที่มา
http://www.bp.or.th/webboard/index.php?topic=11427
79  เรื่องทั่วไป / IT สาระประโยชน์ชาวธรรม / +++ คาถาวิเศษ สั่ง Nero ไรด์เเผ่นให้ได้ 830 เมก เต็มๆๆๆ +++ ให้ไปเลยปีใหม่ เมื่อ: มกราคม 09, 2011, 12:29:37 pm
+++ คาถาวิเศษ สั่ง Nero ไรด์เเผ่นให้ได้ 830 เมก เต็มๆๆๆ +++  ให้ไปเลยปีใหม่

ง่ายมากครับ ลองดูได้ครับ

ปล. แผ่น CD-R 700MB/80Min หมายถึงแผ่น cdr ที่ไรท์ข้อมูลลงไป(โดยเครื่องไรท์ทั่วๆไปที่ผลิตอยู่ในมาตราฐานหรือเรียก ว่าเครื่องที่มีคุณภาพดี) โดยที่ข้มูลไม่เกิน 700MB โอกาสทีจะเกิดแผ่นเสีย จะน้อยกว่า 1%
หากเราพยายามที่จะไรท์ ข้อมูลให้ได้มากกว่า 700 %ที่จะเกิดข้อผิดพลาด(แผ่นเสีย)จะสูงมากขึ้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับ คุณภาพของแผ่น(ยี่ห้อ), สภาพผิวของแผ่น ,สภาพของหัวlaser ,สภาพของ len , มาตราฐานเครื่องไรท์ ฯลฯ รวมถึงประสิทธิภาพของ โปรแกรมที่ใช้ไรท์
ที่เรากำลังทำอยู่นี่ คือการพยายาม ทำอะไรที่ทะลุขีดจำกัดมาตราฐาน โอกาสเกิดข้อผิดพลาดย่อมมีมากกว่าปกติ(ของผมไรท์ปกติไม่เกิน 700 ใช้แผ่น princo ขาว cdrom ของ asus ใน 100 แผ่น ยังมีเสีย 2-3แผ่น)

สิ่งที่นำเสนอนี้ไม่ใช่มาตราฐานใหม่ เพียงแต่เป็นแนวทางให้เลือกหากมีความจำเป็นที่จะต้องทำ
ดังนั้นหากจะทำการแหกมาตราฐาน แนะนำว่าให้ใช แผ่น cdr ที่มียี่ห้อหน่อย เลือกไดรว์ cdrom ที่มีคุณภาพ โอกาสแผ่นเสียจะลดลงครับ

+++ วิธีทำ +++

1.เปิด โปรแกรม Nero Express
2.คลิก More เลือก Configure
3.General => status bar : yellow marker ใส่เป็น 80 : red marker ใส่เป็น 99
4. กด Apply => OK.
5. Expert Features => เลือกเครื่องหมายถูก หน้า Enable overburn Disk- at- once
6. ตรง Maximum CD size : ใส่ 99 (min)
7. กด Apply => OK.
8. เลือก File ที่ต้องการ Burn => finished => next
9. กด More ตรง Write Method เลือก Disk-at-once
10. Burn
11. จะมี ข้อความขึ้นมาหน้าจอ ถามว่า Over Burn Writing
Prevention better than cure
เลือก Write Overburn Disc
12. รอ จนมีข้อความ completed successfully

Credit : คุณ dyer131 จาก เว็บ Bit ชื่อดังที่นึง ครับ ...
80  กรรมฐาน มัชฌิมา / เกี่ยวกับ วัด พระสงฆ์ พระธาตุ พระเครื่อง / หลวงปู่ภู วัดอินทรวิหาร พระครูธรรมานุกูล ( ภู จนฺทเกสโร) เมื่อ: มกราคม 08, 2011, 06:29:35 pm


พระครูธรรมานุกูล ( ภู จนฺทเกสโร) พ.ศ. 2435-2467 ( 32 ปี)

ชาติภูมิ
เดิมชื่อ ภู เป็นบุตรของนายคง นางอยู่ เกิดที่หมู่บ้านตำบลวังหิน อำเภอเมือง จังหวัดตาก ในปี พ.ศ. 2373 ปีขาล
เมื่อ อายุได้ 6 ขวบ มารดาบิดาได้นำไปบรรพชาที่วัดท่าคอย ได้เล่าเรียนอักขรสมัย(ภาษาขอม) และหนังสือไทยกับอาจารย์วัดท่าแค ต่อมาเมื่ออายุได้ 21 ปี ได้อุปสมบทในปีพ.ศ. 2394 ณ พัทธสีมาวัดท่าคอย โดยมีพระอาจารย์อ้น วัดท่าคอยเป็นพระอุปัชฌาย์พระอาจารย์ดำ วัดท่าแค เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระอาจารย์มา วัดน้ำหัด เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้ฉายาว่า "จนฺทเกสโร"
ภายหลังอุปสมบท แล้วได้อยู่จำพรรษาที่วัดท่าแคชั่วระยะหนึ่ง แล้วจึงออกธุดงค์จากจังหวัดตากพร้อมกับพระพี่ชาย ชื่อ "หลวงปู่ใหญ่" ไปตามสถานที่ต่าง ๆ พร้อมกับการบำเพ็ญวิปัสสนากัมมัฏฐานฝึกปฏิบัติตามขั้นตอนจนเชี่ยวชาญ ได้เข้ามาจำพรรษาที่กรุงเทพมหานคร พักอยู่ที่วัดสระเกศ วัดสามปลื้ม (วัดจักรวรรดิราชาวาส-ปัจจุบัน) วัดม่วงแค วัดท้ายตลาด(วัดโมฬีโลกยาราม-ปัจจุบัน) ตามลำดับ
ต่อมาได้ย้ายมาอยู่จำ พรรษาที่วัดอินทรวิหาร (วัดบางขุนพรหม-ในขณะนั้น) ในปีพ.ศ. 2432 และได้รับแต่งเป็นเจ้าอาวาสในปี พ.ศ. 2435 ในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็น "พระครูธรรมานุกูล" และได้ยกเป็นกิตติมศักดิ์เมื่อปี พ.ศ. 2466 เนื่องจากท่านชราภาพมาก หลวงปู่ภูมรณภาพ เมื่อวันเสาร์ ที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2476ตรงกับขึ้น 13 ค่ำ เดือน 6 ปีระกา เวลา 01.15 น. รวมสิริอายุได้ 104 ปี 83 พรรษา
ความ สัมพันธ์ใกล้ชิดได้รับใช้ท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) ภายหลังได้เข้ามาอยู่จำพรรษาที่กรุงเทพมหานครแล้ว ท่านได้ศึกษาวิปัสสนาธุระกับท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์(โต) แห่งวัดระฆังโฆสิตาราม หลวงปู่ภูถือเป็นพระที่มีความใกล้ชิดกับท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ มากรูปหนึ่ง เคยออกธุดงค์ร่วมกันหลายครั้ง แม้ตอนอยู่วัดอินทรวิหาร ก็ได้ไปลงอุโบสถที่วัดระฆังเสมอ เป็นศิษย์ที่ได้รับการไว้วางใจของสมเด็จนั้นตลอดมา แม้ในการก่อสร้างองค์หลวงพ่อโต เมื่อสมเด็จ ฯ มรณภาพแล้ว ท่านก็ได้รับเป็นธุระด้วยดีตลอดมา จวบจนถึงกาลมรณภาพ ซึ่งขณะนั้นก็ยังไม่แล้วเสร็จ
ต่อมาในปี พ.ศ. 2463 ตรงกับปีวอก พระครูสังฆบริบาล(แดง) แห่งวัดบวรนิเวศวิหาร ได้มาช่วยปฏิสังขรณ์ต่อ ก็สำเร็จได้ในบางส่วน + พระครูสังฆบริบาล (แดง) นั้น ตามประวัติ ท่านอุปสมบทที่แขวงตะนาว เมื่อ อุปสมบทแล้ว ได้ไปสร้างวัดเขาขั้นบันได ที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และได้กลับเข้ามาศึกษาเล่าเรียนพระปริยัติธรรมที่สำนักวัดบวรนิเวศวิหาร ในพระบารมีของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส เป็นเวลา 5 พรรษา เมื่อสมเด็จ ฯ สิ้นพระชนม์แล้ว ได้มาร่วมกับหลวงปู่ภู สร้างหลวงพ่อโตจนสำเร็จเป็นบางส่วน

ขอบคุณที่มาประวัติ
http://www.watindharaviharn.org/history_board.html
หน้า: 1 [2] 3 4